วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

พระอาจารย์อู โสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ซึ่งรู้จักกันกว้างขวางกว่า ในนาม พระอาจารย์มหาสี สยาดอว์ นั้น ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2447 (ค.ศ.1904) ในครอบครัวของคหบดีชาวชนบท บิดาชื่อ อู กันถ่อ (U Kan Htaw) มารดาชื่อ ดอว์ ซวยออก (Daw Shwe Ok) ท่านเกิดที่บ้าน เชตโข่น (Seikkhun) ที่อยู่ห่างจากด้านตะวันตกของเมืองชเวโบ (Shwebo) ไปประมาณ 7 ไมล์ เมืองชเวโบ (Shwebo) นี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสหภาพพม่า และเคยเป็นราชธานีของกษัตริย์ (อลองพญา) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์สุดท้ายของพม่ามาก่อน

เมื่ออายุได้ 6 ปีท่านเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนของวัดประจำหมู่บ้าน จนอายุได้ 12 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร มีฉายาว่า โสภณะและเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) แต่ละปีในช่วง 3 ปีถัดมา ท่านได้สอบผ่านในสนามสอบบาลีศึกษาของทางราชการ ในชั้นต้น (ปฐมแง) กลาง (ปฐมลัต) สูง (ปฐมจี) และสำเร็จการศึกษาชั้นธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาของคณะสงฆ์พม่า

ในช่วงปีพรรษาที่ 4 ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครมัณฑะเลย์ (Mandalay) ซึ่งเลื่องลือในด้านของพุทธศาสนศึกษา ที่นครมัณฑะเลย์ (Mandalay) นี้เอง ท่านได้รับการสั่งสอนอบรมเพิ่มเติมจากพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากมายหลายท่าน จนถึงพรรษาที่ 5 จึงได้เดินทางต่อไปยังเมืองมระแหม่ง (Moulmein) และเข้ารับหน้าที่สอนพระคัมภีร์บาลีไตรปิฎกอรรถกถา (Buddhistscripture) ที่สำนักวัดตองไวกาเล (Taung-waing-galay Taik Kyaung)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

ในปีพรรษาที่ 8 ของท่าน ท่านได้ออกเดินทางจาริกพร้อมกับพระภิกษุสหายอีกรูปหนึ่งโดยมีเฉพาะเครื่องบริขารที่จำเป็นติดตัวไปด้วย (อาทิ บาตร และไตรจีวร) โดยตั้งความประสงค์ที่จะแสวงหาวิธีเจริญกรรมฐานที่ชัดเจนถูกต้องถ่องแท้และได้ผลที่สุด เมื่อเดินทางมาถึงเมืองตะโทง(สะเทิมหรือสุธรรมบุรีในอดีต –Thaton) ท่านได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์ อู นารทมหาเถระ พระกัมมัฏฐานาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม พระอาจารย์ มินกุน เชตวัน สะยาดอว์ (Mingun Jetawun Sayadaw the First) และได้ปวารณาตนขอเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานระดับเข้มข้นทันทีการฝึกวิปัสสนากรรมฐานของท่านก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก จนเมื่อคราวที่ท่านกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่บ้าน เชตโข่น (Seikkhun) ท่านสามารถสั่งสอนลูกศิษย์ฆราวาส 3 คน ให้ก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างรวดเร็ว และเป็นเสมือนแรงบันดาลใจที่กระตุ้นให้ชาวบ้านอีก 50 คนทยอยกันเข้ามาขอฝึกวิปัสสนากรรมฐานในระดับเข้มข้นกับท่านอีกด้วยอย่างไรก็ตามพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ไม่สามารถอยู่ฝึกฝนกับพระอาจารย์ มินกุนเชตวัน สะยาดอว์ ได้นานเท่าที่ท่านปรารถนา ท่านถูกเรียกตัวกลับมายังวัดที่เมืองมระแหม่ง (Moulmein) เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสซึ่งชรามากแล้วล้มป่วยหนัก หลังจากที่กลับมาถึงวัดได้ไม่นานท่านเจ้าอาวาสก็มรณภาพ พระอาจารย์มหาสี สยาดอว์ ได้รับการขอร้องให้ดำรงตำแหน่งสืบต่อแทน และกลับมาสอนพระภิกษุที่จำพรรษาที่นั่นอีกครั้ง ในช่วงนั้นเองที่ท่านได้เข้าสอบวิชาการสอนบาลีศึกษาซึ่งเปิดทำการสอบเป็นครั้งแรกในเมืองนั้นเมื่อปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) จนได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระสาสนธชะ ศรีปวระธัมมาจริยะ (Sasanadhaja Sri Pavara Dhammacariya) ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศพม่า ทางการได้สั่งอพยพผู้คนที่อยู่ใกล้เมืองมระแหม่ง (Moulmein) รวมทั้งพระภิกษุในวัดตองไวกาเล (Tuang-waing-galay) และชาวบ้านใกล้เคียงเพราะอยู่ใกล้กับสนามบินและเสี่ยงภัยต่อการถูกถล่มจากเครื่องบินทิ้งระเบิด พระอาจารย์จึงใช้โอกาสทองนี้เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่บ้านเชตโข่น (Seikkhun) และทุ่มเทให้กับการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานของตัวท่านเองอย่างเต็มที่ และพร้อมๆกัน ก็ได้กรุณาสั่งสอนอบรมให้แก่สานุศิษย์ด้วยท่านเลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดชื่อ มหาสี (Maha-Si Kyaung) หรือ วัดกลองใหญ่ (ที่มาของชื่อวัดก็คือ วัดนี้มีกลองขนาดใหญ่มาก ในภาษาพม่า สี = กลอง และ มหา = ใหญ่) และจากชื่อของวัดนี้เองที่ทำให้ชาวบ้านขนานนามท่านต่อๆ มา ว่า พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool

ในช่วงนี้เอง ที่พระอาจารย์ได้รจนาตำราเล่มสำคัญขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) เป็นต้น ตำรับที่อธิบายถึงกรรมฐานแบบสติปัฏฐานทั้งในแง่ของปริยัติและปฏิบัติ ให้ชื่อว่า Manual of Vipassana Meditation ที่น่าทึ่งอย่างยิ่งก็คือ ท่านใช้เวลาเพียง 7 เดือนในการรจนาตำราเล่มนี้ ซึ่งเมื่อรวมทั้ง 2 ภาค มีความหนาถึง 858 หน้ากระดาษพิมพ์ อีกทั้งในช่วงเวลาที่เขียนนั้น เมืองชเวโบ (Shwebo) ที่อยู่ใกล้ๆ ก็ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนักเกือบทุกวัน นับจากนั้นจวบจนถึงบัดนี้ มีเพียงบทที่ 5 ของตำราเล่มนี้เท่านั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ Practical InsightMeditation : Basic and Progressive Stages (จัดพิมพ์โดย Buddhist Publication Society) จากนั้นไม่นาน ชื่อเสียงของพระอาจารย์มหาสี สยาดอว์ ก็เลื่องลือไปทั่วทั้งแถบเมืองชเวโบและเมืองสกายน์ (Shwebo-Sagaing) เรียกความสนใจของท่านเซอร์ อู ตวิน (Sir U Thwin) รัฐบุรุษอาวุโสของพม่าเป็นอย่างยิ่ง รัฐบุรุษท่านนี้เป็นชาวพุทธที่เปี่ยมด้วยศรัทธาในพระศาสนา ผู้ซึ่งตั้งความปรารถนาไว้ว่าจะส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาในพม่าแข็งแกร่งยิ่ง ขึ้น โดยจะจัดสร้างศูนย์วิปัสสนากรรมฐานให้พระวิปัสสนาจารย์ที่ท่านมั่นใจได้ว่า เปี่ยมด้วยคุณงามความดีและความสามารถ

หลังจากที่ท่านรัฐบุรุษได้พบพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ และฟังพระธรรมเทศนาสั่งสอนประกอบกับได้เข้าฟังพระอาจารย์สั่งสอนอบรมแม่ชีใน เมืองสกายน์ (Sagaing) ท่านก็ยินดีและมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าท่านได้พบกับบุคคลในอุดมคติที่เฝ้าแสวงหามานานแล้วสมาคมพุทธสาสนะนุคคหะ (Buddha Sasana Nuggaha Organization) จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 (ค.ศ.1947) ในพระนครย่างกุ้ง โดยมีท่านเซอร์ อู ตวิน (Sir U Thwin) เป็นประธานกรรมการบริหารสมาคมคนแรก ภายใต้จุดประสงค์ที่จะสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ ในปีถัดมา ท่าน เซอร์ อู ตวินได้บริจาคที่ดิน 5 เอเคอร์ที่กกกายน์ (Kokkine) ในพระนครย่างกุ้งเพื่อให้สมาคมจัดสร้างเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งในกาลต่อมาสถานที่แห่งนี้ก็คือที่ตั้งของสำนักวิปัสสนาสาสนยิกต้า (Sasana Yeiktha) ในปัจจุบัน ที่ขยายใหญ่ขึ้นบนเนื้อที่ 20 เอเคอร์พร้อมหมู่อาคารใหญ่น้อยมากมายเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ในปี พ.ศ.2492 (ค.ศ 1949) ท่าน อู นุ นายกรัฐมนตรีของสหภาพพม่า (ในขณะนั้น) และท่านรัฐบุรุษ เซอร์ อู ตวิน ได้ร่วมกันอาราธนานิมนต์พระอาจารย์ มหาสีสยาดอว์ เข้ามายังพระนครย่างกุ้ง เพื่อสั่งสอนอบรมวิปัสสนากรรมฐานที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแห่งนี้ โดยได้เริ่มสอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม 25 คนแรก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949)

เพียงไม่กี่ปีหลังจากที่พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ได้เริ่มเข้ามาสอนวิปัสสนากรรมฐานในพระนครย่างกุ้ง ได้มีการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนากรรมฐานในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างกว้างขวางจนมีจำนวนกว่าร้อยแห่ง ทั้งในประเทศพม่า และเผยแพร่ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เช่น ประเทศไทยและศรีลังกาด้วย จำนวนของผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้ารับการฝึกจากศูนย์วิปัสสนากรรมฐานทั้งหมด (ทั้งในและนอกประเทศพม่า) จนถึงปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) มีมากมายถึงกว่า 7 แสนคน และ วิปัสสนากรรมฐานยังคงได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องต่อไปยังประเทศทั้งทางซีกโลกตะวันออกและตะวันตกในคราวที่การประชุมสังคายนาครั้งที่ 6 (ฉัฏฐสังคายนา - Chattha Sangayana) จัดขึ้นที่พระนครย่างกุ้งเป็นเวลานานถึง 2 ปี จวบจนบรรลุความสำเร็จลงในปี พ.ศ.2500 (ค.ศ.1956) นั้น พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งเช่นกัน นอกจากท่านจะรับหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการที่รับผิดชอบในการรวบรวม ดำเนินการทำพระคัมภีร์ที่สังคายนาเพื่อให้สังฆสภาที่มาประชุมรับรองแล้ว ท่านยังรับหน้าที่สำคัญยิ่ง อันได้แก่ เป็นผู้ตั้งปุจฉา-ปุจฉกะ (Pucchaka) ซึ่งเป็นผู้ถามข้อความในพระไตรปิฎก เพื่อให้พระเถระระดับสูงซึ่งทรงอภิญญาด้วยความทรงจำเป็นเลิศนามว่า พระเถราจารย์ วิจิตตสาราภิวังสะ (Venerable Vicittasarabhivamsa) เป็น ผู้วิสัชนาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของหน้าที่ทั้งสองนี้ ก็อาจเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อคราวปฐมสังคายนาที่จัดขึ้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานได้หนึ่งร้อยวันนั้นหน้าที่ตั้งปุจฉานี้ได้กระทำโดย ท่านพระมหากัสสปมหาเถระ พุทธสาวกองค์สำคัญ เพื่อให้ พระอุบาลี เถราจารย์ และพระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาหลังจากที่การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 6 เสร็จสิ้นลง ที่ประชุมได้มีมติให้ทำการสังคายนาพระอรรถกถาแต่โบราณ (ancient commentaries and subcommentaries) ซึ่งเป็นงานที่ยากและละเอียดลอออย่างยิ่งนั้น พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็เป็นท่านหนึ่งที่รับหน้าที่หลักในงานสำคัญชิ้นนี้แม้ว่าจะมีภาระหน้าที่มากมาย พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ก็ยังสามารถรจนาตำรับตำราได้มากมายกว่า 70 เล่ม โดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่า มีเพียงส่วนน้อยที่รจนาด้วยภาษาบาลี ตำราสำคัญเล่มหนึ่งที่ควรต้องกล่าวถึงไว้ในที่นี้คือ คำแปลพระอรรถกถาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค (The Commentary to the Visuddhimagga : Visuddhimagga Maha-Tika) เป็นภาษาพม่า ซึ่งจากต้นฉบับพระคัมภีร์ภาษาบาลีแต่เดิมทั้ง 2 เล่มนับว่ามีความหนามากอยู่แล้ว พระอรรถกถาเล่มนี้ก็ยิ่งมีเนื้อหาความหนามากขึ้นไปอีก โดยได้แสดงให้เห็นความยากในแง่ต่างๆ ทั้งทางด้านภาษาศาสตร์และเนื้อหา ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) พระอาจารย์จึงได้รับสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสำคัญยิ่ง คือ อัครมหาบัณฑิต (Agga-Maha-Pandita) ภารกิจท่วมท้นดังได้กล่าวมานี้มิได้ทำให้พละกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ถดถอยลงแต่ประการใด ท่านยังคงเดินทางเป็นพระธรรมทูตออกเผยแผ่พระพุทธธรรมไปในประเทศต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง แม้ว่าการเดินทางสองรอบแรกของท่านจะเป็นไปเพื่อการเตรียมการของงานฉัฏฐสังคายนา แต่ท่านก็ได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการเทศนาและสั่งสอนอบรมสานุศิษย์ไปพร้อมๆ กัน คณะธรรมทูตของพระอาจารย์ได้เดินทางไปเผยแผ่ในประเทศต่างๆ ดังนี้

• ประเทศไทย, กัมพูชา และเวียตนาม ปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ.1952)
• ประเทศอินเดีย และ ศรีลังกา ปี พ.ศ. 2496 และ 2502 (ค.ศ.1952- 1959)
• ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957)
• ประเทศอินโดนีเซีย ปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ.1959)
• ประเทศสหรัฐอเมริกา, ฮาวาย, อังกฤษ และภาคพื้นยุโรป ปีพ.ศ. 2522 (ค.ศ.1979)
• ประเทศอังกฤษ, ศรีลังกา, สิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศไทย ปี พ.ศ. 2523 ( ค.ศ.1980)
• ประเทศเนปาล และอินเดีย ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981)

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue

ไม่ว่างานจะหนัก ภารกิจจะมากมายเพียงใด พระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ก็มิเคยละเลยกิจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของตัวท่านเองเลย ท่านจึงสามารถให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าแก่ศิษยานุศิษย์ที่ท่านอบรมสั่งสอนด้วยตนเองด้วยเมตตาที่เปี่ยมล้นอยู่เสมอ ท่านได้ทุ่มเทพละกำลังทั้งแรงกายและจิตใจเพื่อเผยแผ่พระพุทธธรรมจวบจนท่านเจริญอายุถึง 78 ปีพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ ได้ละสังขารเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ด้วยอาการหัวใจวายที่คุกคามพระอาจารย์ตั้งแต่คืนก่อนหน้านั้น ทั้งนี้แม้ในค่ำวันที่ 13 สิงหาคมนั้นเองพระอาจารย์ก็ยังคงกรุณาสอนกรรมฐานให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ และสั่งสอนอบรมด้วยเมตตาธรรมที่เปี่ยมล้นเป็นครั้งสุดท้ายพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต เป็นปูชนียบุคคลที่นับว่าหาได้ยากยิ่ง ความผสมผสานกันอย่างลงตัว ของอัจฉริยภาพและความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเชิงปริยัติที่ล้ำลึกและกว้างไกล เมื่อประกอบเข้ากับประสบการณ์และปัญญาญาณที่พัฒนาและสั่งสมจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเป็นบุคคลที่สามารถให้คำสั่งสอนที่ทรงคุณค่าประเสริฐทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างหาได้ยาก

โอวาทที่พระอาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทั้งด้วยปากเปล่าและที่รจนาเป็นตำรับตำรา ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้คนนับแสนนับล้านทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตก วัตรปฏิบัติอันน่าชื่นชมของท่านตลอดจนผลงานที่ทรงคุณค่าสุดจะนับคณนา ส่งให้ท่านเป็นรัตนะน้ำเอกอีกหนึ่งดวงในวงการพุทธศาสนาในยุคใหม่นี้หนังสือที่รจนาโดยพระอาจารย์ มหาสี สยาดอว์ อัครมหาบัณฑิต ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว (คัดสรรแล้ว)

• The Progress of Insight through the Stages of Purification. (1)
(วิสุทธิญาณกถา – พร้อมภาษาบาลี)
• Practical Insight Meditation. Basic and Progressive Stages (1)
(แนวปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน – พื้นฐาน และ ลำดับของการพัฒนา)
• Practical Vipassana Meditational Exercises (2)
(แนวการฝึกฝนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน)
• Purpose of Practising Kammatthana Meditation (2)
(วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติกรรมฐาน)
• The Wheel of Dhamma (Dhammacakappavattana Sutta) (2)
(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
(1)= Buddhist Publication Society, Kandy, Sri Lanka.
(2)= Buddha Sasana Nuggaha Organization, 16 Sasana Yeiktha Road, Yangon, Myanmar.


ที่มา https://sites.google.com/site/montasavi ... i-sa-yad-x

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร