วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2025, 01:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


โรค “ปวดหัว” ของคนทำงาน

นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง


หากมีใครคนหนึ่งถามว่า “คุณเคยปวดศีรษะไหม”
คงมีไม่กี่คนที่จะตอบได้อย่างมั่นใจว่า "ฉันไม่เคยปวดศีรษะเลยในชีวิต"


โรคปวดศีรษะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป
จากการศึกษาทางสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยผู้ชายร้อยละ 93
และผู้หญิงร้อยละ 99 ต่างเคยมีอาการปวดศีรษะในช่วงชีวิต
แม้ว่าอาการปวดศีรษะของคนโดยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง
แต่ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่อาการปวดศีรษะมีความรุนแรงและเรื้อรัง
ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะถ้าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดขึ้นในวัยทำงาน


สาเหตุของอาการปวดศีรษะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ
โดยในคนสูงอายุจะมีโอกาสเกิดโรคที่มีสาเหตุร้ายแรง
เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดอักเสบ
มากกว่าวัยรุ่นและวัยทำงานซึ่งมักมีสาเหตุจากโรคไมเกรน
โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว และโรคปวดศีรษะจากความเครียด
อย่างไรก็ตามในวัยทำงานซึ่งถือว่าเป็นวัยที่มีภาระและความรับผิดชอบสูง
หากมีโรคปวดศีรษะมารบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน
ก็เหมือนกับฝันร้ายในขณะตื่นเลยทีเดียว


:b48: 1. โรคปวดศีรษะชนิดใดพบบ่อยที่สุดในวัยทำงาน?

เราอาจเคยได้ยินบางคนบ่นว่า มีอาการปวด มึนๆ ตึงๆ ที่ศีรษะ
หลังจากทำงานหนัก พักผ่อนน้อย หรือมีความเครียด
โดยอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่า คุณกำลังมีอาการของ
“โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว” ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด
คำว่า “ตึงตัว” บ่งชี้ถึงลักษณะอาการของโรคปวดศีรษะชนิดนี้
คือ มีลักษณะปวดตึง บีบรัดศีรษะ ลักษณะคล้ายกับนำหมวกคับๆ มาสวม
อาการปวดมักพบร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหัวไหล่
รวมถึงอาการปวดกระบอกตาและอาการมึนศีรษะ

โดยอาการมักบรรเทาได้ด้วยการนวดบริเวณที่ปวดตึง
อาการปวดมักมีระดับไม่รุนแรงและไม่เป็นสาเหตุ
ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพักหรือหยุดงาน
อาการปวดมักบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป
เช่น พาราเซตามอล อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการปวดจะไม่รุนแรง
แต่ผู้ป่วยที่ปล่อยให้เกิดอาการปวดเรื้อรังจะทำให้ยากต่อการรักษา
และมีผลต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นประจำ
อาจนำไปสู่การติดยาแก้ปวดได้


เนื่องจากอาการปวดมักมีความสัมพันธ์กับความเครียด
ทำให้มีความเชื่อว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความเครียด
แต่จากการศึกษาพบว่า ความเครียดไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง
แต่เป็นเพียงแค่ปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น
ในปัจจุบันแม้ว่าได้มีการศึกษาค้นคว้าหาสาเหตุ
ของโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวมาเป็นเวลานาน
แต่ก็ยังไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุของอาการปวดศีรษะชนิดนี้ได้อย่างแน่ชัด


การรักษาและการป้องกันโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ได้แก่ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
เช่น ความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดโปร่ง
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้เนื่องจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
บริเวณต้นคอและหนังศีรษะมีความ เกี่ยวพันกับการนั่งหรือนอน
อยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการนั่งหรือนอนให้อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
จึงบรรเทาอาการและ ป้องกันอาการปวดศีรษะได้
อาการตึงตัวของกล้ามเนื้อสามารถบรรเทาได้ด้วยการนวด
หรือการประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกแล้ว
ยังลดผลข้างเคียงของยาแก้ปวดได้อีกด้วย



:b48: 2.“โรคไมเกรน” โรคปวดศีรษะที่พบบ่อยรองลงมา

ได้แก่ ถึงแม้ว่าโรคไมเกรนจะเป็นโรคปวดศีรษะ
ที่พบได้น้อยกว่าโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว
แต่ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการทำงานมากกว่า
เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสของผู้ป่วยไมเกรน
จะเพิ่มความไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้น เสียง แสง กลิ่น
ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นชั้นยอดต่ออาการปวดศีรษะ ร่างกายต้องพักจากการเคลื่อนไหว
เนื่องจากการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะเลวร้ายมากขึ้น
จึงถือได้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างแท้จริง
นอกจากนี้โรคไมเกรนยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ
คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดง่าย การนอนผิดปกติ
ซึ่งยิ่งซ้ำเติมทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงไปอีก


เนื่องจากโรคไมเกรนมีผลต่อการหดและขยายตัวของหลอดเลือดสมอง
ผลของโรคไมเกรนจึงไม่ได้ทำให้เกิดแค่อาการปวดศีรษะเท่านั้น
แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออัมพาตอีกด้วย
จากการศึกษาโดยนายแพทย์ Markus Schurks จาก Brigham
and Women’s Hospital ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า
ในผู้ป่วยโรคไมเกรนชนิดออร่าเรื้อรัง (ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ
เช่น เห็นแสงก่อนหรือขณะปวดศีรษะ)
จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
ผลจากการศึกษาทำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนต้องตระหนักถึงความสำคัญ
ในการรักษาโรคไมเกรนและการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง
ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้



หลักการรักษาโรคไมเกรนที่สำคัญที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะ
ซึ่งได้แก่ กลิ่นฉุน แสงจ้า เสียงดัง อากาศหนาวหรือร้อนจนเกินไป
นอนผิดเวลา นอนมากหรือน้อยเกินไป ความเครียด อาหารบางชนิด
เช่น เนื้อที่ผ่านการถนอมอาหาร เนย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากอาการปวดศีรษะมีความรุนแรงหรือความถี่มากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแนะนำและการรักษาในขั้นต่อไป
ความเครียดกับอาการปวดศีรษะในสภาวะปัจจุบันท่ามกลางสังคมแห่งการแข่งขัน
ปัญหาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การงาน ปัญหาครอบครัว รวมไปถึงเรื่องการเมือง
เป็นบ่อเกิดของความเครียดที่เพิ่มขึ้นในสังคม
มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการปวดศีรษะร่วมกับความเครียด
โดยเราได้ยินกันเป็นประจำกับคำว่า “เครียดจนปวดหัว”
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คงมีหลายคนสงสัยว่าความเครียด
สามารถเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้จริงหรือ
และถ้าเรากำจัดความเครียดออกไปได้แล้วอาการปวดศีรษะจะหายหรือไม่
ความเครียดมีความเกี่ยวพันกับอาการปวดศีรษะได้หลายแง่มุม
หากความเครียดเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะโดยตรง
เรียกโรคปวดศีรษะชนิดนี้ว่า


:b48: 3. “โรคปวดศีรษะจากความเครียด”

อีกกรณีหนึ่งคือความเครียดไม่ได้ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะโดยตรง
แต่เป็นเพียง “ปัจจัยกระตุ้น” ให้อาการปวดจากโรคปวดศีรษะชนิดอื่นๆ
กำเริบรุนแรงมากยิ่งขึ้น โรคปวดศีรษะที่ความเครียดเป็นตัวกระตุ้น ได้แก่
โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวและโรคปวดศีรษะไมเกรน

ในทางการแพทย์การวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะที่มีความเกี่ยวพันกับความเครียด
ทั้งสองกรณีออกจากกันมีความสำคัญในแง่การรักษาและการพยากรณ์โรคในระยะยาว


โรคปวดศีรษะจากความเครียดมีลักษณะการปวดได้หลายชนิด
แต่อาการปวดมักไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตึง มึนศีรษะ
หรือบางรายมีอาการปวดตุบๆ เหมือนอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน
หลักเกณฑ์ในการให้การวินิจฉัยคือ ผู้ป่วยต้องมีความเครียดในระดับสูงมาก
พอที่จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาการที่แสดงถึงความเครียดในระดับสูง
ได้แก่ กระวนกระวาย อ่อนเพลียง่าย สมาธิสั้น กล้ามเนื้อตึงตัว
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และมีความเครียดที่ยากต่อการควบคุมการรักษา
ได้แก่ ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด หรืออาจพบจิตแพทย์
เพื่อรับคำแนะนำในการผ่อนคลายความเครียด
ซึ่งโรคปวดศีรษะชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้


ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดเป็นตัวกระตุ้น
การรักษานอกจากจะลดความเครียดแล้ว ยังต้องรักษาโรคปวดศีรษะที่เป็นอยู่ด้วย
เช่น หากเป็นโรคไมเกรนอาจต้องใช้ยารักษาโรคไมเกรน
ควบคู่ไปกับการลดความเครียด เป็นต้น



:b48: 4. โรคปวดศีรษะกับการใช้งานคอมพิวเตอร์

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงาน
จนเราจินตนาการได้ยากว่าการทำงานโดยปราศจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร
ในแต่ละวันเราต่างใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์กันคนละหลายชั่วโมง
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์


เมื่อเราจดจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
แสงสว่างของจอมีผลทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งตัว
นอกจากนี้จอภาพยังมีผลทำให้สมองส่วนการรับภาพ
ต้องทำงานหนักและทำให้เกิดภาวะ เครียดและอาการมึนศีรษะตามมา
อาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่
อาการปวดศีรษะ มึนเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา
ปวดหรือหนักกระบอกตา การมองพร่ามัว
นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในระยะเวลานาน
มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต้อหินอีกด้วย



วิธีการหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ได้แก่
ปรับความสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
โดยทั่วไปความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์
ควรเท่ากับความสว่างของสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน
การใช้ฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอหรือการใส่แว่นตา
ที่มีการเคลือบกันแสงสะท้อนจากหน้าจอ (anti-reflective [AR] coating)
การเช็กสายตาอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากปัญหาทางสายตา
เช่น สายตาสั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น การบริหารดวงตาโดยการละสายตา
จากคอมพิวเตอร์และกลอกตาไปมาเป็นเวลา 10-20 วินาที
ทุกๆ 20 นาทีของการใช้คอมพิวเตอร์ การกะพริบตาบ่อยๆ
เพื่อป้องกันอาการตาแห้งและระคายเคืองสายตา
เพียงเท่านี้ก็ทำให้การทำงานด้วยคอมพิวเตอร์
ไม่สร้างความเครียดให้สมองและ สายตามากนัก



:b48: 5.โรคปวดศีรษะจากผลของคาเฟอีน

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้
เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เป็นที่นิยมอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ไปแล้ว
จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า
ประชากรทั่วไปดื่มกาแฟโดยเฉลี่ยมากถึง 2.5 แก้วต่อวัน
ซึ่งคาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่มจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท
ทำให้ร่างกายและสมองเกิดความตื่นตัว ไม่ง่วงนอน
กระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือด มีผลให้ร่างกายทนต่อการทำงานได้มากขึ้น


ผลของคาเฟอีนต่อสมองและหลอดเลือด
มีความเกี่ยวพันกับโรคปวดศีรษะหลายชนิดทั้งในด้านบวกและด้านลบ
ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของคาเฟอีนได้ถูกนำมาใช้
ในการรักษาอาการปวดศีรษะฉับพลัน ของโรคไมเกรน
แพทย์บางท่านแนะนำว่า เมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน
การดื่มกาแฟสักหนึ่งแก้วสามารถทำให้อาการทุเลาได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าคาเฟอีนสามารถระงับอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน
แต่การบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป็นระยะยาว
ไม่ว่าจากการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเป็นประจำ
จะทำให้สมองเกิดการดื้อต่อคาเฟอีนและเกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง
ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาต้านไมเกรน

ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรน
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
หากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากยังมีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
กระสับกระส่าย สมาธิสั้น ซึ่งทำให้กระตุ้นโรคปวดไมเกรน
และโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวทางอ้อมอีกด้วย


นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นระยะเวลานาน
ร่างกายและสมองจะเกิดการปรับตัวให้เกิดภาวะติดคาเฟอีน
ซึ่งทำให้เมื่อหยุดดื่มคาเฟอีนจะมีอาการปวดศีรษะ
เรียกโรคปวดศีรษะชนิดนี้ว่า “โรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีน”
(caffeine withdrawal headache)
โดยโรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีนจะเกิดขึ้น
ในคนที่บริโภคคาเฟอีนอย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน
(ปริมาณเท่ากับกาแฟ 2 แก้ว หรือชา 4 แก้ว)
ซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ทุเลาเมื่อระยะเวลาผ่านไป
หลังหยุดบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์



เนื่องจากอาการปวดศีรษะที่พบได้ในวัยทำงานมีความหลากหลาย
สิ่งที่สำคัญคือการสังเกตและเอาใจใส่ต่ออาการ
และสภาพแวดล้อมที่อาจมีส่วน กระตุ้นอาการปวดศีรษะ
การละเลยที่จะค้นหาถึงสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่แท้จริง
และทำให้การรักษาล่าช้าตั้งแต่ระยะแรก
อาจทำให้โรคปวดศีรษะมีความยากต่อการรักษา
และหลายคนอาจต้องบ่นออกมาว่า “รู้อย่างนี้ รักษาตั้งแต่แรกก็ดี”
ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวัยทำงานและกำลังมีอาการปวดศีรษะ
คุณได้สำรวจอาการปวดศีรษะของคุณแล้วหรือยัง



ที่มา...นิตยสารHealthToday

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: cheesy ขอบพระคุณสำหรับเนื้อหาสาระของกระทู้นี้มากค่ะ
ช่วงนี้ “สาวิกาน้อย” ปวดหัวค่อนข้างถี่มากกว่าปกติ
คงเพราะทำงานหนัก พักผ่อนน้อย มีความเครียด
และใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่าปกติ :b12: :b13: :b27:
ก็พยายามนั่งกรรมฐาน ทำสมาธิภาวนา เพื่อให้ผ่อนคลายจ๊ะ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: อนุโมทนา..สาธุ..จร้า..น้องลูกโป่ง :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร