วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 10:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 1672 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 76, 77, 78, 79, 80, 81, 82 ... 112  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้ได้สาระมากขึ้นต่ออีกนิดนึ่ง


เมื่อใดสติตามทัน ทำงานสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง

และพ้นจากอำนาจความเคยชิน หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว

เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน และรู้เข้าใจความจริง

ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมทำงานกับสติหรืออาศัยสติ

คอยเปิดทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งเห็นตามเป็นจริงที่เป็นจุดหมาย

ของวิปัสสนา

แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ

รวมทั้งการเล่าเรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย การเล่าเรียนสดับฟังและการคิดเหตุผล เป็นต้น

จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้งสัจธรรมได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถูกหยิบขึ้นโต้เถียงกันบ่อยๆ คือชื่อวิปัสสนา สภาวะของวิปัสสนาเป็นยังไง มีลักษณะอาการอย่างไร

ทำงานร่วมกับสติเป็นต้นยังไง แล้วไปยังไงมายังไง จึงได้ชื่อวิปัสสนา สังเกตดูครับ



ความจริงนั้น สติมิไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา

แต่ปัญญาจะได้โอกาส และ จะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่

ด้วย การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วยและสติจะมีกำลังกล้าแข็ง

หรือชำนาญคล่องแคล้วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน

ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ

ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขาน

มักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัว

ที่คอยรับใช้ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้น

เป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา

viewtopic.php?f=2&t=18859&p=212498#p212498

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


น้ำค้าง เขียน:
ถ้านั่งสมาธิแล้วไม่เห้นอะไรเลย แปลว่าเรานั่งสมาธิผิด
ไม่บรรลุผลใช่มั้ยคะ เพราะบางคนจะเห็นสิ่งที่เราทำไม่ดีเช่น ตีหมา หักขาปู เป้นต้น
ทำให้เราไปทำบุญขออดหสิกรรมให้กรรมเบาบางลง แต่ถ้านั่งสมาธิแล้ว
ไม่เห้นอะไรเลยแปลว่าเรามีบาปเยอะหรือเปล่าคะ
เจ้ากรรมนายเวรถึงไม่มาให้เราเห็นเพื่อขออโหสิกรรม :b23:


ขออนุญาตออกความเห็นอย่างง่ายๆนะค่ะท่านอาจารย์

นั่งสมาธิ ทำจิตใจสงบ เพื่อเกิดปัญญา การที่เรานิมิตเห็นอะไรต่างๆนั้น
แปลว่าจิตเราสงบจากสิ่งภายนอก เมื่อจิตใจสงบลง เรื่องราวต่างๆที่
มันฝั่งลึก บันทึกไว้ข้างในจึงมีโอกาสได้เผยออกมาเตือนความจำเรา
เช่นเคยหักขาปู เคยตีหมา เคยด่าเพื่อน มันจะผุดขึ้นมาในขณะนั้น
เหมือนพื้นน้ำที่สงบนิ่ง ก็จะเห็นกุ้ง หอยปู ปลาที่อยู่ก้นบึง
ได้ง่ายกว่าพื้นน้ำที่มีคลื่นเป็นละลอกๆอยู่บนผิวน้ำตลอดเวลา

แต่สิ่งที่เราเห็นนั้น อาจไม่ใช่ความจริง หรือเจ้ากรรมนายเวรทั้งหมด
มีสิ่งอื่นเจือปนบ้าง จากการปรุงแต่งของจิตบ้าง สภาวะที่เกิดขึ้น
ของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเห็นอะไร หรือไม่เห็นอะไร ก็ยังไม่ได้หมายความว่า เป็นคนมีบุญ
หรือมีบาป อีกทั้งยังไม่ได้ชี้ชัดว่า บรรลุผลหรือไม่
เป็นเพียงสภาวะที่เราจะต้องฝึกต่อไปเรื่อยๆ อย่าคาดหวังว่านั่งสมาธิแล้วจะเห็นอดีต
หรืออนาคต แต่นั่งเพื่อให้ใจสงบ แล้วเกิดปัญญา เท่านั้นเองค่ะน้องน้ำ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 04:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


พงพัน เขียน:
อนุโมทนากับการพิจารณาขันธ์๕ของคุณปอนด์และคุณทักทายครับ
การพิจารณาขันธ์๕ เป็นเครื่องมือในการปล่อยวาง การละความยึดมั่นถือมั่นในกายใจ
การที่จะละจากความยึดมั่นในความเป็นตัวเราของเราได้ก็ต้องละความยึดมั่นที่ขันธ์๕
เพราะขันธ์๕ นี้คือกายใจทั้งหมด กายใจของเราไม่พ้นไปจากขันธ์๕
เราจะเห็นได้อย่างไรว่ากายใจอันนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา ในเมื่อเรายังเห็นว่า
ขันธ์๕นี้ยังเป็นเราอยู่เราจึงต้องพิจารณาเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น
จากขันธ์๕ นี้ให้สิ้น


ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่วาจะเป็น เขา เรา หรืออะไร?
ตอนนี้ไม่ว่าจะทุกข์ หรือสุข ก็ไม่ค่อยจะเก็บไว้ ถ้าทุกข์ พอรู้ว่าทุกข์
เดี๋ยวเดียวก็จะวางลง แล้วความทุกข์มันก็จะค่อยๆเลือนหายไปเอง ความสุข
ความพึงพอใจ หงุดหงิด คิด หรือไม่ชอบใจ ก็เช่นเดียวกัน เกิดเอง แป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็จะปล่อยและวางเองได้ ทำได้ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังปฏิบัติธรรม
หรือปฏฺบัติงานอยู่ ทักทายทำได้แค่นี้แหละค่ะท่านพงพัน

ส่วนในขณะปฏิบัติ ก็ทำได้แค่รับรู้อารมณ์ต่างๆว่าร้อนนะ เย็นจัง
พื้นแข็ง คิด ฟุ้ง ตามดู รู้เขาไปตามนั้น แต่ขันธ์๕ ยังไม่รู้ว่า
จะเริ่มต้นอย่างไร? ตรงไหน? ในขณะปฏิบัติ รบกวนด้วยค่ะ :b8:

อนุโมทนาค่ะท่าน :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แก้ไขล่าสุดโดย ทักทาย เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 04:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 04:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรัชกาย เขียน:
ต้ดนำมาฝากคุณทักทายครับ


ขอน้อมรับด้วยความซาบซึ้งค่ะอาจารย์ tongue

อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แก้ไขล่าสุดโดย ทักทาย เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 04:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝากแง่คิดกว้างๆไว้อีก

ปัญหาของมนุษย์ มีต่างๆมากมาย

เมื่อกล่าวให้สั้น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับดี-ชั่ว หรือดี-ร้าย และสุข-ทุกข์

ถ้าพูดรวบรัดลงไปอีก ก็รวมลงในคำเดียวคือ ทุกข์

แม้ที่พูดว่า มีชีวิตอยู่เพื่อหาความสุข ก็เป็นการบ่งถึงทุกข์อยู่ในตัว และทุกข์นั้นยังอาจส่งผลเกี่ยว

ข้องถึงความดีความชั่วและสุขทุกข์ต่อไปอีกหลายชั้นด้วย

เริ่มแรก การหาความสุข ก็แสดงอยู่ในตัวถึงความขาดแคลนบกพร่อง ความบีบคั้นกระวนกระวาย

หรือภาวะไร้ความสุขอยู่ภายใน ซึ่งเรียกสั้นๆว่ามี ทุกข์

จากนั้น จึงผลักดันให้ต้องออกแสวงหาสิ่งที่จะเอามาเติมให้เต็มหายขาดแคลนบกพร่อง หรือเอามาระงับ

ดับคลายความบีบคั้นกระวนกระวายนั้น

มองอีกด้านหนึ่ง ปัญหาเกิดจากมนุษย์มีทุกข์อยู่แล้ว แต่แก้ไขทุกข์ไม่ถูกต้อง จึงระบายทุกข์นั้นออกไป

ทำให้ทุกข์กระจาย เพิ่มขยายปัญหา

ด้วยความเป็นไปเช่นนี้ ทุกข์ที่เป็นสภาวะติดเนื่องมากับความเป็นสังขารของชีวิต หรือทุกข์ตามธรรมดา

ของธรรมชาติแทนที่จะถูกแก้ไข กลับถูกละเลยมองข้ามหรือปิดกลบไว้เสีย แล้วสุขทุกข์และปัญหาต่างๆ

ชนิดที่เกิดจากฝีมือเสกสรรผันพิสดารของมนุษย์ก็เกิดประดังพรั่งพรูวิจิตรนานัปการ จนแทบจะบดบังให้

มนุษย์ลืมปัญหาพื้นฐานของชีวิตเสียทีเดียว

บางคราวมนุษย์เองยังคิดหลงไปด้วยซ้ำว่า หากลืมมองปัญหาพื้นฐานของชีวิตนั้นเสียได้ ก็จะสามารถ

หลุดพ้นไปจากความทุกข์ และชีวิตก็จะมีความสุข

แต่ความจริงยังคงยืนยันอยู่ว่า

ตราบใดมนุษย์ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาพื้นฐานแห่งชีวิตของตน ยังวางตัววางใจหาที่ลงไม่ได้

กับทุกข์ถึงขั้นตัวสภาวะ

ตราบนั้น มนุษย์ก็จะยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ยังหลีกไม่พ้นการตามรังควาญของทุกข์ ไม่ว่าจะพบสุขขนาด

ไหน และจะยังไม่ประสบความสุขที่แท้จริง ซึ่งเต็มอิ่ม สมบูรณ์ในตัว และจบบริบูรณ์ลงที่ความพึงพอใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำออกสั่งสอนพุทธบริษัทนั้น ไม่พ้นเรื่องทุกข์และความพ้นทุกข์ของชีวิต

ว่าคำสอนมีมากมาย ก็ขยายออกจากชีวิตนี่เอง ซึ่งที่ท่านจำแนกแจกแจงออกเป็นขันธ์ได้ 5 ขันธ์

อย่างที่งงๆกันอยู่นี่

ชีวิตประกอบด้วยความทุกข์เดิม (สภาวทุกข์) และทุกข์จรซึ่งเกิดจากฝีมือมนุษย์เอง

การแสวงหาทางพ้นทุกข์ มีหลากวิธีการแล้วแต่ทิฐิ คือ ความเห็นความโน้มเอียงทางจิตแต่ละคน

แต่ละศาสนา

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=138.15

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.ค. 2010, 19:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“การถือไม่กินปลาไม่กินเนื้อก็ดี การประพฤติเป็นชีเปลือยก็ดี ความมีศีรษะโล้นก็ดี การมุ่นมวยผม

เป็นชฎาก็ดี การอยู่คลุกฝุ่นธุลีก็ดี การนุ่งห่มหนังเสืออันหยาบกร้านก็ดี การบูชาไฟก็ดี การบำเพ็ญ

พรตหมายจะเป็นเทวดาก็ดี การบำเพ็ญตบะต่างๆมากมายในโลกก็ดี พระเวทก็ดี การบวงสรวงสังเวย

ก็ดี การบูชายัญก็ดี การจำพรตตามฤดูก็ดี จะช่วยชำระสัตว์ผู้ยังข้ามไม่พ้นความสงสัยให้บริสุทธิ์ไม่

ได้เลย”

(ขุ.สุ.25/315/374)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
พงพัน เขียน:
อนุโมทนากับการพิจารณาขันธ์๕ของคุณปอนด์และคุณทักทายครับ
การพิจารณาขันธ์๕ เป็นเครื่องมือในการปล่อยวาง การละความยึดมั่นถือมั่นในกายใจ
การที่จะละจากความยึดมั่นในความเป็นตัวเราของเราได้ก็ต้องละความยึดมั่นที่ขันธ์๕
เพราะขันธ์๕ นี้คือกายใจทั้งหมด กายใจของเราไม่พ้นไปจากขันธ์๕
เราจะเห็นได้อย่างไรว่ากายใจอันนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา ในเมื่อเรายังเห็นว่า
ขันธ์๕นี้ยังเป็นเราอยู่เราจึงต้องพิจารณาเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น
จากขันธ์๕ นี้ให้สิ้น


ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่วาจะเป็น เขา เรา หรืออะไร?
ตอนนี้ไม่ว่าจะทุกข์ หรือสุข ก็ไม่ค่อยจะเก็บไว้ ถ้าทุกข์ พอรู้ว่าทุกข์
เดี๋ยวเดียวก็จะวางลง แล้วความทุกข์มันก็จะค่อยๆเลือนหายไปเอง ความสุข
ความพึงพอใจ หงุดหงิด คิด หรือไม่ชอบใจ ก็เช่นเดียวกัน เกิดเอง แป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็จะปล่อยและวางเองได้ ทำได้ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังปฏิบัติธรรม
หรือปฏฺบัติงานอยู่ ทักทายทำได้แค่นี้แหละค่ะท่านพงพัน

ส่วนในขณะปฏิบัติ ก็ทำได้แค่รับรู้อารมณ์ต่างๆว่าร้อนนะ เย็นจัง
พื้นแข็ง คิด ฟุ้ง ตามดู รู้เขาไปตามนั้น แต่ขันธ์๕ ยังไม่รู้ว่า
จะเริ่มต้นอย่างไร? ตรงไหน? ในขณะปฏิบัติ รบกวนด้วยค่ะ :b8:

อนุโมทนาค่ะท่าน :b8:


ก็เพียงแต่เข้าไปดูว่าอาการจริงๆของขันธ์๕ แต่ละตัวมันเป็นอย่างไร
เราไม่ได้ท่องแค่ชื่อมัน แต่ต้องเข้าไปเห็นในอาการจริงๆของมัน
เมื่อเห็นแล้วก็พิจารณาดูมันในความเป็นไตรลักษณ์ มันทุกข์มันไม่เที่ยงแล้วก็ดับไปไม่ใช่ตัวตนอย่างไร

อย่างเช่นที่คุณทักทายพิจารณาเห็นทุกข์สุขเกิดดับเกิดดับนั้น
อาการทุกข์ สุข หรือบางทีก็เฉยๆ นั้นแหละครับ คือ ตัวเวทนา หนึ่งในนามทั้ง 4 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของขันธ์๕
อันนี้คือการเห็นอาการจริงๆของมัน หรือที่เรียกว่า ปรมัตถ์

ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนผมแนะนำให้เริ่มที่การพิจารณารูปกายในความเป็น ดินน้ำลมไฟ ก่อนก็ได้
ถ้าเข้าใจแล้วว่ากายนี้ไม่ใช่เราจริงๆ ความเข้าใจในนามทั้ง 4 มันจะชัดขึ้นเอง
เพราะนามทั้ง 4 มันก็อาศัยรูปเป็นที่ตั้ง
เวทนา(เมื่อรู้สึกก็รู้สึกที่กาย)
สัญญา(การจำได้หมายรู้ก็ใช้กายเป็นเครื่องจำ คือสมอง)
สังขาร(ก็ใช้กาย คือใช้สมองคิด)
วิญญาณ(ก็อาศัยกายเป็นผู้รู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
พิจารณาความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ของกายนี้ก่อน
พิจารณาซ้ำๆซากๆแบบนั้น จนเกิดความยอมรับว่ารูปหรือกายนี้ ไม่ใช่เราแน่ๆแล้ว
ถ้าละความยึดมั่นถือมั่นในกายได้แล้ว จากนั้นมันก็จะไปได้เองตามลำดับ
ลองดูครับ

ลองพิจารณารูป ตามที่หลวงพ่อเทศน์ดูก็ได้ครับ ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.4shared.com/file/227458355/e ... 07__4.html


โพสต์ เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




8DA1E_IMG_2132.jpg
8DA1E_IMG_2132.jpg [ 188.73 KiB | เปิดดู 3671 ครั้ง ]
หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงเพื่อสนอง

ความต้องการทางปัญญาโดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง

อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ค. 2010, 07:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


พงพัน เขียน:
พิจารณาความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ของกายนี้ก่อน
พิจารณาซ้ำๆซากๆแบบนั้น จนเกิดความยอมรับว่ารูปหรือกายนี้
ไม่ใช่เราแน่ๆแล้วถ้าละความยึดมั่นถือมั่นในกายได้แล้ว
จากนั้นมันก็จะไปได้เองตามลำดับ ลองดูครับ


ขอบคุณสำหรับลิงค์ที่ส่งมา
จะพยายามต่อไป อนุโมทนาค่ะท่านพงพัน :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรัชกาย เขียน:
หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง
เพื่อสนองความต้องการทางปัญญาโดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทาง
สำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า



เข้าใจแล้ว อนุโมทนาค่ะอาจารย์ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 00:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง
เพื่อสนองความต้องการทางปัญญาโดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทาง
สำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า



เข้าใจแล้ว อนุโมทนาค่ะอาจารย์ :b8:


ไม่เข้าใจครับ..อาจารย์ :b10: :b10:

และ..

ไม่เข้าใจ..ที่เข้าใจ..ด้วยนะครับ..คุณลูกศิกษ์ทวด

:b12: :b12:


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรุณาอย่าเรียกอาจงอาจารย์เลยขอรับ กรัชกายรับไม่ไหวหรอก

สังเกตบ้านนี้เคยมีแขกมาเยี่ยมเยียนพูดคุยกันแบบสบายๆ แต่ตอนนี้ดูเหมือนเครียดๆ ผู้คนใช้ความคิด

กัน เพราะกรัชกายทำให้คิดทำให้เครียดกันกระมัง :b5: ไปล่ะครับนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 04:04
โพสต์: 356

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่เข้ามาให้ความกระจ่าง จะพยายามน้อมรับและนำกลับไปปฏิบัติ ปรับปรุง ตัว
เองให้ชีวิตได้ดำเนินไปอย่างมีสติ และความสุข

เป็นคนชอบหงุดหงิด แต่พอเราเหวี่ยงออกไปแล้วจะสำนึกผิดทันที แต่มันทำกิริยาไม่ดีออกไปแล้ว ไม่ว่า
จะกับสามี หรือลูก รู้สึกเสียใจค่ะ พยายามเป็นอย่างมากนะค่ะที่ทำตัวเองให้มีสติตลอดเวลา แต่มันก็
หลุดบ่อยค่ะ ...บางครั้งก็กลัวความรู้สึกของลูกว่าแม่เป็นอะไรโมโหใส่ แล้วก็เดินเข้ามากอด บอกแม่ขอ
โทษ รับรู้ได้เลยว่า ลูกจะตกใจในสิ่งที่เราทำ เขาเตรียมจะร้องไห้ แต่ก็เจออ้อมกอดของเราก่อน ลูกคง
สับสนในการกระทำของแม่ ...เคยคิดนะว่า เราบ้าหรือเปล่า เราใกล้จะบ้าใช่ไหม เหนื่อยหน่อยก็โมโห
แต่ก็แค่ชั่ววินาทีเท่านั้น ...ทำยังไงจะไม่โมโห ไม่หงุดหงิด บางครั้งคิดเข้าข้างตัวเองว่า เพราะเราใกล้
รอบเดือนจะมามั้ง เพราะเราเหนื่อยจากงานทั้งนอกบ้าน ในบ้านมั้ง เพราะลูกยังเล็กช่วยเหลือตัวเองไม่
ได้ภาระทั้งหมดก็ตกอยู่ที่เรา ที่อ้างมาทั้งหมดเพราะเราหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองให้ถูกเสียมากกว่า

อยากจะรู้สึกว่า เรากำลังจะโกรธแล้วนะ แล้วเรารีบดับอาการนั้นได้ในทันทีทันใด ..ไม่ใช่โกรธไปแล้ว
แสดงอาการชักสีหน้าไปแล้ว ถึงค่อยมารับรู้ความโกรธ แม้จะใช้เวลาไม่นาน แต่ก็ไม่อยากให้มีอาการ
แบบนี้เกิดขึ้นเลยค่ะ ....ดิฉันเป็นบัวใต้น้ำจริง ๆ ค่ะ ขยันเข้ามาอ่าน เข้ามาศึกษา แต่กลับปฏิบัติไม่ได้
สักที.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 1672 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 76, 77, 78, 79, 80, 81, 82 ... 112  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร