วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

“สุนทรียสนทนา” (dialogue) ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ สร้างสรรค์

--------------------------------------------------------------------------------

บทนำ

การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลได้ดีอีกด้วย

บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ความหมายและความเป็นมา

คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้ในสำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น “สุนทรียสนทนา” “สนทนาแลกเปลี่ยน” “วาทวิจารณ์” รวมทั้งคำว่า “สนทนา” และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น “การสนทนาอย่างสร้างสรรค์” หรือ “การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน” ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า “สนทนาวิสาสะ” ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า “สุนทรียสนทนา” แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความกระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Bohmian Dialogue

ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาดูได้ดังนี้ คือ dia= through “ทะลุทะลวง”, logo = meaning of the word “ความหมายของคำที่พูดออกไป” แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ “สนุทรียสนทนา” ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความหมายใหม่ของคำว่า ‘dialogue’ มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ “กระแสธารของความหมาย” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้ โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมุติใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง



การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และเอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็นการบ่มเพาะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนานั้น ไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินด้วยข้อสรุปใดๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจฟังกัน คือการเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเองและสิ่งที่ได้ยิน ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่วอกแวกแยกวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ จะต้องกำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกในเชิงบวก เห็นความเงียบเป็นสิ่งเดียวกับตนเอง และในความเงียบนั้น กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่นเดียวกับตัวเราที่กำลังรับฟังอยู่ เราสามารถรอได้ คอยได้เสมอ

กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมายส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง (entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของสุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แก้ไขล่าสุดโดย webmaster เมื่อ 31 ต.ค. 2010, 08:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา

มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้ายๆกับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า “นั่งโสกัน” ภาษาคำเมืองจะเรียกว่า “นั่งแอ่วกัน” หรือ “นั่งอู้กัน” ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า “นั่งแหลงกัน” แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า “นั่งจับเข่าคุยกัน” “ล้อมวงคุย” หรือ “เปิดเวที” ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับมาใช้ใหม่

นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า คนกลุ่มเล็กๆอยู่รวมกันประมาณ 40-50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่นชายหนุ่มรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกไปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกันก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็นเวลานานแล้ว

คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน “ความเจริญ” เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่คือ “ความเหงาท่ามกลางฝูงชน” ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆในโลกนี้ได้อย่างไร

รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านประเพณีและพิธีการซึ่งถูกอำนาจกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งยังเต็มไปด้วยระบบสัญญลักษณ์ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใดๆก็ตาม จะไม่สามารถแก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อหาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน

การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นโทรทัศน์กลายเป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินความจำเป็นพื้นฐาน จอโทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนตความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็กๆตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากร ธรรมชาติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น

คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ต่างคนต่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ “ฐานคติ” (presupposition) นั้น ขึ้นสู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ

ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ “อิทัปปัจยตา” ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใดๆอีกด้วย เพราะไม่สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฎการณ์ได้ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ “ตนเอง” จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

ในฐานะของผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านจุดสูงสุดของวิชาการจากโลกตะวันตก และเข้าใจวิธีคิดแบบตะวันออกอย่างลึกซึ้ง David Bohm จึงประกาศความเชื่อในชีวิตบั้นปลายว่า การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา


หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา

การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำ และการตอบคำถาม เพราะถือว่า คำถามที่เกิดขึ้น เป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ สุนทรียสนทนา ยังไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิดใดๆ เพราะถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นหมายถึงการปล่อยให้แต่ละคนนำเอาฐานคติของตนออกมาประหัตประหารกัน และจบลงด้วยความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกตีตกจากวงสนทนาไป ซึ่งผิดหลักการของสุนทรียสนทนา

หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนาอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” (deep listening) โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่า เสียงที่ได้ยิน คือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆที่ผ่านเข้ามากระทบ เสียงเหล่านั้นอาจจะเป็นเสียงของตนเองที่พูดคุยกับตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ เช่นเสียงนกร้อง น้ำไหล และเสียงจิ้งหรีดเรไรยามค่ำคืน เป็นต้น ถ้าหากฟังอย่างตั้งใจ และฟังเพื่อให้ได้ยิน อาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต

การยอมรับในหลักการของสุนทรียสนทนา คือความพยายามเบื้องต้นในการถอดถอนอิทธิพลของอำนาจ อุปาทาน ซึ่งทำงานอยู่ในรูปของระบบสัญญลักษณ์ พิธีการต่างๆที่ห่อหุ้มตัวตนไว้ในโลกอันคับแคบ หดหู่ ซึมเศร้า และเป็นสถานบ่มเพาะเชื้อแห่งความรุนแรงไว้อย่างล้ำลึก เชื่อกันว่า หากคนสามารถก้าวข้ามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปได้ จิตใจก็จะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ (deliberation) สามารถเรียนรู้จากการฟังได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อยกระดับภูมิธรรมของตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่คนธรรมดาทำได้ยาก

ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถบังคับใคร ให้เข้าไปนั่งอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนาได้ โดยที่เขาไม่มีความสมัครใจ และไม่ยอมรับเงื่อนไข หลักการเบื้องต้นเหล่านี้เสียก่อน การยอมรับเงื่อนไขแปลกๆเหล่านี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะคนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และเคยชินกับการพูดคุยแบบเป็นการเป็นงาน มีการวางวาระ เป้าหมายของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า มีการโต้เถียง ลงมติและข้อสำคัญมีคนที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่ตนเองไม่คุ้นเคย ก็เลยหงุดหงิด เพราะทำใจไม่ได้กับการพูดคุยแบบไม่มีทิศทาง David Bohm ได้ให้คำแนะนำว่า ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เชื่อมั่นในกระบวนการของสุนทรียสนทนาจะต้องเผชิญหน้ากับมัน และผ่านจุดสำคัญนี้ไปให้ได้ หลังจากนั้น บรรยากาศจะค่อยๆดีขึ้น เพราะทุกคนสามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศการพูดคุยแบบใหม่ จนแทบไม่มีใครอยากจะเลิกราไปง่ายๆ

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


มหัศจรรย์ของสุนทรียสนทนา


มีคำถามที่มักถามกันมาเสมอคือว่า พูดคุยกันแบบนี้แล้วมันได้ประโยชน์อะไร คุยกันแล้วข้อยุติที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะคุยกันไปทำไม ก็ขอตอบว่า สุนทรียสนทนามิได้แยกการพูดออกจากการกระทำ การพูดคือการกระทำอย่างหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาความรู้ สุนทรียสนทนาจึงไม่ใช่เป็นพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการชุมนุมพูดคุยเพื่อแสวงหาคลื่นของพลังงานความรู้ ความคิดที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลอันไพศาล โดยเปรียบสมองของมนุษย์ว่าเป็นระบบปฏิบัติการหรือตัว‘hard ware’ ที่จำเป็นจะต้องมีคลื่นพลังงานความรู้ ความคิด หรือ ‘soft ware’ ที่เหมาะสมกัน (compatible) มาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สมองสามารถทำงานได้ คิดได้ สร้างความรู้ได้ หาไม่แล้วสมองมนุษย์ก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและเส้นประสาทที่ปราศจากความหมายใดๆทั้งสิ้น


คลื่นความรู้และพลังงานที่ถูกฝังเข้าไปในระบบปฏิบัติการของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่อธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ใครฟังไม่ได้เช่นเดียวกับคนที่มีความสามารถในการขี่จักรยาน แต่ไม่สามารถอธิบายวิธีการทำให้จักรยานทรงตัวไม่ได้ นอกจากทำให้ดูแล้วนำไปฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ

ดังนั้น การเข้ามาอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จึงเป็นการแสวงหาคลื่นพลังงานความรู้และความคิดร่วมกัน เมื่อใครคนหนึ่งรับได้ ก็จะเกิดการถ่ายทอดโยงใยไปยังคนอื่นๆที่อยู่ในวงสุนทรียสนทนาให้รับรู้ด้วยกัน ผู้ที่สามารถเข้าถึงคลื่นพลังงานความรู้และความคิดเหล่านี้ได้ จะเกิดความรู้สึกว่า เสียงของคนอื่นก็เหมือนกับเสียงของตนเอง สิ่งที่ตนเองอยากจะพูดก็มีคนอื่นพูดแทนให้ และเมื่อคนอื่นพูดออกมา บางครั้ง เราจึงรู้สึกว่า คำพูดแบบนี้แหละคือสิ่งที่ตนเองอยากจะพูด

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

แนวทางการจัดสุนทรียสนทนา



พึงระลึกไว้เสมอว่า คำแนะนำต่อไปนี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ไม่ใช่ตำราทำอาหารที่จะต้องทำตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากความหมายตามตัวอักษรของคำแนะนำ แต่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสุนทรียสนทนา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากต้นฉบับเรื่อง On Dialogue ของ David Bohm ให้เข้าใจและนำไปทดลองปฏิบัติเป็นกลุ่มเล็กๆให้เกิดความชำนาญ และช่วยกันวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการทำสุนทรียสนทนา ดังต่อไปนี้



ประการแรก

ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการทำสุนทรียสนทนาให้ทะลุ การคิดร่วมกันทำให้ความคิดที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆมารวมตัวกัน และทำให้เกิดการเชื่อมโยง (coherent of thought) เพื่อให้เกิดพลัง เช่นเดียวกับการทำให้พลังงานแสงที่พุ่งกระจายไปคนละทิศคนละทางและไร้พลัง แต่เมื่อมีเทคโนโลยีทำให้แสงเกิดการรวมตัวกัน พุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน จะกลายเป็นแสงเลเซอร์ ที่สามารถทะลุทะลวงสิ่งต่างๆได้อย่างเหลือเชื่อ การเข้าใจปรัชญาของสุนทรียสนทนาอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในกระบวนการ สามารถฟันฝ่ากำแพงความลังเลสงสัยไปได้


ประการที่สอง

เป้าหมายสำคัญของสุนทรียสนทนาคือ การรื้อถอนสมมุติบัญญัติ ปลดปล่อยตนเองจากภารกิจ บทบาท หน้าที่ อำนาจและอุปาทานที่ห่อหุ้มตัวตนอยู่ในทุกรูปแบบ เพื่อมิให้กลายเป็นกำแพงอุปสรรค (blocking) ต่อการเรียนรู้เพื่อการเข้าถึงความจริงที่ฝังลึกอยู่ภายในตัวเอง (tacit knowledge) ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา จึงต้องรื้อถอนสิ่งเหล่านี้ด้วยความสมัครใจของตนเอง อ่อนน้อมถ่อมตัว มีเมตตากับตัวเอง โดยการไม่ยกตนข่มท่าน หรือไม่กดตนเองลงจนหมดความสำคัญ แต่ควรกำหนดบทบาทของตัวเองเป็นกัลยาณมิตร กับทุกคน ไม่ควรลืมว่า เป้าหมายของการรื้อถอนจำกัดขอบเขตอยู่ที่ตนเองเท่านั้น การก้าวล่วงไปวิพากย์วิจารณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงรื้อถอนคนอื่น เป็นสิ่งที่พึงละเว้นโดยเด็ดขาด

ประการที่สาม

การสาดไฟย้อนกลับมาค้นหาฐานคติ (assumptions) ที่ฝังลึกอยู่ในใจ แต่การเพ่งมองอย่างเดียว จะไม่เห็นอะไรเลย จนกว่าฐานคติเหล่านั้นจะแสดงตัวตนออกมาเป็นอารมณ์(emotion) อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีอะไรเข้าไปกระทบกับมันเข้า เช่นเมื่อได้ยิน ได้เห็น หรือใจนึกขึ้นได้ กล่าวกันว่า ฐานคติกับอารมณ์ ทำงานใกล้ชิดกันมากจนแทบแยกกันไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งที่ต้องทำในสิ่งแรกคือการเฝ้าสังเกต (observer) สิ่งที่มากระทบ (observed) ว่ามันทำให้เราเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมา และหาทางระงับมัน (suspension) เพราะถือว่ามันเป็นตัวปิดกั้นอิสรภาพในการรับรู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

ในทางปฏิบัติคือ เมื่อเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จะต้องไม่ให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านั้นด้วย เพราะโดยทั่วไปขณะที่ฟังนั้น เรามักจะ “บิวด์” ความรู้สึกบางอย่างตามไปด้วย เช่น รำคาญ หมั่นไส้ เคลิบเคลิ้ม ขำกลิ้ง ชื่นชม ฯลฯ และความรู้สึกเหล่านี้คือที่มาของ ‘bias’ ต้องมันตามให้ทันด้วยการฟังให้ได้ยิน (deep listening) สงบระงับ การตามความรู้สึกให้เท่าทันจึงเป็นการป้องกัน bias และการสงบระงับคือการสร้างปัญญาที่เกิดจากการฟัง เมื่อคิดว่า สามารถจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้แล้ว ก็สามารถเริ่มต้นตั้งวงคุยเพื่อคิดร่วมกันได้เลย

ประการที่สี่

การตั้งวงสุนทรียสนทนา ประกอบด้วยคนสองคนขึ้นไป 7-8 คน ถือว่ากำลังดี แต่ถ้าจำเป็นก็อาจมีได้ถึง 20 กว่าคน นั่งล้อมวงเป็นวงกลมให้ทุกคนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ทั้งหมด ตั้งกติกาการพูดคุยไว้อย่างหลวมๆ เช่น หลีกเลี่ยงการเสนอแนะ การโต้แย้ง การผูกขาดเวที การทำให้ผู้อื่นเสียหน้า พูดให้สั้น หลังจากพูดแล้ว ควรรอให้คนอื่นๆได้มีโอกาสพูดผ่านไปก่อนสองหรือสามคน ค่อยกลับมาพูดอีก ความจริงกติกาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนปฏิบัติกันอยู่แล้ว มากน้อยตามโอกาส แต่การนำกติกาขึ้นมาเขียนให้ทุกคนเห็น จะช่วยเตือนสติได้ดีขึ้น ในตอนแรกอาจต้องมีใครสักคนทำหน้าที่จัดการกระบวนการ (facilitator) เพื่อช่วยลดความขลุกขลัก แต่ถ้าผู้ร่วมวงสามารถนำกติกาเข้าไปอยู่ในใจได้แล้ว เขาจะควบคุมการสนทนาได้เอง และไม่จำเป็นต้องมีใครทำหน้าที่นี้อีกต่อไป

ดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในตอนแรกคือความอึดอัด เงอะๆงะ ทำอะไรไม่ถูก เพราะคนเคยชินกับการพูดคุยตามวาระที่เตรียมไว้ล่วงหน้า มีเป้าหมายในการพูดคุยที่ชัดเจน รับรู้ร่วมกันอย่างเป็นลำดับขั้น แต่ไม่เคยชินกับความ “ไร้ระเบียบ” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ บรรยากาศจะดีขึ้น เรื่องใดก็ตามที่เห็นว่ามีความสำคัญ ก็จะมีคนกระโดดเข้ามาร่วมพูดคุยมาก แต่บางเรื่องอาจโผล่ขึ้นมาครั้งเดียวแล้วก็เงียบหายจากวงสนทนาไปเลย เพราะไม่มีคนรับลูกต่อ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาในวงสนทนาแบบนี้

ประการที่ห้า

สิ่งที่ควรตระหนักเป็นเบื้องต้นคือ ไม่ควรหวังผลว่าจะต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากจบลงของสุนทรียสนทนา เพราะความคาดหวังดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่มีการยืนยันว่า สุนทรียสนทนาจะเกิดมรรคผลเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว เพราะความคิดไม่ได้หายไปไหน แต่อาจผุดตามหลัง จึงควรทำให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ข้อสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการสรุปแบบรวบยอด เพราะการสรุป เป็นการเปิดช่องว่างให้ใช้อำนาจแบบรวบรัด ขยายส่วนที่ชอบ ปิดบังส่วนที่ไม่อยากได้ยิน และข้อสำคัญคือการนำข้อสรุปไปเป็นเครื่องมือบีบบังคับให้คนอื่นทำตามความต้องการของตนเองในภายหลัง การสรุปควรถือเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่เข้าร่วมกระบวนการสุนทรียสนทนา ซึ่งสามารถหยิบประเด็นที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ตามความสนใจของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน

แม้สุนทรียสนทนาจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือไม่สามารถหวังผลได้ในระยะเวลาอันจำกัดดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คุณูปการของมันก็มีมากมาย แน่นอน “หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว” ความคิดถือเป็นสมบัติกลาง ไม่มีใครเป็นเจ้าของความคิด ทุกคนสามารถคิดในเรื่องเดียวกันได้ ความคิดเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ ในขณะที่คิดร่วมกันอยู่นั้น ความคิด คำพูดของคนหนึ่งอาจไปช่วยกระตุกให้อีกคนหนึ่งนึกอะไรขึ้นมาได้ และสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล สามารถนำไปแปลงลงสู่การปฏิบัติได้ในอนาคต พลังจากการคิดร่วมกันในวงสุนทรียสนทนา จะงอกเงยได้อย่างไม่ที่สิ้นสุด ขอเพียงปลดปล่อยให้มันหลุดพ้นจากสิ่งที่ห่อหุ้ม ทับถมมันอยู่อย่างแน่นหนาเท่านั้น ระบบปฏิบัติการสมอง กับคลื่นพลังงานความรู้และความคิด จะวิ่งเข้าหากัน จนเกิดความสว่างทางปัญญา และสามารถนำมาใช้ได้จริง

ท้ายที่สุด David Bohm ทิ้งท้ายไว้อย่างถ่อมตัวว่า เขาไม่เชื่อหรอกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า dialogue หรือที่บทความเรื่องนี้รับคำแปลมาจากที่อื่นว่า “สุนทรียสนทนา” นั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่เขาคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นเพียงการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้ อาจจะเป็นจริงก็ได้ เพราะปรัชญาตะวันออก ซึ่งเป็นต้นธารความคิดเรื่องสุนทรียสนทนาของ David Bohm ได้ให้การรับรองไว้ว่า ถ้าคนสามารถถอดถอนอำนาจ อุปาทาน ความคิด ความเชื่อที่ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนาทั้งหลายทั่วโลก มานั่งพูดคุยกันแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาของโลก แต่ความรักจะโบยบินออกไปเสมอ ตราบใดคนพูดจากันไม่รู้เรื่อง และสร้างโลกของความหมายร่วมกันไม่ได้ (Love will go away if we can not communicate and share meaning.)

บทส่งท้าย

บทส่งท้ายจากผู้เขียน อยากจะสรุปว่า การจัดการกับปัญหาเชิงระบบที่โยงใยแบบอิทัปปัจยตานั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะไม่สามารถแสวงหาจุดเริ่มต้น และไม่สามารถคาดการณ์จุดสิ้นสุดของมันได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ในท่ามกลางความยุ่งเหยิงซับซ้อน จับต้นชนปลายไม่ถูกนั้น “ตัวเรา” ก็คือส่วนหนึ่งของความโยงใยทั้งมวลและเป็นส่วนที่เราสามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุด เพราะมันเป็นตัวเราเอง แต่การจะทำเช่นนั้นได้ เราต้องรื้อถอนอุปาทาน สมมุติบัญญัติต่างๆที่ห่อหุ้มตัวเราอยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างอิสระ และมองเห็นความยุ่งเหยิงซับซ้อนภายนอกทั้งหลายว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง” และเราจะเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของมัน

เอกสารอ้างอิง

Bohm, David (1996) . On Dialogue. edited by Lee Nichol, Routledge, London


วิศิษฐ์ วังวิญญู (2547). ปฐมบทของการสนทนาอย่างสร้างสรรค์. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). จุลสารปันความรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2547 หน้า 21-23. สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ทีมงานวิชาการ สรส.ส่วนกลาง (2547). การเรียนรู้จากวาทพิจารณ์. โครงการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส). จุลสารปันความรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ธันวาคม-มกราคม 2547.

น.พ ประสาน ต่างใจ (2547). การบรรยายเกี่ยวกับ “การเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการการวิจัยบูรณาการ Transdisciplinary Commons” มหาวิทยาลัยมหิดล. 15 สิงหาคม 2547 ณ พนาศรม ต.คลองโยง พุทธมณฑล นครปฐม .


cool

http://mx.kkpho.go.th/healthedkkh/Dialogue.htm

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,462.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แก้ไขล่าสุดโดย มดเอ๊กซ เมื่อ 31 ต.ค. 2010, 08:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)


"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด (พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"

เมื่อวานในบันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ... ผมเล่าให้ฟังว่า ด้วยความบังเอิญที่ผมซื้อหนังสือ 1 เล่ม และ นิตยสาร 1 เล่ม ด้านในมีเรื่องราวของอาจารย์ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ทั้งสองเล่ม อย่างไม่น่าเชื่อ

บันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ที่ผมได้เล่าวิธีคิด "ไร้กรอบ" ตามที่หนุ่มเมืองจันท์เล่าไว้ได้สนุกมากครับ

ดังนั้น บันทึกนี้จึงขอเล่าถึงอีกบทความในนิตยสาร Secret เรื่อง "สุนทรียสนทนา กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ"


รูปภาพ


รูปภาพ

"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด
(พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"


จากหนังสือ Learn How to Learn ... ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ



คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ถ้าคุณจะไม่รู้จักผมเลย แม้แต่นิด และหากคุณมีคำถามว่า ผมเป็นใคร ทำอะไร ผมก็จะมีคำตอบกวน ๆ กลับไปว่า "ถ้าอยากรู้จักฉัน หาตัวเธอให้เจอก่อน" ครับ

แต่ถ้าให้ตอบจริง ๆ ในโลกสมัยสมมตินี้ผมคือ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้เคยนับถือศาสนาคริสต์มา 39 ปี ก่อนจะมาเพิ่มศาสนาเป็นพุทธ และต่อไปก็คิดว่าจะเพิ่มศาสนาไปเรื่อย ๆ จนไม่มีศาสนาเลย เพราะความจริงแล้วไม่มีศาสนาอะไรทั้งนั้น เราอยู่กับความไม่มี แต่เราไปบอกว่ามีเท่านั้นเอง

ผมเคยทำงานกับองค์การนาซา (NASA) วิจัยเกี่ยวกับการแตกหักของวัสดุจนได้รับรางวัล หลังจากนั้นกลับมาเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน บูรณาการศาสนากับชีวิตการทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและพอเพียง

หลังจากลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้ไปบวชที่วัดป่าเขาน้อย อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งมี หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นหัวหน้าสงฆ์ เมื่อบวชผมก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรม หลวงปู่สอนอะไรก็ทำตาม ท่านให้วางตำราและให้กำหนดพุท-โธให้มาก ๆ บวชได้ 13 วันผมก็เข้าใจเรื่องของการทำสมาธิ

หลังจากนั้นผมไปศึกษาธรรมกับ หลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร (หลวงพ่อกล้วย) วัดธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น ท่านสอนไม่ให้ติดในภาษาสมมติ ไม่ให้ติดว่าเป็นนักปฏิบัติ ท่านให้นำกายมาปฏิบัติ มาปล่อยวางไม่ให้ยึดแม้แต่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้ฝึกสติด้วยการไปนั่งสมาธิในป่าช้า เพราะที่ป่าช้าจะมีความคิดแบบเดียวผุดมาให้ฝึก ทำให้แยกได้ทันทีว่า นี่สัญญาหนอ นี่สังขารหนอ จิตเกิดแล้วหนอ

หลายคบอกว่าผมสอนธรรมะแบบนอกกรอบ ที่ต้องนอกกรอบเพราะแบบเดิม ๆ นั่นไม่มีคนอยากฟัง หน้าที่การงานของผมอย่างหนึ่ง คือ การไปบรรยายให้ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูง ๆ ฟัง และท่านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเบือนหน้าหนีทันทีที่ได้ยินว่า ศีลห้า นรก สวรรค์ ผมเลยต้องหาวิธีหารอื่นมาหลอกล่อ อย่างเช่น เมื่อสอนเรื่องการบริหารจัดการให้ผู้บริหารฟัง ในระหว่างสอนผมก็สอดแทรกธรรมะไปเรื่อย ๆ แบบ "แนบเนียนนุ่มลึก" โดยที่เขาไม่รู้ตัว หลังจากนั้นให้เขาฟังตามไปเรื่อย ๆ จนตอนท้ายจะขมวดให้ฟังว่า ทั้งหมดที่สอนมาอยู่ในพระไตรปิฏก ฟังอย่างนี้เขาก็จะ "ปิ๊ง" ได้เอง และไม่ตั้งแง่ปฏิเสธตั้งแต่แรก

ทุกวันนี้ผมสอนธรรมะแบบ "ไดอะล็อก" (Dialogue) หรือเรียกเป็นไทยว่า "สุนทรียสนทนา" สอนธรรมะแบบล้อมวงคุยกันในระหว่างคุยกันก็เป็นเจริญวิปัสสนาแบบหนึ่ง สนทนาไปด้วย ดูจิตไปด้วย เป็นการสนทนากันแบบฟังเชิงลึก (Deep Listensing) ที่เรียกได้ว่าต้อง open mind, open heart, open will เพื่อให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเราเอง ฟังเพื่อเก็บเกี่ยว ฟังเพื่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ฟังเพื่อให้เกิดความเคารพในความแตกต่างกัน ทั้งทางความคิดและจิตใจ บางทีเราก็เรียกการพูดคุยแบบนี้ว่า "วงเล่าเร้าพลัง" คือมาคุยกัน เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับฟังกัน อย่าเพิ่งไปเถียงกัน อย่ารีบร้อน "สวน" หรือ "สอดแทรก" ซึ่งเป็นการสอนให้เราฟังอย่างมีสติ อย่าไปเพิ่งโทษ อคติ ลำเอียง คิดเอาเอง ซึ่งการฟังเชิงลึกได้ดีต้องฝึกฟังเสียงภายใน (Inner Voice) ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เสียงที่ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หมั่นไส้ อิจฉา ด่าทอ ยินดี กังวล นึกไปถึงเรื่องอื่น ไปนอกเรื่อง ฯลฯ เมื่อมีเสียงภายในหรือความคิดแทรกแซงก็หัดดับ หัดระงับ หัดข่ม แล้วมาจดจ่อ มีสมาธิ น้อมใจเข้าไปฟังคนพูดพูดต่อไป

เราอาจจะนั่งล้อมวงกันในสถานที่สบาย ๆ นั่งสบาย ๆ ปูเสื่อแจกหมอน นอนเอนหลังก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องใด หรือวิ่งเข้าวิ่งออกจนพลังของวงเสียสมดุลไป "พลัง" ในที่นี้คือ พลังที่ดีในการกระตุ้นต่อมความคิด เป็นพลังที่จะสร้างงาน สร้างปีติ สร้างสติ เรียนรู้ด้วยในที่เป็นกลาง ฯลฯ

หลักการดูจิตขณะสนทนาของผมคือ ถ้าจิตของเราเกิดอาการ กายจะเปลี่ยนแปลง เลือดลมจะวิ่ง กล้ามเนื้อน้อยใหญ่จะเกร็งกลางอกจะหด ๆ หู่ ๆ เต้น ๆ เสียว ๆ เราก็หายใจลึก ๆ ดึงกำลังสติขึ้นมาคิดในแง่ดี ๆ เข้าไว้ หากจิตยังไม่ปกติ พึงสังวรว่า "อย่าได้ออกอาการทางวาจาทางกาย" นะครับ สมมติว่าเป็นสุนัข เวลาที่จิตเกิดอาการเราจะเห็นชัด คือกายจะฟ้อง เช่น กระดิกหางหรือหดหาง สำหรับเราซึ่งเป็นคน ก็ควรจะดูกายของเราให้ทันด้วย จะได้รู้ว่าจิตเกิดหนอ ดังนั้น ถ้าเราสนทนากับใคร ก็ฟังเขาพูดไป สำเหนียกไปที่จิตด้วย จะเห็นความคิด "วิตก" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอนาคต) "วิจารณ์" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอดีต) ผุดขึ้น ขอให้รู้เท่าทัน วิตกหนอ วิจารณ์หนอ

อย่างไรก็ตาม ในการพูดคุยผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ แต่ผมเป็นกระบวนการนำพาผู้ร่วมเรียนรู้ไปเข้ากระบวนการ ไปเจอประสบการณ์ ไปค้นพบด้วยตนเอง ไปพิสูจน์ความเชื่อกัน ผมมิบังอาจไปสั่งสอนใครนะครับ แต่ยั่วให้คิด ตั้งคำถามให้คิด แหย่ ๆ เพราะถ้าไม่แบ่งแยก นั่นผู้เรียน ฉันผู้สอน เจ้าตัว "อัตตา" จะแทรกได้ง่าย ๆ

นอกจากนั้นผมยังมีกติกาว่า จะไม่บรรยายแบบที่มีผู้ฟังเยอะ ๆ แต่จะให้การพูดคุยแบบสุนทรียสนทนาร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า เยี่ยมบ้านพักคนชรา เยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย นั่งคุยกันที่สวนสาธารณะ นั่งดูหนังด้วยกัน แล้วมาคุยกันในบรรยากาศสบาย ๆ ฯลฯ

สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร
ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ

http://gotoknow.org/blog/scented-book/253599

tongue

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,459.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


คำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับ
สุนทรียสนทนา



มันจะเหมือนการไปปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ? ที่ว่าเมื่อไปหลีกเร้นภาวนาเจ็ดวันสิบวัน ใหม่ ๆ ก็รู้สึกดี
เหมือนมีบรรยากาศห่อหุ้มรอบตัว ทำให้อะไรก็ดูดีไปหมด ชีวิตแช่มชื่นเบิกบาน โกรธใครไม่เป็น
แต่แล้วมันก็ค่อย ๆ หดตัว หาญสูญไปในที่สุด ถ้าเป็นเช่นนี้ ทั้งมณฑลแห่งพลังและการปฏิบัติธรรม
เป็นมายาการหรือไม่ ? เมื่อเรากลับสู่โลกความเป็นจริง มายาการนั้นก็ค่อย ๆ ปลาสนาการไป ?


ในเรื่องนี้ สุนทรียสนทาดูเหมือนจะแตกต่างจากการปฏิบัติธรรม ทั้งวิธีการ กระบวนการ และผลที่ได้
แต่ไม่โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมก็มีหลายสำนัก มณฑลแห่งพลังอาจจะเป็นสำนักหนึ่ง
แห่งการปฏิบัติธรรมก็ได้ ลองมาดูว่ามันแตกต่างกันและเหมือนกันอย่างไร เราอาจจะได้เรียนรู้อะไร
จากใคร่ครวญประเด็นเหล่านี้บ้างไม่มากก็น้อย และนำไปสู่การตอบคำถามข้างต้น


ที่แตกต่างประการแรกคือ มิติของความเป็นองค์กรจัดการตัวเอง กล่าวคือการเข้าไดอะล็อกอาจจะมี
กติกาชุดหนึ่ง แต่ก็เป็นกติกาที่ทุกคนรวมทั้งผู้ดำเนินรายการ (ซึ่งเมื่อทุกคนคุ้นเคยกับกระบวนการ
ไดอะล็อกดีแล้วก็ไม่ต้องมีผู้ดำเนินการ )ต้องปฏิบัติตาม นอกนั้นแล้วผู้เล่นคือองค์กรจัดการตัวเอง
ที่ไม่มีใครเข้ามาจัดการกับตัวเขาหรือเธอ ในการปฏิบัติจะมีผู้นำ จะมีครูอาจารย์สั่งการให้ปฏิบัติตาม
แผนการเรียนรู้ของท่าน โดยจะมีเนื้อที่ให้กับองค์กรจัดการตัวเองมากน้อยแล้วแต่ความยืดหยุ่นของ
แต่ละเจ้าสำนัก ถ้าหากเข้าใจในกระบวนการศึกษาที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ใหม่ คือสอดคล้องกับ
ศาสตร์แห่งการเรียนรู้รับรู้ทั้งหลาย ที่มีการวิจัยทางสมองมารองรับนั้น ก็จะได้วิธีการจัดการศึกษา
แบบใหม่ ที่เปิดเนื้อที่ให้แก่ความเป็นองค์กรจัดการตัวเองมาก ดังจะเห็นได้ว่า บางสำนักก็อาจจะมี
การพูดคุยกัน และเสียงของผู้เข้าร่วมก็มีน้ำหนักมากกว่าการเป็นนักเรียนเพียงคนหนึ่งเท่านั้น


ถ้ามองจากมุมมองของสุนทรียสนทนา นอกจากจะมีมีเนื้อที่ให้แต่ละคนตลอดจนแต่ละกลุ่มสนทนา
ได้เป็นองค์กรจัดการตัวเองอย่างมหาศาลแล้ว สุนทรียสนทนายังให้พื้นที่ของเนื้อหาแก่กลุ่มคนอีกด้วย
เพราะว่าสุนทรียสนทนาเป็นกระบวนการ ไม่ได้เป็นองค์ความรู้ที่ตายตัวเกี่ยวกับชีวิต การงานและโลก
ในแต่ละกลุ่มแต่ละวง เนื้อหาจะมีความแตกต่างหลากหลายกันไป สุนทรียสนทนาเป็นเพียงกระบวนการ
ที่เปิดเวทีให้คนได้คุยและรับฟังกัน จริง ๆ จัง ๆ ผลที่ได้ทางเนื้อหาที่พูดคุยกัน จึงเป็นเรื่องของแต่ละ
กลุ่มเอง การเป็นคำตอบหรือแนวทางหรือเบาะแสแห่งคำตอบในแต่ละเรื่องเช่นนี้ ทำให้ผลที่ได้
ในแต่ละคนรวมถึงกลุ่มจะรู้สึกเป็นเจ้าข้างเจ้าของ ซึ่งจะเป็นดีกับความรู้สึกร่วมและความยั่งยืนที่
จะเกิดขึ้นจากการนำคำตอบเหล่านี้ไปปฏิบัติด้วย


สิ่งที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา ที่แตกต่างอีกก็คือ เมื่อเกิดปัญญาจากการสนทนา คนที่เคยไป
ปฎิบัติธรรมก็จะเห็นได้ว่ามันเป็นวิปัสสนากรรมฐานในรูปแบบหนึ่งแน่ ๆ เพราะเมื่อเข้าวงสนทนา
และเริ่มฟังอย่างมีทัศนคติที่ถูกต้อง คือ การฟังอย่างมีสมาธินั่นเอง การพูดคุยก็ไม่เน้นข้อโต้แย้ง
หรือเอาชนะคะคาน ผลที่ได้คือความรู้สึกบวกและดีต่อกัน เป็นการเจริญพรหมวิหารไปด้วยในตัว
ในความนิ่งสงบแห่งจิตใจ ในการฟัง และความเป็นกุศลจิตเมื่อดำรงอยู่ในพรหมวิหาร คือ
เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา คำอุเบกขานี้หมายความว่า ไม่ตัดสินถูกผิดผู้อื่น ให้ห้อยแขวน
เอาไว้ก่อน แต่ให้ความใส่ใจสนใจผู้อื่น สุขทุกข์ ความคิดความอ่านของเขาหรือเธอ
เมื่อการสนทนาดำเนินไปถึงช่วงวุฒิภาวะที่สี่ ตรงนี้เอง ที่การฟังจะเป็นความใส่ใจอย่างยิ่ง
การเหนี่ยวนำของกลุ่ม ทำให้ทั้งกลุ่มมีสมาธิ มีอุเบกขาไปด้วยโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดโยนิโสมนสิการ
เกิดการใคร่ครวญทางปัญญา มีการโผล่ปรากฏแห่งญาณทัศนะ อันเป็นปัญญาที่ก่อผลอย่างยั่งยืน


อีกประการหนึ่ง เมล็ดพันธุ์อันเกิดจากการใคร่ครวญดังกล่าว มิได้สิ้นสุด เมื่อการสนทนายุติ
มีรายงานมากหลาย จนเรียกได้ว่าทุกคนที่เข้าสู่การสนทนาด้วยความจริงใจ คำถาม ปริศนา
ทั้งที่คิดขึ้นในวงสนทนา และคิดขึ้นมาได้ในภายหลัง มันเกิดการบ่มเพาะและรอเวลาแห่ง
การโผล่ปรากฏ สำหรับหลายคน คืนวันนั้นหรือคืนต่อไป คำถามคำตอบจะผุดพรายขึ้นมา
มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ และไม่ได้สิ้นสุดลงตรงนั้น ด้วยปัญญาด้วยวิถีใหม่แห่งการฟัง
และการสนทนา การบ่มเพาะยังดำเนินต่อไป ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์เป็นเดือนและเป็นปี
อยากจะเรียกได้ว่าตลอดชีวิต

- จากสุนทรียสนทนา -
- วิศิษฐ์ วังวิญญู เขียน-
- หน้า 126 ถึง 128 -

smiley

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,551.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา (...)
บทความจาก

WWW http://gotoknow.org

Page Visits: 211 พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา เคารพความแตกต่างประสบการณ์ เป็น web master ของผม
ผมดูแล เว็ป เล็ก ๆ ชื่อ http://managerroom.com เป็นเว็ปแบบ บอร์ดทั่วๆไป เช่นเดียวกับพวก pantip.com ที่ผมเข้าไปแจมอยู่เสมอๆ

คนที่โพสต์เข้ามามีหลายจำพวก ได้แก่
(ก) อ่านแล้ว จิตเกิด ยินดี ร่วมวง กระโดดใส่ รีบไปคว้า
(ข) อ่านแล้ว จิตเกิด แต่ เป็นแบบอกุศล คือ เข้า “ขย้ำ” กัดแหลก
(ค) อ่านแล้ว ไม่อยาก เสนออะไร ใบ้ๆ เงียบ เอาตัวรอดดีกว่า เกิด ความอาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก

คนไทยใช้เว็ป จะแสดง กำพืดออกมามากมาย เช่น สำนวนโหดๆ การเพ่งโทษ การยกตนข่มท่าน การคาดหวังให้คนมาชื่นชม การเยินยอ การแบ่งพรรคพวก ฯลฯ นี่ สะท้อน ลักษณะของการศึกษา ที่ เป็นแบบ Format หรือ แบบ Industrial เป็นการศึกษาที่ไม่เข้าถึง แก่นของ ไตรสิกขา นั่นคือ ไม่เป็น Natural

อย่างไรก็ตาม ผมได้ ข้อคิด ของผมเองดังนี้


โดยถ้าเราพิจารณา ตาม หลักการของ Dialogue ที่มี ๔ ระดับ ของ การสนทนา …. เราจะพบว่า

(ก) ระยะแรก : คนที่ เงียบ เอาแต่ อ่านๆๆๆ หรือ โพสต์ๆๆๆ ไม่สนใจใคร วันๆเอาห่วงว่า จะมีใครมาอ่านไหม เอาตัวกู ของกู เป็นสำคัญ หรือ วันๆ จิตใจจดจ่อ วันนี้ จะโพสตื จะเขียนอะไรดี เห็น เว็ป เป็น ยาที่ขาดไม่ได้ ฯลฯ ตัวใคร ตัวมัน ต่างคนต่างโพสต์ เอาผลงานโพสต์ไปเป็นดัชนีวัดผลงาน

(ข) ระยะสอง : คนพวกนี้ จะ เชียร์ จะโต้แย้ง แต่ ก็จะใช้ ระดับของจิตที่เกิดแรง ระดับ เบต้า รัก ชอบ ชัดเจน แบ่งกลุ่ม ผลที่ตามมา คือ บ้างได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูในเว็ปนี่เอง บ้างได้อกุศล บ้างได้กุศล หลายคน “งอน” ไม่กลับมาที่เว็ปอีกเลย หลายคนประกาศ กร้าว “ฉันไม่คบกับแก” “แกอย่ามาโพสต์ อีกนะ” คนใน สองระดับนี้ ยังไม่พัฒนาตามแนว สุนทรียสนทนา (Dialogue) เลยครับ

(ค) ระยะสาม : เป็นระยะ ที่เหนือ การสนทนาทั่วไป เข้าสู่ สุนทรียสนทนา คือ เริ่ม รับฟังทางลึก (deep listening) เริ่มเคารพตัวตนของคนอื่น เคารพในความคิดของคน มองคนในแง่ปัจเจกชน เริ่มย้อนดูตนเอง เริ่ม “เฉลียว”ใจ เช่น “ เอ๊ะ หรือ ที่เขาบอกเล่า จะมีมูล” เริ่มมีคำถามในใจ เริ่มกลับไปทำงานแต่ คำถามก็ตามไปให้ย่อย ให้ขบ เริ่มมองคนที่คิดต่างว่าเป็นคนที่มีพระคุณ เริ่มอยาก ลองทำ เริ่มอยากแปลง ข้อมูล เป็นปฏิบัติ

รูปภาพ


การจะเข้ามาสู่ ระยะสามนี้ คงต้องผ่าน การฝึก เพราะ เป็น ทักษะ สำคัญของ LO & Km

การรู้เท่าทัน “ เสียงภายใน (Inner voice) / เสียงแห่งการพิพากษา (Voice of judgement) / ความคิดที่เป็นสังขาร การปรุ่งแต่ง วิตก (คิดฟุ้งซ่าน ไปใน อนาคต) วิจารณ์ (เพ่.งโทษ เทียบกับกติกาของตน หาข้อผิดคนอื่น)” นี่แหละ คือ การมีสติ รู้เท่าทัน จิต และ ความคิด

การสนทนาในระดับ สุนทรียสนทนา จัดเป็นการปฏิบัติธรรม ในแนว มหาสติปัฏฐานสี่ เพราะ เราต้อง ดูจิต ขณะสนทนา ดูตัวเราเองบ่อย ๆ (โอปนยิโก) ใช้ โยนิโสมนสิการให้มากๆ

คนเป็น Web master เอง ก็ต้อง มีทักษะในระดับสามนี้เป็น อย่างน้อย จึงจะ รักษาบรรยากาศการเรียนรู้ ในเว็ปได้

(ง) ระยะสี่ : สนทนากันแบบ Flow ไหลลื่น “ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ” นี่แหละ เป็น เกลียวความรู้ แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้ บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก Mental model น้อยมาก คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน Share vision ร่วมกัน คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์ (System thinking) ฯลฯ

สุดท้ายนี้ เราลองมาพิจารณาตัวเราเอง ( Hansei ตัวของเราเอง ) สำรวจตัวเราเองว่า ทักษะในการสนทนาของเรา อยู่ใน ระดับไหน และ จงให้ อภัย คนที่เขา ยังอยู่ในระดับ 1 และ 2

คำหลัก: สุนทรียสนทนา
โดย คนไร้กรอบ บล็อก (สมุด) คนไร้กรอบ


http://www.netforhealth.net/rdhc/index. ... 52&id=5449


cool

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,460.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 09:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

ชอบ ชอบ... ถ้าครบแล้วบอกด้วยนะ...
เอกอนจะพิมพ์ไปเก็บเข้า...แฟ้ม..."คลังปัญญา"...

:b17: :b17: :b17:

ขอบคุณ ขอบคุณ...

นี่เอกอน...นะ... ไม่ใช่ก๊อตซิล่า...ม๊ดเอ๊กซ์อย่าตาลายนะ...

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ตั้งแต่ ไหนหว่า ใช่ ๆๆๆๆ เปิดเน็ท หาเพลง การ์ตูนฟัง
โดเรมอน อิ๊กคิวซัง จำพวก ซุปเปอร์ฮีโร่ ๆๆๆๆ

โอยยยย ไม่ได้ ตั้งใจ จะมามั่ว จะมาทำเว็บกับเขาเลย

แล้วอยู่ดี ๆ ลมอะไรหว่า พัดเราไป ๆ มา ๆ

ช่วยเขา ทำเว็บ จะ สิบกว่าเว็บแล้ว

7 แน่ ๆ จะเจ็ดปีแล้ว ในโลกอวาตาร แห่งเน็ท

แต่ละปี ที่ทำเนื้อ หา คิด ๆ เขียน ๆ เสริดเอ็นจิ้น ทะลุโลก

ลองผิด ๆ ถูก ๆ ปรับ ๆ เปลี่ยน ๆ

ทุกข์ ๆ สุข ๆ ตามสภาพ พยายามเอา ธรรม มั่ง
ไม่ ธรรม มั่ง มาประคอง ดวงจิต ลิขิตแห่งใจตัว มั่ว ๆ จนมั่วน้อยลง

จากที่เคยหวือหวา ก็ ค่อย ๆ น้อยลง แล้ว อาจเบื่อ ๆ

ใจหนึ่ง อยาก อยู่เงียบ ๆ
ใจหนึ่ง ขอหน่อย น่า อย่าเพิ่งไปเลย

จนในที่สุด ก็ลากยาวมา เป็น หมื่น ๆ กระทู้แล้ว
ว่าจะ ว่าจะ ว่าจะ เลิกทำเว็บหลายรอบ

แต่ ลมอะไรหนอ ลมเย็น ๆ เย็น ๆ จริง
พัดผมเย็น และ พอผมเย็น ยิ่งเย็น คนอื่นเย็นไปด้วย

ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ของผม ในการทำเว็บ อาจเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย ก็ได้ นะ

วิชาดอกอะไร ไดอาล็อก สุนทรียสนทนา หรือ ภาวนาสนทนา ที่กำลังมาแรง

ผมทำปูพื้นไว้ ให้คนได้รู้จัก จุดประกาย เทียบเคียง พระธรรมอันอำไพ เอาเอง
ธรรมมะไร้กาลเวลา ธรรมะบูรณาการ ธรรมะใส่สูท ธรรมมะติดปีกแห่งเวลา ท้ายุคสมัย

ทำห้องไว้แล้ว

ทำเองดีกว่า ด้วยสมองและสองมือ ของเราและคนอื่น ๆ

ปฏิวัติโลก ได้ การปฏิวัติในห้องนั่งเล่น ระเบิดจากภายใน ใจเปลี่ยน โลกทั้งใบย่อมเปลี่ยนด้วย
ใจแห่งธรรม ใจแห่งปัญญามหาสาคร สาธุ สาธุ สาธุ

แวะไป อ่านได้ ผมลง เรื่อย ๆ ช่วงแรกลงให้อ่าน อย่างเดียว คงจะลุยภายหลัง
ผมไม่เก่ง แต่ผมฝึก มั่ว ๆๆๆๆๆๆๆ จนกว่า จะ มั่วน้อยลง

จบอาการฟุ้ง อาการพล่าม ๆๆๆๆๆ

สุนทรียสนทนา - ไดอะล็อก (Dialogue)

วงเล่าเร้าพลัง เปิดหู เปิดตา เปิดใจ ฟังเสียงภายใน (Inner Voice) สติ เบิกบาน จินตนาการ ใน ไดอะล็อกพุทธะ สุนทรียสนทนา

http://www.tairomdham.net/index.php/board,95.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพรูปภาพ

สองเล่ม พลิกจิต พลิกกระบวนทัศน์แห่งหมู่ดาวเลย นะ

ตั้งแต่ คุณปู่คนนึง แก ลง ทฤษฎีไร้ระเบียบ ลาก เราไปจนสุดขอบโลกเลย
ทำให้มุม มองในการทำเว็บ ทำกระทู้ ทำบอร์ดเปลี่ยนไปเลย

จนในที่สุด จบลงตรง นี้ หรือไม่ ต่อไป ไม่รู้ ๆๆๆๆ

สาธุ สาธุ สาธุ ฝันดี จะหลับ จะตื่นขอให้เป็นสุข นะ

สุข เบื้องต้น สุขท่ามกลาง ถึง สุขในที่สุด วิมุติธรรม โน่นเลย

สุขทางโลก แล้วอย่าประมาท จงบรรสาน ด้วยสุขแห่งธรรม นะ

โลก อิงอาศัย ธรรม
ธรรม อิงอาศัย โลก

เห็น โลก แล้ว เห็น ธรรม
พอ เห็น ธรรม แล้ว เห็นโลกหลากสี นะ

ไปล่ะ จบ พล่ามจนลืม ธุระสำคัญไป ไหลจน ฮ่า ๆๆๆๆ

แถม ๆๆๆ

http://www.prachasan.com/ai/greatbook.jpg

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แก้ไขล่าสุดโดย มดเอ๊กซ เมื่อ 31 ต.ค. 2010, 09:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


รูปภาพ

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร