วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 16:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




w2.gif
w2.gif [ 23.46 KiB | เปิดดู 2641 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการท้องผูก

1.กินอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
2.ดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรดื่มกาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อุจจาระแห้ง
3.การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
4.ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ลำไส้ใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง มักเกิดขึ้นหลังตื่นนอนและหลังอาหาร หากกลั้นอุจจาระไว้ในช่วงนั้น โอกาสที่จะรู้สึกอยากถ่ายในวันนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นอีก จึงควรถ่ายให้เป็นเวลา โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
5.ไม่ควรทำอย่างอื่นขณะขับถ่าย เช่น อ่านหนังสือ กรณีที่เป็นส้วมชักโครก ควรนั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น
6.หากจำเป็นต้องใช้ยาระบายควรปรึกษาแพทย์ และเริ่มใช้ยาระบายที่ช่วยให้เกิดการขับถ่ายอย่างเป็นธรรมชาติและปลอดภัยก่อน โดยเฉพาะยาที่ช่วยในการดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระหรือลำไส้ หรือสารที่เพิ่มปริมาณกากอาหาร

ยาระบายแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1.กลุ่มที่เพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ เช่น ลูกพรุน รำข้าว เมล็ดแมงลัก หรือเส้นใยอาหาร ข้อควรระวังคือต้องให้สารเหล่านี้พองตัวในน้ำเต็มที่ก่อนรับประทาน และควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจอุดตันทางเดินอาหารได้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ปริมาณมากในเด็กเล็ก ยากลุ่มนี้ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่ท้องผูกเล็กน้อย ผู้ที่ท้องผูกรุนแรงมักไม่ได้ผลและทำให้เกิดอาการอึดอัดท้อง และไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่หวังผลให้ถ่ายได้ภายใน 24 ชั่วโมงเนื่องจากออกฤทธิ์ช้า
2.กลุ่มหล่อลื่นลำไส้ เช่น น้ำมันพาราฟิน การใช้ยานี้นานๆ จะรบกวนการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ทำให้ขาดวิตามินเหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อขาดวิตามินดีจะมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส จึงห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และเด็กเล็ก นอกจากนี้ถ้าสำลักยานี้เข้าปอด ส่วนประกอบของน้ำมันสามารถทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้ จึงห้ามใช้ในเด็กเล็กและผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาด้านการกลืน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบประสาท และผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง
3.กลุ่มที่เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ ยาที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้คือแล็กตูโลส มีคุณสมบัติเป็นน้ำตาลที่ไม่สามารถดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก ตัวยาจึงเคลื่อนไปถึงลำไส้ใหญ่แล้วถูกย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นกรดอินทรีย์ตามธรรมชาติ ซึ่งจะดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระทำให้อ่อนตัวขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้น ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับทารก เด็ก ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคตับ สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ยาในกลุ่มนี้อีกชนิดหนึ่งคือมิลก์ออฟแมกนีเซีย เป็นยาที่ช่วยดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระและลำไส้ แต่มีข้อเสียคือสารแมกนีเซียมอาจสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายในผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ปกติ จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไต และเด็กเล็ก
4.กลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ค่อนข้างแรงและเร็ว เช่น มะขามแขก บิสาโคดิล ควรใช้ยากลุ่มนี้เมื่อรักษาด้วยยากลุ่มอื่นไม่ได้ผล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรง ข้อเสียของยากลุ่มนี้คืออาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง การใช้นานๆ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการทำงานของลำไส้

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

1.ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้เองโดยไม่ใช้ยาระบาย
2.อาการท้องผูกสัมพันธ์กับอาการปวดท้อง หรือคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
3.อาการเริ่มเป็นในผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีอาการท้องผูกมาก่อน
4.อาการท้องผูกรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวันมาก

คนปกติจะถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้ที่ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประกอบกับการถ่ายลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ อุจจาระแข็ง หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย ถือว่ามีอาการท้องผูก หากท้องผูกนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จัดว่าท้องผูกเรื้อรัง

โรคต่างๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้ ดังนี้

1.โรคของต่อมไร้ท่อและความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ เบาหวานที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ แคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ
2.การมีสิ่งกีดขวางในทางเดินอาหาร เช่น เนื้องอกในลำไส้ และลำไส้ตีบตัน
3.ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเตียง ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ผู้ป่วยโรคระบบประสาท
4.ยาบางชนิดทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง เช่น ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน ยารักษาอาการทางจิตบางอย่าง ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม

ผู้ที่มีอาการท้องผูกส่วนมากมักตรวจไม่พบสาเหตุ ในกลุ่มที่ตรวจไม่พบสาเหตุนี้ประมาณครึ่งหนึ่งเกิดจากภาวะลำไส้แปรปรวน ประมาณ 1 ใน 3 เกิดจากการเบ่งอุจจาระไม่ถูกวิธี ที่เหลือเกิดจากลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ
ภาวะลำไส้แปรปรวนเกิดจากลำไส้ทำงานไม่ปกติ บางครั้งเคลื่อนไหวมากไปก็ทำให้ท้องเสีย บางครั้งเคลื่อนไหวน้อยไปก็ทำให้ท้องผูก อาการมักเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น และอาจมีอาการปวดท้องหรืออึดอัดท้องร่วมด้วย ซึ่งจะดีขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระ การกินอาหารที่มีกากมากขึ้น กินยาที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในทางเดินอาหาร หรือกินยาระบายจะช่วยบรรเทาอาการได้

ท้องผูกจากการเบ่งอุจจาระไม่ถูกวิธี 1 ใน 3 ของผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายให้คลายตัวได้ขณะถ่ายอุจจาระทำให้เกิดอาการท้องผูก ผู้ป่วยมักต้องใช้เวลาเบ่งอุจจาระนาน บางครั้งนานกว่า 30 นาที ในรายที่เป็นมากจะไม่ตอบสนองต่อยาระบาย ต้องใช้วิธีสวนทวารช่วย การสอนให้ผู้ป่วยรู้จักเทคนิคการขับถ่ายที่ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือพิเศษที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ช่วยให้ 60-70% ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

ท้องผูกจากการที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ มักมีอาการท้องผูกเรื้อรังและต้องใช้ยาระบายเป็นประจำ ในรายที่มีอาการท้องผูกมากและใช้ยาระบายไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ทิ้งไป

:b26: :b26: :b26: :b26: :b26: :b26: :b26: :b26: :b26:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 10:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b16:

:b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร