วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 05:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 23:06
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b55: :b48: :b55: :b48: :b55: :b48: :b55: :b48: :b55: :b48: :b55: ดูเหมือนว่าคนที่ไม่เห็นแก่ตัวกลับกลายเป็นว่าเป็นคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่หวังผลประโยชน์ โดยที่เขายังพูดว่าน่าสงสารเราที่มีแต่คนเอาเปรียบ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่าตัวเขาเองที่เอาเปรียบเราอยู่ แล้วความเป็นจริงแล้วการเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวทำไมจึงถูกหลอกเอารัดเอาเปรียบราวกับว่าเป็นคนโง่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 10:54
โพสต์: 12

งานอดิเรก: ทำอาหาร
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


".......การเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวทำไมจึงถูกหลอกเอารัดเอาเปรียบราวกับว่าเป็นคนโง่"

คิดว่าคงไม่ได้เป็นแบบนี้ทั้งหมดหรอกนะคะ

.....................................................
คนเราส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการทำงานดังนั้นทำอย่างไร
เราจะได้พัฒนาตัวเราให้เกิดประโยชน์และมีความสุขด้วย
ไม่ใช่สักแต่ว่าทำไปด้วยความฝืนใจและเป็นทุกข์ไปวันหนึ่งๆเท่านั้น

ป.อ. ปยุตโต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


แยกให้ออกระหว่างสองคำนี้

เราไม่เอาเปรียบใคร....และไม่ยอมให้ใครๆมาเอาเปรียบ..เราอาจได้ชื่อว่า ไม่เห็นแก่ตัวได้

แต่ถ้าเรายอมให้ใครๆมาเอาเปรียบ ก็ยังไม่ได้หมายความว่าเราไม่เห็นแก่ตัว...จริงไหมค่ะ? :b1:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


งบดุลทุน บุญบาป การเอาเปรียบ
หากเปรียบเทียบ รังแต่ แท้ท้อหนา
น้อมศีล สมาธิ ปัญญา
แก้ปัญหา โลกธรรม ครรลอง


:b41: :b39:

คนฉลาด รักษา ค่าของสิทธิ์
ไม่มากคิด เอารัด จัดเรียกร้อง
มีศีลยิ่ง เงียบนิ่ง ตำลึงทอง
ศีลบกพร่อง ข้องติด คิดแต่เอา

:b41: :b43:

แล้วก็ติด สถิตย์ อนุสัย
เข้าหาใคร ที่ไหน เจอแต่เศร้า
เรื่องส่วนร่วม ส่วนตัว แยกหนักเบา
ไม่เอาเขา เป็นแบบอย่าง ที่เหมาะควร


:b41: :b46:

เพื่อนเอาเปรียบ ธุระ ในส่วนรวม
เอาใจสวม ร่วมกิจ มิเรรวน
ส่วนของเรา เอาธุระ ให้เต็มส่วน
ไม่มัวง้วน จนกิจตน ล้นกอง


:b41: :b45:

ส่วนกิจเพื่อน เตือนตน รู้จักแบ่ง
ทำใจแข็ง แกร่งเหมาะ เจาะจอง
จะขาดเกิน งานตนเสร็จ สอดส่อง
เพื่อนงานลอง ส่วนรวม แบ่งหนักเบา



:b50: :b48: :b47: :b45: :b47: :b48: :b50:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดูเหมือนว่าคนที่ไม่เห็นแก่ตัวกลับกลายเป็นว่าเป็นคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากคนที่หวังผลประโยชน์ โดยที่เขายังพูดว่าน่าสงสารเราที่มีแต่คนเอาเปรียบ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่าตัวเขาเองที่เอาเปรียบเราอยู่ แล้วความเป็นจริงแล้วการเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวทำไมจึงถูกหลอกเอารัดเอาเปรียบ ราวกับว่าเป็นคนโง่
..

ขนาดคนฉลาด และเอาเปรียบใครๆอยู่ ก็ยังโดนเอาเปรียบเลย หรือจะเถียงว่า"ไม่มี"? การถูกเอาเปรียบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความโง่หรือฉลาดอะไร.. หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า..เหตุให้ถูกเอาเปรียบไม่ได้มาจากความฉลาดหรือโง่..

เคยคิดใหมว่าำทำไมคนอื่น(ในแวดวง)ไม่ถูกเอาเปรียบ แต่เรา"โดน"อยู่คนเดียว...?..หรือแม้จะโดนทั้งกลุ่มก็เถิด ไม่ใช่เรื่องยกเว้นพิเศษอะไร ในแง่ของเหตุและผล..อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น.. :b10: :b14:

ต่อให้คิดเอง อย่างไรก็"คิดไม่ออก"แน่นอน เพราะนี้เป็น"วิสัย"ของพระพุทธเจ้า และผู้ที่"เคยสดับ"คำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อนเท่านั้น....

หากจขกท.ไม่ใช่ชาวพุทธ พึงละการอ่านข้อความต่อไปเสีย และกราบขออภัยท่านจขกท. ที่ผู้เขียนประสงค์ชี้แจงต่อไป เพื่อประโยชน์แก่"ธารณชน" เพราะเว็บนี้เป็นเว็บสำหรับเผยแพร่พระพุทธศาสนา..

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้สัตว์ทั้งหลายเกิดปัญญา ว่าสิ่งทั้งปวงย่อมไหลมาแต่เหตุ ไม่มีความบังเอิญ หรือเพราะเทพบันดาลให้เป็นไป..ไม่ว่าใครจะทุกข์หรือสุขก็เพราะ"มีเหตุ"ที่มา .มิใช่ว่า จะเกิดเองลอยๆ แบบฟลุคๆราวสนุกเกอร์ก็หาไม่ เหตุที่ว่านั้น มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า"กรรม"คือเจตนาอันตนนั่นเองทำไว้ ด้วยกาย วาจาหรือใจก็ดี กรรมที่ทำไว้ย่อมมีผลตามมาแน่นอน ไม่หายไปใหน..เพียงแต่รอเหตุปัจจัยเหมาะสมที่จะส่งผลเท่านั้น แม้คนทำจะลืมไปแล้วว่า เมื่อห้า้รอยสิบสามล้านชาติที่แล้ว..ตนเองเคยประพฤติพาลธรรมมีการเอาเปรียบใครๆมาอย่างสนุกมือ แต่กรรมนั้นซื่อสัตย์ยิ่งกว่าอะไรๆในโลกไม่เคยลืมเราเลย เขานั้นคอยเวลาทองมาสนองให้ได้ผล"ตรงเด๊ะ"กับเจตนารมย์อันก่อน... ...

ก็เมื่อทำกุศลกรรมมา เขาก็นำสุขสวัสดีมาให้ ส่วนอกุศลกรรมก็เป็นความทุกข์ร้อนด้วยการถูกเบียดเบียนโดยอาการต่างๆ ..นี่เป็นกฏความจริงสากลของธรรมชาติที่ไม่ขึ้นอยู่กับคำสอนของศาสดาใด..

การที่เชื่อเรื่องของกรรม ไม่ได้เป็นเหตุให้ใคร"กลายเป็นคนโง่"เพราะคิดได้เพียงว่าถ้ามันเป็นเวรกรรมจริงๆแล้วเราเองนี่แหละจะคิดแต่ว่าเราไม่มีทางพ้นเรื่องนี้ไปได้...คนคิดได้เพียงนี้เรียกว่า"สิ้นคิดและคิดผิด " เพราะไม่มีปัญญาอันเกิดได้เฉพาะจากการที่สดับพระธรรมที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้ามาดีแล้ว หากไม่คิดถึงเรื่องเวรกรรมแล้ว โลกนี้คงไม่มีใครๆคิดจะพ้นทุกข์ ไม่มีใครคิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และไม่มีใครคิดปฏิบัติธรรมเพื่อความสิ้นไปของวัฏฏะ...แต่กลับกลายเป็นว่าท่านเหล่านั้น"กลัวภัยในวัฏฏะ"จนยอมตายถวายชีวิตในการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์..ถามว่าภัยอะไรหรือที่ท่านกลัวกัน?..

ตอบว่า ท่านกลัว"กรรม"..จึงดิ้นรนขวนขวายที่จะให้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งการไม่ทำ"กรรม"ที่จะนำพาไปเกิดอีก..

สิ่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้พิจารณาให้มากให้บ่อยคือเรื่อง"กรรม" ดังปรากฏใน[b]ฐานสูตร--พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
..
[/b] ความว่า..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
ความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เราจะต้องพลัดพรากจาก
ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่ว
ก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๑ ฯ
..

และทรงแสดงถึงจุดประสงค์หรือประโยชน์ของการคิดถึงเรื่องกรรมคือ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ
ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/57/81

ส่วนการที่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อถูกทุกข์เบียดเบียนอยู่ ก็ย่อมดิ้นรนที่จะแก้ทุกข์ด้วยความรู้สึกแบบโลกๆ..มีการคือแก้ด้วยอำนาจ กิเลสมีตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ..ฯลฯ.. ก็ย่อมเข้าถึงการเบียดเบียนกันอยู่ ..ก็ย่อมเป็นการทำเหตุใหม่เพื่อทุกข์ต่อไปในเบื้องหน้า..การคิดถึงกรรม จึงควรเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกเมื่อต้องรับทุกข์... ทั้งนี้เพื่อการระมัดระวังสำรวมในการทำกรรมใหม่ในปัจจุบัน มิให้ซ้ำรอยเดิม..พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าย่อมเป็นได้แต่ประโยชน์เท่านั้นแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล หาโทษใดๆไม่ไม่มีเลย..

การแก้ปัญหาด้วยธรรมะย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์ได้แท้จริง ทั้งในปัจจุบันและภพหน้า แต่แก้แบบโลกอาจเป็นการยุติปัญหาในขณะนี้ หรืออาจเพิ่มกลายเป็นปัญหาหนักกว่าเดิมก็มีให้เห็นกันมากมาย
ทั้งยังมีผลติดลบต่อเนื่องยาวไกลไปอีกมากภพหน้า ขอให้เลือกเอาตามอัธยาศัย..

:b41: :b54: :b55:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 23:06
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: :b48: :b18: :b48: :b18: :b48: :b18: :b48: :b18: :b48: ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาตอบกระทู้มากมากค่ะหนูอาจจะไม่ค่อยจะมีความรู้เรื่องพุทธศาสนามากค่ะ บางเรื่องหนูก็ไม่ค่อยเข้าใจยังไม่มีความรู้เลย หนูจะทำความเข้าใจให้มากกว่านี่ค่ะ ในเรื่องที่หนูไปตอบกระทู้เพื่อนคนหนึ่งว่า"ไม่อยากให้คิดว่าเป็นเรื่องของเวรกรรมเพราะถ้าเป็นเรื่องเวรกรรมจริงๆแล้วเราเองนี่แหละจะคิดว่าไม่มีทางพ้นเรื่องนี้ไปได้" ไม่ใช่ว่าหนูไม่เชื่อเรื่องเวรกรรมผลของการกระทำนะค่ะ หนูเคยเป็นแบบเพื่อนคนนั้นหนูก็คิด(คิดแบบเด็กๆค่ะ)ว่าสงสัยชาติที่แล้วหนูไปทำอย่างนั้นกับเขาไว้มั่ง เขาจึงได้ทำกับเราแบบนี้ เวลาที่หนูคิดว่าเป็นกรรมเก่าหนู หนูจะรู้สึกท้อหมดแรงมากเลยค่ะเพระไม่รู้ว่าชาติที่แล้วหนูไปทำอะไรไว้บาง หนูก็เลยไม่อยากคิดว่าเป็นกรรมเก่าของหนู หนูก็เลยคิดให้เป็นเรื่องปรกติว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดีของเขาที่ทำกับเราหนูสบายใจกว่าค่ะ แต่ทุกวันนี้หนูก็พยามทำแต่สิ่งที่ดีๆค่ะ หนูกราบขอโทษในสิ่งที่หนูตอบไปเกิดจากความไม่รู้ของหนู หนูจะทำความเข้าใจให้มากกว่านี้ค่ะและขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะขอบคุณมากๆค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


K.บุญเอิบ เขียน:

อ้างคำพูด:
หนูจะทำความเข้าใจให้มากกว่านี้ค่ะ


ขออนุโมทนาในความตั้งใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมครับ :b8:

เรื่องกรรมและการให้ผลนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำความเข้าใจ หากไม่เชื่อเสียแล้วก็จะพาตนเข้าถึงความเป็นผู้มี"มิจฉาทิฏฐิ"อันเป็นภัยร้ายแรงแก่ตนยิ่งกว่าการทำบาปหนักใด เพราะการเห็นผิดเช่นนั้นย่อมทำให้ตนไม่สำรวมระวังในเจตนาหรือกรรมทั้งหลาย เพราะไม่เชื่อว่ามีผลอะไรจึงสามารถล่วงศีลได้ ล่วงอกุศลกรรมบทได้ เป็นเหตุให้ต้องรับทุกข์ในอบายทุคติยาวนาน แม้ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เศษกรรมที่เหลือก็ยังตามมาส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อนแล้วๆเล่าไม่รู้จบ...

พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องกรรมก็เพื่อให้ทราบว่า ที่เราเดือดร้อนนั้น ไม่ใช่ใครอื่นทำให้หรอก เราเองต่างหากที่ทำเหตุเสียมาเอง จึงไม่พึงเพ่งโทษไปที่ใครที่ใหน..

เมื่อเราทราบดังนี้ย่อมเกิดปัญญา ว่าอ้อ ..นี่เป็นความผิดของเราเอง..ก็ย่อมสามารถปลงใจ"ยอมรับ"ได้กับสิ่งที่เกิด ทุกข์ย่อมลดลงบ้าง แม้ไม่ทั้งหมด... นี่คือประโยชน์ อันดับแรกในการเชื่อเรื่องกรรม..

ประการต่อมา ก็สามารถลดโทสะำพยาบาทต่อบุคคลที่เบียดเบียนเราได้บ้าง หรือทั้งหมด สามารถให้อภัยเขาในสิ่งที่เขาทำได้อย่างเต็มใจ ไม่ใช่ฝืนใจหรือปากว่าอภัย ใจผูกพยาบาท...

นอกจากอภัยเป็นและได้แล้ว ต่อมาก็เกิดจิตกรุณาสงสารคนที่กำลังทำบาปใหม่อย่างมัวเมาหน้ามืดด้วยความบอดเขลา เพื่อที่จะไปได้รับทุกข์อันเผ็ดร้อนของบาปกรรมนั้นในภายหน้า เหมือนหรือทำนองเดียวกับที่เรากำลังเป็นหรือได้รับอยู่..จิตที่เกิดกรุณาย่อมเป็นกุศล เป็นบุญใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันได้ไม่ง่ายนัก..แต่มีอานิสงค์มาก..

และขอให้ทราบว่าศาสนาพุทธไม่มีคำสอนให้"ยอมจำนนต่อกรรม"แต่อย่างใด..คนที่ไม่ได้สดับพระธรรมอย่างถูกต้องมา ต่างคิดกันเอาเองว่าเมื่อมีกรรมก็ต้องใช้ให้หมด ดังที่นิยมปรารภกันว่า ..

"..นี่คงเป็นเวรกรรมของเราเอง เราจะชดใช้ให้หมดในชาตินี้ จะได้ไม่ต้องเจอกันอีก..."
หรือ..."ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าเมื่อไรจะหมดเวรหมดกรรมเเบบนี้เสียที ทุกข์มากเเล้ว"..

คำพูดเช่นนี้ชี้ชัดถึงความอ่อนแอ และงอมืองอเท้าเพื่อรับกรรมด้วยความไม่รู้และซื่อสัตย์..จนกลายเป็นเรื่องซื่อบื้อไป...

แท้จริงพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่ง"การกระทำ"....ไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้รอคอยอะไรๆให้เกิดเอง หรือรอพระเจ้าที่ใหนมาเสกเป่าให้เป็นไป เพราะไม่มี ถึงมีก็ทำไม่ได้จริง..

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่าวิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ . . . บุคคล จะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร ..นี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยัน ความเป็นศาสนาแห่งกระทำอย่างชัดเจน... .. :b47:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5113

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไม่เห็นแก่ตัว ไม่น่าจะใช่นะคะ แบบนี้ต้องเรียกว่า ไม่รู้จักปกป้องรักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ของตนมากกว่าหรือเปล่าถึงถูกเอาเปรียบอ่ะ ประโยชน์ในส่วนของตนก็ต้องรู้จักปกป้องไว้ด้วยวิธีการที่ตั้งอยู่บนความถูกต้องอ่ะค่ะ ไม่สู้คน ไม่ได้แปลว่าให้ยอมให้ใครทำอะไรเราก็ได้นะ เหมือนที่เขาว่า คนอ่อนโยนไม่ใช่คนอ่อนแอ มันไม่เหมือนกันนะ

อีกอย่าง อะไรก็ปลงด้วยกรรมเก่า มันก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่ตอ่สู้อะไรเลยนะคะ ยิ่งสภาพชีวิตในการทำงานนั้น ถ้าจะให้มีความสุขก็คือ เราไม่ยุ่งเขาและต้องไม่ปล่อยให้เขามายุ่งเราง่ะ

เอาใจช่วยนะคะ :b17:

โดยส่วนตัวเราจะพิจารณาแบบนี้เวลาทำงาน คือ
ขยันหา
รักษาไว้ >>> อันนี้ไง...ปกป้องในส่วนของเราไว้ที่ได้มาโดยชอบธรรมด้วยวิธีการชอบธรรม
เข้าใกล้คนดี
เลี้ยงชีวีโดยชอบธรรม

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร