วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๕๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีวาทะดีกว่านิครนถ์ ตั้งร้อยเท่า ตั้งพันเท่า ตั้งแสนเท่า เพราะฉะนั้น จึงทรงดำริว่า นิครนถ์ผู้นี้จะให้ตนพ้นผิด จึงซัดวาทะไปบนศีรษะมหาชน
เราจักไม่ให้ตัวเขาพ้นไปได้ เราจักเปลื้องวาทะออกจากมหาชนแล้ว ข่มแต่เขาคนเดียว ลำดับนั้น จึงตรัสกะนิครนถ์ว่า
“อัคคิเวสสนะ ประชุมชนหมู่ใหญ่ จักทำอะไรแก่ท่าน ประชุมชนนี้ ไม่ได้จะมาโต้วาทะกับเรา ท่านต่างหากเล่า วนเวียนไปทั่วกรุงเวสาลี มาโต้วาทะก...ับเรา เพราะฉะนั้น ท่านจงประกาศวาทะของตนให้ทั่วกัน ท่านซัดอะไรไปบนศีรษะมหาชน เอาเถิด ท่านแก้แต่ถ้อยคำของตัวเถิด”
นิครนถ์นั้น ยอมรับความจริง จึงกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญข้าพระองค์ กล่าวอย่างนั้นจริง ว่า รูปเป็นตัวของเรา เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของเรา วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้นิครนถืยืนยันวาทะของตน ทรงปรารภคำถามว่า
“อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เพราะท่าน ยอมรับถึงปัญจขันธ์ทั้งหลาย โดยความเป็นตัวตน ฉะนั้นเราจักถามท่านเฉพาะในข้อนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไร ก็จะกล่าวแก้อย่างนั้น อัคคิเวสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อำนาจของพระราชามหากษัตริย์(พระเจ้าแผ่นดิน) ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว(สรงน้ำทั่วพระองค์ตลอดถึงพระเศียร ในเวลาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน)ในแว่นแคว้นของตน เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล แลพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู เวเทหิบุตร อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบทรัพย์ที่ควรต้องริบ ทำให้เสื่อมทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์ได้ หรือมิได้”
ส. “พระโคดม อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบทรัพย์ที่ควรต้องริบ ทำให้เสื่อมทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์ได้อยู่แล้ว เพราะว่า ขนาดเพียงแค่อำนาจของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ ก็ยังอาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบทรัพย์ที่ควรต้องริบ ทำให้เสื่อมทรัพย์ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์ได้ เหตุไฉน อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิกเษกแล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู จักไม่เป็นไปได้เล่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น พึงเป็นไปได้ และควรจะเป็นไปได้ด้วย”
คำพูดย้ำตอนท้ายของนิครนถ์ว่า “พึงเป็นไปได้ และควรจะเป็นไปได้ด้วย” เป็นการแสดงเหตุที่นำมาเพื่อทำลายวาทะของตนเองให้พิเศษ ดุจผู้ทำอาวุธให้คมเพื่อฆ่าตนเอง เหมือนคนพาล

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๕๗ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พ. “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘รูปเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในรูปนั้นว่า‘รูปของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย นี่ก็หมายความว่า ขอรูปของเราจงมีอย่างนี้ คือ มีรูปน่าเลื่อมใสมีรูปสวย ใครเห็นเข้าก็ชอบใจ สวยเหมือนเสาระเนียดทอง ที่ประดับประดาแล้วตกแต่งแล้ว และผ้าวิจิตรที่จัดแจงไว้อย่างดี ขอรูปของเรา... จงอย่ามีผิวพรรณทราม จงอย่ามีทรวดทรงไม่ดี จงอย่ามีหนังเหี่ยว จงอย่ามีผมหงอก จงอย่ามีตัวตกกระ’ ดังนี้ ได้หรือ”
นิครนถ์ รู้ความที่ตนพลาดในวาทะนี้ จึงคิดว่า พระสมณโคดมนำเหตุมาเพื่อต้องการทำลายวาทะของเรา เราแสดงเหตุนั้นพลาดไป เพราะโง่ ถ้าจะพูดว่า เป็นไปดังนี้ คราวนี้ เราฉิบหายแล้ว อัคคิเวสสนะเอ๋ย! เจ้าได้ลุกขึ้นกล่าวกับเจ้าลิจฉวีเหล่านี้ว่า อำนาจย่อมเป็นไปในรูปของเรา ถ้าอำนาจเป็นไปในรูปของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่รุ่งเรือง เหมือนเจ้าลิจฉวีเหล่านี้ มีรูปสวยน่าเลื่อมใส ย่อมรุ่งเรืองด้วยอัตตภาพ ปานประหนึ่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้าเราจะกล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ พระสมณโคดมเสด็จลุกขึ้นยกวาทะว่า อัคคิเวสสนะ ในกาลก่อนท่านกล่าวว่าอำนาจเป็นไปในรูปของเรา มาวันนี้ค้านเสียแล้ว เมื่อเขากล่าวว่าเป็นไปก็มีโทษอย่างหนึ่ง กล่าวเป็นไปไม่ได้ ก็มีโทษอย่างหนึ่งด้วยประการฉะนี้ก็นิ่งเสียดังนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามครั้งที่สองว่า “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘รูปเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในรูปนั้นว่า ‘รูปของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย นี่ก็หมายความว่า ขอรูปของเราจงมีอย่างนี้ คือ มีรูปน่าเลื่อมใสมีรูปสวย ใครเห็นเข้าก็ชอบใจ เหมือนเสาระเนียดทอง ที่ประดับประดาแล้วตกแต่งแล้ว และผ้าวิจิตรที่จัดแจงไว้อย่างดี ขอรูปของเรา จงอย่ามีผิวพรรณทราม จงอย่ามีทรวดทรงไม่ดี จงอย่ามีหนังเหี่ยว จงอย่ามีผมหงอก จงอย่ามีตัวตกกระ’ ดังนี้ ได้หรือ” สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสียเป็นครั้งที่สอง
ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีความเอ็นดูเป็นกำลัง ในหมู่สัตว์ เพราะบำเพ็ญพระบารมีตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัปป์เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งนั้น ฉะนั้นตรัสถามจนถึงสองครั้งแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้กะสัจจกนิครนถ์บุตรว่า “อัคคิเวสนะ ท่านจงตอบมาเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ไม่ใช่เวลาทำเป็นนิ่งเฉย อัคคิเวสนะ ใครผู้ใด ถูกพระตถาคตถามปัญหาอย่างเป็นธรรม ถึงสามครั้ง ยังไม่ตอบชี้แจง ศีรษะของผู้นั้นต้องแตกเป็น ๗ เสี่ยง” ดังนี้ ยักษ์วชิรปาณี นิรมิตรูปน่าเกลียดมาก มีศีรษะใหญ่ เขี้ยวใหญ่ราวกับหัวปลี ตาและจมูกเป็นต้นน่ากลัว ที่จริงไม่ใช่ยักษ์ แต่เป็นท้าวสักกเทวราช ถือสายฟ้า มีสีเหมือนไฟ ลุกโพลงเป็นเปลวสว่างทั่ว ยืนอยู่ มาเพื่อให้นิครนถ์ตอบความเห็น, อีกอย่างหนึ่ง ท้าวสักกะกับท้าวมหาพรหมเสด็จมาแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรมอย่างนี้ว่า เราพึงแสดงธรรมคนเหล่าอื่น ก็พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราไม่ได้ ได้ทรงกระทำปฏิญญาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด เมื่ออาณาจักรไม่เป็นไปแด่พระองค์ เป็นไปแก่ข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์จักให้เป็นไป ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรเป็นของข้าพระองค์ดังนี้ เพราะฉะนั้นเสด็จมาแล้วด้วยทรงดำริว่า ในวันนี้เราจักให้สัจจกนิครนถ์สะดุ้งกลัว แล้วให้ตอบปัญหาดังนี้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๕๘ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิคัณฐบุตรเท่านั้นเห็นอยู่ กล่าวคือ ถ้าคนเหล่าอื่นพึงเห็นเหตุนั้น เหตุการณ์นี้ก็หมดความหมาย กลายเป็นว่า ชนทั้งหลายต้องพากันค่อนขอดว่า พระสมณโคดมพอทรงทราบว่าสัจจกนิครนถ์ไม่หยั่งลงในวาทะของพระองค์ก็ทรงใช้ยักษ์มาข่มขู่ สัจจกนิครนถ์ ได้ทีทำเป็นกราบทูลยอมรับ เพราะกลัวยักษ์ดังนี้ เพราะฉะนั้นพระผู้มี พระภาคเจ้ากับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็น เพราะเห็นยักษ์นั้น สัจจกะนิคัณฐบุตรเหงื่อก็ไหลท่วมตัว ภายในท้องป่วนปั่นร้องดัง เขา คิดว่า คนเหล่าอื่นเห็นอยู่หรือเปล่า เมื่อแลดูรอบๆ ก็ไม่เห็นใครกลัวจนขนหัวลุก แต่นั้นความกลัวตัวสั่น ขนลุก เกิดแก่เขาเท่านั้น จึงคิดว่า ถ้าเราจักกล่าวว่า ยักษ์ พวกคนพึงพูดว่า มีตาของท่านนั้นหรือ ท่านเท่านั้นเห็นยักษ์ ท่านก่อนถูกพระสมณโคดมซัดไปยังไม่เห็นยักษ์ พอถูกสืบสาวหาวาทะ จึงมาเห็นยักษ์ สำคัญอยู่ว่า คราวนี้ในที่นี้ เราไม่มีที่พึ่งอื่น นอกจากพระสมณโคดม ดังนี้ จึงต้องยึดเอาพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละ ไว้เป็นเครื่องต้านทาน จึงได้ทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ จงถาม ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักตอบ”
พ. “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘รูปเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในรูปนั้นว่า ‘ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด ขอรูป ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย’ ดังนี้ ได้หรือ”
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในเวทนานั้นว่า ‘ขอเวทนาของเรา จงเป็นกุศล เป็นสุขอย่างนั้นเถิด ขอเวทนาของเรา จงอย่าได้เป็นอกุศล เป็นทุกข์อย่างนั้นเลย’ ดังนี้ ได้หรือ”
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘สัญญาเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในสัญญานั้นว่า ‘ขอสัญญาของเรา จงเป็นกุศล เป็นสุข คือ จงประกอบด้วยโสมนัสอย่างนั้นเถิด ขอสัญญาของเรา จงอย่าได้เป็นอกุศล เป็นทุกข์ คือ จงอย่าประกอบด้วยโทมนัสอย่างนั้นเลย’ ดังนี้ ได้หรือ”
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลาย เป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นว่า ‘ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นกุศล เป็นสุข คือ จงประกอบด้วยโสมนัสอย่างนั้นเถิด ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงอย่าได้เป็นอกุศล เป็นทุกข์ คือ จงอย่าประกอบด้วยโทมนัสอย่างนั้นเลย’ ดังนี้ ได้หรือ”
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 04:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๕๙ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง “อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า ‘วิญญาณเป็นตัวตนของเรา’ ดังนี้ อำนาจของท่านทำให้เป็นไปในวิญญาณนั้นว่า ‘ขอวิญญาณของเรา จงเป็นกุศล เป็นสุข คือ จงประกอบด้วยโสมนัสอย่างนั้นเถิด ขอวิญญาณของเรา จงอย่าได้เป็นอกุศล เป็นทุกข์ คือ จงอย่าประกอบด้วยโทมนัสอย่างนั้นเลย’ ดังนี้ ได้หรื...อ”
ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง อัคคิเวสสนะท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูป เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ส. ไม่เที่ยง พระโคดม ผู้เจริญ
พ. ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์หรือสุข.
ส. เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ พระโคดม ผู้เจริญ
พ. ก็รูปใดไม่เที่ยง เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอเพื่อพิจารณาเห็น ด้วยตัณหา ทิฏฐิ และถือตัว อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้
ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงใคร่ครวญ คิดให้รอบคอบเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวตอบ คำหลังของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน หรือ คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง อัคคิเวสสนะท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน เวทนา... สัญญา... สังขารทั้งหลาย... วิญญาณ เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ส. ไม่เที่ยง พระโคดม ผู้เจริญ
พ. ก็เวทนาใด... สัญญาใด... สังขารทั้งหลายเหล่าใด... วิญญาณใดไม่เที่ยง รูปนั้น เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์หรือสุข.
ส. เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ พระโคดม ผู้เจริญ
พ. ก็เวทนาใด... สัญญาใด... สังขารทั้งหลายเหล่าใด... วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ เพื่อพิจารณาเห็น ด้วยตัณหา ทิฏฐิ และถือตัว อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้
ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม
หมองูผู้ฉลาดให้งูนั้นกัดแล้ว ถอนพิษที่ถูกงูกัด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิคันถบุตรกล่าวในบริษัทนั้น ด้วยปากนั้นเองว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ผู้ใด หม่นหมองติดทุกข์ในขันธ์ ๕ อยู่ ด้วยทิฏฐิ ตัณหาทั้งหลาย ประสบทุกข์ กลืนกินทุกข์ ด้วยอำนาจทิฏฐิ ตัณหาแล้ว หรือหนอ ย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ในปัญจขันธ์ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และถือตัว อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้ ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์หมดทั้งปวงเองได้ ด้วยปัญญาพิจารณานามรูปโดยเป็นไตรลักษณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หรือจะทำทุกข์ ให้เสื่อมสิ้น ไม่ให้เกิดได้บ้าง หรือหนอ
ส. ก็พึงมีได้ อย่างไร ข้อนี้ไม่พึงมีได้เลย พระโคดม ผู้เจริญ
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ท่าน หม่นหมองติดทุกข์ในขันธ์ ๕ อยู่ ด้วยทิฏฐิ ตัณหาทั้งหลาย ประสบทุกข์ กลืนกินทุกข์ ด้วยอำนาจทิฏฐิ ตัณหาแล้ว หรือหนอ ย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ในปัญจขันธ์ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และถือตัว อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ
ส. ก็อะไรกัน ไม่พึงมี ข้อนั้นต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดม ผู้เจริญ


พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๐ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ได้ยินว่า เมื่อก่อนสัจจกนิครนถ์นั้นเข้าไปหาครูทั้ง ๖ มีปูรณะเป็นต้น ย่อมถามปัญหา. พวกครูเหล่านั้น ไม่สามารถจะตอบได้ ครั้งนั้น
เขาพูดถากถางเหน็บแนมมากมาย ในท่ามกลางบริษัทของครูเหล่านั้น แล้วลุกขึ้นไปประกาศชัยชนะ เขาก็เข้าไปหาพระพุทธเจ้าด้วยความสำคัญว่า เราจักเบียดเบียนแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนั้น จึงประกาศว่า
“ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ เราตบให้ศีรษะแตกกระจุยเพียงครั้ง...เดียว เหมือนฝาดยอดไม้อย่างไหน ถึงจะมีใบเยิ้มเหนียว มีหนามแหลม ก็แตกกระจุยได้เพียงครั้งเดียว”
สัจจกนิครนถบุตรนี้ บังอาจเจาะแก่นพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้รู้ซึ้งถึงความแตกต่างแห่งจะงอยคือพระญาณ ว่าพระสัพพัญญุตญาณแข็งแกร่งขนาดไหน เหมือนนกมีจะงอยอ่อน เคยแต่เจาะไม้ที่ไม่มีแก่น พอไปเจาะไม้ตะเคียนเข้าจึงได้รู้ซึ้งถึงความแข็ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศข้อนั้น ในท่ามกลางบริษัทของสัจจกนิครนถ์นั้นนั้นมีปากกล้า เมื่อจะทรงข่มจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า
“อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่งบุรุษ มีความต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งสำหรับถากไม้ที่คมเข้าไปป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ในป่านั้นต้นหนึ่ง ซึ่งมีลำต้นตรง ต้นอ่อนยังไม่ทันตกเครือ ไม่เหลือวิสัยที่จะตัด เขาก็ตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้นแล้ว ตัดยอดลิดใบออก ผ่าออกดู เพียงแม้แต่กระพี้ก็ไม่เจอ จะได้พบแก่นมาแต่ไหน ข้อนี้ฉันใด อัคคิเวสนะ ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล พอถูกเราซักไซ้ไล่เลียง ในวาทะของตัวเอง ก็ว่างเปล่าหาแก่นสารมิได้ ต้องพ่ายแพ้ไปเอง
อัคคิเวสสนะ ท่านได้กล่าววาจานี้ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า ‘เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ที่เป็นคณาจารย์ ครูของหมู่คณะ แม้ปฏิญญา (ยืนยัน) ตนว่า เป็นพระอรหันต์ผู้ไกลจากกิเลสควรนับถือ ผู้รู้ชอบเองก็ตามที พอโต้ตอบถ้อยคำกับเราแล้ว ที่จะไม่ประหม่าตัวสั่นหวั่นไหว ที่จะไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้ ไม่มีเลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำด้วยถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสั่นสะท้านหวั่นไหว จะกล่าวอะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์’ ดังนี้ อัคคิเวสนะ หยาดเหงื่อทั้งหลาย ของท่านไหลหยดจากหน้าผาก ลงผ้าห่มเปียกชุ่มจนหยดลงที่พื้น อัคคิเวสนะ ส่วนเหงื่อในกายของเราเดี๋ยวนี้ ไม่มีเลย”
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงเปิดพระวรกาย ไม่ทรงเปิดพระวรกายทั้งหมด ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทรงกลัดรังดุมปิดพระวรกาย จึงทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจับขยับจีวรที่ด้านหน้าตรงหลุมคอให้หย่อนลงราว ๔ นิ้ว เพียงแค่จีวรนั้น หย่อนลงเท่านั้น รัศมีสีทองเป็นกลุ่มๆ ซ่านออก เหมือนรสธาราทองสุกแดงอร่ามไหลออกจากหม้อทอง และเหมือนสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆสีแดง รัศมีนี้ก็เวียนประทักษิณให้เป็นเศียรเลิศ กลุ่มใหญ่ เหมือนกลองทอง แล่นไปในอากาศ

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๑ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
มีปุจฉาถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงการทำอย่างนี้ จึงมีวิสัชนาตอบว่า เพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชน ก็มหาชนจะต้องสงสัยว่าพระสมณโคดมตรัสว่า เหงื่อของเราไม่มีเหงื่อของสัจจกนิคันถบุตรไหลโชกอยู่ตลอดเหมือนเหงื่อของคนขึ้นเครื่องยนต์ พระสมณโคดมประทับนั่งห่มผ้าจีวรหนา ใครจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหงื่อภายในจะมี หรือไม่มีดังนี้ จึงทรงกระทำอย่างนั้นเพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชนนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะได้นั่งนิ่งเอานิ้วเท้าเขี่ยแผ่นดิน เก้อเขินหมดอำนาจ คอตก ก้มหน้าหงอยเหงา ไม่มีปฏิภาณปัญญาอะไรๆ ที่จะคิดโต้เถียงอีก
เจ้าทุมมุขลิจฉวี หล่อเหลา น่าเลื่อมใสรู้ถึงสัจจกะนิครนถ์ นั่งนิ่งเอานิ้วเท้าเขี่ยแผ่นดิน เก้อเขินหมดอำนาจ คอตก ก้มหน้าหงอยเหงา ไม่มีปฏิภาณปัญญาอะไรๆ ที่จะคิดโต้เถียงอีกแล้ว จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า อุปมา อย่างหนึ่ง ข้าพเจ้า เข้าใจชัดเจน ข้าพเจ้า จะยกอุปมานั้นมา” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “อุปมานั้น จงเข้าใจชัดเจน แก่ท่านเถิด ทุมมุข” ดังนี้แล้ว เธอทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือน ในที่ใกล้ๆ บ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ในสระนั้นมีปูตัวหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีเด็กชายหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็ลงจับปูนั้นขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นน้อมก้ามไปข้างไหน เด็กเหล่านั้น ก็ใช้ท่อนไม้หรือท่อนกระเบื้อง ต่อยก้ามปูนั้น ปูนั้น เดินไม่ได้ เพราะก้ามหักหมด ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้ เหมือนอย่างแต่ก่อน จึงตกเป็นเหยื่อของกาและเหยี่ยวเป็นต้นในที่นั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนามปกคลุมอยู่ มีทิฏฐิยักไปยักมาไม่อยู่ในร่องรอยบางอย่างๆ ของสัจจกะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหักเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ต่อนี้ไปสัจจกะ ไม่ควรเข้าไปเฝ้าตามอัธยาศัยว่า เราประสงค์จักโต้วาทะ แต่ควรเข้าไปเฝ้าเพื่อฟังธรรม ฉันนั้น”
ได้ยินว่า ช่วงเวลาบุตรลิจฉวีชื่อทุมมุขุนั้น ยกเอาอุปมาอยู่นั้น แม้ลิจฉวีกุมารที่เหลือ คิดแล้วว่า นิครนถ์นี้ทำความดูหมิ่นพวกเรา ในสถานที่เรียนศิลปะของพวกเรามานาน บัดนี้ ถึงเวลาที่จะเห็นหลังศัตรู แม้พวกเรา ยกอุปมาขึ้นมาคนละข้อ จักทำสัจจกนิครนถ์นั้น ดุจใช้ฝ่ามือตบให้ล้มแล้ว ใช้ค้อนโบย โดยประการที่สัจจกนิครนถ์ จักไม่สามารถโงศีรษะขึ้นในท่ามกลางบริษัทได้อีก ลิจฉวีเหล่านั้น ทำอุปมาทั้งหลายแล้ว นั่งคอยทุมมุขพูดจบ สัจจกนิครนถ์รู้ความประสงค์ของลิจฉวีเหล่านั้น จึงคิดว่า ลิจฉวีเหล่านี้ทั้งหมด ชูคอยืนปากสั่น หากพวกลิจฉวี จักได้ยกอุปมาขึ้นมาแต่ละอย่าง เราจักไม่สามารถโงหัวขึ้นในท่ามกลางบริษัทอีก เอาเถิดเรารุกรานทุมมุขะแล้ว ตัดวาระแห่งถ้อยคำโดยประการที่ลิจฉวีอื่นไม่มีโอกาส จึงค่อยทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม
เมื่อเจ้าทุมมุขลิจฉวีกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะพูดกะเธอว่า เจ้าทุมมุขท่านหยุดเถิด ท่านหยุดเถิด ท่านเป็นคนปากมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดหารือกับท่าน ข้าพเจ้าพูดหารือกับพระโคดมต่างหาก.

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๒ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระโคดม วาจาของข้าพเจ้า และของพราหมณ์ เป็นอันมากเหล่าอื่น ยกเสียเถิด เพราะเป็นแต่เรื่องพูดเพ้อพล่อยๆ ไปเรื่อยอย่างนั้นส่วนสาวกของพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรจึงชื่อว่า เป็นผู้ได้ทำตามคำสั่งสอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ได้ปราศจากความแคลงใจที่เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงญาณปัญญาแกล้วกล้าปราศจากความครั่นคร้าม มีพระผู้มีพระภาคเจ้าคอยให้คำตอบจึงไม...่ต้องเที่ยวไปเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาของตน”
พ. “อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในพระศาสนานี้ พิจารณาเห็นรูปนั้น คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปทั้งที่เป็นอดีตล่วงแล้ว, ที่เป็นอนาคตยังไม่มาถึง และที่เป็นปัจจุบันเกิดสืบต่อในบัดนี้; รูปที่เป็นภายในร่างกาย(อินทรีย์)นี้ก็ดี รูปที่เป็นภายนอกร่างกายนี้(หมายถึงเป็นในอินทรีย์อื่นจากนี้)ก็ดี; รูปหยาบก็ดี รูปละเอียดก็ดี; รูปเลวก็ดี รูปประณีตก็ดี; รูปในที่ไกลก็ดี รูปในที่ใกล้ก็ดี; ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว อย่างนี้ว่า รูปนั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นรูปนั่น รูปนั่นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้ ก็จะกลายเป็นผู้หลุดพ้น จากความยึดมั่นถือมั่น; พิจารณาเห็นเวทนานั้น คือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นสัญญานั้น คือ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายนั้น คือ สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นวิญญาณธาตุรู้นั้น คือ วิญญาณธาตุรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณธาตุรู้ทั้งที่เป็นอดีตล่วงแล้ว, ที่เป็นอนาคตยังไม่มาถึง และที่เป็นปัจจุบันเกิดสืบต่อในบัดนี้; วิญญาณธาตุรู้ที่เป็นภายในร่างกายนี้ก็ดี วิญญาณธาตุรู้ที่เป็นภายนอกร่างกายนี้(หมายถึงเป็นในอินทรีย์อื่นจากนี้)ก็ดี; วิญญาณธาตุรู้หยาบก็ดี วิญญาณธาตุรู้ละเอียดก็ดี; วิญญาณธาตุรู้เลวก็ดี วิญญาณธาตุรู้ประณีตก็ดี; วิญญาณธาตุรู้ในที่ไกลก็ดี วิญญาณธาตุรู้ในที่ใกล้ก็ดี; ทั้งหมด ก็เป็นแต่วิญญาณธาตุรู้ ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว อย่างนี้ว่า วิญญาณธาตุรู้นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นวิญญาณธาตุรู้นั่น วิญญาณธาตุรู้นั่นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้ ก็จะกลายเป็นผู้หลุดพ้น จากความยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ สาวกของเรา ชื่อว่า เป็นผู้ได้ทำตามคำสั่งสอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ได้ปราศจากความแคลงใจที่เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงญาณปัญญาแกล้วกล้าปราศจากความครั่นคร้าม มีพระผู้มีพระภาคเจ้าคอยให้คำตอบจึงไม่ต้องเที่ยวไปเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาของตน”

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2011, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๓ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ส. “ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเพียงไร ภิกษุ ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ อยู่จบพรหมจรรย์ การสั่งสมกิจที่ภิกษุผู้มีจิตสงบหลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้นที่ต้องทำ ได้ทำเรียบร้อยแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ปลงภาระลงได้แล้ว ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว เป็นผู้หมดสิ้นสังโยชน์ธรรมอันจะนำไปเกิดในภพแล้ว จึงเป็นผู้วิมุติหลุดพ้น เพราะตรัสรู้ชอบ”
พ. “อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในพระศาสนา...นี้ พิจารณาเห็นรูปนั้น คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปทั้งที่เป็นอดีตล่วงแล้ว, ที่เป็นอนาคตยังไม่มาถึง และที่เป็นปัจจุบันเกิดสืบต่อในบัดนี้; รูปที่เป็นภายในร่างกายนี้ก็ดี รูปที่เป็นภายนอกร่างกายนี้(หมายถึงเป็นในอินทรีย์อื่นจากนี้)ก็ดี; รูปหยาบก็ดี รูปละเอียดก็ดี; รูปเลวก็ดี รูปประณีตก็ดี; รูปในที่ไกลก็ดี รูปในที่ใกล้ก็ดี; ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว อย่างนี้ว่า รูปนั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นรูปนั่น รูปนั่นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้ ก็จะกลายเป็นผู้หลุดพ้น จากความยึดมั่นถือมั่น; พิจารณาเห็นเวทนานั้น คือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นสัญญานั้น คือ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายนั้น คือ สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง...; พิจารณาเห็นวิญญาณธาตุรู้นั้น คือ วิญญาณธาตุรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณธาตุรู้ทั้งที่เป็นอดีตล่วงแล้ว, ที่เป็นอนาคตยังไม่มาถึง และที่เป็นปัจจุบันเกิดสืบต่อในบัดนี้; วิญญาณธาตุรู้ที่เป็นภายในร่างกาย(อินทรีย์)นี้ก็ดี วิญญาณธาตุรู้ที่เป็นภายนอกร่างกายนี้(หมายถึงเป็นในอินทรีย์อื่นจากนี้)ก็ดี; วิญญาณธาตุรู้หยาบก็ดี วิญญาณธาตุรู้ละเอียดก็ดี; วิญญาณธาตุรู้เลวก็ดี วิญญาณธาตุรู้ประณีตก็ดี; วิญญาณธาตุรู้ในที่ไกลก็ดี วิญญาณธาตุรู้ในที่ใกล้ก็ดี; ทั้งหมด ก็เป็นแต่วิญญาณธาตุรู้ ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว อย่างนี้ว่า วิญญาณธาตุรู้นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นวิญญาณธาตุรู้นั่น วิญญาณธาตุรู้นั่นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๔ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระโคดม วาจาของข้าพเจ้า และของพราหมณ์ เป็นอันมากเหล่าอื่น ยกเสียเถิด เพราะเป็นแต่เรื่องพูดเพ้อพล่อยๆ ไปเรื่อยอย่างนั้น

ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ ภิกษุ ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ (ผู้มีกิเลสห่างไกลคือมีกิเลสอันท่านละได้แล้ว) สิ้นอาสวะ (สิ้นกิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน คือท่านละได้ ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีกอันท่านเผาแล้ว ด้วยไฟคือญาณ) อยู่จบพรหมจรรย์ (คือ อยู่จบแล้วในธรรมเครื่องอยู่ของครูบ้าง, ในธรรมเครื่องอยู่คืออริยมรรคบ้าง, ในธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง พระอรหันต์นั้น มีธรรมเครื่องอยู่อันจบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว) การสั่งสมกิจที่ภิกษุผู้มีจิตสงบ หลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้นที่ต้องทำ ได้ทำเรียบร้อยแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ปลงภาระลงได้แล้ว (ภาระมี ๓ คือ ขันธภาระ กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ ภาระ ๓ เหล่านี้ พระอรหันต์นั้น ปลงลงแล้ว ยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว) ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว เป็นผู้หมดสิ้นสังโยชน์ธรรมอันจะนำไปเกิดในภพแล้ว (สังโยชน์ ๑๐ คือกามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะอิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเพราะสังโยชน์เหล่านี้ ย่อมผูก คือตามผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ หรือ ย่อมเชื่อมภพกับภพให้เนื่องกัน สังโยชน์เหล่านี้ของพระอรหันต์ สิ้นรอบแล้ว ท่านละได้แล้ว ท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ) จึงเป็นผู้วิมุติหลุดพ้น (วิมุติมี ๒ อย่าง คือ ความหลุดพ้นแห่งจิต ๑ พระนิพพาน ๑ พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วแม้ด้วยความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะท่านมีจิตหลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วแม้ในเพราะพระนิพพาน เพราะภาวะที่ท่านมีจิตน้อมไปสู่พระนิพพาน)เพราะตรัสรู้ชอบ (คือ พิจารณา ตรวจสอบ เปิดเผย กระทำให้แจ้งซึ่งอรรถแห่งขันธ์ว่าเป็นสังขารร่างกายปรุงแต่ง อรรถแห่งอายตนะว่าเป็นบ่อเกิดการเชื่อมต่อ อรรถแห่งธาตุว่าเป็นสภาพทรงไว้ตามธรรมชาติ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นการบีบคั้นทนได้ยาก อรรถแห่งสมุทัยว่าเป็นบ่อเกิดทุกข์ อรรถแห่งทุกขนิโรธว่าเป็นความสงบระงับทุกข์ อรรถแห่งมรรคว่าเป็นทัสสนะความเห็น สู่ทางปฏิบัติโดยชอบ มีประเภทอย่างนี้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ตามความเป็นจริง) อัคคิเวสสนะ ภิกษุที่มีจิตวิมุติหลุดพ้นอย่างนี้แล้วแล ถึงพร้อมด้วยคุณที่เลิศไม่มีคุณอื่นจะยิ่งกว่า ๓ ประการ คือ ทัสสนานุตตริย (วิปัสสนาญาณปัญญา เครื่องเห็นอันเลิศฝ่ายโลกียะและฝ่ายโลกุตตระไม่มีญาณอื่นจะยิ่งกว่า) ๑ ปฏิปทานุตตริยะ (ความประพฤติปฏิบัติอันเลิศไม่มีความประพฤติปฏิบัติอื่นจะยิ่งกว่า) ๑ วิมุตตานุตตริยะ (ความหลุดพ้นอันเลิศไม่มีความหลุดพ้นอื่นจะยิ่งกว่า) ๑ อัคคิเวสสนะ ภิกษุที่มีจิตวิมุติหลุดพ้นอย่างนี้แล้วแล ต้องสักการะเคารพนับถือบูชา พระตถาคตด้วยความศรัทธาเลื่อมใสว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ทรงตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ แม้ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงแสดงธรรม เพื่อให้ผู้อื่นตรัสรู้อริยสัจจ์ตาม ทรงทรมาน ฝึกพระองค์ก่อนแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อทรมานฝึกสอนผู้อื่น ทรงสงบระงับกองกิเลสทั้งปวงได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้สงบระงับกองกิเลส ทรงข้ามห้วงกิเลส ๔ ประการได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ข้ามห้วงกิเลส ทรงดับเพลิงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ดับเพลิงกิเลส” ดังนี้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 02:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะทูลว่า “ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคนคอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา ข้าพเจ้า ยกตนเท่านั้นว่า เราเป็นคนกล้า เราเป็นบัณฑิต เราเป็นพหูสูต มุ่งแต่จะปะทะคารมกะพระโคดมผู้เจริญเหมือน บุรุษไปปะทะช้างตกมันเข้า ยังพอจะหนีรอดปลอดภัยได้บ้าง ก็แต่มาปะทะพระโคดมผู้เจริญเข้าแล้ว บุรุษเพียงแค่จะเล็ดลอดก็ไม่ได้ช่องสักนิดเลย เหมือนบุรุษเจอะกองเพลิงกำลังลุกโชนเข้า ยังพอจะหนีรอดปลอดภัยได้บ้าง ก็แต่มาปะทะพระโคดมผู้เจริญเข้าแล้ว... บุรุษเพียงแค่จะเล็ดลอดก็ไม่ได้ช่องสักนิดเลย เหมือนบุรุษปะอสรพิษร้ายแผ่พังพานเข้า ยังพอจะหนีรอดปลอดภัยได้ ก็แต่มาปะทะพระโคดมผู้เจริญเข้าแล้ว บุรุษเพียงแค่จะเล็ดลอดก็ไม่ได้ช่องสักนิดเลย ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคนคอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา ข้าพเจ้า ยกตนเท่านั้นว่า เราเป็นคนกล้า เราเป็นบัณฑิต เราเป็นพหูสูต มุ่งแต่จะปะทะคารมกะพระโคดมผู้เจริญ” เมื่อจะนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูล “ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ นิมนต์รับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อประโยชน์แก่บุญ และปีติปราโมทย์ ซึ่งจักมีในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพระองค์ผู้กระทำอยู่ซึ่งสักการะในพระองค์”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงให้อวัยวะส่วนพระกายและพระวาจาให้หวั่นไหว ทรงยับยั้งอยู่ไว้เฉพาะภายใน ทรงรับแล้วด้วยดุษณีภาพ คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อทำการอนุเคราะห์แก่สัจจกนิคันถบุตรแล สัจจกะทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นนำถาดสำรับ ๕๐๐ ไปให้แก่สัจจกนิคันถบุตรนั้นเป็นนิตยภัตร จึงสั่งเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระสมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า พวกท่านควรสำคัญว่า สิ่งที่สมควรจึงเป็นของควรถวายแต่พระสมณโคดม ควรนำของที่สมควรนั้นมา พวกท่านเป็นคนปรนนิบัติ ย่อมเข้าใจถึงสิ่งที่ควร ไม่ควร เหมาะไม่เหมาะสำหรับสมณโคดม จงเลือกหาแต่ของที่ควรแก่พระสมณโคดมพระองค์นั้น” ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่า นั้นได้นำภัตตาหารไปให้แก่สัจจกะประมาณห้าร้อยหม้อ สัจจกะให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จแล้ว ให้กราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นกาลที่สมควรจะเสด็จพระพุทธดำเนิน ภัตตาหารพร้อมเสร็จแล้ว.
เวลาเช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าตามสมณวัตรแล้วทรงบาตร จีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินไป ถึงอารามแห่งสัจจกะแล้วประทับ ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย สัจจกะอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนให้อิ่มด้วยดีให้ห้ามเสียแล้ว ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ได้ทรงชำระพระหัตถ์และบาตรทรงเก็บบาตรไว้ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่งได้ยินว่า นิครนถ์นั้น เมื่อจะมอบผลบุญแห่งทานนี้แก่เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต ไม่ควรให้ทานของตน ขอบุญและผลบุญในทานนี้ จงมีเพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลายเถิด”

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “อัคคิเวสสนะ บุญและผลบุญในทานนี้ คืออาศัยทักขิเณยยบุคคล (คนควรรับทานที่ทายกให้ด้วยความนับถือ) เช่นกับท่าน
ผู้ยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เหมือนกับท่าน จักเป็นของทายกทั้งหลาย ส่วนบุญและผลบุญ ที่อาศัยทักขิเณยยบุคคล เช่นกับเรา ผู้สิ้นราคะ โทสะ โมหะแล้ว จักเป็นของท่าน”
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ตัณหาเป็นเหตุให้อัตตวาทุปาทานเกิด ดังเช่น สัจจกนิครนถ์ผู้มีความพอใจในขันธ์ ๕ ของตน เป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ของตน เป็นอัตตวาทุปาทาน ดังที่ได้แสดงมานี้
๑๐. ภพ คือ ธรรมชาติ เกิดมีเป็น ได้แก่ กรรมที่ปรุงแต่งทำให้ผลเกิดขึ้น และผลที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกรรม ภพ จึงแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) กรรมภวะ อกุศลเจตนา และโลกียกุศลเจตนา เป็นเหตุให้เกิดผล
๒) อุปปัตติภวะ ธรรมใดเข้าไปเกิดในภพใหม่ และได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกรรม
ต่อไปนี้จะแสดงความสัมพันธ์ “เหตุ” “ผล” คือ
อุปาทานมีกามุปาทานเป็นต้น ย่อมเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดภพเป็นต้น คืออย่างไร คือว่า
คนบางคนในโลกนี้คิดว่า “จักบริโภคกาม” ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย เพราะทุจริตเต็มรอบ เขาย่อมเกิดในอบาย กรรมเป็นเหตุให้ปฏิสนธิเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้น เป็นกรรมภพ, ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ, ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าชาติ, ความแก่หง่อม ชื่อว่าชรา, ความแตกทำลาย ชื่อว่ามรณะ
อีกคนหนึ่งคิดว่า “จักเสวยสมบัติในสวรรค์” ประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต เขาย่อมเกิดในสวรรค์ กรรมเป็นเหตุเกิดในสวรรค์นั้นของบุคคลนั้น เป็นกรรมภพ, ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ, ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าชาติ, ความแก่หง่อม ชื่อว่าชรา, ความแตกทำลาย ชื่อว่ามรณะ
ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า “จักเสวยสมบัติในพรหมโลก” ย่อมเจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมเกิดในพรหมโลก เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา กรรมเป็นเหตุเกิดในพรหมโลกนั้นของบุคคลนั้น เป็นกรรมภพ, ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ, ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าชาติ, ความแก่หง่อม ชื่อว่าชรา, ความแตกทำลาย ชื่อว่ามรณะ

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๗ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
อีกคนหนึ่งคิดว่า “จักเสวยสมบัติในอรูปภพ” จึงเจริญสมาบัติทั้งหลายมีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น อย่างนั้นนั่นแล เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา เขาย่อมเกิดในอรูปภพนั้นๆ
กรรมเป็นเหตุเกิดในอรูปภพนั้นของเขา เป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ, ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าชาติ, ความแก่หง่อม ชื่อว่าชรา, ความแตกทำลาย ชื่อว่ามรณะ
อธิบาย คำว่า “กรรมภพ”โดยสรุปก็ได้แก่ เจตนา ที่จัดเป็น กรรม ๑และธรรมทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ ทิฏฐิ อันเป็นอภิชฌาเป็นต้นที่สัมปยุตกับเจตนานั่นเองที่นับเข้าเป็นกรรม ๑ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า
“ในภพ๒นั้น กรรมภพเป็นไฉน ได้แก่ บุญญาภิสังขาร อบุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร ที่จัดเจตนากรรมเข้าเป็นกามภูมิ อันมีผลวิบากน้อย๑ ที่จัดเจตนากรรมเข้าเป็นมหัคคตภูมิ อันมีผลวิบากมาก ๑ จึงเรียกสังขารทั้งสามเหล่านี้ว่า กรรมภพจะเรียกกรรมที่สัตว์เข้าถึงภพ(สามัญ) ทั้งทำให้สัตว์เข้าถึงภพ(กรรมบังคับ); หรือกรรมที่ทำให้ภพเกิด(กรรมบังคับ)ว่า กรรมภพ”
หมายเหตุ: ในพุทธดำรัสนี้ บุญญาภิสังขาร ได้แก่ กุศลเจตนา ๑๓ คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ และ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ รวมเป็นกุศลเจตนา ๑๓, อบุญญาภิสังขาร ได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒, อาเนญชาภิสังขาร ได้แก่ อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ ก็คือ เจตนาฝ่ายกุศล อกุศล ที่ถูกจัดเป็นกรรม เรียกว่า กรรมภพ (มีอธิบายในเฟสบุคส่วนบันทึก)
ส่วนอุบัติภพว่าโดยสรุป ก็ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลาย คือ วิบากจิตและกัมมชรูป ที่เกิดเพราะกรรมโดยเฉพาะว่าโดยพิสดาร อุบัติภพมี ๙ ประเภท ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า
ในภพ ๒ นั้น อุปบัติภพเป็นไฉนกามภพรูปภพอรูปภพสัญญาภพ อสัญญาภพเนวสัญญานาสัญญาภพเอกโวการภพจตุโวการภพ ปัญจโวการภพนี้เรียกว่าอุปบัติภพ ๙ อย่าง(มีอธิบายในเฟสบุคส่วนบันทึก)
หมายเหตุ: ในภพ ๙ อย่างเหล่านั้นว่าโดยภูมิ ภพที่นับว่า กาม ชื่อว่ากามภพ ได้แก่ อุปาทินขันธ์ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๕ อย่าง มีรูปขันธ์เป็นต้น, ภพที่นับว่า รูป ชื่อว่ารูปภพ ได้แก่ อุปาทินขันธ์ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๕ อย่าง มีรูปขันธ์เป็นต้น, ภพที่นับว่า อรูป ชื่อว่าอรูปภพได้แก่ อุปาทินขันธ์ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๔ อย่าง มี เวทนาขันธ์เป็นต้น(เว้นรูปขันธ์)

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๘ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ว่าโดยจิต ภพของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีสัญญาชื่อว่าสัญญาภพอีกนัยหนึ่งสัญญามีอยู่ ในภพนั้นเหตุนี้ภพนั้นจึงชื่อว่า สัญญาภพ ได้แก่ อุปาทินขันธ์ ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๔ อย่าง - ๕ อย่าง,
ภพของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่มีสัญญาชื่อว่า อสัญญาภพอีกนัยหนึ่ง สัญญาไม่มีอยู่ ในภพนั้นเหตุนี้ภพนั้นจึงชื่อว่า อสัญญาภพ ได้แก่ อุปาทินขันธ์ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๑ อย่าง มีรูปขันธ์อย่างเดียว, สัญญาที่หยาบไม่มี ไม่มีสัญญาที่ละเอียดก็ไม่ใช่ มีอยู่ในภพนี้ เพราะไม่มีสัญญาที่หยาบ และเพราะมีแต่สัญญาที่ละเอียด เหตุนั้น ภพนั้นชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญาภพ ได้แก่ อุปาทินขันธ์ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรมมี๔อย่าง
ว่าโดยขันธ์ ภพที่ถูกทำให้กระจายออก ด้วยอุปาทินขันธ์ ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรม มีรูปขันธ์อย่างเดียว ชื่อว่า เอกโวการภพ นัยหนึ่ง โวการ คือ ขันธ์ ที่ถูกทำให้กระจายออกอย่างเดียวมีอยู่แก่ภพนี้ เหตุนี้ ภพนั้น ชื่อว่า เอกโวการภพ;ภพที่ถูกทำให้กระจายออก ด้วยอุปาทินขันธ์ ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรม มีนามขันธ์ ๔ อย่าง ชื่อว่าจตุโวการภพ นัยหนึ่ง โวการคือ ขันธ์ที่ถูกทำให้กระจายออก ๔ อย่างมีอยู่แก่ภพนี้เหตุนี้ภพนั้นชื่อว่าจตุโวการภพ; ภพที่ถูกทำให้กระจายออก ด้วยอุปาทินขันธ์ ขันธ์ที่เป็นผลของโลกียกรรม มีขันธ์ ๕ อย่าง ชื่อว่า ปัญจโวการภพ นัยหนึ่ง โวการ คือ ขันธ์ที่ถูกทำให้กระจายออก ๕ อย่างมีอยู่แก่ภพนี้เหตุนี้ ภพนั้นชื่อว่าปัญจโวการภพ
ก็แลอภิสังขารทั้งหลาย มีบุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นแหละ ถูกกล่าวไว้ในเรื่องสังขารและในเรื่องภพนี้ เหมือนกันก็จริง ถึงกระนั้นอภิสังขารตอนแรกนั้น(ในเรื่องสังขารเป็นเหตุปัจจัยนั้น) ท่านกล่าวโดยเป็นอดีตกรรม เพราะเป็นเหตุปัจจัยแห่งปฏิสนธิในปัจจุบันภพนี้ แต่ อภิสังขารตอนหลังนี้ (ในเรื่องภพเป็นเหตุปัจจัยนั้น) กล่าวโดยเป็นปัจจุบันกรรม เพราะเป็นเหตุปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคตภพต่อไป
หรืออีกอย่างหนึ่งในตอนแรกนั้น หมายเอา เจตนาเท่านั้น จึงกล่าวว่า ในอภิสังขาร ๓ นั้น บุญญาภิสังขารเป็นไฉน ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรดังนี้เป็นต้น,แต่ในตอนหลังนี้หมายเอา แม้ธรรมจำพวกที่สัมปยุตร่วมกับเจตนา จึงกล่าวว่า แม้กรรมที่เป็นภวคามีทั้งปวง ก็ชื่อว่า กรรมภพ ดังนี้

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖๙ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
อนึ่ง อภิสังขาร กล่าวครั้งแรก หมายเอา กรรมที่เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณเท่านั้น จึงกล่าวว่า เป็นสังขาร, อภิสังขาร กล่าวครั้งหลัง หมายรวมเอา กรรมที่ยังสัตว์ให้เกิดในอสัญญาภพ
ในบทว่าอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นั่น ก็บุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นแหละ ท่านกล่าวแต่ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ส่วนในบทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว นี้ ท่านกล่าวธรรม ทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล ทั้งที่เป็นอัพยากฤต ก็เพราะในตอนนี้ สงเคราะห์เอาอุบัติภพเข้าด้วย
คุณเกิดมาแล้ว ก็เพราะสั่งสมกรรมดีจึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมดีนั่นแหละคือสังขารตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือ ปุญญาภิสังขาร ส่วนอวิชชาเป็นสภาพที่ถูกหมักหมมมานานแล้ว ดังนั้นกรรมที่สั่งสม กับ อวิชชานั้นจะเป็นอดีต ถ้าจะให้เห็นชัดขึ้นอีก ปฏิสนธิวิญญาณเกิดได้ก็เพราะสังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร เตรียมพร้อมที่จะเกิด ขณะที่รูปได้แก่ไข่ของแม่ และอสุจิของพ่อ เข้าทำหน้าที่พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ไข่ของแม่ และอสุจิของพ่อกล่าวคือ กัมมชรูป รูปเกิดจากกรรมที่จะแตกตัวขึ้นเรื่อยๆ จัดเป็นรูป และเมื่อจิตทำหน้าที่ปฏิสนธิวิญญาณจบลง จิตที่เกิดทำหน้าที่ต่อเพื่อให้เติบโตขึ้น จิตดังกล่าวจัดเป็นนาม ตามสายทางปฏิจจสมุปบาทจึงได้ว่า วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนามรูป ปุญญาภิสังขารดังกล่าวนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ
ในทางกลับกัน คุณเกิดมาแล้ว กำลังทำกรรมต่างๆ ที่เป็นกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรม บ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า กุศลเจตนากรรมบ้าง อกุศลเจตนากรรมบ้าง ซึ่งทำอยู่ในปัจจุบันภพนี้ ก็คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร จึงเรียกว่า กรรมภพ ซึ่งจะส่งผลให้ในชาติภพหน้าในอนาคต ถ้าทำอกุศลกรรมชั่ว ก็ส่งผลให้ไปเกิดในทุคติอบายชาติหน้า ถ้าทำกุศลกรรมดี ก็ส่งผลให้ไปเกิดในสุคติมนุษย์สวรรค์ชาติหน้า ภพที่ได้ไปเกิด หรือกำลังเกิดนี้ จึงเรียกว่า อุบัติภพ ดังนั้น ปัจจุบันภพนี้ คุณเกิดในอุบัติภพที่เป็นมนุษย์ ก็เพราะกรรมภพในชาติที่แล้ว กลายมาเป็นสังขารที่เป็นอดีต ตามสายปฏิจจสมุปบาทในชาติภพนี้
ต่อไปนี้เป็นการจำแนกภพ ที่มีอุปาทาน ๔ เป็นเหตุปัจจัย ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ผู้ศึกษา, ผู้อ่าน ได้เพิ่มพูนปัญญาให้รู้จักคิดและแยกแยะ เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ที่ช่วยเสริมให้นักเรียนรู้จักคิด แตกประเด็นได้ ถ้าจะว่าไปแล้ว ข้อความที่ซ้ำซาก มีปรากฏอยู่มากมายในพระไตรปิฎก และที่ปรากฏในที่นี้ มีจุดประสงค์เพื่อการบรรลุธรรม กล่าวคือ ข้อความที่ซ้ำย้ำอยู่นั้น เป็นข้อความที่สำคัญ พุทธองค์ประสงค์ให้ย้ำคิด ย้ำพิจารณา แล้วจะเกิดธรรมผุดขึ้นในใจโดยเฉพาะเรื่องอนัตตานั่นเอง

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๐ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
กรรมภพและอุบัติภพทั้งสองนี้ ปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยอุปาทานทั้ง ๔ เป็นเหตุ อีกทั้งภพทั้งสองนี้ ก็ยังเป็นเหตุและเป็นผลของกันและกัน อันเกี่ยวเนื่องกับกาลเวลา กล่าวคือถ้ากล่าวถึงกาลที่เป็นอนาคตแล้ว กัมมภพเป็นเหตุ อุบัติภพเป็นผล หมายความว่า สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งจะไปอุบัติเกิดในภพหน้า จัดเป็นอุบัติภพ ก็เพราะอาศัยการกระทำต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นอกุศลกรรมภพ และโลกียกุศลกรรมภพที่เป็นเหตุอดีต นี้จัดเป็นชนกเห...ตุ เหตุที่ให้เกิด
ถ้ากล่าวถึงกาลที่เป็นปัจจุบันแล้ว อุบัติภพเป็นเหตุ กรรมภพเป็นผล หมายความว่า การกระทำต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ กลายเป็นอกุศลกรรมภพ และโลกียกุศลกรรมภพเป็นผลสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยสัตว์ทั้งหลาย ที่อุบัติเกิดขึ้นนี้เป็นผู้ทำ ดังนั้นอุบัติภพจึงเป็นเหตุปัจจุบัน
สัตว์ทำกรรมที่ให้ไปเกิดในกามภพ เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย กรรมนั้น ชื่อว่า กรรมภพ, ขันธ์ร่างกาย ได้แก่ วิบากจิตและกัมมชรูป จัดเป็นนามรูปที่เกิดขึ้น เพราะกรรมภพนั้นโดยเฉพาะ ชื่อว่า อุบัติภพ
สัตว์ทำกรรมที่ให้ไปเกิดในรูปภพ เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย กรรมนั้น ชื่อว่า กรรมภพ, ขันธ์ร่างกาย ได้แก่ วิบากจิตและกัมมชรูป จัดเป็นนามรูปที่เกิดขึ้น เพราะกรรมภพนั้นโดยเฉพาะ ชื่อว่า อุบัติภพ
สัตว์ทำกรรมที่ให้ไปเกิดในอรูปภพ เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย กรรมนั้น ชื่อว่า กรรมภพ, นามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต(เว้นรูปขันธ์) จัดเป็นนามที่เกิดขึ้น เพราะกรรมภพนั้นโดยเฉพาะ ชื่อว่า อุบัติภพ
สัญญาภพและปัญจโวการภพ จัดเข้าในกามภพที่มีกรรมภพ และอุบัติภพ๒ อย่างนั้น เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย;สัญญาภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพและปัญจโวการภพ จัดเข้าในรูปภพที่มีกรรมภพ และอุบัติภพ๒ อย่างนั้น เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย; สัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ และจตุโวการภพ จัดเข้าในอรูปภพที่มีกรรมภพ และอุบัติภพ๒ อย่างนั้น เพราะมีกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัยดังนี้ภพ ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีกรรมภพ กับ อุบัติภพ ๒ อย่าง จึงรวมเป็น๖ ภพพร้อมทั้งภพที่จัดเข้าซึ่งเกิดมีเพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัยดังนั้นภพ ๓ ภพ ดังกล่าว ที่เกิดมีเพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัยมี ๖ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าโดยประการใด แม้ภพ ๓ ภพ ที่เกิดมีเพราะอุปาทานที่เหลืออีก ๓ เป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็นอย่างละ ๖ โดยประการนั้นแล ฉะนั้นจึงรวมภพ ๓ ภพที่เกิดมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็น๒๔พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า
สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็น กามภพ อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็นรูปภพอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย และสงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า จัดเป็น อรูปภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็นภพ๓ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๑ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็น กามภพ อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะทิฏฐุปาทานเป็นเหตุปัจจัย สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็นรูปภพอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะทิฏฐุปาทานเป็นเหตุปัจจัย และสงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า จัดเป็น อรูปภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะทิฏฐุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็นภพ๓ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะทิฏฐุปาทาน...เป็นเหตุปัจจัย
สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็น กามภพ อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัย สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็นรูปภพอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัย และสงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า จัดเป็น อรูปภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็นภพ๓ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัย
สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็น กามภพ อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุปัจจัย สงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าจัดเป็นรูปภพอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุปัจจัย และสงเคราะห์กรรมภพและอุบัติภพเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า จัดเป็น อรูปภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงรวมเป็นภพ๓ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัย
สรุปได้ว่าภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะอุปาทานเป็นเหตุปัจจัยจึงเป็น ๑๒ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า ประเด็นนี้ เอาภพ ๓ ซึ่งเป็นที่เกิดอาศัยของสัตว์ นำมาใช้คิด
ให้คิดสลับกันโดยแตก กรรมภพ กับอุบัติภพ นำมาคิดอีกนัยหนึ่ง คือ กรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดในกามภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า กรรมนี้จัดเป็น กรรมภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย, ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นได้ในกามภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า อันมีกรรมข้างต้นนี้ส่งผล ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงนับภพรวมได้เป็น ๒ ภพ
กรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดในรูปภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า กรรมนี้จัดเป็น กรรมภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย, ขันธ์ ๕ และรูปขันธ์อย่างเดียว ที่เกิดขึ้นได้ในรูปภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า อันมีกรรมข้างต้นนี้ส่งผล ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงนับภพรวมได้เป็น ๒ ภพ

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๒ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
กรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดในอรูปภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า กรรมนี้จัดเป็น กรรมภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย, ขันธ์ ๔ ที่เกิดขึ้นได้ในอรูปภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า อันมีกรรมข้างต้นนี้ส่งผล ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะกามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย จึงนับภพรวมได้เป็น ๒ ภพ
จึงสรุปได้ว่าภพ ๒ คือ กรรมภพ อุบัติภพ ซึ่งเกิดมีขึ้นได้ใน ๓ ภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ซึ่งเกิดมีขึ้นได้เพราะอุปาทาน ๔ อย่างเป็นเหตุปัจจัย จึงนับภพได...้ดังนี้คือ ๒ คูณ ๓ เป็น ๖ ภพ และ เอา ๖ ภพนี้ คูณ ด้วยอุปาทาน ๔ อย่าง จึงได้เป็น ๒๔ ภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า ประเด็นนี้ เอาภพ ๒ ซึ่งเป็นกรรมภพ และอุบัติภพ นำมาใช้คิด
หรือว่าไม่ต้องแยกเป็นกรรมภพและอุบัติภพมาใช้คิด ภพก็คงเป็น ๓ โดยเป็นกามภพ รูปภพ อรูปภพ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า
อนึ่งเล่าไม่ต้องแยกภพ ๓ มีกามภพ รูปภพ อรูปภพ มาใช้คิดภพก็คงเป็น๒โดยเป็นกรรมภพและอุปบัติภพ
และไม่ต้องแยกเป็นกรรมภพและอุปบัติภพมาใช้คิด ภพก็คงเป็น ๑ เท่านั้น โดยเป็นภพ ตามบทพระบาลีว่าอุปาทานปจฺจยาภโวแล
หลักการนี้ แสดงการแยกภพออกและรวมภพเข้า ซึ่งมีอุปาทานเป็นเหตุปัจจัย
การคิดนี้ เป็นหลักการหาเหตุ/ผล วิจัยว่า สภาพนี้ มีอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด และสภาพนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้สภาพอื่นเกิด
(การคิดหาเหตุ/ผล ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และต้องเรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้พื้นฐานเสียก่อน โดยเฉพาะวิชาพระอภิธรรม อันเป็นแก่นธรรม แล้วค่อยฝึกฝนหาหลักเหตุผล ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยยึดแนวทางพระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา... ในบรรดาธรรมทั้งหมด หากได้เรียนพระอภิธรรมแล้ว ธรรมใดที่ได้อ่านได้ยิน ได้ฟัง ก็จะรู้สึกว่าเข้าใจได้ง่าย โดยทั่วไปไม่นิยมเรียนกัน คิดเพียงว่า มีผู้เขียนให้อ่านแบบง่ายๆ ก็พอแล้ว.... นี่คิดผิด)
ธรรมดาแล้ว ปุถุชนเปรียบเหมือนคนบ้าอยู่แล้ว จะไม่มามัวคิดพิจารณาว่านี้ควร นี้ไม่ควรก็จะเที่ยวปรารถนาภพไปเรื่อยเปี่อย ไปตามอำนาจอุปาทานที่ตนยึดมั่นถือมั่นไว้ แล้วก็ทำกรรมทุกอย่างที่คิดว่าใช่ ฉะนั้น ภพทั้งปวงย่อมเกิดมีได้เพราะอุปาทานทั้งหมด ข้อนี้ เป็นอย่างไร

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๓ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
บุคคลบางคนในโลกนี้ คิดไปตามแบบอย่างที่ตนได้ยินสืบกันมาบ้าง ตามแบบอย่างที่ตนได้เห็นมาบ้าง ว่า เออ ! กามทั้งหลายนั้น ก็สมบูรณ์พูนสุข มีแต่ในตะกูลมหาสาลเช่น ตระกูลกษัตริย์มหาสาลเป็นต้น บนมนุษยโลก และบนสวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้นเท่านั้น ดังนี้แล้ว ถูกอสัปบุรุษชักนำ ไปในเรื่องอสัทธรรมเป็นต้น ก็หลงใหลสำคัญไปว่า กามทั้งหลาย จะสำเร็จได้ด้วยการทำอย่างนี้ๆ แล้วหลงผิดทำทุจริต มีกายทุจริตเป็นต้น ไปตา...มอำนาจแห่งกามุปาทาน ซึ่งหวังจะได้กามทั้งหลายเหล่านั้น กลายเป็นว่าต้องไปเกิดในอบายเพราะทุจริตได้ทีส่งผล หรือไม่ก็ พอตนปรารถนากามทั้งหลาย แล้วได้ประสบพบเข้าก็ตาม หรือประสงค์จะปกป้องกามทั้งหลาย ที่ตนได้มาแล้วก็ตาม ก็ไปทำทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกามุปาทาน ทำให้ไปเกิดในอบาย เพราะทุจริตได้ทีส่งผล
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปอุบัติในอบายนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างสัตว์นรกได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นนั่นเอง ส่วนอีกคนหนึ่ง ได้รับความรู้เพิ่มพูนขึ้น ด้วยการเข้ารับการอบรมจากสัปบุรุษทั้งหลาย มีการเข้าฟังพระสัทธรรมเป็นต้นแล้ว ทำให้สำคัญได้ว่า กามทั้งหลายจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ทำสุจริตมีกายสุจริตเป็นต้นด้วยอำนาจกามุปาทาน เพราะสุจริตถึงพร้อมได้ที่ ส่งผลให้เขาไปเกิดในหมู่เทพบ้าง ในหมู่มนุษย์บ้าง
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในหมู่เทพและมนุษย์นั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างเทพและมนุษย์ได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพ ของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน
กามุปาทานเป็นเหตุปัจจัย ให้ไปเกิดในกามภพอันมีแตกต่างกัน หลายประเภท เช่นสุคติ ทุคติ พร้อมทั้งภพที่จัดเข้า ดังนี้
บุคคลอีกคนหนึ่ง ได้ฟังหรือคาดคะเนเอาก็ตาม ว่า กามทั้งหลายในรูปภพและอรูปภพสมบูรณ์กว่ากามในกามภพนั้นก็ทำรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจกามุปาทานนั่นเองแล้วก็ไปเกิดในโลกรูปพรหมและอรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในพรหมโลกนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดเพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของบุคคลนั้น ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ และเอกโวการภพจตุโวการภพปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นแหละ
กามุปาทานเป็นเหตุปัจจัยแห่งรูปภพอรูปภพ มีแตกต่างกันหลายประเภทพร้อมทั้งภพที่จัดเข้าก็ได้ดังนี้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๔ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
อธิบายทิฏฐุปาทานเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดในภพทั้งสาม
ผู้ที่มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ
๑) นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตามผลที่จะได้รับข้างหน้านั้นไม่มี เช่น ในอันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ เป็นต้น และผู้ที่มีนัตถิกทิฏบินี้ จะต้องมีอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วจะต้องสูญ
๒) อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลาย ที่กำลังได้รับความลำบากหรือสบายอยู่ก็ตาม ไม่ได้อาศัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้นเลย ลำบาก หรือสบายเหล่านี้ปรากฏขึ้นเอง
๓) อกิริยาทิฏฐิ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลาย ทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตาม ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ผลเกิดข้างหน้า ผลที่จะได้รับข้างหน้าก็ไม่มี แม้จะทำดีหรือไม่ดีอย่งไร ก็ไม่เรีกว่าทำดี ทำไม่ดี ผู้ที่ทำเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำก็ดี ก็ไม่เรียกว่าทำเช่นเดียวกัน
ผู้ที่มีความเห็นผิดดังกล่าวแล้วนี้ ได้ชื่อว่ามีทิฏฐุปาทาน บุคคลพวกนี้ ย่อมประพฤติไปตามความพอใจของตน และมักจะเป็นไปในทางอกุศลเป็นส่วนมาก สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัส ว่า ปาปสฺมึ รมตี มโน ตามธรรมดาจิตใจของชนทั้งหลายนั้น ย่อมยินดีในการงานที่เป็นอกุศลอยู่เสมอ และผู้ที่มีทิฏฐุปาทานนี้ กล้ากระทำในสิ่งที่เป็นทุจริต ทุราชีพต่างๆ อันเป็นอกุศลกัมมภวะ โดยอาศัยทิฏฐุปาทานเป็นเหตุ ทำให้ไปเกิดในอบาย เพราะทุจริตได้ทีส่งผล
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปอุบัติในอบายนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างสัตว์นรกได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นนั่นเอง
กุศลกัมมภวะที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทิฏฐุปาทานเป็นเหตุนั้น เกิดขึ้นได้เฉพาะแต่พวกที่มีอุจเฉททิฏฐิเท่านั้น เพราะบุคคลพวกนี้เห็นว่า ตัวตนนี้ ถ้าจะไปสูญสิ้นในกามภพหรือรูปภพอรูปภพอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามขาดแล้วก็เป็นอันขาดสูญ เมื่อเห็นดังนี้แล้วก็ทำกุศลมี ให้ทาน รักษาศีล จริญสมถภาวนา ให้เกิดขึ้นเพื่อหวังความสูญสิ้นในภูมิที่ตนต้องการ ถ้าการทำกุศลนั้นเป็นไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ ในส่วนแห่งการเกิดในภพแห่งกามาวจรสมบัติ ด้วยอำนาจทิฏฐุปาทาน ในส่วนอุจเฉทิฏฐิ จึงส่งผลให้เขาไปเกิดในหมู่เทพบ้าง ในหมู่มนุษย์บ้าง
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในหมู่เทพและมนุษย์นั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างเทพและมนุษย์ได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพ ของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน
ถ้าการทำกุศลนั้นเป็นไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ ในส่วนแห่งรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจทิฏฐุปาทาน ในส่วนอุจเฉททิฏฐินั่นเองแล้วก็ไปเกิดในโลกรูปพรหมและอรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในพรหมโลกนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดเพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของบุคคลนั้น ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ และเอกโวการภพจตุโวการภพปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นแหละ

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแห่งภพทั้ง๓คือทั้งกามภพและรูปภพอรูปภพอันมีแตกต่างกันหลายประเภท พร้อมทั้งภพที่จัดเข้าก็ได้ดังนี้ อธิบายอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดในภพทั้งสาม
อัตตวาทุปาทานนี้ เกิดขึ้นได้ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย เพราะบุคคลจำพวกนี้ มองไม่เห็นความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาพอนัตตา มองเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เรา เขา เป็นสัตว์ บุคคล ชาย หญิง กล่าวคือมีความรูสึกในการเห็น การได้ยิน เป็นต้นว่า ในขณะเห็น การเห็นนั้นแหละเป็นเรา เราเป็นผู้เห็น ในขณะได้ยิน การได้ยินนั้นแหละเป็นเรา เาเป็นผู้ได้ยิน ในขณะคิด การคิดนั้นแหละเป็นเรา เราเป็นผู้คิด ในขณะยืน เดิน นั่ง นอน การยืน เดิน นั่ง นอนนั้นแหละเป็นเรา เราเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน ความรูสึกความเห็นดังกล่าวแล้วนี้ เกิดขึ้นจากอัตตวาทุปาทานทั้งสิ้น ที่ได้ปรากฏเห็นคนเราทำกุศล อกุศลกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะอาศัยอัตตวาทุปาทานนั้นเป็นเหตุ ด้วยการนึกคิดว่า ตัวเรานี้ มีความสุขความสบายยังน้อยอยู่ หรือมีทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงยังน้อยอยู่ จะต้องพยายามทำสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น จึงลงมือทำอกุศลตามอัธยาศัยจิตใจที่ไม่ดีของตนๆ หรือได้รับการอบรมที่ไม่ดี จากบิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้นั้นก็จะแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการไปในทางที่ไม่ดี เป็นทุจริต ทุราชีพต่างๆ อันเป็นอกุศลกัมมภวะ โดยอาศัยอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุ ทำให้ไปเกิดในอบาย เพราะทุจริตได้ทีส่งผล
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปอุบัติในอบายนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างสัตว์นรกได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นนั่นเอง
ถ้าผู้นั้นลงมือทำกุศลตามอัธยาศัยจิตใจที่ดีของตนๆ หรือได้รับการอบรมที่ดี จากบิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้นั้นก็จะแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการไปในทางที่ดี เป็นสุจริต สัมมาชีพมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนาตามปกติ อันเป็นกุศลกัมมภวะ โดยอาศัยอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุ เพราะสุจริตที่ได้ทำลงไปนั้น จึงส่งผลให้เขาไปเกิดในหมู่เทพบ้าง ในหมู่มนุษย์บ้าง
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในหมู่เทพและมนุษย์นั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างเทพและมนุษย์ได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพ ของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ถ้าผู้นั้นลงมือทำกุศลตามอัธยาศัยจิตใจที่ดีของตนๆ หรือได้รับการอบรมที่ดี จากบิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้นั้นก็จะแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการไปในทางที่ดี เป็นสุจริต ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนา ในส่วนแห่งรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้น อันเป็นกุศลกัมมภวะ โดยอาศัยอัตตวาทุปาทานเป็นเหตุนั่นเอง แล้วก็ไปเกิดในโลกรูปพรหมและอรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในพรหมโลกนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดเพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของบุคคลนั้น ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ และเอกโวการภพจตุโวการภพปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นแหละ
อัตตวาทุปาทานเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดในภพทั้งสามอันมีแตกต่างกันหลายประเภทพร้อมทั้งภพที่จัดเข้าดังนี้
สีลัพพตุปาทานเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดในภพทั้งสาม
ผู้ที่กำลังปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัขเป็นต้นอยู่นั้น โดยมากมีความคิดเห็นว่า อันความสุขย่อมถึงซึ่งความเต็มเปี่ยม แก่บุคคลผู้ทำศีลพรตนี้ให้บริบูรณ์ ให้บังเกิดในภพกามาวจรสมบัติก็ตาม ในรูปภพและอรูปภพแห่งใดแห่งหนึ่งก็ตาม ดังนี้ และมองเห็นการปฏิบัติของผู้อื่นมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเหล่านั้นเป็นการไม่ถูกต้องด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทาน ทำให้ไปเกิดในอบาย เพราะการปฏิบัติผิด จัดเป็นมิจฉาอธิโมกข์ คือ ทิฏฐิที่มีการตัดสินผิด และเป็นโทสะที่มีการดูหมิ่นต่อการปฏิบัติของผู้อื่นได้ทีส่งผล
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปอุบัติในอบายนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างสัตว์นรกได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นนั่นเอง

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๗ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ผู้ปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัขเป็นต้นนี้บางคน มีความเชื่อมั่นว่า การประพฤติปฏิบัตินี้ สามารถทำลายกิเลสโดยตรง และให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ การปฏิบัติอย่างอื่นมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นเพียงให้บังเกิดในเทวโลก หรือพรหมโลกเท่านั้น อีกทั้งการปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัขนี้ อยู่บนโลกมนุษย์ทำให้สำเร็จได้ยาก ไม่สะดวกสบาย สู้ไปประพฤติปฏิบัติบนเทวโลก หรือ พรหมโลกก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ง่าย เมื่อมีความเห็นอย่างนี้ ก็พยายามบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลก หรือพรหมโลกนั้น ครั้นปฏิบัติอย่างนี้บางคนได้เพียงกุศลที่เป็นกามาวจรสมบัติ ด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทานนั้น จึงส่งผลให้เขาไปเกิดในหมู่เทพบ้าง ในหมู่มนุษย์บ้าง
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในหมู่เทพและมนุษย์นั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดเป็นร่างเทพและมนุษย์ได้ เพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพ ของผู้นั้น ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นเหมือนกัน
บางคนพยายามให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนา ในส่วนแห่งรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้น อันเป็นกุศลกัมมภวะ โดยอาศัยสีลัพพตุปาทานเป็นเหตุนั่นเอง แล้วก็ไปเกิดในโลกรูปพรหมและอรูปพรหมด้วยกำลังแห่งสมาบัติ
กรรมอันเป็นเหตุ ให้ไปอุบัติในพรหมโลกนั้น จัดเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดเพราะกรรมนั้น จัดเป็นอุบัติภพของบุคคลนั้น ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ และเอกโวการภพจตุโวการภพปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในนั้นแหละ
แม้สีลัพพตุปาทาน ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ในภพทั้งสามอันแตกต่างกันหลายประเภทพร้อมทั้งภพที่จัดเข้าดังนี้แล
๑๑. ชาติ หมายถึง ขันธ์ทั้งหลายใดๆ ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดอยู่ในภพนั้นๆ มีความปรากฏขึ้นทีแรกแห่งขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นไปตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงออกจากท้องมารดา ชื่อว่าชาติสมดังพระพุทธดำรัสตรัสในเรื่องปฏิสนธิไว้ว่า
ยํ มาตุกุจฺฉิสฺมึ ปฐมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ, ปฐมํ วิญฺญาณํ ปาตุภูตํ, ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ
จิตใด ขณะแรกเกิดขึ้น วิญญาณใด ขณะแรกปรากฏขึ้น ในท้องของมารดา, ธรรมชาติ อาศัยปฐมจิตวิญญาณ เกิดปรากฏขึ้นนั้น นั่นเอง เป็นชาติ คือ ปฏิสนธิ ของสัตว์นั้น ผู้เกิดในท้องมารดา
ชาติ ว่าโดยธรรมาธิษฐาน มี ๒ อย่าง คือ
๑) นามชาติ การเกิดขึ้นของวิบากนามขันธ์ ๕
๒) รูปชาติ การเกิดขึ้นของกัมมชรูป
ชาติ ว่าโดยกาล มี ๓ คือ
๑) ปฏิสนธิชาติ การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายจากภพเก่า แล้วสืบต่อภพใหม่
๒) สันตติชาติ การสืบต่อ ของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดใหม่ๆ ติดต่อกันไม่ขาดสายตลอดวัน ตลอดเดือน ตลอดปี จนกระทั่งตลอดชีวิต
๓) ขณิกชาติ การเกิดขึ้นแต่ละขณะๆ ของจิตขณะหนึ่งๆ และการเกิดขึ้นของรูปกลาป แต่ละกลาป ได้แก่ การเกิดขึ้นขณะหนึ่งของจิต เจตสิก รูป

เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๘ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ชาตินี้ ตอนเกิดใหม่นั้น มีความเกิดทีแรกในภพที่มีขันธ์ ๕ ขันธ์(กามภูมิ และรูปภูมิ) มีขันธ์ ๔ ขันธ์(อรูปภูมิ) มีขันธ์เดียว(อสัญญสัตตภูมิ) ของภพนั้นๆ เป็นลักษณะ มีการเป็นไปคล้ายกับว่า มอบขันธ์ ๕ ที่มีขอบเขตในภพหนึ่งๆ ให้แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นกิจหน้าที่; มีความผุดปรากฏเกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ สืบต่อจากภพก่อน เป็นผลปรากฏ แก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย หรือมีสภาพวิจิตรไปด้วยทุกข์เป็นผลปรากฏ; มีนามรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นเหตุใกล้ ต่อไปนี้จะแสดงความสัมพันธ์ เหตุ ผล คือ
ภพที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดชาติ ได้แก่ กรรมภพอย่างเดียว เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิบากจิต และกัมมชรูป อันเป็นตัวชาตินั้น จะเกิดขึ้นได้ ก็โดยอาศัยอกุศลกรรมและโลกียกุศลกรรมเท่านั้นอุบัติภพหาเป็นปัจจัยไม่ กล่าวคือ ชาติ คือการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ มีจำพวกอบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม เหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากกัมมภพ คือ การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นั้นเอง ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง นอกจากกุศลกรรม อกุศลกรรมเท่านั้น สมดังพระพุทธดำรัสตรัสไว้ว่า
กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย คือ จำแนกสัตว์ทั้งหลายให้มีสภาพเลวและประณีต
ประเด็นที่ว่า กรรมภพเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดชาตินั้น เมื่อปัจจัยภายนอกมีความเสมอกัน ก็ปรากฏความแปลกกัน ซึ่งทำให้สัตว์ทั้งหลาย กลายเป็นผู้เลวและเป็นผู้ประณีตเป็นต้นได้ มีอยู่ว่า เด็กทารกฝาแฝด มีสายเลือด และอาหาร ซึ่งเป็นเหตุภายนอกอันเดียวกันก็จริง ถึงกระนั้น คนหนึ่งเป็นชาย อีกคนเป็นหญิงก็เป็นได้ ถึงจะเป็นเพศเดียวกันทั้งคู่ รูปร่างสัณฐานก็ผิดเพี้ยนกันก็เป็นได้ ถึงจะมีรูปร่างสัณฐานคล้ายกัน แต่ปัญญาต่างกันก็เป็นได้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากกุศลอกุศลกรรมภพแล้ว ก็ไม่มีเหตุปัจจัยอื่นใดอีก ที่จัดแจงในการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย พึงทราบ กัมมภพนี้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดชาติ
อธิบายชาติการเกิดเป็นเหตุก่อทุกข์ อันมีรากฐานตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาเป็นต้น
ชาติ จัดเป็นทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์อันมีในอบาย ที่แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงประกาศแสดงไว้หลายสูตร มีพาลบัณฑิตสูตรเป็นอาทิ ด้วยการอุปมาเปรียบเทียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงเป็นต้น และด้วยการแสดงทุกข์มากมาย มีมูลฐานตั้งแต่เกิดในครรภ์มารดาเป็นต้นในมนุษยโลก ถึงจะเป็นสุคติภพก็ตาม

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๗๙ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
๑) คัพโภกกันติมูลกทุกข์ - ทุกข์มีความลงสู่ครรภ์เป็นมูล
ก็แลสัตว์นี้ เมื่อเกิดในท้องมารดา ก็หาใช่เกิดในกลีบดอกไม้ มีดอกอุบล ดอกปทุมและดอกบุณฑริกเป็นต้นไม่ที่แท้เกิดในส่วนหนึ่งของท้อง ใต้กระเพาะอาหารใหม่ เหนือลำใส้กระเพาะอาหารเก่า อยู่ท่ามกลางหน้าท้องและกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นที่คับแคบเหลือเกิน ทั้งมืดมิด มีกลิ่นเหม็นเน่าตลบอบอวล ได้แก่ กลิ่นซากสัตว์ต่างๆ ที่แม่กินเข้าไป น่าขยะแขยงยิ่งนัก เหมื...อนกับตัวหนอนเกิดยั้วเยี้ยอยู่ในปลาเน่า, ขนมบูด และหลุมน้ำครำเป็นต้น ฉะนั้น สัตว์ที่เกิดอยู่ในท้องมารดานั้น ถูกนึ่งอยู่ เหมือนห่อหมก ถูกต้มอยู่ เหมือนลูกขนนต้ม ด้วยความร้อน ที่เกิดในท้องของมารดา จะขยับกายให้คู้ ให้เหยียดอย่างเต็มที่ไม่ได้เลยเสวยทุกข์แสนสาหัสอยู่ตลอด ๑๐ เดือนแลนี่เป็นคัพโภกกันติมูลกทุกข์ - ทุกข์มีความลงสู่ครรภ์เป็นมูล เป็นอันดับแรก
๒) คัพภปริหรณมูลกทุกข์ - ทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล
ประการหนึ่ง สัตว์นั้นต้องได้เสวยทุกข์ขนาดหนัก อันใด คือ เกิดอาการถูกฉุดกระชากไปหน้า ถูกยื้อเหวี่ยงไปรอบๆ ถูกขย่มเขย่าลงล่าง และถูกสลัดออกไปเป็นต้น เหมือนลูกแกะอยู่ในมือนักเลงสุรา และเหมือนลูกงูอยู่ในมือหมองู อันมีสาเหตุจากการลื่นล้มกระทันหัน การเดินการนั่งลง การลุกขึ้นและการพลิกตัวเป็นต้น อย่างกระทันหันของมารดา อนึ่ง สัตว์นั้นได้เสวยทุกข์ แสนสาหัส อันใด ในเวลาที่มารดาดื่มน้ำเย็นเป็นเหมือนสัตว์ที่ตกในโลกันตนรกที่มีน้ำหนาวเย็น ในเวลาที่มารดากลืนข้าวต้มร้อนๆ และข้าวสวยร้อนๆ ลงไปเหมือนถูกสาด ด้วยเม็ดฝนถ่านเพลิงในเวลามารดากลืนอาหารรสจัดเช่นเค็มและเปรี้ยวเป็นต้นลงไป ก็เหมือนถูกสับร่างกาย แล้วราดด้วยน้ำกรดเป็นต้น ทุกข์นี้เป็นคัพภปริหรณมูลกทุกข์ - ทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล
๓) คัพภวิปัตติมูลกทุกข์ - ทุกข์มีความวิบัติขัดข้องแห่งครรภ์เป็นมูล
ประการหนึ่ง ทุกข์อันใดเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น เพราะวิทยาการทางการแพทย์ มีการทำแท้ง, ตัดและผ่าเป็นต้น ตรงที่ๆ เกิดทุกข์ มีมดลูกเป็นต้น ของมารดาแท้งลูก ซึ่งคนที่สนิทกันมีมิตรสหายและคนชอบพอกันเป็นต้น ไม่ควรจะได้รับรู้เรื่องสะเทือนขวัญ ทุกข์นี้เป็นคัพภวิปัตติมูลกทุกข์ - ทุกข์มีความวิบัติขัดข้องแห่งครรภ์เป็นมูล
๔) วิชายนมูลกทุกข์ - ทุกข์มีการคลอดเป็นมูล
ประการหนึ่ง ทุกข์อันใดเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ผู้ถูกลมกรรมชวาต ของมารดา เมื่อใกล้จะคลอด ลมนี้จะพัดผันศีรษะเด็กทารก ให้กลับหัวลงตรงช่องคลอด น่าหวาดกลัวยิ่ง ประดุจเหวนรก ถูกเบ่งออกทางช่องคลอดอันแคบยิ่งนัก ประดุจช้างใหญ่ถูกดันออกทางช่องดาล และถูกบีบด้วยภูเขา คือเชิงกราน เหมือนสัตว์นรกในสังฆาตนรก ถูกภูเขาเหล็กบดทำลายเป็นจุณทุกข์นี้เป็นวิชายนมูลกทุกข์ ทุกข์มีการคลอดเป็นมูล

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron