วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 20:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สร้างดุลยภาพร่างกาย ‘บำบัด’ โรค


ฟังเสียงร่างกายปรับพฤติกรรมใช้ชีวิต



เวลาปวดหัวหนักๆ หรือตอนเป็นหวัดไม่สบาย
คนส่วนใหญ่มักหันไปพึ่งยาสามัญประจำบ้าน
อย่างพาราเซตามอน500 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด
ที่ห้ามกินตอนขับรถเพราะจะทำให้ง่วงนอน
ยาธาตุน้ำขาวหรือยาลดกรดในกระเพาะ
ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
หลายคนคงอดสงสัยไม่ได้ว่า เมื่อกินยาถูกต้องตามอาการแล้ว
ทำไมอาการไม่หายขาดไปสักที
ซึ่งหลายคนอาจกำลังหยุดสำรวจตัวเอง
ไม่ต้องตกใจอาการเหล่านี้สามารถป้องกัน
แล้วรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
โดยเริ่มรักษาจากต้นเหตุของร่างกายที่ทุกคนเป็นหมอได้ด้วยตนเอง


ถ้อยคำยืนยันจากผู้ป่วยที่ ฟื้นฟูตัวเอง ด้วย “ดุลยภาพบำบัด”
ในงานระพีเสวนาครั้งที่ 3 ซึ่งมูลนิธิระพี – กัลยา สาคริก
มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สถาบันอาศรมศิลป์ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ


รศ.พญ. ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชกรรมฝังเข็ม
แนวทางดุลยภาพบำบัด

บอกว่าครงสร้างร่างกายของทุกคนเสียสมดุลได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง
ทำให้เกิดอาการป่วยลักษณะต่างๆ วันนี้แค่ปวดหัว ปวดแขน ปวดคอ
ข้อเท้าแพลง แต่อนาคตอาการเหล่านี้
อาจลุกลามเป็นสาเหตุของ โรคภูมิแพ้ ไมเกรน
ปวดกระดูกเรื้อรัง ไปถึง อัมพฤต อัมพาต


แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการสร้างดุลยภาพบำบัดที่ทำได้ง่ายๆที่บ้าน
ด้วยท่าบริหารร่างกายเบื้องต้น 4 ท่า
รวมถึงการฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี ฝึกสังเกต
และทำความเข้าใจร่างกายตัวเอง สังเกตตั้งแต่การกิน การขับถ่าย
และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
ซึ่งหลักดุลยภาพศาสตร์ไม่เพียงควรเรียนรู้
แต่ทุกคนจำเป็นต้องรู้เอาไว้ว่าโครงสร้างของมนุษย์สมดุลอย่างไร
แล้วจะเสียสมดุลเมื่อไร
โครงสร้างร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่อยู่ในท้อง ตอนคลอด
หรือตามสิ่งแวดล้อมและอาชีพ
หลายคนคิดว่าต้องประสบอุบัติเหตุเท่านั้นโครงสร้างถึงจะเสียสมดุล
แต่ไม่ใช่ใครเคยข้อเท้าแพลง
สังเกตให้ดีว่าเคยแพลงเท้าไหนก็จะเป็นซ้ำๆ ที่เท้านั้น
แสดงว่าตรงนั้นคือ จุดอ่อนของเรา
บางคนไม่สนใจปล่อยให้หายไปเอง จากแพลงปวดที่ข้อเท้า
จะไปปวดที่หัวเข่า สะโพก ลามไปถึงหลัง หัวไหล่โดยไม่รู้ตัว
ถ้าอาการลามมาที่สะโพก เวลามีลูกผู้หญิงจะคลอดลำบาก
ส่วนคนที่ต้องสะพายกล่อง สะพายกระเป๋าจนปวดคอ
จะตามมาด้วยอาการปวดหัว หูอื้อ ตาพร่า ตาลาย
หรือบางคนไม่รู้ว่าตัวเองหน้าเบี้ยว คางเบี้ยว
ทั้งที่โครงสร้างผิดรูปเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคภูมิแพ้
เพราะทำให้ระบบทางเดินหายใจติดขัด
เป็นที่หมักหมมของเชื้อโรคในโพรงจมูก
ถึงตอนอาการกำเริบแล้วถึงค่อยมาหาหมอ
แบบนี้เงินเท่าไรก็ไม่พอ” รศ.พญ.ลดาวัลย์ เน้นให้คิด


แล้วจะทำอย่างไร ในเมื่อมนุษย์ต้องใช้ชีวิต
แล้วไม่สามารถอยู่เฉยๆ ได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนวทางดุลยภาพบำบัด
บอกว่า มนุษย์ต้องทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ตามธรรมชาติ
จะห้ามไม่ให้เด็กคลอดออกมา ไม่ให้หัดเดิน
ไม่ให้เล่นกีฬาได้ไหมก็ไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องรู้คือ
เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บตรงนี้ ปวดตรงนั้น
เราจะรักษาอาการเหล่านั้นด้วยตัวเองได้อย่างไร
สิ่งเหล่านี้มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มารองรับตามหลักกายวิภาคศาสตร์


ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิต
สอนให้รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ป่วย
แล้วถ้าป่วยจะทำอย่างไรให้อาการดีขึ้นด้วยตัวเอง
หรืออาศัยการดูแลจากคนในครอบครัว
โดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์” รศ.พญ.ลดาวัลย์ ย้ำว่า
ศาสตร์แขนงนี้ไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อต้านการแพทย์แผนปัจจุบัน
สิ่งที่การแพทย์ตะวันตกทิ้งไป หมอจับเอามาใส่
ทุกวันนี้การแพทย์ทั่วไปแก้ไขที่ปลายเหตุ
และแยกส่วนอวัยวะแขนขา กล้ามเนื้อ ระบบภายในออกจากกัน
เช่น ระบบขับถ่ายตรวจแค่ปัสสาวะออกมาเป็นอย่างไร
ตรวจไทรอยด์ก็ดูแค่ฮอร์โมน แล้วก็รักษาไปตามอาการนั้น
ทั้งที่สาเหตุอาจมาจากส่วนอื่น
ดังนั้นการรักษาต้องเข้าใจทั้งระบบโครงสร้าง
ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่ผิดปกติ ถ้ารักษาแบบนี้หายแล้วก็เป็นใหม่อีก
แล้วต้องไปหาหมอรับยามาเพิ่ม ไม่หายขาดสักที



แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนวทาง ดุลยภาพบำบัด แนะนำว่า
ผู้ป่วยคนใดที่จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มดูแลตัวเองอย่างไรดี
ขอให้มั่นใจว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพียงเริ่มฟังเสียงร่างกายตนเอง
เริ่มจากสนใจเรียนรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
ออกกำลังกายโดยดูว่าโครงสร้างร่างกายของเราเหมาะกับกีฬาประเภทไหน
เลือกรับประทานอาหาร สังเกตการขับถ่าย ควบคุมอารมณ์
และดูแลสิ่งรอบตัว ตั้งแต่ความสะอาดของร่างกายตัวเอง เสื้อผ้า
ห้องนอน และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
คุณหมอ เน้นว่า การรู้ทันเริ่มเมื่อไร ดีกว่าไม่เริ่มทำอะไรเลย
“หัวใจของดุลยภาพศาสตร์ คือ การดูแลรักษาตนเอง แบบค่อยๆ ใช้เวลา
แน่นอนว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายต้องมีทุกคน
แต่ถ้าเรารู้ทัน และเข้าใจจะเป็นประโยชน์กับตัวเองมาก
เพราะจะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข



ที่มา... สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: tongue :b1: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยจ้า คุณลูกโป่ง :b20: smiley :b16:
ช่วงนี้ตัวเองก็ให้ต้องใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษเหมือนกันจ้า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาจร้า :b12:

รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 03 พ.ค. 2010, 17:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร