วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 08:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ความหมายของ...ธ ง ก ฐิ น

พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนพระภิกษุสามเณร
ผู้บวชในพระพุทธศาสนาให้ระวังภัย ๔ อย่าง
ที่จะเป็นเหตุให้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน ต้องลาสิกขาไป
โดยทรงอุปมาภัย
อย่าง
ของพระภิกษุสามเณร กับภัยของผู้ที่ลงไปในน้ำ


ภัยของผู้ที่ลงไปในน้ำมี อย่าง คือ

๑. อุมฺมิภยํ : ภัยคลื่น

ผู้ที่ว่ายน้ำในทะเลอาจจะถูกคลื่นซัดออกจากฝั่ง
หรือถูกคลื่นซัดจมน้ำตายได้

๒. กุมฺภีลภยํ : ภัยจระเข้

ในน้ำอาจจะมีจระเข้
(ในทะเลมีจระเข้น้ำเค็ม ในแม่น้ำมีจระเข้น้ำจืด)
จระเข้อาจจะคาบไปกินเป็นอาหารได้

๓. อาวฏฺฏภยํ : ภัยน้ำวน

ในแม่น้ำใหญ่หรือทะเล อาจจะมีน้ำวน
ผู้ที่ว่ายเข้าไปในกระแสน้ำวนอาจจะถูกกระแสน้ำดูดให้จมลงไปได้

๔. สุสุกาภยํ : ภัยปลาร้าย

ในน้ำอาจจะมีปลาร้าย เช่น ปลาฉลาม ปลาปักเป้า ทำอันตรายถึงชีวิตได้

ภัยของพระภิกษุสามเณรมี อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้มีภัยอยู่ อย่าง
ผู้ใดไม่กลัวภัยเหล่านั้น ผู้นั้นสามารถดำรงอยู่ศาสนานี้ได้


ภัย อย่างนั้น คือ

๑. ภัยคลื่น

คืออดทนต่อคำสอนไม่ได้ เกิดความขึ้งเคียด
คับใจเบื่อหน่ายคำตักเตือนพร่ำสอนต้องลาสิกขาไป

๒. ภัยจระเข้

คือเห็นแก่ปากท้อง ทนความอดอยากไม่ได้
ถูกจำกัดด้วยระเบียบวินัยเกี่ยวกับการบริโภค
ทนไม่ได้ต้องลาสิกขาไป
(จระเข้เป็นสัตว์ที่เห็นแก่กิน กินสัตว์ทุกชนิด
จึงนำมาเปรียบเทียบกับคนที่เห็นแก่กิน)


๓. ภัยน้ำวน

คือห่วงพะวงใฝ่ทะยานในกามสุขเพลิดเพลินในกามคุณ
ตัดใจจากกามคุณไม่ได้
บรรพชิตในศาสนานี้จมลงในกระแสน้ำวนของกามคุณ ๕
แล้วต้องลาสิกขาไป

๔. ภัยปลาร้าย

เกิดความปรารถนาทางเพศ รักผู้หญิง
ภิกษุในศาสนานี้เกิดความราคะในมาตุคาม (ผู้หญิง)
ทนอยู่ไม่ได้ ต้องลาสิกขาไป
(เพราะฉะนั้นมาตุคามจึงเป็นภัยของบรรพชิต
เช่นเดียวกับปลาร้ายเป็นภัยแก่ผู้ที่ลงไปในน้ำ)


รูปภาพ

พระพุทธโอวาทที่ทรงตักเตือนพระภิกษุสามเณร
ให้ระวังภัยแห่งพรหมจรรย์
โดยเปรียบเทียบภัยของผู้ที่ลงไปในน้ำนี้
นักปราชญ์ได้นำมาเป็นปริศนาธรรม
เพื่อเตือนพระภิกษุสามเณรผู้รับกฐินให้ระวังภัย ๔ อย่าง
โดยทำเป็นรูปธง ผืน


• ภัยคลื่นกับภัยจระเข้

ทำเป็นรูปจระเข้ว่ายน้ำฝ่าคลื่น

• ภัยน้ำวนกับภัยปลาร้าย

ทำเป็นรูปน้ำวนกับนางมัจฉา
คือนางมัจฉาแทนปลากับมีน้ำวนรอบๆ
ความหมายคือ ปลาร้ายแทนด้วยนางมัจฉา
ซึ่งเป็นปลาและผู้หญิงด้วย

@ สรุปว่า@

๑. ภัยคือคลื่น : เป็นชื่อแห่งความโกรธ อดทนต่อคำสอนไม่ได้
๒. ภัยคือจระเข้ : เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่กิน
๓. ภัยคือน้ำวน : เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
๔. ภัยคือปลาฉลาม : เป็นชื่อของมาตุคาม (ผู้หญิง)

ผู้ที่ทำธงกฐินรุ่นใหม่ ไม่เข้าใจปริศนาธรรมข้อนี้
จึงคิดทำธงกฐินเป็นรูปต่างๆ

เช่น รูปนางฟ้าถือผ้าไตรบ้าง
รูปสัตว์น้ำอื่นบ้าง เช่น เต่า ม้าน้ำ ช้างน้ำ กุ้ง ปู ฯลฯ

ซึ่งไม่ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธองค์

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คอลัมน์ “ตอบปัญหาสารพัน” โดย อ.ชำนาญ นิศารัตน์ ใน ธรรมะเพื่อชีวิต
เล่มที่ ๕๘ ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๒ จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม)


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 07:03, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2019, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ปริศนาธรรม “ธงกฐิน”
จระเข้-ตะขาบ-นางมัจฉา-เต่า
:b50: :b49: :b50:

ในเรื่องของการทอดกฐินนี้ “ธงกฐิน” ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่าวัดนี้ได้รับผ้ากฐินแล้ว โดยเหตุที่ว่าวัดหนึ่งๆ นั้นรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว อีกในหนึ่ง ธงกฐินจะมีรูปสัตว์ ๔ จำพวกเป็นสัญลักษณ์ คือ รูปจระเข้ รูปตะขาบหรือแมลงป่อง รูปนางกินรีหรือนางมัจฉา และรูปเต่า

เรื่องธงกฐินนี้โดยใจความแล้วไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกหรือในหนังสือคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของกฐินอย่างชัดเจน สาเหตุอาจจะเป็นเพราะนักปราชญ์อีสานโบราณท่านสอนคนหรือแนะนำคน จะไม่ใช้วิธีการที่บอกหรือกล่าวสอนกันตรงๆ มักจะใช้ทำนองที่ว่าเรียบๆ เคียงๆ เป็นลักษณะของปริศนาธรรม เช่น ลักษณะที่เด่นและเห็นชัดเจน คือการใช้คำพูดในบทผญาหรืออีสานภาษิต ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงเรื่องกำลังพูดกันตรงๆ

เช่นว่า “เจ้าผู้แพรผืนกว้างปูมาให้มันเลื่อมแด่เป็นหยัง สังมาอ่อมส่อมแพงไว้แต่ผู้เดียวแท้น้อ” ซึ่งสำนวนนี้ก็ได้พูดถึงความใจกว้างหรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

สำหรับรูปสัตว์ต่างๆ ในธงกฐินนี้ ท่านบอกสอนไว้ให้รู้ในลักษณะที่ว่า คนที่สามารถทำกฐินหรือเจ้าภาพทอดกฐินได้ ต้องเป็นคนจิตใจกว้าง มีความเสียสละเป็นอันมาก รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม้กระทั่งสัตว์ที่มีพิษร้ายก็สามารถมาร่วมทำบุญได้ หรืออีกความหมายหนึ่งนักปราชญ์อีสานโบราณ ท่านอธิบายเปรียบเทียบกับโลภะ โทสะ โมหะ ได้ชัดเจนว่า


:b44: ธงกฐิน อันที่ ๑ เป็นรูปจระเข้คาบดอกบัว

หมายถึง ความโลภ โดยปกติแล้วจระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในบางช่วงขึ้นมานอนอ้าปากอยู่บนบกให้แมลงวันเข้ามาตอมอยู่ในปาก พอแมลงวันเข้าไปรวมกันหลายๆ ตัวเข้า จึงได้งับปากเอาแมลงเป็นอาหาร ท่านได้เปรียบถึงคนเราที่มีความโลภ ไม่มีความรู้สึกสำนึกชั่วดี ความถูกต้องหรือไม่ มีแต่จะเอาให้ได้ท่าเดียว โดยไม่คำนึงว่าที่ได้มานั้นมีความสกปรกแปดเปื้อนด้วยความไม่ดีไม่งามคืออกุศลหรือไม่ ผู้อื่นจะได้รับผลอย่างไรจากการกระทำของตนไม่ได้ใส่ใจ ดังนั้น ธงรูปจระเข้ท่านจึงได้เปรียบเหมือนกับความโลภ ที่ทำให้คนกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะมีช่องทางหรือโอกาส

:b44: ธงกฐิน อันที่ ๒ เป็นรูปตะขาบหรือแมลงป่อง

หมายถึง ความโกรธหรือโทสะ โดยธรรมชาติแล้วสัตว์ทั้งสองอย่างนี้เป็นสัตว์ที่มีพิษร้าย ถ้าใครโดนตะขาบและแมลงป่องกัดหรือต่อยเข้าแล้วจะรู้สึกเจ็บปวด แต่ความเจ็บปวดเหล่านั้นมียาหรือของที่แก้ให้หายหรือบรรเทาปวดได้ ท่านได้เปรียบถึงโทสะ เพราะโทสะนี้เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นเร็ว และรุนแรง แต่ก็หายเร็ว หรือที่เรียกว่าโกรธง่ายหายเร็ว โทสะหรือความโกรธมีความเจ็บปวด มีความเสียหายเป็นผล ดังนั้น ท่านจึงเปรียบธงรูปตะขาบและธงรูปแมงป่องว่าเหมือนกับความโกรธ เพราะมีลักษณะคล้ายกันคือเกิดขึ้นง่าย เกิดขึ้นเร็ว และรุนแรง มีความเจ็บปวด มีความเสียหาย แต่หายเร็วหรือมีทางที่จะรักษาให้หายได้

:b44: ธงกฐิน อันที่ ๓ เป็นรูปนางกินรีหรือนางมัจฉาถือดอกบัว

หมายถึง ความหลงหรือโมหะ โดยที่รูปร่างและศัพท์ที่ใช้เรียกก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว กินรี แปลว่า คนอะไรหรือสัตว์อะไร ดูไม่ออกบอกไม่ถูกว่าเป็นรูปสัตว์หรือรูปคนกันแน่ เพราะว่าท่อนล่างมีรูปเป็นปลา ท่อนบนมีรูปร่างเป็นคน ศัพท์ว่ากินรีมาจากภาษาบาลีว่า “กินนรี” แต่ผ่านกระบวนการแปลงศัพท์ของภาษาบาลีเป็น “กินนรี” แปลว่า “คนอะไร” หรือว่า คนผู้สงสัย, ผู้ยังสงสัย หรือผู้ที่ค้นพบเห็นก็เกิดความสงสัย คือคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง ทั้งทางด้านความคิด ทั้งทางด้านการกระทำหรือพฤติกรรม เพราะฉะนั้น กินนรีหรือกินรีท่านจึงเปรียบเสมือนโมหะ คือความหลง หรือผู้หลง ความลังเลสงสัยนั่นเอง

:b44: ธงกฐิน อันที่ ๔ เป็นรูปเต่า

หมายถึง สติ (ให้มีศีลหรืออินทรีย์สังวร คือการสำรวมระวังอินทรีย์) โดยปกติสัญชาติญาณการหลบภัยของเต่า คือการหดส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าไว้ในกระดอง อันตรายที่จะเกิดจากสัตว์ไม่ว่าจะมีรูปร่างใหญ่โตสักปานใด ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายอะไรแก่เต่าได้ หรือสังเกตง่ายๆ เวลาหมาเห่าเต่าก็จะเก็บอวัยวะส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัว หางและขาไว้ภายในกระดอง หมาไม่สามารถทำอันตรายใดๆ แก่เต่าได้

ฉะนั้น บุคคลที่สามารถทำบุญกฐินให้ได้บุญจริงๆ ต้องเป็นผู้ที่มีศีลคือมีความสำรวมระวัง ไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นจากการที่อินทรีย์ทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งอารมณ์ขัดเคืองหรือความไม่ได้ดั่งใจตนคิด อันทำให้เกิดความท้อถอย ทั้งนี้ โดยการอาศัยศีลคือความมั่นคงในตัวเองนั่นเอง

ในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระเข้ และธงนางกินรีหรือนางมัจฉา ที่จะปรากฏในงานทอดกฐิน ส่วนธงตะขาบหรือแมลงป่อง และธงเต่าพบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัดที่ยังคงรักษาธรรมเนียมเก่าอยู่เท่านั้น


รูปภาพ

๏ ทำไมจึงใช้ “ธงจระเข้” ในงานบุญทอดกฐิน

ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมี “ธงจระเข้” ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฏหลักฐานและข้อวิจารณ์อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี ๓ มติ คือ

(๑) มติที่หนึ่ง ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบ เหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด และภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

(๒) มติที่สอง เล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลัง ว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้าเพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

(๓) มติที่สาม เป็นเรื่องเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ เรื่องปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ในอดีตกาลท่านกล่าวถึงเศรษฐีคนที่มีเงิน ขี้ตระหนี่ มัจฉริยะ ความตระหนี่ ตอนที่มีชีวิตอยู่หาแต่เงิน เก็บแต่เงินไว้ ไม่ไปทำบุญให้ทาน ไม่ตักบาตร ไม่ถวายสร้างกุฏิ วิหาร ไม่ถวายสร้างโบสถ์ ไม่ถวายสร้างสะพาน ไม่ช่วยทำทางเข้าวัด เหล่านี้เป็นต้น คนขี้ตระหนี่ไม่ทำบุญ เมื่อไม่ทำบุญ สมัยก่อนเขาเอาเงินใส่ไหใส่ตุ่มไปฝังไว้ที่ริมฝั่งน้ำ ทีนี้เมื่อตายไปก็ด้วยความห่วงสมบัติ เมื่อห่วงสมบัติก็ตายไปเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติอยู่แถวนั้นบ้าง

ทีนี้นานเข้าก็เลยมาเข้าฝันญาติบอกว่า เงินอยู่ตรงนั้นให้ไปขุดเอาแล้วนำเงินไปทอดกฐินให้หน่อย ทำบุญอะไรก็ได้ ทอดกฐินก็ได้ ผ้าป่าก็ได้ ญาตินั้นก็รู้ ก็ไปเอาเงินนั้นไปทอดกฐิน ทีนี้เมื่อทอดกฐินสมัยก่อนเขาก็นั่งเรือ จระเข้ตัวนั้นก็ว่ายตามเรือไป ตามกองกฐินเขาไป เมื่อทอดกฐินเสร็จ เขาก็อุทิศส่วนกุศลให้บอกว่า นายนี้ที่ล่วงลับไป บัดนี้เอาเงินมาทอดกฐินถวายพระแล้ว ตอนนั้นจระเข้ก็จะโผล่หัวขึ้นมาเหมือนอย่างในฟาร์ม พอทอดกฐินจบ พระอนุโมทนาให้พรจบ จระเข้นั้นก็มุดน้ำหายไปเลย ทุกวันนี้ก็เลยมีธรรมเนียมอันนั้นขึ้นมา จระเข้คาบดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ตะขาบนี้ก็เหมือนกัน เมื่อตายไปก็ไปเป็นตะขาบ ไปเฝ้าสมบัติเหมือนกัน

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : mokkalana.com

:b8: :b8: :b8: ที่มา : >>> พิธีการทอดกฐิน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19697

• ◆◆◆ ปริศนาธรรม “ธงกฐิน” ◆◆◆
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=58257

• ความหมายกฐิน (ท.เลียงพิบูลย์)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=43804

• ทำไม ผ้าพระกฐินจึงมีผ้าขาวพับกำกับไปกับไตรด้วย ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=48485

• วันออกพรรษา และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=39799

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2019, 13:08 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร