วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 15:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ


คนยุคนี้… ไม่มีการเรียนรู้ระหว่างกัน ใครจะทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงใคร
เหงา ขาดที่พึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ



ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านต่างๆ
ในสังคมทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับเมือง ตลอดจนระดับชุมชน
สิ่งหนึ่งที่ถูกกระทบมากที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม
แม้แต่ในสังคมเล็กๆ เช่นครอบครัว


ความสัมพันธ์ที่เคยมีอย่างแนบแน่นก็กลายมาเป็นความห่างเหินฉาบฉวยจนน่าใจหาย
วิถีชีวิตที่รีบเร่งและเต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ทำให้สายใยที่เคยผูกโยงผู้คนในสังคมให้ใกล้ชิด เอื้ออาทรซึ่งกันและกันมลายหายไปสิ้น
และเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นไปอย่างผิวเผินฉาบฉวย
โอกาสในการเรียนรู้จากกันและกันซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง
ของมนุษย์ก็ย่อมขาดหายไปด้วยอย่างน่าเสียดายยิ่ง



เราเคยคิดกันอย่างจริงๆ จังๆ หรือไม่ว่าความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของมวลสมาชิกในสังคม
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ แท้ที่จริงเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดพฤติกรรม
หรือการแสดงออกของเราอย่างมากทีเดียว
ลองพิจารณาดูเถิดว่าการที่เราจะทำหรือไม่ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง
ตัวที่กำหนดพฤติกรรมของเราอาจมีหลายอย่าง
แต่ที่สำคัญตัวหนึ่งที่คอยกำกับพฤติกรรมเราอยู่เสมอ
ก็คือ ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อคนในสังคมนั้นนั่นเอง
หลายคนไม่กล้าทำผิดเพราะเกรงกลัวต่อบาป
หลายคนไม่กล้าทำผิดเพราะกลัวได้รับการลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง
พฤติกรรมเหล่านี้เข้าใจได้ง่าย
แต่ถ้าคนไม่สนใจบาปบุญคุณโทษหรือไม่เกรงกลัวกฎหมาย
ก็คงทำอะไรต่อมิอะไรได้ทั้งสิ้นดังที่เห็นกันอยู่เกลื่อนไปในสังคมของเรา
ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือเอาเปรียบผู้อื่นในรูปแบบต่างๆ
หรือแม้แต่การยอมเสียเนื้อเสียตัวของเด็กวัยรุ่นโดยไม่สอดรับกับบรรทัดฐานทาสงสังคม
ซึ่งเด็กเหล่านี้ใช่ว่าจะด้อยการศึกษาหรือมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน
แต่ที่พวกเขาได้ประพฤติปฏิบัติไปในทางอันเสื่อมนั้น
ก็เป็นเพราะว่าความสัมพันธ์ของเขากับผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิด
หรือ บุคคลซึ่งเป็นผู้ที่เขาควรเคารพนับถือ เช่น พ่อแม่ผู้ปกครอง
ผู้ใหญ่ในครอบครัวมีความฉาบฉวยหรือห่างเหินเป็นอันมาก


ผมเชื่อว่า ถ้าคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้หลักผู้ใหญ่
เราคงไม่กล้าแสดงออกพฤติกรรมเสื่อมเสีย
เพราะเกรงจะสูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่เราเคารพนับถือ
คิดดูเถิดถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดี แนบแน่นกับพ่อแม่
เราจะกล้าปฏิบัติในสิ่งที่รู้ว่าจะทำให้พ่อแม่เสียใจหรือ
เพราะจะกระทบต่อความสัมพันธ์อย่างมาก
เราคงไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ที่ดีนั้นต้องขาดสะบั้นลงใช่หรือไม่


ผมเชื่อว่า ความสัมพันธ์ที่ดีของผู้คนในสังคมเป็นเกราะกำบัง
มิให้คนเราทำอะไรในทางชั่วร้ายได้อย่างดี
แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมไทยเบาบาง
และฉาบฉวยมากขึ้นทุกทีแล้ว ขนาดบ้านเรือนอยู่ใกล้กันก็ไม่รู้จักกัน
ทำงานในองค์กรเดียวกันก็รู้จักกันน้อยมาก
แทบจะไม่มีกิจกรรมที่มีกลไกของสังคมหรือชุมชนที่เอื้อให้สมาชิกของสังคม
หรือชุมชนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กันเหมือนสังคมหรือชุมชนในอดีต



สมัยก่อนนั้น สมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีกิจกรรมหลากหลายที่ทำร่วมกัน
มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกัน ในชุมชนก็มีกิจกรรมที่เอื้อให้สมาชิก
ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งในเรื่องการทำมาหากิน เช่น การลงแขก การเอามื้อเอาวัน
การทำบุญตามประเพณีต่างๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันตามตลาดของชุมชน
ในสังคมที่สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
และกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม
แต่ยังป้องกันคนภายนอกเข้ามาเอารัดเอาเปรียบ แสวงหาประโยชน์จากชุมชนได้อีกด้วย
แท้ที่จริงความสัมพันธ์ทางสังคมที่แนบแน่นถือได้ว่า
เป็น “ทุนทางสังคม” ที่สำคัญมากของชุมชน
เป็นสิ่งที่ชุมชนทั้งเล็กและใหญ่จักต้องพยายามรักษาเอาไว้
ในเมื่อความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนในยุคปัจจุบันนี้บอบบางและผิวเผินมากขึ้นทุกที
จึงเป็นเหตุให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทั้งในครอบครัว ในชุมชน
และแม้แต่ในหน่วยงานไม่อาจเกิดขึ้นได้ผมคิดว่า
ผู้ที่คุยโม้โอ้อวดเรื่องการจัดการความรู้สึกเป็นวิธีการของฝรั่งนั้น
น่าจะต้องคิดกันใหม่เสียละกระมัง เพราะถ้าหากความสัมพันธ์ทางสังคม
(ซึ่งมิใช่ความสัมพันธ์ในด้านอาชีพหรือหน้าที่การงาน)
ของผู้คนใหม่หน่วยงานหรือองค์กรมีความฉาบฉวยเบาบาง
การจัดการความรู้ที่ว่านั้นคงไม่มีทางเป็นจริงสักเท่าไรดอก
เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแท้จริงย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
ทว่าการที่จะสนับสนุนให้ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างสมาชิกขององค์กร ชุมชน
หรือครอบครัวมีความแนบแน่น ท่ามกลางระบบคุณค่าที่เน้นความเร็วและเร่งรีบ
เน้นการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย เน้นการบริโภคอย่างบ้าคลั่ง เป็นเรื่องยาก
เพราะฉะนั้น เราอาจจะต้องทบทวนและพิจารณาเรื่องระบบคุณค่าในสังคม
ที่ครอบงำเราอยู่อย่างจริงจัง และหาทางสลัดระบบคุณค่าดังกล่าวออกเสียให้มากเท่าที่จะมากได้


ผมคิดว่า ถ้าเรายังเชื่อความเร็วและความเร่งรีบเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา
และเห็นว่าการแข่งขันเป็นสิ่งที่ดี หรือเห็นว่าการบริโภคอย่างเต็มที่
เป็นเป้าหมายของชีวิตการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชนในหน่วยงาน
และในครอบครัว ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ และแม้จะเกิดขึ้นได้บ้างแต่ก็ยากที่จะมั่นคงยั่งยืนนาน
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงใคร่ขอเสนอให้ลองทบทวนดูว่า…

…ที่เราต้องเร่งต้องรีบ ไม่ว่าในการทำงานหรือการเรียน
หรือทำกิจการงานใดมีความจำเป็น หรือสำคัญจริงหรือ

…ที่เราต้องอยู่ในลู่ของการแข่งขัน เราจำเป็นต้องมุ่งมั่นแข่งขันกันชนิดไม่เผาผีกันหรือ
…การแข่งขันอย่างบ้าคลั่งให้ผลดีอะไรแก่ชีวิตเราบ้าง

…การที่เราใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และวิ่งเข้าสู่การแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายนั้น
เป็นเพราะเราเสพติดกับการบริโภคอย่างไม่ลืมหูลืมตา ใช่หรือไม่


ผมคิดว่า เราต้องทบทวนการใช้ชีวิตของเราให้ช้าลง ลดการแข่งขัน ลดการบริโภค
เพื่อว่าเราจะได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนเดียวกันในองค์กรเดียวกัน
และในครอบครัวเดียวกันเพื่อจะได้เรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะในสังคม
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเฉียบพลันดังเช่นทุกวันนี้
ชีวิตของเราแต่ละคนแต่ละครอบครัว ต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายและปัญหาต่างๆ ตลอดเวลา
เราจึงต้องมีการเรียนรู้อย่างเท่าทันอยู่ตลอดเวลา และการเรียนรู้ที่ดีวิธีหนึ่ง
ก็คือการเรียนรู้จากกันและกันระหว่างคนในชุมชนเดียวกัน หรือองค์กรเดียวกัน
หรือครอบครัวเดียวกัน



จริงอยู่ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมใช่ว่าจะง่ายดายนัก
ดังนั้น เราจักต้องยอมรับว่า ในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในระยะแรกๆ
อาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดหรือมีปัญหาบ้าง
โดยเฉพาะถ้าเรายังไม่สลัดทิ้งระบบคุณค่าบางอย่างที่เรายึดถืออยู่
ประการต่อมา เราต้องทำความเข้าใจว่าคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
อันเป็นผลมาจากพื้นภูมิหลัง การเลี้ยงดู การศึกษาเรียนรู้ และความเชื่อที่ยึดถือ
ต้องยอมรับว่าความแตกต่างหลากหลายนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
และขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่า ความแตกต่างหลากหลายนี่เอง
ที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันมีความหมายอย่างแท้จริง


ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมทุกวันนี้เราจึงได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล
ระหว่างกลุ่มคน ระหว่างองค์กรเกิดขึ้นเนืองๆ ซึ่งก็เป็นเพราะระบบคุณค่าต่างๆ
ที่ทำให้ผู้คนไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งกันและกันนั่นเอง
ชีวิตของผู้คนทุกวันนี้ล้วนแต่สัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ
ในขณะที่ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันลดน้อยถอยลงทุกที
คนจำนวนมากมีชีวิตอยู่เพียงมีเป้าหมายเพื่อการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
และเพื่อเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทรัพย์สินให้มากขึ้น
แต่ชีวิตไม่มีความหมายอย่างอื่นในฐานะของความเป็นมนุษย์เอาเลย


คนยุคนี้… จึงไม่มีการเรียนรู้ระหว่างกันใครจะทำอะไรก็ได้
โดยไม่ต้องคำนึงถึงใครเหงา ว้าเหว่ ขาดที่พึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมจึงเสนอว่า เราลองหยุดคิดไตร่ตรอง
และหันมาสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นให้มากขึ้น
เพื่อว่าชีวิตจะได้มีความหมายอย่างแท้จริง.




ที่มา.. teen&family Vol.11 No.123 June 2006
ห้องสมุด E-LIB


:b48: :b8: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร