วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 15:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ก า ร ก ร ว ด น้ำ

:b44: ที่มาของธรรมเนียมการกรวดน้ำ

ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปช่วงแรกๆ นั้น
ยังไม่มีธรรมเนียมการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศลแต่อย่างใด

จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธ
ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และทรงถวายสวนไผ่ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ซึ่งสวนไผ่แห่งนั้นได้กลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ที่มีชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”


แต่การบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งนี้
ก็ยังไม่ได้มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
เนื่องจากยังไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรทมในคืนนั้น
ก็ทรงพระสุบินเห็นเปรตหลายตนมาขอส่วนบุญ
รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายทานแก่พระสงฆ์อีกครั้ง
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ


พอตกดึก เหล่าเปรตทั้งหลายก็ได้มาปรากฏตัว
ในพระสุบินของพระเจ้าพิมพิสารอีกครั้งหนึ่ง
แต่มาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
และขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศไปให้

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเปรตเหล่านั้นในอดีตชาติ
เคยเป็นพระญาติของพระองค์


โดยครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งหมู่ญาติ
ได้ตระเตรียมจะถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

แต่เมื่อพระภิกษุสงฆ์ยังมิได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางคนเกิดหิว จึงหยิบอาหารที่เตรียมไว้มารับประทาน
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรต
เรียกว่า “ปรทัตตูปชีวิต”
(เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)


รูปภาพ
[พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ]



แต่เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
จึงผอมโซไปตลอดกาล
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว

เหล่านี้คือที่มาของการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลในสมัยพุทธกาล

แต่การเอาน้ำมารินที่เรียกว่ากรวดน้ำนั้น มีมาเพิ่มในภายหลัง
โดยบางท่านสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ

ดังเช่นพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด

แต่ในปัจจุบันนี้การใช้น้ำริน
อันเรียกกันตามภาษาเขมรว่า “กรวด”
จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า “กรวดน้ำ”


มีระเบียบปฏิบัติที่ว่า

ให้เริ่มรินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด

“ยถา วาริวาหา...”

เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด
แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ

แต่ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่น การกรวดน้ำหลังจากการใส่บาตร
ก็นำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า


“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนฺตุ ญาตโย”.... ก็ได้

รูปภาพ
[พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดพระเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม]

:b44: หมายเหตุ :

“อุททิโสทก” แปลว่า กรวดน้ำมอบถวาย
ใช้กรณีเมื่อถวายของใหญ่โต
ไม่สามารถยกประเคนใส่มือได้ เช่น ที่ดินและวัด
(พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำจากพระเต้าลงพระหัตถ์ของพระพุทธองค์)


“ทักษิโณทก” กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b44: เมื่อกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ

๑. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน

๒. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ

๓. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา”ให้เริ่มกรวดน้ำ

๔. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสาย
ไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ

๕. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า

“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ”
ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด


๖. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา”
ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ


รูปภาพ

อนึ่งหากหลั่งบนพื้นดินควรเลือกที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่ในอาคารสถานที่ควรมีภาชนิรองรับอันสมควร

ไม่ใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับ
ควรหลั่งน้ำกรวดให้หมด
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงในดินที่สะอาด

การกรวดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของงานโดยตรง
เพราะถือเป็นเจ้าของบุญกุศล
เมื่อจะให้แก่ใคร เจ้าของต้องให้เอง

รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: รวบรวมและเรียงเรียงมาจาก :
การเกิดขึ้นแห่งประเพณีกรวดน้ำครั้งแรก
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382


:b44: รวมคำสอน “อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38913

:b44: ประวัติและผลงาน “อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44336


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา

ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก

ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง
ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ
เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

ผู้ตั้งกระทู้ควรไปอ่านพระไตรปิฎกและสอบทานให้ดี เดี๋ยวชาวพุทธที่ไม่ค่อยจะอ่านพระไตรปิฎกกันจะเข้าใจเลอะเทอะไปกันใหญ่


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร

อ่านและตีความให้ดีนะว่า คำว่าพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร


คำแปล....ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ....เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺติ....ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาคร ให้บริบูรณ์ได้ฉันใด....ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น

อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ...ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ขออิฏฐผล ที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว.... จงสำเร็จโดย ฉับพลัน

สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา....จนฺโท ปณฺณรโส ยถา.... มณิ โชติรโส ยถา ขอความดำริทั้งปวง จงเต็มที่....เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ....เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสว ควรยินดี


คำว่าถวายน้ำทักษิโณทก แปลว่ากรวดน้ำหรือ ? ไม่ใช้มั๊ง! พระเจ้าพิมพิสารถวายน้ำให้พระพุทธองค์แล้วคิดอุทิศบุญให้ชาวทิพย์ที่เป็นญาติทันทีต่างหากนะ และคำที่พระท่องยถาก็มีคำแปลอยู่แล้วไม่เห็นบอกว่าให้หยาดน้ำลงอะไรให้เลอะเทอะ คุณลองไปทำดูนะตามนี้แหละ ให้ทานวางของปั๊บอุทิศให้ญาติทิพย์ทันที ใครเข้ามาอ่านก็ลองทำดู ให้ทานวางของปั๊บอุทิศบุญทันที แล้วชีวิตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ เพราะการอุทิศบุญด้วยการเทน้ำนั้น ไม่มีสอนในศาสนาพุทธ แน่นอน ไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรใด ๆ เลย ถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกพบว่า การทำบุญอุทิศโดยการเทน้ำลงพื้นหรือภาชนะรองรับน้ำนั้นมีกล่าวไว้ในพระสูตรใด เล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ ช่วยบอกด้วยนะ ถ้ามีปรากฎในพระสูตรอะไรจะยอมแพ้ทันที เพราะเวลานี้ชาวพุทธทั่วโลกทำบุญ ทำทานกันคิดว่าจะอุทิศไปให้ญาติในโลกทิพย์ แต่ทำไมเดือดร้อนกันไปทั่วโลก ไปอ่านพระไตรปิฎกกัน เถิดชาวพุทธอย่าหลงเชื่อที่ใครเขากล่าว อ่านแล้วพิสูจน์ สมกับที่เป็นศาสนาที่นักวิทยาศาสตร์อย่างไอสไตล์ยอมแพ้ ....อย่างเงียบ ๆ ...เพราะเขากลัวว่านักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังจะอาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตักบาตรไม่กรวดน้ำ เหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง

อนุโมทนาครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 15:32
โพสต์: 109

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: ฟังเพลง ดูหนัง ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ณ มรณา
ชื่อเล่น: ไอช์
อายุ: 22

 ข้อมูลส่วนตัว


:b55:

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
tongue smiley :b8:

.....................................................
การไม่ทำบาปทั้งปวง...
การยังกุศลให้ถึงพร้อม...
การทำจิตของตนให้สะอาดผ่องใส...


>>>สิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนอนิจจัง<<<


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2014, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร