วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 12:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


6 อาการสังเกตโรคไต

ไตเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีหน้าที่สร้างปัสสาวะ
ทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน
คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ


ไตเป็นอวัยวะที่ผลิต ปัสสาวะจากการกรองเอาของเสีย
น้ำและเกลือแร่ส่วนเกินจากเลือดที่ไหลผ่านไต
ปัสสาวะเมื่อผลิตจากไตแล้วจะผ่านมาทางท่อไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ
เมื่อปริมาณปัสสาวะที่เก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะมากพอเราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ
เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะบีบตัว
และหูรูดของกระเพาะปัสสาวะจะเปิดออก
ทำให้ปัสสาวะไหลผ่านท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอก


หน้าที่สำคัญของไตคือการสร้างปัสสาวะ
ซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ
และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
นอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดันโลหิต
และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
ดังนั้น เมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย


• อาการของโรคไต



:b41: 1. บวม


ทุกคนคงเคยมีการบวมมาแล้ว การบวมส่วนใหญ่เป็นการบวมเฉพาะที่
เช่นถูกแมลงกัดต่อย ฟกช้ำหลังเล่นกีฬา การบวมแบบนั้นมักไม่มีปัญหามาก
การรักษาเฉพาะที่จะทำให้อาการบวมดีขึ้นในเวลาไม่นาน
แต่การบวมที่มีความสำคัญก็คือการบวมทั้งตัว
ระยะแรกอาจมีเพียงการบวมที่หนังตา และหน้า
จะรู้สึกว่าแหวนหรือรองเท้าคับขึ้น ต่อมาจะมีการบวมที่ขาและเท้าทั้งสองข้าง
ถ้าบวมไม่มากอาจสังเกตไม่เห็น
ลองใช้นิ้วกดที่หน้าแข้งสักพักแล้วปล่อย จะมีรอยบุ๋มอยู่ แสดงว่าบวมแน่น
อาการบวมเกิดจากการมีน้ำและเกลือเพิ่มขึ้นในร่างกาย
โรคสำคัญที่ทำให้บวมก็คือ โรคไต โรคหัวใจ และโรคตับ


ดังนั้นถ้ามีการบวมทั้งตัวความรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็ค
และอาจจำเป็นต้องเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ด้วยการซื้อยามารับประทานเอง
อาจช่วยให้อาการบวมหายไปได้ แต่มักไม่ได้มีผลรักษาโรคโดยตรง
ยาแก้บวมส่วนใหญ่ คือยาขับปัสสาวะ ซึ่งทำให้มีปัสสาวะมากขึ้น
แต่อาจมีผลเสียจากยาและบดบังอาการของโรค ทำให้การรักษาล่าช้าไป


:b41: 2. ปัสสาวะเป็นเลือด

ปัสสาวะคนเราจะมีสีเหลืองใส อาจมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อยถ้าดื่มน้ำน้อย
ถ้าปัสสาวะที่ออกมามีสีออกแดงหรือเป็นแบบสีน้ำล้างเนื้อ
แสดงว่ามีเลือดออกจากทางเดินปัสสาวะ
ถ้าจะให้แน่นอนว่ามีเลือดออกจริงหรือไม่จะต้องตรวจปัสสาวะดู
คนปกติไม่ควรมีปัสสาวะเป็นเลือด ดังนั้นหากมีปัสสาวะดังกล่าว
ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคต่างๆได้หลายอย่าง
เช่น นิ่วเนื้องอกของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อุบัติเหตุกับทางเดินปัสสาวะ หรือเส้นเลือดฝอยของไตอักเสบ
โรคเหล่านี้ถ้ารีบรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะได้ผลดีกว่าทิ้งไว้นาน
ดังนั้นหากมีปัสสาวะสีผิดปกติควรมาพบแพทย์
แพทย์มักจะต้องให้ตรวจปัสสาวะ และถ้าพบเม็ดเลือดแดง
ก็จะต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและให้การ รักษาต่อไป


:b41: 3. ปัสสาวะบ่อย

คนเราแต่ละคนจะมีความถี่บ่อยของการปัสสาวะแตกต่างกัน
ขึ้นกับการฝึกหรือนิสัยส่วนตัว รวมทั้งปริมาณน้ำที่ดื่มและน้ำที่เสียไป
ทางเหงื่อกับอุจจาระ การที่มีปัสสาวะบ่อยกว่าที่เคยเป็นอยู่
ในระยะเริ่มต้นอาจสังเกตได้ไม่ชัดเจน อาการที่ต้องนึกถึงว่า
มีปัสสาวะบ่อยผิดปกติก็คือ การตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
ในคนปกติจะไม่ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยกว่าคืนละครั้ง


อาการปัสสาวะบ่อยเป็นอาการของโรคไตบางชนิด
แต่ความจริงแล้วผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยมักจะไม่ได้เกิดจากโรคไต
แต่เกิดจากสาเหตุอื่นมากกว่า ที่พบบ่อยที่สุดก็คือโรคเบาหวาน
นอกจากนั้นอาจเกิดจากเบาจืด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการกินน้ำมากเกินไป
นอกจากนั้นยังอาจเป็นอาการของโรคไตวายในระยะแรก
ดังนั้นถ้ามีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะหากมากกว่าวันละ 3 ลิตร
หรือตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา


:b41: 4. ปัสสาวะน้อยลง

โดยทั่วไปเมื่อคนเราดื่มน้ำมากปัสสาวะมักจะมากขึ้น
เมื่อดื่มน้ำน้อยปัสสาวะก็มักจะน้อยลงเช่นกัน
แต่หากดื่มน้ำมากแต่ปัสสาวะไม่ออกมากตาม หรือปัสสาวะไม่ออกเลย
มักเกิดจากการทำงานของไตเสียไป หรือมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
ดังนั้น เมื่อสังเกตว่าปัสสาวะน้อยลง ให้ลองรับประทานน้ำเพิ่มขึ้น
และสังเกตว่ามีปัสสาวะมากขึ้นหรือไม่ หากยังคงมีปัสสาวะออกน้อย
ถึงแม้จะดื่มน้ำมากขึ้นแล้ว ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาโดยทันที


:b41: 5. ปัสสาวะลำบาก

ขณะที่เราปัสสาวะเมื่อเกิดการปวดปัสสาวะนั้น
การปัสสาวะควรจะคล่องดีโดยไม่มีอาการขัด แสบ หรือปัสสาวะลำบาก
หากมีอาการดังกล่าว อาจเกิดจากโรคของกระเพาะปัสสาวะ
หรือท่อปัสสาวะโดยเฉพาะการตีบตันของบริเวณกระเพาะปัสสาวะส่วนล่าง
หรือการตีบของท่อปัสสาวะ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ท่อปัสสาวะอักเสบหรือตีบตัน และต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย
หากมีอาการปัสสาวะลำบากควรรีบมาปรึกษาแพทย์
เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษา
โดยทั่วไปมักจำเป็นต้องตรวจปัสสาวะหรือตรวจพิเศษเพิ่มเติม


:b41: 6. ปัสสาวะเล็ดราด

ร่างกายจะควบคุมให้เรากลั้นปัสสาวะไว้ได้จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะ
โดยส่วนของกระเพาะปัสสาวะที่ต่อกับท่อปัสสาวะ
จะมีหูรูดบีบไว้ไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราด เมื่อมีปริมาณของปัสสาวะมากขึ้น
เต็มกระเพาะปัสสาวะแล้ว กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวพร้อมกับหูรูดจะขยายออก
ทำให้ขับปัสสาวะออกมา หากมีความผิดปกติของหูรูด
ดังกล่าวทำให้หูรูดไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้


อาการปัสสาวะเล็ดราดพบได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะคนที่คลอดลูกหลายคน
ทำให้เกิดการหย่อนยานของมดลูกหรือที่เรียกว่ากระบังลมหย่อน
นอกจากนั้นอาจเกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ
หรือเนื้องอกของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ใกล้กับหูรูด


(จากส่วนหนึ่งของเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคไตที่ควรทราบ)

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117 สิงหาคม 2553
โดย นาวาอากาศเอก นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์
ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย)

ที่มา...ผู้จัดการออนไลน์


:b48: :b8: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร