วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2013, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรักในทางพุทธศาสนาท่านแบ่งไว้กี่แบบค่ะ อยากทราบไว้เป็นความรู้คะ :b3: :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2013, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ศึกษาพระพุทธศาสนา ยังไม่เห็นข้อความการออกแบบความรักชัดๆนะครับ แต่เห็นอยู่แห่งหนึ่งที่ว่า “พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ที่เทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และต่อพระราหุล ทั่วทุกคน”

พอจะเรียกว่าเป็นความรักได้ไหม? คือ เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ รักเสมอเหมือนกันหมด ไม่เลือกที่รัก ไม่ผลักที่ชัง

ถ้าเรียกว่าเป็นความรักได้ ความรักก็มีสองแบบ (ออกแบบโดยกรัชกาย) คือ รักแบบโลกิยะ กับรักแบบโลกุตระ รักแบบโลกุตระก็อย่างที่กล่าวแล้ว

ส่วนความรักแบบเป็นโลกิยะนั้น แยกย่อยได้อีกหลายสาขา ไม่ตายตัว ต้องปรับตัวเข้าหากันผ่อนหนักผ่อนเบาอยู่ตลอด เช่น ความรักระหว่างสามีกับภรรยา...ระหว่างพ่อแม่กับบุตรธิดา...ระหว่างครูอาจารย์กับ ศิษย์...ระหว่างชายหนุ่ม กับ หญิงสาว...เหตุที่เป็นแบบโลกิยะ จึงมีทั้งรักทั้งชังทั้งหวานและข่มขื่น... ดังนั้น จึงไม่มีใบรับประกันแบบที่ออกให้ :b32: ว่าจะมีความสุขแต่เพียงอย่างเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านหนังสือ จาริกบุญ จารึกธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านพูดถึงเรื่องความรักทางพุทธศาสนาไว้ว่ามี 2 แบบ ท่านอธิบายไว้ชัด ตัดเอาตรงนี้เลย ลองอ่านกันดูครับ



ความรัก ถ้าแยกตามหลักพระพุทธศาสนา ก็แบ่งง่ายๆ ก่อนว่ามี ๒ แบบ

ความรักแบบที่หนึ่ง คือ ความชอบใจอยากได้เขามาเพื่อทำให้ตัวเรามีความสุข เป็นความปรารถนาต่อบุคคลหรือสิ่งที่จะเอามาบำรุงบำเรอความสุขของเรา ชอบใจคนนั้นเพราะว่า จะมาสนองความต้องการ ช่วยบำรุงบำเรอ ทำให้เรามีความสุขได้ อะไรที่จะทำให้เรามีความสุข เราชอบใจ เราต้องการมัน นี่คือ ความรักแบบที่หนึ่ง ซึ่งมีมากมายทั่วไป

ความรักแบบที่สอง คือ ความอยากให้เขามีความสุข ความต้องการให้คนอื่นมีความสุข หรือความปรารถนาให้คนอื่นอยู่ดีมีความสุข

ความรักสองอย่างนี้ แทบจะตรงข้ามกันเลย แบบที่ ๑ ชอบใจ เพราะว่าจะเอาเขามาบำเรอความสุขของเรา แต่แบบที่ ๒ อยากให้เขาเป็นสุข ความรักมี ๒ แบบอย่างนี้ ซึ่งเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

ความรักที่หนุ่มสาวพูดกันมาก ก็คือ ความรักแบบที่ว่า ชอบใจอยากจะได้เขามาสนองความต้องการของตน ทำให้ตนมีความสุข

แต่ในครอบครัวจะมีความรักอีกแบบหนึ่งให้เห็น คือ ความรักระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยเฉพาะความรักของพ่อแม่ต่อลูก คือ ความอยากให้ลูกเป็นสุข

ฉะนั้น ตอนแรกจะต้องแยกระหว่างความรัก ๒ แบบนี้เสียก่อน ความรักความชอบใจที่จะได้คนอื่นมาบำเรอความสุขของเรานี้ ทางพระเรียกว่า ราคะ ส่วนความรักที่อยากให้คนอื่นเป็นสุข ท่านเรียกว่า เมตตา

ความรัก ๒ แบบนี้ไม่เหมือนกัน แล้วอะไรจะตามมาจากความรักทั้ง ๒ แบบนี้ ความรัก ๒ แบบนี้ มีลักษณะต่างกัน และมีผลต่างกันด้วย

ถ้ามีความรักแบบที่หนึ่ง ก็ต้องการได้ ต้องการเอาเพื่อตนเอง เมื่อทุกคนต่างคนต่างอยากได้ ความรักประเภทนี้ ก็จะนำมาซึ่งปัญหา คือ ความเบียดเบียนแย่งชิงซึ่งกันและกัน เข้าลักษณะเป็นความเห็นแก่ตัว

ความรักแบบที่สอง อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข เมื่ออยากให้ผู้อื่นเป็นสุข ก็พยายามทำให้เขาเป็นสุข เหมือนพ่อแม่รักลูก ก็พยายามทำให้ลูกเป็นสุข และเมื่อทำให้เขาเป็นสุขได้ ตัวเองก็จึงจะเป็นสุข

ความรักของพ่อแม่ คือ อยากทำให้ลูกเป็นสุข และมีความสุขเมื่อเห็นลูกเป็นสุข

ความรักแบบที่หนึ่งนั้น ต้องได้จึงจะเป็นสุข ซึ่งเป็นกระแสกิเลสของปุถุชนทั่วไป มนุษย์อยู่ในโลกนี้ เมื่อยังเป็นปุถุชนก็ต้องการได้ต้องการเอา เมื่อได้เมื่อเอาแล้ว ก็มีความสุข แต่ถ้าต้องให้ต้องเสีย ก็เป็นทุกข์

วิถีของปุถุชนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาในเรื่องของคุณธรรม เพราะว่าถ้าการให้เป็นทุกข์เสียแล้ว คุณธรรมก็มาไม่ได้ มนุษย์จะต้องเบียดเบียนกัน ความรักแบบที่หนึ่ง จึงเพิ่มปัญหาสังคม

แต่ถ้าเมื่อไรเราสารถมีความสุขจากการให้ เมื่อไรการให้กลายเป็นความสุข เมื่อนั้นปัญหาสังคมจะลดน้อยลงไป หรือแก้ไขได้ทันที เพราะมนุษย์จะเกื้อกูลกัน

ความรักแบบที่สอง ทำให้คนมีความสุขจากการให้ จึงเป็นความรักที่สร้างสรรค์และแก้ปัญหา

เมื่อมนุษย์มีความสุขจากการให้ จะเป็นความสุขแบบสองฝ่ายสุขด้วยกัน คือ เราผู้ให้ก็สุข เมื่อเห็นเขามีความสุข ส่วนผู้ได้รับก็มีความสุขจากการได้รับอยู่แล้ว สองฝ่ายสุขด้วยกัน หรือร่วมกันสุข จึงเป็นความสุขแบบประสาน หรือสุขร่วมกัน

ความสุขแบบนี้ดีแก่ชีวิตของตนเองด้วย คือ ตนเองก็มีทางได้ความสุขเพิ่มขึ้น แล้วก็ดีต่อสังคม เพราะเป็นการเกื้อกูลกัน ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี

นี่แหละที่ว่า เป็นการแยกความหมายของความรักเป็น ๒ แบบ และให้พัฒนาจากความรักแบบที่หนึ่งไปสู่ความรักแบบที่สอง คือ ให้ความรักแบบที่สองเกิดมีขึ้นมา เพื่อช่วยสร้างดุลยภาพในเรื่องความรัก

มองเห็นง่ายๆ เช่น ระหว่างหนุ่มสาว ถ้ามีความรักแบบที่หนึ่งอย่างเดียว จะไม่ยั่งยืน ไม่ช้าก็จะต้องเกิดปัญหาแน่นอน เพราะว่า คนที่มีความรักแบบที่หนึ่งนั้น ต้องการจะเอาเขามาเป็นเครื่องบำรุงบำเรอตัวเองเท่านั้น ถ้าเมื่อไรตนไม่ได้สมใจปรารถนา ก็จะเกิดโทสะ ความรักใคร่กลายเป็นความชิงชัง ปัญหาก็จะเกิดขึ้น

ฉะนั้น คนเราอาจจะเริ่มต้นด้วยความรักแบบที่หนึ่งได้ ตามเรื่องของปุถุชน แต่จะต้องรีบพัฒนาความรักแบบที่สองให้เกิดขึ้น

พออยู่เป็นคู่ครองกันแล้ว ถ้ามีความรักแบบที่สองเข้ามาหนุน ก็จะทำให้อยู่กันได้ยั่งยืน ความรักแบบที่สองจะเป็นเครื่องผูกพันสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตครองเรือนมีความมั่นคง ดังนั้น ปุถุชนอย่างน้อยก็ให้มีความรัก ๒ แบบนี้ มาดุลกัน ก็ยังดี ขอให้ได้แค่นี้ก็พอ

ในกรณีของสามีภรรยา ถ้ามีความรักแบบแรกที่จะเอาแต่ใจฝ่ายตนเอง ก็คือ ตัวเองต้องการเขามาเพื่อบำเรอความสุขของตน ถ้าอย่างนี้ก็ต้องตามใจตัว ไม่ช้าก็จ้ะองเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท หรือเบื่อหน่าย แล้วก็อยู่ กันไม่ได้ ไม่ยั่งยืน

แต่ถ้ามีความรักแบบที่สอง คือ อยากให้เขาเป็นสุข เราก็จะมีน้ำใจ พยายามทำให้เป็นสุข ถ้ามีความรักแบบที่สองอยู่ ความรักก็จะยั่งยืนแน่นอน เพราะต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ทำอย่างไรจะให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความสุข

สามีก็คิดว่า ทำอย่างไรจะให้ภรรยามีความสุข ภรรยาก็คิดแต่ว่า ทำอย่างไรจะให้สามีมีความสุข คิดอย่างนี้ก็มีแต่ความเกื้อกูลกัน ก็ทำให้ครอบครัวอยู่ยั่งยืน ชีวิตครองเรือนก็มีความสุขได้

นี้เป็นแง่ที่หนึ่ง ที่จะต้องยกขึ้นมาพูดให้เห็นว่า การพัฒนาคนในเรื่องความรัก ให้รู้จักความรักทั้ง ๒ อย่าง อย่างน้อยก็ให้มีดุลยภาพในเรื่องความรัก ๒ ข้อนี้ แล้วพัฒนายิ่งขึ้น จนกระทั่งให้คนเราอยู่กันด้วยความรักประเภทที่สอง

อย่างไรก็ดี ความรักประเภทที่สองนี้แม้จะดี เมื่อเปรียบเทียบกับความรักประเภทที่หนึ่ง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ มีจุดอ่อนได้ จึงต้องมาพูดกันต่อไป พระพุทธศาสนาสอนว่า คนจะต้องพัฒนาขึ้นไปเป็นขั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์เจ้าขา เขียน:
ความรักในทางพุทธศาสนาท่านแบ่งไว้กี่แบบค่ะ อยากทราบไว้เป็นความรู้คะ :b3: :b3:


อยากถามคุณจันทร์เจ้าขาก่อนว่า คุณเข้าใจคำว่าความรักอย่างไร
อะไรที่เรียกว่าความรัก พี่หญิงจะได้อธิบายได้ถูกต้องตามความเข้าใจ
ของคุณนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
จันทร์เจ้าขา เขียน:
ความรักในทางพุทธศาสนาท่านแบ่งไว้กี่แบบค่ะ อยากทราบไว้เป็นความรู้คะ :b3: :b3:


อยากถามคุณจันทร์เจ้าขาก่อนว่า คุณเข้าใจคำว่าความรักอย่างไร
อะไรที่เรียกว่าความรัก พี่หญิงจะได้อธิบายได้ถูกต้องตามความเข้าใจ
ของคุณนะคะ
ขอบคุณคุณกรัชกายนะค่ะ :b8:
ตามความเข้าใจนะคะ เช่นรักแบบหวังดีปรารถนาดีก็มี
รักแบบต้องการครอบครองก็มี อย่างอื่นพอมีอีกหรือเปล่านะคะ :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์เจ้าขา เขียน:
หญิงไทย เขียน:
จันทร์เจ้าขา เขียน:
ความรักในทางพุทธศาสนาท่านแบ่งไว้กี่แบบค่ะ อยากทราบไว้เป็นความรู้คะ :b3: :b3:


อยากถามคุณจันทร์เจ้าขาก่อนว่า คุณเข้าใจคำว่าความรักอย่างไร
อะไรที่เรียกว่าความรัก พี่หญิงจะได้อธิบายได้ถูกต้องตามความเข้าใจ
ของคุณนะคะ
ขอบคุณคุณกรัชกายนะค่ะ :b8:
ตามความเข้าใจนะคะ เช่นรักแบบหวังดีปรารถนาดีก็มี
รักแบบต้องการครอบครองก็มี อย่างอื่นพอมีอีกหรือเปล่านะคะ :b3:


สวัสดียามเย็นค่ะคุณจันทร์เจ้าขา พี่หญิงมองว่าความรักแบบต้องการครอบครอง
นั่นไม่ใช่ความรักหรอกค่ะ แต่เป็นความหลงมากกว่า หลงในรูป หลงในรสมากกว่า
จะเป็นความรัก

สำหรับความรักในทางศาสนาหลายๆคนก็แตกยอด แตกสาขาเป็นหลายคำ หลายรูปแบบ
แต่พี่หญิงขอรวบยอดเอามารวมกันเป็นหมวดเดียวเลยนะคะว่า ความรักในทางพระพุทธ
ศาสนาคือ ความรักแบบปราถนาดี ปราถนาดีที่อยากจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

ความรักจากบิดามารดาก็คือ รักแบบปราถนาดี อยากให้ลูกมีความสุข ประสพความ
สำเร็จในชีวิต ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน

ความรักจากลูก คือ อบากให้พ่อแม่มีความสุข ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย อายุมั่นขวัญยืน

ความรักแบบหนุ่มสาว คือรักแบบปราถนาดี ต้องการเห็นคนที่เรารักได้เจอคนที่
เขารัก(ถ้าเป็นเราก็จะดีมาก) อยากเห็นเขามีชีวิตที่ดี มีความสุขในชีวิต ไม่ใช่เพื่อ
ครอบครอง

ฯลฯ ถ้าจะให้แจกแจงเกรงว่าจะยาวมากไปค่ะ

ส่วนรักที่พระพุทธเจ้ามอบให้แก่มนุษย์ก็คือ รักแบบปราถนาดี คือทรงสอนธรรมให้กับ
สาวกเพื่อให้ร่วมกันเผยแพร่ธรรมของพระองค์ไปยังทั่วทุกสารทิศ เพื่อให้เขาเหล่านั้น
ได้มีดวงตาเห็นธรรม ทรงปราถหาให้เขาเหล่านั้นหลุดพ้น นี่คือความรักของพระองค์
ที่มีต่อมวลมนุษย์

จึงสรุปว่าความรักในทางพระพุทธศาสนานั้นมีแบบเดียวคือรักแบบปราถนาดี อยาก
ให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ หลุดพ้นในวัฏสงสาร เพื่อไปสู่พระนิพพาน ส่วนใครจะแจกแจงหรือ
แตกแขนงออกไปเป็นอีกกี่แบบ อีกกี่คำ อีกกี่หมวด ก็คงไม่พ้นความรักแบบนี้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณนะค่ะ :b8: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากคห.ก่อนหน้า


ความรักประเภทที่สอง เป็นคุณธรรม เป็นเมตตา ก็ดีเยอะแล้ว แต่ในตอนเริ่มต้น เมตตาจะยังแคบ เช่น พ่อแม่ก็จะรัก มีเมตตาเฉพาะลูกของตัวเอง มีขอบเขตจำกัด พอเป็นคนอื่นก็ไม่ค่อยจะมีเมตตา

เพราะฉะนั้น เพื่อให้เป็นเมตตาแท้จริง จะต้องกำจัดความเห็นแก่ตัวออกไป ความจำกัดขอบเขตของเมตตาที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น

ต่อไปท่านให้ขยายความรักนี้ไปยังเพื่อนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายทั่วไป พอความรักนี้ขยายไปยังเพื่อนมนุษย์ อย่างเป็นกลางๆ ได้เมื่อไร นั่นจึงเป็นเมตตาตัวแท้

ถ้าเมตตายังจำกัดเฉพาะตัวบุคคล ก็ยังไม่ใช่เมตตาที่บริสุทธิ์ ยังไม่แท้ พอแผ่ออกไปได้สู่เพื่อนมนุษย์ ต่อคนทั้งหลายทั้งปวง เป็นแบบเดียวกัน มีความรู้สึกไมตรี มีความรัก ปรารถนาให้เขาเป็นสุขได้ ตอนนี้ไม่จำกัดขอบเขตแล้ว เป็นเมตตาแท้ๆ ที่บริสุทธิ์

ที่ท่านให้แผ่เมตตานั้น ท่านมุ่งอย่างนี้ คือ เพื่อให้เราเจริญเมตตาที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวประกอบอยู่ด้วย เมื่อเมตตาขยายออกไป ก็เป็นคุณธรรมที่ทำให้จิตใจมีความกว้างขวาง เห็นเพื่อมนุษย์ทั้งหลายเป็นเพื่อร่วมโลกที่เราจะต้องปรารถนาดีทั่วกันทั้งหมด

อย่างในกรณียเมตตสูตร ท่านสอนบุคคลให้เจริญเมตตาไปถึงจุดที่จะมีน้ำใจรักเพื่อมนุษย์อย่างเป็นลูก มีความรัก มองเพื่อมนุษย์เหมือนเป็นลูกไปหมด

ลักษณะของความรัก มีอยู่อย่างหนึ่ง คือมันนำความสุขมาให้ด้วย

- ความรักแบบที่หนึ่ง ก็ทำให้เกิดความสุข เมื่อได้สนองความต้องการที่ตัวอยากได้สิ่งที่ทำให้ตัวมีความสุข

- ส่วนความรักประเภทที่สอง ก็ทำให้เกิดความสุข เมื่อได้สนองความต้องการที่อยากให้เขามีความสุข

ฉะนั้น คนที่ทำจิตให้มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ได้หมด ก็จะมีความสุขได้มากเหลือเกิน คือเวลาเห็นเพื่อนมนุษย์มีความสุข หรือเราทำให้เขามีความสุขได้ ตัวเราเองก็มีความสุขด้วย คนประเภทนี้ ก็เลยมีโอกาสที่จะมีความสุขมากยิ่งขึ้น

คนที่พัฒนามาถึงระดับนี้ก็เช่น พระโสดาบัน เป็นต้น พระโสดาบันนั้น ไม่มีมัจฉริยะ ไม่มีความตระหนี่ ไม่มีความหวงแหน มีความพร้อมที่จะให้ เพราะฉะนั้น คุณธรรม คือ เมตตา ก็เจริญมากขึ้นด้วย

เนื่องจากมีความพร้อมที่จะให้ ไม่มีความหวงแหน ไม่มีความเห็นแก่ตัว มีเมตตาประจำใจ ท่านก็จะมีความสุขจากการให้ได้ทั่วไป จึงมีลักษณะของพระโสดาบันอย่างหนึ่ง คือ เป็นผู้พร้อมที่จะให้อยู่เสมอ จนกระทั่งว่า ในวินัยของพระต้องบัญญัติไว้ว่า สงฆ์อาจมีมติตั้งให้ญาติโยมบางท่าน เป็นพระเสขะ

ทั้งนี้ เพราะว่า พระภิกษุบางรูปเห็นแก่ได้ ญาติโยมคนไหนมีศรัทธามาก ชอบให้ชอบถวาย ก็ไปรับเรื่อย จนกระทั่งตัวพระโสดาบันเอง เมื่อให้อยู่เรื่อย ตัวท่านเองก็ลำบาก พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติวินัย ให้สงฆ์สมมติ หมายความว่า ตกลงกันตั้งให้ครอบครัวที่มีลักษณะอย่างนี้ เป็นเสขะ เป็นพระโสดาบัน เป็นอริยบุคคล ไม่ให้พระภิกษุไปรับของขบฉัน (เว้นแต่เจ็บไข้หรือได้รับสมมติ)

อันนี้เป็นเกร็ดความรู้ แต่รวมความว่า พระโสดาบันนี้ มีลักษณะจิตใจที่มีเมตตา มีความพร้อมที่จะให้ ไม่มีความตระหนี่ ฉะนั้น ท่านจะมีความสุขจากการให้อยู่เสมอ และลักษณะจิตใจแบบนี้ ก็เป็นสิ่งที่ดีแก่ตัวท่านเองด้วย

นี่คือผลอย่างหนึ่งของการที่ได้พัฒนาจิตใจ ด้วยการเจริญเมตตา เป็นต้น ทำให้จิตใจมีความสุขมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2013, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ :b8: :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร