วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


ในสมัยก่อนเราอวยพรซึ่งกันและกันด้วยคำว่า
"ขอให้สุขภาพแข็งแรง มีอายุมั่นขวัญยืน"
แต่ในปัจจุบันเราพูดกันติดปากแล้วว่า
"ขอให้ท่านมีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์"
หรือบางท่านก็จะอวยพรว่า "ขอให้มีความสุขทั้งกายและใจ" เป็นต้น
แสดงว่า เรื่องของสุขภาพจิต หรือสุขภาพของจิตใจเริ่มเข้ามามีบทบาท
และเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
ทุกคนรู้จัก "ความเครียด" และทราบดีว่าความเครียดนั้น
สามารถก่อให้เกิดความไม่สบายได้ ทั้งทางด้านจิตใจ
และมีผลสะท้อนสู่ความไม่สบายของร่างกายได้ด้วย


สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อความเครียด
ถ้าจะพูดง่าย ๆ สุขภาพจิตที่ดี ย่อมมีความเครียดน้อยมาก
หรือมีความเครียด แต่เพียงพอดี ๆ และสามารถแก้ปัญหาขจัดความเครียด
ให้บรรเทาเบาบางไปได้ นำมาซึ่งความสุขและความสบายของจิตใจ
หากความเครียดเกิดขึ้นจาก เรื่องราวที่ใหญ่โตมากมาย
เช่น อยู่ในฐานะเป็นหนี้เป็นสินใกล้ล้มละลาย
ยังต้องเสียของรัก หรือเสียคนอันเป็นที่รัก
ยังถูกผู้ใกล้ชิดดูถูกเหยียดหยาม ขาดคนเข้าใจ ขาดคนเห็นใจ
ความเครียดเหล่านี้ย่อมนำมาให้เกิดสุขภาพจิตแปรปรวน
กลายเป็นความทุกข์ทางใจ


สุขภาพจิตที่ดี เกิดขึ้นจากความสมหวัง ความสำเร็จ
และการตอบสนองที่ดี เหมาะสม ถูกใจ ถูกอารมณ์
หรือประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละคน แต่ละวัย


:b48: ใน วัยทารก
จะต้องการทั้งอาหารกายและอาหารใจ
อาหารกายที่ดีที่สุดคือ นมแม่ อาหารใจคือ ความรักความ เอาใจใส่
การสัมผัสโอบอุ้มและสัมผัสใกล้ชิด
ด้วยความทะนุถนอมอย่างต่อเนื่อง จากพ่อแม่
รู้จักป้อนเมื่อทารกหิว หมั่นทำความสะอาดร่างกายให้กับทารก
เมื่อเนื้อตัวสกปรก หรือเมื่อเปียกเปื้อนอุจจาระ ปัสสาวะ
โดยปฏิบัติทุกอย่างให้ทารกด้วยความละมุนละไม


:b48: วัยเด็ก
มักกลัวการถูกทอดทิ้ง ต้องการความรักใคร่และใกล้ชิดจากผู้ใหญ่
โดยเฉพาะพ่อแม่ ต้องการการเรียนรู้ การสอน
และบอกกล่าวไปตามความเหมาะสมแก่วัยของเด็ก
เด็กที่กลัวถูกทอดทิ้ง หรือถูกทิ้งห่างมาบ้างแล้วจากที่บ้าน
มักมีปัญหาไม่อยากไปโรงเรียน
พ่อแม่ควรไปส่งและไปรับกลับให้ตรงตามเวลา
วัยเด็ก ยังเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ พ่อแม่ควรอบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิด
และคำสั่งสอนต่าง ๆ นั้นจะประสบความสำเร็จได ้
ก็ต่อเมื่อพ่อแม่จะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
เพื่อวางรากฐานให้ลูกได้เติบโตเป็นพลเมืองดี มีความรู้
และปฏิบัติงานสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
ครอบครัว และชาติบ้านเมือง


:b48: วัยรุ่น
เป็นวัยอยากรู้ อยากลอง ติดเพื่อน และชอบขัดแย้งกับผู้ใหญ่
พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นที่ปรึกษา เป็นเพื่อนสนิท
เพื่อช่วยกล่อมเกลา ให้ลูกเดินถูกทิศทาง
การที่พ่อแม่จะแสดงความขัดแย้งอย่างรุนแรง
หรือลงโทษเด็กวัยนี้อย่างรุนแรง อาจได้ผลในทางตรงกันข้าม
คือ ลูกในวัยรุ่นอาจจะไม่ยอมเชื่อฟังผู้ใหญ่อีกต่อไป


:b48: วัยผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่เป็นวัยที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งรับผิดชอบตัวเอง ครอบครัว และสังคม
ทำให้เครียดง่าย แต่ก็ยังมีพลังที่จะทำงานได้เต็มที่
เมื่อมีปัญหาในชีวิตควรคิดแก้ไข ไม่ท้อถอย
ถ้าแก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ ควรปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิด
ยึดหลักศาสนา เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่รุ่มร้อนด้วยอารมณ์ร้าย ๆ
เช่น โกรธแค้น อาฆาต อิจฉาริษยา เศร้าใจ น้อยใจ หาเวลาพักผ่อน
เที่ยวเตร่ เล่นกีฬา หรือทำงานอดิเรกที่ชอบเพื่อช่วยลดความเครียด


:b48: ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุจะมีเวลาว่างมาก ควรใช้ให้เป็นประโยชน์
เช่น ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ สังสรรค์กับเพื่อนฝูง
ทำบุญ ทำกุศล ฯลฯ ผู้สูงอายุมีประสบการณ์มาก
ควรถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ เช่น เขียนหนังสือ
เล่าให้ลูกหลานฟัง เป็นที่ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ
และลูกหลานควรรับฟังด้วยความเคารพ
ผู้สูงอายุมักมีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง จึงไม่ควรทำงานแบบหักโหม
และควรออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เพราะจิตใจจะแจ่มใส ถ้าร่างกายปกติสุขด้วย
ศึกษาธรรมะเพื่อให้ใจสงบสุข ละวางต่อความทุกข์
ความไม่สบายใจที่เกิดจากสังคมและจากบุคคลใกล้ชิด


ทั้งหมดที่กล่าวแล้วนั้น เป็นสาระน่ารู้เบื้องต้น
ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตในวัยต่าง ๆ ซึ่งถ้าได้ดำเนินไปด้วยดีตั้งแต่เด็ก
ผู้นั้นก็จะมีพื้นฐานของสุขภาพจิตที่เข้มแข็งอยู่แล้วพอสมควร
สามารถทนทานต่อความเครียด และสามารถเผชิญความเครียดได้ดีพอสมควร
นอกจากนั้นสุขภาพจิตในครอบครัว ซึ่งก็คือข้อปฏิบัติเบื้องต้น
ระหว่างสามีภรรยาก็มีความสำคัญในการที่จะรักษาความสุขทางใจ
ให้เกิดกับทุก ๆ สมาชิกในครอบครัว ทิ้งห่างจากความเครียดทั้งหลาย


:b48: ข้อปฏิบัติเพื่อความมีสุขภาพจิตดีระหว่างสามี ภรรยา
ตัวอย่างเช่น

1. มีเวลาที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน
สนุกสนานด้วยกัน คุย กัน ปรึกษาหารือและปรับทุกข์กัน

2. ร่วมกันรับผิดชอบชีวิตครอบครัว
ช่วยกันทำงานทั้งงานนอก บ้านและงานในบ้าน

3. ควบคุมอารมณ์ เมื่อฝ่ายหนึ่งร้อน อีกฝ่ายต้องเย็น
พยายาม ประนีประนอมดีกว่าเอาชนะกันถึงขั้นแตกหัก

4. ยกย่อง ให้เกียรติกัน ชมเชยเมื่ออีกฝ่ายทำความดี
รักษา มารยาท ไม่ลบหลู่ ดูถูก หรือใช้ถ้อยคำหยาบคายทำร้ายจิตใจกัน


:b48: มิเพียงสามีภรรยาเท่านั้นที่จะปฏิบัติต่อกันแต่
ข้อปฏิบัติระหว่างพ่อแม่กับลูกก็มีความสำคัญอย่าง
เช่น

1. มีเวลาพูดคุย เป็นที่ปรึกษา
อบรมสั่งสอน ไต่ถามทุกข์สุข เล่น กับลูก ๆ

2. ปฏิบัติต่อลูก ๆ อย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ลำเอียง เพื่อพี่น้องจะได้ ไม่อิจฉากัน

3. แบ่งงานบ้านให้ลูก ๆ ช่วยทำเพื่อฝึกหัดให้มีความรับผิดชอบ
และฝึกที่จะช่วยตัวเองเป็นเมื่อโตขึ้น

4. ไม่เข้มงวด ดุด่า หรือปล่อยปละละเลย หรือโอ๋ลูกมากเกินไป
เมื่อลูกทำผิดก็ต้องลงโทษตามสมควร เมื่อลูกทำดีก็ต้องชมเชย ไม่เพิกเฉย


ส่วนข้อแนะนำอันเป็นกลยุทธ์ที่จะสร้างความสุขเบื้องต้นในครอบครัวอย่างง่าย ๆ
ก็คือ เมื่อคิดจะมีลูก ควรมีแค่ 2 คน เพื่อจะเลี้ยงดูได้เต็มที่
เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ สามีต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
เมื่อมีความทุกข์ต้องปลุกปลอบใจกัน ไม่ทอดทิ้งกัน
เมื่อมีปัญหาขัดแย้ง ต้องชี้แจงกันด้วยเหตุผล
ระงับการใช้อารมณ์และกำลัง เมื่อมีภาระหนัก ต้องช่วยกันแบ่งเบา
ไม่เอาเปรียบกัน เมื่อแต่งงานกันแล้ว ต้องช่วยกันทำมาหากิน
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ครอบครัวเป็นสุข เมื่อทุกคนรักใคร่ปองดองกัน


เมื่อ ความเครียดที่เกิดจากภัยเศรษฐกิจก็ตาม ภัยทางสังคม
ด้านการเมือง ด้านภัยแล้ง เข้ามาเบียดเบียนทำให้เสียสุขภาพจิต
หรือเกิดความเครียดอย่างรุนแรง ทำให้ป่วยทางใจ จะมีอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
คือ อาการวิตกกังวลมากกว่าปกติ หงุดหงิดง่าย
ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานหรือการเรียน มีเหงื่อออกตามมือตามเท้า
เศร้าเสียใจเกินกว่าเหตุ ชอบโทษตัวเองว่าไม่ดี
บางทีก็คิดฆ่าตัวตาย ชอบคิดว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนั้นโรคนี้
ทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไร อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร
หวาดกลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น กลัวความสกปรก
กลัวเชื้อโรค กลัวสัตว์บางชนิด กลัวที่แคบ กลัวที่สูง ย้ำคิดย้ำทำ
ทำอะไรซ้ำ ๆ ซาก ๆ โดยไม่จำเป็น เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ทั้งที่ไม่เปื้อน
ตรวจตรากลอนประตู หน้าต่างก่อนนอนคืนละหลาย ๆ เที่ยว


อาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอาการจริง ๆ เกิดขึ้นจริง ๆ
มิได้แกล้งทำให้เกิด หรือจงใจให้เกิดอาการแต่ประการใด
เพียงแต่ว่าอาการจริงๆ ที่เกิดเหล่านี้เป็นอาการของโรคที่เกิดจากความเครียด
โรคที่เป็นความแปรปรวนของสุขภาพจิต ทำให้เกิดความไม่สมดุล
ของระบบประสาทอัตโนมัติต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือและรักษา

แพทย์ที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพจิตโดยทั่วไป และจิตแพทย์จะช่วยท่านได้
โดยเฉพาะตามคลินิกคลายเครียด
ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ
ทั่วราชอาณาจักร ทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

สนับสนุนข้อมูลโดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ที่มา...
http://www.elib-online.com/doctors/mental_stress.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับคุณลูกโป่ง


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร