วันเวลาปัจจุบัน 16 ต.ค. 2024, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2022, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)

รูปภาพ

ถ้ำสุกรขาตา หรือ ถ้ำพระสารีบุตร ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
(ตั้งอยู่รองลงมาจากพระมูลคันธกุฏี กุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้า
บนยอดเขาสูงสุดของเขาคิชฌกูฏ)

เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
สถานที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง
ในตอนกลางวันของวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หลังจากพระสารีบุตร “พระธรรมเสนาบดี” อุปสมบทได้ ๑๕ วัน

:b47: :b40: :b47:

วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต (ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน) เป็นวันที่บังเกิดขึ้นของพระธรรมเสนาบดี พระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านผู้นั้นก็คือ “พระอุปติสสะ” ซึ่งต่อมาเพื่อนสหธัมมิก (พระภิกษุ) ด้วยกันเรียกขานในนามว่า “พระสารีบุตร”

ในตอนกลางวันของวันมาฆบูชานั้น พระพุทธองค์ประทับเข้าสมาธิอยู่ ณ “ถ้ำสุกรขาตา” (ถ้ำหมูขุดหรือถ้ำคางหมู) เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ มีพระสารีบุตรคอยถวายงานพัดอยู่ด้วย ทีฆนขปริพาชก (นักบวชเล็บยาว) ซึ่งเป็นหลานพระสารีบุตร กำลังตามหาพระพี่ชาย มาพบอยู่กับพระพุทธเจ้า ทีฆนขปริพาชกไม่ค่อยจะให้ความสำคัญแก่พระพุทธองค์มากนัก จึงพูดแบบหยิ่งผยองว่า

“ข้าพเจ้าไม่เชื่อทิฐิ (ความเห็น) ใดๆ” พูดพลางลุกเดินไปมา

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ถึงอย่างไรเธอก็มีทิฐิอยู่นั้นเอง”

ทีฆนขปริพาชกพูดอีกว่า “ข้าพเจ้าไม่เชื่อทฤษฎีใดๆ”

พระพุทธองค์ตรัสว่า “การที่เธอไม่เชื่อทฤษฎีใดๆ นั่นแหละเป็นความเชื่อของเธอล่ะ”

ได้ยินดังนั้น ทีฆนขปริพาชกสะดุดถึงกับนั่งลง อาการหยิ่งผยองค่อยๆ หายไป พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า “เวทนาปริคคหสูตร” (พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา) ให้ฟัง

“พระสารีบุตร” นั่งเบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง) ถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่ แล้วเงี่ยโสตสดับกระแสพระธรรมเทศนาไปด้วย เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจบ ทีฆนขปริพาชก นักบวชเล็บยาว หลานของท่านก็ได้บรรลุโสดาบัน แต่ตัวท่านพระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง

เนื่องจากการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดของ “พระสารีบุตร” เกิดขึ้นในวันเพ็ญมาฆปุณณมี หรือวันเพ็ญเดือน ๓ ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ ดังนั้น “วันมาฆบูชา” จึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันที่บุคคลสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา พระธรรมเสนาบดีประสบความสำเร็จในธรรมขั้นสูงสุด รวมทั้งเป็นวันเดียวกับวันประชุมกันเป็นพิเศษแห่งพระอรหันตสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป โดยมิได้มีการนัดหมาย ณ วัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร) นั้นเอง


เมื่อโปรดพระสารีบุตร และทีฆนขปริพาชก นักบวชเล็บยาวแล้ว พระพุทธองค์ทรงเสด็จกลับวัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร) ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ สร้างถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ พร้อมกับพระสารีบุตรซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว

ในค่ำคืนของวันนั้น
(๑) เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส [คือมีเดือน ๘ สองหน]

(๒) พระสงฆ์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกัน
ที่วัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร) โดยมิได้นัดหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนเข้าพรรษาที่ ๒ หลักจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน

(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖
คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้
ล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่น และทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป

(๔) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น “เอหิภิกขุ”
ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงเห็นปรากฏการณ์พิเศษนี้ จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”
(คำสอนที่เป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา) แก่ที่ประชุมสงฆ์
นับเป็นที่ประชุมอันประกอบด้วยเหตุการณ์อัศจรรย์
ที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ จึงเรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต”


ผู้ที่มาเติมเต็มความสมบูรณ์ของกองทัพธรรม ก็คือ “พระสารีบุตร” ซึ่งเมื่อท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ถือได้ว่า “พระธรรมเสนาบดี” ได้บังเกิดขึ้น ดุจขุนพลแก้วบังเกิดแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ โดยท่านจะเป็นหัวเรือใหญ่ในการรับสนองนโยบายภารกิจนี้โดยตรง พระพุทธองค์จึงทรงทำการประชุมมหาสาวกสันนิบาต (การประชุมใหญ่ของพระสงฆ์สาวก) ทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง โดยมิได้นัดหมายล่วงหน้า เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กองทัพธรรมจะต้องเร่งรุดขยายให้ได้กว้างไกลที่สุด ฉะนั้น จำต้องมีทิศทางและยุทธศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงได้ทรงประทาน “โอวาทปาติโมกข์” (คำสอนที่เป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา) เพื่อไว้ใช้เป็นแม่บทในการประกาศพระศาสนา


รูปภาพ
ภาพพุทธประวัติ...
พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร”
พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา โปรด “ทีฆนขปริพาชก” หรือนักบวชเล็บยาว
(ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร) โดย “พระสารีบุตร” นั้น
นั่งเบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง) ถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่


รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”
ในคราวเสด็จไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย
ทรงสวดมนต์เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ด้านหน้า “ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)” เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา
ให้ “ทีฆนขปริพาชก” หรือนักบวชเล็บยาว
(ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร) ฟัง
หลังจากทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ๙ เดือน
ยังผลให้ทีฆนขปริพาชก บรรลุเป็นพระโสดาบัน
และพระสารีบุตร ซึ่งนั่งเบื้องหลังถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง
ในตอนกลางวันของวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หลังจากพระสารีบุตร “พระธรรมเสนาบดี” อุปสมบทได้ ๑๕ วัน


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ :: painaima.com

รูปภาพ
ถ้ำสุกรขาตา หรือ ถ้ำพระสารีบุตร ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ

รูปภาพ
พระมูลคันธกุฏี หรือพระมูลคันธกุฏีวิหาร ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงสุดของเขาคิชฌกูฏ
ซึ่งเป็นกุฏิอันเป็นที่ประทับจำพรรษาของพระพุทธเจ้า
ในพรรษาที่ ๓, ๕, ๗ และพรรษาสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ส่วนถ้ำสุกรขาตา หรือ “ถ้ำพระสารีบุตร” นั้นตั้งอยู่รองลงมาจากพระมูลคันธกุฏี


-------------------

ที่มา >>>>> :b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b47: พระมูลคันธกุฏี บนยอดเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44857

:b47: วัดเวฬุวันมหาวิหาร (วัดพระเวฬุวัน)
วัดแห่งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44846

:b47: “วันมาฆบูชา” หรือ “วันจาตุรงคสันนิบาต”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=41353

:b47: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันมาฆบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45501

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2022, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้ำสุกรขาตา หรือ ถ้ำพระสารีบุตร
ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ :: uttayarndham.org

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”
ในคราวเสด็จไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย
ทรงสวดมนต์เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ด้านหน้า “ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)” เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์
อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร” พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา
ให้ “ทีฆนขปริพาชก” หรือนักบวชเล็บยาว
(ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร) ฟัง
หลังจากทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ๙ เดือน
ยังผลให้ทีฆนขปริพาชก บรรลุเป็นพระโสดาบัน
และพระสารีบุตร ซึ่งนั่งเบื้องหลังถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง
ในตอนกลางวันของวันมาฆบูชา วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หลังจากพระสารีบุตร “พระธรรมเสนาบดี” อุปสมบทได้ ๑๕ วัน


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2022, 14:46 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร