วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




2.jpg
2.jpg [ 12.11 KiB | เปิดดู 9963 ครั้ง ]
:b41: วันสงกรานต์ :b41:
ปี ๒๕๕๒ นี้ เริ่มวันสงกรานต์ ทางจันทรคติ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๐๑ นาฬิกา ๑๓ นาที ๑๔ วินาที ทางสุริยคติปฏิทินสากล ตรงกับวันอังคาร

ตามประกาศ สงกรานต์ นั้นระบุว่าปีนี้ เป็นปีฉลู มนุษย์ผู้ชาย ธาตุน้ำ นพศก จุลศักราช ๒๓๗๑ ทางจันทรคติ เป็นอธิกมาส ปกติวาร ทางสุริยคติเป็นปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์

นางสงกรานต์ปีนี้ทรงนามว่า “โคราคะเทวี” ทรง พาหุรัด ทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดาหาร ภักษาหารน้ำมัน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์หลับสนิทมาเหนือหลังพยัคฆะ หรือเสือ เป็นพาหนะ

สำหรับวันที่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยปีนี้ กำหนดตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๖ นาฬิกา ๔๐ นาที ๔๘ วินาที นับเปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๖๙ (การเปลี่ยนปีใหม่นักษัตร หมายถึง ปี ชวด ฉลู ฯลฯ นั้นไทยแต่โบราณ ถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เปลี่ยนปีนักษัตร )

วันเสาร์ เป็นธงชัย
วันพุธ เป็นอธิบดี
วันศุกร์ เป็นอุบาทว์
วันศุกร์ เป็นโลกาวินาศ


:b39: คำทำนาย :b39: พืชพรรณธัญญาหาร ได้เศษ ๖ ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในนา จะได้ผล ๙ ส่วน เสีย ๑ ส่วน จะอุดมสมบูรณ์ และน้ำจะมีมาก
จากประกาศสงกรานต์ข้างต้นเมื่อเทียบกับคำทำนายโบราณจะเห็นว่า วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันจันทร์ พยากรณ์ไว้ว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิงคุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ วันอังคารเป็นวันเนา โบราณว่าจะทำให้ผลหมากรากไม้จะแพง วันพุธเป็นวันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ และนางสงกรานต์นอนหลับตามาบนหลังเสือ โบราณว่าพระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี และเป็นการเตือนให้ผู้คนอย่าลุ่มหลงสิ่งยั่วยุ ความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ ตรงกับสภาพวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้พอดี ทำให้คนตกงาน และนำมาเจ็บไข้ได้ป่วยจำนวนมาก แต่โชคดีที่นางสงกรานต์มีพระขรรค์ไม้เท้าเป็นอาวุธ จะช่วยป้องกันและพยุงตัวประเทศรอดพ้นจากวิกฤติต่าง ๆ ไปได้ อย่างไรก็ตาม คำทำนายนี้เป็นไปตามโบราณได้พยากรณ์ไว้เท่านั้น


http://www.pattayadailynews.com/thai/sh ... 0000008766


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




2.jpg
2.jpg [ 44.77 KiB | เปิดดู 9955 ครั้ง ]
:b48: “วันเทศกาลสงกรานต์ “ :b48:

เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทยเราแต่โบราณมาแล้ว ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๑ – ๑๒ – ๑๓ เมษายน ของทุก ๆ ปี จะต้องมีการรดน้ำอวยพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ อันมีความหมายสื่อความโอกาสแสดงออกถึงความมีคุณธรรมในวิถีชีวิตคนไทย ด้านการกตัญญู และการให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยใช้น้ำบริสุทธิ์ เป็นสื่อแทนใจถึงใจ เป็นอุบายถ่ายทอดภูมิปัญญาชนชาวไทยสู่ประเพณีที่ดีงามสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี

วันประเพณีสงกรานต์ จะมีการรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ และการทำบุญอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช วีรกษัตริย์ วีรกษัตรีย์ วีรชน ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายาย มวลมิตรชาวไทยผู้ล่วงลับผู้มีพระคุณ บุญคุณ จากนั้นหนุ่มสาวจะได้ใช้โอกาสนี้เที่ยวสนุกสนานแล้ว โดยไม่ลืมทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชา ปัดกวาดบ้านเรือนรับปีใหม่กันด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




52.jpg
52.jpg [ 43.61 KiB | เปิดดู 9951 ครั้ง ]
:b45: สงกรานต์ภาคกลาง :b45:

คำว่าสงกรานต์นั้น มีความหมายว่า “การย้ายที่” หรือ “การเคลื่อนที่” คือ ดวงอาทิตย์ยกจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ คนโบราณกำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเราแท้ ๆ วันนี้องที่พุทธศาสนิกชนของไทยเราจะมีการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ แผ่บุญกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์ มีที่มาจากนางสงกรานต์ ซึ่งเป็นลูกสาวของท้าวมหาพรหม มีชื่อเรียกเปลี่ยนกันไปทุก ๆ ปี ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

๑) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ “ ทุงษะ” ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

๒) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ “โคราค” ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

๓) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ “รากษส” ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวาตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร


๔) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันพุธ นางสงกรานตชื่อ “มณฑา” ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะฬา

๕) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ “ กิริณี” ทัดดอกจำปา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปีน พาหนะช้าง


๖) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ “ กิมิทา” ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

๗) วันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ “มโหทร” ทัดดอกสาวหาว เคร่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง


ที่มา : http://www.songkran.net/th/lady.php


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 89.89 KiB | เปิดดู 9948 ครั้ง ]
:b53: สงกรานต์ กลิ่นไอทางภาคเหนือ :b53:

วันแรกรับเทศกาล เรียกตามภาษาพื้นเมืองทางเหนือเรียกว่า “วันสังขารล่อง” หรือ “วันสังก๋านต์ล่อง” ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันที่ชาวบ้านทุก ๆ บ้านจะต้องเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด เช็ดถูอย่างดี จัดเก็บข้าวของให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ เพื่อความสิริมงคล ที่นอน หมอน มุ้ง เลื่อ เครื่องนุ่งห่ม จะต้องทำให้ดีเป็นพิเศษ มีการนำเอาไปซักทำความสะอาดที่แม่น้ำ เปรียบเสมือนหนึ่งว่า ทำพิธีปล่อยลอยเคราะห์ออกไป อย่าให้เคราะห์กลับมาอีก อะไรที่ไม่ดีก็ให้ล่องลอยไปกับสายน้ำให้หมดสิ้น เหลือก็แต่สิ่งดี ๆ เอาไว้เท่านั้น

วันถัดมา “วันเน๋า” :b51: หรือที่เรียกว่า “วันเนา” :b54: นั้นเอง
วันนี้จะตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ในวันนี้จะต้องมีการนำอาหารคาวหวาน
ในตอนเช้า ทุกบ้านเรือนจะมีการนำอาหารคาวหวานไปถวายพระภิกษุสงฆ์ หรือที่เรียกว่าไปทำบุญที่วัด เลี้ยงพระที่วัดอย่างมีพิธีการแบบชาวเหนือ
วันเนานี้จะมีการอุทิศส่วนกุศลไปยังบรรพบุรุษ ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้องทั้งหลายทั้งปวงที่ล่งลับไปแล้ว ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความสุขในภพใหม่ นอกจากนี้แล้วยังอุทิศบุญกุศลไปยังเทวดาฟ้าดินดวงวิญญาณต่างๆ

ส่วนตอนบ่าย บรรดาหนุ่มสาวผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะพากันแต่งเนื้อแต่งตัวสวยงาม มีการถือขันเงินที่รียกว่า “สลุงเงิน” เอามาขนทรายเข้าวัด โดยการขนทรายจากแม่น้ำบริเวณใกล้วัดนั้นเอง เอามาถมที่ดินบริเวณวัดให้สูงขึ้นมาอีก เนื่องจากช่วงฤดูน้ำหลาก พื้นผิวดินจะถูกน้ำหลากพัดพาเสียหายไปนั้นดังเดิม
พิธีการนี้ยึดถือกันมาช้านาน เชื่อกันว่าเมื่อคนเราเดินเข้ามาในเขตวัด เท้าก็เหยียบย้ำแล้วพาเอาดินออกไปด้วย

ทำให้ดินทรายที่วัดหมดไปทุกที ปีหนึ่งก็น่าจะเอาทรายมาถมที่ดินคืนให้วัดเสียบ้าง
จากนั้นหนุ่มสาวที่มาในวัด ก็จะเริงรื่นเล่นกันอย่างสนุกสนาน ด้วยการรดน้ำกันตามประเพณี สมัยก่อนจะเป็นการตักน้ำด้วยขันเงินด้วยจอกเล็ก ๆ แล้วเอามาราดที่ช่วงไหล่ หรือประพรมใส่กัน พร้อมคำอวยพรที่ดีต่อกันเท่านั้น


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 43.64 KiB | เปิดดู 9944 ครั้ง ]
:b41: การรดน้ำดำหัว :b48: รูปแบบสงกรานต์ของชาวเหนือ :b41:

นับว่าเป็นประเพณีที่มีความหมายมากของคนเหนือทั้งหลาย เป็นประเพณีที่แสดงถึงความเคารพนบนอบผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยที่มีต่อผู้ใหญ่
ตามความมุ่งหมายเดิมนั้น คือการเปิดโอกาสให้ผู้น้อยได้เข้าหาใกล้ชิดผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ รวมทั้งบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติของตัว เพื่อเป็นการขอขมา และขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่เหล่านั้น อันถือได้ว่าท่านผู้อาวุโสนั้น เมื่อให้พรแก่ผู้ใดแล้วก็หมายความว่าเป็นสิริมงคลมาก เพราะความที่ท่านมีชีวิตล่วงเลยมานาน จนแก่เฒ่านั้นย่อมชี้ชัดว่า เป็นผู้มีประสบการณ์สั่งสมมีคุณค่าแก่ชีวิต ผ่านโลกมาช้านาน รู้ซึ้งถึงสิ่งต่างๆ อันมีทั้งคุณและโทษในการครองชีวิต การได้รับพร ได้รับข้อคิดที่ดี ๆ และถูกต้องจากท่าน นับว่าเป็นพรอันประเสริฐ

:b47: ประเพณีรดน้ำดำหัว :b47: ทำกันในวันต่อท้ายวันสงกรานต์ นับตั้งแต่วันที่ ๑๖ เมษายนเป็นต้นไป
สิ่งที่ต้องนำมารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่นั้น ท่านกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องเอาขันเงินไปด้วยใบหนึ่ง เพื่อเป็นการให้เกียรติอย่างสูงส่ง เอาน้ำผักส้มป่อยใส่ไปด้วย เอาดอกไม้หอมโรยลงไป เช่น ดอกมะลิ ดอกคำฝอย ผสมกับน้ำหอมอีกพอสมควร
อีกอย่างหนึ่งได้แก่ พานใส่ข้าวตอกดอกไม้ ซึ่งถือเป็นเครื่องสักการะได้อย่างหนึ่ง หรือเอาของขวัญที่เหมาะสมไปร่วมด้วยอีกก็ได้ เช่น เสื้อผ้าใหม่ ผลไม้ตามฤดู

:b44: การรดน้ำดำหัวนี้ :b44: นับว่าเป็นประเพณีนิยมที่ดีมากของคนภาคเหนือจริง ๆ เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือที่ผู้น้อยมีต่อผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม และน่านิยมนัก ประเพณีอันดีงามนี้ จึงคงควรอยู่ ตลอดมาตราบเวลายาวนานมาแล้ว ไม่มีเสื่อมถอยไปเลย มีแต่จะลามเลยไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 11:09
โพสต์: 41


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนา

.....................................................
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดทุกข์เท่านั้นที่คงอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: สงกรานต์ภาคใต้ :b42:

ในวันแรกเรียกว่า “วันเข้าเมืองเก่า” วันที่ ๒ เรียกว่า “วันว่าง” และวันที่ ๓ เรียกว่า “วันเข้าเมืองใหม่” หรือ “วันต้อนรับเข้าเมืองใหม่” เป็นต้น

วันสงกรานต์ของชาวบ้านภาคใต้ ชาวบ้านจะพร้อมใจกันหยุดงาน รวมทั้งหมด ๓ วัน โดยฌพาะวันว่าง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า บุตรหลานของผู้ใดจะขึ้นต้นไม้หรือที่สูงไม่ได้เด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นวันว่าง ก็ต้องว่างจริง ๆ ผู้ใหญ่ก็จะจัดการแช่ครกและแช่สากตำข้าว เป็นต้น โดยเฉพาะสากที่เคยใช้ทุกอยู่ ๆวันนั้น ให้นำมาใส่ครก เอาน้ำใส่ แล้วทาด้วยสีต่างๆ เช่น สีขาว สีแดง กับหมากพลูคำหนึ่งปักติดกับสากนั้น แช่ไว้ในครกจนครบ ๓ วัน

วันสงกรานต์นี้ ชาวบ้านภาคใต้จะพักผ่อนกันจริง ๆ ไม่ต้องทำการงาน นอกเสียจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนาน และทำบุญกันอย่างจริงจังทีเดียว ด้วยถือว่า เป็นวันว่างที่เหล่านางฟ้า หรือนางสงกรานต์ได้ออกจากเมืองไปแล้ว และนางฟ้าหรือนางสงกรานต์คนใหม่ยังมาไม่ถึง จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๕ เมษายนของทุก ๆปี อันเป็นวันเถลิงศกใหม่ ถือว่านางฟ้าหรือนางสงกรานต์คนใหม่ได้เดินทางมาถึงเพื่อรักษาเมืองต่อไป
ในวันสงกรานต์ภาคใต้ ยังมีการละเล่นร้องรำของพวกชาวบ้านที่เรียกว่า “เพลงบอก” หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “ทอดบอกเพลง” โดยจะมีการจัดเตรียมหาลูกคู่ซ้อมกันอย่างช่ำชอง


:b40: ประเพณีเพลงบอก ของหัวเมืองปักษ์ใต้ :b40:
ในสมัยก่อน เพลงบอกนิยมเล่นกันมากในหัวเมืองปักษ์ใต้โดยทั่วไป โดยเพาะวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ และพิธีทอดกบิน เป็นต้น
จุดมุ่งหมายเดิมก็เพื่อแจ้งให้ชาวบ้านรู้กำหนดวันสงกรานต์ การบอกเพลงบอก ก็แต่งเป็นคำกลอน นอกจากบอกวันสงกรานต์แล้ว ยังบอกเกณฑ์ฝนและนาคให้น้ำ ตลอดจนให้พรแก่เจ้าของบ้านที่ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี

เพลงบอกนั้น ใช้เนื้อร้องและทำนองง่าย ๆ ไม่ต้องมีดนตรี นอกจากเวลาร้องใช้มือปรบเท่านั้น แต่ต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนแปลงให้มีเครื่องดนตรีผสม เช่น ฉิ่ง สำรับหนึ่ง รวมกันเป็นชุดคระเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน

เพลงบอกมีประวัติว่า เกิดขึ้นได้เพราะชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นของตนต่างประดิษฐ์ทำนองและร้องขึ้นเอง ซึ่งถิ่นหนึ่งๆ ก็มีสำนวนและภาษาปรวนแปรไปกับเนื้อเพลงนั้น ๆ โดยมีลูกคู่ ๒-๓ คน เริ่มออกตระเวนเตล็ดเตร่บอกเพลงไปตามบ้านเรือนที่ตนนับถือ โดยเจ้าบ้านจะให้การต้อนรับเลี้ยงดูกันเป็นอย่างดี บางทีมีการแจกข้าวของเงินทองให้ด้วย พร้อมทั้งให้ศีลให้พร โดยใช้กลอนสดว่ากล่าวประชันกันทันท่วงที บางทีรุนแรง แต่ไม่มีการถือกล่าวโทษกันและกันเลย


แก้ไขล่าสุดโดย บุญญสิกขา เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 10:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับ พิธีสงกรานต์ในราชสำนัก แห่งราชวงศ์จักรี เมือครั้งยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีกุศลวันสงกรานต์ ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ซึ่งทั้งนี้แล้วแต่ฤกษ์ยาม คือ ดวงอาทิตย์ยกจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เวลา ๒ ยามล่วงไปแล้ว ก็นับว่าเป็นสงกรานต์ ๔ วัน แต่ส่วนมกแล้วตามปกติสงกรานต์จะมีเพียง ๓ วันเท่านั้น โดยกำหนดกังนี้
๑) วันมหาสงกรานต์
๒) วันเนา
๓) วันเถลิงศก

พระราชพิธีเกี่ยวกับพระราชกุศลทางศาสนา คือ เริ่มตั้งแต่วันจ่าย นับจากวันก่อนวันมหาสงกรานต์ ตั้งสวดมนต์พระปริตต์ในการที่จะสรงมุรธาภิเษกเถลิงศก บนพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ มีโต๊ะเครื่องบูชาอย่างเพียบพร้อมเสร็จ พิธีสงฆ์มีการสวดทั้ง ๓ วัน โดยการนิมนต์พระภิกษุจำนวน ๙ รูป พระมหากษัตริย์ทรงสรงน้ำพระพุทธรูปองค์สำคัญด้วย ต่อจากนั้นก็ทรงเวียนเทียน เสด็จพระราชดำเนินสดับปกรณ์ พระอัฐิเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ คลอดงานทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจุดดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชาถึง ๓ คืน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 39.16 KiB | เปิดดู 9927 ครั้ง ]
ส่วน สงกรานต์ของชาวบ้าน เริ่มด้วยการใส่บาตรในตอนเช้าที่วัด สวดมนต์ ทำบุญเลี้ยงพระ จากนั้นก็พิธีรดน้ำผู้ใหญ่ที่นับถือ ผู้ใหญ่ต่างให้พรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีชีวิตรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

พิธีการรดน้ำนั้น จะมีเครื่องใช้คือน้ำองน้ำปรุงเป็นหลัก เสื้อ ผ้านุ่ง กางเกง และผ้าขาวม้า ด้วยการรินน้ำอบน้ำปรุงลงในฝ่ามือของผู้ใหญ่ พร้อมกล่าวขอพร จากนั้นก็จะเอาน้ำอบนั้นลูบไล้ศีรษะของท่านเอง เมื่อเสร็จแล้วท่านก็จะให้พรลูกหลานที่ไปรดน้ำทุกคน ทุกคนที่ร่วมพิธีจะมีความสุขร่าเริงใจ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส จากนั้นก็เป็นการสุกสนาน อวยพรซึ่งกันและกัน ระหว่างญาติพี่น้อง ตลอดจนเพื่อนบ้าน หรือระหว่างหนุ่มสาว เริ่มจากประพรม และหากสนิมสนมกันมาก ก็จะรดน้ำจนเปียกชุ่มอย่างไม่ถือสาว่าความกันเลย

ช่วงพิธีรดน้ำนี้ มักจะมีการละเล่นของพื้นบ้าน ที่สนุกสนาน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงรำ สะบ้ารำ และไม้หึ่ง เป็นต้น โดยหนุ่มอยู่ฝ่ายหนึ่ง สาวอยู่อีกข้างฝ่ายหนึ่ง เป็นประเพณีที่ดีงาม สร้างสัมพันธไมตรี สนุกสนานของไทยเรา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 10:26
โพสต์: 51


 ข้อมูลส่วนตัว


เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์

๙ วัน สักการะ ๙ พระอารามหลวง สุขใจ เย็นกาย

๑๑ - ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ สุขใจ เย็นกาย แต่งชุดไทยไปไหว้พระขอพร รอบเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ ไหว้พระ๙ พระอารามหลวง ตามคติมงคล เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปสักการะ คือ ๐๘.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. ดังนี้


๑. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คติ "เพื่อจิตใจสะอาด ดุจพระรัตนตรัย"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียน ๑ เล่ม ดอกไม้


๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) คติ "ร่มเย็นเป็นสุข"
เครื่องสักการะ ธูป ๙ ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว ๑๑ แผ่น


๓. วัดบวรนิเวศวิหาร คติ "พบแต่สิ่งดีงามในชีวิต"
เครื่องสักการะ ธูป ๙ ดอก เทียน ๑ เล่ม ดอกบัว ๓ ดอก


๔. วัดสระเกศ คติ "เสริมสร้างความคิด อันเป็นสิริมงคล"
เครื่องสักการะ ธูป ๙ ดอก เทียน ๑ เล่ม ดอกบัว ๓ ดอก


๕. วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) คติ "ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียนคู่


๖. วัดสุทัศนเทพวราราม คติ "วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่คนทั่วไป"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียน ๑ เล่ม


๗. วัดชนะสงคราม คติ "มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียน ๑ เล่ม ดอกบัว ๑ ดอก (สำหรับพระประธานในโบสถ์)
ธูป ๕ ดอก เทียน ๑ เล่ม ดอกบัว ๑ ดอก (สำหรับรูปเคารพสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)


๘. วัดระฆังโฆษิตาราม คติ "มีชื่อเสียงโด่งดัง คนนิยมชมชอบ"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว


๙. วัดกัลยาณมิตร คติ "เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรีที่ดี"
เครื่องสักการะ ธูป ๓ ดอก เทียนแดงคู่ ดอกไม้พวงมาลัย


ความหมายแห่งมหามงคลนามของพระอารามหลวงที่ควรค่าแก่การน้อมนำเข้าสู่ชีวิตที่จะมุ่งไปสู่ความดีงามแห่งวิถีและวัฒนธรรมไทยผสานความเป็นไปอันรุ่งโรจน์ของหมู่เราชาวสยาม เพื่อความเป็นสิริมงคลในวาระดิถีปีใหม่สยามนี้

ขอองค์พระรัตนตรัยช่วยปกปักรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และอำนวยชัยให้พรแด่ปวงชนชาวสยามสู่สิ่งดีงามทั้งมวล



:b8: :b8: :b8:

คุณค่าทางวัฒนธรรมในประเพณีสงกรานต์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30760

คำทำนายโบราณ เกี่ยวกับนางสงกรานต์และวันสงกรานต์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=41676

นางสงกรานต์ คำพยากรณ์...คติในตำนาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=21352


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:
ขอขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

:b51: :b52: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร