วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 22:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2010, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
:: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

อาสาฬหบูชา เป็นวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าทรงตรัสพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น เป็นครั้งแรกแต่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อริยสัจธรรม ๔ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกโดยย่อว่า “ธรรมจักร” ทำไมจึงเรียกธรรมจักร คือมันมี ปริวัฎ ๓ อาการ ๑๒ อริยสัจธรรม ๔ แต่ละอันๆ มีปริวัฏ ๓ คือทรงเทศนาเวียน ๓ รอบ จึงเป็นอาการ ๑๒ แล้วท่านก็ทรงเทศนารวมความว่า ปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ นี้ทำกิจในขณะจิตเดียว อันนั้นเป็นของละเอียดหน่อย พระองค์ทรงพิจารณาเห็นชัดเจนด้วยพระองค์เองแล้วจึงเอามาเปิดเผย แต่ก็ยากที่พวกเราทั้งหลายจะเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็จะเทศนาให้ฟังพอเป็นเครื่องพิจารณาดังนี้

ทุกข์ ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรณัมปิ ทุกขัง เรียกว่า ทุกข์กาย โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เรียกว่า ทุกข์ใจ ทุกข์เป็นของควรกำหนดมิใช่ของควรละ และก็เป็นธรรมด้วยทุกข์มีชาติเป็นต้นมีอยู่ในตัวของเรา ไม่ได้มีที่อื่น ส่วนทุกข์ปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ อีกนับไม่ถ้วน

สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือตัณหา ๓ อย่าง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

กามตัณหา คือความพอใจรักใคร่ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หาที่สุดไม่ได้ กามตัณหานี้เป็นตัวประธานของทุกข์ทั้งปวง

ภวตัณหา ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ได้มาแล้วก็ไม่พอยังอยากได้อีก ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องมาจากกามตัณหา เป็นตัวบวกให้เกิดทุกข์

วิภวตัณหา ความไม่ยินดี ในการักใคร่พอใจในรูปเป็นต้น หรือได้สิ่งต่างๆ ที่ตนปรารถนามาแล้วกลับไม่พอใจ ไม่อยากได้ ไม่อยากประสบพบเห็นสิ่งนั้นๆ นี้ก็เป็นตัวลบ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีกประการหนึ่ง

ธรรมดาสิ่งทั้งปวงนี้เป็นของมีอยู่ในโลกนี้ ต้องมีการบวกเมื่อบวกมากๆ แล้วไม่ลบก็ไม่ทราบว่าจะเอาไปไว้ไหนกัน เมื่อมีการบวกและการลบจึงค่อยเป็นโลกคือตัวสมุทัย

นิโรธ คือความดับทุกข์ คือไม่อยากมีอยากเป็นก็ไม่ว่าอยากมีอยากเป็นก็ไม่ว่า ความวางเป็นกลางเฉย ๆ มันจะทุกข์มาจากไหน เอาเถิด ถึงจะละไม่ได้โดยตลอดที่เรามีชีวิตอยู่นี้ก็เอาในปัจจุบันก่อน ละในปัจจุบันวางใจให้เฉยๆ ให้เป็นกลางๆ นั้นแหละนิโรธก่อนแล้ว นั่นนิโรธของเรา ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า เราทำได้อย่างนี้ทำได้บ่อยๆ วันหนึ่งข้างหน้าจะต้องเป็นของเราแน่นอน

มรรค มีองค์ ๘ เป็นทางไปถึงนิโรธ คือความดับทุกข์ มีสัมมาทิฐิขึ้นต้น สัมมาคือความชอบ ทิฐิคือความเห็น ใครเห็นอะไรก็อันนั้นแหละว่าเป็นของชอบทั้งนั้น มันยากอยู่ตรงนั้นแหละ

ทุกข์กับนิโรธอันนี้เป็นผล สมุทัยและมรรคอันนี้เป็นเหตุ ธรรมมันต้องมีเหตุมีผล เมื่อมีเหตุก็เกิดธรรมนั้นๆ ขึ้น เมื่อเหตุดับ ธรรมทั้งหลายก็ดับหมด เหตุนั้นเพราะพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมมาทิฐิเกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ คือความเห็นอันนั้นเป็นกลางวางเฉยจึงได้เทศนาในธรรมจักรว่า ทางสองแพร่งอันพรรพชิตไม่ควรเสพ คือ อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้เหน็ดเหนื่อยเปล่า เช่น พวกฤาษีโยคีต่างๆ ทำความลำบากตรากตรำตนต่างๆ นานา ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ และ กามสุขัลลิกานุโยค เป็นไปเพื่อกามกิเลสอันเป็นเหตุให้มัวหมองเศร้าหมอง ท่านเรียกทาง ๒ อย่างนี้ว่าทางสุดโต่ง พระองค์ได้รู้ชัดขึ้นในพระทัยของพระองค์โดยไม่มีใครบอกเล่าหรือเล่าเรียนมาแต่ก่อนเลย ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ดังนี้

จกฺขํ อุทปาทิ จักษุคือตาอันเป็นเพชร สามารถรู้แจ้งเป็นธรรมในที่ทุกสถาน หาสิ่งใดปกปิดไม่ได้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์

ญาณํ อุทปาทิ ญาณคือความรู้ทั้งอดีตอนาคตทั้งของพระองค์และบุคคลอื่นอันหาที่สุดไม่ได้ จนสิ้นสงสัยในพระทัยของพระองค์ ได้เกิดขึ้นแล้ว

ปญฺญา อุทปาทิ ปัญญารอบรู้ในสรรพเญยธรรมทั้งหลายอันหาที่สุดไม่ได้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์

วิชฺชา อุทปาทิ ความรู้วิเศษอันล่วงเสียซึ่งความรู้ของมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ไม่มีเหมือนของพระองค์ได้เกิดขึ้นแล้ว

อาโลโก อุทปาทิ พระองค์มองเห็นโลกทั้งหมดเป็นสักแต่ว่า “เป็นธาตุ” ไม่มีมนุษย์ บุรุษ หญิง ชาย มิใช่รู้แจ้งอย่างกลางวันหรือมีแสงสว่างอย่างพระอาทิตย์พระจันทร์แต่เห็นชัดด้วยใจของพระองค์ ได้เกิดขึ้นแล้ว

ที่จริงโลกก็เป็นโลกนั่นแหละ เกิดมาในโลกก็ต้องเป็นโลก แต่ความรู้ของพระองค์มันพลิกล็อคไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากอำนาจสมาธิภาวนาอันแน่วแน่ภายในของพระองค์ เห็นอย่างไรจึงกลายเป็นธรรมได้ คนเกิดมาในโลกนี้มันเป็นโลกอยู่แล้วหมดทั้งตนทั้งตัว แต่พระองค์ทรงเห็นว่าเกิดขึ้นมามันแก่ มันเจ็บ มันตาย ของเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง อันนี้เป็นทุกข์ ทุกตัวตนทุกสัตว์ทุกหมู่เหล่าเป็นเหมือนกันหมด อันนั้นแหละมันเป็นธรรม เรียกว่า “เห็นโลกเห็นธรรม” โลกเลยไม่มี ของเหล่านี้เกิดขึ้นที่พระองค์โดยไม่ได้คิดตามตำรา ไม่ได้ยินได้ฟังจากคนไหนมาก่อน แต่หากปรากฏขึ้นมาที่พระทัยอันใสสะอาดปราศจากมลทินมัวหมอง มีสมาธิผ่องใสบริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน เรียกว่า “สัพพัญญูพุทธะ” เกิดขึ้นมาเองด้วยตนเอง

โดยใจความของธรรมจักร ก็มีธรรม ๔ ประการ คือ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีปริวัฏ ๓ คือ

ปริวัฏที่หนึ่ง นี้คือ แสดงถึงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคแต่ละอันนี้เป็นตัวยืน

ปริวัฏที่สอง ทุกข์เป็นของควรกำหนด มิใช่ของควรละ แล้วก็เป็นธรรมด้วย สมุทัยจึงเป็นของควรละ นิโรธเป็นของควรทำให้แจ้ง มรรคเป็นของควรเจริญ

ปริวัฏที่สาม ทุกข์เป็นของควรกำหนด เราได้กำหนดแล้ว สมุทัยเป็นของควรละ เราได้ละแล้ว นิโรธเป็นของควรทำให้แจ้ง เราได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคเป็นของควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว

อาการ ๑๒ นี้เมื่อมันจะเกิดมันก็เกิดขึ้นมาเองในขณะจิตเดียวเท่านั้น ไม่ได้ลำดับดังที่อธิบายมานี้หรอกรู้แจ้งเห็นจริงหมดทุกสิ่งทุกอย่าง หายสงสัยในธรรมทั้งปวง อันนั้นเป็นของยาก ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ หากคนใดทำได้แล้วเกิดความรู้ขึ้นมานั่นแหละจึงจะเห็นด้วยตนเอง ธรรมอันนี้เป็นของลึกซึ้งมากที่สุด รู้เห็นเฉพาะตนเอง คนอื่นหารู้ด้วยไม่

เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นครั้งแรกให้แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ อันมี พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น ฟังจบแล้ว ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมว่า “สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ย่อมกับไปเป็นธรรมดา” (คือได้พระโสดาบันบุคคล) แล้วท่านจึงขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พรองค์ก็ได้ประทานเอหิภิกขุให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วก็เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนาอีกด้วย พระไตรสรณคมน์จึงครบ ๓ ตั้งแต่นั้นมา แล้วพระองค์ก็ได้เทศนาด้วยธรรมหลายปริยายให้ท่านทั้งห้านั้นฟัง จนที่สุดได้แสดง “อนัตตลักขณสูตร” ให้ฟังท่านเหล่านั้นจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านทั้ง ๔ องค์จึงขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระพุทธเจ้า

:b8: :b8: :b8:

:b44: บทสวด...ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
: พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48156

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b44: ธัมมเมกขสถูป หรือ “ธรรมเมกขสถูป”
อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ใน “วันอาสาฬหบูชา” วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41327

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2015, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




:b42: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขความเจริญ อยู่เย็นเป็นสุข ท่านใดมีความทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านมีความสุขขอให้มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง สุขกายเจริญวัย สุขใจเจริญธรรม ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20: (♡✿◕‿◕✿♡)

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร