วันเวลาปัจจุบัน 12 ก.ย. 2024, 22:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ป ร ะ เ พ ณี ก า ร ถ ว า ย
ผ้ า อ า บ น้ำ ฝ น

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)


ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
อีกประการหนึ่งคือ การถวายผ้าอาบน้ำฝน


ผ้าอาบน้ำฝน หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ (ผ้าวัสสิกสาฎก)
คือ ผ้าสำหรับใช้นุ่งในเวลาอาบน้ำฝนหรืออาบน้ำทั่วไป

การทำผ้าอาบน้ำฝน ต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ
โดยประมาณที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้


คือ เป็นผ้าผืนยาว ๖ คืบ พระสุคตกว้าง ๒ คืบครึ่ง
คิดโดยประมาณของช่างไม้ปัจจุบัน
ยาวรวม ๔ ศอก กับ ๓ กระเบียด
กว้างราว ๑ ศอก ๑ คืบกับ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดเศษ


ถ้าทำให้ยาวหรือกว้างเกินประมาณนี้ไป พระภิกษุใช้สอยต้องอาบัติ
ต้องตัดส่วนที่กว้างหรือยาวเกินประมาณนั้นออกเสีย จึงแสดงอาบัติได้


อีกประการหนึ่งทรงบัญญัติเขตกาลที่จะแสวงหา
เขตกาลที่จะทำ เขตกาลที่จะนุ่งห่ม
และเขตกาลอธิษฐานใช้สอย ไว้ว่า

ก. ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงวันเพ็ญเดือน ๘

รวมเวลา ๒ ปักษ์ เป็นเวลา ๑ เดือน
ในปลายฤดูร้อน นี้เป็นเขตกาลแสวงหา

ข. ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันเพ็ญ

เป็นเวลากึ่งเดือน ท้ายฤดูร้อน นี้เป็นเขตกาลทำนุ่งห่ม

ค. ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนสิ้นฤดูฝน

คือ เพ็ญเดือน ๑๒ รวมเวลา
๔ เดือน นี้เป็นเขตกาลอธิษฐานใช้สอย

ถ้ายังไม่ถึงเขตกาลที่ทรงอนุญาตไว้นี้ พระภิกษุแสวงหา
ได้มาหรือทำนุ่งห่ม หรืออธิษฐานใช้สอยท่านปรับอาบัติ


โดย ความมุ่งหมายและเหตุผลดังกล่าวนี้
เมื่อถึงกาลที่พระภิกษุจะต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ เป็นต้นไป
จนถึงวันเพ็ญเดือน ๘ ทายกจึงมักถือโอกาสบำเพ็ญกุศล
โดยจัดหาผ้าอาบน้ำฝนจนครบจำนวนพระ ภิกษุสามเณรในวัดนั้นๆ
แล้วนำไปถวายในที่ประชุมสงฆ์

กำหนดถวาย ระหว่างข้างขึ้นเดือน ๘ ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำไป
แต่ในปัจจุบันโดยมากกำหนดวันถวายเป็นหมู่
ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือ ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน

เมื่อพระสงฆ์รับแล้วใช้ได้ทันทีไม่ต้องรอ
เพราะอยู่ในเขต กาลทำและใช้
จะกำหนดวันใดแล้วแต่ฝ่ายทายกนัดหมายและตกลงกับทางวัด


ในการถวายมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้

๑. อุบาสก อุบาสิกา ประชุมพร้อมกันในโรงอุโบสถ
หรือในศาลาการเปรียญแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแต่เหมาะสม

๒. นำผ้าอาบน้ำฝนตั้งไว้ ณ เบื้องหน้าต่อหน้าพระสงฆ์
ทายกนำกราบพระและว่านะโมพร้อมกัน ๓ จบ

๓. ในระหว่างทายกกล่าวคำถวาย พระสงฆ์ทั้งหมดประนมมือ
พอจบคำถวายแล้วพระสงฆ์รับ "สาธุ" พร้อมกัน

๔. ประเคนเสร็จแล้ว พระสงฆ์รับอนุโมทนา

๕. ระหว่างพระว่า "ยถา..."
ทายกทั้งหมดพึงกรวดน้ำ แล้วประนมมือรับพรไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ http://www.onab.go.th)

:b42: คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=45947

:b42: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันอาสาฬหบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45499

:b42: รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันเข้าพรรษา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45498


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ในภาพ...นางวิสาขามหาอุบาสิกา พร้อมหมู่เพื่อนหญิงบริวาร
ได้ขอสมาทานถวาย “ผ้าอาบน้ำฝน” ที่เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ
หรือ “ผ้าวัสสิกสาฎก” (อ่านว่า วัด-สิ-กะ-สา-ดก)
แด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์จนตลอดชีวิต
ซึ่งสมัยนั้นยังมิได้มีพุทธบัญญัติการถือครองผ้าเกิน ๓ ผืน



:b44: • ต้นเหตุเกิดผ้าอาบน้ำฝน

สมัยก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระใช้ผ้าเพียงสามผืนเท่านั้น คือมี จีวร (ผ้าห่ม) สบง (ผ้านุ่ง) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน) เท่านั้น

ผ้าสามผืนนี้ ศัพท์ทางวิชาการจริงๆ เขาเรียกดังนี้ครับ

จีวร (ผ้าห่ม) เรียกว่า อุตราสงค์
สบง (ผ้านุ่ง) เรียกว่า อัตราวาสก
ผ้าห่มซ้อน เรียกว่า สังฆาฏิ


เฉพาะผ้าสังฆาฏินั้น ปัจจุบันนี้พระสงฆ์ไทยเอามาพาดบ่า เป็นสายสะพายไปเสียแล้ว สมัยพุทธกาลใช้ห่มซ้อนเวลาอากาศหนาวมาก ในพุทธประวัติปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ปูลาดสำหรับบรรทมด้วย ดังพระอานนท์ได้ลาดผ้าสังฆาฏิถวายให้พระองค์บรรทมขณะเสด็จถึงแม่น้ำกกุธา ก่อนที่จะเสด็จไปปรินิพพานที่กรุงกุสินารา

ปัจจุบันนี้ถ้าภิกษุรูปใดเอาผ้าสังฆาฏิมาปูนั่งปูนอน เดี๋ยวก็โดนพระอุปัชฌาย์หาว่าอุตริ พิเรนทร์ แน่นอน

พระสงฆ์สมัยนั้น เวลาอาบน้ำ ก็เปลือยกายอาบน้ำกันเพราะไม่มีผ้านุ่งอาบน้ำ จนนางวิสาขาเห็นความลำบากของพระสงฆ์ จึงขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าสำหรับอาบน้ำแก่พระสงฆ์

เรื่องมีว่า วันหนึ่ง นางวิสาขาทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ (คือรับด้วยอาการนิ่ง) นางกลับถึงบ้าน ก็สั่งเตรียมอาหารไว้สำหรับถวายพระในวันรุ่งขึ้น บังเอิญว่าตอนเช้ามืดฝนตกหนัก ภิกษุทั้งหลายก็พากันอาบน้ำก่อนที่จะไปฉันข้าว นางวิสาขาสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ หลังจากตระเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว สาวใช้ไปที่วัดพระเชตวัน บังเอิญพระคุณเจ้าบางรูปยังอาบน้ำไม่เสร็จ สาวใช้แลไปเห็นพระคุณเจ้าเปลือยกายล่อนจ้อนอาบน้ำอยู่ ก็รีบกลับไปรายงานนายหญิงว่า

“ไม่มีพระสงฆ์อยู่เลยเจ้าค่ะ”

“ไม่มีได้อย่างไร ฉันนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไว้แล้ว เมื่อวานนี้” นางวิสาขาสงสัย

“ไม่มีจริงๆ เจ้าค่ะ เห็นแต่พวกชีเปลือยเต็มวัดไปหมดเลย” สาวใช้ยืนยัน

สาวใช้เข้าใจอย่างนั้นจริงๆ เพราะในอินเดียสมัยนั้น (สมัยนี้ก็ยังมีอยู่) นักบวชประเภทไม่นุ่งผ้ามีเป็นจำนวนมาก อย่างพระเชน (ศิษย์ของศาสดามหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร) และพวกอเจลกะก็ไม่นุ่งผ้า ท่านเหล่านี้ได้รับความนับถือบูชาจากชาวชมพูทวีปไม่น้อยไปกว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

นางวิสาขาเป็นคนฉลาด พอได้ยินสาวใช้รายงานเช่นนั้นก็รู้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เสวยภัตตาหารเสร็จ นางวิสาขาจึงกราบทูลขอพรจากพระพุทธองค์

“เราตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา” พระพุทธองค์ตรัส

“ได้โปรดเถิด หม่อมฉันทูลขอพรที่เหมาะสม ไม่มีโทษพระพุทธเจ้าข้า”

“จงบอกมาเถิด วิสาขา”


“หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) สำหรับภิกษุ ถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ ถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะเดินทาง ถวายภัตเพื่อพระอาพาธ ถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ ถวายเภสัชแก่ภิกษุอาพาธ ถวายข้าวยาคูประจำสำหรับภิกษุ ถวายผ้าอุทกสาฏิกา (ผ้าผลัดอาบน้ำของนางภิกษุณี) ตลอดชีวิตพระเจ้าข้า”

“เธอเห็นประโยชน์อะไร จึงปรารถนาจะถวายสิ่งเหล่านี้” พระพุทธองค์ตรัสถาม

นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้หม่อมฉันสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ นางไปเห็นพระสงฆ์กำลังอาบน้ำอยู่ นึกว่าเป็นพวกชีเปลือย หม่อมฉันจึงคิดว่า พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำไม่เป็นที่เลื่อมใสของคนทั้งหลาย และคนเขาจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างชีเปลือยนอกศาสนากับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเห็นว่ามีสิ่งจำเป็นอื่นๆ อีกที่พระสงฆ์ต้องการ จึงอยากถวายทั้ง ๘ ประการ ดังกราบทูลให้ทรงทราบด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ การเปลือยกายอาบน้ำไม่งามสำหรับภิกษุสงฆ์ หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญทาง ไม่รู้จักโคจร (ที่สำหรับเที่ยวไปบิณฑบาต) ย่อมลำบากในการเที่ยวบิณฑบาต เมื่อท่านได้ฉันอาคันตุกภัตแล้วก็จะไม่ลำบากเบื้องต้น หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายอาคันตุกภัต

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางไกล ถ้ามัวแต่แสวงหาภัตอยู่ก็จะไม่ทันการณ์ อาจพลาดจากหมู่เกวียนที่ตนจะอาศัยเดินทางไปด้วย กว่าจะถึงที่หมายอาจพลบค่ำหรือมืดก่อน เดินทางลำบาก เมื่อท่านได้ฉันภัตตาหารก่อนแล้วก็จะไปทันเวลาและการเดินทางก็จะไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อพระผู้จะเดินทาง

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ เมื่อพระอาพาธ ไม่ได้อาหารที่สบายโรคภัยไข้เจ็บก็อาจจะกำเริบ อาจถึงมรณภาพได้ เมื่อท่านได้ฉันอาหารที่เป็นสัปปายะ อาพาธก็จะทุเลาลง จนกระทั่งหายในที่สุด หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อภิกษุอาพาธ

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ มัวแต่แสวงหาอาหารให้พระที่อาพาธ ตนเองก็จะไม่ได้ฉันภัตตาหาร หม่อมฉันมีความปรารถนาอยากถวายแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธด้วย ท่านจะได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ภิกษุไข้เมื่อไม่ได้เภสัชที่ถูกกับโรค ก็จะไม่หายป่วยไข้ บางทีอาจถึงแก่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายเภสัชเพื่อภิกษุไข้

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานิสงส์ของการบริโภคข้าวยาคูไว้ ๑๐ ประการ (คือ อายุยืน, ผิวพรรณผ่อง, มีความสุขสบาย, มีกำลัง, มีปฏิภาณ, ขจัดความหิว, บรรเทาความกระหาย, ลมเดินคล่อง, ล้างลำไส้, ระบบย่อยอาหารดี) หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายข้าวยาคูประจำแก่ภิกษุสงฆ์

เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำร่วมกับนางแพศยา ถูกนางพวกนั้นค่อนแคะว่า ไม่แตกต่างไปจากพวกเขา ทำให้ภิกษุณีเก้อเขิน อีกอย่างหนึ่งสตรีเปลือยกายไม่งาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสตรีทีประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้จึงปรารถนาอยากถวายผ้าผลัดอาบน้ำแก่ภิกษุณีสงฆ์


เมื่อนางวิสาขากราบทูลเหตุผลจบสิ้นลง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์ ๘ ประการนี้ จึงขอพรจากเราตถาคต เราตถาคตอนุญาตพรทั้ง ๘ ประการนี้ แล้วตรัสอนุโมทนาว่า

“สตรีใดให้ข้าวให้น้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่ได้แล้ว บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้นอาศัยมรรคปฏิบัติ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องยั่วใจปราศจากธุลี ย่อมได้กำลังและอายุเป็นทิพย์

สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีความสุขสมบูรณ์ด้วยพลานามัย ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน”


นางวิสาขาจึงเป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสอนุญาตให้ชาวบ้าน
ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์ได้ตั้งแต่บัดนั้นมา


:b50: :b47: :b50:

ที่มา >>> :b39: นางวิสาขามหาอุบาสิกา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=57225

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2019, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุการค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร