วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ดูแล-รักษาผู้ป่วยด้วย “ธรรมะบำบัด”


จิตที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้กายมีสุขภาพดีตามไปด้วย
ผู้ที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย
มีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 29
ยิ่งคนที่มีความวิตกกังวลด้วยแล้ว
จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า
ความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้า และความฉุนเฉียวนั้น
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพตามมา
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพกายหรือปัญหาสุขภาพจิต


สำหรับคนไทยแล้วปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังคุกคามคนไทยในปัจจุบันพบว่า
อันดับแรก คือ ความเครียด รองลงมา คือ ซึมเศร้า
ซึ่งสาเหตุของปัญหามักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
สูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียหน้า
ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าสูญเสียเช่นกัน



เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิต จึงมีผู้ป่วยหลายราย
ที่เลือกหันหน้าเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ด้วยการยึดหลักคำสอนทางศาสนา
เพื่อช่วยทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น
ในต่อมาแวดวงจิตแพทย์จึงได้เริ่มนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบำบัดจิตใจ
ให้กับผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่า "ธรรมะบำบัด"


เรื่องนี้ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า
การนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
ทั่วโลกจะเน้นเรื่องการปรับอารมณ์ความคิด
เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้น
ในปัจจุบันจิตแพทย์หลายๆ ท่านก็ได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
มาบำบัดผู้ป่วยทางจิตควบคู่ไป กับแนวทางการรักษาตามหลักจิตเวชศาสตร์
โดยมองว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก
เนื่องจากแนวทางจิตบำบัดจะเน้นในเรื่องการปรับความคิด
ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องการปรับความคิด
เรื่องสติปัญญา และเรื่องฝึกจิตสมาธิเช่นกัน



อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การเลือกผู้ป่วย
ซึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มของคนที่มีความพร้อม เช่น
เป็นผู้ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้วอาการดีขึ้นในระดับหนึ่ง
ไม่มีอาการหลงผิดมีการรับรู้เรื่องราวของตัวเอง
เป็นคนที่มีความคิดวิเคราะห์ที่จะประมวลเรื่องราวต่างๆ
เพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง ควรเป็นผู้ป่วยที่มีความสนใจในเรื่องธรรมะ
มีความเต็มใจหรือสมัครใจที่จะรับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว
หากไม่เต็มใจหรือเป็นคนที่จิตใจฟุ้งซ่าน
ไม่ยอมรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก็ยากที่จะใช้ธรรมะบำบัดได้


สำหรับ "ธรรมะบำบัด" ในพระพุทธศาสนา นั้นมีหลักอยู่ 3 ประการคือ
ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งและสงบ[


หลักธรรมทั้ง 3 ประการเป็นวิธีคิดง่ายๆ
ที่เป็นเหตุเป็นผลกันเมื่อเราทำความดีคุณค่าในตัวเราก็สูงขึ้น
เราจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ ความยอมรับนับถือในตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้น
การละความชั่วจะทำให้คนอื่นรักและนับถือเรามากขึ้นด้วย
คนที่มีคุณค่าในตัวเองนับถือตัวเองจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี
เมื่อเรารักตัวเองเป็นแล้วก็ต้องรู้จักรักคนอื่นด้วย
ซึ่งหลักธรรมในทุกๆ ศาสนาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้
โดยเฉพาะหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ถ้าเราได้ฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้จักปล่อยวาง
จะช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นเราก็จะพ้นจากความทุกข์มีความสุขมากขึ้น


ถ้าเป็นศาสนาคริสต์ธรรมะบำบัดก็จะเป็นเรื่องของการไถ่บาป การให้อภัย
หรือแม้แต่ศาสนาอิสลามเมื่อเราเกิดความทุกข์ทางใจหรือเกิดความยุ่งยากในชีวิต
ธรรมะบำบัดก็จะเป็นในเรื่องความเชื่อในพระเจ้า
ซึ่งมีความเชื่อว่าจะต้องก้าวผ่านด่านทดสอบให้ได้
ความเชื่อและความศรัทธาตามหลักศาสนาทุกๆ ศาสนา
สามารถใช้เป็นหลักคิดให้เราเชื่อและนำไปปฏิบัติตาม
ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้


สำหรับการนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้กับปัญหาสุขภาพจิตนั้นสามารถทำ ได้ 2 ทาง
ทางแรกนำมาเป็นแนวทางฝึกคิดฝึกปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้เรายึดติด
เช่น อาการซึมเศร้า ที่เกิดจากเราสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตแสดงว่า
เรายึดติดถ้าเราฝึกคิดอย่างเป็นระบบมีเหตุผล
เราก็จะสามารถปล่อยวางและเป็นสุขขึ้นได้
แต่ถ้าเราทุกข์ใจมากๆ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือ
การไปพบทีมสุขภาพจิต
จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยเป็นกระจกสะท้อนปัญหาให้เราได้


ธรรมะบำบัดยังสามารถใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน มะเร็ง หรือแม้กระทั่งเอดส์
เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความทุกข์ใจเกี่ยวกับปัญหาของการเจ็บป่วยของตัวเองอยู่แล้ว
กรณีเช่นนี้ ธรรมะบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ความจริงของชีวิต
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความทุกข์จากการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข
เรียนรู้ที่จะทำสมาธิหรือสติบำบัด
ผู้ป่วยโรคทางกายต้องทำให้ใจไม่ป่วยไปตามกาย
เมื่อมีจิตใจที่เข้มแข็งร่างกายก็จะไม่ทรุด
ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีโครงการที่จะทำเรื่องสมาธิหรือจิตบำบัด
รักษาผู้ป่วยโรคทางกายด้วย


อย่าปล่อยให้กายป่วยไปพร้อมๆ กับใจป่วย
ลองบำบัดด้วย “ธรรมะ” หลักใจใกล้ตัวที่ใครๆ ก็ทำได้.



ข้อมูลจาก Hospital Healthcare ปีที่ 4, ฉบับที่ 30, มีนาคม 2553
ที่มา...กรมสุขภาพจิต


:b48: :b8: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร