วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 04:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2011, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


HealthFocus : ตาขี้เกียจ

Article: ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต จักษุแพทย์



ภาวะตาขี้เกียจเกิดเฉพาะในเด็ก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถป้องกันหรืออย่างน้อยก็แก้ไขได้ หากตรวจพบได้เร็วและให้การรักษาทันเวลา ฉะนั้นมาช่วยกันสังเกตและดูแลลูกหลานของเราให้ห่างไกลจากภาวะนี้กันดีกว่า


ท่านผู้อ่านหลายๆ คนคงไม่เชื่อว่ามีโรคตาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “โรคตาขี้เกียจ” ซึ่งตรงกับภาษาทางการแพทย์ว่า amblyopia (เป็นภาษากรีก) มาจากคำว่า amblycos แปลว่า ปิดบัง และคำว่า opia หมายถึง สายตา รวมกันจึงหมายความว่าภาวะสายตามัว ในวงการแพทย์ใช้คำนี้สำหรับภาวะสายตามัวลงโดยไม่พบสิ่งผิดปกติในดวงตา ไปจนถึงสมองส่วนรับรู้การมองเห็นก็ไม่มีความผิดปกติใดๆ ทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ภาวะตามัวทั้งที่ส่วนของตาและประสาทตาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นเป็นปกติ ภาษาอังกฤษจึงเรียกภาวะนี้ว่า lazy eye หมายถึงตาขี้เกียจนั่นเอง โดยมากมักจะพบในตาข้างเดียว แต่ก็มีบ้างที่เป็นกับตาทั้ง 2 ข้าง


ภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นได้อย่างไร


การมองเห็นเป็นการรับรู้ทางสัมผัสอย่างหนึ่ง ซึ่งมิได้มีการพัฒนาที่สมบูรณ์ทันทีตอนเกิด เด็กแรกเกิดจึงมองเห็นไม่ชัดเจน แม้จะมีดวงตาที่ปกติ แต่จะมีการพัฒนาการมองเห็นทันทีที่เด็กลืมตาและมีแสงสว่างมากระทบดวงตา ผิวหน้า และส่วนต่างๆ ภายในดวงตา รวมถึงจอตาที่มีเซลล์รับรู้การเห็น การพัฒนาการมองเห็นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงอายุ 4-5 ปี สายตาจึงจะใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ กล่าวกันว่าตาจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 3-12 เดือน แล้วพัฒนาอย่างช้าๆ ไปจนอายุ 4 ปี หากในช่วงนี้มีเหตุกีดขวางมิให้แสงสว่างจากวัตถุเข้าไปกระตุ้นจอตา จอตาจะไม่เกิดการเรียนรู้ นานเข้าก็มิอาจเรียนรู้ว่าการมองเห็นนั้นเป็นอย่างไร การมองเห็นจึงด้อยกว่าคนปกติหรือด้อยกว่าตาอีกข้าง โดยอาจต่างกันเล็กน้อยหรือมากก็ได้ แม้จะเอาเหตุที่กีดขวางออกไปได้เมื่อโตขึ้น จอตาก็ไม่อาจเรียนรู้ได้เท่าคนปกติ การมองเห็นจึงไม่ดีขึ้นอีกต่อไป


สิ่งกีดขวางที่ว่านี้อาจเป็นเพียงหนังตาตกลงมาปิดตาดำตลอดในเด็กเล็ก การมีสายตาผิดปกติ อาจจะเป็นสายตาสั้น ยาว หรือ เอียงมากในตาข้างหนึ่ง ซึ่งทำให้แสงผ่านเข้าไปได้แต่ไม่ถึงจอตา จึงไม่มีการกระตุ้นจอตาเช่นกัน นักวิทยาศาสตร์พยายามพิสูจน์ภาวะนี้โดยการทดลองในแมวและลิงด้วยการเย็บหนัง ตาข้างหนึ่งให้ปิดไว้ตั้งแต่เกิด ซึ่งผลปรากฏว่าตาของแมวและลิงข้างที่ปิดไว้บอดเมื่อเปิดตาให้ในภายหลัง อีกสาเหตุหนึ่งที่พบกันบ่อยๆ ก็คือ โรคต้อกระจกที่มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดลอกต้อร่วมกับการฝังแก้วตาเทียม ผ่าตัดเมื่อไร สายตาจะเห็นเป็นปกติดีเมื่อนั้น ตรงกันข้ามกับเด็กเล็กที่เป็นต้อกระจก แต่ปล่อยไว้รอผ่าตัดเมื่อโตขึ้น แม้การผ่าตัดจะได้ผลดี แต่การมองเห็นจะไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะจอตาขาดการเรียนรู้ที่ดีมาแต่เด็ก ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นต้อกระจกนั้น จอตาผ่านการเรียนรู้มาก่อนหน้าแล้วจึงมองเห็นได้ดีหลังผ่าตัด ภาวะตาขี้เกียจจึงเกิดเฉพาะในเด็กเท่านั้น โดยถ้าตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นตาขี้เกียจ ตาข้างนั้นจะมัวไปตลอดอายุ ต่างจากในผู้ใหญ่ที่มีการพัฒนาการมองเห็นแล้ว ถ้ามีอะไรมาบดบังการมองเห็นชั่วคราวในภายหลัง เมื่อเอาสิ่งบดบังนั้นออก การมองเห็นจะกลับมาเหมือนเดิมได้


ภาวะตาขี้เกียจเกิดจากสาเหตุใดบ้าง


1. ตาเหล่ โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นตาเหล่ในตาข้างเดียว นานเข้าตาข้างที่เหล่ก็จะเกิดภาวะตาขี้เกียจ ทั้งนี้เพราะตาดีจะเห็นภาพภาพหนึ่ง ตาเหล่จะเห็นอีกภาพหนึ่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สมองเกิดความสับสนเพราะเห็น 2 ภาพซ้อนกันอยู่ จึงมีการกดภาพที่เกิดจากตาข้างที่เหล่ไว้เพื่อลบภาพ เมื่อตาถูกกดอยู่นานๆ ก็จะมองไม่เห็นตลอดไป ต่างจากกรณีของคนที่ตาผลัดกันเหล่ระหว่างตาขวากับตาซ้าย ซึ่งทำให้ตาทั้ง 2 ข้างผลัดกันใช้จึงไม่เกิดภาวะตาขี้เกียจขึ้น เพียงแต่ตาทั้ง 2 ข้างจะไม่สามารถทำงานร่วมกันหรือทำงานพร้อมกันได้ ต้องต่างคนต่างทำงาน คือ ถ้าตาขวาเหล่ ตาซ้ายทำงาน ถ้าตาซ้ายเหล่ ตาขวาจะทำงานแทน ซึ่งการที่คนเรามีตา 2 ข้างก็เพื่อให้ใช้งานร่วมกัน และจะทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ คือ เห็นทั้งความกว้างยาวลึกของวัตถุนั้น แต่ถ้าตา 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันก็ไม่สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติได้


2. สายตา 2 ข้างแตกต่างกันมาก เช่น ตาข้างหนึ่งปกติ อีกข้างหนึ่งสั้นมาก หรือข้างหนึ่งสั้นเล็กน้อย อีกข้างสั้นมาก ตาที่ปกติหรือสั้นน้อยกว่าจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า ทำให้ตาข้างที่ไม่ชัดดูเหมือนจะถูกลดบทบาทลง ส่งผลให้ตาข้างนั้นมัวลงตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีสายตายาวต่างกันจะมีโอกาสเกิดภาวะตาขี้เกียจสูง เพราะสายตายาวจะมองไม่ชัดทั้งระยะไกลและใกล้


3. ตาทั้ง 2 ข้างมีสายตาที่ผิดปกติมาก ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้นมาก ยาวมาก หรือเอียงมาก โดยถ้าตาทั้งสองข้างมีความผิดปกติเหมือนกันก็อาจจะเกิดภาวะตาขี้เกียจกับตา ทั้ง 2 ข้างได้ เนื่องจากตามองเห็นไม่ชัดทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหากเป็นตั้งแต่เด็กและไม่ได้รับการแก้ไขตาทั้ง 2 ข้างมักจะเกิดภาวะตาขี้เกียจ


4. เด็กที่เกิดมาพร้อมกับโรคตาบางชนิดที่ทำให้ตามัว เช่น เป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิด มีปานแดงขนาดใหญ่บริเวณหนังตา หนังตาตก กระจกจอตาฝ้าขาว ฯลฯ ซึ่งหากภาวะเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดภาวะตา ขี้เกียจได้


การรักษา

เมื่อเกิดภาวะตาขี้เกียจ การรักษาต้องเริ่มด้วยการแก้ไขที่ต้นเหตุ ตามด้วยการกระตุ้นตาขี้เกียจให้กลับมาทำงานตามปกติด้วยวิธีง่ายๆ คือ การปิดตาข้างที่ดีเอาไว้เพื่อให้ตาข้างที่ขี้เกียจทำงานบ้าง โดยต้องแก้ไขอาการผิดปกติทางสายตาร่วมไปด้วย และรักษาตั้งแต่เด็ก เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้แล้วมารักษาตอนโตมักไม่ได้ผล ฉะนั้นจึงไม่ควรละเลยขั้นตอนการตรวจตาเด็ก เพราะเด็กเล็กๆ ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตัวเองว่าตาของตนเองมองไม่ค่อยเห็น รวมถึงไม่มีอาการเจ็บปวดหรือแดง เด็กจึงอาจไม่ทราบว่าตนเองมองเห็นได้น้อยกว่าผู้อื่น เพราะเป็นอย่างนี้ตั้งแต่รู้ความ ซ้ำร้ายผู้ปกครองบางท่านอาจจะคิดว่า รอให้เด็กโตก่อนแล้วค่อยรักษา แม้ว่าเด็กจะตาเหล่ก็รอให้โตก่อนโดยคาดไม่ถึงว่าเด็กจะมีการพัฒนาทางสายตา ที่ด้อยกว่าคนอื่น ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการศึกษาและการเลือกอาชีพบางอย่างได้ในอนาคต


ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะตาขี้เกียจ สมาคมจักษุแพทย์และกุมารแพทย์จากสหรัฐอเมริกา จึงแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กมารับการตรวจเป็นระยะ คือ ตั้งแต่แรกคลอด อายุ 6 เดือน อายุ 3 ปี หลังจากนั้นก็ให้ตรวจตาทุกปีหรืออย่างน้อยปีเว้นปี


การป้องกันภาวะตาขี้เกียจ

เด็กทารกควรรับการตรวจตาตั้งแต่แรกคลอด โดยการดูลักษณะและขนาดลูกตาทั่วๆ ไปว่าปกติดีหรือไม่ มีภาวะอะไรที่ปิดตาดำซึ่งจะบดบังการมองเห็นหรือไม่
เด็กอายุ 2-3 เดือน แม่หรือพี่เลี้ยงต้องคอยสังเกตว่าเด็กมองจ้องหน้าแม่หรือพี้เลี้ยงขณะให้นม ได้ดีหรือไม่ ถ้ามีความผิดปกติหรือสงสัยควรไปปรึกษาจักษุแพทย์
เด็กอายุประมาณ 6 เดือน เด็กต้องจ้องและมองตามวัตถุได้ คือตาของเด็กจะอยู่ตรงกลาง จ้องมองภาพที่เคลื่อนไหวได้ดี ถ้าตาเด็กผิดไปจากนี้ให้ปรึกษาจักษุแพทย์
เด็กอายุ 3 ปี อาจจะตรวจการมองเห็นของเด็กด้วยการใช้แผ่นภาพวัดสายตาเป็นรูปวัตถุหรือสัตว์ ขนาดต่างๆ ที่เด็กคุ้นเคย เพื่อตรวจดูว่าเด็กตาเหล่หรือไม่ เพราะเด็กอยู่ในวัยที่ให้ความร่วมมือในการตรวจตาเหล่ได้แล้ว โดยเด็กในวัยนี้ควรจะมีการมองเห็นใกล้กับผู้ใหญ่


เพียงพ่อแม่ใส่ใจก็ป้องกันตาขี้เกียจได้...ไม่ยากเลย


ที่มา... http://www.healthtoday.net/thailand/Hea ... s_118.html

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2011, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2011, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www




อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร