วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 23:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
หอพระแก้ว นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว ในสภาพที่สมบูรณ์
ภาพถ่ายเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ที่เห็นในภาพนี้เป็นหลังที่ก่อสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จเมื่อ ๗๒ ปีที่แล้ว
ในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส และมีการซ่อมแซมในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
แต่ในปัจจุบันสภาพภายในผุกร่อนและทรุดโทรมหนัก
ภาพจาก Commons.Wikimedia.Org/Alcyon


:b46: :b46:

หอพระแก้ว นครเวียงจันทร์
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


“หอพระแก้ว” ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดสีสะเกด
ในนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ในอดีตพื้นที่ที่สร้างหอพระแก้วนี้อยู่ในเขตพระราชวังของกษัตริย์
ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ ๑๕๐ เมตร
เคยเป็นวัดที่สำคัญสำหรับประกอบพิธีต่างๆ ทางพระศาสนา
เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกต

ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
หลังจากที่พระองค์ได้ทรงย้ายเมืองหลวงของประเทศ
จากเมืองหลวงพระบางมาเป็นเมืองเวียงจันทร์
และสถาปนาเมืองเวียงจันทร์ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่
ของอาณาจักรล้านช้างในปี พ.ศ. ๒๑๐๓
ก็ได้ดำริสร้างหอพระแก้วในปี พ.ศ. ๒๑๐๘ นั่นเอง
หอพระแก้วจึงมีความสำคัญมาก
เพราะเป็นสถานที่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์
การย้ายเมืองหลวงของประเทศลาว

ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์
และองค์พระแก้วมรกตก็ประดิษฐานที่วัดพระแก้ว
หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในกรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

องค์พระแก้วมรกตนั้นเดิมประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ (ล้านนา)
สมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งมีเชื้อสายล้านนาด้วย
ได้เคยไปปกครองนครเชียงใหม่
ก่อนที่จะทรงกลับมาปกครองล้านช้างภายหลังจากสิ้นพระราชบิดา

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงเลื่อมใสบูชาองค์พระแก้วมรกต
อีกทั้งในเวลานั้นเชียงใหม่เป็นเป้าหมายในการรุกรานจากฝ่ายพม่า
เพื่อความปลอดภัยขององค์พระแก้วมรกตด้วยประการหนึ่ง
ทำให้พระองค์อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ก่อน
จนเมื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่นครเวียงจันทร์
จึงได้ย้ายองค์พระมาประดิษฐานไว้ที่เมืองหลวงแห่งใหม่

และพระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐาน ณ นครหลวงเวียงจันทร์
เป็นเวลา ๒๑๙ ปี (นับตั้งแต่ปีสถาปนา พ.ศ. ๒๑๐๓)
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพสยามสมัยกรุงธนบุรี
ก็นำองค์พระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่กรุงเทพมหานคร

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๒ สมัยศึกเจ้าอนุวงศ์
ครั้งนี้กองทัพสยามได้บุกไปตีและเผานครเวียงจันทร์จนสิ้น
หอพระแก้วที่เป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมก็ได้ถูกเผาด้วย
สภาพหอพระในปัจจุบันจึงเป็นหอที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด


รูปภาพ
สภาพหอพระแก้วที่พังและถูกทิ้งร้างหลังจากสงครามยุติลง
ภาพจาก http://www.vtetoday.la/

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 03:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


หอพระแก้วที่แม้ปัจจุบันเป็นหอพิพิธภัณฑ์แล้ว
แต่ก็ยังมีชาวพุทธในลาวเข้าไปสักการะ
ด้วยความเคารพว่า สถานที่นี้เป็นวัด
และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแก้วมรกต

ฝ่ายดูแลพิพิธภัณฑ์ในนครหลวงเวียงจันทร์
ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้าชมหอพระแก้ว
เฉลี่ยวันละประมาณ ๑,๐๐๐ คน เป็นผู้เข้ามาสักการะพระพุทธรูป
และส่วนหนึ่งเป็นผู้เข้ามาศึกษางานศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์แบบชาติลาว


รูปภาพ
ป้ายจารึกประวัติโดยย่อของหอพระแก้ว

รูปภาพ

รูปภาพ
บันไดนาค


ระยะที่นครเวียงจันทร์กลายเป็นเมืองร้างนั้นยาวนานมาก
จากปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓
จึงได้เริ่มมีการอพยพผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองขึ้นใหม่
ซึ่งหอพระแก้วอยู่ในสภาพเพพังกินเวลานานถึง ๑๐๗ ปี
และได้รับการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙

ซากวัดที่พอหลงเหลือให้ได้เห็นรูปแบบดั้งเดิมนั้น ได้แก่
เสา ฐานหอพระ ประตูใหญ่ทางเข้าด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง
การบูรณะนั้นได้รักษาโครงสร้างเดิมเอาไว้
แต่โครงสร้างส่วนบนได้แก่ ส่วนหลังคาสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด


รูปภาพ

รูปภาพ
รอบอาคาร

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
วัตถุโบราณบางส่วนที่จัดแสดงไว้


ภายในหอพระแก้วมีการจัดแสดงงานศิลปกรรม
สถาปัตยกรรมเก่าแก่จำนวนมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสำริด
พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ พระพุทธรูปทองคำ เงิน
วัตถุเครื่องใช้โบราณ เช่น ขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา
ศิลาจารึกเป็นตัวอักษรขอม บาลีสันสกฤต ในคริสตศตวรรษที่ ๖-๑๒
ศิลาจารึกภาษาลาวเดิมในคริสตศตวรรษที่ ๑๖-๑๗

หอพระแก้วเปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน
ช่วงเช้า ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ช่วงบ่าย ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
ห้ามถ่ายรูปภายในหอพิพิธภัณฑ์ ให้ถ่ายรูปได้เฉพาะภายนอกอาคาร


:b48: :b48:

ที่มาของข้อมูล
http://www.vtetoday.la/
http://kpl.net.la/
http://lo.wikipedia.org/wiki

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร