วันเวลาปัจจุบัน 06 ธ.ค. 2024, 22:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2774


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ประวัติและปฏิปทา
“พระวิเชียรกวี (ฉัตร อินฺทสุวณฺโณ)”

อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง ราชวรวิหาร รูปที่ ๖
แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
พุทธศักราช ๒๔๖๙-๒๕๐๒


:b50: :b49: :b50:

พระวิเชียรกวี (ฉัตร) ฉายา อินฺทสุวณฺโณ แปลว่า ผู้มีผิวพรรณงามดุจพระอินทร์
เกิดในสกุล รอดประพัทธ์ เป็นบุตรของนายแก้ว-นางเคลือบ รอดประพัทธ์
ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บางประทุน ต.บางประทุน อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (ในขณะนั้น)
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๙
เมื่อเป็นเด็กศึกษาหนังสือไทยกับบิดา จนสามารถอ่านออกเขียนได้
เมื่ออายุ ๑๔ ปี ไปอยู่วัดดาวคะนอง ในสำนักพระครูธีรานันทมุนี (ภู)
แต่ในครั้งยังเป็นพระอันดับอยู่วัดดาวคะนอง
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นที่วัดดาวคะนอง
จึงขออนุญาตต่อครูใหญ่เข้าศึกษาวิชาภาษาไทย เฉพาะเวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไป
เพราะเวลาเช้าติดการเรียนมูลกัจจายน์ พ.ศ. ๒๔๔๕ สอบไล่ได้ประโยคหนึ่งประถมศึกษา
ครั้นแล้วลาออกกลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำสวนสืบมา

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม
โดยมี พระภาวนาโกศล (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูธีรานันทมุนี (ภู) วัดดาวคะนอง แต่ครั้งยังเป็นพระอธิการ
กับ พระพิมลธรรม (นาค สุมนฺนาโค) วัดอรุณราชวาราม
แต่ครั้งยังเป็นพระศรีสมโพธิ์ อยู่วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นคู่กรรมวาจาจารย์
อุปสมบทแล้วพักอยู่ ณ วัดราชโอรสาราม ชั่วคราว
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ไปอยู่วัดพระเชตุพน ในสำนักพระวิเชียรกวี (เชย)
แต่ครั้งยังเป็นเปรียญยุคพระธรรมเจดีย์ (แก้ว มณีรตฺโน) เป็นเจ้าอาวาส

ภาษาบาลีนั้นเมื่อยังเป็นเด็กเคยศึกษากับบิดาบ้าง
ครั้นอุปสมบทแล้วได้ศึกษากับพระวิเชียรกวี (เชย) แต่ท่านยังเป็นเปรียญบ้าง
พระราชโมลี (บัว) พระวิสุทธิโสภณ (โพ) วัดมหรรพาราม แต่ครั้งยังอยู่วัดพระเชตุพนบ้าง
นายแปลก สิริเดชธรรม แต่ครั้งยังอุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ ณ วัดพระเชตุพนบ้าง
แต่ที่ได้ศึกษาเป็นพื้นแลนานนั้นคือ ในสำนักสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ
พ.ศ. ๒๔๕๓ สอบไล่ได้บาลีประโยค ๓ พ.ศ. ๒๔๕๕ สอบไล่ได้บาลีประโยค ๔
พ.ศ. ๒๔๕๗ สอบไล่ได้บาลีประโยค ๕ ตามลำดับ

ในรัชกาลที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิเชียรกวี
ในรัชกาลที่ ๗ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มาอยู่ ณ วัดหนัง หลังจากหลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร ถึงแก่มรณภาพได้เพียง ๓ วัน

ยุคแรกที่ท่านมาครองวัดหนัง ปูชนียสถานเสนาสนะและสิ่งอุปกรณ์ของวัด
หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร ได้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างขึ้นไว้สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว
คอยแต่ระวังรักษาอะไรชำรุดลงเพียงเล็กน้อย ก็รีบซ่อมรีบทำเสียให้กลับคืนดีดังเก่า
เมื่องานบูรณปฏิสังขรณ์ยังไม่เป็นภาระแก่ท่านมากนัก
ท่านก็เริ่มงานการศึกษา มีการเปิดสอนบาลีและนักธรรม เป็นการวางรากฐานการศึกษา
และแก้ไขปรับปรุงระเบียบ แบบแผน กฎข้อบังคับของวัดให้เป็นที่เรียบร้อย
เท่าที่ได้สำเนียกศึกษามาแต่วัดพระเชตุพน โดยที่พระภิกษุสามเณร ทายกทายิกา
ไม่ได้รับความเดือดร้อนแต่ประการใด เพราะค่อยเป็นค่อยไป
คุณงามความดีในเรื่องระเบียบแบบแผนของวัดหนัง
เมื่อมีผู้กล่าวถึง ก็จะต้องกล่าวถึงพระวิเชียรกวี (ฉัตร อินฺทสุวณฺโณ) ด้วยทุกครั้ง

ต่อมาท่านได้ศึกษาค้นคว้าด้านวิปัสสนาธุระ โดยได้ขึ้นวิปัสสนากับอาจารย์ผู้เป็นคฤหัสถ์ผู้หนึ่ง
ตามปกติของท่านจะพูดจริงทำจริง เมื่อได้ขึ้นทางวิปัสสนาธุระมาแล้ว
กลางคืนขึ้นจำวัดประมาณ ๒๓.๐๐ น. เมื่อสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว
ก็จะใช้เวลาที่ยังมิได้จำวัดนั้นฝึกหัดนั่งวิปัสสนาธุระไปจนถึง ๐๑.๐๐ น. หรือ ๐๒.๐๐ น.
ที่ทราบเวลาดังนี้ ก็เพราะคืนหนึ่งท่านได้เรียกผู้เขียนประวัติ
เข้าไปในห้องที่ท่านจำวัดในเวลากลางคืน ตามเวลาที่ท่านกล่าว คือ ตีหนึ่ง ตีสอง
ท่านบอกว่า ท่านเป็นลม ยังจำวัดไม่หลับ ถามว่าหลวงพ่อทำไมยังไม่จำวัด
หลวงพ่อบอกว่า พยายามมุ่งศึกษาวิปัสสนาธุระ โดยใช้ความเพียรตลอดมา
ก็เกิดมาเป็นลมขึ้น จนกระทั่งต้องเรียกผู้เขียนประวัตินี้เข้าไปช่วยปฐมพยาบาล
นี่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นชัดแจ้งว่า หลวงพ่อมิได้ศึกษาแต่พระปริยัติธรรม
และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแต่ด้านเดียว แต่ท่านยังศึกษาในส่วนปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดปฏิเวธ แต่ท่านจะบำเพ็ญได้ถึงขั้นไหนนั้น
เป็นเรื่องปัจจัตตังหลวงพ่อเท่านั้น ที่ท่านจะรู้ได้ดีว่าท่านได้ผลมากน้อยอย่างไร

ท่านเป็นพระเถระที่มั่นคงในสมณเพศจนตราบเท่าอายุขัย มีพลานุภาพทางจิตสูง
เมื่อคิดว่าจะทำอะไรจะใช้วิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าให้งานนั้นๆ สำเร็จสมความประสงค์

ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สิริอายุรวมได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔


รูปภาพ
พระภาวนาโกศล (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง

รูปภาพ
พระพิมลธรรม (นาค สุมนฺนาโค) วัดอรุณราชวาราม

รูปภาพ
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

--------------------------------------------
:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2774


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพรูปภาพรูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : อาจารย์ชลทัต สุขสำราญ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
พระวิเชียรกวี (ฉัตร อินฺทสุวณฺโณ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง ราชวรวิหาร รูปที่ ๖


รูปภาพ
วัดหนัง ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน

--------------------------------------------
:b50: :b49: :b50:
:b44: :: ที่มา :: :b8:
:b44: ประวัติและความสำคัญ “วัดหนัง ราชวรวิหาร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44689

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44681


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2020, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2774


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงฉายพระรูปหมู่ร่วมกับพระมหาเถรานุเถระ
ในคราวที่มาประชุมสวดมนต์ถวายพระพร
หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ในอภิลักขิตกาลคล้ายวันประสูติพระชันษา ๗๑ ปี
เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓
ถ่ายโดย ร้านถ่ายรูป ดิศาวิภาต


:b47: :b53: :b47:

>>>> ในภาพตามหมายเลขมีรายนาม ดังนี้

๑. พระมงคลเทพมุนี (ใจ จนฺทโชติ)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

๒. พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร

๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)


๔. พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชโมลี

๕. พระสุธรรมธีรคุณ (วงศ์ จนฺทวํโส)

(พระราชาคณะชั้นราช)
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุธรรมธีรคุณ
(พระราชาคณะชั้นสามัญ)

๖. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
เมื่อครั้งยังทรงเป็น พระมหาจวน อุฏฺฐายี เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๗. พระพุทธวิริยากร (จันทร์ จนฺทกนฺโต)
วัดโสมนัสวิหาร (วัดโสมนัส ราชวรวิหาร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์


:b50: :b49: ๘. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์


:b50: :b49: ๙. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


๑๐. พระเทพสิทธินายก (นาค โสภโณ)
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติ

(พระราชาคณะชั้นสามัญ)

๑๑. พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สาลี อินฺทโชโต)
วัดอนงคาราม วรวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศาสนานุรักษ์

๑๒. พระสังกิจคุณ (ขำ อินฺทวํโส)
วัดตรีทศเทพ วรวิหาร

๑๓. พระสุนทรสมาจารย์ (พรหม อินฺทโชติ)
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร

๑๔. พระทักษิณคณิศร (สาย ปุญฺญคํโค)
วัดอินทาราม วรวิหาร

๑๕. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต

๑๖. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

๑๗. พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ)

(พระราชาคณะชั้นธรรม)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี

๑๘. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมเจดีย์

๑๙. สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม

๒๐. สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปิฎก

๒๑. พระพิมลธรรม (นาค สุมนฺนาโค)
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมดิลก


>>>> ๒๒. พระวิเชียรกวี (ฉัตร อินฺทสุวณฺโณ)
วัดหนัง ราชวรวิหาร


๒๓. พระพุทธิรังสีมุนีวงศ์ (ฮ้อ พฺรหฺมโชโต)
วัดสัมปทวนนอก ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูญาณรังสีมุนีวงศ์
พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)

๒๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร)
วัดอนงคาราม วรวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโพธิวงศาจารย์

(พระราชาคณะชั้นธรรม)


--------------------------------------------
:b50: :b49: :b50:
:b44: :: ที่มา :: :b8:
:b44: “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=58661


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร