วันเวลาปัจจุบัน 20 มิ.ย. 2025, 13:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2020, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระอริยสงฆ์ผู้เป็นเทพเจ้าของพวกโลกทิพย์

รูปภาพ

หนังสือ ชีวประวัติพระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
วัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
ฉบับสมบูรณ์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2020, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สารบัญ

คำนำ
คำปรารภ
ชีวประวัติ พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
ปฐมวัย
ภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ
อุปนิสัยในทางธรรม
เรื่องสามเณรนาคเที่ยวกรรมฐาน
พ.ศ. ๒๔๘๗ บรรพชา
พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัน
ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
ธรรมสำคัญกว่าวัตถุ
พ.ศ. ๒๔๘๘ จำพรรษาที่วัดดอยธรรมเจดีย์
พ.ศ. ๒๔๘๙ อุปสมบท
พ.ศ. ๒๔๘๙ จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์
มูลเหตุที่ทำให้เกิดกำลังใจ
บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำคำไฮและถ้ำเจ้าผู้ข้า
พ.ศ. ๒๔๙๐ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาส
ผจญช้างป่าร่วมกับหลวงปู่ฝั้น
พ.ศ. ๒๔๙๑ จำพรรษาที่วัดพระงามศรีมงคล
พ.ศ. ๒๔๙๒ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี
พ.ศ. ๒๔๙๓ จำพรรษาที่วัดป่าโสตถิผล (วัดป่าบ้านหนองโดก)
ผจญภัยกับหลวงปู่มุล
อาคันตุกะผู้มาเยือน
ปรารภถึงความดีของหลวงปู่สีลา อิสฺสโร
พ.ศ. ๒๔๙๔ จำพรรษาที่วัดป่าอิสสระธรรม
ไข้ป่าเป็นเหตุ
ไปเยี่ยมไข้สามเณรน้อย
หมาเห็นผีจริงไหม
ไหนตัวเรากันแน่
โลกทิพย์
ขอกลับมาสร้างบารมีต่อ
หลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร ท่องเมืองนรก
เจ็บซ้ำสอง
พ.ศ. ๒๔๙๕ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโสกก่าม
เปรตกินของสงฆ์ไม่อุปโลกน์
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน ๔ ประการ
โปรดเปรตตาทา แห่งบ้านนางัว
เทศน์พิเศษหลังสรงน้ำประจำวัน
พ.ศ. ๒๔๙๖ จำพรรษาที่ภูเก้า
กลับภูมิลำเนาโปรดญาติ
เทศน์กัณฑ์พิเศษ
พิธีทำบุญให้เปรต
หลวงปู่เล่าเรื่องทำบุญอุทิศให้คนตายแต่คนเป็นได้รับ
พ.ศ. ๒๔๙๗ จำพรรษาที่วัดป่าอรัญญวิเวก (บ้านหนองโต่งโต้น)
บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระภูวัว
พ.ศ. ๒๔๙๘ จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านหนองท่มท่ากะดัน (วัดสันติธรรมวนาราม)
มุ่งสู่นครเวียงจันทน์
พ.ศ. ๒๔๙๙ จำพรรษาที่วัดจอมไตร ประเทศลาว (พรรษาแรก)
พ.ศ. ๒๕๐๐ จำพรรษาที่วัดจอมไตร ประเทศลาว (พรรษาที่สอง)
ถูกนิมนต์กลับประเทศลาวอีกครั้งหนึ่ง
บทความจากนิตยสารลานโพธิ์
พ.ศ. ๒๕๐๑ จำพรรษาที่วัดเขาไทรสายัณห์
สะกดจิตหนึ่งต่อสอง
อภิญญาสมาบัติ
พาศิษย์ธุดงค์ภูวัว
พ.ศ. ๒๕๐๒ จำพรรษาที่ถ้ำเป็ด ภูเหล็ก
เทวดาจำแลง
พ.ศ. ๒๕๐๓ จำพรรษาที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง
ศรัทธา ๘๐ บาทของชาวบ้านยายแย้ม
บำเพ็ญธรรมในแดนกะเหรี่ยง
ได้พบสหชาติในดงใหญ่
วิธีเลี่ยงจากเนื้อตะกวด
ขออย่างได้อีกอย่าง
มุ่งประกาศธรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก
มูลเหตุและการเกิดขึ้นของวัดเนินดินแดง
คำทำนายของท่านพ่อลี
รับนิมนต์ไปวัดเนินดินแดง
พ.ศ. ๒๕๐๔ จำพรรษาที่วัดเนินดินแดง (พรรษาแรก)
โปรดชาวสมาชิกนิคมฯ
ดับกลิ่นเหล้าด้วยสับปะรด
เห็นพระเป็นหมีเพราะผิดสัจจะ
พ.ศ. ๒๕๐๕ จำพรรษาที่วัดเนินดินแดง (พรรษาที่สอง)
โปรดโยมอู๋
พ.ศ. ๒๕๐๖ จำพรรษาที่วัดเนินดินแดง (พรรษาที่สาม)
ผีให้พลอย
ปฐมฤกษ์ครั้งแรกบนเขาสุกิม ปรากฏการณ์ตามคำพยากรณ์ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร
พ.ศ. ๒๕๐๗ จำพรรษาที่บนเขาสุกิม (พรรษาแรก) จนถึงพรรษาสุดท้าย พ.ศ. ๒๕๔๗
ปักธงธรรมแบบถาวรบนยอดเขาสุกิม
หัวเขาอีกิม จะสว่างรุ่งเรือง
หัวเขาอีกิม จะสว่างไสวคนทั่วประเทศจะต้องรู้จัก
หัวเขาอีกิม จะเป็นศูนย์รวมของตัวแทนศาสนาต่างๆ
หัวเขาอีกิม จะสว่างถึงที่สุด คนทั่วโลกจะรู้จัก
ดั่งสายธารทิพย์จากสรวงสวรรค์
จอมคนของแผ่นดินทรงมีพระราชปุจฉา
สงเคราะห์เพื่อนร่วมโลก
ธรรมะใต้แสงดาว เรื่องหมื่นโลกธาตุและแสนโกฏิจักรวาล
มารไม่มีบารมีไม่เกิด
ปัจฉิมกาล
ปฐมเหตุโครงการก่อสร้างเจดีย์
เสานี้มีความสำคัญ
หลวงปู่เริ่มอาพาธ
ยางตาย
เรื่องร่างกายให้หมอรักษา เรื่องจิตใจเรารักษาเอง
คำสั่งพ่อมีเพียงแค่นี้
การเดินจงกรมได้สิ้นสุดลง
ถ้ามีหมอผู้หญิงมาถูกตัวให้ตายเสียดีกว่า
ประวัติการอาพาธ
กิจวัตรประจำวันระหว่างอาพาธ
พ.ศ. ๒๕๔๗ จำพรรษาที่วัดเขาสุกิม ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้าย
ปัจฉิมโอวาท วันปวารณาออกพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่
ทุกวินาทีดูประหนึ่งว่าโลกจะหยุดนิ่ง
ประทีปธรรมแห่งภาคตะวันออกดับแล้ว
นิมนต์สรีระหลวงปู่จาก ร.พ.วิชัยยุทธ มาวัดเทพศิรินทราวาส
พระบรมราชานุเคราะห์
นิมนต์สรีระหลวงปู่จากวัดเทพศิรินทราวาสกลับวัดเขาสุกิม
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
หมายรับสั่ง
คำสำนึกในพระกรุณาธิคุณ
พระวรธรรมานุสรณ์
พระเถระผู้มีความดี
ธรรมานุสรณ์
พระวิสุทธิญาณเถร
พระเถระผู้ทรงคุณธรรมและสร้างประโยชน์
วิสุทธิญาณเถรรำลึก
วิสุทธิญาณเถรานุสฺสรณคาถา
วิสุทธิญาณเถรานุสรณ์
คำไว้อาลัยพระอาจารย์สมชาย
คำไว้อาลัยของพระมงคลญาณเถร
คำไว้อาลัยของพระญาณทีปาจารย์
ธรรมที่ไม่ต้องเทศน์
ประมวลภาพวันมรณภาพ วันสรงน้ำ และการบำเพ็ญกุศล ณ วัดเทพศิรินทราวาส
ประมวลภาพพิธีขบวนนำสรีระหลวงปู่กลับวัดเขาสุกิม
ประมวลภาพพิธีบำเพ็ญกุศล ณ วัดเขาสุกิม จันทบุรี
ประมวลภาพสำคัญในอดีต
ประมวลภาพเครื่องไทยธรรมในงานพระราชพิธีต่างๆ
ประมวลภาพโล่และใบประกาศเกียรติคุณในการบำเพ็ญสาธารณสงเคราะห์

ภาคผนวก
ปฏิปทาของหลวงปู่
กิจส่วนตัวของหลวงปู่
หลวงปู่เล่านิทาน
กิจนิมนต์ของหลวงปู่
เรื่องการรักษาบริขาร
หลวงปู่ไม่หายใจทิ้ง
การสร้างรูปเหรียญและวัตถุมงคล
หลวงปู่ไม่พักแรมในบ้านโยม
ครูบาอาจารย์พูดคุยกันทางจิต
แผ่เมตตาแต่เป็นกสิณ
วัวสำนึกบุญคุณ
หลวงปู่ไม่นวดเส้น
หลวงปู่ไม่ให้พระเณรก่อสร้างด้วยตนเอง
ฝึกสวดพระปาติโมกข์มาจากหลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
ธรรมาสน์เณรคำ
โปรดพรานแสวง
ฉันข้าวทิพย์
เอาตัวรอดจากมาตุคาม
เกียรติประวัติที่สำคัญของวัดเขาสุกิม

พระธรรมเทศนา พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
เรื่อง วิธีทำสมาธิและผลของสมาธิ
เรื่อง วิธีสร้างสติ
เรื่อง วิธีทดสอบสติ
เรื่อง ตอบปัญหาธรรม กับ อุบาสกผู้สงสัย (ภาคที่หนึ่ง)
เรื่อง ตอบปัญหาธรรม กับ อุบาสกผู้สงสัย (ภาคที่สอง)
เรื่อง ตอบปัญหาธรรม กับ อุบาสกผู้สงสัย (ภาคที่สาม)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2020, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ชีวประวัติ
พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
วัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

:b44: :b47: :b44:

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ได้ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ต.จังหาร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

โยมบิดาชื่อ สอน นามสกุล มติยาภักดิ์ โยมมารดาชื่อ บุญ นามสกุล มติยาภักดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีคนเล็กของคุณหลวงเสนา ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในท้องถิ่นนั้น หลวงปู่สมชายท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตเพียง ๑ คน คือ นายหนู มติยาภักดิ์

คุณตาของหลวงปู่สมชาย คือ คุณหลวงเสนา นั้นเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของหมู่บ้าน และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในท้องถิ่นนั้นมาก เพราะท่านเป็นหัวหน้าใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นผู้นำของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมการบูชาเทวดาตามลัทธิความเชื่อของศาสนา และเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงเสนา”

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านถือกำเนิดในสกุลของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ขณะที่ท่านได้ถือกำเนิดขึ้นมานั้น เป็นวันและเวลาที่กำลังจะประกอบพิธีกรรมทางลัทธิศาสนาประจำปีพอดี โดยมีการจัดพิธีบูชาเทวดาประจำปี มีขบวนรื่นเริงสมโภชศักราชใหม่แห่งปี มีขบวนแห่นางเทพธิดานั่งทรงมาบนหลังเสือ พร้อมกับมีรูปวัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปีฉลูและเป็นเทพเจ้าของชาวฮินดู โดยจะเริ่มประกอบพิธีกันที่บ้านของหัวหน้าแล้วจึงจะแห่ขบวนไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลของลูกบ้านทุกครัวเรือน (คงจะคล้ายกันกับพิธีแห่นางสงกรานต์ในปัจจุบันนี้นั่นเอง) เมื่อเสียงฆ้องสัญญาณดัง “...มุ้ย ย ย ๆ...ๆ...” ขึ้นมา ก็พอดีกับบุตรีของหัวหน้าซึ่งตั้งครรภ์แก่ และกำลังร่วมอยู่ในพิธีขบวนแห่นั้นด้วย ก็ได้ให้กำเนิดบุตรในระหว่างที่พิธีกำลังจะเริ่มขึ้นพอดี ทำให้ต่างคนต่างก็เข้ามาช่วยปฐมพยาบาลทำคลอด และมัวสาละวนอยู่กับเรื่องการคลอดบุตรจนเวลาเลยผ่านฤกษ์ยามดีที่กำหนดกันไว้ จนตะวันบ่ายคล้อยลงเป็นเหตุให้พิธีต่างๆ ที่กำลังจะดำเนินในระหว่างนั้นต้องหยุดระงับลงโดยปริยายเสมือนลางบอกเหตุว่า “...ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะไม่มีในท้องถิ่นนี้อีกต่อไป...”


จากนิมิตหมายดังกล่าวในครั้งนั้น คุณหลวงเสนา ผู้เชี่ยวชาญเป็นโหราจารย์อยู่แล้วจึงได้พยากรณ์หลานชายของท่านเอาไว้ว่า “เด็กคนนี้จะต้องเป็นผู้มาเปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูลในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน” เนื่องจากเหตุการณ์การถือกำเนิดของหลวงปู่สมชายทำให้พิธีกรรมต่างๆ ของศาสนาต้องล้มเลิกลงกลางคันเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งบอกเหตุอย่างหนึ่งว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในท้องถิ่นนั้นจะสิ้นสุดลงในกาลต่อมา ซึ่งก็ปรากฏว่าภายหลังจากที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา และได้ศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมจนเกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ได้นำพุทธธรรมไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นจนเกิดศรัทธา ปัจจุบันชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นได้หันมานับถือพระพุทธศาสนากันจนหมดสิ้น พิธีกรรมที่เคยทำเหลือไว้เพียงแต่ตำนานเล่าขานกันเท่านั้น

โยมมารดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่หลวงปู่ยังเล็ก มีอายุประมาณ ๒ ขวบเท่านั้น จึงตกเป็นภาระของคุณตาคือคุณหลวงเสนา ให้การอุปการะเลี้ยงดูหลวงปู่ต่อมา ซึ่งหลวงปู่ก็อยู่กับคุณตาได้ไม่นานนัก คุณตาก็ถึงแก่กรรมจากไปอีก

รูปภาพ
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)

รูปภาพ
พระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม)
วัดเขาต้นเกด (วัดราชายตนบรรพต)


รูปภาพ
หลวงปู่ฟัก สนฺติธมฺโม
วัดพิชัยพัฒนาราม (วัดเขาน้อยสามผาน)


รูปภาพ
พระอาจารย์สุชาติ ชาตสุโข
วัดป่าบ้านวไลย (วัดป่าวิทยาลัย)

• สายรกตะพายแล่ง

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมลงอุโบสถทำสังฆกรรม สวดพระปาฏิโมกข์ ณ วัดเขาต้นเกด (วัดราชายตนบรรพต) อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม) เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เมื่อเสร็จจากลงอุโบสถแล้ว พระบางส่วนจะตามไปส่งหลวงปู่ก้านถึงกุฏิ ผู้เขียนจึงตามไปด้วย และวันนั้นท่านพระอาจารย์สุชาติ ชาตสุโข เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านวไลย (วัดป่าวิทยาลัย) ซึ่งเป็นวัดที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ในขณะนั้น ได้ปรารภถึงเรื่องที่จะไปร่วมงานทำบุญครบรอบวันมรณภาพหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ปีที่ ๖ ในวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ให้หลวงปู่ก้านฟัง เมื่อกล่าวเสร็จแล้ว หลวงปู่ก้านท่านจึงได้กล่าวถึงประวัติหลวงปู่สมชายเล็กน้อยดังนี้

“หลวงปู่สมชายท่านเคยมาพักที่นี่ (วัดเขาต้นเกด) ระยะหนึ่ง แล้วก็เข้าไปบำเพ็ญในป่า แล้วจึงออกมาพักที่นี่อีก มีลูกศิษย์ติดตามออกมาส่งมากมาย เป็นชาวกระเหรี่ยง แล้วท่าน (หลวงปู่ก้าน) ก็เล่าติดตลกว่า ท่านเอาน้ำมาเลี้ยงต้อนรับคณะของหลวงปู่และญาติโยมชาวกระเหรี่ยง และได้เอากระโถนมาวางไว้ด้วยตามธรรมเนียม พวกกระเหรี่ยงนั้นก็เทน้ำใส่กระโถนแล้วก็กินโดยใช้กระโถนแทนแก้ว ท่านพูดจบก็หัวเราะเบาๆ แล้วจึงพูดต่อไปว่า หลวงปู่สมชายท่านพักอยู่ที่นี่ไม่นาน แล้วก็ไป จ.ชุมพร ทีหลังได้ข่าวว่าไปที่จันทบุรี วัดหลวงปู่ฟัก (สนฺติธมฺโม) และต่อมาก็ได้มาสร้างวัดเขาสุกิม

ที่ท่าน (หลวงปู่สมชาย) มาพักกับผมนั้น ก็เพราะว่าเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์องค์เดียวกัน คือหลวงปู่มั่น อุปัชฌาย์องค์เดียวกัน คือพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)

ท่าน (หลวงปู่สมชาย) ว่าตอนเกิดมานั้น มีสายรกตะพายแล่ง คนที่มีสายรกตะพายแล่งนั้นจะเป็นคนที่ทำอะไรทำจริง (ตอนนี้ท่านพูดเน้นเสียงช้าๆ ชัดๆ) และคุณตาซึ่งเป็นผู้นำศาสนาฮินดูในสมัยนั้น เมื่อเห็นดังนั้นจึงได้ทำนายไว้ว่า เด็กคนนี้โตขึ้นมาจะทำลายเรา (หมายถึง ทำลายศาสนานาฮินดูซึ่งท่านเป็นหัวหน้าอยู่ในขณะนั้น)”

ผู้เขียนได้ซักขึ้นเพื่อต้องการรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งที่รู้ว่าไม่สมควรว่า “ขอโอกาสครับหลวงปู่ เรื่องนี้ไม่มีในหนังสือประวัติหลวงปู่”

หลวงปู่ก้านท่านจึงตอบขึ้นว่า “เรื่องนี้ท่านคุยให้ผมฟังเอง”


๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
จากบันทึก “ประวัติหลวงปู่ฯ บางส่วนที่หายไป”


• ภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ

ภายหลังจากคุณหลวงเสนา ผู้เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็น หรือดวงประทีปที่ให้แสงสว่างได้ถึงแก่กรรมลงอย่างกะทันหันด้วยอหิวาตกโรคระบาดในครั้งนั้น (สมัยโบราณเรียกกันว่า โรคห่าระบาด) ความรุ่งโรจน์และแสงสว่างได้ดับวูบลง อนาคตมืดมน มองไม่เห็นทิศทางว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อไป

มารดาบังเกิดเกล้าจากไปตั้งแต่ท่านยังเล็กมาก จนไม่ทราบว่าหน้าตาของแม่เป็นอย่างไร จากนั้นเวลาห่างกันไม่กี่ปี คุณตาผู้เปรียบเสมือนพ่อและแม่บังเกิดเกล้า ก็มาถึงแก่กรรมไปอีกเป็นคนที่สอง ส่วนโยมบิดานั้นก็ทอดทิ้งไม่สนใจเลี้ยงดูท่านเลย ความว้าเหว่ ความเศร้าโศกได้เกิดขึ้นอย่างสุดซึ้ง เกินที่จะพรรณนาความรู้สึกในขณะนั้นได้

เมื่อเหตุการณ์หรือมรสุมร้ายผ่านไปแล้วหลวงปู่สมชายก็ได้ไปอาศัยอยู่กับญาติผู้หนึ่ง มีศักดิ์เป็นพี่ชาย ในฐานะเป็นลูกผู้พี่ ได้อยู่ร่วมกันด้วยดีมีความสุขและราบรื่นมาได้ระยะหนึ่ง มรสุมลูกใหม่ก็เกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สาม คือ พี่สะใภ้ผู้ที่หลวงปู่อาศัยอยู่ด้วยนั้นได้มาเสียชีวิตลงไปอีก ปล่อยให้ลูกเล็กๆ ๔-๕ คนเป็นกำพร้า หลวงปู่จึงต้องช่วยรับผิดชอบเป็นภาระเลี้ยงดู หลังจากพี่สะใภ้จากไปแล้วพี่ชายก็ประพฤติตัวเกเรมั่วสุมเรื่องอบายมุข ทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ ไม่สนใจภาระหน้าที่ของตน ความเป็นอยู่ภายในครอบครัวทั้งหมดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของหลวงปู่จะต้องรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง ท่านจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อสร้างฐานะครอบครัวให้ดีขึ้นเทียมบ่าเทียมไหล่คนในหมู่บ้าน หลวงปู่ได้ยึดอาชีพค้าขาย ค้าสิ่งของจิปาถะทั่วไปโดยนำของจากหมู่บ้านไปขายในเมือง ซื้อสิ่งของในเมืองมาขายที่หมู่บ้าน วันไหนค้าขายดีมีกำไรมากหน่อยก็มักซื้ออาหาร ของใช้บริโภคมาฝากคนเฒ่าคนแก่ และเด็กๆ ในหมู่บ้าน หลวงปู่มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก และติดตัวหลวงปู่มาโดยตลอด ว่างจากค้าขายก็ทำนา หลวงปู่เป็นคนแข็งแรงจึงทำงานได้ทุกอย่างไม่มีเวลาว่างที่จะไปเที่ยวเตร่อย่างคนอื่น จึงสามารถสร้างฐานะของตัวเองได้ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น

ช่วงเวลาที่หลวงปู่สมชายดิ้นรนหาเงินสร้างฐานะทางครอบครัวอยู่นั้น ท่านมีอายุเพียง ๑๔ ปีเศษ และต้องหอบหิ้วเลี้ยงดูหลานอีก ๔-๕ คน บ้านที่อยู่อาศัยก็ไม่มี ต้องไปขออาศัยอยู่ใต้ถุนบ้านญาติคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากผู้เป็นเจ้าของบ้านเท่าไรนัก เป็นเหตุให้หลวงปู่สมชายต้องดิ้นรน มุมานะพยายามหาเงินเพื่อซื้อบ้านอยู่เป็นของตัวเอง ด้วยโชคชะตาบวกกับความขยันของหลวงปู่ไม่ว่าจะ จับสิ่งใดทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง ค้าขายก็ได้รับผลกำไรไปทุกครั้ง ทำนาก็ได้ข้าวกล้าบริบูรณ์เต็มยุ้งเต็มฉางทุกปี หลวงปู่ได้พยายามหาเงินด้วยความสุจริต เก็บทีละเล็กละน้อย ส่วนพี่ชายกับมีนิสัยตรงข้าม ไม่ทำการทำงาน ประพฤติตัวเกเร มักแอบมาลักขโมยเงินบ้าง ข้าวของบ้างเป็นประจำ จึงรู้สึกเสียใจและน้อยใจในตัวพี่ชายเป็นอย่างมาก ลูกของตัวเองก็ไม่เลี้ยง ไม่ทำหน้าที่ของพ่อผู้ให้กำเนิด แล้วยังมาขโมยเงินที่ท่านหามาได้เอาไปสูบฝิ่น ดื่มเหล้า และเล่นการพนันอีก

หลวงปู่สมชายดิ้นรนหาเงินสร้างฐานะด้วยลำแข้ง ด้วยสติปัญญาของท่านเองโดยใช้เวลาอยู่หลายปี เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๗-๑๘ ปี ความพยายามของท่านก็ประสบความสำเร็จน่าพอใจ ได้จัดซื้อบ้านอยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ๑ หลัง ราคา ๗๕ บาทเพื่อให้ตัวเองและหลานๆ อีก ๔-๕ คนได้มีที่อยู่อาศัย และซื้อเกวียน ๑ เล่มเพื่อเอาไว้บรรทุกสินค้าไปค้าขายในเมือง พร้อมกับวัวราชามัย ๑ คู่ ราคา ๗๕ บาท มีทั้งที่ดินที่นา ทรัพย์สิน และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ นับว่าท่านมีนิสัยรับผิดชอบเป็นหัวหน้าและเป็นผู้นำที่ดี คือรู้จักรับผิดชอบตัวเองและส่วนรวมมาตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่นวัยหนุ่ม ท่านจึงเป็นที่ยอมรับ ยกย่องสรรเสริญ และเป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่ใกล้ชิดและคนทั่วไปในหมู่บ้านด้วย หลวงปู่ได้ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายอยู่ในฆราวาสวิสัยจนอายุได้ ๑๙ ปี ก็เกิดความเบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่ทางโลกที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่เที่ยง น่าเบื่อหน่าย และคงด้วยบารมีเก่าในอดีตมาประกอบทำให้ต้องการสลัดสิ่งผูกพันอันที่อาจจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า ท่านจึงคิดที่จะสละเพศฆราวาส ออกใช้ชีวิตเป็นนักบวชในบวรพระพุทธศาสนา เพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์และความสุขอันแท้จริงของชีวิตต่อไป

รูปภาพ

• อุปนิสัยในทางธรรม

หลวงปู่เคยเล่าเอาไว้ว่า บุคคลผู้มีอุปนิสัยในทางธรรมนั้นมักจะมีเทพดามาคอยตักเตือนหรือแสดงนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียกว่า สิ่งบอกเหตุ นั่นเอง “ผมเอง ! ตั้งแต่อายุราว ๑๖ ปี ผมมักจะฝันอยู่เรื่องเดียว เรื่องอื่นไม่เคยฝันถึงเลย หลับเมื่อไรเป็นอันว่าความฝันเรื่องนี้เกิดขึ้นทันที ไม่น่าเชื่อว่าคนอะไรจะฝันเรื่องเดียวกันติดต่อถึง ๔ ปี ผมฝันว่า ผมเคยเป็นนักพรตถือเพศพรหมจรรย์ ปราศจากคู่ครองเป็นชาติกำเนิดที่บริสุทธิ์ มาถึง ๓ ชาติ...ในความฝันนั้นว่า

ชาติแรกนั้น ผมเคยเกิดเป็นฤๅษีอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ก่อนที่จะบวชเป็นฤๅษีผมมีลุงเป็นฤๅษีอยู่ก่อนแล้ว ปลูกอาศรมอยู่ในป่าแห่งนั้น ทุกวันฤๅษีผู้เป็นลุงจะมาบิณฑบาตที่บ้านเป็นประจำ วันหนึ่งฤๅษีผู้เป็นลุงก็ชวนว่า “ไอ้น้อยไปบวชด้วยกันเอาไหม...” ยังไม่มีนิสัยอะไรเลย พอลุงชวนก็ไป ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้และได้บวชเป็นฤๅษีจนสิ้นอายุขัย...

ชาติที่สองต่อมา ก็ลุงอีกเช่นกันที่เป็นหัวหน้าฤๅษีอยู่ในหุบเขากลางดงใหญ่มาชวนไปบวชอีก ผมเริ่มมีนิสัยบ้างได้ไปบวชเป็นฤๅษีบำเพ็ญพรตจนสิ้นอายุขัยอยู่ในหุบเขาแห่งนั้นนั่นเอง...


ชาติที่สาม ผมเกิดเป็นลูกของชาวประมง อาศัยอยู่ที่เกาะกลางทะเล พ่อและแม่มีอาชีพจับปลาขาย พอเริ่มหัดพูด ก็พูดกับพ่อและแม่ว่า “ทำบาป..บาปๆ” พูดเตือนพ่อแม่แต่เรื่องบาปเรื่องกรรมอยู่เนืองๆ จนอายุ ๑๐ ขวบก็ไม่เคยช่วยพ่อแม่จับปลาเลย พ่อแม่ก็รังเกียจว่าไม่ช่วยทำงาน ตัวเองก็รังเกียจการทำปาณาติบาตของพ่อแม่ วันหนึ่งลุงผู้เป็นฤๅษีมาบิณฑบาตที่บ้าน พ่อกับแม่ก็พูดว่า “...เราคนบุญก็ไปอยู่กับคนบุญซะไป” พ่อกับแม่ก็ฝากไปอยู่กับลุงผู้เป็นฤๅษี ที่ปลูกอาศรมอยู่บนภูเขากลางเกาะแห่งนั้นนั่นเอง และได้บำเพ็ญพรตพรหมจรรย์อยู่กับการบูชาไฟ ทรมานตน เมื่อลุงสิ้นชีพลงก็ได้รับมอบตำแหน่งหัวหน้าฤๅษีต่อจากลุง โดยมีบริวาร ๕๐๐ อยู่จนจบพรหมจรรย์เพศบนเกาะกลางทะเลท่ามกลางบริวารห้อมล้อมมากมาย สิ้นชีพจากชาตินั้นแล้วก็มาเกิดอยู่ในตระกูลของคุณหลวงเสนา ผู้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในชาติปัจจุบัน...”

“...หัวหน้าฤๅษีผู้เป็นลุงของผมใน ๓ ชาติก่อนนั้น ก็คือคุณหลวงเสนา คุณตาของผมในชาติปัจจุบัน ตามนิมิตที่ผมได้ฝันถึงอยู่ ๔ ปีติดต่อกันนั่นเอง...” ผมก็นึกอยู่เหมือนกันว่า ชาตินี้ผมก็คงอยู่แบบปราศจากคู่ครองอีกเช่นกัน เมื่อครั้งสมัยที่คุณตาหลวงเสนายังมีชีวิตอยู่ ท่านก็พยายามอบรมสั่งสอนผมทุกวิถีทาง เพื่อต้องการให้ผมได้เป็นผู้ดำรงวงศ์สกุลสืบทอดลัทธิพราหมณ์-ฮินดูต่อจากท่าน เพราะว่าคุณหลวงเสนาท่านมองเห็นลักษณะพิเศษบางอย่างในตัวของผม ซึ่งส่อแสดงให้เห็นว่าเป็นลักษณะของนักพรตคนหนึ่งในอนาคตนั่นเอง...”

ด้วยนิสัยปัจจัยเก่าที่หลวงปู่สมชายท่านได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติ เมื่อมาประสบเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส และพอใจในเพศของนักพรต ซึ่งมีความเป็นอยู่กับความเพียร เพ่ง สันโดษ แสวงหาความสงบเพื่อพ้นทุกข์แต่อย่างเดียว ยิ่งโตขึ้นท่านยิ่งมีความพอใจเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ สมัยที่คุณตาหลวงเสนายังมีชีวิตอยู่นั้น หลวงปู่สมชายท่านก็มีความสนใจในธรรมทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ท่านได้เสาะแสวงหาหนังสือที่เกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนามาอ่านอยู่เสมอๆ หนังสือที่ท่านชอบอ่านที่สุดในสมัยนั้นคือ หนังสือพุทธประวัติและหนังสือนวโกวาท บางครั้งท่านก็ได้แอบหลบคุณตาของท่านไปฟังเทศน์จากพระกรรมฐานอีกด้วย โดยได้ไปฟังเทศน์จากท่านพระอาจารย์นาค โฆโส ซึ่งเป็นพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต รูปที่มีชื่อเสียงสำคัญในสมัยนั้น ในช่วงนั้นกิตติศัพท์ของท่านพระอาจารย์นาค โฆโส โด่งดังมาก และท่านมักจะเดินธุดงค์ผ่านมาทางยโสธร-ร้อยเอ็ด-มหาสารคราม เป็นประจำ แล้วก็มักจะมาพักอบรมสั่งสอนญาติโยม ณ วัดแห่งหนึ่งที่ จ.มหาสารคราม ซึ่งมีเขตติดต่อกันกับ จ.ร้อยเอ็ด

หลวงปู่ได้เล่าเรื่องท่านพระอาจารย์นาค โฆโส ให้พระภิกษุสามเณรฟังว่า “ท่านพระอาจารย์นาค โฆโส ที่ผมรู้จัก คือ องค์เดียวกันกับในหนังสือประวัติเรื่องสามเณรนาคเที่ยวกรรมฐาน นั่นเอง...มูลเหตุที่ทำให้ผมได้เข้ามาบวชก็เพราะได้พบท่าน ได้ฟังเทศน์จากท่าน ได้เข้าไปรับใช้ท่านหลายครั้ง จำไม่ได้ว่ากี่ครั้ง เสียดายที่ท่านมาด่วนมรณภาพเร็วไปหน่อย ถ้าท่านไม่ด่วนมรณภาพเสียก่อนจะช่วยให้วงการพระกรรมฐานของเรามีชื่อเสียงยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกมากทีเดียว ท่านมีอากัปกิริยาที่น่าเลื่อมใสมาก ท่านอุทิศชีวิตให้กับการเดินธุดงค์จริงๆ แม้แต่ตอนหลังที่ผมไปเมืองลาวแถบภูเขาควาย ชาวบ้านแถวนั้นยังบอกว่าเณรนาคเคยมาอยู่ที่นี่ (ภูเขาควาย) เรื่องเทศน์นี่ไม่มีใครจับ ท่านเทศน์เก่งมาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร รูปร่างท่านสูงสง่าภูมิฐานมาก ผิวขาว ท่านเป็นชาวยโสธร ผมตั้งใจว่าเมื่อผมบวชแล้วจะขอติดตามท่านไป แต่พอหลังจากผมบวชแล้วก็ไม่ได้พบท่านอีกเลย รอฟังข่าวว่าท่านจะมาอีกเมื่อไรก็ไม่ได้ข่าว ในช่วงนั้นไม่ทราบว่าท่านไปธุดงค์ทางไหน ผมอยู่ทางนี้ (วัดป่าศรีไพรวัน จ.ร้อยเอ็ด) ก็นับว่าเป็นบุญของผมอีกเหมือนกันที่มีครูบาอาจารย์กำลังชักชวนกันที่จะเดินทางไปกราบหลวงปู่มั่นกันหลายคณะ ผมจึงเลือกไปกับคณะของหลวงปู่ป่องซึ่งเป็นญาติหรือเป็นหลวงน้าของผมนั่นเอง...และแล้วผมก็ไม่มีโอกาสได้พบกับท่านพระอาจารย์นาคอีกเลย จนได้มาทราบข่าวว่าท่านมรณภาพ เมื่ออายุของท่านเพียง ๔๑ ปีเท่านั้นเอง เสียดายมาก เสียดายจริงๆ”
(ถอดเทปมาเพียงบางตอนที่หลวงปู่ปรารภเกี่ยวข้องกับท่านพระอาจารย์นาค)


รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล

รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

รูปภาพ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

รูปภาพ
พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล

• เรื่องสามเณรนาคเที่ยวกรรมฐาน

ในสมัยเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีที่แล้วนั้นได้มีหนังสือบันทึกเรื่องราวในแวดวงพระกรรมฐาน จากประสบการณ์จริงของสามเณรองค์หนึ่ง ที่เที่ยวธุดงค์เดี่ยวดั้นด้นไปโดยลำพัง ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ สารพัดอย่างน่าทึ่งและน่าสนใจ เป็นวิถีชีวิตจริงด้านหนึ่งของนักปฏิบัติธรรม ที่ต้องแน่วแน่มีสัจจะมีความเพียรและความทรหดอดทนต่อสู้กับกิเลสทั้งมวลอย่างน่ายกย่องสรรเสริญยิ่ง ควรที่จะได้ศึกษาไว้เป็นแบบอย่างในทางปฏิบัติสืบไป

สามเณรนาคองค์นั้นมีตัวตนจริงๆ ชื่อ บุญนาค แต่มีน้อยคนที่จะทราบว่าสามเณรบุญนาคนี้เป็นลูกศิษย์สายท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล-ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านมีชื่อว่า นาค นามสกุล กองปราบ เกิดที่บ้านด่าน ต.หนองสิม อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันบ้านด่านอยู่ในเขต ต.สามแยก อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร) บิดาชื่อว่า นายเนตรวงศ์ กองปราบ มารดาชื่อ นางทอง กองปราบ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด ๘ คน เป็นหญิง ๕ คน ชาย ๓ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ พี่ชายถัดจากท่านก็ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุเช่นกัน และมีชื่อคล้องจองกันคือ ชื่อว่า ครุฑ

ท่านมีอุปนิสัยใฝ่ในทางเป็นนักบวชตั้งแต่เยาว์วัย จึงได้ออกบวชตอนอายุได้ ๙ ขวบ เมื่ออายุย่างเข้า ๑๕ ปี ท่านได้จากบ้านออกเดินธุดงค์ไปทั่วทั้งสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงโดยลำพังองค์เดียว เป็นผู้เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่นอยู่ในธุดงควัตร จนผ่านพ้นภยันตรายนานัปการมาได้ ดังปรากฏรายละเอียดอยู่ในหนังสือ สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น เป็นสามเณรนักเทศน์ฝีปากเอก อยู่จนอายุล่วงเข้า ๒๒ ปีจึงเลยไปกรุงเทพฯ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่วัดบรมนิวาส โดยมีเจ้าจอมมารดาทับทิม ซึ่งพำนักที่วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช โยมอุปัฏฐากเป็นเจ้าภาพบวชให้ท่าน โดยได้รับนามฉายาว่า “โฆโส”


ขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ซึ่งท่านได้กลับมาที่บ้านเกิดมาตุภูมิในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์นาคได้ติดตามไปกราบคารวะองค์ท่านถึงบ้านข่าโคม จ.อุบลราชธานี และนิมนต์ให้ไปแสดงธรรมโปรดเจ้าจอมมารดาทับทิม ที่กรุงเทพฯ ซึ่งท่านเจ้าจอมฯ ได้พาคณะมาทอดผ้าป่าถวายไทยทานกับองค์พระอาจารย์ใหญ่ และติดตามด้วยกองมหากฐินให้บุตรชายและตัวแทนชาวกรุงขึ้นมาทอดถวายยังวัดป่าข่าโคม (วัดป่าหนองอ้อ) ด้วย พระอาจารย์นาคได้ถือโอกาสกลับมาเยี่ยมโยมมารดาซึ่งบวชเป็นผ้าขาวอยู่ที่บ้านด่าน ราว พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นต้นไป ในช่วงฤดูแล้งทุกๆ ปีเป็นประจำ จนถึงราว พ.ศ. ๒๔๘๘ พี่ชายของท่านที่ชื่อพระอาจารย์ครุฑ ได้ถึงแก่มรณภาพ ท่านได้ให้เก็บศพไว้ ปีต่อมาคือ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โยมมารดาของท่านก็ถึงแก่กรรมลงอีก ญาติจึงพร้อมกันเก็บศพไว้รอท่านอีกจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านก็ได้เดินทางมาจัดงานทำบุญฌาปนกิจศพอุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมมารดาและพระพี่ชายพร้อมกัน

ปีต่อมาพระอาจารย์นาคท่านจึงได้กลับมาพำนักจำพรรษาที่บ้านเกิด ณ วัดสุมังคลาราม และได้ไปสร้างวัดไว้ที่บ้านคำไหล ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร อยู่ที่บ้านเกิดได้ ๒ ปี ท่านได้นำครอบครัวของพี่ชายอพยพไปอยู่ที่บ้านท่าตูม ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และต่อมาอีก ๒ ปี คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พระอาจารย์นาคท่านได้เดินทางไปเยี่ยม และถึงแก่มรณภาพที่บ้านท่าตูมนี้เอง สิริอายุรวมได้ ๔๑ ปีเท่านั้นเอง (คัดมาจากหนังสือ พระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕)

เมื่อหลวงปู่สมชายทราบว่าท่านพระอาจารย์นาค โฆโส เดินธุดงค์ผ่านมาเมื่อไร พักอยู่ที่ไหน หลวงปู่ก็จะไปกราบขอรับฟังธรรมจากท่านและอยู่รับใช้ตามสมควรแก่กาลเวลา

แต่การเดินทางไปฟังเทศน์ของหลวงปู่สมชายต้องหลบไปโดยที่ให้คุณตารู้ไม่ได้เลยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อลัทธิและศาสนาของบรรพบุรุษอย่างร้ายแรงทีเดียว วันไหนที่คุณตาหลวงเสนาสืบรู้เข้า ท่านก็จะต้องถูกจับลงโทษทันที บางครั้งถูกเฆี่ยนตี และถูกมัดมือไพล่หลังตากแดด อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่น และเพื่อจะได้เข็ดหลาบจดจำไม่ทำอีก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการระมัดระวังแค่ไหน การกระทำของหลวงปู่สมชายก็หาได้รอดพ้นจากสายตาของคุณตาหลวงเสนาไปได้ไม่ บางครั้งก็ถูกจับได้ และได้ถูกลงโทษดังกล่าวมาแล้วนั้น คือถูกเฆี่ยนตีและถูกมัดมือไพล่หลังตากแดดมาแล้วหลายครั้ง ถึงแม้ว่าท่านจะถูกคุณตาลงโทษอย่างไร ท่านก็ไม่เคยร้องไห้ ไม่เคยขอความเห็นใจจากผู้ลงโทษเลยเด็ดขาด ยอมรับผิดโดยดุษฎี...นิ่ง...เงียบ...เฉย...ตลอดเวลา เมื่อคุณตาซักถามว่า “เข็ดหรือยัง !...หลาบหรือยัง !”...ท่านก็นิ่ง เงียบ เฉย อยู่อย่างนั้น การสนใจอ่านหนังสือธรรมะ หรือหนังสือพุทธประวัติ ตลอดจนการไปฟังเทศน์พระกรรมฐาน ไปทำบุญและรับใช้พระตามวัดต่างๆ ที่เป็นสำนักปฏิบัติก็ได้ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง แต่ท่านก็ทำอย่างสุขุมรอบคอบยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเกรงใจคุณตา และกลัวว่าคุณตาจะลงโทษอีกนั่นเอง


รูปภาพ
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
สานุศิษย์บรรพชิตขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ที่แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ
ต่างองค์ต่างมารวมกันที่สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
เพื่อเตรียมต้อนรับผ้าป่าของทางพระราชวังซึ่งจัดมาทอดถวายเป็นครั้งแรก
โดยมี “เจ้าจอมมารดาทับทิม” นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง

๑. พระอาจารย์อุย บ้านหนองดินดำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
(พระอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในช่วงนั้น)

๒. พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
๓. สามเณรหงส์ทอง ธนกัญญา
(พระหงส์ทอง สหธมฺโม หลานพระอาจารย์ดี ฉนฺโน)
๔. สามเณรผาย ๕. สามเณรคำดี

๖. พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ๗. พระอาจารย์ทอง อโสโก
๘. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ๙. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
๑๐. พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล


รูปภาพ
เจ้าจอมมารดาทับทิม โรจนดิศ ในรัชกาลที่ ๕ กับพระราชโอรส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
(พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2020, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร
ท่านมีศักดิ์เป็นหลวงน้าของหลวงปู่สมชาย


รูปภาพ
พระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม วัดป่าศรีไพรวัน

รูปภาพ
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส

รูปภาพ
ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี (คำ โพธิญฺาโณ ป.ธ.๕)
เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดเหนือ
พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่สมชายในคราวบรรพชาเป็นสามเณร

• พ.ศ. ๒๔๘๗ บรรพชา

เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เท่ากับว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้น หรือรุมเร้าให้ท่านหันเข้าสู่โลกุตรธรรมเร็วยิ่งขึ้น และภายหลังจากที่พี่สะใภ้ได้จากไป ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่ของท่านโดยสมบูรณ์ทุกประการ เมื่อเห็นว่าเป็นโอกาสอันสมควรแล้ว ท่านจึงได้ปรารภเรื่องต้องการออกบวชให้พี่ชายได้รับทราบ พี่ชายเห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้ จึงได้พูดขึ้นมาว่า ถ้าบวชได้ก็ดี ไม่ขัดข้อง...เมื่อท่านเห็นว่าได้รับอนุญาตแต่โดยดีเช่นนี้แล้ว จึงได้รีบจัดแจงเตรียมสิ่งของในการเดินทางทันที เพราะเกรงว่าพี่ชายจะกลับใจ หรืออาจจะเปลี่ยนคำพูดเสียก่อน พอเตรียมสิ่งของต่างๆ เสร็จราวๆ เที่ยงคืน ท่านจึงได้ก้าวเท้าออกจากบ้านเดินทางผ่านทุ่งนาของท่านเองโดยไม่อาลัยอาวรณ์ต่อทรัพย์สิน เครื่องผูกพันใดๆ ที่ท่านแสวงหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของท่านเองอีกเลย โดยมุ่งหน้าเดินตรงสู่วัดป่าศรีไพรวัน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งทราบมาก่อนแล้วว่าที่วัดแห่งนี้ได้มีญาติห่างๆ บวชอยู่ก่อนแล้วรูปหนึ่งชื่อพระป่อง (หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร) พอรุ่งเช้าก็เข้าไปกราบนมัสการมอบกายถวายตัวเป็นนาคกับท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ท่านพระอาจารย์เพ็งผู้เป็นเจ้าอาวาสได้เมตตารับไว้เป็นศิษย์แล้วฝึกหัดสอนคำขานนาคให้ และในระหว่างนี้หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล แห่งวัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี ซึ่งสมัยนั้นหลวงปู่บุญจันทร์ได้เดินทางมาพักอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัน ก็ได้เมตตาช่วยแนะนำฝึกฝนอบรมด้านระเบียบ มารยาทและแนะนำข้อวัตรปฏิบัติให้อีกแรงหนึ่ง ซึ่งนับว่าท่านเป็นผู้มีส่วนฝึกอบรมหลวงปู่สมชายอีกรูปหนึ่งเช่นกัน เมื่ออยู่ฝึกฝนอบรมพอสมควรแล้ว ท่านพระอาจารย์เพ็งก็ได้นำพาไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ อุโบสถวัดเหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี (คำ โพธิญฺาโณ ป.ธ.๕) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์

บรรพชาเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีวอก อายุ ๑๙ ปี


• พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัน
ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด


ภายหลังจากบรรพชาแล้วก็ได้พำนักจำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัน ๑ พรรษา ในสมัยนั้น วัดป่าศรีไพรวันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของพระสายอรัญญวาสีในภูมิภาคนี้ ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่หลายรูปจะเดินทางมาจากทิศไหนก็มักจะแวะเข้ามาพักแรมที่นี่ หรือจะเดินทางต่อไปยังสำนักครูบาอาจารย์ไหน ก็จะมาพักแรมกันที่นี่เช่นกัน ซึ่งครูบาอาจารย์เหล่านั้นก็มักจะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า “ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่มั่น...ได้ไปฟังเทศน์พระอรหันต์ เพิ่งกลับลงมา...” บ้างก็พูดคุยสนทนากันว่า “มาพักเตรียมตัวเพื่อจะเดินทางไปสู่สำนักหลวงปู่มั่น เพื่อจะไปกราบพระอรหันต์...” คำพูดทำนองนี้จะได้ยินได้ฟังแทบทุกวัน เพราะจะมีครูบาอาจารย์เวียนเข้าเวียนออกกันไม่ได้ขาด เพียงแค่ได้ฟังจากครูบาอาจารย์พูดคุยสนทนากันถึงเรื่องราวของหลวงปู่มั่น หลวงปู่สมชายก็มีความเลื่อมใสศรัทธาใคร่ที่จะไปกราบเท้าให้ได้ในเร็ววัน

รูปภาพ
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

รูปภาพ
พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน

รูปภาพ
พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)

• พ.ศ. ๒๔๘๗ (ปลายปี)
ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น


ในระหว่างที่หลวงปู่เป็นสามเณรอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวันนั้น ท่านได้ยินกิตติศัพท์ล่ำลือว่า หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระอรหันต์ผู้หมดจดจากกิเลส จึงทำให้หลวงปู่มีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง และประสงค์ใคร่ที่จะได้เห็นพระอรหันต์ขีณาสพในสมัยปัจจุบันอย่างสุดชีวิตจิตใจ ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม ผู้เป็นเจ้าอาวาส และได้ติดตามหลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร ซึ่งเป็นคนหมู่บ้านใกล้กัน คือหลวงปู่ป่องเป็นคนบ้านหนองเข็ง ส่วนหลวงปู่สมชายเป็นคนบ้านเหล่างิ้ว ถ้านับโดยญาติหลวงปู่ป่องมีศักดิ์เป็นหลวงน้าของหลวงปู่สมชายนั่นเอง

คณะของหลวงปู่สมชายที่จะเดินทางไปกราบหลวงปู่มั่นในคราวนั้นมีด้วยกัน ๕ รูป ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สำนักหลวงปู่มั่นภายหลังจากออกพรรษาในปีนั้นเอง (พ.ศ. ๒๔๘๗) ในระหว่างทางที่ผ่านไป คณะของหลวงปู่ก็ได้แวะกราบครูบาอาจารย์และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามสำนักกรรมฐานที่อยู่ในรายทางเรื่อยไป เช่น สำนักของท่านพระอาจารย์แดง วัดป่าสักวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ สำนักของท่านพระอาจารย์สอน ภูค้อ เป็นลำดับไป จนถึงเขตสาขาสำนักหลวงปู่มั่น คือ สำนักของท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านตั้งอยู่รอบนอก โดยปกติแล้วผู้ที่จะเข้าไปสู่สำนักหลวงปู่มั่นจะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกระเบียบมารยาทให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีเสียก่อน ครูบาอาจารย์จึงจะปล่อยให้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่นได้ สำหรับหลวงปู่สมชายและคณะก็อยู่ในฐานะเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกมารยาทอยู่กับท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พอสมควรแล้ว ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน จึงอนุญาตให้เดินทางเข้าไปสู่สำนักหลวงปู่มั่นได้ในเวลาต่อมา หลวงปู่สมชายพร้อมด้วยคณะครูบาอาจารย์ ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้ คือ

๑. ท่านพระอาจารย์ประสบ
๒. ท่านพระอาจารย์อินตา
๓. หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร
๔. หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ (พระโพธิธรรมาจารย์เถร)
๕. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในขณะนั้นยังเป็นสามเณร)

ทั้งหมดได้พากันเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในขณะนั้นหลวงปู่สมชายยังเป็นสามเณร ในลำดับแรกเมื่อได้เข้าไปถึงสำนักหลวงปู่มั่น ก็ได้รับกระแสแห่งบารมีธรรมของหลวงปู่มั่นปกคลุมทั่วหัวใจ และได้เห็นความสะอาดสะอ้านภายในบริเวณวัด ตลอดถนนหนทาง และสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมทุกแห่ง มีแต่ความร่มเย็น ร่มรื่น สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้ต้องการภาวนา ดูประหนึ่งว่าจิตใจเริ่มเป็นสมาธิ ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าสู่สถานที่ปฏิบัติ นอกเหนือกว่านั้นยังได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมารยาทอันงดงามของหลวงปู่มั่น ที่ได้เมตตาออกมาไต่ถามให้การปฏิสันถารต้อนรับอาคันตุกะชั้นผู้น้อยอย่างคณะของหลวงปู่สมชาย จึงยังความปลื้มปีติยินดี แล่นเข้าไปจับขั้วหัวใจ ความอิ่มเอิบซาบซึ้งได้เกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาดและไม่เคยได้รับมาก่อนจากสำนักใดๆ เท่าที่ผ่านมา จึงนับว่าวันนั้นเป็นวันปฐมฤกษ์แห่งความเป็นอุดมมงคลในชีวิตที่ไม่อาจจะลืมได้เลย

ในระหว่างที่หลวงปู่สมชายได้พักอาศัยเพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้ใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพระศาสนา หลวงปู่สมชายได้ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวด ต่อข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวง โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ส่วนการทำข้อวัตรปฏิบัติวัตรฐากครูบาอาจารย์ก็ปฏิบัติด้วยดี สม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง ตอนกลางวันนั้นหลวงปู่สมชายไม่เคยพักผ่อนหรือเอนกายลงจำวัดเลย เว้นเสียแต่บางครั้งที่เกิดอาพาธเท่านั้น เพราะหลวงปู่เกรงว่าเวลาไม่เพียงพอที่จะประกอบความเพียรภาวนา และไม่เพียงพอที่จะศึกษาค้นคว้าน้อมรับเอาธรรมที่หลวงปู่มั่นโปรดเมตตาประสิทธิ์ประสาทให้ในแต่ละโอกาส จึงต้องคอยเงี่ยหูฟังอยู่ตลอดเวลา ด้วยบารมีธรรมกระตุ้นเตือนมาเป็นเวลาหลายภพหลายชาติแล้ว จึงทำให้ท่านเกิดความรู้สึกซาบซึ้งต่อธรรมที่ได้รับจากองค์พระอรหันต์อย่างที่ไม่สามารถนำวัตถุภายนอกใดๆ มาเปรียบได้

ตลอดเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มโพธิสมภารของหลวงปู่มั่นนั้น ได้มีเหตุการณ์หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ได้นำธรรมของหลวงปู่มั่นมาใช้อยู่ตลอดเวลา คำพูดของหลวงปู่มั่นจะก้องในโสตประสาทตลอดเวลาว่า “อย่ามองเหตุการณ์ ให้มองที่ใจ...” ว่าใจของเรานั้นกวัดแกว่งไปตามเหตุการณ์ของโลกธรรมแปดหรือเปล่า ดีใจต่อคำชมเชยสรรเสริญเยินยอหรือเปล่า โกรธเกลียดต่อคำตำหนินินทาหรือเปล่า สิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจจะมีให้พิจารณาตลอดทุกวัน และได้พบเห็นครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่หลายรูปหมุนเวียนเข้าออกมารับฟังโอวาทธรรมจากหลวงปู่มั่นทุกวันอีกเช่นกัน ซึ่งหลวงปู่สมชายและสามเณรอีก ๓-๔ รูปก็มีหน้าที่ต้มยาไว้ถวายครูบาอาจารย์ได้ดื่มได้ฉันดับกระหายเป็นประจำวัน


• ธรรมสำคัญกว่าวัตถุ

วันหนึ่งในฤดูหนาว บรรดาพระเถรานุเถระ พระภิกษุ สามเณร ได้เข้าไปกราบหลวงปู่มั่นเป็นจำนวนมากจนเต็มกุฏิเพื่อขอรับฟังธรรมภาคปฏิบัติ ส่วนหลวงปู่สมชาย (ในสมัยนั้นเป็นสามเณรสมชาย) และหมู่คณะซึ่งเป็นสามเณรด้วยกันหลายรูป ไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปรับฟังธรรมบนกุฏิได้ เนื่องจากมีเหตุสองประการคือ ๑. สถานที่นั่งมีไม่เพียงพอ ๒. สามเณรต้องมีหน้าที่ถวายการอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ และพระอาคันตุกะน้อยใหญ่ที่มาสู่สถานที่ เพราะตามปกติแล้วสำนักปฏิบัติหรือวัดพระกรรมฐาน พอถึงตอนเย็นบรรดาสามเณรทั้งหลายก็ต้องพากันต้มยาสมุนไพรเพื่อถวายพระ และถวายครูบาอาจารย์เป็นประจำทุกวัน ประจวบกับในตอนนั้นหลวงปู่สมชายกับเพื่อนสามเณรด้วยกันได้พากันต้มน้ำยาสมุนไพรไว้ถวายครูบาอาจารย์หม้อหนึ่ง เมื่อได้ยินกระแสเสียงหลวงปู่มั่นเทศนาธรรมดังกังวานมาจากกุฏิ สามเณรทั้งหลายก็ได้พากันละจากหม้อต้มยา รีบมาฟังยังสถานที่ประจำคือบริเวณใต้ถุนกุฏิของหลวงปู่มั่นนั่นเอง

เมื่อมาถึงกุฏิหลวงปู่มั่น ก็มองเห็นพระเถรานุเถระนั่งประจำที่อยู่เต็มกุฏิไปหมด ล้วนแต่องค์สำคัญๆ ทั้งนั้น เห็นว่าไม่มีโอกาสจะขึ้นข้างบนไปฟังได้แล้ว จึงได้พากันหลบเข้าไปยืนฟังอยู่ ณ บริเวณใต้ถุนกุฏิด้วยความตั้งอกตั้งใจ ทั้งบริเวณเงียบสงบ ไม่ได้ยินแม้เสียงลมหายใจของตัวเอง จะมีก็แต่กระแสธรรมที่หลั่งออกจากจิตใจของหลวงปู่มั่นกลั่นออกมาเป็นกระแสเสียงให้พวกเราได้ยิน ทุกๆ คำที่หลุดออกมาจากปากของหลวงปู่ครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างจดจ้องเปิดหัวใจรอรับกันทุกคำพูด โดยจะมิให้ตกหล่นได้เลยทีเดียว บางคำหรือบางตอนหลวงปู่พูดค่อยๆ เบาๆ พวกสามเณรเกรงว่าจะฟังไม่ชัดเจนก็พากันเขย่งเท้า ตะแคงคอ เงี่ยหูรอรับฟังกระแสแห่งธรรม ด้วยจิตใจจดจ่ออยู่กับกระแสเสียงแห่งธรรมนั้นทุกลมหายใจ จนกระแสเสียงธรรมนั้นไม่ได้ผ่านเข้าโสตประสาทหู คือ ผ่านเข้าสู่หัวใจโดยตรง จนทำให้ลืมนึกถึงหม้อยาที่ได้พากันต้มเอาไว้ และลืมนึกถึงความเย็นยะเยือกของอากาศในฤดูหนาว ในขณะนั้นแม้ผ้าจีวรจะห่มคลุมกายก็ไม่ได้นำติดตัวไปด้วย สิ่งที่คลุมกายมีเพียงสบงกับผ้าอังสะเท่านั้น

ในวันนั้นหลวงปู่มั่นองค์อรหันต์ได้อธิบายธรรมชั้นสูงขั้นวิจิตรพิสดารละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากกว่าทุกวัน และในระหว่างกระแสธรรมกำลังหลั่งไหลเข้าสู่หัวใจอยู่นั้น ก็มีเสียงสามเณรซุบซิบบอกกันให้ไปดูหม้อยาที่พากันต้มไว้ ต่างรูปต่างก็เกี่ยงกันไปเกี่ยงมา แล้วก็เกี่ยงมาถึงสามเณรสมชาย แต่เนื่องด้วยขณะนั้นทุกรูปก็กำลังใจจด ใจจ่ออยู่กับการฟังธรรม ต่างรูปต่างก็กลัวว่าธรรมจะขาดตอนหรือพลาดโอกาสทองจึงสงบนิ่งอยู่ไม่สนใจกับเรื่องหม้อยา และทุกรูปก็ยังคงนิ่งฟังอยู่ต่อไป และแล้วก็มีเสียงซุบซิบบางรูปสอดขึ้นมาว่า “ถ้าครูบาเณรสมชายไม่ไปดู ครูบาต้องรับผิดชอบเรื่องหม้อยานะ...” ท่านก็ยังคงเงียบและตั้งอกตั้งใจฟังธรรมต่อไปจนหลวงปู่มั่นเทศนาจบลง สามเณรสมชายจึงได้รีบออกไปดูหม้อยาทันที และตั้งใจว่าจะรินเอาน้ำยาร้อนๆ ขึ้นไปถวายครูบาอาจารย์ แต่ปรากฏว่าช้าไปเสียแล้ว น้ำยาที่ต้มไว้นั้นเหือดแห้งจนหม้อยาแตก ก้นทะลุ และใช้การไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อหมู่คณะเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนั้น ต่างรูปต่างก็พากันตำหนิติเตียนและกล่าวโทษสามเณรสมชาย ว่าทำให้ของสงฆ์เสียหาย พระผู้ใหญ่บางองค์ถึงกับดุด่าอย่างรุนแรงว่าจะต้องถูกลงโทษตามกฎระเบียบบ้าง จะต้องให้หาหม้อลูกใหม่มาใช้คืนบ้าง เพราะความหวั่นเกรงต่อหลวงปู่มั่นจึงได้พากันยกความผิดทั้งหมดมาให้ท่านรับแต่เพียงผู้เดียว สามเณรสมชายท่านมีนิสัยเป็นลูกผู้ชายเต็มตัวอยู่แล้ว เมื่อผิดท่านก็ยอมรับผิดแต่โดยดี จะลงโทษสถานใดท่านก็ยอมทั้งนั้น เพื่อให้หมู่คณะสบายใจ ขอแต่เพียงให้ได้มีโอกาสอยู่ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นเท่านั้นก็เป็นที่พอใจแล้ว ด้วยกุศลเจตนาที่มีอยู่เป็นที่ตั้ง ประกอบด้วยบารมีธรรมที่เคยสร้างไว้บ้างจึงทำให้ท่านไม่หวั่นไหวต่อการตำหนิหรือการถูกลงโทษจากหมู่คณะ หลวงปู่สมชายท่านจึงไม่พูดโต้เถียงหรือแถลงการณ์แก้ตัวใดๆ ทั้งสิ้น “...นิ่งเงียบ ! ยอมรับผิด ยอมรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนของครูบาอาจารย์อยู่ด้วยอาการสงบตลอดเวลา...”

ในขณะที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหม้อยาแตกชำรุดใช้การไม่ได้นั้น ด้วยเดชะบุญบารมีกับที่หลวงปู่มั่นเดินผ่านมาทางนั้นพอดี และหลวงปู่มั่นคงได้มองเห็นหม้อยาก้นทะลุตั้งอยู่บนเตานั้นด้วย หลวงปู่มั่นท่านจึงได้หัวเราะอยู่ในลำคอออกมาเบาๆ ซึ่งเป็นลักษณะการเข้าใจความหมายได้ดีกว่าคำอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ตำหนิการกระทำอันนั้นแต่อย่างใด พร้อมกันนั้นหลวงปู่มั่นท่านยังได้ปรารภออกมาเบาๆ ว่า “ธรรมดีกว่าวัตถุ และหายากกว่าวัตถุภายนอกมาก...” คำพูดของหลวงปู่มั่นเพียงสองประโยคเท่านั้น ก็ทำให้บรรยากาศที่กำลังตึงเครียดอยู่นั้นกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือในทันที ทุกรูปที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นก็มีสีหน้าเบิกบานอย่างมองเห็นได้ชัด สำหรับสามเณรสมชายท่านยิ่งมีความปลื้มปีติและมีความซาบซึ้งในคุณธรรมของหลวงปู่มั่นเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ที่หลวงปู่มั่นท่านสามารถเข้าใจเจตนาของท่านได้ถูกต้องและเป็นธรรม สมกับที่บัณฑิตยกย่องสรรเสริญว่า เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐจริงๆ แต่ก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรจึงจะเหมือนความรู้สึกภายในได้

แต่ก่อนข้าพเจ้า (ผู้เขียน) เคยคิดสงสัยว่า ด้วยเหตุใดในครั้งพุทธกาล พอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันได้รวดเร็วเหลือเกิน พอหลวงปู่สมชายท่านได้เล่าเรื่องการฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น คือมีความตั้งใจฟังจริงๆ โดยเสียงเทศน์นั้นไม่ได้ผ่านทางโสตประสาทหูเลย คือเข้าสู่ใจโดยตรง จึงทำให้ได้แง่คิดว่า ครั้งพุทธกาลที่พระสาวกทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นกันเป็นจำนวนมาก ชะรอยคงเป็นในทำนองเดียวกันนี้กระมัง เพราะในครั้งพุทธกาลมีคนสนใจธรรมกันมาก ประกอบกับมีบารมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ฉะนั้น ความตั้งใจมั่นก็เป็นบารมีส่วนหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ได้บรรลุธรรมเร็วขึ้น พอได้ฟังธรรมจึงสามารถเข้าใจและสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลทันที


รูปภาพ
หลวงปู่ป่อง จนฺทสาโร กับ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ณ ด้านหน้าหลวงพ่อพุทธโคดม พุทธสถานพุทธโคดม
วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
บันทึกภาพในราวปี พ.ศ. ๒๕๒๖

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2020, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• พ.ศ. ๒๔๘๘ จำพรรษาที่วัดดอยธรรมเจดีย์
ตำบลโคกศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


หลังจากสามเณรสมชายท่านได้เข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตแล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาธรรมและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวงอย่างอุทิศชีวิตตลอดมา เมื่อเห็นว่าจวนจะถึงฤดูกาลพรรษา ท่านก็ได้เปิดโอกาสให้องค์อื่นได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาธรรมบ้าง เพราะสถานที่พักในสมัยนั้นมีจำกัด ท่านจึงได้กราบลาหลวงปู่มั่นออกติดตามครูบาอาจารย์ไปบำเพ็ญและจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ และคอยเวลาเข้าไปศึกษาธรรมจากหลวงปู่มั่นในโอกาสใหม่ต่อไป แต่นอกฤดูกาลพรรษานั้นท่านก็ได้เวียนเข้าเวียนออกติดตามครูบาอาจารย์ไปฟังเทศน์หลวงปู่มั่นแล้วออกมาปฏิบัติ ทำอยู่อย่างนี้จนเป็นกิจประจำ จนกระทั่งท่านมีอายุครบพอที่จะทำพิธีญัตติจตุตถกรรมให้เป็นพระภิกษุได้แล้ว

รูปภาพ
วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง) อ.เมือง จ.สกลนคร

รูปภาพ
ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พระอุปัชฌาย์

รูปภาพ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระกรรมวาจาจารย์

รูปภาพ
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอนุสาวนาจารย์

• พ.ศ. ๒๔๘๙ อุปสมบท จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง)
บ้านธาตุนาเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


เมื่อสามเณรสมชายมีอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ สมควรที่จะทำพิธีญัตติจตุตถกรรมเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เมตตามอบผ้าสังฆาฏิ ๑๑ ขันธ์ให้ ๑ ผืน พร้อมด้วยช้อนส้อมทองเหลืองอีก ๑ คู่ เพื่อร่วมในการอุปสมบทสามเณรสมชายในครั้งนั้นด้วย...” สามเณรสมชายเห็นว่าเป็นผ้าของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยใช้มาก่อนแล้ว ลูกศิษย์ไม่ควรเอาไปใช้ เพราะจัดอยู่ในประเภทบริโภคเจดีย์ อันควรแก่การกราบไหว้สักการบูชาแก่ศิษยานุศิษย์มากกว่า ท่านจึงไม่กล้าที่จะนำไปใช้และได้เก็บไว้บูชา เมื่อหลวงปู่มั่นทราบเจตนาของสามเณรสมชายดังนั้นแล้ว หลวงปู่มั่นท่านจึงได้สั่งให้คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากของท่านที่สำคัญคนหนึ่ง ให้เป็นผู้จัดการหาผ้าสังฆาฏิผืนใหม่มาถวาย ด้วยแรงศรัทธาของคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ที่มีต่อพระกรรมฐานสายปฏิบัติ เนื่องจากคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เคยเกี่ยวข้องและได้อุปัฏฐากพระกรรมฐานสายปฏิบัติมานานตั้งแต่ครั้งสมัยหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงทำให้คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เกิดความซาบซึ้งในคุณธรรมและเห็นความสำคัญในพระปฏิบัติหรือพระสายป่าเป็นอย่างมาก

ดังนั้น เมื่อหลวงปู่มั่นมีความประสงค์สิ่งใด ถ้าสิ่งนั้นไม่เหลือวิสัยจริงๆ แล้ว คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ จะต้องจัดหามาถวายทุกอย่างให้สมเจตนา

สำหรับเรื่องผ้าสังฆาฏิที่จะใช้ในการอุปสมบทสามเณรสมชายในครั้งนั้นก็เช่นกัน ทั้งๆ ที่สมัยนั้นผ้าหายากมาก เพราะสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งจะเสร็จสิ้นลงใหม่ๆ ถึงแม้ว่าจะยากแสนยากเท่าไรก็ตาม คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ก็พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้ผ้าสังฆาฏิมาถวายตามความประสงค์ของหลวงปู่มั่น จึงได้ลาดตระเวนหาซื้อผ้าตามจังหวัดต่างๆ หลายต่อหลายจังหวัด ในที่สุดก็สำเร็จสมความปรารถนา จึงนับได้ว่าคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการอุปสมบทสามเณรสมชายในครั้งนั้น ผ้าสังฆาฏิที่นำมาถวายในครั้งนั้นคิดเป็นมูลค่า ๔๐๐ บาท (สี่ร้อยบาท) สมัยนั้นนับว่าเป็นผ้าที่มีราคาแพงมากพอสมควร เมื่อจัดบริขารทุกสิ่งทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านก็ได้

มอบให้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

มอบให้หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

และมอบให้ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้ทำพิธีอุปสมบทกรรม ณ พัทธสีมา วัดศรีโพนเมือง อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามทางพระพุทธศาสนาว่า “ฐิตวิริโย” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีความเพียรตั้งมั่นดีแล้ว...”

ครูบาอาจารย์ที่ได้กล่าวนามมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อีกด้วย

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์ และเป็นเหลนศิษย์ของหลวงปู่มั่นในคราวเดียวกัน ภายหลังจากอุปสมบทกรรมเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้ติดตามหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปอยู่จำพรรษา ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง) อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น

กาลต่อมาเมื่อนายวัน คมนามูล เจ้าของร้านศิริผลพานิชและโรงแรมสุทธิผล จ.นครราชสีมา ได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่สมชายได้เก็บรักษาผ้าสังฆาฏิของหลวงปู่มั่นเอาไว้ จึงได้มาขอเพื่อนำไปสักการบูชาที่บ้าน หลวงปู่สมชายท่านก็ได้มอบให้แต่โดยดี เพราะเห็นว่านายวัน คมนามูล ก็เป็นลูกศิษย์อีกผู้หนึ่งที่มีความศรัทธาเลื่อมใสต่อหลวงปู่มั่นเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว ปัจจุบันไม่ทราบว่าผ้าสังฆาฏิผืนดังกล่าวนั้นยังอยู่กับนายวัน คมนามูล อีกหรือไม่


รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ถ่ายภาพร่วมกับนายวัน คมนามูล และครอบครัว
โดยนายวัน คมนามูล เป็นโยมอุปัฏฐากใกล้ชิดของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
(โกศบนหิ้งบรรจุอัฐิและเถ้าถ่านของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ซึ่งได้รับแจกมาในงานศพหลวงปู่มั่น ต่อมาอีก ๔ ปีได้กลายเป็นพระธาตุ)


รูปภาพ
แม่นุ่ม ชุวานนท์ โยมอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

รูปภาพ
แม่นุ่ม ชุวานนท์ (นั่ง) โยมอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
พร้อมน้องสาวสองคน คือ
แม่นิล ชุวานนท์ (ซ้าย), แม่ลูกอินทน์ วัฒนสุชาติ (ขวา)

• มูลเหตุที่ทำให้ท่านเกิดกำลังใจ

หลวงปู่เคยเล่าถวายพระภิกษุสามเณรฟังอยู่เสมอๆ ว่า สิ่งที่ทำให้ท่านเกิดกำลังใจในการประกอบความเพียรอย่างยิ่งยวด ถึงกับไม่ได้เอนกายลงนอนจำวัดเลยเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน บางครั้งเป็นเดือน สองเดือน ก็เคยมี เนื่องจากในคืนวันหนึ่งในขณะที่ท่านได้มีโอกาสเข้าไปอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นที่กุฏิ ท่านทำการบีบนวดเส้นถวายหลวงปู่มั่นเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ก็เกิดความคิดในใจขึ้นมาว่า เราได้ประกอบความเพียรติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา ๒ วัน ๒ คืนแล้วยังไม่ได้พักเลย วันพรุ่งนี้ก็จะต้องออกเดินทางไปธุระที่สกลนคร เพื่อบอกลาคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ในฐานะที่เป็นโยมอุปัฏฐากได้จัดบริขารถวายในคราวอุปสมบท จากนั้นก็จะไปกราบลาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เพื่อจะเดินทางไปจำพรรษาที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อคิดแล้วก็เกิดความอยากจะไปพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยและเก็บกำลังไว้ใช้ในการเดินทางตามประสาพระบวชใหม่

ในขณะที่หลวงปู่กำลังกังวลอยู่กับความคิด เพียงคิดจบลง หลวงปู่มั่นก็ได้ปรารภขึ้นมาโดยทันทีว่า “...จะไปพักก็ไปได้นะ สังขารร่างกายอย่าไปหักโหมมันมากนัก พรุ่งนี้เราก็จะออกเดินทางไกล เราก็ไม่ได้พักมาสองวันสองคืนแล้ว...”

คำพูดของหลวงปู่มั่นได้ไปตรงกับความคิดของหลวงปู่ที่คิดอยู่พอดี จึงทำให้นึกสะกิดใจขึ้นมาทันทีว่า “...หลวงปู่มั่นพูดขึ้นมาลอยๆ หรือว่าท่านจะรู้วาระจิตของเราตามที่เราเคยได้ยินมากันแน่...” และแล้วก็วิจัยวิจารณ์รำพึงอยู่ในใจคนเดียวได้ขณะหนึ่งผ่านไป จิตก็ได้หวนนึกถึงเรื่องที่จะไปพักขึ้นมาอีก หลวงปู่มั่นก็ได้พูดขึ้นมาอีกเป็นครั้งที่สองซึ่งก็ตรงกับความคิดในขณะนั้นอีก จึงทำให้หลวงปู่สมชายแน่ใจว่า หลวงปู่มั่นล่วงรู้วาระจิตของเราจริงๆ ทำให้เกิดความอิ่มเอิบปลื้มปีติ มีความซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย หายเหน็ดเหนื่อยหายอ่อนเพลีย ความง่วงเหงาหาวนอนหายไปจนหมดสิ้น เนื่องจากเกิดความมหัศจรรย์ในเจโตปริยญาณ ญาณที่ล่วงรู้ความคิดของบุคคลอื่นของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงได้ตั้งหน้าตั้งตาบีบนวดถวายหลวงปู่มั่นต่อไปอย่างนอบน้อมด้วยความเคารพอย่างสูงสุด พลางก็คิดว่า “...เราจะต้องเอาวิชชาอันประเสริฐนี้ให้ได้ และได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวถ้าไม่ได้ไม่ยอม หลวงปู่มั่นท่านก็มีร่างกายสังขารเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรานี่เอง เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับท่าน ท่านทำได้เราจะทำไม่ได้อย่างท่านก็ลองดู...คิดว่าคงจะไม่เหลือวิสัย...” เพียงแค่ความคิดจบลง...หลวงปู่มั่นท่านก็พูดสวนความคิดนั้นขึ้นมาในทันทีทันใดว่า “จะเอาวิชชานี้จริงๆ หรือ !...” เมื่อหลวงปู่สมชายได้ฟังคำพูดของหลวงปู่มั่นเพียงเท่านั้น ความปลื้มปีติ ความอิ่มเอิบและความมีพลังใจก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะความมหัศจรรย์ในความสามารถของหลวงปู่มั่นที่ท่านได้บำเพ็ญจนบรรลุวิชชาขั้นนี้ จนดำริรู้ภายในใจของผู้อื่นได้ เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และอภิญญาสมาบัติ หรือวิชชาในทางพระพุทธศาสนา เช่น เจโตปริยญาณ การกำหนดรู้วาระจิตของคนอื่นที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ แต่ก่อนเราเข้าใจว่าเป็นเพียงนวนิยาย บัดนี้กลายเป็นความจริงเสียแล้ว เราได้มีโอกาสเห็นหลวงปู่มั่นซึ่งเป็นสาวกสุดท้ายภายหลัง ยังมีความมหัศจรรย์ถึงปานนี้ ถ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าหรือได้เห็นพระอริยสงฆ์สาวกในครั้งพุทธกาลแล้ว จะมีความมหัศจรรย์สักเพียงไร


• บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำคำไฮและถ้ำเจ้าผู้ข้า

ภายหลังจากที่เสร็จการถวายอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นในค่ำนั้นแล้ว เมื่อหลวงปู่สมชายได้กลับถึงที่พักแล้ว แทนที่ท่านจะพักผ่อนหรือจำวัดตามที่ดำริเอาไว้ตั้งแต่แรก กับมีพลังใจอย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อนกระตุ้นให้เร่งประกอบความเพียรภาวนาในคืนนั้นตลอดทั้งคืน จึงอยู่ในอิริยาบถสาม คือ ยืน เดิน นั่ง ได้แก่ การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนาตามหลักการบำเพ็ญสมาธิจิตนั่นเอง โดยที่ไม่ได้เอนกายลงนอนตลอดทั้งคืน

พอรุ่งเช้าวันใหม่ก็ออกบิณฑบาตตามปกติ และภายหลังจากเสร็จภัตกิจแล้วท่านก็ได้เข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เพื่อออกเดินทางไป จ.สกลนคร เมื่อถึง จ.สกลนคร และได้ทำกิจธุระทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว แทนที่ท่านจะมุ่งหน้าไป อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ตามที่ได้ตั้งใจไว้แต่แรก กลับมีสิ่งมาดลบันดาลให้เปลี่ยนใจเข้าไปบำเพ็ญในป่าซึ่งมีถ้ำอยู่แห่งหนึ่งเรียกกันว่า ถ้ำคำไฮ บ้านลาดกระเฌอ ท่านได้พักบำเพ็ญอยู่เป็นเวลาอันสมควรแล้ว จึงได้ย้ายไปบำเพ็ญต่อที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งมีนายลุนและทิดไทยเป็นผู้อุปัฏฐาก ถ้ำทั้งสองแห่งอยู่ไม่ห่างจากสำนักหลวงปู่มั่นเท่าไรนัก ท่านได้ปักกลดบำเพ็ญมาโดยตลอด ไม่เคยลดละประมาทเลยนับตั้งแต่ได้ออกจากสำนักหลวงปู่มั่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเศษ ได้บำเพ็ญเพียรอยู่ในอิริยาบถสาม และไม่เคยเอนกายลงพักผ่อนจำวัดเลย ด้วยความเอิบอิ่มและปลื้มปีติซึ่งได้รับกระแสธรรมมาจากหลวงปู่มั่นเป็นพื้นฐานแล้ว และได้เดินจงกรม นั่งสมาธิ บำเพ็ญภาวนาเพิ่มเติมอย่างอุทิศชีวิตจนจิตสงบเข้าสู่ฐานของสมาธิ ยิ่งทำให้ได้รับความสุขความเอิบอิ่ม มีพลังของธรรมสูงยิ่งเป็นทวีคูณ เหลือวิสัยที่จะพรรณาให้ถูกต้องตามความรู้สึกภายในได้ ยิ่งปฏิบัติเท่าไร รสชาติของธรรมที่เกิดขึ้นจากผลของสมาธิ ทำให้เกิดความดูดดื่มและแปลกประหลาดมหัศจรรย์ซาบซึ้งถึงใจ ยากที่จะหารสชาติอันใดในโลกมาเปรียบได้ หลวงปู่สมชายท่านได้มีแง่คิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมใหม่ๆ ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระองค์ได้ทรงเสวยวิมุตติสุขถึง ๗ สัปดาห์ อันนี้ไม่ต้องสงสัยเลย ของเราเพียงแค่สมาธิขั้นต่ำๆ หรือขั้นกามาวจรกุศลชั้นละเอียดเท่านั้น ยังไม่ถึงวิมุตติ วิโมกข์ หรือ ฌาน ญาณ อะไรเลย ยังมีความสุขถึงเพียงนี้ ยิ่งเพิ่มความซาบซึ้งและมหัศจรรย์ในพระพุทธเจ้าและพระศาสนาขึ้นเป็นลำดับว่า พระพุทธเจ้าท่านช่างมีความฉลาด ลึกล้ำคัมภีรภาพจริงๆ ถ้าผู้คนนึกเดาเอาโดยไม่ได้ปฏิบัติให้เกิดความสงบแล้ว จะไม่มีความซาบซึ้งแน่นอน ศึกษาตามตำรามากยิ่งสงสัยมาก เดามากเท่าไรยิ่งไกลความจริงมากเท่านั้น แต่ถ้าใครปฏิบัติจนเกิดความสงบ คือสงบจากบาป แล้วก็จะเกิดความซาบซึ้งขึ้นเอง ถ้าสงบมากก็ซึ้งมาก ถ้าสงบน้อยก็ซึ้งน้อย โดยสมควรแก่การปฏิบัติ ผู้ที่มีความซาบซึ้งในพระศาสนาจริงๆ จะมีความรักและหวงแหนพระศาสนาที่สุดยิ่งกว่าชีวิต กล้ายอมเสียสละทุกอย่าง เพื่อจรรโลงและเพื่อเทิดทูนพระศาสนา มีความเคารพในระเบียบพระธรรมวินัยน้อยใหญ่ทั้งปวงที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ และเข้าใจถูกต้องว่า พระธรรมวินัยแต่ละข้อมีความหมายสำคัญอย่างไร

หลวงปู่เล่าเอาไว้ว่า “สมัยนั้นที่สำนักของหลวงปู่มั่นจะคราค่ำไปด้วยพระภิกษุ สามเณร เถราจารย์ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่จำนวนมาก ทั้งที่มาจากทางเหนือ ทางใต้ ทางจันทบุรีหลั่งไหลกันเข้าไปรับอุบายธรรมกันไม่ได้ขาดสาย เรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่งก็ได้แก่ ชาวบ้านหนองผือที่ใส่บาตรเลี้ยงดูพระภิกษุ สามเณร บ้านหนองผือเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ไม่เกิน ๕๐ หลังคาเรือนในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันนี้อาจจะถึงร้อยแล้วก็ได้ ฐานะความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็ทำไร่ไถนาธรรมดานี่เอง คิดดูว่าหมู่บ้านแค่นั้นแต่เลี้ยงดูพระเป็นร้อย บางวันก็มากกว่าร้อยบางวันก็ต่ำกว่า ไม่แน่นอน ที่สำคัญคือชาวบ้านเอาข้าวปลาอาหารจากที่ไหนมาเลี้ยงดูพระได้ตลอดทั้งปี ไม่มีอด พระมากก็เหลือ พระน้อยก็เหลือ เป็นอยู่อย่างนี้นับเป็นปีๆ ไม่ขาดตกบกพร่อง อุดมสมบูรณ์ตลอด จึงต้องยอมรับในบุญญาบารมีของหลวงปู่มั่น ส่วนสถานที่พักนั้นไม่น่าห่วงเพราะถ้าในวัดบ้านหนองผือแน่น บางองค์ก็ออกมาพักกับครูบาอาจารย์ตามสำนักข้างเคียงในละแวกนั้น บ้างก็พักกันตามชายป่าชายเขารอบๆ นั้น บ้างก็ขึ้นไปพักบนถ้ำพระ ถ้ำคำไฮ บ้านลาดกระเฌอ ตามความพอใจ แต่ถึงเวลาแล้วก็พากันเข้ามาฟังธรรมพร้อมกัน ฟังธรรมเสร็จก็แยกย้ายกันเดินกลับ”

“สำหรับผมก็ใช้วิธีเดียวกันกับครูบาอาจารย์ ผมออกมาพักที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า เดินข้ามเทือกเขาภูพานลัดมาตามป่ามาลงอีกฝั่งหนึ่ง กลางคืนกว่าจะเก็บกวาดอันโน้นอันนี้ ให้เรียบร้อยแล้วจึงเดินกลับก็ดึกประมาณสี่ทุ่มบ้าง ห้าทุ่มบ้าง ไม่แน่นอน จุดเทียนไขใส่โคมผ้าถือเดินมาตามทางช้างที่เดินเป็นร่องไว้ แล้วเดินอย่าให้ออกนอกร่องเป็นอันว่าไม่หลง โดยอาศัยแสงเทียนไขที่จุดอยู่ในโคมผ้าสีขาวส่องสว่างนำทาง บางคืนเดือนหงายก็ดีหน่อย ไม่มีศัสตราวุธใดๆ สำหรับจะป้องกันตัว นอกจากธัมมาวุธเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเดินทางถึงถ้ำแล้วก็ไม่ได้พักเสียทีเดียว จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ภาวนาต่อไปอีก เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง ตอนเช้าบางวันก็เข้าไปบิณฑบาตที่บ้านทิดลุน บ้านทิดไท ฉันเสร็จ ล้างบาตรเสร็จก็ออกเดินลัดเทือกเขาภูพานข้ามไปยังสำนักหลวงปู่มั่น รอคอยเพื่อจะได้เข้าไปปฏิบัติท่าน แต่บางวันก็ออกเดินทางมาตั้งแต่ตีสาม เอาบาตรเอาผ้าครองมาด้วย กะมาสว่างที่วัดหลวงปู่มั่น มาบิณฑบาตที่นี่ ฉันที่นี่ อย่างนี้ก็มี...”

“ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เองที่ทำให้ผมได้รับคุณธรรมเป็นครั้งแรกในชีวิตของนักบวช” สมัยนั้นพระผู้ใหญ่บางรูปไม่ยอมให้ผมเข้าใกล้หลวงปู่มั่น ผมขอพักสักเดือนครึ่งเดือนก็ไม่ยอมให้ผมพัก บ้านผมก็ไม่ได้อยู่ที่นี่ ญาติพี่น้องก็ไม่มี ขอพักเพื่อฟังธรรมสัก ๑ เดือน แล้วจะไป...ท่านบอกว่าไม่ได้คำเดียว...งานผมก็ทำ กิจวัตรผมก็ไม่เคยขาด กราบเท้ากราบตีนท่าน ท่านก็อนุญาตให้เข้ามาฟังธรรมได้ แต่ให้ออกไปพักที่อื่น ผมก็ยอม แต่ก่อนจะไปขออนุญาตเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่นก่อน ท่านบอกว่าไม่ได้จะไปรบกวนหลวงปู่มั่นทำไม ให้ไปเดี๋ยวนี้...ผมก็ยังดื้อ แกล้งเก็บโน่นเก็บนั่นไปตามเรื่อง รอจังหวะท่านเผลอ ผมก็แอบเข้าไปกราบเท้าขอลาหลวงปู่มั่นว่าจะไปพักข้างนอก หลวงปู่มั่นบอกว่าจะไปทำไม อยู่ด้วยกันที่นี่แหละ...กราบเรียนท่านว่า...เกล้าไม่ได้อยากจากหลวงปู่เลย เกล้าไม่อยากให้ครูบาอาจารย์ท่านลำบากใจ จึงมาขอกราบลาหลวงปู่ไปพักข้างนอก แต่ขออนุญาตเข้ามาฟังธรรมทุกวัน...หลวงปู่มั่นปรารภต่อไปว่า...เอาอย่างนี้ !...ข้ามภูเขาลูกนี้ไปด้านโน้นจะเป็นถ้ำเจ้าผู้ข้า เงียบสงบ ภาวนาดี แล้วจะได้รับคุณธรรมเป็นเครื่องตอบแทน แต่เสือชุมหน่อยนะ !...ให้ไปอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแล้วเดินมาฟังธรรมเอาแต่ละวัน !...ผมก้มกราบเท้าหลวงปู่มั่นอีกครั้ง แล้วเข้าไปเก็บบริขารออกเดินทางไปตามที่หลวงปู่มั่นสั่งทันที...เดินทางมาถึงถ้ำเจ้าผู้ข้าเป็นเวลาพลบค่ำ เงียบสงบ และเสือชุมอย่างที่หลวงปู่มั่นบอกจริงๆ เพราะยังไม่ทันที่จะวางบริขารลงจากบ่า เสียงเสือก็คำรามเรียกกันก้องกระหึ่มไปทั้งท้ายถ้ำหัวถ้ำ เดินไปยังมุมหนึ่งเพื่อจะวางบริขาร กลิ่นสาบเสือฉุนกึกออกมา แสดงว่าเจ้าของสาบเพิ่งจะลุกออกไปไม่นานนี่เอง เห็นข้างผนังถ้ำขึ้นเงาเป็นแถบ เสือคงเอาสีข้างมาถูจนขึ้นเป็นมันเงา ปลงบริขาร กลางกลดเสร็จนั่งพิจารณาคำปรารภที่หลวงปู่มั่นมอบให้ก่อนมา แล้วทำให้เกิดกำลังใจขึ้นมาในบัดดล เกิดความกล้าที่จะอยู่กันคนละครึ่งทางกับเสือร้ายเจ้าของถ้ำเดิม ซึ่งจะคอยคำรามปลุกโสตประสาทให้ตื่นตัว ไม่ให้ประมาทหลับใหล

หลังจากนั้นผมก็ยกมือตั้งจิตอธิษฐาน อย่างแกล้วกล้ามั่นคงว่า “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอถึงครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ มีหลวงปู่มั่นเป็นอาทิ ข้าพเจ้าจะขอปฏิบัติบูชาเพื่อน้อมนำเอาคุณงามความดีถวายเป็นพุทธบูชาให้จงได้ หากข้าพเจ้าไม่มีบุญที่จะได้คุณงามความดีแล้ว ก็ขออุทิศร่างกายนี้ให้เป็นอาหารของเสือไปเสียจะเป็นประโยชน์กว่า...หากว่าข้าพเจ้ามีบุญ ไม่ตาย ก็ขอให้ข้าพเจ้าได้รับคุณธรรมความดีที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของข้าพเจ้าด้วย เทอญ...” ว่าแล้วก็ออกเดินจงกรมหน้าถ้ำและภาวนาไปด้วยว่า “ไม่ดี ให้ตาย...ไม่ตายให้ดีๆ...ๆ...ๆ” หมายความว่า ถ้าไม่ได้คุณธรรมความดีอย่างที่หลวงปู่มั่นบอกไว้ก่อนที่จะออกเดินทางมาแล้วละก็ ยอมให้เสือกัดตายเป็นอาหารของเสือไปเสียดีกว่า หรือเดินจงกรมอยู่ก็ให้ตกหน้าผาหล่นไปตายในก้นเหวให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย คืนนั้นผมเดินจงกรมตลอดทั้งคืน จนฟ้าสางจิตผมสว่างโล่งโปร่ง มีความรู้ขึ้นมาในดวงจิตบอกว่า...สิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบมานั้นเป็นเพียงแค่โลกธรรมแปด เป็นของมีอยู่คู่กับโลกเท่านั้น...“นึกแล้วก็ต้องขอขอบคุณพระองค์ที่ผลักไสให้ผมต้องเดินน้ำตาตกจากวัดหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุในวันนั้น วันนี้ก็คงไม่มี ผมอาจจะยังไม่ได้คุณธรรมความดีขนาดนี้ก็ได้”

การอยากได้ยิน อยากได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ในสมัยผมนั้น ไม่เหมือนพวกเราอย่างทุกวันนี้ พวกเรามีความกระตือรือร้นกันน้อยเหลือเกิน “ธรรมที่ผมนำมาสอนพวกเรานี้ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ ต้องแลกด้วยน้ำตา...แลกด้วยชีวิต...เสือทั้งนั้นครับในถ้ำเจ้าผู้ข้าสมัยนั้น...” บางวันผมกลับถึงถ้ำก็ต้องมาเก็บกวาดซากวัวที่เสือคาบมากินแล้วทิ้งไว้ในถ้ำ เสือแต่ละตัวโตเกือบเท่าวัว แบกวัวชาวบ้านมากินในถ้ำได้เป็นตัวๆ เลยทีเดียว...มีอยู่วันหนึ่งผมก็รีบออกจากถ้ำยังไม่ทันสว่างดี มือถือโคมเทียนก้มหน้าก้มตาเดิน เดินไปสะดุดกับวัตถุอย่างหนึ่งเข้าเต็มที่ จะว่าหินก็ไม่ใช่ เพราะเราเดินอยู่ทุกวันทางนี้ไม่มีหิน นึกแล้วก็ส่องโคมเทียนมองหาว่าเราสะดุดอะไรกันแน่ หาไปหามากลายเป็นหัวคน...แสดงว่าเมื่อคืนเสือต้องไปคาบคนที่หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งมากินแน่ ไม่รู้ว่ามันคาบตัวไปกินอยู่ที่ถ้ำไหนทิ้งหัวไว้ที่นี่ ถ้ำที่ผมอยู่นะครับคล้ายกับว่าพลัดกันอยู่คนละเวลากับเสือ คือกลางคืนเสือออกไปหากิน ผมเดินทางกลับมาถึงก็ดึก พักบ้างไม่พักบ้าง ส่วนใหญ่จะไม่พัก กลางวันเสือกลับมาพักในถ้ำส่วนผมก็อยู่ปฏิบัติครูบาอาจารย์ที่วัดบ้านหนองผือ จะสลับสับเปลี่ยนกันอยู่แบบนี้ “ผมเข้าเสือออก เสือออกผมเข้า ถึงขนาดนั้นนะครับเพื่อเดินไปฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น !...แต่มาเห็นพวกเราทุกวันนี้ไม่ต้องลำบากเดินไปฟังที่ไหน ครูบาอาจารย์เอามาประเคนให้ถึงที่ ธรรมแต่ละข้อแต่ละตอนผมได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่มั่นองค์อรหันต์ของแท้ ไม่ใช่อรหันต์เทียมๆ อย่างที่มีอยู่ทุกวันนี้ แต่พวกเราบางองค์ยังดิ้นรนจะไปหาอาจารย์โน้น ดิ้นไปหาอาจารย์นั้นอีก...สมัยผมอยู่กับหลวงปู่มั่น ผมอยากจะกอดขาอยู่กับท่านตลอดเวลา ผมถูกครูบาอาจารย์ไล่ ผมยังเสียใจเพราะผมไม่อยากจากไม่อยากหนีจากครูบาอาจารย์ อยากได้ยินอยากได้ฟังธรรมทุกคำที่หลุดออกมาจากปากท่าน “ถ้าธรรมที่ผมนำมาอบรมสั่งสอนพวกเราไม่ถูกต้องตามสายทางการปฏิบัติ หรือไม่ตรงกับความจริงแล้วละก็ ให้เอามีดมาตัดคอผมทิ้งได้เลย ! พวกเราชอบวิ่งไปโน่นไปนี่ เปรียบเสมือนคนไข้วิ่งหนีหมอนั่นเอง...คนไข้หรือคนป่วยต้องอยู่ใกล้ๆ หมอ เมื่อวิ่งหนีหมอก็ตายลูกเดียว !...”

สำหรับหลวงปู่เมื่อได้เดินทางไปถึง ท่านก็ได้ปักหลักบำเพ็ญภาวนาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายเดือน และมีโอกาสทำสมาธิได้เต็มที่ เพราะขณะนั้นท่านได้ธุดงค์ไปเพียงองค์เดียว ท่านจึงไม่มีความกังวลใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับเรื่องของคนอื่น มีหน้าที่บำเพ็ญสมณธรรมเพื่อความหลุดพ้นซึ่งเป็นจุดหมายที่ได้ตั้งเอาไว้

หลวงปู่ท่านเป็นผู้เสียสละ เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ในการออกปฏิบัติธรรมจริงๆ ท่านยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพื่อแลกเปลี่ยนเอาคุณธรรม ท่านมีอุดมคติอยู่ว่า “...ไม่ดีให้ตาย ไม่ตายให้ดี...” อันนี้เป็นปณิธานของท่าน เพราะสมัยนั้นที่ภูวัวเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าไม่เสียสละอุทิศชีวิตกันจริงๆ จะไม่สามารถอยู่ได้เลย บางครั้งเวลาออกเดินบิณฑบาต ยังเห็นรอยเสือขีดข่วนต้นไม้ตามสายทางที่ผ่านไป มีทั้งใหม่และเก่า บางครั้งเสือเพิ่งจะข้ามลำธารน้ำยังขุ่นๆ อยู่ก็มี ยิ่งพอตกตอนกลางคืนเสียงเสือโคร่งตัวโตๆ มันร้องคำรามอย่างน่าหวาดหวั่น มันร้องแต่ละที ในป่าที่แสนสงบวิเวกดูประหนึ่งว่า สะท้านสะเทือนหวั่นไหวไปทั้งอาณาเขตของภูเขาลูกนั้น บางคืนมีทั้งช้างและเสือ คืนไหนที่ไม่ได้ยินเสียงสิงห์สาราสัตว์ต่างๆ นั้นเป็นไม่มี

ภูวัวเป็นสถานที่สงบ วิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติทางจิตเป็นยิ่งนัก พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นจึงต้องไปภาวนาที่ภูวัวกันเป็นส่วนมาก เท่าที่เคยสังเกตดูสถานที่บางแห่งพอไปถึง เรายังไม่ได้นั่งสมาธิภาวนาอะไรเลย แต่ใจก็เกิดความสงบแปลกๆ เหมือนจะเป็นสมาธิในทันทีทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่าสถานที่อย่างนั้นมันชวนให้ขยันภาวนา จึงทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าบทหนึ่งที่มีอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ว่า ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต จ อาโยโค ซึ่งมีความหมายว่า พึงอยู่ในสถานที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เหมาะแก่การประกอบเอื้อเฟื้อในอธิจิต

ภูวัวก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะแก่การฝึกจิต เพราะสิ่งแวดล้อมหลายอย่างเอื้ออำนวย เช่น มีลักษณะเป็นป่าเขา ทิวทัศน์สวยงาม น้ำดี อากาศดีพอสมควร ฤดูร้อนกลางวันอาจจะร้อนจัดไม่สบาย ก็หลบเข้าไปภาวนาในถ้ำได้ และยังมีลานหินกว้างใหญ่สะดวกแก่การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถก็มีโขดหินสวยๆ หลายแห่ง เหมาะแก่การไปนั่งภาวนา ในบางโอกาสมองทิวทัศน์ไปข้างหน้า จะเห็นผาสูงชันประดับไปด้วยหมู่ไม้ และภูเขาสลับซับซ้อน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินแก่ผู้รักความสงบยิ่งนัก ในขณะนั้นอาจจะมองเห็นสมบัติในโลกทุกอย่างไม่มีความหมายสำคัญอะไรต่อชีวิตเท่ากับความสงบ ความสงบก็ดี ความสลดสังเวชก็ดี ความว้าเหว่วังเวงก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ที่เห็นว่าตัวเองจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจฉันใด เวลาไปธุดงค์ในป่าองค์เดียวซึ่งแวดล้อมไปด้วยอันตรายรอบด้านก็เหมือนกันฉันนั้น การระลึกถึงความตายย่อมมีอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้หมายถึงสถานที่ซึ่งจะช่วยอบรมจิต คนเราถ้าใจแข็งกระด้าง ไม่รู้จักสลด จะเข้าใจธรรมได้ยาก เพราะธรรมเป็นของละเอียดอ่อน ถ้าจิตละเอียดมากก็เข้าใจธรรมได้มาก ละเอียดน้อยก็เข้าใจธรรมได้น้อย ฉะนั้นถ้าผู้อ่านพิจารณาไปด้วยก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า สถานที่นั้นมีความสำคัญอย่างไรต่อการฝึกจิต

หลวงปู่เคยเล่าว่า ท่านได้คุณธรรมและได้กำลังใจจากสถานที่แห่งนี้อย่างมากมายมหาศาล หมายถึงภูวัว จึงทำให้ท่านมีความมั่นคงในพระศาสนา ยอมมอบกายถวายชีวิตอุทิศแด่พระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติบูชา และยังได้ชักชวนผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสศรัทธาให้รู้จักคุณค่าประโยชน์ของธรรมด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่ท่านทำให้เกิดศรัทธาปสาทะต่อพระศาสนานั้น จุดสำคัญที่สุดได้แก่การฝึกทำสมาธิภาวนาให้จิตใจมีความสงบ คือ สงบจากบาป เมื่อผู้ปฏิบัติได้สัมผัสรสชาติของความสงบ ก็จักมีความซาบซึ้งในธรรม และรู้จักคุณค่าประโยชน์ของพระศาสนา ดังนั้น หลวงปู่ท่านจึงพยายามชักชวนเพื่อนสหธรรมิกให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติภาวนาและนำพาเพื่อนสหธรรมิกออกธุดงค์กรรมฐานในป่าเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อหมู่คณะจะมีโอกาสได้สัมผัสกับความสงบวิเวกบ้าง

หลวงปู่ท่านได้พักบำเพ็ญอยู่ที่ภูวัวได้รับผลดีทางด้านจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ได้รับความรู้ความเข้าใจในพระศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ความสุข ความสงบ ความรู้ความเห็นในสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นอย่างไม่เคยได้รับมาก่อนเลย ท่านจึงปักหลักบำเพ็ญอยู่ที่ภูวัวนั้นตลอดฤดูร้อน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2020, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต)

• พ.ศ. ๒๔๙๐ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาส
ตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร


เมื่อใกล้ฤดูกาลพรรษาเข้ามา หลวงปู่สมชายจึงได้ออกมาจากภูวัวเพื่อเดินทางมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวาส ต.ขัวก่าย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ในพรรษานี้อยู่จำพรรษากันเพียง ๔ รูป คือ

๑. ท่านพระอาจารย์อินตา ๒. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ๓. สามเณรก้าน ๔. สามเณรประพันธ์

ทุกรูปอยู่จำพรรษากันด้วยความผาสุกโดยตลอด หลังจากออกพรรษาแล้วได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ภาวนาอยู่บนภูวัว ท่านพระอาจารย์อินตาก็ได้ชักชวนกันไปภาวนาร่วมกับหลวงปู่ฝั้นที่ภูวัว ทั้ง ๔ รูปจึงเดินจาริกไปตามป่าดง นานๆ จะพบบ้านคนสักครั้ง ก็พักพออาศัยบิณฑบาต ฉันเสร็จก็เดินทางต่อ พอถึงถ้ำพระก็ได้พบหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) มาพักภาวนาอยู่ก่อนแล้ว จึงได้พากันเข้าไปกราบขอรับฟังธรรมจากท่าน ได้อยู่รับการอบรมจากหลวงปู่ฝั้นบนภูวัวนั้นเอง ภูวัวมีสถานที่สำหรับภาวนาทำความเพียรของพระโยคาวจรได้เป็นอย่างดี เลือกได้ตามอัธยาศัย ชอบถ้ำอยู่ถ้ำ ชอบป่าอยู่ป่า หรือใครชอบสายธารน้ำตก ก็สามารถหาอยู่กันได้โดยง่าย ล้วนแต่ธรรมชาติสร้างและจัดสรรไว้ให้แก่นักภาวนาเป็นอย่างดีแล้วนั่นเอง ภูวัวในสมัยก่อนนั้นเป็นดงดิบจริงๆ สัตว์ป่าก็ชุกชุมมากโดยเฉพาะเสือโคร่งตัวโตๆ พอค่ำขึ้นมาก็คำรามให้สนั่นป่ารอบทิศทางกันทีเดียว ซึ่งเป็นที่น่าหวาดหวั่นเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งช้างป่าแต่ละโขลง ถ้าเดินผ่านไปด้านไหนป่าไม้ก็จะลาบเตียนโล่งกันเป็นแถบๆ เพราะแต่ละโขลงก็จะมีจำนวนนับเป็น ๑๐ เชือกกันทีเดียว ทั้งเสือและช้างกับพระธุดงค์จึงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงกันได้เลย การที่จะได้ผจญเสือหรือช้างจึงถือกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับพระธุดงค์ในสมัยนั้น


• ผจญช้างป่าร่วมกับหลวงปู่ฝั้น

กิจวัตรประจำวันสำหรับการอยู่กับหลวงปู่ฝั้นที่ภูวัว ภายหลังจากได้ฉันภัตตาหารแล้ว ก็มักจะแยกย้ายกันหาสถานที่ภาวนาตามหลืบผา ตามถ้ำ ราวป่า ตามอัธยาศัย วันหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ชวนหลวงปู่สมชายไปภาวนาที่หินก้อนน้ำอ้อย (หินค้างหิน) ซึ่งในบริเวณนี้จะมีด้วยกันหลายก้อนล้วนสวยงามน่าภาวนาทุกแห่ง หลวงปู่สมชายได้เลือกหาสถานที่แขวนกลดถวายหลวงปู่ฝั้นใต้หินก้อนน้ำอ้อยก้อนใหญ่ บรรยากาศดีมีทางเดินจงกรม ส่วนหลวงปู่สมชายก็ข้ามลำธารมาอีกฝั่งหนึ่งเพื่อไม่ให้รบกวนครูบาอาจารย์ โดยกลางกลดใต้หินก้อนน้ำอ้อยอีกก้อนหนึ่ง อาศัยทางที่ช้างเดินจนเตียนแล้วนั้นเป็นที่เดินจงกรม พอตกดึกเงียบสงัดในคืนนี้ขณะที่เดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียงกิ่งไม้หักโครมครามมาแต่ไกลและก็คืบคลานใกล้เข้ามาๆ...ๆ ทางที่หลวงปู่ฝั้นพักอยู่อีกด้วย หลวงปู่สมชายจึงละจากทางเดินจงกรมข้ามลำคลองมาฝั่งที่หลวงปู่ฝั้นพักอยู่ แล้วช่วยเก็บกลดหลบออกจากทางช้าง เสร็จแล้วก็ปีนขึ้นไปบนก้อนน้ำอ้อยแล้วหย่อนผ้าที่ใช้สำหรับสรงน้ำลงถวายให้หลวงปู่ฝั้นจับ หลวงปู่สมชายก็ออกแรงดึงหลวงปู่ฝั้นขึ้นไปพักเพื่อหลบช้างบนก้อนน้ำอ้อย เหตุการณ์ดังกล่าวคาดไว้ไม่มีผิด เพียงครู่เดียวโขลงช้างนับสิบๆ เชือกก็มาถึงบริเวณที่หลวงปู่ฝั้นพักนั่นเอง หลวงปู่ฝั้นและหลวงปู่สมชายได้นั่งอยู่บนก้อนน้ำอ้อยอย่างปลอดภัย และมองเห็นโขลงช้างออกหากินหักยอดไผ่กินกันอย่างเอร็ดอร่อย เป็นเวลานานก็ไม่ยอมผ่านไปเสียที หลวงปู่ฝั้นทนรอไม่ไหวจึงได้หยิบเอาหลอดไม้ไผ่ที่พกติดย่ามไว้สำหรับเป่าไล่สัตว์ หรือเรียกว่านกหวีดไม้นั่นเอง หลวงปู่ฝั้นเห็นว่าถ้าไม่เป่าไล่คงจะไม่ไปกันง่าย จึงเอาหลอดไม้เป่าขึ้น...ว๊...อ...ก...ว๊อก...!...!...ทันทีที่โขลงช้างได้ยินเสียงหลอดไม้ไผ่แล้วคงจะแสบแก้วหูและตกใจนั่นเอง ต่างตัวต่างแตกตื่นโกลาหลพากันวิ่งกลับออกไป เสียงดังสะเทือนเลื่อนลั่นสนั่นปานฟ้าผ่า ครู่ใหญ่ๆ สถานการณ์ก็เข้าสู่สภาพปกติ พอฟ้าสางก็พากันเดินกลับลงมาที่ถ้ำพระ หลวงปู่ฝั้นได้เล่าเรื่องเมื่อคืนให้ท่านพระครูอุดมธรรมคุณและท่านพระอาจารย์อินตาฟังอย่างสนุกสนาน

พักบำเพ็ญอยู่กับหลวงปู่ฝั้นและท่านพระครูอุดมธรรมคุณนานพอสมควรแล้ว ทั้ง ๔ รูป คือ ท่านพระอาจารย์อินตา หลวงปู่สมชาย สามเณรก้าน สามเณรประพันธ์ ก็ได้ขออนุญาตกราบลาหลวงปู่ฝั้น กราบลาท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต) ออกเดินทางไปหาสถานที่ภาวนาแห่งใหม่ มาพักอยู่ที่ถ้ำน้ำหยาด ลงไปบิณฑบาตที่บ้านทุ่งทรายจก พักอยู่ได้ระยะหนึ่งก็เปลี่ยนไปที่ถ้ำฝุ่น ถ้ำแกลบ ถ้ำแกว ถ้ำบิ้งน้อย ถ้ำบิ้งใหญ่ พักอยู่ซีกด้านนี้นานพอสมควรแล้วก็ได้รับความสงบวิเวกทางด้านจิตใจด้วยกันทุกรูป แต่ยังอยากหาประสบการณ์ไปเรื่อยๆ จึงได้ลงจากภูวัวเดินธุดงค์หาสถานที่วิเวกไปทาง อ.เมืองบึงกาฬ แล้วเลยไปถึง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

• พ.ศ. ๒๔๙๑ จำพรรษาที่วัดพระงามศรีมงคล
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย


ฤดูคิมหันต์ (ฤดูร้อน) ผ่านพ้นไป ฤดูวัสสานะ (ฤดูฝน) ใกล้จะมาถึงในอีกไม่ช้านี้ ท่านพระอาจารย์อินตา หลวงปู่สมชาย และสามเณรอีกสองรูปคือ สามเณรก้านและสามเณรประพันธ์ ก็เดินทางลงจากภูวัววิเวกไปทาง อ.เมืองบึงกาฬ เลยไปถึง อ.ท่าบ่อ แล้วจึงเดินย้อนกลับมาพักจำพรรษาที่วัดพระงามศรีมงคล อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ในพรรษานี้จำพรรษาด้วยกัน ๔ รูป คือ ๑. ท่านพระอาจารย์อินตา ๒. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ๓. สามเณรก้าน ๔. สามเณรประพันธ์

วัดพระงามศรีมงคล เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาอีกแห่งหนึ่ง ตามประวัติแล้วเป็นวัดเก่าแก่ที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงปู่มั่นและหลวงปู่เสาร์ได้เคยมาช่วยกันบูรณะวัดและซ่อมพระพุทธรูปองค์ปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมในอดีตนั้นชำรุดมากจนแทบไม่เหลือเป็นองค์ เมื่อครูบาอาจารย์ทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะขึ้นมาใหม่ พระพุทธรูปก็ปรากฏความงามมากขึ้นจากเดิมจนเปรียบไม่ได้ จนชาวบ้านพูดเล่าขานเรียกต่อๆ มาว่า “วัดพระงาม” ต่อมาจึงมีสร้อยต่อท้ายว่า “ศรีมงคล” จนกลายเป็นชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดพระงามศรีมงคล” ออกพรรษาแล้วทั้ง ๔ รูปก็พากันข้ามแม่น้ำโขงไปธุดงค์ยังฝั่งประเทศลาว ซึ่งเป็นการธุดงค์รอนแรมในต่างแดนเป็นครั้งแรก ท้ายสุดไปพักอยู่ที่วัดจอมไตร บ้านดงนาซก แขวงเวียงจันทน์ พักอยู่นานพอสมควรก็พากันข้ามกลับมาฝั่งไทย ข้ามเรือตรงที่ตั้งวัดหินหมากเป้งทุกวันนี้ (สมัยนั้นยังไม่มีวัด) ป่าไม้หนาแน่นมาก สัตว์ป่าชุกชุม โดยเฉพาะหมูป่านั้นมีมากทีเดียวและไม่ค่อยกลัวคน ออกมาหากินกันเป็นฝูงๆ ข้างกลดที่กางอยู่นั่นเอง เสือก็ชุม งูจงอางตัวโต เพราะเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ มีท่าลงกินน้ำง่าย จึงเป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่านานาชนิดนั่นเอง


รูปภาพ
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

รูปภาพ
พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

• พ.ศ.๒๔๙๒ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย


หลังจากหลวงปู่สมชายกลับมาจากฝั่งประเทศลาว ก็เดินธุดงค์หาสถานที่วิเวกมาเรื่อยๆ เพื่อดูว่าสถานที่แห่งใดจะเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมในระหว่างพรรษาที่กำลังใกล้เข้ามา ที่สุดท่านได้มาหยุดพัก ณ วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ซึ่งวัดแห่งนี้หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานได้เป็นผู้มาสร้างไว้ หลวงปู่เห็นว่าน่าจะเป็นมงคล และคงจะได้รับบารมีของหลวงปู่เสาร์แผ่มาช่วยให้การบำเพ็ญภาวนาเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงตัดสินใจจำพรรษาปีนั้นที่วัดนี้

เมื่อออกพรรษาในปีนั้นแล้ว หลวงปู่สมชายก็รีบเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เพราะทราบข่าวว่าหลวงปู่มั่นกำลังอาพาธ จึงอยากไปให้ทันรับฟังปัจฉิมโอวาทของท่าน เพราะนับแต่จากหลวงปู่มั่นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ จนมาจำพรรษาที่วัดพระงามศรีมงคล ยังไม่ได้กลับไปกราบเรียนความเจริญก้าวหน้าทางด้านจิตใจจากการปฏิบัติให้ท่านทราบเลย โดยปกติหลวงปู่สมชายท่านมักจะเดินทางไปอยู่ภาวนาตามคำสั่งของครูบาอาจารย์ เมื่ออยู่ครบตามที่ครูบาอาจารย์กำหนดให้แล้วก็จะกลับไปกราบเรียนถวายให้ท่านทราบ ท่านถือปฏิบัติอย่างนี้เสมอมา ผู้ปฏิบัติท่านถือกันมากเรื่องการเคารพในคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งครูบาอาจารย์ โดยมากมักปฏิบัติไม่ก้าวหน้าและมักพบความวิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่ในสำนักครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณธรรม เช่น สำนักหลวงปู่มั่น บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายจะให้ความเคารพนับถือเชื่อฟังคำสั่งมากเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนไม่ได้เด็ดขาด แม้ความรู้สึกนึกคิดข้างในก็ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้คิดไปตำหนิติโทษท่านเป็นอันขาด เพราะกลัวจะเป็นบาป และจะเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญเพียร หรือเจริญสมณธรรมไม่ก้าวหน้านั่นเอง

เท่าที่เคยได้รับฟังมา เคยมีสามเณรองค์หนึ่งที่สำนักหลวงปู่มั่น เป็นเณรหัวดื้อพูดยากสอนยาก ใครพูดอะไรก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง หลวงปู่มั่นจึงได้พูดเตือนสติขึ้นว่า “ระวังนะเณร การฝ่าฝืนครูบาอาจารย์ไม่ใช่ของดี มันเป็นบาป ถ้าฝืนมากๆ เข้าอาจจะเป็นบ้าได้” หลวงปู่มั่นท่านพูดไม่กี่นาที สามเณรองค์นั้นก็เสียสติทันที พอท่านสั่งว่า ถ้าอยากหายให้หาดอกไม้มาขอขมา เมื่อสามเณรปฏิบัติตามก็หายจากการเป็นบ้าทันที เรื่องนี้หลวงปู่สมชายท่านก็ได้เห็นเหตุการณ์ในขณะนั้นด้วย


นับแต่หลวงปู่สมชายได้อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา ท่านได้ตั้งใจศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมตลอดมาโดยลำดับ ไม่เคยลดละประมาท เพื่อต้องการพิสูจน์ความจริงในทางพระพุทธศาสนา ท่านขยันหมั่นเพียรในกิจวัตรน้อยใหญ่ทั้งปวง ไม่เคยย่อท้อ การปฏิบัติจึงได้ผลตั้งแต่เริ่มและดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ท่านเพลิดเพลินในสิ่งที่ได้รู้ ได้เห็น และเกิดความซาบซึ้งในรสพระธรรมที่เกิดขึ้นจากการบำเพ็ญเพียรของท่านเป็นอย่างยิ่ง

ระหว่างที่เพลินอยู่กับการปฏิบัติธรรมนั้น เหตุการณ์ที่สะเทือนใจแก่ผู้ปฏิบัติก็แพร่สะพัดขึ้น คือ ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ขณะนั้นหลวงปู่สมชายยังเป็นนวกภิกษุมีอายุพรรษาได้เพียง ๔ พรรษาเท่านั้น

เมื่อหลวงปู่มั่นผู้เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทร เปรียบเสมือนดวงประทีปของศิษยานุศิษย์ เมื่อดวงประทีปที่คอยส่องสว่างได้ดับลง ความเศร้าสลดรันทดใจเกิดขึ้นแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในขณะนั้นมากมายจนไม่อาจกล่าวได้ หลวงปู่สมชายอยู่ในฐานะเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง ก็พลอยได้รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นเดียวกับลูกศิษย์องค์อื่นๆ เพราะเมื่อครั้งหลวงปู่มั่นท่านยังมีชีวิตอยู่ คณะศิษย์ทั้งหลายได้ถือเอาสำนักหลวงปู่มั่นเป็นจุดรวมในการศึกษาและอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติ บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้รับความอบอุ่นและมีกำลังใจเพราะมีที่พึ่ง เมื่อขาดที่พึ่งลงอย่างกะทันหันเช่นนี้ ความว้าเหว่วังเวง ความเศร้าสลดย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังเป็นปุถุชน

หลังจากเหตุการณ์การสูญเสียครูบาอาจารย์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลวงปู่สมชายในระหว่างเป็นนวกภิกษุนั้น ท่านก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ตามสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นชั้นผู้ใหญ่ รุ่นครูบาอาจารย์ตลอดมา จนอายุพรรษาเข้าขั้นเถรภูมิ เมื่อเห็นว่าเป็นนิสัยมุตกะได้แล้ว ท่านจึงได้ออกบำเพ็ญภาวนาเองโดยส่วนตัวตามลำพัง ณ สถานที่ต่างๆ ตามสมควรแก่โอกาส

หลวงปู่สมชายได้เคยไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้นหลายท่าน เท่าที่จดจำได้ตามที่หลวงปู่ได้เคยเล่าไว้ ท่านเคยไปศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับครูบาอาจารย์ต่างๆ ดังนี้

๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม
๒. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
๓. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
๔. ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
๕. ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

และยังมีครูบาอาจารย์ท่านอื่นที่สำคัญๆ อีกหลายท่าน


รูปภาพ
หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

รูปภาพ
หลวงปู่มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

รูปภาพ
หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน
วัดป่าโสตถิผล (วัดป่าบ้านหนองโดก)

• พ.ศ. ๒๔๙๓ จำพรรษาที่วัดป่าโสตถิผล (วัดป่าบ้านหนองโดก)
บ้านหนองโดก ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล (วัดป่าบ้านหนองโดก) ได้เล่าถึงหลวงปู่สมชายไว้ว่า “ในช่วงนั้น (พ.ศ. ๒๔๙๓) เป็นช่วงเวลาหลังถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นเสร็จสิ้นลงได้ไม่นาน พระนวกะส่วนใหญ่ก็มักเข้าหาที่พึ่งจากศิษย์ผู้ใหญ่ที่ตั้งสำนักอยู่ตามสถานที่ต่างๆ บางรูปก็ปลีกวิเวกธุดงค์ไปทางภาคเหนือก็มี ไปทางภาคใต้ เช่น คณะของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ก็มี แยกไปทางภาคตะวันออกก็มี เช่น คณะของหลวงปู่กงมา หลวงปู่มหาบัว เมื่อไปได้ระยะหนึ่งก็กลับอีสาน บ้างก็ตั้งสำนักกันเองตามหุบเขาในภาคอีสานก็มีหลายสำนัก ซึ่งกลายเป็นที่พึ่งพิงฝึกฝนอบรมของศิษย์ชั้นผู้น้อยต่อมา วัดป่าบ้านหนองโดกก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่กลายเป็นศูนย์รวมของพระปฏิบัติในสมัยนั้น ผม (หลวงปู่บุญหนา) ยังเป็นสามเณรน้อยอายุราว ๑๓ ปี อาจารย์สมชายท่านเป็นครูบาใหญ่แล้วเห็นท่านอยู่ที่นี่มาก่อนผม ท่านเป็นพระที่มีความเพียรอย่างหาใครจับยาก ในวัดนี้มีท่านองค์เดียวเท่านั้นที่ทำแปลกกว่าหมู่ คือ เมื่อท่านประจำอยู่ที่นี่นั้น เช้าออกบิณฑบาต ฉันเช้า เช็ดถูปัดกวาดเสร็จแล้ว ก็ออกเดินลัดป่าไปทำความเพียรที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า ตอนบ่าย ตอนเย็นท่านก็เดินกลับลงมาทำกิจที่นี่ สรงน้ำหลวงปู่อ่อน บีบนวดหลวงปู่เสร็จ ท่านได้ผ้าครองห่อหนึ่งก็ออกเดินทางไปทำความเพียรอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าต่ออีก ค่อนรุ่งท่านก็เดินกลับลงมาถึงที่วัดก่อนสว่างเพราะท่านต้องมาเอาพรรษาที่นี่ ได้ทำกิจต่างๆ ไม่มีบกพร่องในหน้าที่เลย กลางวันท่านก็ไม่นอน เห็นท่านเมื่อไรก็เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง เสร็จจากภาวนาก็ทำกิจอย่างอื่นต่อไปอีก เช่น ทำไม้กวาดบ้าง เช็ดถูปัดกวาดบ้าง อยู่อย่างนั้นตลอดทั้งปี

พวกผม (หลวงปู่บุญหนา) ยังเคยถามท่านว่า “ครูบาไม่เคยเห็นได้หลับได้นอน อยู่ได้อย่างไร เห็นทำความเพียรตลอดเวลาอย่างนี้ เอาเวลาที่ไหนไปพักผ่อน” ท่านก็ตอบอย่างถ่อมตัวและไม่ต้องการให้ใครยกย่องท่านว่า “ใครว่าผมไม่พัก ! ไปดูที่นอนผมหรือยัง ! ผมนอนจนหมอนกิ่วหมดทั้งลูกแล้ว” ท่านจะปฏิบัติของท่านเป็นกิจวัตรประจำวัน กลางคืนมืดๆ สมัยนั้นทางเดินไม่ใช่อย่างนี้ เดินผ่าดงเสือดงช้างไป หมู่บ้านคนยังไม่มี บนถ้ำที่ท่านอยู่ไม่มีที่นอน มีแต่ที่นั่ง เมื่อก่อนหลวงปู่มั่นยังอยู่ ท่านก็เดินไปฟังเทศน์หลวงปู่มั่นที่บ้านหนองผือ แล้วก็เดินมาทำความเพียรที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าเหมือนกัน ไม่ว่าในพรรษาหรือนอกพรรษาตลอดทั้งปีท่านก็ปฏิบัติอย่างนี้ ท่านจำพรรษาที่นี่ (วัดป่าบ้านหนองโดก) ท่านไปทำความเพียรที่บนถ้ำเจ้าผู้ข้า เสร็จแล้วก็เดินกลับมาเอาพรรษาที่นี่ จับเวลาเดินมาถึงก่อนสว่างโดยที่พรรษาไม่ขาด อาจารย์สมชายท่านอยู่กับหลวงปู่อ่อนมานาน แต่พอใกล้เข้าพรรษาปีนั้นชาวบ้านม่วงไข่มานิมนต์หลวงปู่อ่อนไปจำพรรษาที่บ้านม่วงไข่ ผมต้องไปปฏิบัติหลวงปู่อ่อน ผมไม่ได้อยู่ด้วยต้องติดตามหลวงปู่อ่อนไปจำพรรษาที่วัดบ้านม่วงไข่ ท่านอาจารย์สมชายท่านจำพรรษาที่นี่กับใครบ้างผมจำไม่ได้แล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้พบกับท่านอีก จนท่านมีชื่อเสียงแล้วนี่แหละก็ได้พบกันบ้างในงานครูบาอาจารย์ พบกันที่ไหนท่านมักจะกวักมือเรียกผมเข้าไปนั่งกับท่านด้วยทุกครั้ง แล้วก็พูดคุยถึงเรื่องเก่าๆ ที่สมัยอยู่กับหลวงปู่อ่อน ท่านอาจารย์สมชายท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่ดีมากไม่ถือตัว ผมเป็นพระผู้น้อยแต่ท่านจะเรียกให้ไปนั่งกับท่านอยู่เสมอๆ” (ขอกราบขอบพระคุณหลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน ที่ได้เมตตาเล่าเรื่องนี้ให้กับผู้รวบรวม เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๐)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2020, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ผจญภัยกับหลวงปู่มุล

หลวงปู่มุล ธมฺมวีโร โดยศักดิ์แล้วท่านเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายพ่อ โดยฐานะเป็นปู่เพราะท่านเป็นน้องชายคุณย่าของหลวงปู่สมชาย ในอดีตหลวงปู่มุลเคยรับราชการเป็นตำรวจมาก่อน แต่ภายหลังได้ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาและมีความสนใจในการปฏิบัติธรรมมาก จึงได้สละฆราวาสวิสัยออกสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อหลวงปู่สมชายอุปสมบทแล้วได้ ๕ พรรษา ภายหลังจากหลวงปู่มุลท่านได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้ออกติดตามบำเพ็ญกรรมฐานตามป่าตามเขาและสถานที่ต่างๆ กับหลวงปู่สมชาย จนกระทั่งได้ติดตามขึ้นมาอยู่บนเขาสุกิม จนหลวงปู่มุลก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ที่วัดเขาสุกิม เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ รวมอายุของหลวงปู่มุลได้ ๑๐๐ ปี ๕ เดือน ๑๔ วัน หลวงปู่มุลมีโรคประจำตัวคือโรคไอเรื้อรัง ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยอย่างสม่ำเสมออีกรูปหนึ่ง และมีความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของหลวงปู่สมชายซึ่งเป็นหลานชายของท่านเองเป็นอย่างยิ่ง ท่านให้ความเคารพเชื่อฟังหลานโดยไม่มีทิฐิมานะใดๆ ไม่เคยโต้เถียงหรือออกเหตุผลคัดค้านต่อหลวงปู่สมชายซึ่งเป็นหลานแม้แต่ครั้งเดียว นับเป็นแบบอย่างที่ดีของพระหลวงตาผู้เฒ่า

สมัยหนึ่งหลวงปู่มุล พร้อมด้วยพระบวชใหม่รูปหนึ่งชื่อ “บัว” ได้ติดตามไปบำเพ็ญกับหลวงปู่สมชาย ที่ถ้ำพระ ภูวัว วันหนึ่งหลวงปู่สมชายได้นำพาไปบำเพ็ญยังบริเวณหินก้อนน้ำอ้อย ที่ซึ่งครั้งหนึ่งได้ร่วมผจญช้างป่ากับหลวงปู่ฝั้นนั่นเอง คราวนี้หลวงปู่มุลท่านได้ไปแขวนกลดที่เก่าที่หลวงปู่ฝั้นเคยพักมาแล้ว ห่างออกไปอีกพอสมควรก็เป็นที่พักของพระบัว (ไม่ทราบฉายา) ส่วนหลวงปู่สมชายก็ยังคงพักที่เดิม คือข้ามคลองไปอีกฝั่งหนึ่งนั่นเอง สำหรับพระบัวนั้นเป็นพระบวชใหม่ และยังใหม่ต่อการออกธุดงค์กรรมฐานอีกด้วย จึงมีความหวาดหวั่นอยู่ไม่น้อยเหมือนกันต่อการออกธุดงค์ในครั้งนี้ เพราะตระหนักดีว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางผ่านของสัตว์ร้าย ซึ่งยังเห็นร่องรอยของต้นไม้หักระเกะระกะ แสดงว่าเป็นเส้นทางที่โขลงช้างใช้ผ่านอยู่เป็นประจำ อีกทั้งตามซอกหินก้อนน้ำอ้อยยังเต็มไปด้วยกลิ่นสาบเสือคละคลุ้งอยู่ ต้นไม้บริเวณนั้นก็เต็มไปด้วยรอยขีดข่วนด้วยกรงเล็บของเสือที่ยังมองดูใหม่ๆ ทั้งนั้น ในคืนแรกนั้นยังไม่ทันได้ข้ามคืนเลย พระบัวก็ไม่เป็นอันภาวนาตามที่ครูบาอาจารย์สอนเลย เพราะมัวแต่หวาดกลัวอยู่กับเสียงลมพัดบ้าง เสียงกิ่งไม้หักบ้าง ในจังหวะไหนที่ได้ยินเสียงหลวงปู่มุลไอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัวของหลวงปู่ ก็ทำให้พระบัวอุ่นใจขึ้นมาบ้าง ตอนไหนเงียบเสียงไอ พระบัวก็แทบหัวใจสั่นระรัวเพราะความกลัวที่มีอยู่รอบทิศทาง

• อาคันตุกะผู้มาเยือน

อาคันตุกะผู้มาเยือนในคืนนั้นเป็นอาคันตุกะหน้าใหม่ ได้ยินเสียงดังสวบๆๆ มาแต่ไกล ดูเหมือนว่าจะบ่ายหน้าไปทางกลดของพระบัว พระบัวซึ่งอยู่ในกลดพอได้ยินเสียงดังสวบๆ ของอาคันตุกะที่กำลังมาเยือน ยังไม่ทันเห็นหน้าค่าตากันเลย พระบัวก็นึกวาดภาพไปต่างๆ นานา วาดภาพขึ้นมาให้เป็นเสือ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ จนทำให้ตัวเองแทบช็อกและแทบจะเป็นลมลงไปให้ได้

หลวงปู่สมชายมองเห็นว่าสถานการณ์ไม่ปกติ เกรงว่าพระใหม่จะช็อกหรือจะเป็นลมไป ท่านจึงออกจากกลดเดินข้ามคลองมาร้องเรียกหลวงปู่มุลว่า “หลวงปู่ๆ...เป็นอย่างไรหรือเปล่า...” หลวงปู่มุลตอบว่า “เสียงอะไรก็ไม่รู้ ดังสวบๆ อยู่ทางด้านนี้ไม่หยุดเลย...” พอพระบัวได้ยินเสียงหลวงปู่มุลและหลวงปู่สมชายพูดคุยกันแล้วก็ออกจากมุ้งกลดมาทันที พอมาถึงก็พูดว่ากระผมแทบจะช็อกตายให้ได้ครับท่านอาจารย์ หลวงปู่สมชายจึงพูดขึ้นว่า “จะเอาอย่างไรดีนี่ เรามาบำเพ็ญให้ภาวนาไปเถิด ไม่มีอะไร นั่นมันเสียงเม่นหรอกไม่ใช่เสือ...” “จะอะไรก็ตามผมก็กลัวทั้งนั้น...” พระบัวตอบ...“ท่านอาจารย์อย่าหนีกระผมก็แล้วกันคืนนี้...” ด้วยการขอร้องของพระบัว...หลวงปู่สมชาย หลวงปู่มุล และพระบัวก็พากันข้ามคลองไปเอากลดและอัฐบริขารของหลวงปู่สมชายกลับมาฝั่งด้านนี้ ซึ่งหลวงปู่สมชายก็ได้กางกลดอยู่ใต้หินก้อนน้ำอ้อย ระหว่างทางผ่านของสัตว์พอดี สำหรับพระบัวและหลวงปู่มุลอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของหินก้อนน้ำอ้อย กลดของหลวงปู่สมชายจึงอยู่ในระหว่างกลางพอดี

อาคันตุกะผู้มาเยือนในลำดับต่อไปนั้นมีลักษณะแปลกกว่าครั้งแรก นอกจากมีเสียงดังสวบๆ แล้วยังไม่พอ ยังมีเสียงครางอยู่ในลำคอเพิ่มขึ้นอีก เหมือนจังหวะที่แมวมันหายใจดังอยู่ในลำคอ แต่เสียงที่ได้ยินนี้ดังกว่าเสียงแมวหลายสิบเท่า สำหรับหลวงปู่สมชายนั้นท่านทราบดีว่า นี่คือเสียงของเจ้าป่าลายพลาดกลอนขนาดมหึมาแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย และอยู่ไม่ห่างจากกลดของท่านมากนักนี่เอง


ในขณะที่ท่านกำลังกำหนดจิตภาวนา จ้องฟังเสียงเจ้าลายพลาดกลอนมันหายใจอยู่นั้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป หลวงปู่มุลก็ได้ไอออกมาด้วยเสียงอันดัง และยังไม่ทันจะขาดเสียงไอ เสียงใหม่ก็เข้ามาแทนที่คล้ายๆ กับเสียงวัตถุหนักๆ ตกลงถูกกับพื้นดินทางฝั่งตรงข้ามกับเสียงหายใจนั้น จนแผ่นดินแทบสะเทือน

หลวงปู่มุลจึงกราบเรียนถามหลวงปู่สมชายขึ้นมาว่า “มีอะไรเกิดขึ้นหรือครับท่านอาจารย์” “ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าอะไรกระโดดข้ามกลดผมไป...” ท่านพระอาจารย์ตอบ...ทันใดนั้นพระบัวก็พรวดพราดออกมาจากมุ้งกลดพร้อมด้วยไฟฉายในมือ จึงพากันฉายไฟไปดูบริเวณรอบๆ ที่มีเสียงนั้น ปรากฏว่าพบรอยเท้าเสือรอยมหึมาขนาดคืบเขื่องๆ อยู่ข้างกลดของหลวงปู่สมชาย พระบัวเห็นดังนั้นก็แทบจะไม่ภาวนาอีกเลย


พอรุ่งอรุณวันใหม่ ก็พากันลาดตระเวนหารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จึงทราบแน่นอนว่า เป็นเสือแม่ลูกอ่อนตกคอกอยู่ใกล้ๆ และได้พาลูกหลบหนีไปแล้วตั้งแต่เมื่อคืนนั่นเอง วันต่อมาหลวงปู่สมชายจึงได้พาหลวงปู่มุลและพระบัวย้ายที่พักไปปักกลดอยู่อีกด้านหนึ่ง และได้พักบำเพ็ญทำความเพียรต่อมาอีกระยะหนึ่ง แล้วจึงวิเวกมาทางถ้ำผึ้ง ถ้ำบูชา จนสมควรแก่เวลาเพราะฤดูกาลพรรษาใกล้เข้ามาแล้ว จึงได้กลับลงมาจากภูวัว และเข้าไปพักปฏิบัติอยู่ในสำนักครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาเป็นแบบอย่างเพิ่มเติม จากครูบาอาจารย์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรูปสำคัญๆ ซึ่งในปีนี้ก็เช่นกัน หลวงปู่สมชายได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรที่จะเข้าไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาจากหลวงปู่สีลา อิสฺสโร แห่งวัดป่าอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

รูปภาพ
หลวงปู่สีลา อิสฺสโร วัดป่าอิสสระธรรม

• ปรารภถึงความดีของหลวงปู่สีลา อิสฺสโร

“หลวงปู่สีลา องค์นี้นะครับ ผมกล่าวได้ว่า ในบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นเท่าที่ผมได้เข้าไปศึกษารับปฏิปทามานั้น หรือบางองค์ที่ผมเคยผ่านๆ มาก็ตาม เท่าที่เคยสัมผัสมาทั้งหมดแล้วทุกองค์ก็ดีน่าเคารพทั้งหมด แต่สำหรับผมแล้ว ถ้าผมจะขอเทิดทูนบูชาไว้เป็นที่สองรองจากหลวงปู่มั่น ก็คงไม่มีใครเกินหลวงปู่สีลา อิสฺสโร ผมขอบูชาท่านเป็นองค์ที่สองรองจากหลวงปู่มั่นในด้านปฏิปทาและนิสัยทุกๆ อย่าง ท่านน่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยเห็นองค์ไหนที่จะปฏิบัติได้อย่างนี้ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ส่วนมากท่านจะมีดีคนละแบบกัน แตกต่างกันออกไป

เช่น
เรื่องไม่สะสมลาภสักการะ เป็นต้น ใครจะเอาอะไรมาถวายท่าน ท่านรับแล้ว ผ่านมือแล้วไม่เคยมาถามถึงเลย ว่า...ของผมหายไปไหน ใครเอาของผมไปใช้...ของชิ้นนั้นใครอย่าเอาไปใช้นะ !...เอาไปไว้ที่กุฏิผม...ของอันนั้นเขาถวายผมของอยู่ที่ไหน คำเหล่านี้ไม่มีเลยครับ สิ่งของต่างๆ ใครจะได้อะไร มาจากไหน ท่านให้นำเข้ากองกลางสงฆ์ทั้งหมด เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ลูกศิษย์ทั้งหมด ไม่ว่าพระในวัดก็ดี พระอาคันตุกะก็ดี พระมาจากที่ไหนท่านเผื่อแผ่หมด กุฏิท่านไม่มีอะไรเลย ผ้าสบง จีวร ก็ดี น้ำอ้อย น้ำตาล ก็ดี ท่านรับแล้วไม่มีถามถึงหรือเรียกหาอีกเลย...”

ส่วนครูบาอาจารย์อีกบางรูป ซึ่งไม่ได้มีนิสัยของหลวงปู่มั่นเลย หรือมีก็น้อยเต็มที ใครเอาอะไรมาถวายก็มักจะสั่งว่า...ของนี้ห้ามไม่ให้ใครเอาไปใช้นะ...เอาไปเก็บไว้ที่กุฏิผม...เหล่านี้เป็นต้น...บางองค์นะครับผมอยู่รับใช้ตลอดพรรษา ทำงานให้ทุกอย่าง จีวรผมปะแล้วปะอีกไม่เคยถามผมซักคำเลยว่า มีผ้าตัดสบงจีวรไหม ทั้งๆ ที่ผ้าที่กุฏิท่านก็มีไม่ใช่น้อย


เรื่องการอยู่การฉันก็เหมือนกัน พวกผมฉันอย่างไร หลวงปู่สีลาท่านฉันอย่างนั้น ท่านตักใส่บาตรแล้วก็แล้วกัน ไม่มีว่าอย่างนี้ดีเอาไว้ฉันเอง อย่างนั้นไม่ดีส่งต่อไปให้พระเล็กเณรน้อย...อย่างนี้ไม่มีให้เห็นเลย...การอบรมสั่งสอนของท่านนะครับ ท่านพูดจานุ่มนวล น้ำเสียงเย็นๆ เรียบร้อย ไม่เคยได้ยินหลวงปู่สีลาท่านดุใครเลย คำหยาบคายไม่มีพูดให้ได้ยิน ไม่มีว่าท่านจะพูดโอ้อวดคุณธรรมของตัวท่านเลยครับ ท่านอบรมพระภิกษุสามเณรแต่ละครั้งท่านมักจะพูดว่า พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านสอนมาอย่างนี้ ให้ปฏิบัติอย่างนี้ ท่านจะยกย่องหลวงปู่มั่นมาก ไม่มีว่าเป็นคำสอนของท่านเองเลย...ผมว่าในบรรดาลูกศิษย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่สีลานี่แหละครับประเสริฐมากรูปหนึ่ง...แต่ท่านไม่ค่อยมีชื่อเสียงเหมือนรูปอื่น ท่านมีแต่ความดีที่ดีกว่าครูบาอาจารย์หลายๆ รูปเท่าที่ผมรู้จัก ผมทั้งรักและเคารพท่านเหมือนพ่อของผมทีเดียว วันหนึ่งผมไปกราบลาท่านไปวิเวกที่อื่น เชื่อไหม ?...ว่า ผมเป็นคนใจแข็งๆ นี่นะครับต้องเปลี่ยนใจทิ้งท่านไปไม่ได้เป็นสิบครั้ง ทั้งๆ ที่ผมเตรียมบริขารเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะออกเดินทางอยู่แล้ว ยังต้องยอมเอาบริขารกับไปเก็บเป็นครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความมีเมตตาของท่านนี่แหละครับทำให้ผมถึงกับน้ำตาไหลไม่รู้ว่ากี่ครั้ง น้ำเสียงของท่านที่พูดกับผมนี่เย็นมาก เย็นจริงๆ...สามารถเปลี่ยนความตั้งใจของผมได้...

ครั้งหนึ่งผมเตรียมบริขารแล้วตั้งใจว่า ครั้งนี้เป็นไงเป็นกันต้องกราบลาท่านไปให้ได้...ท่านเห็นหน้าผม ผมยังไม่ได้เอ่ยปากเลยครับว่าผมจะพูดอะไร หลวงปู่ท่านปรารภขึ้นก่อนเลยว่า “เรื่องหมู่คณะ เรื่องคนอื่น เขาจะทำอะไรเรื่องของเขา เขาทำอย่างไรเขาก็จะได้อย่างนั้น...ผมรู้อยู่ว่าท่านเบื่อหน่ายหมู่คณะ เรานักปฏิบัติก็ปฏิบัติของเราไป อยู่ปฏิบัติเป็นเพื่อนผม เป็นหมู่ผมอยู่ที่นี่แหละ ถ้าท่านไปเสียแล้วผมก็ไม่รู้ว่าจะพึ่งพาอาศัยใคร เวลานี้งานทุกอย่างผมก็อาศัยท่านนี่แหละเป็นกำลัง นึกว่าอดทนเพื่อผมก็แล้วกัน...” หลวงปู่สีลาท่านพูดเพียงแค่ประโยคนี้ ไม่รู้ว่าน้ำตาผมหล่นมาเมื่อไร ผมต้องใจอ่อนนำบริขารกับไปเก็บ อยู่ปฏิบัติท่านต่อไปอีก ได้ระยะเวลาหนึ่งก็มีปัญหาอีก เป็นอยู่อย่างนี้จนหลวงปู่ท่านก็คงเห็นใจผมเหมือนกัน ท่านจึงอนุญาตให้ผมออกมาได้ ท่านลงมาส่งผมถึงประตูวัด ก่อนที่ผมจะก้าวขาออก ท่านพูดขึ้นอีกว่า “สมชาย...! ถ้าเชื่อผมก็ไปปฏิบัติอยู่ที่วัดบ้านกุดเรือน้อยก็แล้วกัน ๑๕ วันให้มาร่วมสวดปาติโมกข์กับผม จะได้พูดคุยกันบ้าง ขาดเหลืออะไร ต้องการอะไรจะได้ช่วยเหลือกันได้...” นี่แหละครับคุณธรรมของหลวงปู่สีลาที่ชาตินี้ผมจะลืมไม่ได้...ปฏิปทาหลายอย่างผมนำของท่านมาใช้จนทุกวันนี้ ดูกุฏิผมได้เลย จะมีแค่ที่นอน บาตร กลด กาน้ำ และกระโถน แค่นี้พอ ของหลวงปู่สีลาก็อย่างนี้แหละครับ ไม่สะสมสิ่งของใดๆ น่าเลื่อมใสจริงๆ


(ฐานข้อมูล : ถอดจากเทปบันทึกเสียงที่หลวงปู่สมชายปรารภถึงหลวงปู่สีลา อิสฺสโร)

• พ.ศ. ๒๔๙๔ จำพรรษาที่วัดป่าอิสสระธรรม
ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร


ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ก่อนเข้าพรรษาหลวงปู่ท่านได้เดินทางลงมาจากภูวัวเพื่อหาสถานที่จำพรรษา และก็ได้เข้าไปพำนักถือนิสัยอยู่กับหลวงปู่สีลา อิสฺสโร แห่งวัดป่าอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ซึ่งหลวงปู่สีลานั้นท่านก็เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกรูปหนึ่ง ที่มีข้อวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสน่าศึกษา เป็นแบบฉบับของพระกรรมฐานโดยแท้ ดังคำปรารภของหลวงปู่ที่นำมายกย่องสรรเสริญให้พระภิกษุสามเณรได้รับฟังอยู่เสมอๆ ดังกล่าวมาแล้ว

ก่อนหน้าที่จะได้มาจำพรรษากับหลวงปู่สีลา อิสฺสโร นั้น หลวงปู่ได้เร่งประกอบความเพียรอย่างหนักอยู่บนภูวัว ในสมัยก่อนนั้นภูวัวเป็นป่าดงดิบ ไข้ป่ายังชุกชุมมาก หลวงปู่ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไข้ป่าไม่พ้น ก่อนที่จะเดินทางมาถึงวัดป่าอิสสระธรรม ก็มีอาการป่วยเป็นไข้ป่าอยู่บ้างแล้ว พอลงมาจำพรรษาที่วัดป่าอิสสระธรรม ท่านได้เร่งทำความเพียรเพิ่มขึ้นอย่างไม่ย่อท้อต่อเนื่องตลอดพรรษา ๓ เดือน โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานถือเนสัชชิกังคะ คือไม่เอนกายลงนอนจำวัดเลยตลอดไตรมาส ท่านได้ทำความเพียรอยู่ในอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง อีกทั้งข้อวัตร กิจวัตร อาจริยวัตรทั้งหมดท่านก็ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่น้อย พอใกล้จะออกพรรษาในปีนั้น พิษไข้ได้ทวีความรุนแรงขึ้น แรงขึ้นเป็นลำดับ จนธาตุขันธ์ของหลวงปู่ที่ว่าแกร่ง ก็ยังพ่ายแพ้ต่อพยาธิมารหรือโรคภัยไข้เจ็บ


• ไข้ป่าเป็นเหตุ

หลวงปู่สมชายได้ล้มป่วยลงด้วยพิษของไข้ป่าหรือไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ความต้านทานก็ไม่เพียงพอเนื่องจากร่างกายไม่ค่อยได้พักผ่อน และไม่ได้เอนกายลงนอนจำวัดเลยตลอด ๓ เดือนเต็ม ในช่วง ๘ วันหลังนี้ แม้อาหารก็ฉันไม่ได้เลย ฉันอะไรลงไปก็อาเจียนออกมาหมดเพราะพิษไข้ขึ้นสูงมาก เป็น ลักษณะนี้อยู่หลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่งอาการรู้สึกว่าจะเพียบหนักกว่าทุกวัน ท่านจึงได้ยอมเอนกายลงนอนพัก ในขณะนั้นทุกขเวทนากำลังบีบคั้นรุนแรงมาก สังขารร่างกายมีอาการกระวนกระวายเป็นที่สุด ส่วนจิตใจของท่านก็พิจารณาจับดูอาการตามรู้อยู่เรื่อยไป จนที่สุดทางด้านจิตใจก็เริ่มกระสับกระส่าย กระวนกระวายมากเข้าทุกทีๆ จนไม่รู้ว่าจะเอาจิตใจไปวางไว้ตรงไหนดี ทั้งๆ ที่ท่านเองก็มีสมาธิอยู่ และมีสติอันแก่กล้า แต่เมื่อทุกขเวทนามากเข้าก็วางใจไม่ลงเอาเสียเลย เพราะทุกขเวทนามันมากกว่า มันทับเอาขนาดหนัก ในขณะที่กำลังกระวนกระวายอยู่นั้น ก็มีความรู้สึกว่าความรู้สึกต่างๆ มาจับอยู่ที่ท้องมากที่สุด มากกว่าทุกส่วนของร่างกาย หลวงปู่สมชายท่านบอกว่า มีความรู้สึกคล้ายๆ กับมีก้อนหินขนาดใหญ่มาวางทับอยู่บนท้อง รู้สึกว่าท้องค่อยๆ ยุบลงๆๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าหายใจออกบ้าง ไม่ออกบ้าง คล้ายกับว่าไส้ข้างในท้องนั้นมันบิดตัว และลมในท้องก็ค่อยๆ อัดขึ้นมาๆ อัดขึ้นมาจุกอยู่ที่ตรงคอหอย ความเจ็บความปวดวิ่งไปทั่วสรรพางค์กายอย่างไม่มีอะไรมาเทียบได้เลย ทุกข์ทรมานไปหมด อาการเป็นอยู่อย่างนี้สักครู่ใหญ่ จึงมีความรู้สึกว่ากำลังจะสะอึก แล้วก็สะอึก “...อึ๊ก...!” แล้วเกิดเป็นอาการ...โล่ง...เบา...! สบาย...ไปหมดทั้งตัว

มีความรู้สึกว่าทุกขเวทนาทั้งหลายที่มีอยู่นั้นหลุดหายไปหมดแล้ว เอ !...นี่เราหายป่วยได้อย่างไร ?...แล้วก็ลุกขึ้นมานั่งได้ทันที ท่านจึงแปลกใจในตัวของท่านเองว่า...เราป่วยมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว เมื่อสักครู่นี้เราก็ยังป่วยอยู่นี่นา เรากำลังมีทุกขเวทนาครอบงำอยู่ กำลังกระวนกระวายอยู่ แต่ทำไมเราสะอึกแค่ทีเดียว ทุกขเวทนาต่างๆ เหล่านั้นหายไปได้อย่างไร เราเองป่วยมาตั้ง ๘ วัน ๘ คืนแล้ว อาหารก็ฉันไม่ได้เลย แต่พอจะหายทำไมมันช่างง่ายนัก แค่สะอึกทีเดียวก็หายได้ เวลาในตอนนั้นประมาณ ๑ ทุ่มเศษ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2020, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ไปเยี่ยมไข้สามเณรน้อย

หลังจากที่ท่านรู้สึกว่าตัวของท่านได้หายป่วยอย่างประหลาดแล้ว ก็เลยนึกถึงสามเณรที่กำลังป่วยหนักอยู่อีกองค์หนึ่งซึ่งติดไข้ป่ามาจากภูวัวด้วยกันกับท่าน และเมื่อตอนเย็นก่อนจะมืดนี้ได้มีพระมาบอกว่าสามเณรป่วยมาก พอท่านนึกได้ดังนั้นก็ตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมดูอาการไข้ของสามเณร และทันใดนั้นท่านก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ทันได้ก้าวเท้าออกเดินเลย แต่จะไปด้วยเหตุใดไม่ทราบ ปรากฏว่าได้มาถึงสามเณรแล้ว มองเห็นสามเณรนอนหลับเป็นปกติอยู่ ก็นึกว่าสามเณรน่าจะยังตัวร้อนด้วยพิษไข้หนักอยู่ จึงอยากจะเอามือไปแตะหน้าผากดู เมื่อก้มตัวลงไปก็คิดว่าถ้าแตะแล้วสามเณรตื่นขึ้นมาก็จะทำให้ไม่สบายอีก จึงหยุดไม่ทำ พลางคิดว่ากลับกุฏิดีกว่า พรุ่งนี้ตอนกลางวันจึงค่อยมาเยี่ยมใหม่ก็แล้วกัน ต่อจากนั้นท่านก็เลยนึกถึงเรื่องกฐิน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทราบมาว่าหลังจากออกพรรษาแล้ว มีทายกรับเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ก็ได้ประชุมพระบนศาลาเรื่องการจัดกองกฐิน การสวดอุปโลกน์กฐิน จึงอยากทราบว่าพิธีต่างๆ ท่านทำกันอย่างไร มีอะไรจะให้ช่วยทำบ้าง พอนึกว่าจะไปที่ศาลาก็ถึงศาลาปุ๊บอีกเหมือนเดิม...ก็คิดได้ว่าเวลานี้เป็นตอนกลางคืน แต่ทำไมเราจึงสามารถมองเห็นอะไรต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ชัดจนรู้ว่ากองกฐินนั้นมีอะไรบ้างโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือตะเกียง บนศาลานั้นก็มีเพียงเทียนไขจุดอยู่เท่านั้น แต่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนตอนกลางวัน

พอหันไปมองอีกด้านหนึ่งของศาลาก็เห็นหลวงปู่สีลา อิสฺสโร กำลังประชุมพระเณร และได้ยินพูดพาดพิงมาถึงตัวของท่านเอง ในลักษณะยกย่องว่า “ครูบาสมชาย ท่านเป็นผู้ที่ทำจริง เอาจริง มีความพยายามสูงมาก ถ้าท่านไม่ตายเสียก่อนท่านคงได้คุณธรรมชั้นสูงอย่างแน่นอน และคงจะได้เป็นกำลังพระศาสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง แต่น่าเสียดายมากว่าเวลานี้ท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตายเอาเสียด้วยเพราะพิษไข้ป่าขึ้นสูงมาก ทั้งๆ ที่ท่านยังป่วยอยู่ก็ยังมีความเพียรถึงเพียงนี้ พยายามประกอบความเพียรไม่หลับไม่นอนเอาเสียเลย เมื่อวันก่อนท่านยังสั่งไว้อีกว่า ไม่ต้องเป็นห่วงท่าน ขอเพียงแต่พระเณรเอาน้ำใส่กาไปตั้งไว้ให้ที่หน้ากุฏิก็พอ ถ้าท่านตายก็ให้ฝังเลย ไม่ต้องเผา ดูซิ ! ท่านไม่ต้องการให้เป็นภาระของสงฆ์เสียอีก หรือตายแล้วก็ไม่รู้...”

ในขณะที่ยืนฟังอยู่นั้น ก็หวนคิดขึ้นมาได้ว่า การที่มายืนฟังครูบาอาจารย์พูดคุยกันโดยที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในหัตถบาสด้วยนั้นเป็นอาบัติทุกกฎ และเสียมารยาทด้วย ถ้ามีใครผ่านมาเห็นเข้าจะหาว่าเรามาแอบฟังเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งอาบัติและเสียมารยาท ก็รู้สึกไม่สบายใจ ท่านจึงได้รีบออกจากที่นั้นทันที พอเดินลงมาถึงลานวัด ก็มาเจอกับสุนัขตัวหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ


• สุนัขเห็นผีจริงไหม

ในขณะที่หลวงปู่สมชายเดินลงมาจากศาลาจะกลับกุฏินั้น ก็พบกับสุนัขที่ท่านเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง จึงอยากจะเดินไปเล่นกับมัน เนื่องจากเป็นสุนัขที่ท่านเลี้ยงไว้ตั้งแต่เล็กๆ จึงเชื่องและคุ้นเคยกับท่านมาก ซึ่งท่านเคยใช้สุนัขตัวนี้เป็นเครื่องมือทดลองสะกดจิต ฝึกแบบจิตวิทยาทุกวัน ตามปกติแล้วสุนัขตัวนี้เมื่อเห็นท่านแล้วจะต้องวิ่งเข้ามาหาเข้ามาเลียแข้งเลียขาทันที มักชอบติดตามไปไหนมาไหนด้วยเสมอๆ แต่วันนี้ทำไมมันจึงเป็นอย่างนี้ ทำท่าแปลกๆ พอเห็นปุ๊บก็วิ่งหนีทันที ทำท่าหยุดๆ มองๆ พอท่านเดินตามไปก็วิ่งหนีต่อไปอีก แล้วก็วิ่งหนีหายไปทางไหนไม่รู้อีกเลย ท่านจึงคิดว่า...“เอ ?...เจ้าสุนัขตัวนี้มันเห็นผีหรือเปล่าหนอ สงสัยจริงๆ...”

• ไหนตัวเรากันแน่

หลังจากครุ่นคิดอยู่กับสุนัขแล้ว ก็ได้เดินทางกลับกุฏิ พอเปิดประตูกุฏิเข้าไปก็ต้องตกตลึง ! และยิ่งแปลกประหลาดกับสิ่งที่เห็นต่อหน้านั้นยิ่งนักว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ร่างที่นอนอ้าปากตาเหลือกอยู่บนเตียงนั่นก็เรา ที่ยืนมองอยู่นี้ก็ตัวเราอีก จึงแปลกใจมากว่า เอ !...เกิดอะไรขึ้นหรือนี่ ? ทำไมเราจึงเป็นสองคนได้ ที่ยืนอยู่นี่ก็เรา ที่นอนอ้าปากตาเหลือกอยู่บนเตียงนั่นก็เราอีก มันอะไรกันแน่..ท่านยังคิดต่อไปอีกว่า หรือนี่คือผลของสมาธิที่สามารถทำคนคนเดียวให้เป็นสองคนได้...!

ขณะที่ท่านกำลังคิดตรึกตรองเหตุการณ์ต่างๆ อยู่นั้น ก็ได้มีชายใส่ชุดสีขาวเข้ามาหาท่าน ๒ คน พร้อมกับพูดขึ้นว่า “ผมจะมาพาท่านไปเที่ยวบ้าน...” หลวงปู่จึงถามเขาว่า “บ้านที่ร้อยเอ็ดหรือ (บ้านเกิด) ?” เขาตอบว่าไม่ใช่ หลวงปู่จึงบอกเขาต่อไปอีกว่า ยังไปไม่ได้หรอกเพราะกำลังสงสัยอยู่ว่านี่มันอะไรกันแน่ นั่นก็ตัวเราที่ยืนอยู่นี่ก็ตัวเรา ถ้าพรุ่งนี้ครูบาอาจารย์ถามจะตอบไม่ถูก


ชายสองคนนั้นตอบว่า “ไม่เป็นไร ? ถ้าท่านไปกับข้าพเจ้าแล้วจะสิ้นสงสัยเอง...” หลวงปู่สมชายได้ย้อนถามเขาถึงสองครั้ง เขาก็ตอบยืนยันว่าจะสิ้นสงสัยจริงถึงสองครั้งเช่นกัน “ถ้าอย่างนั้นก็ตกลง” พอตอบว่าตกลงเท่านั้นเอง ก็ปรากฏว่ามีความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าลอยตามเขาไปทันที และปรากฏว่าลอยออกไปทางทิศตะวันออกของกุฏิ ลอดกิ่งต้นกะบกออกไป หลวงปู่สมชายได้ถามเขาอีกครั้งหนึ่งว่า “จะพาไปที่ไหน ?” เขาชี้มือให้ดู มองเห็นคล้ายๆ กับมีดวงดาวดวงหนึ่งลอยอยู่ข้างหน้า และกำลังจะพุ่งตรงเข้าไปที่นั้นนั่นเอง

ตามความรู้สึกของหลวงปู่สมชายท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านสังเกตดูแล้ว “ดาวดวงที่จะไปนั้นมีลักษณะคล้ายกับดาวเพชร และก็ปรากฏว่าพุ่งวูบเข้าไปสู่ดาวดวงนั้นทันที...”

• โลกทิพย์

เมื่อไปถึงสถานที่แห่งใหม่นี้แล้ว หลวงปู่สมชายท่านเล่าว่ามีความรู้สึกคล้ายๆ กับโลกมนุษย์ของเรานี่เอง แปลกแต่ว่ามีต้นไม้เป็นระเบียบและสูงมาก กิ่งก้านสาขาเข้าประสานถึงกันหมด พอมองขึ้นไปข้างบนเหลืองอร่ามเหมือนสีทอง ส่วนข้างล่างที่พื้นเหยียบเหมือนมีหญ้าแห้วหมูปกคลุมทั่วไปหมด หรือคล้ายๆ กับปูลาดไปด้วยพรม คลุมไปหมดมองไม่เห็นพื้นดินเลยว่าเป็นอย่างไร เหยียบไปตรงไหนก็นุ่มนิ่มไปหมด ถึงตอนนี้หลวงปู่บอกว่า จิตใจนี่เปลี่ยนไปหมดหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว จิตใจอ่อนโยนอย่างบอกไม่ถูก ถ้าใครไปเจอแล้วจะรู้เองว่าจิตใจมันเปลี่ยนอย่างไร เพราะว่าบางอย่างไม่สามารถเล่าให้ถูกต้องได้ อุปมาข้อนี้เหมือนกับรสชาติของผลไม้ ผู้ที่ยังไม่เคยชิมดู ถึงแม้ว่าใครจะพรรณนาเรื่องรสชาติให้ฟังอย่างไรก็ไม่หายสงสัย นอกจากจะลองรับประทานด้วยตนเอง ถึงไม่พรรณนาก็สามารถรู้ได้เองฉันใด เรื่องนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อเรายังไม่ถึงก็ไม่รู้ว่าจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างไร บอกไม่ถูก แต่ถ้าถึงแล้วไม่ต้องมีใครบอกก็สิ้นสงสัยเอง

ท่านยังบอกว่า พอก้าวเท้าเข้าไปถึงเท่านั้นก็ได้ยินเสียงขับกล่อมอยู่ตลอดเวลา คล้ายๆ กับเสียงดนตรี ทำให้จิตใจเยือกเย็นและอ่อนโยนเป็นลำดับ แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นมาจากไหน แล้วเขาก็พาท่านไปจนถึงบ้านหลังหนึ่ง และบอกว่า “นี่แหละบ้านของท่าน ที่เราว่าจะพาท่านมา...”

เขาได้พาเข้าไปในบ้าน ท่านจึงได้เอ่ยถามเขาว่า “ใครเป็นผู้มาสร้างไว้ให้ ?”

เขาตอบว่า “ที่เราอยู่เวลานี้ คือ โลกทิพย์ ของทั้งหมดไม่ต้องมีใครสร้าง เกิดขึ้นเอง เป็นเองด้วยอานิสงส์ของความดีที่ทำไว้ในโลกมนุษย์...”

เขาพูดเพียงแค่นั้น หลวงปู่สมชายท่านก็รู้ได้ทันทีว่า “ถ้าอย่างนั้นเราก็ตายแล้วนะซี ? ถ้ารู้ว่าตายอย่างนี้จะไปกลัวตายทำไม ไม่เห็นจะน่ากลัวตรงไหนเลย”

แล้วได้ถามเขาอีกว่า “บ้านหลังนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?...”

เขาอธิบายให้ฟังว่า สวดปาติโมกข์ได้มีอานิสงส์ เขาอธิบายให้ฟังว่า “สมัยหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง) อ.เมือง จ.สกลนคร ในปีนั้นท่านได้ตั้งใจสวดพระปาติโมกข์ สวดได้ดีมาก และน้อมใจขึ้นสวดจริงๆ จึงได้บังเกิดปราสาทหลังนี้ขึ้นเป็นอานิสงส์ตอบสนอง...”

พอท่านได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกซาบซึ้งใจมาก ทั้งดีใจและเสียใจระคนกัน ซึ่งแต่ก่อนนึกว่าครูบาอาจารย์หานโยบายให้ลูกศิษย์มีความขยันท่องปาติโมกข์ แต่พอมาเจอเข้าอย่างนี้จึงรู้ว่าเป็นเรื่องจริง พอมองออกไปข้างนอกด้านทิศตะวันออกของปราสาท ก็มองเห็นสวนมะม่วงสวยงามขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อย ร่มรื่น มีลานหญ้า และน้ำตกไหลซู่ๆ สดชื่นจริงๆ มีที่นั่งที่นอนสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ดูเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เพลิดเพลินจำเริญใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

หลวงปู่สมชายจึงเอ่ยถามขึ้นอีกว่า “สวนมะม่วงแห่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?”

เขาตอบว่า “อานิสงส์จากที่ท่านเคยถวายมะม่วงแก่ครูบาอาจารย์ด้วยจิตที่น้อมลง...”


คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในปีเดียวกันนั้น ท่านได้ไปบิณฑบาตที่บ้านธาตุนาเวง ซึ่งเป็นทางสายบิณฑบาตที่ไกลกว่าทุกสายและเดินทางลำบากมาก ต้องข้ามน้ำข้ามคลอง บางแห่งก็ต้องเดินลุยโคลนไป ผ้าสบงจีวร ต้องเปียกเลอะเทอะแทบทุกวัน จนไม่มีพระเณรองค์ไหนอยากจะไป เมื่อไม่มีใครไป ท่านจึงไปแต่เพียงผู้เดียวตลอดพรรษา มีวันหนึ่งชาวบ้านถวายมะม่วงอกร่องใส่บาตรมาหลายลูก พอท่านเดินกลับจากบิณฑบาตก็มีความตั้งใจว่า เมื่อกลับถึงวัดแล้วจะเอามะม่วงที่บิณฑบาตได้มานี้ถวายครูบาอาจารย์ให้หมดทุกองค์ เพราะว่าเป็นอาหารที่ประณีตดี พอกลับมาถึงวัดแล้วท่านก็ได้น้อมใจที่เต็มไปด้วยบุญกุศล เอามะม่วงใส่บาตรถวายครูบาอาจารย์จนหมดเกลี้ยง โดยที่ตนเองไม่ได้เก็บไว้ฉันเองเลย ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการตั้งใจและน้อมใจทำบุญอย่างจริงๆ ด้วยอานิสงส์นั้นจึงบังเกิดผลเป็นสวนมะม่วง และสถานที่แห่งนี้ขึ้นมา

จากนั้นเขาก็เล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังอีกเป็นลำดับว่าของแต่ละอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไร อยู่ที่ไหน ตลอดถึงครูบาอาจารย์ของเขาที่นำพาประกอบบุญกุศลตั้งแต่ครั้งสมัยที่เขายังอยู่ในโลกมนุษย์ เขาได้นำหลวงปู่สมชายเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ อยู่บนโลกทิพย์นั้น หลวงปู่ท่านก็เกิดความเสียใจมากว่า “อานิสงส์ของท่านทำไมมันช่างน้อยนัก ท่านเคยสร้างโบสถ์ และวิหารก็หลายหลัง ให้ทานการบริจาคด้านอื่นๆ ก็มีจำนวนมากมาย ทำไมไม่เห็นมีอานิสงส์เลย เหตุใดจึงมีเพียงสองอย่างเท่านั้น ?...”

จึงได้ถามเทพเจ้าเหล่านั้นต่อไปอีก เขาก็ตอบว่า “นั่นท่านสักแต่ทำ โดยที่ไม่มีจิตใจน้อมลงเพื่อบุญกุศล ทำมากเท่าไรก็ไม่มีอานิสงส์ ถึงมีบ้างก็ยากเต็มที เหมือนโยนเข็มลงมหาสมุทร แต่ว่าอานิสงส์ทั้งสองอย่างที่ท่านประจักษ์อยู่นี้ ท่านได้ทำด้วยใจน้อมลงเพื่อบุญกุศลจริงๆ จึงบังเกิดขึ้นเป็นอานิสงส์ดังนี้สองอย่าง...”

หลวงปู่สมชายท่านได้เล่าให้ฟังอีกว่า อานิสงส์ของท่านนั้นถ้าเปรียบกับของคนอื่นที่ได้เห็นมาแล้วนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีวาสนาบารมีกันมากๆ ทั้งนั้น เพราะมีสิ่งประดับบารมีที่วิจิตรตระการตามากกว่าของท่านมากนัก ถ้าเปรียบแล้วท่านบอกว่า ของท่านนั้นเปรียบเหมือนเทพเจ้าระดับชาวบ้านธรรมดา หรือระดับขอทานเท่านั้น “ส่วนของเทพเจ้าองค์อื่นๆ นั้นเปรียบเหมือนเทพเจ้าระดับเศรษฐีหรือพระราชาทีเดียว” ท่านจึงเกิดความเสียใจ และคิดอยากกลับมาสร้างบารมีใหม่เพื่อเป็นการแก้ตัวอีกสักครั้ง


• ขอกลับมาสร้างบารมีต่อ

หลวงปู่สมชายท่านจึงได้อธิษฐานไว้ในใจว่า “ถ้าข้าพเจ้ามีบุญบารมีเหมือนอย่างที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เคยปรารภมาแล้ว ก็ขอให้บรรดาเทพเจ้าเหล่านี้จงได้ยินยอมตามที่ข้าพเจ้าจะขอต่อไปด้วยเถิด แต่ถ้าหากว่าไม่มีบุญที่จะสร้างความดีและบารมี หรือพอที่จะทำประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาได้แล้ว ก็ขอให้เทพเจ้าเหล่านี้อย่าได้ยินยอมตามที่ข้าพเจ้าขอเลย”

ท่านอธิษฐานเสร็จก็ได้หันหน้าประนมมือไปทางเทพเจ้าเหล่านั้นแล้วกล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเกิดมาในชาตินี้ เกิดในพาเหียรลัทธิ คือ ลัทธินอกพระศาสนา ซึ่งสอนว่าตายแล้วสูญ ข้าพเจ้าจึงเสียใจมาก ถ้าข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ตั้งแต่แรก ข้าพเจ้าจะสร้างความดีให้เต็มที่ ฉะนั้นจึงขอได้กลับลงไปสร้างบารมีบรมโพธิสมภาร เพื่อเป็นการแก้ตัวอีกสักครั้งหนึ่งเถิด”

พอท่านกล่าวจบลงเท่านั้น เทพเจ้าทั้งหมดได้ยกมือขึ้นพร้อมกับกล่าวคำว่า “สาธุ” พร้อมกันด้วยเสียงดังกระหึ่มไปหมด เทพเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้สั่งอีกว่า “ท่านจะกลับลงไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อท่านกลับลงไปแล้วจงพยายามสร้างความดีให้เต็มที่ เพราะเวลามีอยู่จำกัด”


ในช่วงเวลานี้โลกมนุษย์ของเรานับว่ายังโชคดีอยู่มาก ที่ยังมีพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีพระพุทธศาสนา ถ้าเราเกิดในสุญญกัปคือกัปที่สูญสิ้นพระศาสนาแล้ว โลกมนุษย์จะลำบากมากที่สุด และจากการที่พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์แต่ละพระองค์นั้นเป็นของยากมากลำบากสุดที่จะกล่าว เพราะกว่าพระองค์จะสร้างบารมีให้เต็มบริบูรณ์ได้ก็กินเวลาที่ยืดยาวหลายอสงไขยกัป

เทพเจ้าเหล่านั้นก็ยังได้ชี้ให้หลวงปู่ดูดวงดาวต่างๆ พร้อมกับอธิบายให้ฟังอีกว่า “ดูซิ ! สถานที่ที่พวกเราเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีมากมายดังที่เรามองเห็นอยู่บนท้องฟ้า ดวงดาวแต่ละดวงทั้งหมดที่มีอยู่จำนวนถึง...แสนโกฏิดวง แต่ละดวงก็เป็นแต่ละจักรวาล แต่ละจักรวาลนั้นถ้าว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว แยกออกเป็นสองประเภท คือประเภทที่มีแสงในตัวเอง และประเภทที่ไม่มีแสงสว่างในตัว”

เราจะสังเกตได้ดังนี้ ถ้าดวงใดมีแสงกะพริบ วับ !...วับ !...และมีแสงวิ่งรอบตัวนั้นเป็นจักรวาลของดวงอาทิตย์ สำหรับให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่โลกอื่น ซึ่งเป็นจักรวาลที่ไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอยู่ ถ้าดวงใดมีลักษณะนิ่งๆ ไม่มีการกะพริบตัว ดาวดวงนั้นมีวิญญาณของมนุษย์และสัตว์อยู่ เป็นจักรวาล ที่มีสิ่งที่มีชีวิตอยู่ แต่ว่ายังแยกออกเป็นสามประเภท คือ

ประเภทที่หนึ่ง เต็มไปด้วยความทุกข์ เช่น “นรก” เป็นต้น

ประเภทที่สอง เป็นจักรวาลที่เต็มไปด้วยความสุข เช่น “โลกทิพย์ หรือ สวรรค์”

ประเภทที่สาม เป็นจักรวาลที่มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันอยู่ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวสมหวัง เดี๋ยวผิดหวัง วันนี้มีความสุขความเจริญ แต่รุ่งขึ้นอาจจะได้รับความทุกข์ได้รับความเดือดร้อน หรือวันนี้อาจจะแย่เต็มที แต่วันพรุ่งนี้อาจจะดีจนเด่น เช่นนี้เป็นต้น ประเภทดังกล่าวมานี้ ได้แก่ “โลกมนุษย์”... “และพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะต้องมาเกิดในโลกมนุษย์นี้ เพราะโลกมนุษย์มีสิ่งเปรียบเทียบทั้งทางดี และทางชั่ว มีทั้งสุข มีทั้งทุกข์ ปะปนกันอยู่” ส่วนนรกและสวรรค์นั้นไม่มีสิ่งเปรียบเทียบ เช่น เมืองนรกนั้นก็มีแต่ทุกข์อย่างเดียว ส่วนเมืองสวรรค์นั้นก็มีแต่สุขอย่างเดียว


ฉะนั้น การมาตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จึงมาตรัสรู้ได้ในโลกมนุษย์แห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้น ท่านเรียกว่า “มงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เป็นมงคล...” หลังจากนั้นเทพเจ้าทั้งสองที่ได้มารับท่านไปในครั้งแรกนั้น ก็ได้นำท่านกลับมายังโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และได้นำเข้าไปยังกุฏิหลังเดิม พอเข้าไปถึงกุฏิก็มองเห็นร่างของท่านนอนอ้าปากตาเหลือกอยู่อย่างเดิม และเทพเจ้าทั้งสองนั้นก็ยังได้กล่าวสอนท่านอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเขาได้ให้ท่านหลับตา พอท่านหลับตาก็มีความรู้สึกทันทีว่าได้เข้าไปอยู่ในร่างเดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากร่างกายนั้นปราศจากวิญญาณนานถึง ๑๕ ชั่วโมงแล้วจึงรู้สึกว่าร่างนั้นแข็งเหมือนท่อนไม้ ท่านต้องใช้ความพยายามค่อยๆ ขยับตัวทีละน้อยๆ จนกระทั่งขยับมือได้ก่อน แล้วก็ค่อยๆ ยกมือขึ้นมาบีบปากที่อ้าค้างอยู่นั้นให้หุบลง หลังจากนั้นก็ยกมือขึ้นมานวดกระบอกตาจนเริ่มกะพริบตาได้ ก็ลุกขึ้นนั่ง แล้วค่อยๆ กระเถิบไปที่โอ่งน้ำล้างเท้าหน้ากุฏิ ตักเอาน้ำขึ้นมาฉันเพราะรู้สึกกระหายน้ำมาก เมื่อท่านได้ฉันน้ำเข้าไปประมาณ ๑ ลิตร ก็รู้สึกว่าค่อยสดชื่นขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่คล่องตัว และเกิดอาการหิวขึ้นมา จึงได้ขยับไปตากแดด แล้วก็นวดเฟ้นตามแขน ขา ตามข้อต่างๆ ของร่างกายสักพักหนึ่งก็เริ่มยืดแขน ยืดขา และอวัยวะส่วนอื่นๆ ก็เริ่มใช้การได้ดีขึ้น แล้วก็ได้ลุกเดินไปศาลาเพื่อจะฉันอาหาร เพราะรู้สึกว่ามีความหิวมาก ฉันอาหารเสร็จเรียบร้อยได้เวลาเที่ยงพอดี รวมเวลาที่ได้สลบไปทั้งหมด ๑๕ ชั่วโมงเศษ

ในช่วงนี้ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ได้มีโอกาสกราบเรียนถามหลวงปู่สมชายเพิ่มเติม นอกไปจากเรื่องการมรณภาพไปของท่านอีกหลายเรื่อง ท่านก็ได้เมตตาอธิบายให้ฟังจนเป็นที่พอใจ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จึงคิดว่าน่าจะได้เล่าและบันทึกรวมไว้ด้วย ดังนี้

ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านต่อไปว่า ตอนที่ท่านได้ไปเห็นความเป็นอยู่ของเทพเจ้าหรือชาวโลกทิพย์นั้น ท่านอาจารย์ว่าเป็นไปได้ไหม ที่ในตำราหรือตำนานบางเล่ม หรือตามที่มีครูบาอาจารย์บางองค์เล่าเรื่องอสูรกับเทวดารบกัน แย่งลูกชิงเมียกันบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องเล่าของทางพุทธหรือพราหมณ์ก็ไม่ทราบ แต่กระผมตีความเอาเองว่า ท่านเล่าเรื่องเทวดาทางพุทธ เพราะเคยเห็นในตำนานทางพุทธ (เรื่องนี้ขอยกไว้เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล) แต่ที่สงสัยนั้น คือ “ทำไมเมืองสวรรค์แท้ๆ ถึงต้องรบราฆ่าฟันกัน ในตำนานบอกว่า รบเพื่อแย่งที่อยู่อาศัย และแย่งลูกชิงเมียกัน ถ้าสวรรค์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรต่างจากโลกมนุษย์ เพราะการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเป็นเรื่องของพวกมนุษย์ที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ และถ้าจะว่าไปแล้ว โลกมนุษย์เรายังมีอะไรแปลกๆ น่าคิดกว่าเมืองสวรรค์เสียอีก เช่น “สวรรค์มีช้างมีม้า เป็นต้น เป็นพาหนะ แต่เมืองมนุษย์เรามีถึงจรวด เครื่องบิน ฉะนั้นกระผมรู้สึกฉงนใจ เรื่องนี้กระผมเห็นว่ามีความสำคัญต่อพระศาสนาเป็นอย่างมาก ถ้าหากเป็นอย่างที่กระผมกราบเรียนมานั้นจริงๆ คนสมัยใหม่นี้คงไม่มีใครอยากไปสวรรค์กัน เพราะยังมองไม่ออกว่า เมื่อไปถึงแล้วจะมีความสุขสบายได้อย่างไร ตอนนี้มนุษย์ทั้งหลายบนโลกเขาก็เอือมระอาสงครามกันมากพอแล้ว แล้วไปถึงเมืองสวรรค์ก็ยังมีการทำสงครามกันอีก...” กระผมใคร่ขอให้ท่านพระอาจารย์ได้เมตตาช่วยคลี่คลายปัญหาที่ได้กราบเรียนถามมานี้ด้วย เพื่อจะทำให้ชาวโลกนี้ได้เห็นความจริงตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเขาเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกราบเรียนถามจบ ท่านก็นั่งพิจารณาเหตุผลอยู่ครู่หนึ่งแล้วจึงตอบว่า

“การที่เรารู้ว่าอะไรเป็นสวรรค์ของพุทธหรือไม่ใช่ของพุทธนั้น เราต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อนว่า พุทธของเรานั้นมีความหมายอย่างไร และของพราหมณ์มีความหมายอย่างไร ถ้าจะว่าตามหลักทางพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสไว้ว่า สวรรค์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญ ไม่มีใครสร้างสรรค์ แต่เกิดขึ้นเองด้วยอำนาจผลแห่งความดีที่ทำไว้ ท่านจึงเรียกว่า “โลกทิพย์” ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ และใครก็ลักขโมยไม่ได้ อุปมาเหมือนความรู้ของเราที่มีอยู่ในใจก็ไม่มีใครสามารถแย่งชิงเอาไปได้ฉันใด เรื่องบุญกุศลก็ฉันนั้น ถ้าหากแย่งเอาไปได้จริงๆ ก็คงไม่มีใครอยากทำบุญ เพราะถ้าเราเห็นใครทำบุญมากๆ ถ้าเผลอเมื่อไรก็มีหวังถูกขโมยเมื่อนั้น ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น สรุปความว่า สวรรค์ของพุทธที่แท้จริง ไม่มีอิจฉาตาร้อนกัน เมื่อไม่มีการอิจฉา การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นก็ไม่มี การเบียดเบียนซึ่งกันและกันก็ไม่มี...”

อีกอย่างหนึ่ง ที่คุณว่าสวรรค์มีช้าง มีม้า มีรถ มีเกวียนเหล่านี้ เป็นต้น เป็นยานพาหนะ ส่วนมนุษย์ของเรามีถึงจรวดและเครื่องบิน เมื่อผมฟังดูก็รู้สึกว่าน่าฟัง ความจริงเรื่องสวรรค์ที่คุณเล่ามาทั้งหมดนั้น ผมเคยเห็นอยู่ในคัมภีร์พราหมณ์ตั้งแต่สมัยผมเป็นเด็ก คุณหลวงเสนาซึ่งเป็นตาของผมท่านเคยเล่าให้ฟัง ผมจำได้ตั้งแต่สมัยโน้นที่ผมยังนับถือศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด


ต่อมาพอผมได้ฟังธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วเกิดศรัทธาปสาทะขึ้นจึงได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา แต่พอมาค้นคว้าตำราของพุทธศาสนาเข้า ก็เจอเรื่องอสูรกับเทวดาเข้าอีกผมจึงแปลกใจ ไม่รู้เข้ามาปะปนอยู่ในทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่เมื่อไร อีกประการหนึ่งเรื่องเทวดาหรือเทพเจ้าของพุทธ ผมเชื่อว่าไม่ต้องขี่อะไรเป็นพาหนะ เพราะเทพเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่ได้กายทิพย์ด้วยกันทั้งนั้น กายทิพย์ เป็นกายที่ละเอียด พอนึกว่าจะไปไหนก็ไปถึงเลย ไม่ต้องขี่ยานพาหนะให้ลำบาก เปรียบเหมือนความคิดของเราเวลาจะไปไหนมาไหน ไม่เห็นว่าความคิดของเราขี่อะไรเลย และก็ไม่จำเป็นในเรื่องยานพาหนะที่จะให้ความคิดเราขี่ด้วยฉันนั้น ในเมื่อเราจะไปไหนก็ได้ ก็ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับเรื่องยานพาหนะ สมมุติว่าใครสัปดนสร้างยานพาหนะให้ความคิดของตัวเองขี่ เพื่อไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ เข้า คนคนนั้นก็แย่เต็มที...

ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ต่อไปว่า “ตอนที่ท่านอาจารย์ไปถึงโลกทิพย์นั้นแล้วมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ?” ท่านตอบว่า ก็เป็นเหมือนกับที่เล่ามาแล้วนั่นเอง พอไปถึงเข้าก็ปรากฏว่ามีอะไรหลายอย่างที่แปลกจากโลกมนุษย์ เป็นต้นว่า ปราสาทราชวังและสถานที่ล้วนแต่มีความสวยสดงดงาม ดูเพลิดเพลิน น่ารื่นรมย์ทั้งนั้น ผมยังถามเขาว่าใครเป็นคนสร้าง เขาก็บอกว่าไม่มีใครสร้าง เพราะที่นี่ของเกิดขึ้นเองเราจึงเรียกว่า “โลกทิพย์” พอได้ยินคำว่าโลกทิพย์ผมจึงเอะใจ เลยถามเขาว่า “นี่ข้าพเจ้าตายแล้วใช่ไหม ?” เขาตอบว่า “ใช่ ! เวลานี้ท่านตายแล้ว” ถ้าตายอย่างนี้ก็ไม่เห็นหน้ากลัวอะไร ? ก็เหมือนกับเรายังเป็นมนุษย์อยู่นี่เอง จะไปไหนมาไหนก็ปรากฏว่า ร่างกายเรานี้ไปด้วยทั้งดุ้นทั้งก้อน เหมือนกับเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี่เอง เขาจึงเล่าต่อไปอีกว่า กายคนเรานั้นถ้าว่าโดยส่วนใหญ่แล้วมีสามชั้นด้วยกันคือ


กายธาตุ หมายถึง กายที่หยาบๆ ที่พวกเรามองเห็นด้วยตาเนื้อ กายประเภทนี้สมควรแก่โลกมนุษย์

กายทิพย์ หมายถึง กายที่ละเอียดต้องเห็นด้วยตาทิพย์ กายประเภทนี้สมควรแก่โลกทิพย์

กายธรรม หรือ ธรรมกาย ได้แก่ กายของพระอรหันต์ ผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสที่สมควรแก่นิพพาน

ผมได้ฟังดังนี้แล้วรู้สึกซึ้งใจ คิดไปถึงเมื่อครั้งที่เราเคยเรียนธรรมะ ก็เพิ่งมาเข้าใจเรื่องกายสามประเภทในตอนนี้เอง

ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ต่อไป “แล้วจะเป็นไปได้ไหมครับที่บางตำนานเขียนไว้ว่า เทพเจ้ารบกันหรือทำสงครามกัน ?” หลวงปู่ตอบว่า “เป็นไปไม่ได้ พอไปถึงที่นั่นแล้วจิตใจเปลี่ยนหมด มีแต่ความซาบซึ้งและอ่อนโยน แถมยังมีอานิสงส์แห่งการทำความดีประจักษ์ชัดเจนจนไม่มีข้อสงสัย จะสามารถทำลงได้อย่างไร ผมเข้าใจว่าไม่มีทาง เพราะหิริและโอตตัปปะมีประจำอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นที่ท่านว่า หิริและโอตตัปปะเป็นเทวธรรม คือ เป็นธรรมของเทวดาหรือของเทพเจ้านั้นเป็นเรื่องจริง และถ้าใครมีธรรมสองอย่างนี้อยู่ในใจจนตลอดชีวิตแล้ว เมื่อตายแล้วมีหวังได้เป็นเทพเจ้าเสวยทิพย์สมบัติอยู่บนสรวงสวรรค์แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย...”

ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านต่อไปว่า “ตามที่ท่านได้เที่ยวชมอยู่บนโลกทิพย์นั้น ได้สังเกตเห็นอะไรบ้างที่ต่างจากโลกมนุษย์ของเรา” ท่านพระอาจารย์ตอบว่า “มีมากจนไม่สามารถจะนำมาเล่าให้หมดทุกอย่างได้ แต่ผมจะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังในสิ่งที่จำได้ และเห็นชัดมีดังนี้...”

ในเบื้องต้นที่เราเหยียบย่างเข้าไป จะเห็นต้นไม้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสูงมากสม่ำเสมอกันจริงๆ แม้แต่หญ้าที่เราเหยียบไปก็มีความสม่ำเสมอกันหมด ไม่มีสูงๆ ต่ำๆ ส่วนข้างบนต้นไม้จะมีกิ่งก้านเข้าประสานกันทำให้เกิดความร่มรื่นและสวยงาม...

พอไปถึงแต่ละบ้าน เจ้าของบ้านเขาออกมาต้อนรับเราด้วยไมตรีจิตอันดีงามจริงๆ เชิญให้เข้าไปในบ้านเขาด้วยความพอใจ พูดถึงการต้อนรับ จะไม่มีที่ไหนในเมืองมนุษย์เราเสมอเหมือน แต่ก็น่าแปลกใจว่า ทำไมเทพเจ้าที่มาต้อนรับเรา จึงไม่ปรากฏว่ามีลูกเล็กเด็กแดงอุ้มกันกระจองอแงเหมือนโลกมนุษย์เราเลย มีแต่คนโตๆ เท่านั้น และเวลาทำการปฏิสันถารกับผมนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีอะไรมาต้อนรับ เช่น ข้าวปลาอาหาร น้ำร้อนน้ำเย็น เป็นต้น ส่วนการมาของเทพเจ้าและการไปของผม ซึ่งเขาพาไปชมที่ต่างๆ ก็ดี ก็ไม่ปรากฏว่ามีอะไรเป็นยานพาหนะขี่ไปเลยแม้แต่อย่างเดียว พอตกลงใจว่าจะไปที่ไหน ก็ปรากฏว่าถึงที่นั่นทันที และเวลาเขาพาเที่ยวชมในสถานที่ต่างๆ อยู่นั้น เท่าที่ผมสังเกตดู แต่ละบ้านไม่ปรากฏว่ามีโรงครัวเลยแม้แต่หลังเดียว ตลอดทั้งห้องน้ำห้องส้วมก็ไม่มี เทพเจ้าที่มาต้อนรับทั้งหมดก็ไม่เห็นว่ามีท่าทีว่าจะปวดหนักปวดเบา แม้แต่จะเอาของมารับประทานก็ไม่มี ผมเองก็เหมือนกัน เพราะต่างก็มีความเอิบอิ่มและเพลิดเพลินอยู่อย่างนั้น ไม่เคยรู้สึกว่าหิวอะไร นี่ก็แสดงให้เห็นว่า โลกทิพย์เขาอยู่กันด้วยความอิ่ม คือ “อิ่มบุญกุศล”


ผมสังเกตดูหลายอย่าง เช่น ภายในบ้านแต่ละหลังเท่าที่ผมเห็นมาไม่ปรากฏว่ามีผ้าผ่อนท่อนสไบหรือเครื่องประดับประดาอาภรณ์ต่างๆ ตากเกะกะรุงรัง ไม่มีเลย ในห้องจะเห็นเป็นห้องโถงโล่งโปร่ง มีลวดลายวิจิตรพิสดารสวยสดงดงามมาก ผมยังไม่เคยเห็นเครื่องประดับที่ไหนในเมืองมนุษย์เราจะเปรียบปานเท่า ในที่นี้หมายถึงเครื่องประดับปราสาท ไม่ใช่เครื่องประดับของเทพเจ้าอย่างที่เขียนเรื่องเทวดาว่า เทวดาใส่ชฎาหัวแหลมๆ อันนี้ก็ไม่เห็นมีเหมือนกัน ผมเสียดายที่ผมไม่ใช่นักวาดรูป ถ้าผมเป็นนักวาดก็จะวาดให้ดู ลักษณะของเทพเจ้าที่ผมเห็นมา แต่ก็น่าเสียใจอยู่อย่างหนึ่ง เท่าที่ผมสังเกตดูเทพเจ้ามีความยิ่งใหญ่ไม่เสมอกัน ผมมองๆ ดูเทพเจ้าบางองค์รู้สึกว่ามีความยิ่งใหญ่มากมีบริษัทบริวาร ตลอดถึงปราสาทที่อยู่อาศัย จะมีเครื่องประดับบารมีมากมายจนบอกไม่ถูกว่ามีอะไรต่ออะไรบ้าง ตรงนี้แหละผมนึกน้อยใจตัวเอง เมื่อมองดูปราสาทของตัวเองแล้วสู้ของเขาไม่ได้ ยิ่งบางองค์แล้วคล้ายๆ กับจะเป็นเทพเจ้าคนใช้ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเทพเจ้าระดับคนใช้ก็ยังดีกว่าการเป็นพระราชาในเมืองมนุษย์เสียอีก แต่พระเจ้าจักรพรรดินั้นผมไม่เคยเห็น จึงไม่สามารถเอามาเทียบได้ ที่ผมว่าเทพเจ้าคนใช้ในโลกทิพย์ยังดีกว่าพระราชาในเมืองมนุษย์ หมายความว่าโลกทิพย์เขาไม่ได้ทำอะไร ต่างองค์ต่างก็อิ่มในบุญกุศลของตนอยู่ตลอดเวลา เรื่องอิจฉาตาร้อน และกลั่นแกล้ง พยาบาทอาฆาต จองเวรกัน รบราฆ่าฟันกัน เพื่อแก่งแย่งชิงดีกัน จะไม่มีอยู่ในโลกทิพย์นั้นเลย...

สรุปแล้วเรื่องที่จะทำให้กันและกันเดือดร้อนนั้นไม่มี เพราะต่างองค์ต่างก็มีหิริและโอตตัปปะประจำใจอยู่ตลอดเวลา นี่ผมเอาผมไปเทียบดู เพราะในเวลานั้นจิตผมนิ่มนวลและอ่อนโยนจริงๆ และซาบซึ้งใจอย่างบอกไม่ถูก ว่ามีความซาบซึ้งอย่างไร เรื่องอายชั่วกลัวบาปไม่ต้องพูดถึง เพราะเห็นผลชัดๆ ถึงขนาดนั้น จิตจึงยอมรับร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นผมจึงเข้าใจว่าเทพเจ้าที่อยู่ในโลกทิพย์คงเหมือนกันทุกองค์...

ข้าพเจ้าจึงกราบเรียนถามท่านต่อไปอีกว่า “เรื่องสวรรค์และนรกเท่าที่กระผมเคยได้เล่าเรียนศึกษามา กระผมเข้าใจว่าเรียงกันเป็นชั้นๆ เหมือนรังต่อ หรือเหมือนตึกในทำนองนั้น”

หลวงปู่สมชายได้เมตตาตอบว่า “แต่ก่อนผมก็เข้าใจในทำนองนั้นเหมือนกัน เท่าที่ผมเคยอ่านตามตำรา เหมือนว่านรกนั้นอยู่ใต้ดินเพราะมีคำว่า ธรณีสูบพระเทวทัตลงไปอเวจีมหานรก...” ที่จริงอันนั้นก็ควรยกให้เป็นเรื่องของตำราไป เพราะว่าผู้แต่งตำราท่านจะตีความหมายแค่ไหนเราไม่อาจทราบได้ บางทีเราอาจจะตีความหมายของผู้แต่งผิดไป อย่างไรก็ตามที่ผมพูดมาทั้งหมดในวันนี้ ไม่ประสงค์จะให้ไปยึดเรื่องตำรา เพราะตำรามีทั้งผิดมีทั้งถูกเป็นเรื่องธรรมดา ข้อสำคัญที่สุดคนที่อ่านตำราเป็น เขาไม่ไปยึดเรื่องตำรา เขาต้องพิจารณาด้วยปัญญาว่าอะไรดีหรือไม่ดี อะไรผิดอะไรถูก อะไรควรละ อะไรควรบำเพ็ญ ควรเชื่อถือได้แค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นเรื่องของเราจะต้องกลั่นกรองด้วยปัญญาเสียก่อน เรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนั้นก็ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านจงพิจารณาดูว่า มีเหตุผลควรเชื่อถือได้หรือไม่ จะเชื่อหรือไม่เชื่อประการใดนั้นก็พิจารณากันตามเหตุผลและปัญญาของแต่ละท่าน...”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2020, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอาจารย์แตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม

• หลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร ท่องเมืองนรก

หลวงปู่สมชายได้สรุปจบเรื่องการไปสู่โลกทิพย์ของท่านลง ทุกท่านที่ได้ฟังในวันนั้นก็มีความปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง...หลวงปู่ยังได้ปรารภเสริมขึ้นอีกว่า “เรื่องการไปโลกทิพย์ของผมนี้ พวกเราต้องขอบคุณหลวงปู่หาญ ถ้าไม่มีหลวงปู่หาญรับรองผมคงไม่กล้าเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ใครฟัง กลัวเขาจะหาว่าผมเพ้อเพราะพิษไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ที่จริงแล้วมีรายละเอียดมากกว่าที่เล่ามานี้มากนัก...”

หลังจากผมได้ฟื้นมาแล้ว ไม่ว่าผมเล่าเรื่องที่ได้ไปประสบพบเห็นมาบนโลกทิพย์ดังกล่าวนั้นให้ใครฟัง เขาก็หัวเราะเยาะเอาว่าผมเป็นบ้าเพราะไข้ป่าขึ้นสมอง ผมจึงหยุดบอกเรื่องดีๆ เหล่านั้นให้ใครฟัง ภายหลังจากนั้นไม่นานก็ออกพรรษา หลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร ที่ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์แตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ที่วัดบ้านอุ่มเหม้า ก็เดินทางกลับเข้ามาปฏิบัติหลวงปู่สีลา อิสฺสโร เช่นเดิม หลวงปู่หาญซึ่งคุ้นเคยกันมาก่อนหน้านี้นานแล้วได้มาเยี่ยมไข้ผม...ผมยังบอกให้หลวงปู่หาญช่วยผมจำ อย่าไปเล่าให้ใครฟังเดี๋ยวจะถูกหาว่าบ้าได้ หลวงปู่หาญบอกว่า “นั่นสิ !...ผมเองก็เคยตายไปแล้วเหมือนกัน !...แต่ผมไม่ได้ไปสวรรค์อย่างอาจารย์ ผมตายไปนรก...”

หลวงปู่หาญเล่าต่อ...สมัยนั้นผมฟื้นขึ้นมาเล่าให้ใครฟัง เขาหาว่าผมบ้า ที่จริงนั้นเราได้ไปพบไปเห็นเมืองนรกมาจริงๆ หลวงปู่สมชายจึงถามหลวงปู่หาญว่า...แล้วเมืองนรกที่หลวงปู่หาญได้ไปเห็นมานั้นมีลักษณะแตกต่างกับเมืองสวรรค์ที่ผมเล่าให้ฟังอย่างไรบ้าง ?...หลวงปู่หาญเล่าต่อว่า สมัยที่ผมยังไม่ได้บวช ปีนั้นคนในหมู่บ้านผมเป็นไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงในสมัยนั้น ตายกันหลายคน ใครถ้าได้เป็นโรคฝีดาษแล้วจะต้องตายทุกคนเพราะยังไม่มียารักษา เป็นโรคติดต่อ ถ้าครอบครัวใดใครเป็นแล้วจะติดต่อลูกเมียหมดทั้งครอบครัว ใครเป็นโรคนี้พวกญาติๆ เขาก็จะให้ไปอยู่ที่เถียงนา (กระท่อมสำหรับพักร้อนของชาวอีสาน)

ผมเองก็เช่นกัน ญาติๆ ได้พาผมไปไว้ที่เถียงนาเอาใบตองกล้วยมาปูรองนอน แล้วนำข้าวน้ำไปวางไว้ให้ห่างๆ พอเขากลับเข้าบ้านผมก็เดินออกมาเอาไปกิน วันหนึ่งไข้ฝีดาษกำเริบ ผมปวดแสบปวดร้อนไปทั้งตัว จนทนไม่ไหว ผมหิวน้ำมากแล้วก็สะอึก อึ๊ก...! ปรากฏว่า...เบา...สบาย...หายไข้โดยทันที...พอผมลุกขึ้นนั่งก็พบกับเทวทูต เขาเข้ามาจับแขนผมทั้งสองข้างพาผมไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ที่มันไม่ใช่บ้านเราเมืองเรา ถามเขาว่าจะพาไปไหน เขาบอกว่าพาไปรับโทษในเมืองนรก...จิตสำนึกจึงรู้ได้ว่า อ้อ ! เราตายแล้ว...พอไปถึง ยมบาลผู้เป็นหัวหน้าหน้าตาดุดันน่ากลัวนั่งเปิดบัญชีดูรายชื่อ ตัวหนังสือแต่ละตัวโตเท่าหม้อแกงจริงๆ เขาถามผมว่าชื่อหาญใช่ไหม ? ใช่...ผมตอบ นามสกุล...ใช่ไหม ? ผมตอบทันทีว่า...ไม่ใช่ ? ยมบาลพลิกสมุดข่อยเล่มใหญ่กลับไปกลับมา แล้วหันมามองทางเทวทูต พูดขึ้นว่า...ชื่อหาญเหมือนกัน อยู่หมู่บ้านเดียวกัน แต่คนละนามสกุล...นายหาญ นามสกุลผุดผ่อง คนนี้ยังไม่หมดอายุ วันนี้ให้พาไปส่งแล้วเอาคนชื่อหาญอีกคนมา...

แต่ก่อนจะกลับก็ให้พาไปดูพวกที่ถูกลงโทษเพราะทำบาปทำกรรมเอาไว้ที่เมืองมนุษย์เสียก่อน จะได้ไปบอกไปสอนให้คนเลิกทำความชั่วได้บ้าง...ว่าแล้วเทวทูตก็พาผมเดินไป ผมเห็นผู้คนจำนวนมากกำลังถูกลงโทษและถูกทรมานต่างๆ นานา เหมือนอย่างที่เคยอ่านจากหนังสือเกี่ยวกับนรก เช่นหนังสือพระมาลัยโปรดเมืองนรกนั่นเอง คนที่ผมรู้จักก็หลายคนรวมทั้งพระ “พระก็ไปตกนรกไม่ใช่น้อยเลย ดูจากราวที่ใช้พาดจีวรขนาดโตเท่ากับต้นตาลยังอ่อนกลาง เวลาพระตกนรกเขาจะเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์เก็บไว้ เขาไม่ทำโทษทั้งๆ ที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์...” เห็นเขาดึงจีวรออกจากตัวเอามาพาดไว้ที่ราวเหล็กขนาดโตเท่าต้นตาล ความยาวนับเป็นเส้น (๒๐ วา) นั้น มีจำนวนมากและคงจะหนักมากด้วยสังเกตจากท่อนราวซึ่งเป็นเหล็กและโตขนาดนั้นยังอ่อน แอ่นกลาง เหมือนเราเอาผ้าตาก บนราวเชือกอย่างไรอย่างนั้น น่ากลัวมากสำหรับพระที่ทำบาปจะถูกลงโทษหนักกว่าชาวบ้านเป็นร้อยเท่าทีเดียว...เทวทูตพาผมเที่ยวเมืองนรกจนทั่วถึงแล้วเขาพากลับมาส่งยังเมืองมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ผมกับเข้าร่างฟื้นขึ้นมาแล้ว ไม่นานโรคฝีดาษที่ผมเป็นขนาดหนักในเวลานั้นก็กลับค่อยๆ หายอย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากผมหายและกลับเข้าบ้านได้แล้ว ก็นำเรื่องที่ได้ตายไปแล้วได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ในเมืองนรกไปเล่าให้ญาติพี่น้องฟัง พวกเขากับหาว่าผมเป็นบ้าไปเสียแล้ว บางคนก็ว่าผมถูกผีปู่ตาเข้าสิง พูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ หลังจากนั้นผมก็ไม่เคยเล่าให้ฟังอีกเลยเพราะเล่าไปแล้วแม้แต่ญาติพี่น้องก็ยังไม่เชื่อ ยังหาว่าเราเป็นผีบ้า ผมขอเล่าถวายท่านอาจารย์แต่พอสมควรเท่านี้นะครับ...” หลวงปู่หาญสรุป

(ขอนำประวัติการตายแล้วฟื้นของหลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร มาเล่าประกอบแต่โดยย่อ หากท่านใดสนใจโปรดหาอ่านจากหนังสือประวัติหลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร ได้โดยตรง)


ภายหลังจากที่ท่านได้หายจากการป่วยได้ผ่านพ้นเหตุการณ์ในครั้งนั้นแล้ว ท่านก็ยังอยู่ประพฤติปฏิบัติกับหลวงปู่สีลา อิสฺสโร ต่อมาอีก เพราะว่าหลวงปู่สีลานั้นมีข้อวัตรปฏิบัติเป็นที่น่าเลื่อมใสน่าเคารพ น่ากราบไหว้สักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง เป็นครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่สมชายให้ความเคารพรองลงมาจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อหลวงปู่สีลาไม่สะดวกเรื่องอะไร หรือมีความประสงสิ่งใดแล้ว ถ้าสิ่งนั้นไม่เหลือวิสัย หลวงปู่สมชายท่านจะจัดทำถวายสนองเจตนาหลวงปู่สีลาทุกครั้ง

มีอยู่คราวหนึ่งเป็นฤดูหนาว ในปีนั้น จ.สกลนคร มีความหนาวเย็นมากกว่าทุกปี หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ได้ปรารภขึ้นมาว่า “ปีนี้บ้านเราอากาศหนาวมาก ถ้าไม่มีโรงไฟบรรเทาความหนาวผมคงจะแย่...” หลวงปู่สมชายทราบได้ทันทีว่าหลวงปู่สีลา อิสฺสโร ต้องการโรงไฟ เมื่อทราบความประสงค์ของครูบาอาจารย์แล้วก็ได้ชักชวนหลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร และพระภิกษุสามเณรอีกหลายรูปช่วยกันก่อสร้างโรงไฟเพื่อถวายครูบาอาจารย์ทันที มีอยู่วันหนึ่งหลวงปู่สมชายได้ขึ้นไปตีตะปูเพื่อจะมุงหลังคาโรงไฟนั้น จู่ๆ ไม้อันที่ท่านเหยียบอยู่นั้นได้หลุดออกจากกันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ท่านพลัดตกลงมาจากหลังคาโรงไฟทันที ร่างหล่นลงมาทำให้ส่วนสำคัญของร่างกายกระแทกกับกองไม้ ซึ่งกองระเกะระกะอยู่ข้างล่างนั้นเต็มที่ ถึงขนาดสลบหมดสติไป ขาข้างหนึ่งกระดูกหลุดหมุนได้รอบ พระเณรที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมดเมื่อหายจากการตกตะลึงแล้ว ก็ได้ช่วยกันยกร่างของหลวงปู่สมชายออกมาทำการปฐมพยาบาลจนรู้สึกตัว หลวงปู่สมชายได้เล่าเอาไว้ว่า “ผมเสียดายที่ทำโรงไฟถวายหลวงปู่ไม่ทันเสร็จก็ต้องมาเจ็บตัวเสียก่อน ทั้งๆ ที่ตั้งใจไว้ว่าจะทำถวายท่านให้ดีที่สุด” แต่หลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร และพระรูปอื่นๆ ก็ช่วยกันสร้างต่อจนเสร็จเพื่อถวายหลวงปู่สีลาจนเสร็จเรียบร้อย

หลวงปู่หาญ ชุติณฺธโร ได้ไปหาเก็บใบยาสมุนไพรต่างๆ ซึ่งหาได้ง่ายตามป่านั้น นำมาตำแล้วห่อใส่ผ้าขาวทำเป็นยาลูกปะคบ และทำเป็นยาที่ใช้โดยวิธีย่าง ใช้รักษาสลับกันไป ยาสมุนไพรแบบย่าง คือ เอาใบยาต่างๆ ที่หามาได้ปูลงบนเตียงเอาเสื่อปูทับแล้วช่วยกันหามหลวงปู่สมชายนอนบนเสื่อ ก่อไฟไว้ใต้เตียง โดยให้ความร้อนเผาใบยา ใบยานั้นก็จะระเหิดเป็นไอลอยขึ้นไปโดนตัวทั่วร่างกายของหลวงปู่สมชายเป็นการรักษาพยาบาลแบบโบราณง่ายๆ แต่ก็ได้ผลดีมาก ได้รับการรักษาด้วยยาลูกปะคบและยาแบบย่างสลับกันอยู่หลายวัน อาการก็เริ่มดีขึ้นๆ จนใกล้จะเป็นปกติ


• เจ็บซ้ำสอง

วันหนึ่งหลวงปู่หาญได้หามหลวงปู่สมชายขึ้นย่างบนเตียงเหมือนอย่างทุกวันที่เคยทำ ก่อไฟในเตาอั้งโล่ให้ความร้อนของถ่านในเตาไปเผาลนใบยาสมุนไพรที่หลวงปู่สมชายนอนทับอยู่นั้น ให้ระเหิดเป็นไอไปที่ร่างกายเพื่อให้ส่วนที่ฟกช้ำทุเลาขึ้น เสร็จแล้วหลวงปู่หาญก็ออกไปช่วยพระภิกษุสามเณรก่อสร้างโรงไฟถวายหลวงปู่สีลาตามปกติต่อ แต่เนื่องจากใบยาสมุนไพรที่หลวงปู่สมชายนอนทับอยู่นั้นได้ถูกย่างมาหลายวันแล้วจึงแห้งกรอบ พอถูกความร้อนจากเตาไฟอั้งโล่ในวันนั้นเข้า ก็เลยกลายเป็นเชื้อไฟอย่างดี นานเข้าๆ ใบยาสมุนไพรจึงลุกไหม้ แล้วลุกไหม้เสื่อ ไหม้เตียง ที่หลวงปู่สมชายนอนย่างอยู่นั้นจนกระทั่งความร้อนถึงตัว จะลุกขึ้นหนีก็ลุกไม่ได้เพราะขาที่หลุดยังไม่เข้าที่ ร้องเรียกพระเณรก็ไม่มีใครได้ยินเนื่องจากกำลังทำงานกัน ไฟก็ลุกไหม้ร้อนแรงขึ้นๆ จนเริ่มจะระบมไปทั่วแผ่นหลัง จึงตัดสินใจพลิกตัวให้ตกลงมาจากเตียง ความสูงของเตียงจากพื้นดินก็สูงพอควร คนที่กำลังเจ็บอยู่แล้วก็ต้องมาเจ็บซ้ำเป็นรอบที่สองอีกอย่างไม่น่าเกิดขึ้น จนกระทั่งพระเณรที่ทำงานอยู่ได้เวลาพักฉันน้ำปานะ หลวงปู่หาญจึงได้เดินมาดูเพื่อจะได้ถามไถ่หรือลดไฟ เพิ่มไฟ ซึ่งเป็นกิจประจำวัน จึงได้พบเห็นว่าไฟไหม้เตียงเรียบร้อยไปแล้ว ภายหลังจากรักษาพยาบาลต่อมาอีกไม่นานนัก อาการของหลวงปู่ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ จนหายเป็นปกติ และก็ยังบำเพ็ญภาวนาอยู่กับหลวงปู่สีลาต่อมาอีกระยะหนึ่ง ท่านปฏิบัติอาจริยวัตรต่อหลวงปู่สีลามิได้ขาดตกบกพร่องเลย จนเป็นที่รักใคร่พอใจของหลวงปู่สีลาเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อเห็นว่าได้ศึกษากับหลวงปู่สีลานานพอสมควรแล้วประกอบกับความไม่สะดวกบางประการด้วย จึงได้ตัดสินใจเข้าไปกราบลาหลวงปู่สีลาเพื่อออกหาสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งใหม่ต่อไป ซึ่งครั้งนั้นหลวงปู่สีลาได้แนะนำให้ไปพักบำเพ็ญที่วัดบ้านกุดเรือน้อย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร หลวงปู่สมชายก็ได้ปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์แนะนำ ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดบ้านกุดเรือน้อยพอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้กราบลาหลวงปู่สีลาออกแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อความเจริญทางด้านจิตใจที่สูงขึ้นต่อไป โดยมุ่งหน้าเดินทางไปยังสถานที่บำเพ็ญที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายต่างก็ได้คุณธรรม ณ สถานที่แห่งนี้กันมาเกือบทุกรูป คือ “ภูวัว”

หลวงปู่สมชายได้พาหมู่คณะเดินทางรอนแรมไปตามโขดเขินเนินเขาเรื่อยไป สถานที่แห่งไหนสงบร่มเย็นภาวนาดีก็พักหลายคืน บางแห่งพักแรมได้เพียงคืนเดียวก็ออกเดินทางต่อในเช้าวันรุ่งขึ้น หลายวันต่อมาก็บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง คือ ถ้ำพระภูวัว ซึ่งเป็นสถานที่ที่ครูบาอาจารย์ทุกรูปต้องการมาหาความสงบทางด้านจิตใจ เมื่อมาถึงภูวัวก็เหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอของผู้ทรงศีลทรงธรรม ไม่ว่าจะมองไปทิศไหนก็ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากภาวนา หลวงปู่และพระเณรที่ติดตามเมื่อปลงบริขารลงจากบ่าแล้ว ก็แยกย้ายกันหาสถานที่แขวนกลด หาสถานที่เดินจงกรมที่เหมาะกับอัธยาศัย อยู่ภาวนาบนภูวัวด้วยความเอิบอิ่มกันทุกรูป โดยไม่มีใครเลยที่ปริปากว่าอยากลงจากภูวัว แต่ธรรมชาติก็บังคับให้ลง เนื่องจากฤดูฝน กาลเวลาเข้าพรรษาใกล้เข้ามาอีกแล้ว หลวงปู่จึงพาพระภิกษุสามเณรเดินลงมาเพื่อจะไปขออาศัยสำนักครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่จำพรรษาอย่างที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี

เดินทางถึงบ้านโสกก่าม ก็มีชาวบ้านมาขอร้องนิมนต์ให้หลวงปู่สมชายอยู่โปรด เพื่อจะได้ทำใส่บาตรเป็นขวัญกำลังใจ เพราะเพิ่งจะพากันเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ๆ หลวงปู่จึงรับนิมนต์ด้วยเมตตาที่จะสงเคราะห์ ชาวบ้านจึงพาหลวงปู่ไปที่ป่าใกล้ๆ หมู่บ้าน ซึ่งเป็นป่าดงดิบมีแต่ต้นไม้ขนาดใหญ่ เงียบสงบ สัตว์ป่า เสือ หมี ช้าง ยังชุกชุม เพราะเป็นป่าพื้นที่ติดต่อกับภูวัวสัตว์ป่าจึงยังสมบูรณ์มาก ยิ่งตอนดึกๆ เสียงสัตว์ป่าจะร้องเรียกหากันกึกก้องพนาไพร ได้อยู่ฉลองศรัทธาชาวบ้านโสกก่ามมาได้ระยะหนึ่งก็ใกล้วันเข้าพรรษาเข้าทุกขณะ หลวงปู่จึงได้ปรึกษาหมู่คณะว่าจะเดินทางไปจำพรรษาที่สำนักครูบาอาจารย์ หรือจะจำพรรษาที่แห่งนี้ต่อไป ซึ่งทุกรูปก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของหลวงปู่ ดูแล้วจึงเห็นสถานที่แห่งนี้ก็ภาวนาดี และเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้านไปด้วยเป็นประโยชน์อีกทางหนึ่ง ครั้นจะเดินทางไปสำนักครูบาอาจารย์ก็ยังอีกไกล สถานที่อาจจะเต็มแล้วก็ได้ หลวงปู่จึงได้ตกลงว่าพรรษานี้คงจะอธิษฐานจำพรรษายังเสนาสนะป่าบ้านโสกก่ามแห่งนี้


รูปภาพ
หนังสือบุพพสิกขาวรรณนา
ใช้เป็นคู่มือศึกษาพระวินัยของพระภิกษุสามเณรในวัดต่างๆ
อย่างกว้างขวางทั่วไปมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕
ซึ่งพระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) วัดบรมนิวาส เป็นผู้รจนาขึ้น


รูปภาพ
พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) วัดบรมนิวาส
ผู้รจนาหนังสือบุพพสิกขาวรรณนา


รูปภาพ
พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง

• พ.ศ. ๒๔๙๕ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโสกก่าม
ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ


ชาวบ้านเมื่อทราบข่าวว่าหลวงปู่ตกลงปลงใจจะจำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านโสกก่ามแห่งนี้ ทุกคนต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันจัดเตรียมเสนาสนะกุฏิชั่วคราวเพื่อกันฝนในฤดูพรรษาเท่าจำนวนพระภิกษุสามเณร และช่วยจัดทำทางเดินจงกรมถวายหลวงปู่และพระเณรทุกรูป เสร็จเรียบร้อยก่อนวันอธิษฐานพรรษาเพียงเล็กน้อย ตลอดฤดูพรรษาหลวงปู่ก็ได้นำพาประพฤติปฏิบัติอย่างเต็มที่ มีการตั้งสัตยาธิษฐานถือธุดงควัตรกันอย่างเคร่งครัด สำหรับหลวงปู่นั้นท่านจะอธิษฐานถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือ ทำความเพียรอยู่ในอิริยาบถสาม เว้นจากการเอนกายลงนอน ในทุกวันธรรมสวนะ ๘ ค่ำ ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ และผ่อนอาหาร คือ ๗ วันฉันจังหันครั้งหนึ่งบ้าง ๑๕ วันฉันจังหันครั้งหนึ่งบ้าง หลวงปู่จะเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา กลางวันท่านก็นำหนังสือบุพพสิกขาวรรณนาซึ่งเกี่ยวกับพระวินัยมาอ่านและอธิบายให้พระภิกษุสามเณรได้เข้าใจ นำระเบียบและปฏิปทาที่ท่านได้เคยรับการอบรมถ่ายทอดมาจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ นั้น มาอบรมสั่งสอนถ่ายทอดอีกต่อหนึ่งให้พระภิกษุสามเณรได้รับฟังกันตลอดพรรษา พระภิกษุสามเณรทุกรูปต่างก็เร่งทำความเพียรกันไม่ได้ลดละประมาท ไม่เป็นอันหลับอันนอนกันทั้งสิ้น

ส่วนบรรดาศรัทธาของญาติโยมชาวบ้านนั้น ก็สังเกตได้ว่าทุกคนต่างพึงพอใจต่อการที่หลวงปู่ได้จำพรรษาโปรดพวกเขาในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ต่างคนต่างมาขวนขวายในการทำความดี บางคนก็สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ บ้างก็ช่วยกิจการงานภายในวัด ทำทางเดินจงกรมบ้าง ช่วยงานอื่นๆ บ้าง เป็นประจำทุกวัน น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ก็อำลาศรัทธาญาติโยมออกเดินทางเพื่อจาริกแสวงหาสถานที่บำเพ็ญแห่งใหม่ต่อไป โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ “ภูลังกา” แดนดินถิ่นสถานของท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง หรือ เทพเจ้าแห่งภูลังกา ตามคำเรียกขานของชาวบ้านในเขตจังหวัดนครพนม-หนองคาย-บึงกาฬ


• เปรตกินของสงฆ์ไม่อุปโลกน์

ภายหลังจากออกพรรษาในปีนี้แล้ว หลวงปู่พร้อมด้วยสามเณร ๔-๕ รูป ก็มุ่งหน้ายังภูลังกา อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม เพื่อต้องการที่จะไปศึกษาและพิสูจน์คำล่ำลือที่พูดกันนักหนาว่าท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร นั้นท่านมีอภิญญาสมาบัติพิเศษ และเพื่อแสวงหาความสงบวิเวกไปด้วย มองเห็นยอดภูลังกาอยู่ลิบๆ คงอีกไกลมาก แต่เวลาก็บ่ายคล้อยใกล้ค่ำเข้ามาทุกที มองเห็นวัดร้างท้ายหมู่บ้านซึ่งมีหญ้าปกคลุมแทบมองไม่เห็นทางเข้า ผ่านประตูวัดก็ถึงศาลาหลังหนึ่งที่ทรุดโทรม มองดูโย้...เย้...จะพังมิพังแหล่ ที่มีอยู่เพียงหลังเดียวของวัด รอบๆ ศาลาเห็นมีต้นหมาก ต้นมะพร้าว สูงลิบลิ่วเลยหลังคาศาลาไปไกล แสดงว่าวัดนี้สร้างมานานแล้วนั่นเอง หลวงปู่บอกว่ามองดูบนศาลาที่มีไม้กระดานปูพื้นยังไม่เต็มศาลาดีนั้นดูระเกะระกะ สกปรก รกรุงรัง มองเพดานเห็นมีแต่ยากไย่ใยแมลงมุมสะสมมานาน ขี้ค้างคาวก็หนาเตอะ หลวงปู่ให้เณรน้อยสาม-สี่รูปรีบไปสรงน้ำให้เสร็จก่อนมืด เดี๋ยวจะมองไม่เห็นอะไร สามเณรได้มาปูที่นอนจำวัดถวายหลวงปู่ไว้ด้านมุมศาลา ใกล้พระประธานที่มีอยู่องค์เดียวของวัด ส่วนสามเณรก็ปูที่นอนเรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบสวยงามอีกมุมศาลาด้านหนึ่ง...สามเณรสรงน้ำยังไม่ทันเสร็จ ก็มีเสียงระฆังที่แขวนอยู่ใกล้บันไดทางขึ้น ดัง...เหง่ง...หง่างๆ สุนัขในหมู่บ้านเห่าหอนรับกันเป็นทอดๆ สามเณรรีบเดินกลับมายังศาลาอย่างรวดเร็ว หลวงปู่ถามว่า “เณร ! เคาะระฆังทำไม เดี๋ยวชาวบ้านก็มาเต็มวัดหรอก...” สามเณรต่างองค์ต่างมองหน้ากันแล้วกราบเรียนหลวงปู่ว่า...“กระผมเข้าใจว่าหลวงปู่เคาะเรียก พวกกระผมจึงรีบกลับมาครับผม...” หลวงปู่จุดเทียนไขที่มีติดย่ามมานั้น แล้วสวดมนต์นั่งสมาธิ อบรมสั่งสอนสามเณรเป็นประจำวัน...แล้วจึงได้แยกย้ายกันพักผ่อนด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางมาตลอดทั้งวัน...ยิ่งมืดก็ยิ่งเงียบและวังเวง...เสียงนกแสกและนกฮูกร้องรับกันอยู่บนหลังคาศาลา...หนูที่ซุกตัวอยู่ตามซอกตามมุมวิ่งกันให้พล่านไปทั้งศาลา...ดึกมากแล้ว นี่...สามเณรองค์ไหนมาเดินเล่นทำไม ? พื้นกระดานของศาลาให้ดัง...กุบ...กั้บ...ๆ...สลับกับมีเสียงลากเสื่อดังพรืด !...ๆ...อยู่บนศาลาด้านที่สามเณรนอนเรียงกัน...หลวงปู่หันไปมองโดยอาศัยแสงไฟจากเทียนไขที่ริบหรี่ รำไร ใกล้จะมอดดับแต่ยังพอมองเห็นอะไรเป็นอะไรได้บ้างนั้น...หลวงตาแก่ๆ รูปหนึ่งกำลังจับขาสามเณรที่นอนเรียงกันสูงบ้างต่ำบ้าง ดึงลงมาเพื่อให้เท่าๆ กัน เสร็จแล้วก็เดินไปด้านบนหัวนอน หลวงตาก็จับหัวสามเณรดึงขึ้นไปอีก...สามเณรองค์เล็กซึ่งต่ำกว่าเพื่อนก็จะถูกจับลากจับดึงมากกว่าองค์อื่น หลวงตาวนเวียนดึงหัวดึงเท้าสามเณรอยู่อย่างนั้น...เวลาหลวงตาเดินผ่านมาทางแสงเทียน สังเกตว่าตัวท่านสูงศีรษะเกือบชนขื่อของศาลา แถมยังมีกลิ่นสาบฉุนๆ ตามมาอีกด้วย...หลวงปู่กำหนดจิตดูจึงรู้ได้ว่า หลวงตาที่ออกมาเดินจัดระเบียบสามเณรอยู่นี้ คือ “เปรตขรัววัดองค์ก่อนได้ทำบาปไว้มากเหลือเกิน จึงติดหนี้สงฆ์ เพราะกินของสงฆ์ไม่ได้อุปโลกน์นั่นเอง...”

หลวงปู่เล่าว่า...พอเสียงไก่ที่หมู่บ้านขันบอกยามสองยามสามแล้วนั่นเอง เปรตหลวงตาจึงหายเงียบเข้าไปที่ห้องข้างๆ สามเณรนอนอยู่นั่นเอง...ฟ้าสางของวันใหม่แล้วจึงพากันออกบิณฑบาต มีชาวบ้านออกมาใส่บาตร พร้อมกับถามว่าเมื่อคืนพักที่ไหน...พักที่วัดท้ายบ้าน...หลวงปู่ตอบ !...วัดนี้สร้างมานานแล้วตั้งแต่สมัยปู่โน่นแหละครับ แต่ไม่มีพระสงฆ์องค์เจ้าที่ไหนอยู่ได้ข้ามคืน เป็นเพราะขรัววัดองค์เก่าที่ท่านตายไปแล้วท่านยังหวงยังห่วงสิ่งของของท่าน ใครไปหยิบไปจับอะไรในวัดไม่ได้เลย ขนาดกลางวันแสกๆ ยังออกมาตีฆ้อง ตีระฆัง ให้สนั่นหวั่นไหว ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้วัดได้เลย พวกชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าจะช่วยท่านได้อย่างไร ทำบุญให้ครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไม่ยอมไปผุดไปเกิดเสียที...หลวงปู่เดินกลับจากบิณฑบาต มีชาวบ้านตามมาส่งจังหันตามธรรมเนียมของคนอีสาน หลวงปู่ได้หารือว่าควรช่วยกันทำบุญสงเคราะห์สมภารท่านอีกสักครั้ง เพราะท่านตกระกำลำบาก เป็นเปรตเวทนาเฝ้าวัดอยู่อย่างนี้ ท่านอุตส่าห์สร้างวัดสร้างวามาแล้ว มาเป็นอย่างนี้ หลวงปู่จึงให้ชาวบ้านออกไปหานิมนต์ครูบาอาจารย์สายป่ามาอย่างน้อย ๕ รูป และมอบให้ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งช่วยไปจัดหาอาหารและสิ่งของเพื่อถวายเป็นไทยทานอุทิศส่วนกุศลให้เปรตสมภารในวันพรุ่งนี้ หลวงปู่อธิบายต่อไปอีกว่า “ทานที่ทำแล้วจะได้บุญมากต้องพร้อมหน้าแห่งวัตถุสาม ได้แก่ ๑. ศรัทธา ๒. ไทยธรรม ๓. ทักขิไณยบุคคล ทั้งสามประการนี้ แต่ธรรมสองประการหาได้ง่าย คือ ไทยธรรมและทักขิไณยบุคคล...แต่ศรัทธานั้นหาได้ยาก เพราะปุถุชนมีศรัทธาไม่มั่นคง...”

คืนต่อมาภายหลังจากทำวัตรสวดมนต์นั่งสมาธิแล้ว สามเณรหลับสนิทตามประสาเด็ก เปรตสมภารองค์เดิมก็จำแลงกายออกมาจัดระเบียบเหมือนอย่างคืนก่อนอีก สามเณรที่ตัวเล็กที่สุดจะถูกดึงขึ้นดึงลงอีกทั้งคืนเช่นเคย...หลวงปู่ได้นั่งมองดูด้วยความสังเวช จึงส่งกระแสจิตถามไปว่า “ท่านเป็นใคร ทำไมจึงมาเป็นเปรตอยู่อย่างนี้ ไม่อยากไปเกิดหรือ...” สมภารเปรตตอบว่า “เราเป็นขรัววัดนี้เอง สมัยที่ยังไม่ตายได้ทำบาปเพราะกินของสงฆ์...” ตายแล้วจึงต้องมาเป็นเปรตเฝ้าใช้หนี้สงฆ์อยู่อย่างนี้ ทุกข์ทรมานเหลือเกิน อยากจะไปเกิดแต่ก็ไม่มีใครทำบุญให้ ญาติพี่น้องก็ไม่เคยทำบุญให้เลย ชาวบ้านแถวนี้ก็ไม่มาวัดอีกเพราะเขากลัว เราพยายามตีกลองตีระฆังให้เขามากันเพื่อต้องการจะบอกว่าเราทุกข์ทรมานเหลือเกินช่วยทำบุญให้ด้วยเถิด...เขาก็พากันกลัว...เราหวีดร้องเพื่อให้เขาได้ยินเสียงของเรา เขาก็กลัวอีกเช่นกัน...จึงไม่รู้จะทำอย่างไร ทรมานอยู่อย่างนี้เป็นเวลานานมากแล้ว ?...หลวงปู่ถามต่ออีกว่า “ท่านทำบาปอะไรไว้มากมายนักหรือ จึงไม่สิ้นบาปสักที...” “เราเป็นสมภารก็จริง แต่ครูบาอาจารย์ไม่เคยบอกเราเลยว่า สิ่งของที่ชาวบ้านนำมาถวายวัดที่เป็นครุภัณฑ์ ประเภทจอบ เสียม มีด พร้า นั้นจัดเป็นของสงฆ์ แจกแบ่งกันไม่ได้ แต่เราได้นำของสงฆ์เหล่านั้นไปให้ลูกหลาน ญาติพี่น้อง และของบางอย่างเราก็ขาย จึงเป็นบาปหนักเพราะเอาของสงฆ์ไปขาย...” และอีกอย่างหนึ่ง “เมื่อชาวบ้านเขาถวายภัตตาหารถวายสังฆทานด้วยคำว่า 'ภิกขุ สังฆัสสะ...' เราไม่เคยได้เผดียงสงฆ์อุปโลกน์ก่อนแจกเลย เราแจกเองกินเองโดยไม่ได้เผดียงสงฆ์ จึงชื่อว่าได้กินของสงฆ์มาโดยที่ไม่ได้อุปโลกน์ให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อน เราจึงกินของสงฆ์มาตั้งแต่บวชจนกระทั่งตาย ตายแล้วก็ต้องมาเป็นเปรตเฝ้าวัด จัดระเบียบอยู่อย่างนี้ ไปไหนไม่ได้ทรมานมาก โปรดช่วยเราด้วยเถิด...” วันพรุ่งนี้จะทำบุญอุทิศให้ เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมในการรับส่วนกุศลเสียเถิดนะท่านสมภาร...หลวงปู่กล่าว...

เช้าวันใหม่ท้องฟ้าแจ่มใสกว่าทุกวัน ชาวบ้านได้พร้อมใจกันมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้สมภารเปรตอีกครั้งตามที่หลวงปู่ขอร้อง ได้พากันจัดหาสิ่งของต่างๆ ที่สมภารเอาของสงฆ์ไปขาย มาใช้คืนสงฆ์แทนให้ท่านสมภาร เช่น จอบ มีด พร้า เป็นต้น ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติที่นิมนต์ไว้มาพร้อมแล้ว หลวงปู่ก็เริ่มนำชาวบ้านประกอบพิธีทำบุญถวายทานโดยเฉพาะเจาะจงให้แก่ท่านสมภารที่เป็นเปรตโดยตรง ลำดับแรกบูชาพระรัตนตรัย ให้ญาติโยมรับศีลห้ากันทุกคน เสร็จแล้วได้กล่าวคำถวายสังฆทานว่า “อิทัง เม ทานัง, ญาติกานัง, ทักขินัง โหตุ. ผลทานของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย, ที่กระทำในวันนี้, ข้าพเจ้าขอแผ่ผลอุทิศ ไปให้แก่ท่านสมภารวัดแห่งนี้ ที่ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้วนั้น, ถ้าหากว่า, ท่านสมภารวัดแห่งนี้, ยังไม่ทราบข่าวสารการทำบุญนี้, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอมอบข่าวสารการทำบุญนี้, แด่เทพดาเจ้าทั้งหลาย, มีรุกขเทวดา, ภุมมเทวดา, และอากาศเทวดาเป็นต้น, จงนำข่าวสารการทำบุญนี้, ไปแจ้งแก่, ท่านสมภารวัดแห่งนี้, จนกว่าจะได้รับทราบ, เมื่อทราบแล้ว, จงอนุโมทนา, เมื่ออนุโมทนาแล้ว, หากตกทุกข์ได้ยาก, ก็ขอให้พ้นจากทุกข์, เมื่อมีความสุขแล้ว, ก็ขอให้มีความสุข, ยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ...” เสร็จแล้วเพื่อความมั่นใจอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่จึงพากล่าวคำกรวดน้ำตามแบบอย่างของพระเจ้าพิมพิสารว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย, ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีท่านสมภารวัดแห่งนี้เป็นต้น, จงมีความสุขเถิด ฯ...” เปรตสมภารวัดซึ่งรอรับส่วนกุศลอยู่แล้วก็อนุโมทนาในตอนนั้นนั่นเอง...


ภายหลังจากได้ทำบุญถวายทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ได้พูดถึงการให้ทานที่มีผลมาก ซึ่งประกอบด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ คือ

องค์แห่งทายกคือผู้ให้ ๓ ประการ ได้แก่
๑. ทายก ก่อนให้ทานก็มีใจยินดี
๒. ทายก เมื่อกำลังให้ทานก็มีจิตใจเลื่อมใส
๓. ทายก เมื่อให้ทานไปแล้วก็ให้ปลาบปลื้มใจ

องค์แห่งฝ่ายปฏิคาหกคือผู้รับ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เป็นสมณพราหมณ์ผู้ปราศจากราคะ หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ
๒. เป็นสมณพราหมณ์ผู้ปราศจากโทสะ หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อปราศจากโทสะ
๓. เป็นสมณพราหมณ์ผู้ปราศจากโมหะ หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ


• ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน ๔ ประการ

๑. ทายกเป็นผู้มีศีล ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล คือ ทักษิณาทานนั้นบริสุทธิ์แต่ฝ่ายผู้ให้ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ

๒. ทายกเป็นผู้ทุศีล ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล คือ ทักษิณาทานนั้นบริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้

๓. ทายกเป็นผู้ทุศีล ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล คือ ทักษิณาทานนั้นไม่บริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย (ได้บุญน้อยนิดเดียว)

๔. ทายกเป็นผู้มีศีล ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล คือ ทักษิณาทานนั้นบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย (ได้บุญมากมายมหาศาล)

บุญนั้นจะสำเร็จด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. ด้วยการอนุโมทนาของผู้รับ
๒. ด้วยการอุทิศไปให้ของผู้ให้
๓. ด้วยการถึงพร้อมด้วยทักขิไณยบุคคล

องค์ประกอบที่บริสุทธิ์อีก ๓ ประการ คือ
๑. วัตถุทานที่นำมาทำทานต้องเป็นของบริสุทธิ์
๒. เจตนาของผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล
๓. พระสงฆ์ผู้รับต้องเป็นผู้บริสุทธิ์

ต่อมาภายหลังหลวงปู่ได้สอบถามผู้คนที่ผ่านไปมาถึงวัดดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีพระอยู่เป็นที่เรียบร้อย สมภารเปรตนั้นก็เงียบหายไปไม่เคยมาหลอกหลอนใครอีกนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ข่าวการทำบุญให้เปรตในครั้งนี้ทราบไปถึงท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร แห่งวัดภูลังกา (วัดถ้ำชัยมงคล) พระอาจารย์วังจึงให้ญาติโยมมาติดต่อขอนิมนต์หลวงปู่ช่วยไปทำบุญให้เปรตที่วัดบ้านนางัวด้วย เพราะที่วัดบ้านนางัวนั้นก็มีเปรตอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านอยู่เช่นกัน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2020, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7836

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ
ถ้ำไชยมงคล (ถ้ำหลวงปู่วัง ฐิติสาโร) ภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป และรูปหล่อหลวงปู่วัง ฐิติสาโร
เดินจากนี้ขึ้นไปอีก ๓๐๐ เมตรจะพบพระธาตุเจดีย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร

• โปรดเปรตตาทา แห่งบ้านนางัว

หลวงปู่สมชายซึ่งตั้งใจว่าจะเดินทางไปศึกษากับท่านพระอาจารย์วัง ที่ภูลังกาอยู่แล้ว จึงรีบเดินทางไปกับญาติโยมที่มานิมนต์นั้นในคราวเดียวกัน เดินเข้าเขตวัดบ้านนางัวพร้อมกันกับท่านพระอาจารย์วัง ท่านพระอาจารย์วังจึงร้องเรียกขึ้นว่า “...ทา เอ๊ย ทา ! อยู่แถวนี้หรือเปล่า...พรุ่งนี้จะทำบุญให้นะ ถ้าอยู่แถวนี้ก็ลองมาขึ้นต้นฝรั่งให้ดูหน่อยซิ...! จะได้รู้ว่ายังอยู่...” พอจบคำของท่านพระอาจารย์วังเท่านั้นเอง ต้นฝรั่งที่อยู่ข้างทางเหมือนมีคนขึ้นไปอยู่บนต้นแล้วเขย่าอย่างแรง กิ่งฝรั่งถูกโยกซ้าย โยกขวา สลัดทั้งลูกทั้งใบหล่นให้เกลื่อนไปหมด ผู้คนที่เดินติดตามมาด้วยถึงกับขนหัวลุก...! ท่านพระอาจารย์วังจึงร้องบอกขึ้นอีกว่า “พอแล้วๆ เชื่อว่ายังอยู่ ก็ดีแล้วพรุ่งนี้จะทำบุญอุทิศให้ เตรียมตัวเตรียมใจรอรับส่วนกุศลเถิดนะจะได้ไปผุดไปเกิดเสียที...”

หลวงปู่ได้เล่าเอาไว้ว่าส่วนมากพวกผีเปรตเวทนานั้น ในสมัยที่ยังไม่ตายได้ทำบาปลักขโมยของสงฆ์นั่นเอง พอตายแล้วก็ต้องมาชดใช้หนี้สงฆ์ด้วยการเป็นเปรตเวทนาทนทุกข์ทรมาน อดหยากอย่างหิวโหย สาเหตุที่ตาทาต้องมาเป็นเปรตเฝ้าวัดจัดระเบียบอยู่อย่างนี้ก็คือ สมัยที่แกยังไม่ตาย ตาทาแกเป็นมัคนายกของวัดบ้านนางัวนี่เอง แกจะคอยติดตามพระเก็บปัจจัยไว้ให้พระ แต่แล้วแกมักจะยักยอกเอาปัจจัยของพระที่แกเก็บไว้นั้นไปใช้ส่วนตัวเสียหมด เมื่อหมดปัจจัยของพระแล้ว แกก็เอาปัจจัยที่ชาวบ้านได้ใส่ตู้รับบริจาคตามวัดนั่นเอง เมื่อหมดปัจจัยวัด แกก็เอาสิ่งของต่างๆ ภายในวัดไปขายบ้าง เอาไปให้ญาติพี่น้องที่บ้านแกใช้บ้าง บางครั้งแกก็แอบหยิบเอาสังฆทานกลับไปบ้านทุกวัน พระสงฆ์องค์เจ้าบอกแกว่า “ของวัดของสงฆ์อย่าเอาไปบ้านนะมันร้อน และบาปหนักด้วย คนที่เอาของสงฆ์ไปนั้นมักจะเป็นเปรต...” แกก็ไม่ฟัง พระบอกแกมากๆ แกก็กลั่นแกล้งให้พระเดือดร้อนเพื่อพระจะได้หนีไปให้พ้นแกนั่นเอง แกทำตัวอย่างนี้จนแกตาย...

เมื่อตาทาแกตายแล้ว แกก็ต้องมารับวิบากกรรมที่แกทำไว้อย่างทุกข์ทรมาน แกเป็นเปรตอดอยากหิวโหยเฝ้าอยู่ที่วัดแห่งนี้มานานแล้ว แกถูกจองจำด้วยอำนาจของกรรม ไปผุดไปเกิดไม่ได้เพราะต้องชดใช้หนี้สงฆ์ที่แกทำเอาไว้ พระที่เดินทางมาจากต่างถิ่นเข้ามาพักแรมค้างคืนก็ไม่ได้ ตกกลางคืนเปรตตาทาก็จะออกมาเดินจัดระเบียบดึงหัวดึงตีน ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอนกันทั้งคืน ข่าวเปรตตาทาจัดระเบียบแห่งวัดบ้านนางัวได้แพร่สะพัดไปทั่วในแถบนั้น จนไม่มีใครย่างกลายเข้าไปพักได้ จนวัดต้องร้างไประยะหนึ่ง แต่พอภายหลังจากที่ท่านพระอาจารย์วัง และหลวงปู่สมชายได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ในครั้งนั้นแล้วก็ปรากฏว่าไม่มีใครปรากฏพบเห็นเปรตตาทาอีกเลย การทำบุญให้เปรตของหลวงปู่สมชายก็ใช้แบบเดียวกันกับที่ท่านเคยทำและได้รับผลมาแล้วนั้นทุกที่ไป

เมื่อเสร็จจากธุระที่ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ได้ขอให้ช่วยทำบุญสงเคราะห์เปรตตาทาแล้ว หลวงปู่สมชายก็ได้ขอติดตามท่านพระอาจารย์วังขึ้นไปทำความเพียรบนภูลังกา และเพื่อจะได้ศึกษาวิชชาเร้นลับจากท่านพระอาจารย์วังด้วย ในเขตจังหวัดนครพนม-หนองคาย-บึงกาฬนี้ ชื่อเสียงของท่านพระอาจารย์วังจะโด่งดังมากในด้านอภิญญาสมาบัติ ท่านสามารถย่นระยะทางจากไกลให้ใกล้ จากยาวให้สั้นในทำนองนี้ ชาวบ้านมักจะล่ำลือกันว่า ท่านพระอาจารย์วังสามารถไปไหนมาไหนได้เร็วเพียงลัดนิ้วมือ บางคนจะพบท่านบิณฑบาตอยู่ที่อำเภอบ้านแพง ชาวบ้านได้ใส่บาตรท่านทุกเช้า แต่ในขณะเดียวกันบนภูลังกาก็จะพบท่านนั่งฉันภัตตาหารร่วมกับพระเณรตามปกติ ซึ่งถ้าท่านเดินลงไปบิณฑบาตตามปกติแล้วจะต้องใช้เวลาเป็นวันๆ จึงจะไปและกลับได้


ภูลังกาเป็นภูเขาที่สูงและชันมาก โดยเฉพาะที่อยู่ของท่านพระอาจารย์วังนั้นยิ่งสูงขึ้นไปเรียกว่า “ถ้ำไชยมงคล” และสถานที่ทำความเพียรของท่านก็อยู่ไปอีกไกลเรียกว่า “ถ้ำสีไค” ท่านจะฉันข้าวที่ถ้ำไชยมงคล เสร็จแล้วท่านก็ไปทำความเพียรที่ถ้ำสีไค เป็นกิจวัตรประจำท