วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ
พระวิหาร วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
ภาพจาก http://www.web-pra.com


สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงพระราชดำริถึงบริเวณนาหลวงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณริมคลองบางกะปิ
ในพื้นที่ทุ่งพญาไท ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดเวลาและมีบัวขึ้นอยู่ทั่วไป
บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของชาวลาวล้านช้าง
ที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาเมื่อครั้งสยามไปตีกรุงเวียงจันทร์ (ศึกเจ้าอนุวงศ์)

ทรงมีพระราชประสงค์จะทำที่แห่งนี้ให้เป็นรมณียสถานนอกพระนคร
สร้างสระบัวอันงดงามเพื่อเป็นที่เสด็จประภาส
สำราญพระราชหฤทัยในยามว่างจากพระราชกิจ

ในปี พ.ศ.๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กอง
ให้พระยาสามภพพ่าย (หนู หงสกุล) เป็นนายงาน
ตกลงจ้างจีนขุดลอกสระกว้าง ๒ สระ ปลูกบัวพันธุ์ต่างๆ ไว้
ทั้งบัวสาย บัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง
และมีเกาะน้อยใหญ่ บนเกาะปลูกพืชผักพรรณและไม้ดอก

ทางฝั่งเหนือของสระในกำหนดเป็นเขตหวงห้ามส่วนพระองค์
ส่วนสระนอกอนุญาตให้เป็นที่เล่นเรือของข้าราชการและราษฎรทั่วไป
รมณียสถานแห่งนี้พระราชทานนามว่า ‘ปทุมวัน’
แปลว่า ‘ป่าบัวหลวง’ หรือเรียกกันอย่างลำลองว่า ‘สระปทุม’
ส่วนบริเวณที่ประทับพระราชทานนามว่า วังสระปทุม


ครั้นสร้างวังและสระปทุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างวัดขึ้นที่ทิศตะวันตกของสระนอก
เพื่อพระราชทานพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
และพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงพระราชทานนามของวัดว่า “วัดปทุมวนาราม”
แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดสระปทุม หรือ วัดสระ


ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาพระครูชื่อ ก่ำ คุณสมฺปนฺโน
ซึ่งเคยเป็นพระฐานานุกรมเมื่อครั้งที่ทรงผนวชอยู่ที่
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) มาเป็นเจ้าอาวาส
แล้วพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูปทุมธรรมธาดา
แล้วนิมนต์พระภิกษุในฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาอยู่ประจำ


รูปภาพ
พระครูปทุมธรรมธาดา (ก่ำ คุณสมฺปนฺโน)
เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร


:b8: ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=45383&f=38

รูปภาพ
พระวิหาร ที่ประดิษฐานพระเสริมและพระแสน
บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗


รูปภาพ

รูปภาพ
พระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระไสหรือพระสายน์
บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗


รูปภาพ

“ตำบลปทุมวัน” แห่งนี้ เมื่อครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
เป็นสถานที่อันสงบและห่างไกลความวุ่นวายนานา
เพราะมีครอบครัวชาวลาว (อาณาจักรล้านช้าง)
ที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อครั้งเวียงจันทร์พ่ายศึกสมัยเจ้าอนุวงศ์

พวกเขาได้มาสร้างบ้านแปลงเรือนอยู่ตามริมคลองแสนแสบ
บริเวณสองฟากฝั่งเป็นทุ่งนา
เป็นบริเวณที่ประกอบการกสิกรรมโดยชาวลาวเหล่านี้
การคมนาคมไม่สะดวกนัก ไม่มีเส้นทางรถ
มีทางจะติดต่อกับพระนครได้โดยทางเรือเท่านั้น

ส่วนในปัจจุบันนี้ บริเวณพื้นที่โดยรอบได้พัฒนาเจริญไปมาก
อาจเรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมความเจริญนานาประการของประเทศไทยก็ได้


รูปภาพ

รูปภาพ
ป้ายชื่อวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
องค์ใหญ่คือ พระเสริม และองค์เล็กคือ พระแสน


พระเสริม

:b44: :b44:

พระเสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง
องค์พระหล่อจากทองสีสุก
(โลหะสำริด มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก)
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ นิ้ว
ปัจจุบันประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระวิหาร
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

ประวัติการสร้างพระเสริมได้ถูกบันทึกว่าร่วมสมัยกัน
กับการสร้าง “พระองค์ตื้อ” ในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๙

พระองค์ตื้อที่กล่าวไป เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่ง
ประดิษฐานที่วัดองค์ตื้อมหาวิหาร เมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว
มีการกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ทรงมีพระราชปณิธานแรงกล้าในพระพุทธศาสนา
ทรงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
จึงมีการทำนุบำรุงและสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุจำนวนมาก
“พระองค์ตื้อ” เป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เล่าไว้ว่า
พระองค์ทรงสร้างพร้อมทั้งเสี่ยงทายอธิษฐาน
เรื่องความปรารถนาที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่ง


รูปภาพ

ในช่วงเดียวกันก็มีการสร้าง “พระเสริม พระสุก และพระใส”
เป็นพระพุทธรูป ๓ พี่น้อง โดยกล่าวว่า การสร้างพระทั้งสามองค์
เป็นความประสงค์ของพระราชธิดาทั้ง ๓ ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ซึ่งมีพระนามตามลำดับ องค์พี่ชื่อ เสริม องค์รองชื่อ สุก
และพระธิดาองค์สุดท้องชื่อ ใส
พระพุทธรูปทั้งสามมีขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ

เมื่อมาถึงรัชสมัยพระเจ้าอนุวงศ์ ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๐
ทรงต้องการประกาศเอกราชจากการเป็นประเทศราชของสยาม
แต่พระองค์ทรงแพ้ศึก เมืองเวียงจันทร์ถูกเผาวอดวาย
ภายหลังสงครามครั้งนี้ สยามได้กวาดต้อนผู้คนชาวอาณาจักรล้านช้างมาจำนวนมาก
อีกทั้งเก็บเอาโบราณวัตถุมีค่า เช่น พระพุทธรูปองค์สำคัญๆ จำนวนมาก
และคัมภีร์ต่างๆ เป็นต้น โดยนำลงมายังกรุงเทพมหานครด้วย
ดังนั้น พระเสริม พระสุก และพระใส
จึงได้มาประดิษฐานในประเทศไทยหลังจากสงครามนี้เช่นเดียวกัน


รูปภาพ
พระวิหาร ที่ประดิษฐานพระเสริมและพระแสน

รูปภาพ

รูปภาพ
หน้าบันของพระวิหาร

รูปภาพ
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหาร
บอกเล่าเรื่องราวการอัญเชิญพระพุทธรูปจากประเทศลาว
ในภาพนี้บอกถึงพระพุทธรูปสำคัญ ๕ องค์
พร้อมเทวดาอารักษ์ประจำองค์พระตามคติความเชื่อ


รูปภาพ
ด้านหลังองค์พระเสริม

รูปภาพ
ภายในพระวิหาร วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
พระใส องค์เล็กสุดในสามองค์ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ซึ่งเป็นคนละองค์กับพระไสหรือพระสายน์ที่วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร


รูปภาพ
พระใส บนแท่นประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ซึ่งเป็นคนละองค์กับพระไสหรือพระสายน์ที่วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร


:b44: :b44:

ในการนำองค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์ คือ พระเสริม พระสุก พระใส
เดินทางมายังกรุงเทพมหานครนั้น ได้พบกับความยุ่งยากบางประการ
มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่า พบพระพุทธรูป คือ
พระสุก และพระใส ในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย
(เนื่องจากชาวลาวได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม)
จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง
เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย
(ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.โพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนัก
แพที่ประดิษฐาน “พระสุก” แตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ
ทำให้ชาวบ้านเรียกบริเวณที่พระสุกจมลงสู่แม่น้ำโขงว่า “เวินพระสุก”


ก่อนที่จะอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานครนั้น
พระเสริมประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยนั้น
พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริม
มาประดิษฐานยังพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระบวรราชวัง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและขุนศรีวรโวหาร (ท้าวเหม็น)
ไปอัญเชิญพระเสริม และพระใสมายังพระนคร

“พระเสริม” นั้นได้อัญเชิญมาถึงกรุงเทพมหานครโดยเรียบร้อย
แต่อัญเชิญ “พระใส” มาไม่สำเร็จ พระใสซึ่งเป็นองค์เล็กสุดในสามองค์
จึงยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวหนองคายจนถึงทุกวันนี้
(เป็นคนละองค์กับพระไสหรือพระสายน์ที่วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร)

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระแสน
(พระแสน เมืองมหาชัยกองแก้ว)

:b44: :b44:

พระแสน เป็นพระพุทธรูปจากประเทศลาวอีกองค์
ที่ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในประเทศไทย
เป็นองค์พระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว
โดยได้ถูกค้นพบที่ถ้ำในแขวงเมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว

เมื่อกล่าวถึงที่มาของพระแสน เมืองมหาชัยกองแก้วองค์นี้
ก็จำเป็นต้องทำความรู้จักกับพระแสน เมืองเชียงแตงอีกองค์
เพื่อจะได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
เพราะได้ถูกนำมาประดิษฐานในสมัยเดียวกัน
และชื่อก็พ้องกันอีกด้วย


กล่าวโดยสังเขป คือ

พระแสน เมืองมหาชัยกองแก้ว (องค์สีทอง)
ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

พระแสน เมืองเชียงแตง (องค์สีดำ)
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร


ที่มาของพระแสนเมืองมหาชัยกองแก้วนี้
พอจะทราบได้จากพระราชหัตถเลขา
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๐๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ.๑๘๕๘

ข้อความว่าดังนี้


“ฉันขึ้นไปกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสนเมืองเชียงแตงแล้ว
รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณหนักหนา
แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสนเมืองมหาชัยแน่แล้ว
ของคนโบราณจะนับถือว่า พระแสนองค์นี้
องค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นของเทวดาสร้างหรือว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้
แล้วจึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป
ดูทีเห็นว่าพระแสนเมืองเชียงแตงจะเก่ากว่า
สีทองที่พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนาคเนาวโลหะ
เช่นกับพระอุมาภควดีเก่าในเทวสถาน
ตมูกฤาพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันที่เดียว
ที่พระองค์ พระหัตถ์ พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง
ติดจะเจือทองเหลืองมากไป
ที่ผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทาบทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่

พระแสนองค์นี้ฉันถวายแล้ว โปรดทรงดำริดูเถิด
จะให้ไปเชิญลงมาเมื่อไรอย่างไร ก็ตามแต่จะโปรด...”


:b8: (ที่มา http://www.wathong.com/)


พระแสน เมืองมหาชัยกองแก้ว ได้ประดิษฐานหน้าพระเสริม
ณ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้


รูปภาพ
องค์ใหญ่คือ พระเสริม และองค์เล็กคือ พระแสน

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระไสหรือพระสายน์
(พระไสหรือพระสายน์ เมืองมหาชัยกองแก้ว)

:b44: :b44:

พระไสหรือพระสายน์ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ๔ ชั้น
ถูกค้นพบที่ถ้ำในแขวงเมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว
แล้วอัญเชิญนำมาประดิษฐานที่ประเทศไทย
(เป็นคนละองค์กับพระใสที่วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย)


บันทึกเกี่ยวกับพระไสหรือพระสายน์จากแหล่งต่างๆ มีดังนี้

โดยในปี พ.ศ.๒๓๙๙ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้เจ้าหน่อคำ ซึ่งเป็นข้าหลวงฝ่ายใน
ออกมาทำการสักเลกคือการขึ้นทะเบียนประชาชน
เพื่อสำรวจว่าแต่ละท้องที่มีประชาชนอยู่มากน้อยเท่าไหร่
เมื่อเกิดศึกสงครามก็อาจจะเรียกให้เข้ารับราชการได้ เป็นต้น

เมื่อเจ้าหน่อคำได้รับพระราชโองการแล้ว
ก็ออกเดินทางมาถึงเมืองหนองคาย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๙๘
ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔

เมื่อเจ้าหน่อคำซึ่งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ลำดับที่ ๕
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นมาที่เมืองหนองคาย
ก็พักอยู่ที่เมืองหนองคายและดำเนินการชำระเลกอยู่เป็นเวลาถึง ๑ ปีครึ่ง
โดยได้เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๙
ในช่วงเวลา ๑ ปีครึ่งนั้น เจ้าหน่อคำได้เดินทางไปที่เมืองมหาชัยกองแก้ว
และได้อัญเชิญเอา พระไสหรือพระสายน์ และพระแสน
มาจากถ้ำในเมืองมหาชัยกองแก้ว มาไว้ที่วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๙๘-๙๙ หลังจากนั้นท่านก็เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

จะมีข้อผิดพลาดก็คือปี พ.ศ. ที่ระบุในพระราชนิพนธ์
ไม่ตรงกับ พ.ศ. ที่เจ้าหน่อคำเดินทางมาชำระเลกที่เมืองหนองคาย
ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทร์
และเรื่องที่กล่าวว่าพระไสหรือพระสายน์นั้น
เจ้าหน่อคำ เป็นผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งความจริงแล้วขุนศรีวรโวหาร (ท้าวเหม็น) เป็นผู้อัญเชิญเข้ากรุงเทพมหานคร
แต่อาจต้องการบันทึกให้เกียรติเจ้าหน่อคำ
เพราะผู้ที่ไปอัญเชิญมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว คือ เจ้าหน่อคำ นั่นเอง


:b8: (ที่มา http://www.watphochai.net/)


จากนั้นได้อัญเชิญพระไสหรือพระสายน์
มาประดิษฐานไว้ ณ วัดเขมาภิรตาราม ราชวรวิหาร
(ตั้งอยู่ ถ.พิบูลสงคราม อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี)
และมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
เมื่อวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๔๐๑ เป็นต้นมา


:b44:

และข้อความบางส่วนในพระราชนิพนธ์
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากหนังสือที่ระลึกในการทอดกฐินพระราชทาน สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งแปลจากจารึกด้านหลังของซุ้มประทับของพระสายน์
มีใจความว่า...

“ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ทุกท่านที่ได้สดับและอ่านเรื่องนี้เถิด

ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงประวัติของพระพุทธปฏิมานามว่า “สายน์”
ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ อุโบสถ วัดปทุมวนารามฯ นี้ โดยคาถาประพันธ์เหล่านี้
ตามที่ได้ทราบและได้ยินมาแต่เพียงย่อๆ ดังต่อไปนี้

พระพุทธปฏิมาซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถนี้ หล่อด้วยทองเหลือง
ซึ่งผสมเป็นอย่างดีมาแล้ว ทั้งหนา ทั้งหนัก สนิทดีดุจศิลาทั้งแท่ง
เกลี้ยงเกลา เหลืองอร่ามดุจทองคำ

ข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกันว่า ใครเป็นผู้สร้าง สร้างที่ไหน
สร้างเมื่อไหร่ และสร้างอย่างไร
ทราบแต่เพียงว่าเป็นหัตถกรรมของลาวอย่างเดียวเท่านั้น

ก่อนที่จะนำมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถนี้
พระพุทธปฏิมาองค์นี้ได้ประดิษฐานอยู่ ณ แคว้นลาว
พวกอิสรชนบางหมู่ได้เอาไปเก็บไว้ในถ้ำ ณ ภูเขาลูกหนึ่ง
ซึ่งอยู่ใกล้เมืองมหาชัยปุระในแคว้นลาวนั่นเป็นเวลานานแล้ว
เปิดโอกาสให้มหาชนทั่วๆ ไปบูชาสักการะกันได้
จะเป็นเพราะเหตุใดพระพุทธปฏิมาองค์นี้
จึงได้นามว่า “พระสายน์” นั้นไม่มีใครทราบ
แม้แต่ประชาชนจำนวนมาก
ซึ่งมีนิวาสสถานอยู่ในเมืองมหาชัยปุระ เป็นต้น
ฯลฯ


:b8: (ที่มา http://forum.uamulet.com/)

รูปภาพ
พระไสหรือพระสายน์

รูปภาพ
พระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระไสหรือพระสายน์

:b44: :b44:

:b8: :b8: :b8: ที่มาของข้อมูล
https://sites.google.com/site/allthaite ... achwrwihar
http://www.web-pra.com/
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=809357
http://www.wathong.com/

:b50: :b49: “พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล” วัดปทุมวนาราม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47372

:b50: :b49: “วัดปทุมวนาราม” แดนสงบงามกลางป่าคอนกรีต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19688

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2015, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


สุดยอดวัดสายปฏิบัติกลางกรุง ดิฉันได้ไปทำบุญ นั่งสมาธิที่วัดปทุมฯ ค่อนข้างบ่อย ได้กราบไหว้องค์พระประธานทุกองค์ค่ะ งดงามและศักดิสิทธิ์มาก กราบสาธุๆๆ :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2021, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร