วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 12:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา
(Dharmachakra Mudra)

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก
ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี


:b47: :b40: :b47:

พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา
ใช้สัญลักษณ์คือการยกพระหัตถ์ขวาจีบนิ้วเป็นวง
ถือเป็นสัญลักษณ์ของธรรมจักร
นิ้วพระหัตถ์ข้างซ้ายแตะจีบนิ้วอยู่ลักษณะประคองหมุน
ท่าของพระพุทธรูปเป็นท่านั่งขัดสมาธิ
อันเป็นสัญลักษณ์ของการหมุนพระธรรมจักร
หรือการหมุนวงล้อแห่งธรรม
ในคราวที่ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั้น
เป็นความหมายของธรรมที่ได้แสดงต่อโลกแล้ว
และจะขยายไปยังสัตว์โลกทั้งปวง

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้
เป็นองค์พระพุทธรูปที่ถูกขุดพบ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ)
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก
สร้างขึ้นในยุคสมัยคุปตะ (Gupta Period)
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๘๐๐-๑๒๐๐
ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดแห่งพุทธศิลป์
แต่ก่อนนี้ประเทศอินเดียมีการประกวดพระพุทธปฏิมา
หากส่งพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้เข้าประกวด
ก็จักได้รับการคัดเลือกว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดทุกครั้งไป
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี


จาก...หนังสือแนะนำศิลปะอินเดีย หน้า ๑๐๑
โดย ดร.ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า


“ไม่มีรูปเคารพอื่นใดที่จะสวยงามล้ำลึก
ทั้งในความหมายและรูปแบบทางศิลปะ
เทียบได้กับพระพุทธรูปองค์นี้”


พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้
สร้างขึ้นจากหินทรายแดงเมืองจูนาร์ (Chunar)
มีความสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑.๖ เมตร
ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๗๙ เมตร
ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชรบนพระแท่น
พระหัตถ์อยู่ในท่าทรงแสดงธรรม
หมายถึงการไขปริศนาธรรมที่ถูกปกปิดมานาน
ด้านบนมีพระรัศมีแผ่เป็นวงกลม
ปรากฏเป็นรูปเทวดา ๒ ตน
กำลังโปรยดอกไม้บูชาพระพุทธองค์
ตรงกลางฐานองค์พระพุทธรูปแกะสลัก
เป็นวงล้อพระธรรมจักรอยู่บนแท่น
มีกวางสองตัวหมอบอยู่ทั้งสองข้าง
มีรูปพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ขนาบสองข้าง
ด้านซ้ายมีรูปสลักสตรีและเด็ก
สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าภาพผู้สร้างองค์พระพร้อมบุตร


รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์สารนาถ (Sarnath Archaeological Museum) เมืองพาราณสี
พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของกรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดีย
(Archaeological Survey of India)
เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณต่างๆ ประจำเมืองพาราณสี



ที่มา ---------> :b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b49: :b50: พระพุทธรูป “ปางปฐมเทศนา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=59080

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : เพจ Unseen Wat Thai

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา
(Dharmachakra Mudra)

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก
ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2013, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณ Paradee Pongsethpaisal

รูปภาพ

พิพิธภัณฑ์สารนาถ (Sarnath Archaeological Museum) เมืองพาราณสี
พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของกรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดีย
(Archaeological Survey of India)
เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณต่างๆ ประจำเมืองพาราณสี


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เนื้อทองคำ
ณ วัดมูลคันธกุฏีวิหาร (ใหม่)
ศิลปะคุปตะ (Gupta Style) อันงดงาม ซึ่งจำลองแบบมาจาก
พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา (Dharmachakra Mudra)
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก


รูปภาพ

•• ซ้าย : “พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา”
(Dharmachakra Mudra)
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
ที่งดงามที่สุดในโลก


•• ขวา : พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เนื้อทองคำ
ในวัดมูลคันธกุฏีวิหาร (ใหม่)
ซึ่งจำลองแบบมาจาก
พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา
ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณ Samita Klungthong

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เนื้อทองคำ
ณ วัดมูลคันธกุฏีวิหาร (ใหม่)
ศิลปะคุปตะ (Gupta Style) อันงดงาม ซึ่งจำลองแบบมาจาก
พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา (Dharmachakra Mudra)
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“พระมูลคันธกุฏี” หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร”
ที่สารนาถ เมืองพาราณสี

สถานที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ในพรรษาแรกและพรรษาที่ ๑๒

สร้างขึ้นตรงบริเวณที่เป็นกระท่อมน้อยของเศรษฐีใจบุญ
ที่ได้อุทิศสถานที่แห่งนี้เพื่อสร้างเป็นที่ประทับถวายพระพุทธองค์

หลังจากที่ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”
ที่ธัมมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
(ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ) แล้ว

ลักษณะของพระมูลคันธกุฏีเป็นอาคารปลูกสร้างแบบอินเดียโบราณ
ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังไปหมดสิ้นแล้ว
เหลือให้เห็นเป็นเค้าโครงของอิฐก่อขนาดใหญ่ที่มีลานหญ้าด้านหน้ากว้างขวาง

ใกล้กับพระมูลคันธกุฏี มี เสาอโศก หรือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
(อังกฤษ : Pillars of Ashoka, ฮินดี : अशोक स्तंभ, อโศก สฺตํภ)
สูง ๗๐ ฟุต แม้จะหักออกเป็น ๕ ท่อนก็ยังถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
ณ ที่นี่เอง ที่ค้นพบ
เสาหัวสิงห์ ๔ ทิศ (หัวสิงห์ยอดเสาอโศก)
ซึ่งเป็นหัวสิงห์ ๔ ตัวหันหลังชนกัน (จตุรสิงห์)
โดยหันหน้าไปทางทิศทั้ง ๔ แบกวงล้อธรรมจักรไว้ อันหมายถึง
การประกาศพระธรรมไปทั่ว ๔ ทิศ ประดุจการบันลือสีหนาทของสีหราช
ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่บนยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หักลงมา
ถือเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดของอินเดีย

ขณะนี้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ปัจจุบันอินเดียใช้หัวสิงห์นี้เป็นตราราชการประจำแผ่นดินอินเดีย
ถือเป็นสัญญลักษณ์ประจำชาติ มีปรากฏอยู่ในธนบัตร-ธงชาติของอินเดีย
และข้อความจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่จารึกไว้ใต้หัวสิงห์ดังกล่าว
คือ สตฺยเมว ชยเต (เทวนาครี : सत्यमेव जयते) หมายถึง ความจริงชนะทุกสิ่ง
ได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย


ส่วนต้นเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ถูกทุบทำลายหักออกเป็น ๕ ท่อนนั้น
ในอดีตเสานี้เคยมีความสูงถึง ๗๐ ฟุต และบนยอดเสามีหัวสิงห์ ๔ หัว
ได้จารึกพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช
เป็นภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรพราหมี
(อ่านว่า พราม-มี)
มีเนื้อความดังต่อไปนี้


“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ
ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอำมาตย์ทั้งหลาย
ณ พระนครปาฏลีบุตร และ ณ นครอื่นๆ ว่า
ข้าฯ ได้กระทำให้สงฆ์มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ก็ไม่สามารถทำลายสงฆ์ได้
ก็แลหากบุคคลผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลนั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งขาวห่มขาว
และไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด)
พึงแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน
ทั้งในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีสงฆ์ด้วยประการฉะนี้”


ต่อมา ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala)
ซึ่งเป็นชาวพุทธศรีลังกา และเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ
เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
และเรียกร้องให้พุทธสังเวชนียสถาน พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ซึ่งอยู่ในความครอบครองของพวกนักบวชมหันต์ (Saivite Mahant
ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู นับถือพระศิวะเป็นใหญ่)

กลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ
ท่านจึงเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธทั่วโลก

และเนื่องจากได้มีการขุดค้นพบซาก
พระมูลคันธกุฎีเดิมของพระพุทธเจ้า ที่สารนาถ
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ จึงได้ใช้ปัจจัยส่วนตัว
เพื่อสร้างวัดมูลคันธกุฏีวิหารขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง
ห่างจากบริเวณพระมูลคันธกุฎีเดิมของพระพุทธเจ้าไม่มากนัก
ตั้งชื่อว่า
“วัดมูลคันธกุฏีวิหาร”
ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
หลังจากที่พระพุทธศาสนาถูกลืมเลือน
ไปจากความทรงจำของชาวอินเดียประมาณเกือบ ๗๐๐-๘๐๐ ปี
ต่อมาได้มีการผูกพัทธสีมาในวัดมูลคันธกุฏีวิหารที่สร้างขึ้นใหม่
โดยพระภิกษุรูปแรกที่ได้รับอุปสมบท ณ วัดแห่งนี้
คือ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ

ภายในวัดมูลคันธกุฎีวิหารที่สร้างขึ้นใหม่เป็นที่ประดิษฐาน

“พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา” เนื้อทองคำ
ศิลปะคุปตะ (Gupta Style) อันงดงาม ซึ่งจำลองแบบมาจาก
พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา (Dharmachakra Mudra)
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ซึ่งถูกขุดพบ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก
สร้างขึ้นในยุคสมัยคุปตะ (Gupta Period)
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๘๐๐-๑๒๐๐
ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดแห่งพุทธศิลป์
แต่ก่อนนี้ประเทศอินเดียมีการประกวดพระพุทธปฏิมา
หากส่งพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้เข้าประกวด
ก็จักได้รับการคัดเลือกว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดทุกครั้งไป


จากหนังสือแนะนำศิลปะอินเดีย หน้า ๑๐๑
โดย ดร.ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า


“ไม่มีรูปเคารพอื่นใดที่จะสวยงามล้ำลึก
ทั้งในความหมายและรูปแบบทางศิลปะ
เทียบได้กับพระพุทธรูปองค์นี้”


พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาองค์นี้
สร้างขึ้นจากหินทรายแดงเมืองจูนาร์ (Chunar)
มีความสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑.๖ เมตร
ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๗๙ เมตร
ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชรบนพระแท่น
พระหัตถ์อยู่ในท่าทรงแสดงธรรม
หมายถึงการไขปริศนาธรรมที่ถูกปกปิดมานาน
ด้านบนมีพระรัศมีแผ่เป็นวงกลม
ปรากฏเป็นรูปเทวดา ๒ ตน
กำลังโปรยดอกไม้บูชาพระพุทธองค์
ตรงกลางฐานองค์พระพุทธรูป
แกะสลักเป็นวงล้อพระธรรมจักรอยู่บนแท่น
มีกวางสองตัวหมอบอยู่ทั้งสองข้าง
มีรูปพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ขนาบสองข้าง
ด้านซ้ายมีรูปสลักสตรีและเด็ก
สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าภาพผู้สร้างองค์พระพร้อมบุตร


ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๔
วัดมูลคันธกุฎิวิหารก็ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
และมีการผูกพัทธสีมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ โดยคณะสงฆ์ศรีลังกา
สิ้นเงินการสร้างวัด ตลอดจนเงินค่าจ้างช่างชาวญี่ปุ่น คือ โกเซทซุ โนสุ
มาเขียนภาพฝาผนังพระพุทธประวัติรวมทั้งหมด ๑๓๐,๐๐๐ รูปี

ในวันเปิดวัดมูลคันธกุฎิวิหาร
มีชาวพุทธและข้าราชการรัฐบาลอินเดียหลายท่าน
และชาวพุทธจากต่างประเทศมากมาย ได้มาร่วมงานกว่าพันคน
รัฐบาลอินเดียได้มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ที่อัญเชิญมาจากเมืองตักศิลา ให้กับผู้แทนสมาคมมหาโพธิ
ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสู่หลังช้าง
แห่รอบพระวิหารสามรอบแล้ว
จึงนำขึ้นประดิษฐานยังยอดพระเจดีย์ในพระวิหาร

ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ได้กล่าวปราศัยในงานเปิดวันนั้น
ดังมีความตอนสุดท้ายที่่น่าประทับใจว่า

“...หลังจากที่พระพุทธศาสนาได้ถูกเนรเทศออกไปเป็นเวลานานถึง ๘๐๐ ปี
ชาวพุทธทั้งหลายก็ได้กลับคืนมายังพุทธสถานอันเป็นที่รักของตนนี้อีก
...เป็นความปรารถนาของสมาคมมหาโพธิ
ที่จะมอบพระธรรมคำสอนอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาของพระพุทธองค์
ให้แก่ประชาชนชาวอินเดียทั้งมวล ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ และลัทธินิกาย
...ข้าพเจ้ามั่นใจว่าท่านทั้งหลายจะพร้อมใจกันเผยแผ่อารยธรรม
(ธรรมอันประเสริฐ) ของพระตถาคตเจ้า ไปให้ตลอดทั่วทั้งอินเดีย...”


:b47: :b40: :b47:

:b50: :b49: :b50: หมายเหตุ : (๑) พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ซึ่งชาวพุทธเมื่อไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน แสวงบุญ
นิยมเดินทางเข้าไปสักการะที่โดดเด่น ๓ แห่ง คือ

๑.๑ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์

๑.๒ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี ที่สารนาถ เมืองพาราณสี

๑.๓ พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
ที่วัดพระเชตวัน (วัดเชตวันมหาวิหาร) เมืองสาวัตถี


(๒) ในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด
โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต)
สมณศักดิ์ปัจจุบันคือ พระมหาโพธิวงศาจารย์
พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวไว้ว่า


พระคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏี
(อังกฤษ : Mulagandhakuti แปลว่า กุฏีที่มีกลิ่นหอม)
เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
เรียกเต็มว่า “พระมูลคันธกุฏี”
ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่ง
จะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น
มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง
วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอม
จึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้ว
ถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก
พระคันธกุฏี มิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น
ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัทธา


⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱

:b50: :b49: :b50: อ่านเนื้อหาและชมรูปภาพโดยละเอียด
จากกระทู้ข้างล่างนี้ค่ะ >>>>>

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43034

⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

ปางแสดงธรรม
(วิตรรกมุทรา Vitarka Mudra)


รูปภาพ

ปางปฐมเทศนา
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)


:b50: :b47: :b50:

“ปาง” เป็นคำในภาษาไทย
หมายถึง ท่าทางของพระหัตถ์, เรื่องราวในพุทธประวัติ
ส่วน “มุทรา” เป็นคำในภาษาสันสกฤต
หมายถึงเฉพาะท่าทางของพระหัตถ์ เช่น


ปางปฐมเทศนา = ธรรมจักรมุทรา (Dharmachakra Mudra)
ปางแสดงธรรม = วิตรรกมุทรา (Vitarka Mudra)
ปางมารวิชัย = ภูมิสปรรศมุทรา (Bhumisparsa Mudra)
ปางสมาธิ = ธยานมุทรา (Dhyana Mudra)
ปางประทานอภัย = อภยมุทรา (Abhaya Mudra)
ปางประทานพร = วรทมุทรา (Varada Mudra)


:b39:

พระพุทธรูป “ปางแสดงธรรม” (วิตรรกมุทรา Vitarka Mudra)
เป็นปางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงพระธรรมคำสอน
ให้แก่พระสาวก หรือพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระหัตถ์ขวายกอยู่ในระดับพระอุระ (หน้าอก) หันฝ่าพระหัตถ์ออก
ปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้)
จีบงอโค้งจรดกันเป็นวงกลม ส่วนอีกสามนิ้วของพระหัตถ์ขวากางออก
กล่าวคือ จีบนิ้วพระหัตถ์ขวาเป็นวงกลม
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่เหนือพระเพลา (ขา, ตัก) ซ้าย

เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ทราบถึงการแสดงธรรม

สำหรับพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก
กับปางแสดงธรรมนั้น คือ “ปางปฐมเทศนา”
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)
เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประกาศพระธรรม
ที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (วันอาสาฬหบูชา)
หัวหน้าปัญจวัคคีย์ คือ ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน
พระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนาเป็นคนแรก จึงกราบทูลขออุปสมบท
โดยพระพุทธองค์ทรงทำการอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
(พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง) นับเป็น “ปฐมสาวก”
ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันที่เกิดสังฆรัตนะขึ้นครั้งแรกในโลก
เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ โดยบริบูรณ์
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ลักษณะของพระพุทธรูปปางปฐมเทศนานี้ ยกพระหัตถ์ขึ้น ๒ ข้าง
ท่าทางของพระหัตถ์ขวา เหมือนปางแสดงธรรม
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะประคองหมุน
กล่าวคือ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสองข้างเป็นวงกลมซ้อนกัน

โดยมีบริบทเป็น “ธรรมจักร” กับ “กวางหมอบ”
ซึ่งมีความหมายถึงการหมุนวงล้อแห่งธรรม
และหากแม้ไม่มีบริบทก็ตีความภาพได้ว่าเป็นปางปฐมเทศนา


:b8: :b8: :b8: ผู้โพสต์ได้ใช้...หนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เป็นแนวทางในการเรียบเรียงเนื้อหาปางแสดงธรรม-ปางปฐมเทศนา


รูปภาพ

⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱

:b44: พระพุทธรูป “ปางแสดงธรรม”
(วิตรรกมุทรา Vitarka Mudra)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910

:b44: พระพุทธรูป “ปางปฐมเทศนา”
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=56008

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : เฟซท่องไปทั่วสกลมณฑลสยาม

รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : เฟซศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์

พระพุทธรูปศิลาขาว
“พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”
หรือเรียกพระนามสั้นๆ ว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ฯ” หรือ “หลวงพ่อขาว”
ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม

ปางแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา Vitarka Mudra)

รูปภาพ

รูปภาพ

ภาพพุทธประวัติ ปางแสดงธรรม
(วิตรรกมุทรา Vitarka Mudra)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระพุทธปฏิมาธรรมจักรมุทรา
ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)

ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุดในโลก

รูปภาพ

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)

ประดิษฐาน ณ วัดพระพุทธแสงธรรม
ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี


รูปภาพ

รูปภาพ

ภาพพุทธประวัติ ปางปฐมเทศนา
(ธรรมจักรมุทรา Dharmachakra Mudra)

ทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (วันอาสาฬหบูชา)
เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2022, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b39: พระมูลคันธกุฏี - เสาอโศก - พิพิธภัณฑ์สารนาถ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43034

:b39: สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา
สถานที่พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ ในวันอาสาฬหบูชา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=50869

:b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b44: ประวัติ “ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15326

◆◆◆ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ๓ องค์ ในประเทศอินเดีย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=56021

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2023, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร