วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ประมวลภาพ
“หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล”


วัดเลียบ
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

:b39: * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * :b39:

• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6725

• หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล : “พระปรมาจารย์กรรมฐาน”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16485

• รวมคำสอน “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44193

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ[

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2012, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
สานุศิษย์บรรพชิตขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ที่แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ
ต่างองค์ต่างมารวมกันที่สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
เพื่อเตรียมต้อนรับผ้าป่าของทางพระราชวังซึ่งจัดมาทอดถวายเป็นครั้งแรก
โดยมี “เจ้าจอมมารดาทับทิม” นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง

๑. พระอาจารย์อุย บ้านหนองดินดำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
(พระอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในช่วงนั้น)

๒. พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
๓. สามเณรหงส์ทอง ธนกัญญา
(พระหงส์ทอง สหธมฺโม หลานพระอาจารย์ดี ฉนฺโน)
๔. สามเณรผาย ๕. สามเณรคำดี

๖. พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ๗. พระอาจารย์ทอง อโสโก
๘. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ๙. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
๑๐. พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 11:52
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ขอรบกวนถามหน่อยครับว่าภาพท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. อะไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2012, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b44: จากประวัติของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล-หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส

หลังจากหลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เข้ามอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล แล้ว ต่อมาหลวงปู่เสาร์ ได้เป็นผู้จัดเตรียมบริขารให้ในพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุตของหลวงปู่บัวพา เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม หลังจากญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตแล้ว ในพรรษาแรกหลวงปู่บัวพาได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

ในพรรษาที่ ๒-๓ (ปี พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๐) หลวงปู่บัวพาได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ จ.อุบลราชธานี ร่วมกับหลวงปู่เสาร์และพระเณรรูปอื่นๆ (บ้านข่าโคม เป็นบ้านเกิดของหลวงปู่เสาร์)

ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ จ.อุบลราชธานี แห่งนี้เอง ครั้นเมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ได้มีผ้าป่าทางพระราชวังซึ่งจัดมาทอดถวายพระป่าเป็นครั้งแรก โดยมีเจ้าจอมมารดาทับทิม นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง

พระเณรคณะศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ที่ได้ติดตามไปเพื่อศึกษาฟังธรรมกับองค์หลวงปู่ ที่แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ แถวนั้น เมื่อออกพรรษาแล้ว ต่างองค์ต่างมารวมกันที่สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ อยู่กับหลวงปู่เสาร์ เพื่อเตรียมต้อนรับผ้าป่าทางพระราชวังของคณะเจ้าจอมมารดาทับทิม โดยพระเณรได้ปักกลดอยู่ตามร่มไม้ในป่าหอปู่ตาหนองอ้อเต็มไปหมด ดูแล้วเป็นบรรยากาศที่หาดูได้ยากจริงๆ คณะเจ้าจอมมารดาทับทิม ได้มาเห็นบรรยากาศที่พระเณรปักกลดพักอยู่ริมน้ำ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อน จนพากันน้ำตาร่วงน้ำตาไหล เพราะบรรยากาศที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ประทับใจของคนชาวกรุงมากทีเดียว

นอกจากนี้แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕ (ปีที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพ) หลวงปู่เสาร์ไม่ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ จ.อุบลราชธานี อีกเลย

หลวงปู่เสาร์มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ณ วัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากรณ์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ สิริอายุรวมได้ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน พรรษา ๖๒



:b44: จากประวัติของหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล

หลังจากหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกปฏิบัติศาสนกิจตามจังหวัดต่างๆ แล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ในบั้นปลายชีวิต เป็นพรรษาแรกที่ท่านได้พาพระเณรกลับมาที่บ้านเกิดมาตุภูมิ และมาตั้งวัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม วัดป่าหนองอ้อเดิมเป็นสนม (ดินหล่ม) มีหนองน้ำเป็นหย่อมเหมือนปัจจุบัน และเป็นป่าดอนเจ้าปู่ของบ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่เสาร์ได้ธุดงค์มาจากวัดบูรพา ในตัวเมืองอุบลฯ พร้อมกับครูบาอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล และพระเณร ได้มาที่บ้านข่าโคมอยู่ได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ได้ไปกรุงเทพฯ เพื่อไปฝากสามเณรพุธ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน ให้เรียนหนังสือกับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม) ขณะนั้นองค์ท่านหลวงปู่เสาร์ชราภาพมากแล้ว ต้องถือไม้เท้าไป

เมื่อหลวงปู่เสาร์เข้ากรุงเทพฯ “เจ้าจอมมารดาทับทิม” ซึ่งกำลังประชวรอยู่ ได้ให้คนมานิมนต์หลวงปู่เสาร์เข้าวังเพื่อเทศน์โปรด เพราะทราบกิตติศัพท์ของหลวงปู่เสาร์จากสามเณรนาค (องค์เดียวกันกับในหนังสือประวัติเรื่องสามเณรนาคเที่ยวกรรมฐาน - สาวิกาน้อย) ที่เป็นลูกศิษย์องค์ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งเจ้าจอมฯ อุปถัมภ์ในการอุปสมบท และเจ้าจอมฯ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดป่าหนองอ้อ บ้านขาโคม เรื่อยมา

เมื่อออกพรรษาแล้ว ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ คณะเจ้าจอมฯ มีผู้ติดตาม เช่น คุณหวัด คุณนายชม คุณนายพริ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งพระนาค โฆโส (องค์เดียวกันกับในหนังสือประวัติเรื่องสามเณรนาคเที่ยวกรรมฐาน - สาวิกาน้อย) พระมหาสมบูรณ์ ได้นำผ้าป่ามาทอดถวายที่วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม และเจ้าจอมฯ ได้อุปถัมภ์ในการอุปสมบทให้แก่สามเณรเพ็ง คำพิพาก (หลานหลวงปู่เสาร์) อีกรูปหนึ่งในวันนั้น อีกทั้งยังมีศรัทธาสร้างสิมน้ำถวายแด่หลวงปู่เสาร์ด้วย

emptyza เขียน:
รูปภาพ

ขอรบกวนถามหน่อยครับว่าภาพท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. อะไรครับ

ดังนั้น ภาพนี้จึงควรจะถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ค่ะ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 11:52
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

“ชีวิตที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะอันตรายชีวิตทั้งภายใน ภายนอก มีมากต่างๆ นานา
และการที่ได้ฟังธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ก็ได้ด้วยยากยิ่งขึ้นไปอีก
เหตุนี้เราทั้งหลาย พึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย”

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มี ญาณมุนี
ภาพนี้ถ่ายเมื่อครั้งหลวงปู่เสาร์ เมตตามาเยี่ยมหลวงปู่มี
ณ วัดป่าสูงเนิน (วัดญาณโศภิตวนาราม)
บ้านญาติเจริญ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา


ครั้งเมื่อหลวงปู่เสาร์กลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิดขององค์ท่าน
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ท่านได้เรียกหลวงปู่มี ญาณมุนี ให้มาจำพรรษาร่วมกับท่านด้วย


:b47: :b40: :b47:

ผู้ไม่หวั่นไหวต่อความตาย

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


ท่านพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น รู้สึกจะเป็นแหล่งใหญ่ของบรรดาศิษย์ทั้งพระ และประชาชนในภาคอีสานและภาคอื่นๆ ที่เข้าไปขออาศัยและศึกษาอบรมกับท่าน เพราะภูมิลำเนาเดิมของท่านพระอาจารย์ทั้งสองอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏว่าท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้มีลูกศิษย์มากมาย ทั้งนักบวชและประชาชนในภาคต่างๆ เมื่อถึงมรณกาลของท่านก็ไม่ทิ้งลวดลายของนักปฏิบัติ วาดภาพอันดีเด่นไว้แก่หู แก่ตาของบรรดาศิษย์ผู้เข้าใกล้ชิดในเวลานั้นอย่างเปิดเผย คือขณะจะมรณภาพก็เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก

ท่านพระอาจารย์เสาร์พอมรณกาลจวนตัวเข้ามาจริงๆ ท่านตั้งใจจะมรณภาพที่นครจำปาศักดิ์ ซึ่งเวลานั้นเป็นของฝรั่งเศส แต่บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระ และประชาชนจำนวนมาก ต่างก็ขออาราธนานิมนต์ท่านให้กลับมามรณภาพที่ฝั่งไทยเรา เมื่อคณะลูกศิษย์ที่มีจำนวนมากอาราธนาวิงวอน ท่านทนไม่ไหวท่านจำต้องรับคำ การทอดอาลัยในชีวิตซึ่งปลงใจจะปล่อยวางสังขารลงที่นครจำปาศักดิ์ก็ได้ถอดถอนล้มเลิกไป จำต้องปฏิบัติตามความเห็นและเจตนาหวังดีของคนหมู่มาก ยอมรับปากคำ และเตรียมลงเรือข้ามฝั่งลำแม่น้ำโขงมาฝั่งไทยเรา พอมาถึงท่าวัดศิริอำมาตย์ จังหวัดอุบลราชธานี เขาก็อาราธนาท่านขึ้นบนแคร่ แล้วหามท่านขึ้นไปสู่วัดนั้น พอก้าวขึ้นสู่วัดและปลงท่านลงที่ลานวัดเท่านั้น เขากราบเรียนท่านว่า “บัดนี้มาถึงวัดศิริอำมาตย์ในเขตเมืองไทยเราแล้ว ท่านอาจารย์”


เวลานั้นท่านนอนหลับตาและพยายามพยุงธาตุขันธ์ของท่านมาตลอดทาง ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้วถามว่า “ถึงสถานที่แล้วหรือ?” เขาก็กราบเรียนถวายท่านว่า “ถึงที่แล้วครับ” ท่านก็พูดขึ้นมาว่า “ถ้าเช่นนั้นจงพยุงผมลุกขึ้นนั่ง ผมจะกราบพระ” พอเขาพยุงท่านลุกขึ้นนั่งแล้ว ท่านก็ก้มกราบพระสามครั้ง พอจบครั้งที่สามแล้วเท่านั้น ท่านก็สิ้นในขณะนั้นเอง ไม่อยู่เป็นเวลานาน ขณะที่ท่านจะสิ้นก็สิ้นด้วยความสงบเรียบร้อย และมีท่าทางอันองอาจกล้าหาญต่อมรณภัย มีลักษณะเหมือนม้าอาชาไนย ไม่มีความหวั่นไหวต่อความตาย ซึ่งสัตว์โลกทั้งหลายกลัวกันยิ่งนัก แต่ท่านที่ปฏิบัติจนรู้ถึงหลักความจริงแล้ว ย่อมถือเป็นคติธรรมดาว่า มาแล้วต้องไปเกิดแล้วต้องตาย จะให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะสติปัญญาที่ฝึกหัดอบรมมาจากหลักธรรมทุกแขนง ก็ฝึกหัดอบรมมาเพื่อรู้ตามหลักความจริงที่มีอยู่กับตัว ก็เมื่อการไป การมา การเกิด การตาย เป็นหลักความจริงประจำตัวแล้ว ต้องยอมรับหลักการด้วยปัญญาอันเป็นหลักความจริงฝ่ายพิสูจน์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นท่านที่เรียนและปฏิบัติรู้ถึงขั้นนั้นแล้ว จึงไม่มีความหวั่นไหวต่อการไป การมา การเกิด การตาย การสลายพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งของท่านและของผู้อื่น จึงสมนามว่า เรียนและปฏิบัติเพื่อสุคโต ทั้งเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่คนรุ่นหลังตลอดมาจนบัดนี้ นี่เป็นประวัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วาดภาพอันดีและชัดเจนไว้แก่พวกเราเพื่อยึดเป็นคติเครื่องสอนตนต่อไป ไม่อยากให้เป็นทำนองว่าเวลามามีความยิ้มแย้ม แต่เวลาไปมีความเศร้าโศก


:b8: :b8: :b8: http://www.luangta.com

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2018, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


พระบูรพาจารย์ใหญ่ กราบหลวงปู่เสาร์เจ้าค่ะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร