วันเวลาปัจจุบัน 06 ธ.ค. 2024, 20:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


กฏกติกา
สำหรับผู้ประกาศแจก
1. รายละเอียดสิ่งของที่จะแจก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธรรมะ หรือซีดี
2. อีเมล์/เบอร์โทร (ถ้าสะดวก) เพื่อการติดต่อ
3. จำนวนของสิ่งของที่จะแจก
4. กำหนดวันเวลาสิ้นสุดการแจกชัดเจน
5. เมื่อสิ้นสุดการแจก กรุณาปิด-ลบกระทู้ หรือแจ้งให้ผู้ดูแลทราบ

สำหรับผู้ขอรับ
1. กรุณาอ่านรายละเอียดข้อตกลงก่อนว่า ต้องลงชื่อขอรับในเว็บบอร์ดนี้ หรืออีเมล์ และเว็บไซต์ของผู้แจก
2. ชื่อ-ที่อยู่ ชัดเจน และเมื่อได้รับแล้ว กรุณาเข้ามาลบ หรือแจ้งผู้ดูแลลบชื่อท่านออก เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง
....



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2015, 06:17 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2424

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร)


รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร)



สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ “คิดจะสึก”

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ (พระอุปัชฌาย์) ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และพระอุปัชฌาย์ในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น

“...เมื่อท่านยังหนุ่มๆ อยู่ สอบเปรียญได้เป็นพระมหาชื่น ท่านก็อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) ทรงเป็นเจ้าอาวาสอยู่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงกวดขันท่านมาก ทำผิดอะไรเล็กน้อยหรือไม่พอพระทัยขึ้นมาเมื่อไร ก็กริ้วกราดเอาแรงๆ เสมอ ท่านเบื่อหน่ายขึ้นมาจึงกราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่า ท่านจะขอสึก”

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงฟังแล้วก็นิ่งอยู่ มิได้ตรัสว่ากระไร

ฝ่ายสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เมื่อกราบทูลไปแล้วก็ไปหาฤกษ์สึก แล้วก็ให้โยมไปเตรียมผ้านุ่งมาไว้หนึ่งผืน เสื้อราชปะแตนหนึ่งตัว อีกสองวันจะสึก

เย็นวันหนึ่งก่อนที่จะถึงฤกษ์สึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จมาที่วัดบวรฯ เพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ครั้นแล้วก็เสด็จฯ ลงจากพระตำหนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ตรงมาที่กุฏิของท่าน

เสด็จฯ มาถึงแล้วก็ทรงยืนอยู่หน้าประตูกุฏิ มิได้เสด็จฯ เข้ามาข้างใน พอเห็นในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาที่กุฏิก็ตกใจแทบสิ้นสติ เพราะไม่เคยเสด็จฯ มาแต่ก่อน ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรถูก ก็นั่งรับอยู่ในกุฏิ จะเชิญเสด็จฯ เข้ามาก็พูดไม่ถูก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รับสั่งว่า “ได้ยินว่าคุณจะสึกหรือ”

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ก็ถวายพระพรรับว่า “จริง”

จึงมีกระแสรับสั่งต่อไปว่า “ฉันก็ไม่ว่าอะไรหรอก แต่อยากจะบอกให้รู้ว่า คนอย่างคุณนั้นบวชเป็นพระแล้วหายาก ถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็หาง่าย”

“กัน (คำใช้เรียกแทนตัวเองสมัยก่อน) ก็เลยไม่สึก”

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ท่านว่า “ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านต้องรู้ดีกว่าเราว่าอะไรหายาก อะไรหาง่าย”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงถามว่า “แล้วยังไง”

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ท่านจึงว่า “กันอยากเป็นคนหายากว่ะ”


นับแต่นั้น ท่านจึงดำรงมั่นจนดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระประมุขของคณะสงฆ์ไทยที่ทรงมีพระคุณธรรมอย่างหาที่สุดมิได้ในที่สุด



:: ที่มา :: :b8: :b8: :b8:
(๑) บทความงานเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช,
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๑, หน้า ๕
(๒) เรื่องเล่าเช้าวันพระ นาทีสำคัญของสองสังฆราช
เขียนเล่าเรื่องโดย...พระไพศาล วิสาโล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2015, 06:18 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2424

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความตาม “ราชกิจจานุเบกษา”
ที่แจ้งแก่กระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี
เรื่อง พระญาณวราภรณ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)
ลาออกจากหน้าที่พระราชาคณะ
เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑)


รูปภาพ

รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระญาณวราภรณ์


====================

:b49: :b50: สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20236


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2015, 06:19 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2424

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
(หรือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร)



“ถ้าคุณมหาสึก อีฉันจะผูกคอตาย”

ในยามที่พระชนนี (นางกิมน้อย คชวัตร) ชราภาพ ด้วยความห่วงใยไม่ต้องการให้ไกลหูไกลตา เกรงว่าพระชนนีจะเดียวดาย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) จึงทรงรับมาอยู่ด้วยที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อจะได้อุปัฏฐากดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้ทูลขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) เจ้าอาวาสในขณะนั้น เป็นการพิเศษ ปลูกเรือนไม้หลังเล็กไว้ข้าง “พระตำหนักคอยท่าปราโมช” ให้พระชนนีได้พักพิง เนื่องจากทางวัดไม่ได้มีที่พักสำหรับอุบาสิกา

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ก็คิดจะสึกเช่นเดียวกันกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ในคราวทรงทำทัฬหีกรรมคืออุปสมบทซ้ำ เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร) กล่าวคือ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ยังเป็นพระเปรียญ ๗ ประโยค ในวัยเพียง ๒๔ ปี เคยมีผู้เข้ามาชักชวนให้ไปเป็นอนุศาสนาจารย์ พระองค์ทรงเห็นคล้อยตามคำชวนนั้น จึงได้ยื่นหนังสือขอลาสิกขา กติกาสมัยนั้นมีอยู่ว่า พระเปรียญธรรม ๗ ประโยคอย่างพระองค์ เมื่อต้องการลาสิกขานอกจากจะต้องลาเจ้าอาวาสแล้ว ยังต้องทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรถึงกระทรวงศึกษาธิการด้วย

ครั้นเรื่องสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขอลาสิกขาทราบถึงพระชนนี ท่านจึงตัดสินใจโดยพลันเดินทางออกจากกาญจนบุรีมุ่งสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ด้วยความรุ่มร้อนในอก ถึงแล้วไม่รีรอรีบเดินขึ้นกุฏิพระลูกชาย ถามหาความจริงพร้อมยื่นคำขาดว่า “ถ้าคุณมหาสึก อีฉันจะผูกคอตาย”

สีหน้าและแววตาของหญิงวัยกลางคนที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า ทำให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ต้องนิ่งงันเพราะทราบดีว่า พระชนนีพูดจริง ก็ทำจริง

คำขาดในพระชนนี ยังผลให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ต้องเร่งทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ขอถอนใบลาสิกขาที่ส่งไปก่อนหน้า โดยให้เหตุผลสั้นๆ ว่า

“มีความจำเป็นอย่างที่สุดที่จะลาสิกขาไม่ได้”


นับแต่นั้น ท่านจึงดำรงมั่นจนดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระประมุขของคณะสงฆ์ไทยที่ทรงมีพระคุณธรรมอย่างหาที่สุดมิได้ในที่สุด



:: ที่มา :: :b8: :b8: :b8:
(๑) เกร็ดพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(๒) หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป

:b50: :b50: เรื่องเล่าที่ “พระตำหนักคอยท่าปราโมช” วัดบวรฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46698


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2015, 06:19 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2424

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร


รูปภาพ
พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส)
วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร



:b39: เรื่องเล่าจากอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก

สมัยผม (อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก) เป็นพระหนุ่ม เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ ทูลถามว่า พระองค์เคยสึกบ้างไหม (จำได้ว่า อาจารย์ ส.ศิวรักษ์ ไปเฝ้าด้วย)

สมเด็จฯ รับสั่งว่า “เคย มีคนเอากางเกงมาให้แล้วด้วย เราลองเอามานุ่งดู มองตัวเองแล้วรู้สึกว่าน่าสังเวช เลยตัดใจไม่สึก”

เมื่อทูลถามว่า “ทำไมตัดใจได้ง่ายปานนั้น”

รับสั่งว่า “นึกถึงพระพุทธวจนะที่ตรัสสอนพระอยากสึกในคัมภีร์ เลยเกิดอุตสาหะอยากอยู่ต่อไป”

เรียกสั้นๆ ว่า ทรงได้พระพุทธวจนะเป็น “กัลยาณมิตร” ว่าอย่างนั้นเถอะ

พระผู้ใหญ่บางรูปได้เด็กวัดเป็นผู้เตือนสติ พระมหาทองสุก แห่งวัดชนะสงคราม [พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส)] - Duangtip) อยากสึก หันมาถาม ส.ธรรมยศ ซึ่งตอนนั้นเป็นเด็กวัด

“ถ้าหลวงพี่สึก เธอจะว่าอย่างไร”

ส.ธรรมยศ ตอบว่า “อย่าสึกเลยหลวงพี่ หลวงพี่มีความเป็นคนน้อย สึกไปก็เอาตัวไม่รอด”

ได้ยินคำตอบ หลวงพี่ฉุนกึก นึกว่าลูกศิษย์ด่า แต่ลูกศิษย์อธิบายว่า หลวงพี่มีความเป็นพระมาก มีความเป็นคนครองเรือนน้อย พูดง่ายๆ ว่าปรับตัวเข้ากับโลกของคนไม่ได้ อยู่เป็นพระนี่แหละ เจริญก้าวหน้าในศาสนาแน่นอน

จริงอย่างที่ลูกศิษย์ว่า ท่านบวชอยู่ต่อมาจนได้เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ เป็นสังฆมนตรี (ตามพระราชบัญญัติปกครองสงฆ์สมัยนั้น) นี้เพราะอานิสงส์คำเตือนของเด็กวัดนักปราชญ์แท้ๆ



:: ที่มา :: :b8: :b8: :b8:
สามเณรสังฆรักขิต สามเณรในสมัยพุทธกาล
หลังจากบวชพระแล้ว ก็ “กระสัน” อยากสึกไปเป็นคฤหัสถ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50314

:b50: :b50: พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) วัดชนะสงคราม
๑ ใน “คณะสังฆมนตรี” ยุคสมเด็จฯ จวน อุฏฐายี เป็นสังฆนายก
(คณะสังฆมนตรีชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49524


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 16:29 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2424

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร)


รูปภาพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
(หรือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศวิหาร)


เรื่องเล่าเช้าวันพระ
นาทีสำคัญของสองสังฆราช
เขียนเล่าเรื่องโดย...พระไพศาล วิสาโล
====================

สมเด็จพระสังฆราชที่ครองวัดบวรนิเวศวิหารนับแต่อดีตถึงปัจจุบันมี ๔ พระองค์ สององค์สุดท้ายได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์แรกนั้นเป็นราชสกุล กล่าวคือ เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ส่วนองค์หลังนั้นเป็นสามัญชน อุปนิสัยก็แตกต่างกันมาก องค์แรกพูดตรง โผงผาง มีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง ส่วนองค์หลังนั้นพูดจาสุภาพเรียบร้อยและไม่ค่อยพูดเล่น แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสององค์มีเหมือนกันคือ เคยมีความคิดที่จะสึก จนถึงขั้นเตรียมการไว้พร้อมแล้ว

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมัยยังหนุ่ม เป็นพระมหาชื่น วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยนั้นเจ้าอาวาสคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงกวดขันในเรื่องระเบียบวินัยมาก พระรูปใดทำผิดแม้เพียงเล็กน้อย บางครั้งพระองค์ก็ถึงกับเกรี้ยวกราด พระมหาชื่นคงเจอพิโรธของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ อยู่หลายครั้ง จึงเบื่อหน่ายในเพศบรรพชิต วันหนึ่งได้ไปกราบทูลพระองค์ว่า จะขอลาสิกขา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงฟังแล้วก็มิได้ตรัสว่ากระไร

พระมหาชื่นจึงไปหาฤกษ์สึก แล้วให้โยมไปเตรียมผ้านุ่งมาไว้ให้พร้อม หนึ่งวันก่อนจะถึงฤกษ์สึก บังเอิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ มาที่วัดบวรฯ เพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จากนั้นได้เสด็จฯ ตรงมาที่กุฏิของท่าน โดยทรงยืนอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ครั้นพระมหาชื่นเห็นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาที่กุฏิก็ตกใจแทบสิ้นสติ เพราะพระองค์ไม่เคยเสด็จฯ เช่นนี้มาก่อน พระมหาชื่นทำตัวไม่ถูก จึงนั่งรับเสด็จอยู่ในกุฏิ ครั้นจะเชิญเสด็จฯ เข้ามาก็พูดไม่ถูก

พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ได้ยินว่าคุณจะสึกหรือ ?”

พระมหาชื่นก็ถวายพระพรรับว่า จริง

พระองค์รับสั่งต่อไปว่า “ฉันก็ไม่ว่าอะไรหรอก แต่อยากจะบอกให้รู้ว่า คนอย่างคุณนั้นบวชเป็นพระแล้วหายาก ถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็หาง่าย”

ได้ยินเช่นนั้นพระมหาชื่นก็เลยตัดสินใจไม่สึก ส่วนผ้าที่เตรียมไว้ก็ให้โยมน้องชายไป นับแต่นั้นท่านก็ไม่คิดสึกอีกเลย มั่นคงในเพศบรรพชิต และเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ ๘๖ พรรษา


ส่วนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชนั้น เมื่อครั้งที่ยังเป็นพระมหาเจริญ เปรียญเจ็ดประโยค อายุประมาณ ๒๓-๒๔ ปี ท่านตั้งใจจะลาสิกขา จึงได้กราบทูลลาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับสั่งว่า “คุณเจริญไปคิดใหม่อีกที บวชเป็นพระนั้นยาก สึกสิง่าย กันก็เคยคิดจะสึกมาเหมือนกัน”

อย่างไรก็ตามดูหมือนท่านจะไม่เปลี่ยนใจ ได้ทำหนังสือลาสิกขาอย่างเป็นทางการถึงกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) แต่ระหว่างที่เดินเรื่องอยู่นั้น โยมมารดาของท่านทราบข่าวว่าพระลูกชายจะสึก จึงได้รีบเดินทางจากเมืองกาญจน์มาหาที่วัดบวรนิเวศทันที ครั้นมาถึงก็ได้บอกกับพระลูกชายด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า “ถ้าคุณมหาจะสึก ดิฉันก็จะผูกคอตาย”

เพียงเท่านี้พระมหาเจริญก็รีบทำเรื่องถอนหนังสือขอลาสิกขา และเลิกล้มความตั้งใจที่จะสึก นับแต่นั้นท่านก็พากเพียรในการศึกษาและปฏิบัติจนสำเร็จเป็นมหาเปรียญ ๙ ประโยค อีกทั้งเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา


สองเหตุการณ์ที่กล่าวมา ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่กินเวลาไม่กี่นาที มีคำพูดแค่ไม่กี่คำ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของสมเด็จพระสังฆราชทั้งสองพระองค์ รวมทั้งต่อพุทธศาสนาไทยและเมืองไทย เพราะหากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวชีวิตของทั้งสองพระองค์จะต้องหักเหไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าเมืองไทยจะไม่มีสมเด็จพระสังฆราชที่เปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถและเป็นแบบอย่างแห่งคุณธรรมดังสองพระองค์


รูปภาพ
พระไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
==============


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2020, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2774


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร