วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b42: ประวัติพระอาจารย์ใหญ่ :b42:

พระอาจารย์ มีนามเดิมว่า หม่องขิ่น ถือกำเนิดในสกุล ตวยเต้าจี้ ซึ่งเป็นสกุลขุนนางชั้นสูงของพม่า พระอาจารย์เกิดเมื่อ ๑ ๗ฯ ๘ ปีกุน พุทธศักราช ๒๔๕๔ ที่ตำบลจวนละเหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ ประเทศพม่า โยมบิดามีนามเดิมว่า อุโพอ้าน โยมมารดามีนามว่า ดอร์เปียว มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

ชีวิตในช่วงปฐมวัย
พระอาจารย์ได้รับการศึกษาขั้นต้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ อายุได้ ๗ ปี เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่หลักสูตร นะโม พุทธายะ สิทธัง ไปจนถึงทศมหาชาดก ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานการศึกษาที่กุลบุตรของพม่าจะต้องเรียนในสมัยนั้น

พระอาจารย์ได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์
พระอาจารย์ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ อายุได้ ๑๕ ปี โดยมีพระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดโชติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และในเวลาต่อมาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า อาสโภ ณ พัทธสีมาวัดจวนละ เหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะดุกกู่ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๗๓ โดยมี
- พระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์
- พระภัททันตะ อูเกลาสมหาเถระ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พระภัททันตะ อูปัญญามหาเถระ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ภาคคันถะธุระ
พระอาจารย์ได้รับการศึกษา ดังนี้คือ
๑. ระเบียบวินัย ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ
๒. ไวยากรณ์บาลีมหากัจจายน์
๓. อภิธรรมมัตถสังคหอรรถกถา
๔. ศึกษาปริยัติธรรมชั้นสูงที่มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย

วุฒิธัมมาจริยะ
เมื่ออายุได้ ๒๗ ปี ๗ พรรษา พระอาจารย์สอบได้วุฒิชั้น “ธัมมาจริยะ” ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดแห่ง การศึกษาคณะสงฆ์พม่า

ตำแหน่งในมหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย
ได้รับความเห็นชอบ มีมติเอกฉันท์จากบรรดาพระมหาเถระปาติโมกข์แห่งมหาวิทยาลัยให้ ดำรงตำแหน่ง “คณะวาจกสะยาดอร์” คือ เป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ประจำมหาวิทยาลัยมีหน้าที่ให้การศึกษาพระไตรปิฎก บาลี อรรถกถา ฎีกา และพระคัมภีร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นต้นมา

ภาควิปัสสนาธุระ
๑. เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดสวนลน จังหวัดเมียนฉั่น โดยมีท่านพระอาจารย์ ภัททันตะ กวิมหาเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ เป็นผู้บอกกรรมฐานให้
๒. เดินทางไปเข้าวิปัสสนากรรมฐานต่อ ณ วัดมหาสี ตำบลเชตโข่น จังหวัดสวยะโบ่ ซึ่งเป็นสำนักของมหาสี สะยาด่อร์

ตำแหน่งพระวิปัสสนาจารย์
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระอาจารย์ได้รับการถ่ายทอดวิชา “วิปัสสนาจารย์” จาก พระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต (มหาสี สะยาด่อร์) ผู้เป็นพระปรมาจารย์ต้นตำรับ “พองหนอ ยุบหนอ” และได้รับมอบหมายให้เป็นวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักมหาสีสาสนยิสสา แห่งนครย่างกุ้ง

ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) มีความประสงค์จะวางรากฐานวิปัสสนาธุระไว้ ณ ประเทศไทยจึงได้แสดงความจำนงไปยังสภาพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอให้จัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย สภาการพุทธศาสนาแห่งประเทศพม่าจึงมอบหมายให้ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต เป็นผู้พิจารณาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามความต้องการของสมเด็จพระ พุฒาจารย์ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิตพิจารณาโดยรอบคอบแล้วจึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะเป็นผู้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทย รับหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ พระอาจารย์ภัททันตะอาสภเถระ ธัมมจาริยะได้รับอาราธนาจากนายธรรมนูญ สิงคารวณิช และพระภิกษุเดือน เนื่องจำนงค์ ให้มาเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานประจำสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม

ผลงานรจนาหนังสือธรรมะ
แม้ว่าพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ จะมีหน้าที่ในการบอกกรรมฐานแก่ศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว แต่ก็ยังอุตสาหะรจนาหนังสือธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นภาษาไทยไว้ดังต่อไปนี้
๑. แว่นธรรมปฏิบัติ
๒. แนวปฏิบัติวิปัสสนา
๓. หลักการเจริญวิปัสสนา
๔. ปฏิจจสมุปบาทจักกเทศนา
๕. วิปัสสนาทีปนีฎีกา

รวมระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ พำนัก ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ( ๑๐ ปี )
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ พำนัก ณ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (๓๗ ปี)
๑ มีนาคม ๒๕๔๒ ย้ายมาพำนัก ณ สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ( ๓ ปี )
๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ - ปัจจุบัน พำนัก ณ วัดภัททันตะอาสภาราม ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ปัจจุบันเป็นประธานสงฆ์ และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระพำนัก ณ วัดภัททันตะ- อาสภาราม สิริรวมชนมายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๓ แม้จะมีโรคาพาธเบียดเบียนบ้าง แต่สุขภาพโดยรวมยังมีสภาพที่สมบูรณ์ ท่านได้อาศัยเวลาส่วนใหญ่บอกสอน และแนะนำมวลศิษย์อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนอาจกล่าวได้ว่าชั่วชีวิตของท่านได้ทุ่มเทให้แก่งานด้านวิปัสสนาธุระอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาแล้วกว่า ๕๐ ปี จริง ๆ แล้ววัยนี้ควรจะเป็นวัยที่ท่านจะได้พักผ่อน แต่ด้วยอาศัยความเมตตากรุณา ที่ท่านมีต่อผู้สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยท่านก็มิได้ย่อท้อแต่ประการใด ท่านจะมีความสุขกับการได้ให้ธรรมะที่เป็นสาระแก่นสารแก่ทุก ๆ คน ที่มีโอกาสแวะเวียนมากราบเยี่ยมเยือนและปฏิบัติธรรมกับท่านเสมอ ๆ
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ประวัติความเป็นมาของวัด :b42:

วัดภัททันตะอาสภารามเป็นวัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยคณะศิษย์ได้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ด้วยความศรัทธาอันมีต่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตจากประเทศพม่า เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ จากการอาราธนาของคณะสงฆ์และรัฐบาลไทยในสมัยนั้น

วัดภัททันตะอาสภารามได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีวัตถุประสงค์ในการตั้งวัด ดังนี้

เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน และประกาศเกียรติคุณของพระอาจารย์ใหญ่ให้เป็นที่ปรากฏ

เพื่อเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐาน สานต่องานของพระอาจารย์ใหญ่ต่อไป

เพื่อเป็นวัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยคัมภีร์มหาสติปัฏฐาน ๔

เพื่อให้บริการ และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแก่สาธุชนทั่วไป

เพื่อเป็นที่ฝึกปฏิบัติ และพัฒนาบุคลากรด้านวิปัสสนากรรมฐาน
วัดนี้ได้รับการบริจาคที่ดินจำนวน ๒๗ ไร่ ๒ งาน จากนายสัตวแพทย์ จำเรือง พานเพียรศิลป์ อนึ่ง คุณเกษมศรี อนัมบุตร ได้ซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันเพิ่มอีกจำนวน ๒ ไร่ ๘๖ ตารางวา และสร้างเสาพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อแสดงถึงความมั่นคงของวัดในพระพุทธศาสนา

ปัจจุบัน วัดภัททันตะอาสภารามได้ใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมพระสังฆาธิการสนองงานคณะสงฆ์ และเป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของบุคลากรจากหน่วยราชการต่างๆ ตลอดจนฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป สามารถรองรับผู้เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้ประมาณ ๕๐๐ รูป/คน โดยมี พระอธิการสมศักดิ์ โสรโท เป็นเจ้าอาวาส

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน :b42:

วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเป็นศาสตร์เดียวที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลส ตั้งแต่เบาบางจนกระทั่งหมดจด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง

วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ + ปัสสนา"
วิ แปลว่า แจ้ง, จริง, วิเศษ
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา)

เมื่อกล่าวโดยความหมาย คือ
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม, อริยสัจจ์
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด (อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ)

กรรมฐาน มาจากคำว่า "กรรม + ฐาน"

๑. กรรม หมายถึง การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย

๒. ฐาน หมายถึง ที่ตั้ง ในที่นี่มุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: วิธีสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน :b42:

๑. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมกายและจิตใจให้พร้อม
๒. เตรียมดอกไม้ธูปเทียน (ถ้ามี) เพื่อขอสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๓. แต่งกายสุภาพ (ชุดขาว) กิริยาท่าทางสำรวม ไม่ควรพูดคุยกัน
๔. เมื่อถึงที่ขึ้นกรรมฐานกราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้นกราบพระอาจารย์อีก ๓ ครั้ง ประเคนพานดอกไม้ธูปเทียน เสร็จแล้วกล่าวคำสมาทานศีล ๘ ดังนี้...
๕. มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
( ถ้าคนเดียวว่า อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ ) (ทุติยัมปิ, ตะติยัมปิ, ก็ว่าเช่นเดียวกัน)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
๖. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว นโม ตัสสะฯ ๓ จบ จากนั้นให้กล่าวตาม ๓ จบ
๗. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว ไตรสรณคม ให้กล่าวตามว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อกล่าวตามจบแล้ว พระอาจารย์จะกล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”
ให้กล่าวรับว่า “อามะ ภันเต”
๘. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว สิกขาบท ๘ ข้อ ให้กล่าวตามเป็นข้อๆ ดังนี้....
๙. (๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักขโมย
(๓) อะพรัหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการประพฤติผิดอันมิใช่พรหมจรรย์
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการพูดคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ
(๕) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการดื่มสุรา และสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงวันจนกระทั่งถึงวันใหม่
(๗) นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะณะ วิภูสะณัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฟ้อนร่ำขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ ตลอดจนลูบไล้ ทัดทรงด้วยการประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาทุกชนิด
(๘) อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
๑๐. กล่าวคำมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย ดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๑. กล่าวคำถวายตัวเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์
อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว ต่อพระอาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๒. กล่าวคำขอพระกรรมฐาน
นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ
ข้าแต่ท่านพระอาจารย์ผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งวิปัสสนากรรมฐาน แก่ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ณ ปัจจุบันกาลนี้ด้วย เทอญ
๑๓. ตั้งความปรารถนา
อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา รัตตะนะตะยัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนี้ และด้วยสัจวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถบรรลุผลสมปรารถนา ในเวลาอันไม่ช้าด้วย เทอญฯ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ยืน) :b42:

การยืนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติ
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ
๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการยืน
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔.ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เดิน) :b42:

การเดินจงกรม

ความหมาย การเดินจงกรมไม่ใช่การเดินชมธรรมชาติหรือเดินเพื่อการผ่อนคลายร่างกายหรือจิตใจ แต่การเดินจงกรมหมายถึง การเดินไปและเดินกลับอย่างมีสติ เพื่อปรับแต่งอิริยาบถฯ และอินทรีย์ให้มีความเสมอกัน
ก. หลักการปฏิบัติ
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ.
เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่
ข. วิธีปฏิบัติ
๑. สายตาเตรียมไว้มองไกลประมาณ ๒ - ๓ เมตร
๒. จิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติกำหนดรู้
๓. คำบริกรรมในใจกับอาการเคลื่อนไหวต้องไปพร้อมกัน
๔. ขณะที่เดินอยู่ ถ้ามีสภาวธรรมอย่างอื่นที่ชัดเจนมากกว่าแทรกเข้ามา ควรหยุดกำหนดอาการเดินชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนดอาการเดิน ต่อไป
๕. เดินช้า ๆ แต่อย่าบังคับมาก จิตใจจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง
ค.สิ่งที่ควรจะงดเว้นขณะเดินจงกรม
๑. ไม่นิยมหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์
๒. ไม่ควรก้มมากเกินไป หรือจดจ้องจนปวดต้นคอ
๓. ไม่เชิดหน้า หรือเดินแกว่งแขน
๔. ไม่เกร็งเท้าหรือขาจนเกินไปในขณะเดิน
๕. ไม่บริกรรมสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับสภาวะของการเดิน
๖. ไม่เพ่งสัณฐานบัญญัติของเท้า หรือกำหนดพอง-ยุบ
ง. ข้อยกเว้นบางกรณี
๑. เดินเร็ว ๆ เพื่อแก้ความง่วง
๒. เดินช้ามาก ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิและเห็นการเกิดดับชัดเจน
๓. ออกเสียงหรือบริกรรมด้วยวาจา เป็นการฝึกให้รู้วิธีปฏิบัติเท่านั้น
๔. เดินมองธรรมชาติเพื่อแก้สภาวะบางอย่าง
๕. ทำกายบริหารเพื่อการผ่อนคลายเป็นบางครั้ง


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๑
( ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ )

ให้กำหนดรู้อาการยืนก่อน ๓ ครั้ง ตามองไปไกลประมาณ ๒ เมตร ลำตัวตั้งตรง คอตรง ลืมตาเพียงครึ่งเดียว มือไขว้หลังจากนั้นเอาสติไปจับที่เท้าซ้าย หรือขวาก็ได้แล้วแต่ความถนัด ขณะบริกรรมในใจว่า ขวา จิตจะจดจ่อที่เท้าขวา เข่างอนิดหน่อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะเดิน ไม่นิยมยกเท้า เพราะจะไปซ้ำกับระยะต่อไป ขณะบริกรรมในใจว่า ย่าง เท้าต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ขาและเข่าตรง ขณะบริกรรมในใจว่า หนอ เท้าต้องหยุดการเคลื่อนที่โดยทันที ขณะที่เท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าน้ำหนักตัวจะถูกถ่ายเทไปยังเท้าอีกข้างหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม เช่น ขวาย่างหนอ การรับน้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านซ้าย ในขณะที่เท้าซ้ายเคลื่อนไป น้ำหนักจะอยู่ที่เท้าด้านขวา ส่วนของการเดินในระยะต่อ ๆ ไป การถ่ายเทน้ำหนักตัวก็มีลักษณะเหมือนกัน
ในทีนี้นักปฏิบัติไม่ต้องแยกคำบริกรรมเป็น ๓ ช่วง เช่น ขวา, ย่าง, หนอ เพราะจะทำให้ไปซ้ำกับการเดินในระยะที่ ๓ คำบริกรรมต้องเนื่องกันไป จนการเคลื่อนที่ไปของเท้าสิ้นสุดลง การเดินในระยะนี้จะเกิดการผ่อนคลายได้ดี และใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด อย่าพยายามบังคับให้ช้าหรือเร็วจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เกร็ง ตึง และเครียดมากจนเกินไป การเดินในระยะนี้จะไม่ช้ามากนัก เพราะเป็นการกำหนดรู้เพียงอาการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น ถ้าบังคับมากจนเกินไป อาจจะไม่ส่งผลดีแก่นักปฏิบัติเท่าที่ควร
การเดินในระยะนี้จะมีความรู้สึกผ่อนคลายค่อนข้างมาก ถ้าเดินแล้วเครียดหรือรู้สึกกดดันมากควรจะพิจารณา หรือเฝ้าสังเกตดูให้ดีว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น จ้องมากเกินไป เพ่งมากเกินไป บังคับการเดินให้ช้าเกินสภาพความเป็นจริง เพื่อสนองความต้องการของตน หรืออยากให้ได้ให้เป็นตามที่วิปัสสนาจารย์แนะนำมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สอดคล้องกับสภาพความจริงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ประเด็นเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดหรือกดดัน เมื่อทราบแล้วค่อยๆ แก้ไข ผ่อนคลายความรู้สึกเหล่านั้น พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของแต่ละบุคคล จะทำให้การปฏิบัติของท่านก้าวหน้าและดียิ่งขึ้น
การเดินในจังหวะที่ ๑ อาจใช้เวลานานหลายวัน ไม่ใช่เพียงวันเดียวอย่างที่บางท่านเข้าใจ การขึ้นหรือเพิ่มระยะใหม่จริงๆแล้วต้องคำนึงถึงสภาวะญาณที่หยั่งรู้รูปนามตามความเป็นจริงคือ สามารถแยกรูป–นามออกจากกันได้ (นามรูปปริเฉทญาณ) อย่างชัดแจ้ง จึงจะเพิ่มระยะของการเดินและการกำหนดให้ เพื่อต้องการให้นักปฏิบัติเข้าใจในวิธีปฏิบัติจากนั้นก็นำไปปฏิบัติกันเอง โดยพยายามบ่มเพาะสติปัญญากันไปเรื่อยๆ บ่อยๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดญาณหยั่งรู้ด้วยตนเองอย่างชัดแจ้ง จึงค่อยเพิ่มระยะในการเดินต่อไป เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดวิปัสสนาจารย์จะต้องตรวจสอบด้วยการซักถามอย่างละเอียด และนักปฏิบัติก็ต้องตอบตามความเป็นจริงในขณะปฏิบัติ ห้ามจำจากหนังสือหรือจากผู้อื่นมาตอบ ถ้าเป็นเช่นนี้ชื่อว่าไม่รักษาประโยชน์ตน โอกาสในการบรรลุธรรมของท่านก็จะน้อยลงไป ใส่ใจสักนิด อย่าทำผิดด้วยการโกหกตนเอง


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๒
( ยกหนอ เหยียบหนอ )

เมื่อกำหนดอาการยืน และต้นจิต คือ อยากเดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอาจิตไปกำหนดอาการยกของเท้าซ้ายหรือขวาก็ได้ ในขณะที่เท้ายกขึ้นกำหนดว่า “ยกหนอ” การกำหนดหนอนั้นให้พร้อมกับการสิ้นสุดลงของการยก ข้อสำคัญไม่ควรที่จะยกเท้าสูงจนกระทั่งเลยข้อเท้าขึ้นไป หรือก้าวเท้ายาวจนเกินไป ขณะปล่อยเท้าลงวางแนบกับพื้นกำหนดว่า “เหยียบหนอ” พร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ การเดินในระยะที่ ๒ นี้ จุดสำคัญที่ต้องเอาใจใส่อยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของการยกและเหยียบ ถึงแม้จะมีความรู้สึกขณะวางเท้าลงเหมือนมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้านิดหน่อย แต่นักปฏิบัติไม่ต้องเอาใจใส่ ให้มนสิการแต่เพียงอาการยกและเหยียบเท่านั้น
การเดินจงกรมในจังหวะนี้บางท่านมีความรู้สึกว่าอึดอัด ไม่เป็นธรรมชาติวิปัสสนาจารย์บางท่าน จึงแนะนำให้นักปฏิบัติผ่านไปเดินในจังหวะที่ ๓ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าใส่ใจอย่างระมัดระวัง และแยบคาย ( โยนิโสมนสิการ ) สักหน่อย ท่านจะค้นพบธรรมชาติอย่างวิเศษของการเดินในระยะนี้ เพราะมีความถี่มาก มีลักษณะของการยืดหยุ่น และผ่อนคลายในขณะยก – เหยียบ ส่วนระยะเวลาของการเดิน ไม่แน่นอนถ้าถือตามหลักเกณฑ์จริง ๆ โยคีจะต้องเกิดญาณหยั่งรู้เหตุปัจจัยของรูป – นาม ( ปัจจยปริคคหญาณ ) อย่างชัดแจ้งเสียก่อน จึงจะเพิ่มจังหวะของการเดินให้ การเดินจงกรมจังหวะนี้ มีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ การกำหนดรู้ต้นจิต คือคำว่า “อยาก” ในที่นี้มิได้หมายถึงอยากชนิดเป็นตัณหา แต่หมายเอาเจตนาความตั้งใจที่เป็นกุศลในขณะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นการบำเพ็ญเพียร เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
ส่วนใหญ่นิยมกำหนดก่อนจะเดิน ๓ ครั้ง ตัวอย่างเช่น อยากเดินหนอ ๆ จากนั้นจึงเดินจงกรมต่อไป


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๓
คำบริกรรม: ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

วิธีปฏิบัติ
เมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนสิ้นสุดลง ให้เอาสติไปจดจ่อที่อาการยกขึ้นของเท้าพร้อมกับกำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าเข่าจะงอเล็กน้อย ส้นเท้าปลายเท้าจะยกขึ้นพร้อมๆ กัน แต่ไม่สูงจนเลยข้อเท้า จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ และกำหนดว่า “ย่างหนอ” การเคลื่อนไปของเท้านั้นไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้การทรงตัวไม่ดี ความห่างระหว่างเท้าไม่มากกว่าหนึ่งฝ่าเท้า เพราะถ้าชิดกันเกินไปจะทำให้เกิดอาการซวนเซได้ และน้ำหนักตัวจะไม่สม่ำเสมอกัน เมื่อสิ้นสุดการก้าวย่างแล้วให้วางเท้าลงแนบชิดกับพื้นอย่างช้าๆ พร้อมกับการกำหนดรู้ด้วยสติว่า “เหยียบหนอ” หนอนั้นให้กำหนดพร้อมกับการสิ้นสุดของการเหยียบ ไม่ก่อนหรือหลัง
นักปฏิบัติที่กำหนดเดินจงกรมจังหวะนี้จะมีความประจักษ์แจ้งอยู่อย่างหนึ่งว่า รูป-นามที่ตนเองกำหนดอยู่นี้ มีลักษณะไม่เที่ยง (อนิจจตา) มีลักษณะบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเป็นทุกข์ (ทุกขตา) ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หรือทนยากอันเนื่องมาจากสภาพที่ถูกบีบคั้นจากเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ส่อแสดงให้รู้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริงว่า ไม่ใช่ตัวตัวตน (อนตฺตตา) บังคับบัญชาไม่ได้ การเดินจงกรมในระยะที่ ๓ นี้ นักปฏิบัติจะได้ตระหนักรู้สภาวลักษณะดังกล่าว


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๔
คำบริกรรม : ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

วิธีปฏิบัติ
เมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืน และกำหนดรู้ต้นจิตว่า “อยากเดินหนอ” ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นก็เอาใจใส่อาการยกส้น โดยกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” ลักษณะของการยกส้นไม่ควรยกสูงจนเลยข้อเท้าขึ้นไป จากนั้นตามดูอาการเคลื่อนไหวของการยกเท้ากำหนดว่า “ยกหนอ” ลักษณะของการยกเท้าให้กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ จากนั้นให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ย่างหนอ” จากนั้นวางเท้าลงสติจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหวขณะที่เท้าแนบชิดกับพื้นและสิ้นสุดลง กำหนดว่า “เหยียบหนอ”


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๕
คำบริกรรม :ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ

วิธีปฏิบัติ
เมื่อนักปฏิบัติกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิต ๓ ครั้งแล้ว จากนั้นกำหนดรู้อาการยกขึ้นของส้นเท้า เข่าจะงอนิดหน่อย โดยตั้งใจเอาสติกำหนดรู้ที่อาการยกส้นว่า “ยกส้นหนอ” พยายามกำหนดให้ทันกับอาการเคลื่อนไหว อย่าให้ก่อนหรือหลัง จากนั้นค่อยๆ กระดกปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดอาการเคลื่อนไหวนั้นว่า “ยกหนอ” เมื่อการยกสิ้นสุดลง ให้เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าจิตจดจ่อที่อาการเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้านั้นกำหนดว่า “ย่างหนอ” เสร็จแล้วค่อยๆปล่อยเท้าลงไปเล็กน้อยแต่ยังไม่ถูกพื้น โดยเท้าจะขนานกับพื้นในขณะที่เท้าเคลื่อนที่ลงไปกำหนดว่า “ลงหนอ” จากนั้นวางเท้าแนบกับพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “ ถูกหนอ” ให้พอดีกันไม่ให้ถูกก่อนหรือหลังเพราะจะไม่ได้สมาธิหรือ ทันปัจจุบัน


วิธีเดินจงกรมระยะที่ ๖
( ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ )

เมื่อกำหนดรู้อาการยืนและต้นจิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักปฏิบัติก็ตั้งใจจดจ่อที่อาการยกส้นขึ้นอย่างช้าๆ พร้อมกับกำหนดว่า “ยกส้นหนอ” จากนั้นกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ขึ้นอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ยกหนอ” เมื่อเคลื่อนเท้าไปข้างหน้ากำหนดว่า “ย่างหนอ” ต่อจากนั้นกำหนดรู้อาการปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ กำหนดว่า “ลงหนอ” หยุดนิดหนึ่งเท้าจะขนานกับพื้นแต่ยังไม่ถูกพื้น จากนั้นให้กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของปลายเท้าที่ค่อยๆ เคลื่อนลงไปจนกระทั่งถูกพื้น แต่ส้นเท้ายังไม่ถูกพื้นกำหนดว่า “ถูกหนอ” ต่อไปก็ให้เอาสติไปจนจ่อที่อาการเคลื่อนไหวของส้นเท้าที่ค่อยปล่อยลงไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งถึงพื้นพร้อมกับกำหนดว่า “กดหนอ” หรือจะปล่อยเท้าลงอย่างช้าๆ จนถูกพื้น โดยกำหนดว่า “ถูกหนอ” ขณะทีกดเท้าลงไปที่พื้นให้กำหนดอาการกดพร้อมกับบริกรรมว่า “กดหนอ” ดังนี้

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (นั่ง) :b42:

การนั่งกำหนด


การนั่งกำหนด ๒ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ
นักปฏิบัติจงเลือกนั่งสมาธิในท่าที่ตนเองถนัด ( เรียงขา ขาทับกัน ขัดสมาธิเพชร ) จากนั้นให้วางมือซ้อนกันนิ้วหัวแม่มือจะชิดกันก็ได้ ยืดกายให้ตั้งตรง อย่ายืดมากจนรู้สึกว่าเกรงพยายามให้ผ่อนคลาย หลับตาลงเบาๆจากนั้นให้กำหนดรู้อาการพอง – ยุบ บริกรรมในใจว่า พองหนอ สติต้องตามระลึกรู้อาการตั้งแต่ท้องเริ่มพอง ขณะอาการพองตั้งอยู่ ขณะที่พองหายไป ยุบหนอก็ให้กำหนดตั้งแต่เริ่มยุบ ขณะอาการยุบตั้งอยู่ และยุบหายไป คำบริกรรมและอาการพอง – ยุบต้องตรงกันอย่างสอดคล้อง ไม่ใช่พอง – ยุบหายไปแล้วจึงค่อยบริกรรมตามหลัง หรือพอง – ยุบยังไม่ปรากฏก็บริกรรมไปก่อนเสียแล้ว ส่วนหนอนั้นบริกรรมต่อท้ายเมื่ออาการนั้นๆสิ้นสุดลงพร้อมกัน หมายเหตุ สำหรับนักปฏิบัติที่กำหนดอาการพองยุบได้ยากแนะนำให้กำหนด อาการนั่งหนอ อาการถูกหนอ ซึ่งจัดเป็นการนั่งกำหนด ๒ ระยะเช่นกัน
การนั่ง ๓ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓ นั่งหนอ
นักปฏิบัติที่สามารถกำหนดอาการพอง – ยุบ ๒ ระยะได้ชัดเจนแล้ว และมีสภาวะที่อื้อต่อการเพิ่มระยะของการนั่ง เช่นขณะที่กำหนดอาการยุบหนอนั้นอาการพองค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาอย่างช้าๆ จนทำให้เกิดช่องว่างหรือมีที่ห่างพอจะใส่คำกำหนดว่า “นั่งหนอ”ได้ การใส่คำบริกรรม นั่งหนอ ต้องกำหนดให้เร็วขึ้นนิดหน่อยก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมา ถ้าอาการพองปรากฏขึ้นมาแล้วจะใส่คำบริกรรมว่านั่งหนอไม่ได้
ข้อควรระวัง บางท่านไม่เข้าใจก็ไปบังคับไม่ให้ท้องพอง ซึ่งเป็นการฝืนสภาวะความเป็นจริงจะทำให้รู้สึกแน่นอึดอัด หายใจลำบากและเหนื่อยมาก จริงๆ แล้วเมื่อสภาวะของสมาธิถึงแล้วจะมีช่องว่างพอเพียงที่จะใส่คำบริกรรมได้ การกำหนดอาการนั่งหนอให้กำหนดเพียงรู้อาการนั่งเท่านั้น ( อาการของกายท่อนล่างคู้งอ กายท่อนบนตั้งตรง ) ความรู้สึกตัวว่านั่งอยู่ชั่วแวบเดียว ไม่ต้องถูกที่ใดๆ เลย
การนั่งกำหนด ๔ ระยะ และวิธีปฏิบัติ
คำบริกรรม ๑ พองหนอ, ๒ ยุบหนอ, ๓นั่งหนอ, ถูกหนอ
นักปฏิบัติที่ผ่านการกำหนดพอง - ยุบ 3 ระยะมาแล้ว ถ้าช่องว่างหรือยังมีที่ห่างมากพอที่จะเติมคำบริกรรมว่าถูกหนอได้อีก ก่อนที่อาการพองจะปรากฏขึ้นมาก็ให้เพิ่มคำบริกรรมนี้เข้าไปจะได้พอดีกัน การกำหนด ถูกหนอ ให้กำหนดอาการถูกหนอที่ ก้นย้อยทางขวา โดยให้กำหนดรู้เพียงอาการถูกต้องสัมผัสเพียงด้านเดียวก่อน เพราะถ้ากำหนดทั้งสองด้านอาจจะทำให้สับสนหรือเกิดอาการมึนงงได้ เมื่อมีสภาวะที่เกื้อกูลและเหมาะสมแล้ว จึงจะให้การกำหนดย้ายถูกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวิปัสสนาจารย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีกำหนดแก่นักปฏิบัติเอง


ก. หลักการปฏิบัติ
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา.
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติเข้าสู่อารมณ์ (กรรมฐาน) เฉพาะหน้า
ข. วิธีปฏิบัติ
๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง
๒. ต้องมีสติระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหวของท้องพอง-ยุบ
๓. จิตใจจดจ่อและแนบชิดที่อาการขึ้นๆ ลงๆ ของท้องพอง-ยุบ
๔. วางจิตกำหนดที่ตรงสะดือขณะที่กำหนดควรหลับตา
๕. ใช้จิตเพียรดูอาการเคลื่อนไหวบริเวณท้อง
๖. ขณะที่ท้องพองขึ้นกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “พองหนอ”
๗. ขณะที่ท้องแฟบลงกำหนด บริกรรมในใจ ว่า “ยุบหนอ”
๘. จิตที่รู้อาการพอง-ยุบ กับคำบริกรรม และสติที่ระลึกรู้ควรให้พร้อมกัน
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะนั่งกำหนด
๑. ไม่นั่งตัวงอ เอนเอียง หรือก้มศีรษะ (เว้นแต่มีสภาพร่างกายเป็นเช่นนั้น)
๒. ไม่เปล่งเสียงหรือบ่นพึมพำในขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ
๓. ไม่ควรลืมตาเพื่อสอดส่ายหาอารมณ์ภายนอก
๔. ไม่ควรพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยจนเกินไป
๕. ไม่ควรนั่งพิงเก้าอี้ พนักพิง เสา (ยกเว้นแก้สภาวะ)
สรุปกา ๖. ไม่ควรนำคำบริกรรมที่ไม่ตรงตามสภาวธรรมที่เป็นจริงมาใช้ เช่นในขณะที่ปวด บริกรรมว่า ไม่ปวดหนอ ๆ เป็นต้น
๗. ไม่ควรบังคับลมหายใจเข้า-ออก เพื่อหวังจะกำหนดอาการพอง-ยุบ พยายามกำหนดให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
ง. นักปฏิบัติที่กำหนดอาการพอง-ยุบได้ยากควรกระทำ ดังนี้
๑. ใช้ฝ่ามือแตะที่หน้าท้องตรงบริเวณสะดือเพียงเบา ๆ
๒.รู้อาการเคลื่อนไหวของท้องขณะที่มีอาการพองดันมือขึ้น บริกรรมในใจว่า “พองหนอ”
๓.ขณะอาการดังกล่าวละจากฝ่ามือของเราไปพึงตั้งสติกำหนดว่า “ยุบหนอ”
๔. กำหนดรู้อาการนั่งหนอ ถูกหนอ แทนอาการพอง-ยุบหรือบริกรรมในใจเพียงรู้อาการนั่งก็ได้ (สำหรับผู้เคยทำอานาปานฯมาก่อนแนะนำให้ใช้วิธีนี้)
๕. กำหนดรู้อาการถูกตรงก้นย้อยขวาสัมผัสพื้น โดยบริกรรมว่า “ถูกหนอ”
๖. สำหรับบางท่านขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ มักจะใส่หนอไม่ทันก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพียรพยายามกำหนดรู้ตามอาการนั้นๆ เมื่อวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้น จะสามารถใส่หนอได้เอง
๗. พยายามคลายเครื่องนุ่งห่มให้หลวม อาจช่วยให้การกำหนดพอง-ยุบได้ง่าย
๘. นอนหงายวางมือขวามือซ้ายซ้อนกันบนหน้าท้อง จากนั้นเฝ้าดูอาการพอง-ยุบอย่างมีสติ
การกำหนดดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางร่างกาย อนุโลมลงได้ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามระลึกรู้กายในกาย โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ในคัมภีร์มหาสติปัฎฐานสูตร หมวดอิริยาบถว่า ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะ กาโยปะณิหิโต โหติ, ตะถา ตะถา นัง ปะชานาติ กายของ (ภิกษุ/โยคี) ดำรงอยู่โดยอาการใดๆ ก็กำหนดรู้กายนั้นโดยอาการนั้นๆ (ที. มหา ๑๐/๑๐/๓๗๕/๒๔๙) การกำหนดอาการพอง-ยุบ จัดเป็นอาการที่ปรากฏในส่วนแห่งร่างกาย พร้อมกันนี้การกำหนดพอง-ยุบ ยังเป็นการกำหนดวาโยโผฏฐัพพะรูป ซึ่งอาจจะกล่าวโดยอนุโลมได้ว่าเป็นการกำหนดอานาปานโดยอ้อมเช่นเดียวกัน อีกนัยหนึ่งการกำหนดรู้อาการพอง-ยุบ เป็นการกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของธาตุลม (กุจฉิสยวาโย ลมในท้อง) พอง – ยุบ เป็นรูป จิตที่กำหนดรู้เป็นนาม ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานด้วยเช่นกัน

ความหมายของการกำหนดรู้

การกำหนด หมายถึง การเอาจิตเข้าไปจดจ่อเฝ้าดูสภาวธรรมอันปรากฏขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยปราศจากการคิดนึกพิจารณาปรุงแต่ง หรือเพิ่มเติมสิ่งใดๆ ลงไปในทุกๆ ขณะที่มีการกำหนด
ขณะที่นักปฏิบัติกำหนดอาการพอง - ยุบ อาจมีอารมณ์แทรกปรากฏขึ้นชัดเจนกว่า ควรละการกำหนดอาการพอง - ยุบ ชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนอาการพอง - ยุบ ต่อไป เมื่อครบตามกำหนดเวลาที่ตั้งใจจะนั่ง เช่น 5, 10, 20, 30,45,60 นาที จึงกำหนดเปลี่ยนอิริยาบถไปเดินจงกรม เพื่อปรับแต่งอิริยาบถและอินทรีย์ 5 ให้มีความสม่ำเสมอกัน
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (นอน) :b42:

การนอนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติ
สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ.
นอนอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้านอนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ
๑.มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้ในอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
๒. ขณะเอนกายลง เพื่อจะนอนพึงกำหนดว่า “เอนหนอ ๆ ๆ”
๓. ขณะที่ข้อศอก ตะโพก แผ่นหลัง ศีรษะหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสพื้น พึงกำหนดทันทีว่า “ถูกหนอๆ ๆ”
๔. ขณะที่นอนแบบตะแคงขวาหรือหงายขนานราบกับพื้นพึงกำหนดไว้ในใจว่า “นอนหนอๆ”
๕. เมื่อนอนลงไปเรียบร้อยแล้ว พึงหลับตาและเริ่มกำหนดคือเอาจิตไปจดจ่อที่อาการเคลื่อนไหว ขึ้นลงของท้องขณะท้องพองขึ้น กำหนด ว่า “พองหนอๆ ๆ” ขณะใดท้องแฟบลงกำหนดว่า “ยุบหนอ” ขณะใดท้องพองขึ้นก็กำหนดว่า “พองหนอ” หรือกำหนด นอนหนอ ถูกหนอ ตามควรแก่สภาวะ หรือระยะนั้นๆ จนกระทั่งหลับไปอย่างมีสติ เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้น จึงเริ่มต้นการกำหนดอย่างต่อเนื่องต่อไป
ค.สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการนอน
๑.นอนลืมตาหรือพยายามใช้จิตเพื่อเพ่งดูสัณฐานบัญญัติ
๒. คอยจดจ้องดูว่าจะหลับขณะที่พองหรือยุบ (จะทำให้กังวลมาก)
๓. พลิกหรือขยับตัวไปๆ มาๆ บ่อยมากเกินไป
๔.บังคับลมหายใจเข้าเพื่อกำหนดพอง บังคับลมหายใจออกเพื่อกำหนดยุบ เพราะอาจเกิดอาการเหนื่อยหอบได้ หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับ เกิดอาการอ่อนเพลียและเป็นอุปสรรคแก่การกำหนดในวันต่อไป

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b42:


การตามกำหนดรู้เวทนา
(เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
เวทนา หมายถึง ความรู้สึกหรือความเสวยอารมณ์ที่ปรากฏในขณะปฏิบัติทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความรู้สึกสุขสบายหรือทุกข์ที่ปรากฏขึ้นในทางร่างกาย ความรู้สึกเป็นสุขใจ ดีใจ ปลาบปลื้มฯ หรือทุกข์ทางใจ อึดอัด ขัดเคือง ไม่พอใจ ไม่สบายใจ เป็นต้น เวทนานี้เมื่อจำแนกออกไปแล้วมี ๓ ประเภท คือ สุขเวทนา ๑ ทุกข์เวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑ ซึ่งถ้าหากมีความชัดเจนกว่าอาการพอง - ยุบ ควรตั้งใจกำหนด จนกระทั่งเวทนาหรือความเสวยอารมณ์นั้นๆ จะเสื่อมไป หายไป ถ้ามีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนมากกว่านี้อีก ก็ให้ย้ายไปกำหนดอารมณ์นั้นทันที ควรกำหนดทีละอารมณ์ ไม่ควรกำหนดหลายอย่างพร้อมกัน เพราะจะทำให้เกิดความสับสน จนก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีแก่นักปฏิบัติใหม่
ในมหาสติปัฏฐานสูตรบาลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
สุขํ วา เวทนํ เวทยมาโน สุขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ.
ภิกษุกำหนดรู้เวทนาที่เป็นสุขอยู่ ในขณะที่ตนกำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข
ทุกฺขํ วา เวทนํ เวทยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ.
ภิกษุกำหนดรู้เวทนาที่เป็นทุกข์อยู่ ในขณะที่ตนกำลังเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์
อทุกฺขม สุขํ เวทนํ เวทยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ.
ภิกษุกำหนดรู้เวทนาที่วางเฉยอยู่ ในขณะที่ตนกำลังเสวยเวทนาที่วางเฉย

วิธีปฏิบัติ
ขณะปวด กำหนดว่า ปวดหนอๆ ขณะเจ็บ กำหนดว่า เจ็บหนอๆ ขณะชา กำหนดว่า ชาหนอๆ ขณะคัน กำหนดว่า คันหนอๆ ขณะเมื่อย กำหนดว่า เมื่อยหนอๆ ขณะแสบ กำหนดว่า แสบหนอๆ เป็นต้น
การกำหนดเวทนารู้เวทนานี้นักปฏิบัติต้องมีความอดทนค่อนข้างมาก เพราะถ้ามีความอดทนน้อยคอยเปลี่ยนอิริยาบถอยู่บ่อยๆ จะทำให้เสียสมาธิมากถ้าทนไม่ไหวจริงๆ ก็ควรกำหนดเวลาในการนั่งให้น้อยลงและค่อยๆ เพิ่มไปทีละ ๓-๕-๑๐ นาที เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งใจไว้แล้วก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถไปเดินจงกรม เมื่อเดินจงกรมครบตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ก็กลับมานั่ง พยายามเดินนั่งสลับกันไม่ควรจะเดินหรือนั่งอย่างเดียว เพราะจะทำให้อิริยาบถหรืออินทรีย์ ๕ ไม่สม่ำเสมอกัน ถ้าเป็นไปได้ควรเดินและนั่งให้เท่าๆ กันไปตั้งแต่เริ่มต้น การตามกำหนดรู้เวทนานี้ นับเนื่องในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จะวางใจอย่างไรในเมื่อต้องเผชิญหน้ากับทุกขเวทนา? นักปฏิบัติต้องวางใจให้เป็นกลาง อย่าไปอยากให้หาย อย่าไปอยากเอาชนะ อย่าไปอยากรู้ว่ามันจะดับหรือไม่ดับอย่างไร ให้ทำหน้าที่เพียงแค่การเฝ้าดูอย่างมีสติเท่านั้น

การกำหนดเวทนามีอยู่ ๓ วิธี
๑. การกำหนดแบบเผชิญหน้า คือ ตั้งใจกำหนดแบบไม่ท้อถอยตายเป็นตาย โดยเอาจิตไปจดจ่อที่อาการปวด จี้ลงไปบริเวณที่กำลังปวดมากที่สุด วิธีนี้นักปฏิบัติจะค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องใช้พลังจิตอย่างทุ่มเทและจดจ่อมากที่สุด แต่ก็มีประโยชน์ในการรู้แจ้งทุกข์ลักษณะอย่างพิเศษ
๒. การกำหนดแบบลอบทำร้าย คือ ตั้งใจกำหนดแบบจู่โจมในตอนแรกๆ พอรู้สึกว่ากำลังความเพียรมีน้อยก็ถอยออกมาเตรียมความพร้อมใหม่ เมื่อพร้อมแล้วก็เข้าไปกำหนดอีกครั้งหนึ่ง เช่น ขณะกำหนดปวดอยู่นั้นความปวดกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถทนไหว จึงหยุดกำหนดรู้อาการปวดแต่เปลี่ยนไปกำหนดรู้อาการพอง-ยุบ หรืออารมณ์อื่นๆ แทนแต่ยังไม่ถึงขั้นที่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปยืนหรือเดินในขณะนั้น
๓. การกำหนดแบบเฝ้าดูหรือสังเกตการณ์ คือ เมื่อรู้สึกว่าปวดหรือเจ็บมากก็มิได้ไปกำหนดตอกย้ำลงไปอีก เพียงแต่กำหนดรู้ดูด้วยสติปัญญาอยู่เฉยๆ เช่น กำหนดว่า ปวดหนอๆๆเจ็บหนอๆๆ เมื่อยหนอๆๆ ชาหนอๆๆ หรือ รู้หนอๆๆ เป็นต้น ไม่เน้นหรือย้ำอุปมาเหมือนทหารที่เฝ้าดูข้าศึกอยู่บนที่สูงหรือหอสังเกตการณ์ ไม่ได้ทำการสู้รบกับข้าศึกแต่ประการใด เพียงแต่เฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของข้าศึกเท่านั้น

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b42:

การตามกำหนดรู้จิต
(จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
จิต หมายถึง ธรรมชาติหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ นักปฏิบัติควรกำหนดรู้ตามสภาพที่เป็นจริง ดังนี้
การตามกำหนดรู้จิต ที่คิดน้อมไปหาหรือรับอารมณ์ในที่ไกลหรือใกล้ นักปฏิบัติควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะการกำหนดรู้จิตนั้นเป็นของละเอียดอ่อนมาก ถ้ากำหนดไม่ถูกวิธีบางครั้งทำให้สับสนและฟุ้งซ่านมากขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียดและอาการมึนตึงของศีรษะได้ อันเป็นปัญหาและอุปสรรคของนักปฏิบัติบางท่าน ที่ขาดความเข้าใจในวิธีกำหนดรู้แบบนี้อย่างถูกต้อง

ก่อนการกำหนด นักปฏิบัติต้องวางใจให้เป็นปกติเสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน เพราะเมื่อไม่มีสภาวะลักษณะอย่างนี้ใจเราก็เป็นปกติ ไม่มีชอบหรือชัง แต่พอสภาวะนี้เข้ามาทำให้ใจเราเสียความเป็นปรกติไป ฉะนั้น การกำหนดต้องพิจารนาด้วยสติปัญญาให้รู้ตามความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ต้องไปคิดปรุงแต่งหรือใส่ข้อมูลอื่นใดเข้าไปอีก ขอให้กำหนดรู้อย่างเดียว มันเกิดอะไรคิดอะไรก็ให้กำหนดรู้ไปตามนั้น เพราะเรามีหน้าที่กำหนดรู้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพื่อให้เข้าถึงความเป็นจริง หรือรู้เท่าทันความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จนสามารถถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นลงได้ เราไม่มีหน้าที่คิด แต่จิตมีหน้าที่คิด เรามีหน้าที่กำหนดรู้ ก็ให้ทำหน้าที่กำหนดรู้ไปตามนั้น อย่าไปสร้างสิ่งใหม่ให้เป็นปัญหาแก่ตัวเอง

ขณะคิด กำหนดว่า คิดหนอๆ เน้นย้ำ ช้า หนักแน่น ทิ้งจังหวะเล็กน้อย เพื่อผ่อนคลาย ถ้าในกรณีที่กำหนดแบบถี่เร็ว ฉับไว จดจ่อ นั้นต้องตอกย้ำและติดต่อไม่มีการทิ้งจังหวะ แต่ข้อด้อยทำให้เกิดความเครียดได้ ฉะนั้นนักปฏิบัติจึงควรเลือกให้เหมาะกับตนเองและบางครั้งเราสามารถใช้ได้ทั้ง ๒ วิธีแบบผสมผสานกันจะทำให้เกิดพลัง ในการสยบอารมณ์ รวมทั้งเกิดการผ่อนคลายไปด้วยในตัว นอกนั้นก็กำหนดเหมือนกัน
ขณะคิดถึง กำหนดว่า คิดถึงหนอๆ ขณะนึก กำหนดว่า นึกหนอๆๆ
ขณะฟุ้งซ่าน กำหนดว่า ฟุ้งซ่านหนอๆ ขณะหงุดหงิด กำหนดว่า หงุดหงิดหนอๆ
ขณะรำคาญ กำหนดว่า รำคาญหนอๆ ขณะซึม กำหนดว่า ซึมหนอๆ
ขณะว่าง กำหนดว่า ว่างหนอๆ ขณะสงบ กำหนดว่า สงบหนอๆ
ขณะนิ่ง กำหนดว่า นิ่งหนอๆ ฯลฯ

การกำหนดรู้สภาพของจิตที่รู้อารมณ์ แต่ละขณะนั้น เป็นเรื่องไม่ง่ายเท่าใดนัก แต่ขอเพียงผู้ปฏิบัติให้หมั่นเฝ้าดูอย่างมีสติบ่อยๆ ถึงแม้จะทันบ้างไม่ทันบ้างก็ตาม ให้ถือเสียว่าเราได้ทำหน้าที่ของนักปฏิบัติ เพื่อสร้างเหตุปัจจัยและเตรียมความพร้อมอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากบ่วงของมาร คือ กิเลส ในโอกาสต่อไป การกำหนดรู้ในลักษณะเช่นนี้ก็นับเนื่องในการเจริญ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b42:

การตามกำหนดรู้ธรรมารมณ์
(ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐาน)
ธรรมารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้หรือสิ่งที่มาประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต เมื่อเรียกให้ตรงกับสภาวะของนักปฏิบัติก็ได้แก่สภาวธรรม ซึ่งนักปฏิบัติควรเอาใจใส่เฝ้าดูและกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบัน โดยอาศัยความเพียรมีสติระลึกรู้อยู่ทุกขณะดังนี้
ขณะเห็น กำหนดว่า เห็นหนอๆๆ โดยกำหนดเพียงอาการเงาๆ ลางๆ ของรูป ไม่ต้องกำหนดที่ตา และในขณะกำหนดก็ไม่ต้องไปจ้องดูรูป เพราะกิเลสจะเข้า
ขณะได้ยิน กำหนดว่า ได้ยินหนอๆๆ โดยกำหนดเพียงแค่อาการที่ได้ยินเสียงเท่านั้น แต่ไม่ต้องเอาจิตไปจดจ่อที่หูหรือกำหนดที่หู โดยกำหนดเพียงอาการที่ปสาทหูรับเสียงเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วหูกับเสียงต่างคนต่างอยู่
ขณะได้กลิ่น กำหนดว่า กลิ่นหนอๆๆ โดยกำหนดขณะที่จมูก(ฆานประสาท)รับรู้กลิ่น ในชั้นแรกๆ ไม่ต้องแยกแยะว่าหอมหรือเหม็น ให้กำหนดเพียงแค่กลิ่นเท่านั้น เมื่อสมาธิญาณแก่กล้าแล้ว จะสามารถกำหนดได้เอง
ขณะรู้รส กำหนดว่า รสหนอๆๆ โดยกำหนดขณะที่ลิ้น(ชิวหาประสาท)รับรู้รส ในชั้นต้นนี้ให้กำหนดเพียงแค่รสเท่านั้น ยังไม่ต้องกำหนดละเอียดมากนัก เพราะถ้ากำหนดละเอียดในขณะที่สมาธิญาณยังไม่เจริญเพียงพอ อาจกลับกลายเป็นความฟุ้งซ่านหรือเครียดไป
ขณะถูกต้องสัมผัส กำหนดว่า ถูกหนอๆๆ โดยกำหนดที่กายประสาทกระทบสัมผัสในขณะนั้นๆ เช่น
ขณะเย็น กำหนดว่า เย็นหนอๆๆ ขณะร้อน กำหนดว่า ร้อนหนอๆๆ
ขณะอ่อน กำหนดว่า อ่อนหนอๆๆ ขณะแข็ง กำหนดว่า แข็งหนอๆๆ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน :b42:

ประโยชน์ของการกำหนด
๑. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ( ขณิกสมาธิ )
๒. เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน
๓. สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากกิเลส
๔. รู้ถ้วนทั่วอย่างวิเศษ ในปัจจุบันขณะ
๕. ละความเกียจคร้าน สะสมญาณหยั่งรู้
๖. กอบกู้อิสรภาพกำหราบกิเลส
ประโยชน์ของการนั่ง กำหนด ( สมาธิ )
๑. จิตตั้งมั่น และเป็นสมาธิได้ง่าย
๒. สภาวธรรมปรากฏค่อนข้างชัดเจน
๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน
๔. เป็นอิริยาบถที่อื้อต่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
๕. เป็นอิริยาบถที่รวมความพร้อม เพื่อการบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ กระทั่งสูงสุด
ประโยชน์ของการยืนกำหนด
๑. ทำให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องกัน
๒. จิตเป็นสมาธิได้ค่อนข้างง่าย
๓. ทุกขเวทนามีน้อย ใช้พื้นที่น้อยในการกำหนด
๔. ทำลายบัญญัติของรูปยืน เป็นสภาพรู้อาการ
๕. ทำให้เข้าใจสภาพของเหตุปัจจัย อันอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ประโยชน์ของการเดินจงกรม ๕ ประการ
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการกระทำความเพียร
๓. ช่วยย่อยอาหาร
๔. ช่วยขับลมออกจากตน
๕. ทำสมาธิให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการกำหนดอิริยาบถย่อย
๑. ปิดช่องว่างการกำหนด ในอิริยาบถอื่น ๆ
๒. ทำให้การกำหนดมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
๓. วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกื้อกูลกันค่อนข้างมาก
๔. ส่งเสริมให้อินทรีย์ ๕ เท่ากัน ( สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา )
๕. มีความรอบคอบ ไม่หลงลืม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย
ประโยชน์ของการนอนกำหนด
๑. ช่วยให้หลับง่าย เพราะไม่กังวล
๒. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
๓. เป็นการพักผ่อน และเป็นการเชื่อมโยงอิริยาบถอื่น ๆให้สม่ำเสมอ
ข้อที่ควรระวัง
- ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เซื่องซึม เกิดขึ้นได้ง่าย
- ไม่ควรนอนมากเกินไปสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติจริง ๆ อย่างมากไม่ควรเกิน ๖ ชั่วโมง
- ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้ง่าย อย่าเห็นแก่นอนเกินไป
- นักปฏิบัติที่มุ่งความสุขสงบในชีวิตต้องการหลับพักผ่อน ไม่ต้องตั้งใจกำหนดมาก
อานิสงส์การปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑. ทำให้สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น
๒. ทำให้จิตใจเบิกบาน เอิบอิ่ม แช่มชื่น
๓. ความวิตกกังวล และความเครียดลดลงอย่างมาก
๔. เป็นผู้มีสติรู้เท่าทัน มีความผิดพลาดน้อย
๕. มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ดีขึ้น
๖. ไม่ตกใจกลัว เพราะเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
๗. มีความกล้าหาญ ในการกระทำคุณงามความดีอย่างสม่ำเสมอไม่ท้อถอยเบือหน่าย
๘. ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เพราะเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของชีวิต ( ขันธ์ ๕ )
๙. สามารถทำลายความโลภ ( อภิชฌา ) ความโกรธ ( โทมนัส ) ให้ลดลงหรือหมดไปได้
๑๐. ชื่อว่าเป็นเตรียมความพร้อม และได้สะสมเหตุปัจจัย เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจ ๔ อันจะนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส ( ความยึดมั่นถือมั่นด้วยโมหะ) และกองทุกข์ทั้งมวล ได้ในปัจจุบันชาตินี้ หรือถ้าผู้ปฏิบัติกระทำอย่างต่อเนื่อง จะไม่เกิน ๗ ปี เป็นอย่างช้าควรจะได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ดังพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในท้ายสติปัฏฐานสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ( ๑๒/๑๐๓ -๑๒๗ )มีเนื้อความโดยสังเขป ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปีจงยกไว้ ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปีจงยกไว้ ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผล อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างคือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในปัจจุบันชาตินี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปี จงยกไว้... ๔ ปี... ๓ ปี... ๒ ปี... ๑ ปี... ๗ เดือน... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... จงยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครึ่งเดือน จงยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังได้ ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุเป็นพระอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
เพราะอาศัยคำกล่าวนี้ ตถาตคจึงกล่าวคำ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว (ข้างต้น) นั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโศก และความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้แลฯ
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก ทุกคนสามารถกระทำได้ในชีวิตประจำวัน ของแต่ละคนเพียงแต่ให้เรามี สติ สัมปชัญญะ สังเกตอากัปกริยาหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าท่านจะกำลังกระทำอะไรอยู่ก็ตาม ถ้าเป็นคนชั่งสังเกตสติปัญญาก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา กิเลสตัณหาจะไม่สามารถเข้ามาบงการชีวิตท่าน ให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ ขณะที่ท่านกำหนดอยู่ กุศล (ความดีงาม) ก็เกิดขึ้นในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ความชั่วหรือบาปก็หลีกไป ถ้าหมั่นกำหนดอยู่เสมอๆ เท่ากับว่าเราได้พัฒนาความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และยังได้ชื่อว่ารักษาความดีเอาไว้ด้วย
สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีเวลามาก และสามารถทุ่มเทให้กับปฏิบัติอย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เลือกครูบาอาจารย์ ที่ทรงความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างน้อย ๑ ปี รวมทั้งเป็นผู้สามารถให้คำปรึกษา และแก้อารมณ์กรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ไม่หลงทาง หรือยึดติดในสภาพของอัตตา เลือกสถานที่หรือสำนักปฏิบัติที่เป็นสัปปายะ ( สงัดเงียบ ปราศจากเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา การคมนาคมสะดวก อาหาร และอาคารสถานที่มีความเกื้อกูลแก่ผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่อัตภาพ) เมื่อท่านเลือกครูบาอาจารย์ (กัลยาณมิตร) และสถานที่อันเหมาะสมแล้ว ควรทุ่มเทกายใจมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเล่นๆ เพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ (ปัญหา) ไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ควรทำอย่างตั้งใจ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจะเป็นบทพิสูจน์เองว่า ความจริงของโลกและชีวิตคืออะไร มรรค ผล นิพพานมีจริงไหม ความดับไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์เป็นเช่นใด เมื่อท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านจะพบความจริงเช่นที่ว่านั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถามใคร คำตอบอยู่ที่การปฏิบัติของท่านเอง ถ้าแน่ใจ และเชื่อมั่นในความสามารถที่มีอยู่ จงลงมือปฏิบัติดูเถิด.

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปปฏิบัติ :b42:

นักปฏิบัติหลายท่านกังวลใจว่า เมื่อจะไปปฏิบัติธรรมจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง จึงจะมีความเหมาะสม รวมทั้งสามารถอยู่ปฏิบัติได้ตามวันเวลาที่ตนเองได้ตั้งใจเอาไว้ เพราะมีบางท่านขาดการเตรียมตัวที่ดีจึงทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ก่อนที่จะตัดสินใจไปปฏิบัติ ณ ที่ใดควรพิจารณาเลือกสำนักปฏิบัติหรือสถานที่ ๆ จะไปปฏิบัติ โดยต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้คือ
๑. ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือชุมชนมากนัก
๒. มีการคมนาคมสะดวก
๓. เป็นสถานที่ ๆ เงียบสงัดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
๔. มีเสียงรบกวนหรือมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์น้อย
๕. ผู้คนไม่พลุกพล่านหรือมีคนไปมาหาสู่ที่นั่นน้อย
๖. ไม่เป็นสถานที่ตากอากาศหรือสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้จิต วอกแวกหรือเกิดความรำคาญได้ง่าย
๗. มีธรรมชาติร่มรื่น มีอากาศถ่ายเทดี แสงแดดส่องถึง ไม่ชื้นหรือแห้งแล้งจนเกินไป สัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ รบกวนน้อยจะได้ไม่ต้องเป็นกังวลเดือดร้อนรำคาญใจ
๘. ถ้าเป็นพระภิกษุจะต้องไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการบิณฑบาต
1.1 มีความสะดวกสบายในเรื่องที่อยู่อาศัยตามควรแก่สถานภาพ อาหาร และยารักษาโรค เป็นต้น
2.2 มีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีศีลาจริยาวัตรงดงาม เป็นบัณฑิต มีความรู้ในทางทฤษฎี (ปริยัติ)พอสมควร รวมทั้งมีประสบการณ์ในวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นผู้ที่สามารถแนะนำปรับแต่งอินทรีย์ บอกแนวทางวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องได้

2. เรื่องอาหาร นักปฏิบัติจะต้องศึกษาข้อมูลของสถานที่ ๆ ตนเองจะไปปฏิบัตินั้นว่าเขามีระเบียบในการรับประทานอาหาร ( ฉัน ) กันกี่มื้อ เป็นมังสวิรัติหรือทั่วๆไป มีน้ำปานะหรือเครื่องดื่มเสริมในช่วงบ่ายหรือไม่ บางแห่งมีอาหารให้เพียงมื้อเดียว บางแห่ง 2 มื้อ บางแห่งมีน้ำปานะและเครื่องดื่ม บางแห่งไม่มี แต่บางแห่งก็อนุญาตให้นำไปเอง เป็นต้น ต้องศึกษาดูให้ดีก่อนจะได้เตรียมตัวให้ถูกต้อง ส่วนวัดภัททันตะอาสภาราม โยคีชายหญิงมีอาหาร 2 มื้อ น้ำปานะหรือเครื่องดื่มมีให้หรือจะเตรียมมาเองก็ได้ ส่วนพระสงฆ์นั้นฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ช่วงบ่ายมีน้ำปานะถวาย

3. เรื่องการนอน นักปฏิบัติต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพราะการนอนที่บ้านกับที่วัดหรือที่สำนักปฏิบัติธรรมนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ บางแห่งนอนกลางวันปฏิบัติกลางคืน บางที่ปฏิบัติกลางวันนอนกลางคืน แต่นอนน้อยลงเพียง 6 - 4 ชั่วโมง ซึ่งเราต้องเตรียมร่างกายจิตใจให้พร้อมจะได้ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติ

4. เรื่องเวลาของการปฏิบัติ ต้องศึกษาตารางเวลาของการปฏิบัติในที่ ๆ เราจะไปให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่เป็นกังวลใจ เพราะเราจะต้องตื่นเช้า( 03.30 น.) และกว่าจะเข้านอนก็ดึก( 22.00 น.) บางท่านพึ่งจะเริ่มต้นปฏิบัติอาจจะต้องปฏิบัติให้ได้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ถ้าเป็นนักปฏิบัติเก่าที่กำหนดต่อเนื่องต้องปฏิบัติให้ได้อย่างน้อย 18-19-20-21 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจัดว่าเป็นงานหนักเหมือนกัน ฉะนั้นต้องเตรียมตัวให้พร้อม

5. เรื่องการพูดคุย ตามปกติแล้วสถานที่ปฏิบัติบางแห่งอาจจะไม่ห้าม แต่สำหรับที่วัดภัททันตะอาสภาราม ตลอดระยะเวลาของการเข้าปฏิบัติจะให้งดการพูดคุยกันโดยไม่จำเป็น ยกเว้นขณะส่งสอบอารมณ์เท่านั้น

6. เรื่องอิริยาบถ จะเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ค่อนข้างจะช้า ในสายตาของคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ฯลฯ ฉะนั้นจึงควรทำใจให้ยอมรับตั้งแต่ต้น เมื่อมาอยู่ที่นี่เราต้องทิ้งความเคยชิน แต่มุ่งเน้นให้ใช้สติปัญญาในการกำหนดรู้อากัปกริยาและการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยปราศจากความรีบร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น

7. เรื่องการสำรวมทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ตามปกติแล้วบุคคลผู้ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะปล่อยจิตใจให้รับรู้ไปตามอำนาจของกิเลส พอเข้าปฏิบัติแล้วต้องเอาใจใส่ตั้งสติกำหนดการรับรู้ทุกอย่าง เพื่อสกัดกั้นกิเลสไม่ให้ไหลเข้ามาทางทวาร 6 ถ้ารักษาดีหรือสำรวมดีตั้งแต่ต้นอาจเป็นผลให้การปฏิบัติของท่านประสบความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

8. เรื่องตัดความกังวลทิ้งไป ปรับใจอยู่กับสถานภาพอันเป็นปัจจุบัน อดีตผ่านมาแล้ว กลับไปแก้ไขไม่ได้ อนาคตก็ยังเดินทางมาไม่ถึงจะไปคำนึงทำไม ถ้าจะแก้ไขจงใส่ใจที่รูปนามอันเป็นปัจจุบัน พยายามเตรียมใจและอย่าอาลัยหรือมองไกลถึงสิ่งเหล่านี้
๘.๑ อาวาสปลิโพธ ห่วงที่อยู่อาศัย ห่วงบ้านเรือน กลัวจะไม่มีคนดูแลปล่อยให้สกปรกรก รุงรัง พูดง่ายๆ ว่าติดที่อยู่
๘.๒ กุลปลิโพธ ห่วงตระกูลอุปัฏฐาก หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเองนับถือกลัวจะขาดการ ติดต่อและเกื้อกูลตนเอง
๘.๓ ลาภปริโพธ ห่วงลาภ ติดลาภ หรือห่วงรายได้อันเป็นผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ กลัวจะสูญหายหรือขาดรายได้ตอบแทน เป็นต้น
๘.๔คณปลิโพธ ห่วงหมู่ ห่วงคณะ มิตรสหาย อาจารย์ ลูกศิษย์ บริวาร รวมทั้งผู้สนิทคุ้นเคยกัน เป็นต้น
๘.๕ กัมมปลิโพธ ห่วงการก่อสร้าง ห่วงการงาน หรือห่วงธุรกิจการงานและอาชีพของตนฯ
๘.๖ อัทธานปลิโพธ ห่วงการเดินทางไกลกันดาร เดินทางไปต่างประเทศ เดินทางไปท่องเทียว ฯ
๘.๗ ญาติปลิโพธ ห่วงญาติพี่น้อง บุตร ภรรยา สามี บิดามารดา ด้วยเกรงว่าจะเจ็บป่วยเดือดร้อนหรือได้รับอันตรายต่างๆ เป็นต้น
๘.๘ อาพาธปลิโพธ ห่วงอาพาธ บางท่านเป็นโรคภัยไข้เจ็บก็กลัวว่าจะกำเริบ หรือเป็นกังวลว่าลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงอาจจะทำให้ตนเจ็บป่วย เป็นต้น
๘.๙ คันถปลิโพธ ห่วงการศึกษาเล่าเรียน ห่วงการสอน กลัวจะเรียนไม่ทันเพื่อน หรือห่วงการบรรยายธรรม เป็นต้น
๘.๑๐ อิทธิปลิโพธ ห่วงฤทธิ์ ห่วงอำนาจวาสนา ห่วงความเป็นไปได้ ที่ตนอาจจะเจริญรุ่งเรืองหรือประสบความสำเร็จในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะมัวแต่ปฏิบัติก็อาจเสียโอกาสไป หรือไม่ก็กังวลว่าคนอื่นจะแย้งชิงเอาไป เป็นต้น

9. เรื่องที่ต้องเตรียมไปเมื่อตัดสินใจจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
๙.๑ เตรียมถอดเครื่องแบบ ยศถาบรรดาศักดิ์ ลดทิฐิมานะ ทำตัวให้เรียบง่าย วางหัวโขนหรือสิ่งที่เป็นมายาไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน อย่านำมากวนใจในห้องกรรมฐาน
๙.๒ เตรียมเครื่องนุ่งห่มให้พร้อม ถ้าคฤหัสถ์ให้ใช้สีขาวเป็นหลัก รวมทั้งของเครื่องใช้ที่จำเป็นจริงๆ ให้นำมาด้วย
๙.๓ เตรียมผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มมาเอง( ถ้าทางสำนักไม่มีให้)
๙.๔ เครื่องประดับตกแต่งร่างกายทุกชนิดไม่ต้องนำมา ยกเว้นนาฬิกาบอกเวลา
๙.๕ ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่ร้ายแรง และเป็นโรคไม่ติดต่อ ไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม ควรนำยารักษามาเองและต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ไว้ด้วย เพื่อกรณีฉุกเฉิน
๙.๖ งดการติดต่อสื่อสารทุกชนิด เช่น ห้ามอ่านหนังสือทุกชนิด เขียน ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ พูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือ ถ้านำมาให้ฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
๙.๗ เตรียมดอกไม้เทียนธูป เพื่อบูชาพระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์
๙.๘ อย่าลืมลงทะเบียนและอ่านระเบียบให้เข้าใจก่อนตั้งใจปฏิบัติ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 09:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8: :b8:


:b1: :b45: :b45:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร