วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 15:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

คู่มือตรวจสุขภาพยุคประหยัด

ชีวจิตขอนำเสนอคู่มือตรวจสุขภาพในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดให้คุณผู้อ่าน
ใช้เป็นแนวทางตรวจสุขภาพค่ะ

ทำความรู้จักการตรวจสุขภาพ
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับคำว่า “ตรวจสุขภาพ”
แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจจุดมุ่งหมายหมายที่แท้จริง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กมล อุดล
แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
“คนส่วนใหญ่มักมองว่าการตรวจสุขภาพเป็นการค้นหาโรค
หรือความผิดปกติที่อาจเริ่มเกิดขึ้นในร่างกายแต่ยังไม่ปรากฏอาการ
ซึ่งถูกต้องเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนั้นการตรวจสุขภาพแต่ทำเพื่อป้องกันการเสียชีวิต ความเจ็บป่วย
หรือทุพพลภาพก่อนวัยอันสมควร”


:b48: ใครควรตรวจอะไร
หากเอ่ยถึงคำว่าตรวจสุขภาพ หลายคนจินตนาการภาพการเจาะเลือด
และการเอ็กซเรย์ ทั้งที่ความจริงแล้วการตรวจสุขภาพอาจไม่จำเป็น
ต้องมีกิจกรรมเหล่านี้ เพราะสำหรับบางคนอาจไม่มีความจำเป็น
คุณหมอกมล อธิบายหลักเกณฑ์การพิจารณาว่า
ผู้รับบริการควรตรวจสุขภาพประเภทใดบ้างว่า
“ในการตรวจสุขภาพแพทย์จะพิจารณาว่าผู้มารับการตรวจควรตรวจอะไรบ้าง
โดยพิจารณาว่าผู้มารับการตรวจมีความเสี่ยงต่อโรคใด
ซึ่งสามารถประเมินได้จากข้อมูลเบื้องต้น 3 ประการคือ
หนึ่งข้อมูลด้าน ชีววิทยา เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์
สองพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสุบบุหรี่ ดื่มเหล้า
การออกกำลังกาย และพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
สามปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มคนหรือท้องที่ที่อาศัยอยู่
เช่น โรคระบาดหรือโรคที่เกิดบ่อยในพื้นที่นั้น
“นอกจากนี้การตรวจสุขภาพหลายรายการที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป
ยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยรองรับชัดเจนว่า
เกิดประโยชน์ตรงตามจุดมุ่งหมายของการตรวจสุขภาพหรือไม่
ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
ที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจด้วย”


:b48: จำเป็นต้องตรวจสุขภาพทุกปีหรือไม่
เมื่อ คำว่า “ตรวจสุขภาพ” มาพร้อมคำว่า “ประจำปี”
กระแสการตรวจสุขภาพจึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนเกิดคำถามที่ว่า ทุกคนจำเป็นต้องตรวจสุขภาพทุกปีหรือไม่
แพทย์หญิงภัทร์ สิทธิการิยกุล แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบาย
“ไม่แนะนำให้ตรวจร่างกายทุกปี แต่แนะนำให้ตรวจเป็นระยะ
ตามความเสี่ยงของโรคของแต่ละคน เพราะการตรวจทุกปีอาจไม่เกิดประโยชน์
ทั้งยังอาจเกิดโทษแก่ผู้เข้ารับตรวจสุขภาพด้วย”


:b48: รายการตรวจสุขภาพฉบับจำเป็น
เมื่อการตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน
การพิจารณาการตรวจสุขภาพให้หมาะสมกับตนเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
เพื่อให้การตรวจสุขภาพเกิดประโยชน์สูงสุด และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
คุณ หมอกมลจึงแนะนำแนวทางการตรวจสุขภาพที่เหมาะสำหรับ
คนไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยอ้างอิงจากหนังสือ
“แนวทางการตรวจและการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนไทย ”
ซึ่งสามารถแบ่งการตรวจสุขภาพที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัยได้ดังนี้


• รายการตรวจสุขภาพสำหรับวัยหนุ่มสาว 20+
คุณ หมอกมลกล่าวว่า คนวัยนี้ยังไม่มีปัญหาสุขภาพมาก
และมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังน้อย
รายการสุขภาพที่ต้องตรวจจึงมีเพียงกลุ่มการตรวจพื้นฐาน



• รายการตรวจสุขภาพสำหรับวัยผู้ใหญ่ 35+
เมื่อ เข้าสู่วัยผู้ใหญ่รูปแบบการใช้ชีวิตที่เคร่งเครียดถือเป็นความเสี่ยง
ที่นำมาซึ่งความเจ็บป่วย รูปแบบการตรวจสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีมากขึ้นตามอายุ


• รายการตรวจสุขภาพสำหรับวัยลายคราม 50+
ในวัยลายครามความเสื่อมของร่างกายปรากกฎให้เห็นอย่างชัดเจน
และมีความเสี่ยงต่อโรคหลากชนิด รายการตรวจสุขภาพ
จึงครอบคลุมทุกรูปแบบ และเพิ่มความถี่มากขึ้น


:b48: เตรียมอะไรก่อนไปตรวจสุขภาพ

1.เตรียมข้อมูล
ควรนำผลการตรวจร่างกายครั้งล่าสุดไปให้คุณหมอประกอบการพิจารณา
รวมทั้งสอบถามญาติพี่น้องว่ามีโรคทางพันธุกรรมใดบ้าง
เพื่อให้คุณหมอประเมินความเสี่ยง

2.เตรียมร่างกาย

ควรใส่เสื้อผ้าที่ เอื้อต่อการตรวจร่างกาย ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่พอดีตัวจนเกินไป
นอกจากนี้ควรเตรียมตัวให้เหมาะกับการตรวจร่างกายบางชนิด เช่น
2.1วัด ความดันโลหิต หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลให้การวัดความดันผิดพลาด
เช่น มีอาการเหนื่อย มีอารมณ์ตื่นเต้น โกรธ หรือดีใจ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนหรือแอลกฮอล์ก่อนการตรวจ 1 ชั่วโมง
2.2เจาะเลือด หากตรวจเลือดเพื่อหาเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือด
ต้องงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือไขมัน
2.3ตรวจปัสสาวะ หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสี เช่น บีทรูท แก้วมังกรสีม่วง
เพราะส่งผลให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไป
2.4ตรวจอัลตร้าซาวด์ ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำก่อนตรวจประมาณ 4-6 ชั่วโมง

เมื่อพิจารณาสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว
การตรวจสุขภาพคราวหน้าก็ไม่ใช่เรื่องลำบากใจอีกต่อไปค่ะ


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 276

:b48: :b8: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร