วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อายางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น

พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป

พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า ปยุตฺโต แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญวิทยาการ, ผู้เพียรประกอบแล้ว

พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
๑. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
๒. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๓. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
๔. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
๖. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
๗. การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
๘. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
๙. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
๑๐. ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๑. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๒. วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑
๑๓. ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
๑๔. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๔๔
๑๕. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาวิชาการบริหารองค์กร จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. ๒๕๔๕

ศาสนกิจ
พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ เจ้าอาวาสวัดพระเรนทร์
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทยที่ University Museum, University of Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา ที่ Swarthmore College, Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับอาราธนาเป็น Visiting Scholar ที่ Center for the Study of World Religions และบรรยาย วิชาการทางพุทธศาสนา สำหรับ Divinity Faculty และ Arts Faculty ที่ Harvard University
พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
________________________________________
ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล 'มหิดลวรานุสรณ์'
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ 'สังข์เงิน' สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็น 'ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม'
พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฎอาจารย์" หมายถึงอาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TFF Award สาขาสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาสำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ 'การพัฒนาที่ยั่งยืน'
พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัล 'สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล' จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น 'ศาสตราจารย์พิเศษ' ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ถวายตำแหน่ง 'เมธาจารย์' (Most Eminent Scholar) ในฐานะนักปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนาสายเถรวาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น 'ราชบัณฑิต (พิเศษ)'
________________________________________
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

มีต่อครับ

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 26 พ.ย. 2009, 08:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ตำรา ที่แต่ง
บัญชีรายชื่อผลงาน ๓๒๗ เรื่อง
ของ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


ลำดับ ชื่อหนังสือ
1 A Buddhist Solution for the Twenty-first Century
2 A Constitution for Living
3 Beyond Tolerance and Pleasure
4 Buddhism and Education.
5 Buddhism, A Layman's Guide to Life.
6 Buddhist Economics
7 Buddhist Economics, a Middle Way for the market place
8 Buddhist Education (Radical Conservatism Buddhism in the Contemporary World, Articles in Honour of Bhikkhu Buddhadasa's 84th Birthday Anniversary, pp. 77-132)
9 Buddhist Solutions for the Twenty-first Century
10 Dependent Origination: The Buddhist Law of Conditionality
11 English Lessons for Young Buddhists Book I.
12 English Lessons on Buddhism Book I.
13 English Lessons on Buddhism Book II.
14 Freedom: Individual and Social.
15 Good Evil and Beyond
16 Great Buddhists.
17 Helping Yourself To Help Others.
18 Introduction to Buddhism Book I and II.
19 Jataka Tales Book I, II.
20 Looking to America To Solve Thailand's Problems.
21 Mahachula English Course for Young Buddhists Book I, II, III.
22 Mahachulalongkornrajavidyalaya Buddhist University under Royal Patronage, Catalogue B.E. 2510-11/1967-68 A.D.
23 Samadhi in Buddhism
24 Sammasati An Exposition of Right Mindfulness
25 Social Dimension of Buddhism in Contemporary Thailand.
26 Students' Thai-Pali-English Dictionary of Buddhist Terms.
27 Thai Buddhism in the Buddhist World.
28 Toward Sustainable Science
๒๙ 200 ปี กรมพระปรมานุชิต กับสังคมไทย
๓๐ กฐินแรกที่สายใจธรรม
๓๑ กฐินสองที่สายใจธรรม
*** กฐินสู่ธรรม
๓๒ กรณีเงื่อนงำ: พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร?
๓๓ กรณีเงื่อนงำ: พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร? (ฉบับตัดสั้น)
๓๔ กรณีธรรมกาย
๓๕ กรณีธรรมกาย (ฉบับคัดตัวอย่าง)
๓๖ กรณีธรรมกาย (ฉบับปัญหาปลีกย่อย)
๓๗ กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย
๓๘ กรณีธรรมกาย เอกสารเพื่อพระธรรมวินัย
๓๙ กรณีสันติอโศก
๔๐ กรรมกับโรคพันธุกรรม ในทัศนะพระพุทธศาสนา
๔๑ กรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม
๔๒ กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่
๔๓ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย
๔๔ กระแสธรรม กระแสไท
*** กระแสธรรม เพื่อชีวิตและสังคม
๔๕ การเกิดเป็นทุกข์ เกิดดีเป็นสุข
๔๖ การทำแท้งในทัศนะของพระพุทธศาสนา
๔๗ การพัฒนาจริยธรรม
๔๘ การพัฒนาที่ดี หนีไม่พ้นธรรม
๔๙ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
๕๐ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
๕๑ การแพทย์ไทย: ทางเลือกในยุคโลกาภิวัตน์
๕๒ การแพทย์แนวพุทธ
*** การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์
๕๓ การศึกษา กับ เศรษฐกิจ: ฝ่ายไหนจะรับใช้ฝ่ายไหน
๕๔ การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา
๕๕ การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
๕๖ การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย
๕๗ การศึกษาของคณะสงฆ์: ปัญหาที่รอทางออก
๕๘ การศึกษาฉบับง่าย - Education Made Easy
๕๙ การศึกษาทางเลือก: สู่วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโลกไร้พรมแดน
๖๐ การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย
๖๑ การศึกษาพัฒนาการหรือบูรณาการ
๖๒ การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต
๖๓ การศึกษาเพื่อสันติภาพ
๖๔ การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน
๖๕ การศึกษาแพทยศาสตร์ในสังคมไทย
๖๖ การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น
๖๗ การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย
๖๘ การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ
๖๙ การสื่อภาษาเพื่อเข้าถึงสัจธรรม
*** กายหายไข้ ใจหายทุกข์
๗๐ กาลเวลา
๗๑ ก้าวไปในบุญ
๗๒ ก้าวใหม่ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กับการศึกษาเพื่อสันติสุขของโลก
๗๓ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา (ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น)
๗๔ ขอคำตอบ ผอ.สูงสุด กรณีนายทหารทุจริตแห่งชมรม(เถื่อน)ชาวพุทธ 3 เหล่าทัพ
๗๕ ข้อคิดชีวิตทวนกระแส
*** คติธรรมคำคม
*** คติธรรมแห่งชีวิต
๗๖ คนไทย สู่ยุคไอที
๗๗ คนไทย หลงทางหรือไร
๗๘ คนไทยกับเทคโนโลยี
๗๙ คนไทยกับป่า
๘๐ คนไทยกับสัตว์ป่า
๘๑ ครองเรือน-ครองรัก จักเลิศแท้ด้วยครองธรรม
๘๒ ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา
๘๓ ความจริงแห่งชีวิต
๘๔ ความจริงแห่งชีวิต บททดสอบใจและเตือนให้นึกถึงความจริง
๘๕ ความตายคือคติธรรมแห่งชีวิต
๘๖ ความเป็นกัลยาณมิตรของหลวงปู่ชา
๘๗ ความมั่นคงทางจิตใจ
๘๘ ความมุ่งหมายของวิชาพื้นฐานทั่วไป
๘๙ ความรัก จากวาเลนไทน์ สู่ความเป็นไทย
๙๐ ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญของไทย
๙๑ ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ
๙๒ ความสุขของครอบครัว คือสันติสุขของสังคม
*** ความสุขตามหลักพุทธธรรม
๙๓ ความสุขที่สมบูรณ์
๙๔ ค่านิยมแบบพุทธ
๙๕ คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวเองก่อนปฏิบัติธรรม)
๙๖ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่
๙๗ คุณบิดา มารดา สุดพรรณามหาศาล
*** คู่มือชีวิต
๙๘ คู่สร้างคู่สม ชีวิตคู่ในอุดมคติ
๙๙ เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (เล่าเรื่องให้โยมฟัง ชุดที่ ๑)
๑๐๐ งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข
๑๐๑ งานเพื่อความสุขและแก่นสารของชีวิต
๑๐๒ แง่คิด ข้อสังเกตเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
๑๐๓ จริยธรรมนักการเมือง
๑๐๔ จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่
๑๐๕ จะสุขแท้ต้องเป็นไท: ต้องสุขเองได้ จึงจะช่วยโลกให้เป็นสุข
๑๐๖ จะอยู่อย่างเป็นเหยื่อ หรือขึ้นเหนือไปนำเขา
๑๐๗ จัดระเบียบสังคม ตามคตินิยมแห่งสังฆะ
๑๐๘ จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา
๑๐๙ จากสุขในบ้าน สู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม
๑๑๐ จาริกบุญ-จารึกธรรม
๑๑๑ จารึกอโศก
๑๑๒ จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคน ตามแนวธรรมชาติ
๑๑๓ เจอวิกฤต จะเลือกวิวัฒน์ หรือจะเอาวิบัติ
๑๑๔ ชวนคิด - พินิจธรรม
๑๑๕ ช่วยกันนำพาประเทศไทย ให้ก้าวไปอย่างสง่างาม ในท่ามกลางประชาคมโลก
๑๑๖ ช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายดี
๑๑๗ ชาวพุทธกับชะตากรรมของสังคม
๑๑๘ ชาวพุทธต้องเป็นผู้ตื่น
*** ชีวิต การงาน หลักธรรม
*** ชีวิต งาน และสังคมที่สมบูรณ์
๑๑๙ ชีวิตกับการทำงาน
๑๒๐ ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร? ความสุข
*** ชีวิตคู่ที่มีคุณค่า
*** ชีวิตที่ดีงาม หลักการทั่วไปของการปฏิบัติธรรม
*** ชีวิตที่เป็นอยู่ดี
๑๒๑ ชีวิตที่สมบูรณ์
*** ชีวิตที่สมบูรณ์ และการศึกษาฉบับง่าย
*** ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใสและสุขสันต์
*** ชีวิตที่สุขและสร้างสรรค์
๑๒๒ ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม
๑๒๓ ชีวิตหนึ่งเท่านี้ สร้างความดีได้อนันต์
*** เชื่อกรรม-รู้กรรม-แก้กรรม
*** ฐานที่มั่นของชีวิตและสังคม
๑๒๔ ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
๑๒๕ ดึงออกจากไทย ส่งไม่ถึงอเมริกา
๑๒๖ ดุลยภาพ: สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์
๑๒๗ ดูหนังสือของพระมโน สะท้อนสภาพโซของการศึกษาไทย
๑๒๘ ต้องฟื้นฟูวัด ให้ชนบทพัฒนา สังคมไทยจึงจะก้าวหน้าได้มั่นคง
๑๒๙ ตั้งกระทรวงพุทธศาสนา เหตุผลที่แท้อยู่ที่ไหน
๑๓๐ ตามทางพุทธกิจ
๑๓๑ ตื่นกันเสียที จากความเท็จของหนังสือ "เหตุเกิด พ.ศ.๑"
๑๓๒ ตื่นเถิดชาวไทย
*** เตรียมตัวรับพร
๑๓๓ ไตรภูมิพระร่วง: อิทธิพลต่อสังคมไทย
๑๓๔ ไตรลักษณ์
๑๓๕ ถ้าเชิดชูพระคุณแม่ขึ้นมาได้ สังคมไทยไม่สิ้นความหวัง
๑๓๖ ถ้าอยากพ้นวิกฤต ต้องเลิกติดไสยศาสตร์
๑๓๗ ถึงเวลา มารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่
*** ทรัพย์-อำนาจ ทวนกระแส
๑๓๘ ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (หมวดพุทธศาสตร์)
๑๓๙ ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (หมวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
๑๔๐ ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (หมวดศึกษาศาสตร์)
๑๔๑ ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (หมวดสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์)
๑๔๒ ทัศนะของพระพุทธศาสนาต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี
๑๔๓ ทางสายกลาง: ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา
๑๔๔ ทางสายกลางของการศึกษาไทย
๑๔๕ ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย
๑๔๖ ทางออกของสังคมไทย
๑๔๗ ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย
(ชื่อเดิม เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์)
๑๔๘ ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา: ข้อพิจารณาเกี่ยวกับ
วิชาพระพุทธศาสนาและจริยศึกษาในหลักสูตรการศึกษาของชาติ
๑๔๙ ทำอย่างไรจะหายโกรธ
*** ทำอย่างไรจะหายโกรธ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
๑๕๐ ทำอย่างไรจะให้งานประสานกับความสุข
๑๕๑ ทำอย่างไรจึงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
๑๕๒ ทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์
*** ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น
*** เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า
๑๕๓ เทคโนโลยีกับศาสนา
๑๕๔ เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่กับจริยธรรมในแง่พุทธศาสนา
*** เทศน์งานสมเด็จย่า และคำปราศรัยเรื่องสันติภาพ
๑๕๕ ธรรมกับการพัฒนาชีวิต
๑๕๖ ธรรมกับการศึกษาของไทย
๑๕๗ ธรรมกับไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน
๑๕๘ ธรรมนูญชีวิต (A Constitution for Living)
๑๕๙ ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม
๑๖๐ ธรรมเพื่อชีวิตและการพัฒนาวัฒนธรรม
๑๖๑ ธรรมะกับการทำงาน
*** ธรรมะกับธุรกิจ
๑๖๒ ธรรมะฉบับเรียนลัด
๑๖๓ ธรรมะชนะเอดส์
๑๖๔ ธรรมะสำหรับชีวิตสมรส
๑๖๕ ธรรมะสำหรับนักศึกษาแพทย์
๑๖๖ ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ
๑๖๗ ธรรมะสำหรับเยาวชน
๑๖๘ ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์)
๑๖๙ ธุรกิจฝ่าวิกฤต
๑๗๐ นโยบายและแผนการจัดการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๓๑
๑๗๑ นรก-สวรรค์ สำหรับคนรุ่นใหม่ (ชื่อเดิมนรก-สวรรค์ในพระไตรปิฎก)
๑๗๒ นิติศาสตร์แนวพุทธ
๑๗๓ นิพพาน - อนัตตา
๑๗๔ บทบาทนักศึกษาในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๑๗๕ บทบาทพระบรมครู
๑๗๖ บทเรียน ๒๕ ปี คนไทยเรียนรู้หรือยัง?
๑๗๗ บารมี ยิ่งยวดหรือยิ่งใหญ่
๑๗๘ บุญ-บารมี ที่จะกู้แผ่นดินไทย
๑๗๙ ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
๑๘๐ ปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนาจะไปอยู่ไหน
๑๘๑ ประทีปส่องสยาม
๑๘๒ ประเพณี - พิธีพจน์
๑๘๓ ประโยชน์ของพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ (ฉบับย่อ)
๑๘๔ ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้
๑๘๕ ปรัชญาการศึกษาไทย
๑๘๖ ปัญหาขัดแย้งในโลกแก้ได้ด้วยกฐิน
๑๘๗ ปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย คือ ทำอย่างไรจะให้ประชาชนต้องการประชาธิปไตย
๑๘๘ ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย
๑๘๙ ปัญหาวัดพระธรรมกาย
*** เป็นสุขทุกเวลา
๑๙๐ ฝรั่งเจริญเพราะดิ้นรนให้พ้นจากการบีบคั้นของศาสนาคริสต์
๑๙๑ ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน
๑๙๒ พจนานุกรมพุทธศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม
๑๙๓ พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์
๑๙๔ พรตลอดปี ชีวิตดีตลอดไป
*** พรที่สัมฤทธิ์แก่ผู้ดำเนินชีวิตที่ดี
๑๙๕ พระกับป่า มีปัญหาอะไร
๑๙๖ พระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ (The Pali Canon: What a Buddhist Must Know)
๑๙๗ พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์
๑๙๘ พระธรรมทูตไทย เบิกทางสู่อารยธรรมใหม่
*** พระธรรมปิฎกกับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ
๑๙๙ พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ: การใช้หลักพุทธธรรมในการทำธุรกิจ
๒๐๐ พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต
๒๐๑ พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
๒๐๒ พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม
๒๐๓ พระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน
๒๐๔ พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทยฯ
๒๐๕ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน
๒๐๖ พัฒนาตน
๒๐๗ พัฒนาปัญญา (เล่าเรื่องให้โยมฟัง ชุดที่ ๒)
๒๐๘ พัฒนาวัฒนธรรมไทยในตัวคนไทย
๒๐๙ พิธีกรรม ใครว่าไม่สำคัญ
๒๑๐ พุทธธรรม (ฉบับเดิม)
๒๑๑ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
๒๑๒ พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต
๒๑๓ พุทธธรรมกับชีวิตในสังคมเทคโนโลยี
๒๑๔ พุทธธรรมกับปรัชญาการศึกษาไทยในยุคโกลาภิวัตน์
๒๑๕ พุทธบริษัทกับพระธรรมวินัย
๒๑๖ พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ ๒๑
๒๑๗ พุทธวิธีในการสอน (เดิมชื่อ เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า)
๒๑๘ พุทธศาสน์กับการแนะแนว
๒๑๙ พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ หรือ จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร?
*** พุทธศาสนากับชีวิตและสังคม
*** พุทธศาสนากับสังคมไทย
*** พุทธศาสนาจะวิกฤต ต้องคิดให้ไกล รู้ให้ทัน
๒๒๐ พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์
๒๒๑ พุทธศาสนาในอาเซีย
๒๒๒ พุทธสถาน ต่อจาก ๕๐ ปี เมื่อมีอนุสาวรีย์พระสิริมังคลาจารย์
๒๒๓ เพิ่มพลังแห่งชีวิต
๒๒๔ เพื่อความเข้าใจปัญหาพระโพธิรักษ์
๒๒๕ เพื่อความเข้าใจปัญหาโพธิรักษ์ (ฉบับย่อ-เพิ่มเติม)
๒๒๖ เพื่อความเข้าใจปัญหาโพธิรักษ์ (รวมทั้งบทความพิเศษและบทพิสูจน์)
*** เพื่อชีวิตที่ดี
๒๒๗ เพื่อชุมชนแห่งการศึกษา และบรรยากาศแห่งวิชาการ
๒๒๘ เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย
๒๒๙ โพชฌงค์: พุทธวิธีเสริมสุขภาพ (เล่าเรื่องให้โยมฟัง ชุดที่ ๓)
๒๓๐ ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
๒๓๑ ภารกิจของชาวพุทธรุ่นใหม่ ในสถานการณ์ปัจจุบัน
๒๓๒ ภาวะผู้นำ
๒๓๓ ภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมไทย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก
๒๓๔ ภูมิธรรมชาวพุทธ
๒๓๕ มรณกถา
๒๓๖ มหาวิทยาลัยกับงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา
๒๓๗ มองธรรมถูกทาง มีสุขทุกที่
๒๓๘ มองวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลก
๒๓๙ มองสันติภาพโลก: ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์
๒๔๐ มองให้ลึก นึกให้ไกล: ข้อคิดจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕
๒๔๑ มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย
๒๔๒ มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ
๒๔๓ มารู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้
๒๔๔ มุมมองสองปราชญ์ : สื่อมวลชนกับการสร้างสรรค์สังคม
๒๔๕ เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต
๒๔๖ ยิ่งก้าวถึงสุข ยิ่งใกล้ถึงธรรม
๒๔๗ ยุคโลกาภิวัตน์: บทบาทของแพทย์กับความหวังจากคนไข้
๒๔๘ ระลึกถึงความตายและวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องกับความตาย
๒๔๙ รักษาใจในยามป่วยไข้
๒๕๐ รักษาใจยามรักษาคนไข้
๒๕๑ รัฐกับพระพุทธศาสนา ถึงเวลาชำระล้างหรือยัง
๒๕๒ รัฐศาสตร์เพื่อชาติ VS รัฐศาสตร์เพื่อโลก
๒๕๓ รากฐานพุทธจริยศาสตร์ทางสังคมเพื่อสังคมไทยร่วมสมัย
๒๕๔ ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ เลื่อนลอย หรือเพื่ออะไร
๒๕๕ รุ่งอรุณของการศึกษา
๒๕๖ รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒๕๗ รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้
๒๕๘ รู้จักอเมริกา หันมาดูศักยภาพของไทย
*** รู้ไว้เสริมปัญญา และพัฒนาคน
*** รู้หลักก่อน แล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล
*** รู้ให้ถึง ทำให้ถูก
๒๕๙ เราจะกู้แผ่นดินกันอย่างไร?
๒๖๐ เริ่มวิวัฒน์ที่กลางวิกฤติ
๒๖๑ เรื่องที่คนไทยควรเข้าใจให้ถูก
๒๖๒ เรื่องเหนือสามัญวิสัย: อิทธิปาฏิหาริย์-เทวดา
๒๖๓ แรงจูงใจในการเขียนกรณีสันติอโศก
๒๖๔ โรงเรียนต้องช่วยสังคมไทย อนุรักษ์ความเจริญทางจิตใจ และก้าวไปในปัญญา
๒๖๕ ลักษณะสังคมพุทธ
๒๖๖ ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา
๒๖๗ ลุอิสรภาพด้วยอนิจจัง
๒๖๘ เล่าเรียน-ทำงานกันไป ชีวิตได้อะไร
๒๖๙ โลกขึ้นสหัสวรรษใหม่ คนต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่
๒๗๐ วัฒนธรรมกับการพัฒนา
๒๗๑ วัฒนธรรมไทย สู่ยุคเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้
๒๗๒ วาทะเพื่อการพัฒนาตน
๒๗๓ วาทะเพื่อประโยชน์สุขของพหุชน
๒๗๔ วาสนาสร้างเองได้
๒๗๕ วิถีสู่สันติภาพ
๒๗๖ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม
๒๗๗ วินัย: เรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด
*** วินัยชาวพุทธ (ไทย)
๒๗๘ วินัยชาวพุทธ (ไทย-อังกฤษ)
๒๗๙ วิสัยธรรม เพื่อเบิกนำวิสัยทัศน์
๒๘๐ เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า
๒๘๑ ศาสนาและเยาวชน
๒๘๒ ศิลปศาสตร์แนวพุทธ
๒๘๓ ศิลปศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน
*** เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
๒๘๔ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๒๘๕ สถานการณ์พระพุทธศาสนา: กระแสไสยศาสตร์
๒๘๖ สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
๒๘๗ สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย
๒๘๘ สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน
๒๘๙ สถาปนาธรรมให้เกิดมีและยืนยงในสังคม
๒๙๐ สนทนาธรรม: ชีวิต จริยธรรม กับการวิจัยทางการแพทย์
๒๙๑ สนทนาธรรมกับนักคิดชาวพุทธที่สวนโมกข์
*** สมาธิ ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้ และสมาธิแบบพุทธ
๒๙๒ สมาธิ: ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้
๒๙๓ สมาธิแบบพุทธ
*** สร้างวาสนา - เพิ่มค่าให้อายุ
*** สร้างสุขง่ายๆ ด้วยตัวเอง
๒๙๔ สลายความขัดแย้ง
*** สลายความขัดแย้ง นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๒๙๕ สอนนาค - สอนฑิต: ชีวิตพระ - ชีวิตชาวพุทธ
๒๙๖ สังคมจะเฟื่องฟู ต้องเชิดชูบัณฑิต
๒๙๗ สัจจธรรมกับจริยธรรม
๒๙๘ สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข
๒๙๙ สัมมาทิฏฐิ
๓๐๐ สัมมาสติในพุทธธรรม
๓๐๑ สัมมาอาชีวะ
๓๐๒ สามไตร
๓๐๓ สาระสำคัญของพุทธธรรม: อริยสัจจ์ ๔
๓๐๔ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์
๓๐๕ สิทธิมนุษยชน สร้างสันติสุขหรือสลายสังคม (Human Rights:Social Harmony or Social Disintegration)
๓๐๖ สืบสานวัฒนธรรมไทย บนฐานแห่งการศึกษาที่แท้
๓๐๗ สุขนี้มิไกล
๓๐๘ สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ
๓๐๙ สู่การศึกษาแนวพุทธ
๓๑๐ แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม
*** แสงทองส่องฟ้า ทั่วหล้าสดใส แสงธรรมส่องจิต ชีวิตอำไพ
๓๑๑ หน้าที่กับธรรมสู่หน้าที่เพื่อธรรม
*** หลวงพ่อเพื่อวัดเพื่อบ้าน
๓๑๒ หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่
๓๑๓ หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา
๓๑๔ หลักทั่วไปของพุทธศาสตร์
*** หลักแม่บท ของ การพัฒนาตน
๓๑๕ หลักสูตรและประมวลการสอนวิชาธรรม
๓๑๖ เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษยธรรม
๓๑๗ องค์พระรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ
๓๑๘ อมฤตพจนา
๓๑๙ อยู่ก็สบาย ตายก็เป็นสุข
๓๒๐ อัตตา-อนัตตา ในพระพุทธศาสนา
๓๒๑ อายุยืนอย่างมีคุณค่า
๓๒๒ อายุรแพทย์กับปัญหาจริยธรรม
๓๒๓ อารยธรรมไทย: ทางเลือกออกจากยุคพัฒนา
๓๒๔ อินเดียแดนเทวดา และการปฏิบัติธรรม
๓๒๕ อุดมคติของคนหนุ่มสาว
๓๒๖ อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย
๓๒๗ ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา

หมายเหตุ: *** หมายถึงหนังสือที่พิมพ์รวมเล่มแล้วตั้งชื่อใหม่ จึงไม่นับเข้าในลำดับด้วย


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 26 พ.ย. 2009, 09:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พระพรหมคุณาภรณ์
ท่านจบการศึกษาทางโลกในระดับมัธยมศึกษา โดยได้รับทุนเรียนดีของกระทรวงศึกษาธิการ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2494 สอบได้นักธรรมชั้น ตรี โท เอก และเปรียญธรรม 3 ถึง 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฐานะนาคหลวง ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งน้อยคนนัก ที่จะได้รับโอกาสเช่นนี้ เมื่อจบการศึกษาขั้นปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้วิชาชุดครู พ.ม.

ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งท่านได้สร้างความเจริญ ให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งด้านบริหาร และวิชาการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นบทบาท และภาวะสังคมที่เพิ่มขึ้นของสงฆ์ รวมทั้งสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนไว้ในหลักสูตร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดพระพิเรนทร์ในปีพ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2519 จากนั้นจึงได้มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

ท่านได้อุทิศตนให้กับการเผยแพร่พระศาสนา ทั้งด้านการบรรยาย ทางวิชาการ การแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดจนงานด้านนิพนธ์ เอกสารวิชาการ และตำราต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หนังสือ "พุทธธรรม" ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "มรดกธรรมอันล้ำค่าแห่งยุค" ที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง

นอกจากงานด้านนิพนธ์แล้ว ท่านยังได้รับการอาราธนาให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาในการประชุม นานาชาติขององค์กรระดับโลกต่าง ๆ หลายครั้ง อีกทั้งยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น รางวัล "สังข์เงิน" สาขาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปีพ.ศ.2533 รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพปีพ.ศ.2537 จากยูเนสโก นับเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรติให้รับรางวัลนี้ ซึ่งนับเป็นการสร้างเกียรติประวัติ และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก

ท่านดำรงชีวิตแบบ เรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความสำคัญ และความสนใจแก่ผู้ที่เข้าพบโดยไม่เลือกชาติ ศาสนา ผิวพรรณ และเพศ เป็นพระสงฆ์ที่ทำคุณประโยชน์ต่อวงการพระพุทธศาสนา และสังคมของมวลมนุษย์อย่างหาที่เปรียบได้ยาก

อ้างอิง
Web Link : http://www.papayutto.org/
http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?g ... EWSID=1754
http://www.thawsischool.com/weblink.html

:b8: :b8: :b8:
อยากได้ภาพประกอบด้วยครับท่านใดมีช่วยกรุณาด้วย

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร