วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 17:17
โพสต์: 38


 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: ...คำขอโทษ... :b8:

:b38: ข้าพเจ้าพบบทความนี้เข้า เห็นว่าน่าใจเป็นอย่างมาก จึงนำมาฝากเพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยอ่านกัน และคิดว่า
คงจะช่วยเตือนสติเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ในยุคปัจจุบันอย่างเราๆ ได้เป็นอย่างดี โปรดอ่านด้วยใจเป็นธรรม


เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีคนใหม่แห่งออสเตรเลีย เควิน รัดด์ กล่าวคำแถลงการณ์ต่อรัฐสภา ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ เป็นคำกล่าวขอโทษต่อชาวพื้นเมืองแห่งออสเตรเลีย ต่อความผิดพลาดของบรรพบุรุษชาวผิวขาว

เป็นนาทีประวัติศาสตร์ หลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนๆ ของออสเตรเลียพยายามเลี่ยงหนีประเด็นนี้มาโดยตลอด


:b20: ชาวออสเตรเลียทั้งชาติฟังคำขอโทษนี้ด้วยความรู้สึกท่วมท้น :b2:

"วันนี้เราสดุดีชนพื้นเมืองแห่งแผ่นดินนี้ วัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังสืบสานอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

เรายอมรับการปฏิบัติที่มิชอบต่อพวกเขา

เรายอมรับโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องกับ 'คนรุ่นที่ถูกขโมย' บทที่มีรอยแผลในประวัติศาสตร์ชาติของเรา

เวลาได้มาถึงแล้วสำหรับชาติที่จะพลิกหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย โดยการแก้ไขสิ่งที่ผิดในอดีตให้ถูกต้อง และดังนี้ จึงก้าวต่อไปอย่างมั่นใจในอนาคต..."


:b24:

ชาวพื้นเมืองแห่งทวีปออสเตรเลียประกอบด้วยชาวอะบอริจินส์และชาวเกาะ ทอร์เรส สเตรต


:b34: บรรพบุรุษของพวกเขาตั้งรกรากในทวีปนี้มาตั้งแต่ห้าหมื่นปีก่อน นานก่อนหน้าอารยธรรมของมนุษย์

ก่อนที่ผู้อพยพชาวอังกฤษจะรุกยึดทวีปออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1788 ออสเตรเลียทั้งทวีปเป็นบ้านของชาวพื้นเมืองราว 318,000-750,000 คน เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังการขึ้นฝั่งของชาวยุโรป โรคภัยที่ผู้มาเยือนนำมาด้วยฆ่าชาวพื้นเมืองตายไปอย่างรวดเร็ว เฉพาะในพื้นที่ซิดนีย์โรคฝีดาษฆ่าชาวพื้นเมืองกว่าครึ่งหนึ่ง


:b10: แล้วแขกที่ไม่ได้รับเชิญก็ยึดครองดินแดนของพวกพื้นเมืองด้วยอาวุธ ภายในทศวรรษ 1870 พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ก็ถูกชาวผิวขาวยึดครองจนหมดสิ้น

โรคภัย การเสียดินแดน และการสังหารหมู่ทำให้ชาวพื้นเมืองแห่งทวีปในซีกโลกใต้นี้ลดลงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี ค.ศ. 1788-1900 ชาวพื้นเมืองจำนวนหนึ่งทำงานเป็นกรรมกรให้ชาวผิวขาว เมื่อปฏิทินอะบอริจินส์พลิกถึงต้นศตวรรษที่ 20 ชาวพื้นเมืองก็เหลือเพียงราว 150,000 คน


:b5:
ปัจจุบันมีชาวอะบอริจีนส์จำนวนไม่ถึงครึ่งล้านคน เท่ากับสองเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของออสเตรเลีย

:b3: "เราขอโทษสำหรับกฎหมายและนโยบายต่างๆ ของหลายๆ รัฐสภาและรัฐบาลที่ก่อให้เกิดความระทม ความลำบาก และการสูญเสียอย่างยิ่งยวดต่อเพื่อนชาวออสเตรเลียของเรา

เราขอโทษโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการพรากชาวอะบอริจินส์ และเด็กๆ ชาวเกาะ ทอร์เรส สเตรต จากครอบครัวของพวกเขา ชุมชนของพวกเขา และประเทศของพวกเขา

สำหรับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และความบาดเจ็บของคนรุ่นที่ถูกขโมยนี้ ลูกหลานของพวกเขา และครอบครัวที่พวกเขาทิ้งไว้ข้างหลัง เราขอกล่าวคำขอโทษ

สำหรับมารดาและบิดาทั้งหลาย พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาวทั้งหลาย ในการพรากครอบครัวและชุมชน เราขอกล่าวคำขอโทษ

และสำหรับการสูญเสียศักดิ์ศรี กับการลดคุณค่าลงแห่งประชาชนและวัฒนธรรมที่น่าภูมิใจ เราขอกล่าวคำขอโทษ เรา - รัฐสภาแห่งออสเตรเลีย ขอร้องด้วยความเคารพให้รับคำขอโทษนี้ในดวงจิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเยียวยาชาติ..."
:b20:

ในช่วงปี ค.ศ. 1869-1969 ภายใต้กฎหมายและนโยบายต่างๆ ที่ต่อต้านชาวอะบอริจินส์ เด็กชาวพื้นเมืองจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกผสม ถูกพรากจากอกพ่อแม่ไปอยู่ในสถานที่รัฐจัดตั้ง รวมถึงสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โดยที่พ่อแม่ของเด็กไม่มีสิทธิ์คัดค้าน เด็กเหล่านี้เป็นที่รู้จักชื่อ The Stolen Generations (คนรุ่นที่ถูกขโมย) ประมาณตัวเลขไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน พวกเขาถูกห้ามไม่ให้พูดภาษาพื้นเมือง ถูกเลี้ยงมาให้เติบโตเป็นแรงงาน น้อยคนจะก้าวพ้นหนทางชีวิตที่มืดมนและความยากไร้

:b26: น่าแปลกที่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เรื่องนี้จนถึงทศวรรษที่ 1980

:b24: การค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคนรุ่นที่ถูกขโมยเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1995 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค จนถึงปี ค.ศ. 1997 รายงานชื่อ Bringing Them Home : Report of the National Inquiry into the Seperation of Aboriginal and Torres Strait Islander Children from Their Families ก็ได้รับการเผยแพร่ คณะกรรมการที่จัดหาความจริงในเรื่องนี้เสนอให้รัฐบาลออสเตรเลียยุค จอห์น โฮเวิร์ด ขอโทษต่อชาวพื้นเมือง ข้อเสนอดังกล่าวถูกสลัดทิ้งอย่างไร้เยื่อใย นายกรัฐมนตรียุคนั้นกล่าวว่า "ชาวออสเตรเลียรุ่นนี้ไม่สมควรต้องถูกบังคับให้ยอมรับความผิดของการกระทำและนโยบายในอดีต"


มิก ดอดสัน
หนึ่งในคณะกรรมการคนหนึ่งลาออกจากสภาการประสานสัมพันธ์ชาวอะบอริจินส์ เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าสิ้นหวังต่อประเทศของข้าพเจ้า และเสียใจต่อความไม่แยแสของผู้นำทางการเมืองผู้ซึ่งไม่ยินดีกับสิ่งที่จำเป็นในการฟื้นฟูเราในฐานะชาติ"

"วันนี้เราย่างก้าวแรกออกไป โดยการยอมรับอดีตและแผ้วทางสู่อนาคตที่หลอมรวมชาวออสเตรเลียทั้งปวง

อนาคตซึ่งรัฐสภานี้ตั้งหลักการว่า ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในอดีตจะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก

อนาคตซึ่งเราวางความมุ่งมั่นว่าชาวออสเตรเลียทั้งปวง ทั้งชาวพื้นเมืองและไม่ใช่ชาวพื้นเมือง ปิดช่องว่างระหว่างเราในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว การไปถึงจุดหมายทางการศึกษา และโอกาสทางเศรษฐกิจ

อนาคตซึ่งเราโอบอุ้มความเป็นไปได้ของหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา เพื่อสางปัญหาต่างๆ ที่วิธีการเก่าล้มเหลว

อนาคตซึ่งตั้งบนฐานของการเคารพต่อกัน การกระทำการด้วยกัน และความรับผิดชอบร่วมกัน

อนาคตซึ่งชาวออสเตรเลียทั้งมวล ไม่ว่าเผ่าพันธุ์ใด เสมอภาคกันอย่างแท้จริง เป็นคู่หูเท่าเทียมกัน ด้วยเดิมพันเท่ากันในการปั้นแต่งบทต่อไปในประวัติศาสตร์แห่งประเทศยิ่งใหญ่นี้ - ออสเตรเลีย"


:b2: ขณะที่น้ำตาไหลอาบใบหน้าของชาวออสเตรเลียทั้งสองเชื้อสายจำนวนมากมายระหว่างที่ฟังคำขอโทษนี้ ผมอดคิดถึงการทำร้ายและสังหารผู้บริสุทธิ์ในประวัติศาสตร์ของโลกและของเรามิได้ การสังหารชาวอินเดียนแดงเพื่อถางแผ่นดินใหม่แห่งอเมริกา การสังหารหมู่ยิวกว่าหกล้านคนโดยพวกนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การสังหารหมู่ชาวจีนกว่าสองแสนคนที่นานกิงโดยกองทัพญี่ปุ่น การสังหารหมู่พลเรือนโดยพวกเซอร์เบียในสงครามโคโซโว ไปจนถึงการสังหารหมู่ในแอฟริกา พม่า และในอีกหลายมุมโลกนับไม่ถ้วน

ข้างหลังบ้านเราเองก็มีเหตุการณ์อยุติธรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลอบสังหารผู้ค้านอำนาจรัฐในยุคอัศวินครองเมืองช่วงทศวรรษ 2490, การสังหารหมู่แห่ง หกตุลา, ฆาตกรรมแห่ง พฤษภาทมิฬ, นโยบายวิสามัญฆาตกรรมยาเสพติดที่ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ

ใช่! เราก็มี 'คนรุ่นที่ถูกขโมย' มากมายที่ครอบครัวของพวกเขาไม่มีโอกาสพบกับพวกเขาอีกเลย มิหนำซ้ำคนบางคนบางกลุ่มยังโรยเกลือบนบาดแผลเหล่านั้นด้วยการบิดเบือนความจริงในอดีต กระทั่งปฏิเสธความคงอยู่ของความผิดพลาดเหล่านั้นอย่างหน้าตาเฉย


สองร้อยยี่สิบปีหลังจากความผิดพลาดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ชาวพื้นเมืองแห่งออสเตรเลียได้ยินคำขอโทษจากลูกหลานของผู้ก่อความผิดเหล่านั้น
เราไม่เคยได้ยินคำขอโทษจากใคร!
เราได้ยินแต่ความเงียบ


:b21: บางที 'พวกเขา' อาจรู้สึกผิดและเลือกที่จะเงียบ หรือบางทีพวกเขาอาจไม่รู้สึกผิดและเงียบ!
บางทีพวกเขาไม่เคยและไม่มีวันเข้าใจว่า คำขอโทษที่จริงใจมีค่ามากกว่าการเลือกที่จะเงียบ ลืม หรือแก้ตัว
คนเขลาเลือกที่จะเงียบ คนตาบอดเลือกที่จะลืม คนขลาดเอ่ยแต่คำแก้ตัว

:b4: ความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ในโลกมิใช่การต่อสู้เลือดท่วมร่างกลางสมรภูมิ หากแต่คือความสามารถที่จะยืดอกยอมรับความผิดที่กระทำ และเอ่ยคำขอโทษ
>>>คำขอโทษอาจมาช้า แต่ไม่เคยสายเกินไป เพราะคำขอโทษเป็นทิพยโอสถในการเยียวยารักษาบาดแผลของสังคม เข้าใจและเรียนรู้บทเรียนที่ผิดพลาดในอดีต แล้วเดินหน้าต่อไป<<<

บทความโดย..........วินทร์ เลียววาริณ

.....................................................
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 19:51
โพสต์: 58

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
ถ้าเราไม่เป็นผู้ให้ก่อนแล้วเราจะเป็นผู้รับได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณบัวหิมะ

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

:b48: cool :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร