วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 01:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พูดให้ฟัง ทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น


การอบรมฝึกฝนคนในครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิด วาจา คำพูด เป็นสิ่งสำคัญ
คือ เราพูดให้ฟัง ทำให้ดูและเป็นอยู่ให้เห็น
อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เขาจะต้องถ่ายทอดไป คือ ถ่ายทอดซึ่งกันและกัน
บางทีเด็กๆ เขาก็เป็นตัวอย่างกับผู้ใหญ่ได้
เด็กที่ดีมีวาจาดี มีมารยาทดี มีคำพูดดี
มีสำนึกดี มีความรู้สึกดี มีจิตสำนึกดี เขาก็เป็นตัวอย่างให้กับผู้ใหญ่ได้
เพราะว่าบางทีผู้ใหญ่ก็ร้อน พูดอะไรด้วยความเร่าร้อน
แต่เด็กเขาเย็น เขารับได้ อย่างนี้ผู้ใหญ่ก็ควรละอายเด็ก
ที่เขาเด็กกว่า ที่เขาเย็นได้มากกว่า


คำพูดหรือการสั่งสอนอบรมพูดให้ได้ยินได้ฟังโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเด็กเล็กๆ นี่นะครับ เขาจะเห็นการกระทำ คำพูด
พฤติกรรมอะไรต่างๆ ของผู้ใหญ่นี่มันเป็นคำสอนไปหมด เป็นการสอนไปหมด
ในนิทานชาดก มีเรื่องพวกนี้สอนไว้เยอะ



คนเลี้ยงม้าเดินขาเขยก ม้าเข้าใจว่าให้มันศึกษา ก็เลยเดินขาเขยก
ทีนี้พระราชาก็ต้องให้สัตวแพทย์ไปตรวจ ตอนนั้นเขาก็มีสัตวแพทย์
ให้สัตวแพทย์ไปตรวจดูว่าม้ามันเป็นโรคอะไร ก็ไม่มีโรคทางกาย
สังเกตดูก็ อ้อ! นี่เองต้นเหตุคือว่า คนเลี้ยงขาเขยก
ม้าเข้าใจว่านั่นคือการสอนมัน มันก็เลยเดินขาเขยกตามไปด้วย
ทีนี้พอเปลี่ยนคนเลี้ยงม้า เดินขาตรง เดินสง่าผ่าเผย ม้าก็กลับเป็นเดินดี เดินปกติดี


นี่เรื่องสัตว์ เรื่องช้างก็ มี ช้างเป็นช้างที่มีศีลมีธรรม มีมารยาทดี
คราวหนึ่งมีพวกโจรไปนั่งคุยกันใกล้ๆ โรงช้าง
“จงฆ่ามัน จงจับมัน จงฟาดลงไป”
เล่าเรื่องที่เขาไปปล้นไปจี้ไปทำอะไรต่ออะไรมาตามประสาโจร
ช้างเข้าใจว่านั่นคือเขาสอนให้ตัวทำ ช้างดีก็กลายเป็นช้างดุร้าย
ผ่านมาวันหนึ่ง ควาญช้างเข้ามา ก็จับควาญช้างฟาดลงไปถึงตาย


พระราชาก็ให้พระโพธิสัตว์ ปุโรหิตไปสอบดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับช้าง
ก็ตรวจดูโรคทางกายหรือโรคประสาทอะไร มันก็ไม่มี
แต่จับได้ว่ามีคนไปนั่งคุยกันทุกคืนถึงเรื่องพวกนี้ เปลี่ยนเสียใหม่
ให้บัณฑิตไปนั่งคุยกันถึงเรื่องศีลเรื่องธรรม เรื่องเมตตากรุณา
เรื่องการไม่ทำร้ายผู้อื่น หลายๆ คืนเข้าช้างก็สำเหนียกว่า
เขาให้เราศึกษาแล้วก็กลับเป็นช้างดี มีมารยาทดี


นี่ก็เรื่องช้าง เรื่องม้า เรื่องนกก็มี


นกแขกเต้าสองตัว โดนลมพัดไป
ลมหัวด้วนหรือลมอะไรที่มันพัดไปหลายๆ ทิศนะครับ พอลมพัดไป
ตัวหนึ่งไปตกที่สำนักโจร อีกตัวหนึ่งไปตกที่สำนักฤาษี สองตัวพี่น้อง
ตัวที่ไปตกอยู่สำนักโจรก็โตขึ้นมา ใครเดินผ่านมา
พระราชาผ่านมาก็สั่งคนครัวให้จับ ให้ปล้น เอาพระราชาไปฝังดินฆ่าเสียเอาใบไม้กลบ
ก็พูดจาหยาบคายเหมือนโจร


ทีนี้พระราชาก็หนีไป ไปเจอสำนักฤาษี ฤาษีไม่อยู่ไปหาผลไม้ เจอแต่นก
นกมันก็ต้อนรับปราศรัยดี พูดดีเชิญให้นั่ง เชิญให้ดื่มน้ำ
เชิญให้พักผ่อนด้วยวาจาที่ไพเราะ นกสองตัวเกิดจากพ่อแม่เดียวกัน
แต่โดนลมพัดไปตกอยู่ในที่ต่างกัน การอบรมต่างกัน พฤติกรรมมันก็เลยต่างกัน


เด็กนี่นะครับเวลาผู้ใหญ่คุยกัน เด็กเขาฟัง บางคนเขาไม่พูดแต่เขาฟัง
เขาฟังแล้วก็สำเหนียก เขาคิดว่าผู้ใหญ่สอนเขา
ถ้าผู้ใหญ่เน้นอยู่แต่ในเรื่องใด พูดอยู่แต่ในเรื่องใดบ่อยๆ
เด็กก็จะรู้สึกว่าผู้ใหญ่สอนเขาในเรื่องนั้น เขาก็จะมีจิตใจโน้มเอียงไปในทางนั้น


คือดูดซับคำพูดเหล่านั้น พฤติกรรมเหล่านั้นไว้ในตัว
เพราะฉะนั้น เวลาผู้ใหญ่คุยกัน ถ้าเด็กอยู่ด้วยต้องระวังนะครับ
เรื่องอะไรที่ไม่อยากให้เด็กได้ยินได้ฟัง ก็ไม่ควรจะพูดเวลาที่เด็กอยู่ด้วย
เด็กนี่ปัญญาเป็นเครื่องกรองจะไม่มี เข้าใจว่านั่นคือคำสอนที่ผู้ใหญ่ให้เขา
เพราะฉะนั้น ท่านสังเกตดูว่า เราก็บ่นกันอยู่ว่า พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงเด็ก
เวลานี้เด็กก็จะอยู่กับลูกจ้าง ลูกจ้างนิสัยเป็นอย่างไร
เด็กแกก็มักจะเป็นอย่างนั้นไปสักระยะหนึ่ง เป็นเหมือนกับลูกจ้างที่เลี้ยงแกนั่นแหละ



นี่คือการฝึกฝนการควบคุมตนเอง การให้คำสอนในครอบครัว
การทำตัวอย่างให้ดู หรือเป็นอยู่ให้เห็นในครอบครัว ย่อมมีความสำคัญเป็นอันมาก




แม้แต่ต้นไม้ก็มีนะครับ ท่านก็เล่าเรื่องต้นไม้ มะม่วงต้นหนึ่งมีรสอร่อย
ต่อมามีคนคิดจะทำลายมะม่วง ที่หวานหอมอร่อยนั้น
ก็เอาสะเดามาปลูกล้อมรอบ เอาเถาบอระเพ็ดมาปลูกรอบๆ ต้นมะม่วง
พอสะเดาโตขึ้น บอระเพ็ดโตขึ้นรากมันก็พันกับราก
กิ่งมันก็พันกับกิ่งในที่สุดต่อมามะม่วงก็กลายเป็นรสขม
เจ้าของมะม่วงก็ประหลาดใจว่า ทำไมจู่ๆ มะม่วงก็กลายเป็นรสขมไป


ทำไมมะม่วงนั้นไม่ทำให้สะเดาหรือบอระเพ็ดนั้นมีรสหวานบ้าง


ก็ลักษณะด้อยลักษณะเด่น มันผิดกัน คือรสขมมันไปข่มรสหวาน
เมื่อทราบเหตุแล้วก็โค่นต้นสะเดาออก ขุดรากออก เอาบอระเพ็ดออก
และก็พรวนดินใหม่รดน้ำใหม่ ในที่สุดมะม่วงนั้นก็มีรสอร่อย หวานหอมอย่างเดิม


อันนี้คือโทษและคุณของการเสวนาเขาเรียกว่า อาเสวน-ปัจจัย
การเกี่ยวข้องนี่มีหลายอย่าง เกี่ยวข้องด้วยการเห็น เกี่ยวข้องด้วยการบริโภค
เกี่ยวข้องด้วยการได้ยินได้ฟังอย่างนี้นะครับ
เพราะฉะนั้นเมื่อทราบว่าการอบรมในครอบครัว ด้วยการควบคุมตนเอง
การสั่งสอน การได้ยินได้ฟัง การทำตัวอย่างให้ดู นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
เราก็ควรจะต้องจัดกันใหม่ เพื่อจะให้มีปัญหาครอบครัวน้อยลง
หรือป้องกันปัญหาครอบครัว แล้วก็ใส่สิ่งที่ดีให้
เพิ่มสิ่งที่ดีให้ เหมือนกับเราจัดการกับต้นไม้อย่างที่ว่ามานี้



คัดลอกบางส่วนจาก...ชีวิตกับครอบครัว (ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ)
ห้องหนังสือเรือนธรรม


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


จะขึ้นเครื่องไปช็อบปิ้งอยู่แล้ว
ยังทิ้งของดีๆ ไว้ให้เพื่อนๆ เที่ยวให้สนุกนะค่ะคุณยาย

อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร