วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

“วิสุทธิเทพแห่งดอยแม่ปั๋ง”


พระเดชพระคุณหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นพระอริยสงฆ์ที่พระเจ้าแผ่นดินและประชาชนทั่วประเทศเคารพนับถือ ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งทางภาคอีสาน ภาคเหนือ ประเทศพม่า และประเทศอินดีย ด้วยเท้าเปล่า โดยมีหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นสหายธรรม

นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ครองราชย์มาจนถึงปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ยังไม่มีพระอริยะคณาจารย์รูปใด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเทียบเท่าหลวงปู่แหวน พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ยังวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อนมัสการและสนทนาธรรมกับหลวงปู่แหวน หลายครั้งหลายหนยังความปลาบปลื้มปีติให้แก่ประชาชนที่พบเห็นท่านทั้งสอง เมื่อสนทนากับประหนึ่งพ่อกับลูก เป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่งนัก

ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายใส และนางแก้ว รามสิริ

ขณะที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ก่อนที่มารดาจะถึงแก่กรรมได้เรียกท่านเข้ามาใกล้ ๆ ได้จับแขนไว้แน่นแล้วกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูกสมบัติใด ๆ ในโลกนี้จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏิ แม่ก็ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียนะลูกนะ ” เมื่อมารดาท่านสั่งเสียเสร็จไม่นานก็ถึงแก่กรรม

ท่านบรรพชาเมื่ออายุ ๙ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ยายได้นำตัวไปถวายอุปชฌาย์ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง จังหวัดเลย เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร

ปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ ได้รับการอุปสมบทเป็นพระฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา (ปัจจุบันเป็นอำเภอม่วงสามสิบ) จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปชฌาย์

ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ อายุ ๓๑ ปี พรรษา ๑๑ ท่านได้ออกเดินธุดงค์รอนแรมผ่านทางอำเภอม่วงสามสิบ อำเภอคำชะอี อำเภอหนองหาร อำเภอบ้านผือ เข้าไปกราบนมัสการและฝากตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวสอนสั้นๆ ว่า “ต่อไปนี้ให้ภาวนา ส่วนความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน”

คำว่า “ภาวนา” เพียงคำเดียวเท่านั้น ทำให้จิตใจของท่านเอิบอิ่มปลื้มปีติอย่างบอกไม่ถูก ท่านไม่เคยได้ยินได้ฟังคำนี้จากผู้ใดมาก่อน ประหนึ่งว่าทางแห่งความปรารถนาของท่านได้ใกล้จะสำเร็จตามความมุ่งหวังตั้งใจแล้ว

ท่านญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนพีสี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

กาลต่อมาท่านได้จาริกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ไปทางภาคเหนือ พม่า อินเดีย นับแต่นั้นมาท่านไม่ได้กลับมาทางภาคอีสานอีกเลย

หลวงปู่ขาว อนาลโย เพื่อนสหธรรมิกรูปหนึ่งของท่านซึ่งได้หลุดพ้นทุกข์ไปได้แล้ว ได้ชวนท่านเดินทางกลับมาภาคอีสานด้วยกัน หลวงปู่แหวนได้กล่าวตอบว่า “ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหัตตผลตามความมุ่งหวังจะไม่ไปจากเมืองเชียงใหม่”

วันหนึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ หลวงปู่ขาว ซึ่งอยู่ที่ถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี ได้ปรารภเป็นเชิงรำพึงอนุโมทนากับสานุศิษย์ของท่านขึ้นว่า “เมื่อคืนได้นิมิตเห็นท่านแหวนจิตใจใสเหมือนแก้ว สว่างไสวทั้งองค์ ท่านแหวนได้อรหัตผลแล้วหนอ” นี้คือคำอุทานของพระอรหันต์

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ ท่านได้รับนิมนต์มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋ง และได้อยู่จำพรรษาจวบจนสิ้นอายุขัยของท่าน


จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
:b42: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16418

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว




buddha1.jpg
buddha1.jpg [ 66.54 KiB | เปิดดู 18648 ครั้ง ]
...:b44: :b44: :b44:...

:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ

:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ

สาธุ สาธุ สาธุ
กราบ กราบ กราบ
รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

ผมเกิดมาก็ได้ยินชื่อเสียงของท่านแล้วครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


คัดลอกจาก : http://www.manager.co.th/budish/kaewmanee8.html

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง บ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบัน เป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ 2 (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน 1 คน
เมื่อหลวงปู่อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึก ออกมามีเมีย นะลูกนะ" หลัง จากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว

อนึ่ง ยายของหลวงปู่ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคน หนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง 2 คน ไปถวายตัวต่อ พระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็น สามเณรต่อไป
ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่ง ที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิต อยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
หลวงปู่ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2439 มีอายุได้ 9 ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้าน นาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระ อาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่น เอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ 2 เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนัก ถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก

เนื่องจากวัดโพธิ์ชัยไม่มีการศึกษาเล่าเรียนเพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบายคือ สวดมนต์ไหว้พระบ้างเล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียน ที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่งเช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อ ทั่วอีสาน 15 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้า ไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตร ได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยากมีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลังสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน
ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2451

ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธ ด้วยโรค นอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบท เผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏ ว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจาาย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขา ไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชงักลง

ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น สึกออกไปล้วนเพราะ อำนาจของกามทั้งสิ้น จึงระลึกนึกถึง คำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติ เป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิต เหมือนกับครูบา อาจารย์ทั้งหลายที่ได้ออกไป ปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขา ไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะ จึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ ที่เมืองสกลนคร
ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หลัง จากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึก ปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา 2-3 วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธา ในกิตติศัพท์ ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนัก

จากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกล และยาวนานเป็นครั้งแรก จนได้เข้าพบ หลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ
คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมาก เพราะได้บรรลุ สิ่งที่ตั้งใจ
หลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ 4 วัน พี่เขยและน้าเขย ก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อ ที่ ไม่ได้พบกันมานาน 10 ปี จึงเข้าไปกราบลา หลวงปู่มั่น และได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้ รีบกลับมา อย่าอยู่นาน ประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"
ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2461 เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชน ในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสาย จนทำให้พักผ่อนไม่พอ และล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัว อยู่หนึ่งเดือนเต็ม ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับ มาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจ รีบเดินทางกลับ ไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อ แล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวก บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตามความเหมาะสมกับจิตของตน เมื่อถึงวันอุโบสถ จึงได้ถือโอกาสเข้า นมัสการถามปัญหาข้อข้องใจ ในการปฏิบัติจากหลวงปู่มั่น จนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติ ของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มี สติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก"
ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรม ฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะ ยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกาย ที่ได้รับการอบรม จากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้น มีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวก ในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่น ให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมา ญัตติเป็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะ นำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่น แหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน"

ประมาณ พ .ศ.2464 ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอ ว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์ และการปฏิบัติธรรม
หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรม และเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่อง สอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิก มะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึง เมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศ อินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา
ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออก เดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่าน เชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษา ก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่า ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศ ส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขต จังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนา สิบสองจุไท แต่ทหารฝรั่งเศสห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอ นาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ
ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณ ปี พ.ศ.2470 ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีวิริยะอุตสาหะปรารภ ความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็น สมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวนจึงตัดสินในเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ ได้ญัตติเป็นธรรมยุตเหมือนกัน
ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษา ตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิร ิมาร่วมสมทบอีก เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจาก หลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้าย กันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอน มะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่น อยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวาย ที่ป่าเมี่ยบขุนปั๋งนั่นเอง
ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญ ธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ
ประมาณปี พ.ศ. 2474 ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุ ขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหัก จึงเดินทางจาก เชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟ ถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลง เรือล่องมา ถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษา ที่เชียงใหม่
ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธ แผลที่ขาอักเสบ ทรมานมาก ท่านจำพรรษา อยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ ได้ท่านพระอาจารย์ หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัด โดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด
อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวน ญาติโยมไปนิมนต์ให้ ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ในฐานะพระผู้เฒ่า ทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียว ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์ จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้

นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บน ดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่าน เคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จวบจนมรณภาพ
หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่ง คือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้าน ขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาแล้ว สุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครอง ผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและ กระดูกสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วัน อังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่ท่านได้ละร่าง อันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี

ธรรมโอวาท
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มัน ก็วางเอง
หลวงปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของ จริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจาก ภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออก ดูให้เห็นแจ้ง
นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่น กับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่ อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้

ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงใน ของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น


จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหน ก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณา กาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย
การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หาก พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้
กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้ แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม
นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่า ปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้า จี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน

ปัจฉิมบท
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นพระมหาเถระ ซึ่งได้ดำเนินชีวิตของท่านอยู่ในเพศของบรรพชิต มาตั้งแต่อายุเยาว์วัย เป็นพระนักศึกษา และนักปฏิบัติธรรมมาโดยตลอด เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยดีลา จารวัตร ทั้งที่เมื่อยังเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และ เป็นฝ่ายธรรมยุตแล้ว
ดังที่ หลวงปู่มั่น เคยแสดงเหตุผลว่า "มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย" หลวงปู่แหวน เป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม เป็นปูชนียบุคคล ชาวพุทธให้ความ เคารพสักการะอย่างมาก เมตตาบารมีธรรมของท่าน ยังผลให้กุลบุตรกุลธิดาใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรม สืบสร้าง ความมั่นคงให้แก่พระศาสนา ทำให้เกิดมีการก่อสร้าง สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล วัด อาคาร ท่านได้อำนวย คุณประโยชน์ต่าง ๆ แก่สังคมสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิตร่างกายของท่านได้ดับสลายไป แต่คุณงามความดีของท่าน ยังตรึงแน่นอยู่ใน จิตสำนึกของพุทธศาสนิกชน อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย เพราะท่านเป็นพระผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบในฐานะ พุทธชิโนรส เป็นเนื้อนาบุญ ของผู้ต้องการบุญในโลกนี้

:b44: ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://www.dharma-gateway.com/monk-prea ... x-page.htm

และ...อัตตโนประวัติโดยละเอียด
หลวงปู่ แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
จากหนังสือโครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓
เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์
http://www.dharma-gateway.com/monk-hist-index-page.htm

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 12:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเทศนา
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกาย จากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกาย น้อมเข้ามาในใจ ให้รู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือที่อื่น ให้แจ้งอยู่ในกายนี้ ให้แจ้งอยู่ในใจนี้ จะหลงจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้น้อมเข้ามาหากายนี้ น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก หลักมีเท่านี้แหละ...

ถ้าออกจากกายใจแล้ว เขวไปแล้ว หลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากาย รักษาใจ น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี่แหละ...

ศีล ตั้งอยู่ในกายนี้แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี้แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามา จึงรู้และตั้งหลักได้ ถ้าออกไปจากนี้มักหลงไป...

เอาอยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี้ละ วางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้แจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่น ก็เป็นเพียงสัญญา ความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้ รู้แจ้งในกายของตนนี้ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม...

ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้ว นอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ทำให้ลืมไป...

ทำให้แจ้งอยู่ในกาย แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียร ความมั่น...

คำว่า สติ รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะ ก็รู้ในปัจจุบัน รู้ในตน รู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโภล ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติ ถ้าได้กำลังใจแล้วก็สว่าง...

ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล ทำให้กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน...
เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้...

สติปัฎฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน...

อาการทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ ทุกขัง ทั้ง ๕ อนัตตา ทั้ง ๕ เป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน...

การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันสมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติ แต่ธรรม เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจจังทั้ง ๕ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปัง อนิจจัง, เวทนา อนิจจา, สัญญา อนิจจา, สังขารา อนิจจา, วิญญาณัง อนิจจัง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วก็ยุติลง...

ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติวางสมมติได้แล้ว ก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่น ความเพียร ไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้แล้วก็เย็นสงบสบาย...

ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นอดีต-อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน เป็นธรรมโม...

อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจังให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโม คือ เห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีต-อนาคต ดับทั้งอดีต-อนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม...

ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองอย่างนั้นให้เพ่งพินิจ คือเราอยู่ปัจจุบันธรรมจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้น อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา

รู้ปัจจุบันละปัจจุบันเป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้างทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...

ความโลภ ความโกรธ เกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้หมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, หากเกิดขึ้นมาต้องละเสีย เรื่องของสังขารก็ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีต-อนาคตวางไปเสีย อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม อันนี้ถือให้มั่น ๆ...

ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ ก็ทำให้ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตเป็นอดีต-อนาคต ต้องวางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน...

ความโลภ ความโกรธ ความหลง มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะจิตมักจะเก็บอดีต-อนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบันเป็นธรรมโม แล้วน้อมเข้ามาให้ได้ กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีต-อนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา แล้วเพ่งพินิจเฉพาะธรรมโม...

รักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจ ให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง ให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้ วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากก็มักไปยึดเป็นอดีต-อนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เกิดขึ้นแล้วก็ดับตัวสัญญา...

ตั้งหลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป...

ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป...

..:b48: :b47: :b47: :b47: :b48:..

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 12:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b40: ให้ตั้งสัจจะ :b40: ..

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว
แสดงแก่พระภิกษุ วันที่ ๕ กมภาพันธ์ ๒๕๒๗

คัดลอกมาจาก http://loungpu.th.gs/

การปฏิบัติเราจะเดินให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริง ๆ

กำหนดตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัตย์ว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนดระวังรักษาจิตใจของเรา ให้แช่มชื่นเบิกบานไม่ปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม .

อย่าละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกันจะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป

ให้พยายามรักษาความดีความหมั่น ความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง

เราต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจ
อาศัยความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจ-คร้านนั้นได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีให้ละเสียให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียร ความหมั่น ความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน

เราต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริงให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิต นิ่งเฉย เกียจคร้าน

เราต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอบายอันชอบในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อย ๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความ เพียร ถ้าเราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือนด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน

จิตของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟัง นั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตในลักษณะนั้นและในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา

ให้ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหล่ะ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียรไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม

ถ้าเราไม่หมั่นหาอบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส

ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิริยะ ความพากความเพียรในภาวนาในคุณความดี
ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร
ให้ตั้งความสัจความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้านพระพุทธเจ้าสั่งสอนเอาให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้.กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้
ให้รักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษากาย รักษาใจของตน ในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 12:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


คติธรรม

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว

คัดลอกมาจาก http://se-ed.net/philosophy/libra/index.shtml

จาโค ปฏินิสฺสคฺโค ให้ละเสีย ความถือตนถือตัว อันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาก็เป็นปรกติอยู่ใจก็เป็นปรกติอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส กามคุณทั้ง ๕ เขาก็เกิดมีอยู่อย่างนั้นละ เราเกิดมา นินทา สรรเสริญ โคตร ผีบ้า ผีบอ เขาก็ว่ากันอยู่อย่างนั้นละ ที่รับเข้ามามันหนักแน่นอยู่ในหัวใจ ปล่อยให้เขาป่นไปป่นมา ใจปรกติอยู่แล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นปรกติอยู่แล้ว จะไปเดือดร้อนทำไมเล่า ไปหอบเอาของเขามาสิมันเดือดร้อน ของเราก็มีเต็มขี้ปุ๋ม (พุง) อยู่แล้ว บาปเราก็มี บุญเราก็มี นินทา สรรเสริญ โคตรพ่อโคตรแม่ ของเรามีเยอะ แต่เราไม่พูด โยนทิ้งหมด ก็สบายดีละก้า ไปหอบเอาของเขา ขี้โลภมากมันถึงเดือดร้อน ลูกก็ตาม หลานก็ตาม ลูกมันพ้นระหว่างขาของเราแล้วโล้ ไปหอบมันสังมันเป็นทุกข์ มันรู้ได้เสียก็พอละ รีบตั้งอกตั้งใจ ทำอาชีพอันใด ๆ ก็ดี ให้ตั้งใจ อย่าไปขี้เกียจขี้คร้านก็พอละ ว่ากล่าวด้วยวาจาของตน ช่วยสงเคราะห์อุปการะสังคโห ช่วยสงเคราะห์ก็พอแล้ว อันเขาใหญ่ขึ้นมาแล้ว รู้ผิด รู้ถูก รู้ได้ รู้ดี รู้มั่ง รู้มี ไปหวัน...มันก็เป็นทุกข์ละก้า ทําอันใดไม่พออกพอใจ แล้วก็ไปเดือดเขา บ่รู้พอหลงก็หลงมาพอแล้ว โลภก็โลภมาพอแล้ว รักก็รักมาพอแล้ว ชังก็ชังมาพอแล้ว เอ้า!! หยุด...พอแล้ว

ตัวสัญญา ตัวกิเลส มันตั้งขึ้นเสียก่อน ตัวกิเลสนั้นนะ ไปทักมันสัก ๓ ครั้ง มันก็ไม่หยุด อย่างพวกนอนในใบบัวกา ไต่หลังน้ำ...กา หมู่นี้มันเป็นเครื่องเล่นนับเข้าบารมี ๑๐ นี่ละ ขันติตัวอดมันได้ปีติ ได้กสิณฌาน กํามือจนเล็บมือผด (ทะลุ) หลังมือไม่รู้ตัว อันนั้นก็ยังไม่มีใครแก้ได้นา ไม่ยอมใครทีเดียว แต่ไม่ใช่ถึง เป็นแค่ฌานโลกีย์ทั้ง ๕ ปีติอันนี้ แต่อาจเป็นอยู่ในกามโลกอันนี้ บางคนก็ขี้หินป่งหู้ม (งอกปิด) รอบ ๆ ตัว บางคนก็ไปนั่งริมเก๊าไม้ (ต้นไม้) ป่งหุ้ม ได้สองหมื่นปีก็มี สามหมื่นปีก็มี เวลาจะอกก็กสิณนั้นละ เพิ่งกสิณให้แตกกระจาย พวกนี้ครั้งตายจากกามโลก ก็ไปพรหมโลก ไปดูเขาแล้วพวกนี้ เขาเป็นนักผนึกบารมีหนา ทานบารมี ทานภายนอก ทานภายใจ เขาก็ละได้ภายใจตัวอกุศล ตัวอกุศลาธัมมา นี้ละ เมาหลง เมาโกรธ เมาราคะ กิเลสตัณหานี่ละ มันเป็นกก เป็นเค้าเป็นเหง้า เป็นงูน กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไปจากนี้ละ เขาละได้จริง ๆ หนาเขาอดได้แต่ไปแก้ไม่ไหวหรอก อันที่ปีติตัวนี้ แต่ถอนได้เหมือนกันนั้นละ เวลาตายจากกามโลกนี้ ก็ไปพรหมโลก พวกนี้ไม่ตกต่ำ แต่ได้กลับมาเกิดอยู่ แต่พวกเพ่งพวกนั้น ยังสำคัญว่าตนได้สำเร็จพระนิพพานหนา... แต่มันไม่เป็นปัญญาวิมุตติ โลกุตรวิมุตติ ต้องแก้ไขอยู่เรื่อย จนกิเลสอาสวักขยญาณไปรู้กิเลสของตน กิเลสของกาย สิ้นไปหมด กิเลสของใจ เรามีกามฉันท์งอกขึ้น ดับไปแล้ว ก๋าลังศรัทธา ก๋าลังความเพียร ก๋าลังสติ ก๋าลังสมาธิ ก๋าลังโลกุตรปัญญา วิมุตติผู้แจ้งชัชวาล ตลอดจนถึงขันธปรินิพพาน ไตรวัฏมีเท่านี้แล้ว

นวํ นตฺถิ เราไม่ยินดี จะก่อภพใหม่ต่อไปอีกแล้ว มันก็หมดเรื่องกันเท่านั้นละก้า... มิเข้าไปนอนในท้องแม่นอนกินน้ำกาม เกิดแก่เจ็บตายไม่มีแก่เราต่อไป มันหมดสิ้นละทีนี้ ถ้าไม่หมดมันก็หมุนอยู่นั้นละ ค้นอยู่ในนี้ละ อย่าไปละ ท่านไม่ให้ประมาทก้อนธัมเมา อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ก็อันนี้แล้ว ทุกข์มันก็เกิดนี่ละสมมติอันใดทุกข์ก็อันนั้นละ มรรคสัจอันในนิโรธธรรม เป็นธรรมอันดับทุกข์ก็อันนั้นละ... ค้นอยู่ในนี้แหละครั้งไปค้นที่อื่น เดี๋ยวก็ไปติดแผนที่ จำแผนที่ได้อันนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ สติปัฏฐาน ๔ ไปรู้แต่แผนที่... ตัวธรรมแท้ๆ ไม่รู้ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปรู้แต่แผนที่เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็รู้แต่แผนที่ แล้วก็ไปติดแผนที่นั่นละ มันใช้ไม่ได้ละ... มันต้องวางแผนที่

อุโปปทานํ อุปโก สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโข เผาลงที่เดียวนั้น ให้มันแจ้งในที่เดียว แล้วมันจึงเป็นสุข ไปคุม (จับ) แต่แผนที่นั้นแล้วมันก็ไม่ทันการณ์ แผนที่อันหนึ่ง ภูมิประเทศอันหนึ่ง อย่างเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านว่าแต่ก่อนแปลเต็มที่นา แผนที่นี่ใช้วิภัตติปัจจัยได้ดี... ครั้งไปปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมาแล้ว โอ๊ย!!! มันห่างไกลกันตั้งหลายโยชน์ อันนั้นมันแผนที่ต่างหาก แผนที่ปริยัติธรรม... ให้น้อมเข้ามาที่ก้อนธัมเมานี่ละ ก้อนพระธรรมแต่เมานี่ ตัวนี่ละค้นเข้า ๆ จนแจ้ง ครั้งแจ้งแล้วก็รู้หมดละหมู่นั้น ครั้งมันแล่นอยู่ก็ของเก่า มันเป็นธัมเมาอยู่นั้นละ พุทโธธัมเมา สังโฆธัมเมา อกุศลาธัมเมา เมาหลง เมาโกรธ เมาราคะ กิเลสตัณหา มันต้องละพวกนี้ละก้า... จะไปละที่ไหน ? ค้นอยู่นั้นละ ตัวทุกข์ มันก็เกิดนั้น ถือตัวถือตนมันก็ถืออยู่นั่น ก้อนธัมเมานี่ละ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ สอนถึงแต่หนัง เนื้อหนังหุ้มห่ออยู่เป็นที่สุดรอบ ไม่รู้ดี รู้ชั่ว มันปิดบังหมด เป็นอวิชชาใหญ่โต อวิชามันตัวมืด... เอามันจนรู้แจ้งโล่ อรหํ มันก็หยุดละ... ไม่หยุดก็เป็นธัมเมาอยู่นั้นละ อวิชชาธัมเมา อตีตาธัมเมา อดีตก็เป็นธัมเมามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

นับอสงไขยไม่ได้ นับล้านอสงไขยไม่ถ้วน เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาตั้งแต่อดีต อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา มันเรื่องของสังขาร รู้เท่าสังขาร รู้เท่าสมมติ วางสังขารหมด วางสมมติหมด ก็โลกวิทูรู้แจ้งโลก รู้แจ้งโลกแล้ว ก็รู้แจ้งธรรม ฉะนั้น ไม่ให้ประมาท ให้ค้นอยู่ในก้อนธัมเมาอันนี้ละ พระธัมเมาก็ว่ามันเมาอยู่กับรูปนี้ ไม่เมารูปนี้ก็รูปอื่นมีทั่วไป ครั้งค้นนี้ให้แจ้ง แล้วก็หลุดออก แล้วมันก็สบาย วางขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เอาละอย่าไปเอามาก มันเป็นธัมเมา...

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


กามกิเลส
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือกิเลส ความไม่พอใจ ก็คือกามกิเลส กามกิเลสนี้ อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความพอใจให้อยู่ที่ใจนี่
กามตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำ ไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด ความอยากของตัณหามันไม่พอ ต้องทำความพอจึงจะดี เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดี ทุกอย่างเราทำความพอดี ความพอใจก็นำออกเสีย ความไม่พอใจก็นำออกเสีย เวลานี้เราจะพักจิต ทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้ง ในกายในใจของเรานี้ รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีต อนาคตทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนาคือตัวกรรม
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว


โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 001506 จากคุณ : HTML_g [ 21 ส.ค. 2543 ]

คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งก็เพราะเดิม เจตนากรรมบุญ เจตนามีบาป สองอย่างนี้ก็แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมชั่ว กรรมบุญ เจตนารักษาศีล คือการสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ อาศัยความอดทน อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทนคือความ อดกลั้นต่อบาปอกุศล มันสำคัญอยู่ที่กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาใน ปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางใจปัจจุบัน

ตั้งเจตนาให้ จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญา ตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ ตัดอย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ ขัติปารมี อดกลั้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ขันติ ปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตมันมาแต่ดึก ดำบรรพ์ ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ

ก็ตัณหานี้ ละออกจากจิตจากใจเสีย ก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ ทั้ง 5 ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา มันสำคัญก็ไม่ว่า ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาปเข้าไปครองจิตใจแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธ เป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้อย่าเอามาหมักไว้ในใจ ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วาง จึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำเอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดมาใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใจ กาย วาจา ใจ ของเรานี้รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช้ที่อื่น

อดีตอนาคตที่ใจนำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ 5 เขาก็ตั้งอยู่ปกติ รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ อันนั้น ต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่าน อย่าเอามา หมักไว้ในใจ ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติเวลาจะทำจิตใจทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจจะเดือนร้อน ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าปล่อยให้ใจไปเกาะเที่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรมให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบันให้รู้มรรค รู้ผล

"ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ"
ต้องการ ละ ความพยาบาท หรือ ความคิดปองร้าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา หรือ ไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข ต้องการ ละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่น เจริญ กรุณา หรือ เอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องการ ละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่น เจริญมุทิตา หรือ พลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี ต้องการ ละ ความขัดใจ ต้องหมั่น เจริญอุเบกขา หรือ การวางใจเป็นกลาง ต้องการ ละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่น เจริญอสุภะ หรือ เห็นความไม่งามเบื้อหลังความงาม ต้องการ ละ ความคือตัวถือตน ต้องหมั่น เจริญ กฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมโอวาทของหลวงปู่
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว


จากบทความ @@เกจิโลกไม่ลืม (หลวงปู่แหวน) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
http://www.siamrath.co.th/Religion.asp?ReviewID=65152


ธรรมะโอวาทของหลวงปู่มักเป็นคำสอนสั้นๆ แต่กินความหมายลึกซึ้ง เวลาท่านให้โอวาทแก่ศิษยานุศิษย์ที่ไปนมัสการ ถ้ากล่าวถึงศีล ท่านจะกล่าวย้ำลงไปที่กาย คือ ขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง นี่แหละคือศีลห้า ถ้าจะรักษาศีลก็ให้รักษาที่นี้ คือสิ่งทั้ง 5 ที่เราสมมติเรียกกันตามภาษาโลกว่าตัวเรานี้ ถ้าเรารักษาตัวเราให้อยู่เป็นปกติ ไม่ไปละเมิดสิทธิในชีวิตของผู้อื่นสัตว์อื่น ไม่ไปละเมิดในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิในภรรยาสามีและหญิงชายที่ต้องห้าม ไม่กล่าววาจาทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยเจตนาอันเป็นคำเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมาอันเป็นมูลเหตุแห่งความประมาท ถ้ารักษาตัวเราให้อยู่ในขอบเขตอย่างนี้ หลวงปู่ท่านเรียกว่ารักษาศีล ศีลในทรรศนะของหลวงปู่ไม่จำเป็นต้องไปขอจากใคร ต้องทำ ต้องงดเว้น ให้เกิดให้มีขึ้นในตนของตนเอง จึงจะเป็นศีลที่สมบูรณ์ ศีลที่ไปขอจากผู้อื่น หลวงปู่ท่านเรียกว่า ศีลขอ ศีลยาก ศีลจน ไม่ใช่ศีลมั่งมีศรีสุข

ในด้านธรรมะปฏิบัติเกี่ยวกับสมาธิภาวนา ส่วนมากหลวงปู่จะแนะนำให้เอา พุทฺโธเป็นอารมณ์ของจิตไปก่อน เมื่อบริกรรม พุทฺโธ จนจิตเป็นสมาธิแล้วให้วาง พุทฺโธ แล้วกำหนดผู้รู้คือจิต เมื่อพักอยู่ในความสงบพอควรแล้วให้ถอนจิตขึ้นมากำหนดพิจารณากายเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน พิจารณาอยู่จุดเดียวจนเกิดความชำนิชำนาญแล้ว จึงขยายต่อไปสู่ส่วนอื่นจนทั่วทุกส่วนของร่างกาย เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจให้หมดสงสัย ทั้งกายตนกายผู้อื่น ทั้งหญิงทั้งชาย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์อย่าให้จิตส่งออกภายนอกกาย เอากายนี้เป็นเป้าหมายในการพิจารณาเอากายนี้เป็นมรรค เอากายนี้เป็นผล ถ้าผู้ปฏิบัติส่งจิตออกรู้ภายนอกจากกายนี้ เป็นการปฏิบัติที่ผิดทาง

หลวงปู่เน้นคำสอนของท่านโดยอ้างว่า ในพระพุทธศาสนาพระอุปัชฌาย์ไม่ว่าใครเวลาให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ต้องสอนกรรมฐาน 5 คือยก เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ขึ้นสอน คือบอกให้กุลบุตรผู้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สิ่งที่มีอยู่ในตนนี้แหละ เป็นมูลกรรมฐาน เป็นตัวกรรมฐาน คนเราเกิดความรัก ความชัง ก็เพราะกายนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจึงต้องพิจารณากายนี้ให้เข้าใจ หลวงปู่ท่านย้ำบ่อยๆ ว่า คนเรานั้นมารักมาหลงมาติด มาเห็นว่าสวย มาเห็นว่างาม จนเกิดฉันทราคะนั้น เห็นอยู่ที่ผิวหนังเท่านั้น ถ้าลอกผิวหนังออกลองพิจารณาใคร่ครวญดู สิ่งที่เรารัก เราหลง สิ่งที่เราเห็นกันว่าสวยว่างามนั้นมันอยู่ตรงไหน ลอกส่วนที่มันปกปิดความจริงซึ่งมีเพียงนิดเดียว แต่ปัญญาเรามองผ่านทะลุเข้าไปไม่ได้ ส่วนใหญ่ที่เหลือเป็นอย่างไร น่ารักไหม น่าหลงไหม สวยงามไหมให้เปล่าๆ เอาไหม แถมกระดาษราคาเท่านั้นเท่านี้ ให้อีกเอาไหม ถึงกับจ้างแล้วยังไม่มีใครเอา ก็แสดงว่ามันไม่ใช่ของที่น่ารัก น่าหลงของสวยของงามอย่างที่เราเข้าใจ ถ้าความจริงเป็นความจริง ใครล่ะจะปฏิเสธ

หลวงปู่จะย้ำแก่ศิษย์ว่า อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธัมโม อดีตเป็นสิ่งที่ลวงไปแล้ว ผ่านไปแล้วดีชั่วก็ผ่านไปแล้วล่วงไปแล้ว ถ้ามัวคำนึงอยู่เป็นทำเมา คือมัวเมากับสิ่งที่มันผ่านเราไปแล้ว สิ่งใดที่ผ่านไปแล้วไม่สามารถเอากลับคืนมาได้แล้ว อนาคตคือสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดยังไม่มาถึงยังไม่เกิดยังไม่มี ถ้ามัวไปคำนึงถึงอยู่ก็เป็นทำเมา คือมัวเมาอยู่ในสิ่งที่มันยังไม่เป็นความจริง เปรียบด้วยความฝันเท่านั้น กาลทั้งสองเป็นกาลกระทำที่เสียเวลาไปเปล่าๆ ปัจจุบันเป็นธัมโม เพราะสิ่งต่างๆ ที่เราเห็น เราเกี่ยวข้องสัมผัสอยู่นั้น มันเกิดมันมีอยู่ในปัจจุบัน เราจะละความชั่วก็ต้องละในปัจจุบัน สร้างความดีให้เกิดให้มีขึ้นในตน ก็ต้องสร้างในปัจจุบัน ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นธัมโม
ในด้านปัญญาหลวงปู่จะสอนผู้ที่ดำเนินมรรคปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ ให้กำหนดเหตุ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับลง จิตก็เป็นพุทโธ เพราะละเพราะวางเพราะถอดเพราะถอนเหตุแห่งธรรมได้แล้ว เหตุแห่งธรรมดับลงแล้ว จิตจึงเป็น พุทโธ ก็สบายเท่านั้น ผู้นั้นก็มี พุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่ที่ใจ ใจเป็นพุทโธ ใจเป็นธัมโม ใจเป็นสังโฆ ก็สบายเท่านั้น นั่นแหละคือที่สุดของวิบากกรรม นั่นแหละคือที่สุดของวัฏฏะ


.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ใกล้ตาย จึงนึกถึงพระ
มีทุกข์มาถึง จึงนึกถึงพระศาสนา
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว


บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักไม่เห็นคุณพระศาสนา มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจ ให้ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัย เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มีนั่นแหละ จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว

ทำความดีให้เป็นที่อยู่ของจิต
ความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค คือ ทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดี ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้วให้ไปรับศีล เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด
เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจไยดีกับศีลได้ เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้ เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้ว แต่ส่วนมากใกล้ตายแล้วจึงเตือนให้รักษาศีล

ส่วนคนตายแล้วไม่ต้องพูดถึง เพราะคนตายนั้นร่างกายจิตใจจะไม่รับรู้ใดๆ แล้ว แต่ก็ดีไปอย่างเหมือนพระเทวทัต ทำกรรมจนถูกแผ่นดินสูบ เมื่อลงไปถึงคางจึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ขอถวายคางเป็นพุทธบูชา พระเทวทัตยังมีสติระลึกถึงได้ จึงมีผลดีในภายภาคหน้า

ความดีเราทำเองดีกว่า
แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงมาขอส่วนบุญ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ทำอันตรายแม้พระพุทธรูป แผ่เมตตาให้ไปได้รับหรือไม่ก็ไม่รู้ สู้เราทำเองไม่ได้ เราทำของเรา ได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ อิ่มเอิบใจเท่านั้น

ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ใจก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ทางของบุญหรือบาปเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเราเอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน เราทำเอง สร้างเอง อย่ามัวมั่วอดีต เป็นอนาคต มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่เป็น "ธรรมดา"

ความดีต้องทำในปัจจุบัน
สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถไปตัด ไปปลงมันได้อีกแล้ว สิ่งที่เราทำไปนั้น ถ้ามันดีมัน ก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว ถ้ามันชั่วมันก็ชั่วไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เช่นกัน
อนาคตยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง เราก็ยังไม่รู้เห็นว่ามันจะเป็นอย่างไร อย่างมากก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนเอาเอง ว่าควรเป็นยังงั้น เป็นยังงี้ ซึ่งมันอาจจะเป็น ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคะเนก็ได้
ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริง ได้สัมผัสจริง เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบัน ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้ ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้.....

ที่มา ธรรมจักร

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ตา หู จมูก เป็นเหตุ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว

วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕
คัดลอกมาจาก http://loungpu.th.gs/


ภาวนา กำหนดใจ ถ้ากำหนดใจได้แล้ว มันจึงรู้ พุทโธ เป็นมรรคของใจ ถ้าภาวนากำหนดจิตยังไม่ได้ มันก็แพ้กิเลส กิเลสมันอยู่ก่อน
ต้องมีสติรักษาใจจึงจะดี ถ้าไม่มีสติจิตก็จะไปเกาะเกี่ยวอันนั้นอันนี้ทั่วไป พาให้หลงไป เวลาหลงไป เช่นหลงอะไร ให้ยกอันนั้น ขึ้นสู่การพิจารณา ตัวอย่างกาย ให้เพ่งแยกส่วนของกายออก แต่ละส่วนเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ไหลเข้าไหลออกตลอดอยู่ทกขณะ การที่พิจารณาแยกแยะจนเห็นเป็นของไม่งาม ไม่ใช่ของง่าย ในเมื่อจิตยังแส่ส่ายหาอารมณ์อยู่

ต้องอาศัยความพากเพียรอดทน เมื่อจิตมีกำลังมันจึงสงบ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จิตมันก็ไม่เป็นไป ตัวขี้เกียจขี้คร้านนี้แหละเป็นตัวทำให้เสีย เป็นตัวกิเลส เวลานั่งประเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวหาว พวกนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแหละถ้าพร้อมด้วยการกระทำจึงจะได้กำลัง ถ้าไม่พร้อมมันก็ไม่มีกำลัง

ร่างกายของเรานั้นที่เราเห็นว่างาม ก็เพราะมีของไม่สะอาดเต็มท้องเต็มไส้อยู่ ถ้าในท้องในไส้ไม่มีอะไรเลย ลองดูซิมันจะงามไหม ถ้าของในท้องในไส้ไหลออกหมด มันก็เหี่ยวแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ถ้าพูดกับความจริงแล้ว ทั้งร่างกายเต็มไปด้วยของเสียทั้งหมด ถึงอย่างนั้นก็ยังหลงไปว่าเป็นของสวยงาม แต่ใจมันไม่ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดหนา เราต้องภาวนาพิจารณากลับไปกลับมา ทบไปทวนมาอยู่นั้นแหละ เราไปหลงของไม่งาม จับอันนั้นต่ออันนี้เลยเห็นว่างามจนติดจนหลง
การภาวนาถ้านอนภาวนา มันเป็นภาวนอนไปเสีย การฉันอาหารถ้าฉันมากเกินไป เวลาภาวนาก็นั่งหลับไปเสีย มันหลายเรื่องหลายราว ถ้าอะไรมันมากไป จิตมันไม่สงบ ห้ามมันไม่ฟัง อาหารมันทับ
พวกเรานอนกันอยู่ในท้องของมารดาตั้ง ๙ เดือน ๑๐ เดือน จึงจะออกมาพ้นร้องไห้ อุแว้ ๆ ได้ ถ้าดีใจก็หัวเราะ เสียใจก็ร้องไห้...

กามนี้เราเคยติดมาแล้วนับอเนกอนันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เร่งความเพียรจนรู้แจ้งเห็นจริง กามตัวเดียวที่ทำให้สัตว์ตาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เอาเข้ากลายเป็น กามตันหน้า ภวตันตา วิภวตันใจ

เมื่อกามเหล่านี้เข้าไปอุดไปตัน หน้า ตา ใจ แล้วก็เกิดความหลง ความรัก ความชัง ความพอใจ ก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม มันเกิดขึ้นกับใจ
ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรักความชัง ตา เป็นเหตุ เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์ น่าเกลียดน่าชัง หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดก็หลง ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ

การฆ่ากันก็เพราะกาม รักกันก็เพราะกาม ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ ถ้าจะขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกกาม เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น
พิจารณาให้ดี ๆ เป็นอย่างไรมันจึงหลงไป จนกลายเป็นบ๋อยรับใช้ไป

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


สุจิณฺโณรำลึก

คัดลอกจากหนังสือชื่อเดียวกัน
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

คำนำ

หนังสือนี้ศิษย์คณะหนึ่งของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, วัดดอยแม่ปั๋ง, เชียงใหม่ พร้อมใจกันจัดพิมพ์ขึ้นเป็นของชำร่วยแก่ผู้ที่ไปถวายเพลิงศพหลวงปู่, เป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลตามกำลังความสามารถ หนังสือแบ่งออกเป็นสามภาค คือ ภาคประวัติ ภาคธรรมะ และภาคอนุสรณ์ ภาคแรกเป็นประวัติย่อของหลวงปู่ ส่วนใหญ่ได้จากหนังสืออนุสรณ์เปิดตึกสุจิณโณ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคธรรมะ เป็นเทศน์ของหลวงปู่ ได้จากมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ๑ กัณฑ์ กับจากสถานีวิทยุ ๐๑ ภาคพิเศษอีก ๑ กัณฑ์ ภาคอนุสรณ์เป็นการรวบรวมธรรมภาษิตเบ็ดเตล็ดที่ลูกศิษย์ เขียนติดไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัดของหลวงปู่ ซึ่งผู้ที่ไปนมัสการหลวงปู่ส่วนมากคงเคยอ่านแล้ว หากได้เห็นอีก จะได้ระลึกถึงท่าน ทั้งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ด้วย หวังว่าทั้งสามภาคที่มีอยู่ในหนังสือนี้ จะเตือนใจให้ระลึกถึงหลวงปู่ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องราวของท่าน ธรรมะของท่าน และบริเวณแวดล้อมของท่าน เป็นอนุสรณ์ที่สมบูรณ์

บุญกุศลใด ๆ ที่เกิดจากการพิมพ์และแจกจ่ายหนังสือนี้ ขอน้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นพระราชกุศล และแผ่ให้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้พวกข้าพเจ้าจงประสบทางแห่งความดีเทอญ

คณะผู้จัดพิมพ์

อวย เกตุสิงห์ ผู้รวบรวม

๑๖ ซอยราชครู ถนนพหลโยธิน (๕)

กท. ๑๐๔๐๐



.. :b44: :b44: :b44: ..


เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
ณ วัดดอยแม่ปั๋ง
กัณฑ์ที่ ๑


:b48: ถาม – หลวงปู่มีอะไรจะแนะนำในเรื่องการปฏิบัติทางจิตบ้างครับ
:b44: ตอบ – จะเอาทางจิตทางใจก็แ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นี้มีขึ้นที่ใจอย่างเดียว รักษาแต่ใจอย่างเดียวให้แน่นหนา รักษาแต่ใจอย่างเดียวตลอดชีวิต รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถสิบ รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ นี่เป็นเบื้องต้น

เวลาอยู่ในคนหมู่มาก ได้พูดกับคนหมู่มาก บางทีก็จะลืมตัวไป จงมองเข้ามาดูใจนี้ ใจนี้เป็นใหญ่ คุมกายกรรม วจีกรรม ให้รู้เข้ามาในกาย ให้มองมาดูใจนี่แหละ เอาใจนี้เป็นผู้รู้ ใจนี้เองน่ะแหละเป็นผู้หลง ใจนี้แหละเป็นผู้ละ ปฏิบัติกายวาจาใจนี่ให้เรียบร้อย กายนี่ก็ออกไปจากใจนี่แหละ ให้พิจารณา กายนี่เขาก็ไม่เที่ยง ใจนี่เขาก็ไม่เที่ยง

แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ก็ชี้เข้ามาที่ใจนี่แหละ ใจนี้เป็นเหตุ ให้ใจนี้ละ ให้ใจนี้วาง ให้ใจนี้ถอน ถอนทุกสิ่งทุกอย่างหมด มันจึงจะได้

ถอนทีแรกก็เอาใจนี่แหละถอน ถอนอยู่ที่ใจนี้ ละอยู่ที่ใจนี้ วางอยู่ที่ใจนี้ ให้ใจนี้รักษา ต้องรักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษากายวาจานี้แหละ

รูปมาทางตานี่ ก็นึกที่ใจ พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ก็ที่ใจนี่แหละ เอาศีลนำออกมาให้หมดจากใจของตน ละออกจากใจนี่แหละ เอาใจนี่วาง เอาใจนี่ถอนมันให้หมด เวลาไปหาหมู่มาก พูดไปพูดมาแล้วก็หลง มันหลงใหลอยู่เท่านั้นแหละ ต้องน้อมเข้ามาที่ใจของตน สิ่งใดก็ตามเถอะ ให้น้อมเข้ามาสู่ใจ
แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็ชี้เข้ามาที่ใจของตน อุปัชฌายะสอนก็สอนเข้ามาถึงกายนี้แหละ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ปัญจกกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน ฐานที่ตั้งของกายนี้แหละ กายเขาไม่รู้แจ้ง จะรู้แจ้งก็รู้แจ้งที่ใจนี่แหละ เอาใจละสิ่งทั้งหลายที่มาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มาทางตา ที่พอใจก้ดี ม่พอใจก็ดี มาทางหู ที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี มาทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่พอใจก็ดี ที่ไม่พอใจก็ดี เอาศีลนี่แหละนำออกเสียด้วยปัญญาของตนออกไปจากใจนี้
ใจเป็นผู้รู้ ผู้ละ ผู้ถอน ผู้วาง รับเอาทุกเรื่องก็ไม่ไหวละ มันเป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ

เรื่องอดีตอนาคตก็ใช้ปัญญานำออกให้หมด ตัดอดีต อนาคตหมดอย่าให้มันเหลือ อดีต อนาคตมันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตัดอดีตอนาคตออกแล้ว ให้จิตนิ่งอยู่กับปัจจุบัน เดินอยู่กับปัจจุบัน ว่างอยู่กับปัจจุบันวางอยู่กับปัจจุบัน มันจึงเป็นพุทโธ มันจึงเป็นธรรมโม สังโฆ อยู่นี่แหละ

มัวเอาที่อื่นก็ไม่ไหวละ รักษาตา รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษาหู รักษากาย ใจ ให้ตลอด เวลาพบคนมาก มันก็ต้องมีหลายสิ่งหลายประการ พูดอยู่ก็ต้องน้อมเข้ามาหาใจ มากำหนดให้รู้ใจของตน อุปาทานทั้งห้ามันเกิดมาจากใจนี่แหละ อนิจจังทั้งห้ามันก็เกิดจากใจนี่แหละ เหตุมันก็มาจากใจนี่แหละ ทุกขังทั้งห้าก็ดี อนัตตาทั้งห้าก็ดี นิจจังทั้งห้าก็ดี มันเป็นนิจจัง มันอยู่คงที่ มันเที่ยงอยู่ อนัตตาทั้งห้ามันวางหมด แล้วทีนี้มันเป็นอัตตาตั้งอยู่ภายใน ยึดเรื่อยไปก็เป็นอัตตา แต่อาศัยอนัตตาอยู่ เพราะว่าไปพิจารณาอยู่
อุปัชฌาย์สอน ก็ชี้ลงที่กายนี้เสียก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นึกถึงปัญจกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน เวลาได้โอกาสก็ให้นั่งทำความสงบ ทุกข์มันจะเกิดขึ้น มันก็เกิดที่นี่ ที่ใจนี่แหละ เจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอวก็เกิดขึ้น กำหนดทุกข์เข้าจนรู้เหตุรู้ผล รู้เหตุว่ามันนำทุกข์มาให้เสวย เหตุดับ ทุกข์ดับ ปัจจัยของเราก็ดับ อวิชชาความมืดก็ดับ

นี่แหละให้หมั่นตั้งใจรักษา ศีลก็บัญญัติลงที่ใจนี่แหละ สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี บัญญัติลงในกายในใจนี่แหละ สองอย่างเท่านี้แหละ รุ้ทางกายก็วางไว้หมด รู้ทางกาย ก็ชวนเข้ามาที่ใจนี้แหละ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รุ้ที่ใจนี้แหละ ใจจึงเป็นเหตุ ก็เอาใจนี่แหละละ ก็เอาใจนี่แหละถอน เอาใจนี่แหละวาง วางอยู่ที่ใจนี่แหละมันจึงจะใช้ได้ ถ้าไปเอาอันอื่นมาละ มันใช้ไม่ได้หรอก

ที่อุปัชฌาย์สอนก็สอนที่กายนี้ ดีสงบก็ที่กายนี้ ดีสงบก็ที่ใจนี้ คิดดีก็ใจนี้ คิดชั่วก็ใจนี้ ดูไป ๆ มันก็ได้กำลังนะ เอาเข้า ๆ มันก็ได้กำลัง เบิกยา รูแจ้งเห็นจริง ผู้ปฏิบัติน้อมเข้ามาปฏิบัติกาย วาจา ใจ ธรรมะเกิดขึ้นในดวงใจนี้ เวทนาคือตัวกรรม ไม่ใช่มีกับเราเท่านั้น เวทนาคือตัวกรรมบุญ เวทนาคือตัวกรรมบาป น้อมทเข้ามาที่นี่จนถึงอัพยากตธรรม ทางนี้ไม่มีกิเลสหนา อัพยากตธรรมเป็นฐาน น้อมเข้ามาที่นี่ พูดมากคุยมากมันก็มากไป จงหยุดน้อมเข้ามาในใจเสียก่อน เดี๋ยวจะลืมไป

เอาแค่นี้ก็อยู่ได้ เอามามากมายก็จะทุกข์ ใจนี่มันคิด ใจนี่มันทุกข์ ตัดออกให้หมด ไม่คิดไม่นึก เมื่อไม่คิด จิตของเราก็ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ได้ไปที่ไหน รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้า นำเอาเข้ามาหมักหมมไว้ในใจ ให้เขาผ่านไป ไม่เก็บเข้ามา ใจก็เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นปกติ รูป เสียง กลิ่น รสนี่เป็นธรรมดาโลกนะ ดีเขาก็ว่า ชั่วเขาก็ว่า ร้ายเขาก็ว่า ก็มีอยู่อย่างนี้แหละ รักษาจิตให้ดี ทำทุกวัน เวลาได้โอกาส พักผ่อนให้ทำไป ทำให้มาก มันก็ทำจิตให้เบิกบานผ่องใส

:b48: ถาม – การที่จะรักษาความสงบควรทำแบบไหนครับ
:b44: ตอบ – ให้ใจนี้ละ อันใดที่ยังคงขัดข้องอยู่ในใจนี้ ให้ละ จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนเสีย ให้เขาเสีย ของเราก็มีอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของเรามีอยู่ครบแล้ว ชั่วก็มี ดีก็มี เวทนาก็มี อะไรก็มีหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่ต้องเอาของเขา มันก็วางได้ มันก็จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนให้หมด เอาออกจากใจให้หมด หาอุบายถอนออกจากใจนี่ อย่าให้มันหมักหมมอยู่ มันเป็นทุกข์

:b48: ถาม – จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครเคยเป็นอะไรมาแต่ชาติก่อน ๆ
:b44: ตอบ – อันนั้นมัน วิชชาจรณะสัมปันโน ต้องพร้อมด้วยวิชชาสาม มีปุพเพสันนิวาสานุสสติญาณ เหมือนครูอาจารย์มั่น ท่านศึกษาจนรุ้ดีว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิมานี่ได้กี่ภพกี่ชาติกี่อสงไขย หรือพระพุทธเจ้าได้พยากรณ์ไว้แล้ว สาวเข้าสาวเข้าก็ถึงวันที่ตั้งความสัตย์ ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ที่ ตาย ๆ เกิด ๆ นี่ก็หลาย ตายก็เพราะกาม เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม สุขก็เพราะกาม

ท่านมองดูชั้นฟ้าท้องฟ้าจนจดพุทธภูมิ พุทโธ่ เราจะมาตายมาเกิดอย่างไม่มีกำหนดอีกแล้ว จากนั้นท่านก็เร่งความเพียร จนตีสองก็ได้วิชชาสอง คือ จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ภพนี้ ดับที่นี้ ไปเกิดที่โน้น ภพโน้น ดับที่โน้น ดับที่นี่ไปเกิดที่โน่น ดับที่โน่นไปเกิดที่นั่น อันนี้ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชาชั้นสาม รุ้จักกิเลสของตนว่าสิ้นไปหมดไป กิเลสของกายวาจาสิ้นไปหมดไป กิเลสของใจเราสิ้นไปหมดไป เรามีกรรมเป็นอันขาด มีกรรมอันไม่งอกแล้ว จิตดวงหลังดับไปอยู่แล้ว อาศัยกำลังทั้งห้า คือกำลังศรัทธา กำลังความเพียร กำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา ให้รู้แจ้งชัชวาล เพื่อดับขันธปรินิพพาน เราไม่ยินดีจะก่อภพใหม่อีก ก็หมดเรื่องไป

:b48: ถาม – หลวงปู่มีอะไรเกี่ยวข้องกับใครบ้างไหม
:b44: ตอบ – นิมิตต่าง ๆ มันต้องศึกษา พอรู้เท่าแล้วก็วาง ๆ ๆ เข้าไปเล่นวนอยู่ก็เป็นธรรมเมาละ ประเทศชาตินี่ก็อาศัยคนมาก จะตั้งทางไหน ก็ตั้งอยู่กับความยุติธรรม จะตั้งทางไหน ก็หมั่นทำ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ มันเกิดอะไรเบียดเบียนละก็น้อมเข้ามาหาใจ ให้มันสงบก็สบายเท่านั้นแหละ ให้รู้อยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มันจึงเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอยู่แค่นี้ก็พอแล้ว ความเกิดแก่เจ็บตายมันเป็นกงจักร กงจักรมันบดสัตว์ ความเกิดแก่เจ็บตาย มันเป็นของจริงเมื่อเรายังมีภพมีชาติอยู่ เวลาหยุดพักผ่อนก็ให้ทำความสงบทันที ปฏิบัติที่ใจนี้ คนมันมาก พูดกับคนนี้ก็เป็นอย่างหนึ่ง กับคนโน้นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ลงรอยกันสักที อายุสังขารของเรามันก็เต็มที่แล้ว วันคืนเดือนปีมันก็สิ้นไปหมดไป เราจะทำอะไรอยู่ก็ตามก็ต้องหมั่นทีจิตของเราไปเรื่อย ๆ เวลาธาตุทั้งสี่ ขันธ์ทั้งห้า จะพรากจากกัน ดินก็ไปเป็นดินของเก่า น้ำก็ไปเป็นน้ำของเก่า ไปมันก็ไปเป็นไฟของเก่า ลมก็ไปเป็นลมของเก่า อากาศธาตุมันก็วางไว้อย่างเก่านั่นแหละ เหลือแต่ใจ ดินก็ไม่ใช่ใจ น้ำก็ไม่ใช่ใจ ไฟก็ไม่ใช่ใจ ลมก็ไม่ใช่ใจ แต่เราก็อาศัยสิ่งเหล่านี้แหละ นี่มันก็เป็นสมบัติของบิดามารดา นะ กับ โม นี่แหละสมบัติ ของดี จะไปตั้งศีลก็อาศัยสมบัติของบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย นี่แหละ เวลาจะทำบุญสุนทานก็อาศัยสมบัติของบิดามารดาเป็นที่ตั้ง จะเล่าเรียนวิชาของโลกมันก็เอาสมบัติของบิดามารดานี่แหละเป็นที่ตั้ง

:b48: ถาม - ทำไมคนบางคนอยากจะทำชั่ว ทำไมคนบางคนอยากจะทำดี คนทำชั่วก็ไม่มีโอกาสทำความดี เพราะคิดแต่จะทำชั่ว
:b44: ตอบ – มันเป็นเพราะกรรมนั่นแหละ เจตนามันก็กรรมนั่นแหละ เจตนาเป็นตัวกรรมบุญ เจตนาเป็นตัวกรรมบาป เจตนาทั้งนั้นแหละทั้งสองอย่างนี้ เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม กรรมดี กรรมชั่ว เจตนาที่เป็นกรรมบุญ ตัวอย่างเช่น เจตนาที่จะรักษาศีล วันนี้จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา จะรักษาใจให้ผ่องใสแผ้ว ทำความพอ มีขันติ ความอดทนทั้งกายและใจ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยว อตีตาธัมเมา อนาคตาธัมเมา

:b48: ถาม – คนที่ทำชั่วก็ต้องตกนรกไปเรื่อย ๆ เขาจะมีทางแก้ตัวไหม
:b44: ตอบ – ไม่มีหรอก ทำกรรมด้วยกายวาจาใจไว้แล้ว เจตนาฆ่าสัตว์ก็ดี เจตนาลักทรัพย์ก็ดี เจตนาทุกอย่างนั่นแหละ มันมีกรรมมาก เจตนามันเป็นกรรมชั่ว เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกาก็ดี เจตนานี้เป็นตัวกรรม ให้เจตนาเป็นกรรมบุญ ให้ตั้งอยู่ในเจตนาที่จะรักษากายให้จริงกาย จริงวาจา จริงใจนี่ ไม่ให้มันฟุ้งซ่านรำคาญไป ทำความพอหมด ตาก็เป็นปกติอยู่แล้ว หู จมูก ลิ้น กายก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจไม่ได้ไปที่ไหน ใจบริสุทธิ์นี้ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหนดอก มีแต่สัญญานี่ไปจำเอา ๆ มาหมักหมมไว้ที่ใจดอก ใจนี่มันก็เดือดร้อนเท่านั้น เดี๋ยวก็คุบ (ตะครุบ) โน่น คุบนี่ เดี๋ยวก็ง่วงเหงาหาวนอน เจ็บหลัง เจ็บแข้ง เจ็บขา เอาละ ขี้เกียจแล้ว จะนอนก็นอนเสีย หลับมาทุกวันทุกวันแล้ว ...............(มีเสียงรบกวน ฟังไม่ออก) ............................จะขึ้นรถหรือขึ้นเรือบิน ขึ้นคอปเตอร์หรือรถเรือทุกชนิด ก็ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทุกครั้ง นั่งไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากไปฝ่าอันตรายเข้าก็ใจหายและกลัวอันตราย ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ขออานุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม ให้ปราศจากภัยอันตรายทั้งหลาย ให้ไปเป็นสุข ถึงรถจะไปคว่ำลงหรือชนกันก็บ่เป็นหยังดอก

มีคนหนึ่งขึ้นเครื่องบินไปชายแดน เครื่องบินไฟไหม้ ตกลง คนตายหมด ผู้นั้นผู้เดียวรอด เขานั่งเครื่องตกสามเที่ยวแล้วยังไม่เป็นอันตรายสักที “อู๊คิดถึงหลวงปู่” เขาว่า
นึกถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นที่ตั้ง มันก็ผ่านพ้นภัยอันตรายทั้งหลายได้ .......(เสียงแทรก)..........ไม่สำเร็จหนา มันจะนำมาแล้วก็วุ่นวายอยู่ในจิตใจนี้ นั่นแหละอดีต ต้องตัดอดีตอนาคตให้มันเป็นแห่งเดียวกันเสีย มันมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว พระร้ายก็มี พระดีก็มี พระวุ่นก็มี มันก็วุ่นด้วยกามตัณหานี่แล้ว ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ความไม่พอใจก็ตัณหาอันนี้แหละ รักเกิดขึ้นก็นำออกเลย กรรมเกิดขึ้นก็นำออกจากจิตใจของตนเสีย ต้องละมันให้หมด แล้วก็สบายเท่านั้นแหละก๊า มีรัก มีชัง รู้เท่ามันเป็นจริงอย่างนั้นแหละ

:b48: ถาม – หลวงปู่ให้ละวางให้หมด อย่างบางคนเรารักเขา แล้วก็ละวาง อย่างนี้เรียกว่าใจร้ายไหม
:b44: ตอบ – จะนำมาหลายสิ่ง มันเลยรก มันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละ ศีลห้าก็ประจำอยู่ที่นี่ ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านไป เท่านั้นแหละ ดีหรือร้าย ดีเขาก็ว่า ไม่ดีเขาก็ว่า ว่าอยู่เรื่อย เต็มโลก เต็มบ้านเต็มเมือง เราก็วางเสีย อย่าเอาเข้ามาหมักไว้ในใจของตน วางเสียตรงนี้แหละ ละเสียที่ใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่น เอาใจนี่แหละละ มันจึงใช้ได้หนา อย่าไปพกแผนที่ ดูแผนที่ ดูทิศ ดูทาง จำได้มาก ๆ พูดกันได้ แต่เอาไปทำเมืองไม่ได้หนา มันต้องเข้ามาหากาย บัญญัติลงที่กายนี้ บัญญัติลงที่ใจนี้ รวมอยู่นี้ ละก็ละอยู่ในกายในใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่นหนา อดีตอนาคตก็มาละอยู่ที่ใจนี้ มันนำมาก็คุบอยู่นั่นแหละ คุบไป คุบมา ก็เดือดร้อนแล้ว

ต้องรู้เท่ามันนี่แหละ ตัดก็ตัดอย่างนี้แหละ เวลาที่เราทำจิตใจของเราให้สงบแล้ว มันก็สว่างหมด ทาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งอดีต อนาคต ให้นำออกให้หมด ใจเราไปเก็บมาหมด อดีต อนาคต แล้วก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เรื่อย มันต้องทำความพอ เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา วางหมดน่ะแหละ อะไรก็เห็นมาพอแล้ว ได้ยินมาพอแล้ว ทางฝ่ายโลกก็ดี ได้ยินมาพอแล้ว อย่าเอาเข้ามาหมักไส้ในใจอีก
กงจักรอันใหญ่หลวงคือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันกำลังบดเราอยู่ มันเป็นของจริง เราจะมัวไปหอบเอาอันโน้น อันนี้มา มันก็เป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ

อารมณ์ก็สัญญานี่แหละ สัญญาไปจำมันมา ใจเรารับมันมา คิดไป คิดมา มันก็เดือดร้อนอีก เวลานี้เรามาทำความพอ อะไร ๆ ก็ให้มันพอ หลงก็พอแล้ว โลภก็พอแล้ว โกรธก็พอแล้ว อันนี้เป็นรากเป็นเง่าของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ความพอใจก็เพราะตัณหา ความไม่พอใจก็เพราะตัณหานี่แหละ

กามตัณหานี่อุปมาเหมือนน้ำในแม่น้ำลำธารเล็ก ๆ น้อย ๆ นับไม่ถ้วน ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีเต็มสักที อันนี้ฉันใดก็เหมือนกันนั่นแหละ มันก็ไหลลงไปของมันนั่นแหละ อันนี้ตัณหามันไม่พอ เราจะทำความพอใจอยู่เดี๋ยวนี้ ทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิ เราทำความพออยู่เดี๋ยวนี้ อย่าเอามาเว้าอีก

อดีต อนาคตหมดแล้ว ดับไปหมดแล้ว กวาดออกหมดแล้ว ตัณหานี่มันไม่มีพอหรอก แต่เวลานี้เราจะนำเอาตัณหาความไม่พอนี้ออกเสีย เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา ทำกายของเราให้รู้แจ้งในภายในของเรานี้ นอกนั้นปล่อยหมด วางอยู่ที่ใจนี้แหละ ละอยู่ที่ใจนี้แหละ บนสังขารนี้แหละ

สังขารมันปรุงมันแต่ง มันเกิดมันดับ โทษทุกข์ภัย ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ว่าอยู่นี่แหละ นี่มันว่าจากสังขารก๊า มันปรุงมันแต่งขึ้น เป็นโน่นเป็นนี่ อดีต อนาคต มันก็เป็นนี่ ตัดนี่แหละ จิตก็นิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่กับปัจจุบัน ละอยู่กับปัจจุบัน ละที่จิตนี่แหละ จะไปละที่ไหน จะหอบเอาก็ไม่ได้หนา มันเสียเวลา เวลานี้เราทำความพอใจให้หมด ทำจิตใจให้ผ่องใส รู้แจ้งในมรรคในผล ในสมาธิ ปัญญา

ใจนี่แหละละอยู่นี่แหละ วางอยู่นี่แหละ จะไปวางที่ไหน อดีตอนาคตก็วางอยู่ในใจนี่แหละ เอาใจนี่แหละละ เอาใจนี่แหละถอน ถอนเอา ถอนเอา รู้เท่าอารมณ์นี้แล้วมันก็วางหมด อารมณ์มันก็ใจ ใจมันก็เป็นปกติ ตามันก็ปกติ หู จมูก ลิ้น กาย มันก็ปกติ มีแต่รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา แล้วก็พอแล้ว ไม่ให้มาหมักไว้ในใจ ใจมันก็ไม่เดือดร้อน ความโลภ ความโกรธ ความหลงเหล่านี้ เรามีอยู่ทุกอย่าง กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด มันก็มีอยู่ที่นี่แหละ อย่าไปหอบเอามา ความหลงมันก็มีอยู่ที่นี่ ความโง่ก็มีอยู่นี่ อวิชชาความมืดก็มีอยู่นี่ ของเราก็ถมเถไปแล้ว ไม่ต้องเอาของใคร

มันก็ต้องถอนไปเรื่อย ๆ แหละ เอาใจนี่แหละถอน ที่ร้ายก็ผ่านมา ที่ดีก็ผ่านมา ผ่านมาหมด ใจนี้ก็เป็นกลาง มีอิสระเท่านั้น อิสระแล้ว ใจนี้ก็หัวเราะ ธรรมทั้งหลายที่ดีก็ดี ที่ชั่วก็ดี มันไหลมาจากเกตุ ครั้นรู้เท่าเหตุแล้วมันก็ดับ อวิชชาก็ดับ รู้แจ้งเห็นจริงไปหมดละ ใจมันสำคัญนี่ เหตุมันเกิดจากใจนี่แหละ พอละก๊ะ ตั้งต้นหัดเอาละก๊ะ อธิษฐานไว้ เวลานี้ได้โอกาสที่ว่าง เราจะทำจิตทำใจของเรา ทิ้งทั้งหมด พอหมดแล้ว ผ่านมาพอแล้ว วางหมด

ถ้ามีสัจจะ จริงกาย จริงวาจา จริงใจนะ ไม่หลงไปตามเขา อารมณ์ทั้งหลายนี้ที่ผ่านมา อดีตอนาคตก็เพราะอารมณ์ เราจำเอามาหมักไว้ในใจ มันก็เดือดร้อน ทำความพอหมด ความโกรธ ความโลภ ความหลงทีมันเป็นเง่าเป็นกกแห่งกิเลสทั้งหลาย เราจะวางให้หมด ละให้หมด

กิเลสมันมาทุกด้าน ความพอใจ ความไม่พอใจมันก็กิเลสนั่นแหละ ความรักความชังนั่นก็กิเลส ตัวกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาไม่มีที่พอ พอละก๊า เวลานี้เราจะทำใจให้พอทุกอย่าง ใจนี้เป็นผู้ละ เป็นผู้วาง ผู้ถอนหนา ใจนี้แหละเป็นตัวเหตุ มันจำมา จำมา แล้วก็มาคิดมาอ่าน แล้วบางทีจะนั่งก็มาเจ็บหลัง เจ็บเอว ง่วงเหงาหาวนอน มันไม่ได้ธรรมนี่ จะว่าพุทโธ ๆ มันก็กลายเป็นธรรมเมาไปเสียแล้ว ต้องละอยู่ในใจนี่ สางอยู่ในใจนี่ ทำความพอใจอยู่ในใจนี่แหละ ตั้งความสัตย์จะทำจริง จริงกาย จริงวาจา จริงใจ เท่านั้นแหละ เมื่อจิตมันละหมดแล้ว วางหมดแล้ว มันก็มีแต่ดวงใจที่บริสุทธิ์เท่านั้นแหละ แจ้งในพระนิพพานก็แจ้งนั่นแหละ แจ้งที่ใจที่เป็นปกติอยู่นั่นแหละ

:b48: ถาม – จิตเทียมมันเป็นอย่างไร
:b44: ตอบ – จิตเทียมมันก็สังขารนั่นแหละ มันสมมติเป็นจิตเทียมนั่นแหละ ความเกิดความดับ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มันก็มาจากสังขารนี่ นั่นแหละจิตเทียม จิตแท้ ๆ จิตบริสุทธิ์ แล้วมันก็ไม่มีจิตเทียมหรอก ละได้แล้ว จิตบริสุทธิ์แล้ว มันก็สบาย

:b8: (เทปของมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ผู้ถอด)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


สุจิณฺโณรำลึก

คัดลอกจากหนังสือชื่อเดียวกัน
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

ณ วัดดอยแม่ปั๋ง
กัณฑ์ที่ ๒
๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๕


.......เทศน์ภายในเลยมันจึงเหมาะ ถ้าเทศน์ภายนอกนี่มันคล้ายกับแผนที่ตำรับตำรา พอปานกับเครื่องกระจายเราต้องเทศน์ภายใน

.......จะเอาอย่างใดอีก ตำรับตำราทางบ้านท่านฟังมาเต็มที่แล้ว จะฟังก็ในกายเท่านั้นแหละ ทีนี้ ให้ภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จะพากันละอุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตนเป็นตัว มันก็เป็นธรรมเมาอยู่นั่นเอง

พิจารณาสังขาร นามรูป ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ อุปาทานทั้ง ๕ มีรูปูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่หนึ่ง เวทนูปาทานักขันโธเป็นอุปาทานที่สอง สัญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สาม สังขารูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สี่ วิญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่ห้า ครั้นค้นคว้าอยู่ในธาตุสี่ ขันธ์ห้า วางธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้ได้แล้วละก็ ภาวนาสงบดี ครั้นเวทนาดับลง สัญญาดับลง สังขารดับลง วิญญาณดับลง รูปธรรมส่วนสมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม วางได้แล้วมันก็สบาย จิตก็สงบลง

ชำระศีลห้าของตนให้บริสุทธิ์ ทางตานี่ก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง ทางหูก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง นำความผิดออกจากตา ออกจากหู ออกจากจมูก ออกจากลิ้น ออกจากกาย ทั้งสี่ ทั้งห้านี้แหละ ศีลทั้งห้าก็อันนี้แหละ นำความผิด ความยินดียินร้ายออกจากจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หมดจด ทำให้เป็นไป จะเอาพุทโธเป็นบริกรรมก็เอา หรือจะเอาธัมโมเป็นบริกรรม เป็นมรรคภาวนาก็ได้ เคยทำกันมาแล้วกระมัง

ครั้นได้พุทโธ พุทโธ นี้เป็นอารมณ์ของจิตใจอยู่เป็นนิจ เวลาเอาเข้าหนักเข้า หนักเข้า ลมมันก็สงบได้เหมือนกัน แต่รักษาไว้อย่าให้เป็นธรรมเมา พุทโธ พุทโธ นี่นะ พุทโธ พุทโธ กลายเป็นธรรมเมา ธัมโม ธัมโม มันไม่เป็นธัมโม มันกลายเป็นธรรมเมาไปเสีย สังโฆ สังโฆ พวกนี้เป็นอารมณ์ของใจ ให้ดิ่งอยู่เป็นอันหนึ่ง นาน ๆ เข้าจิตใจก็สงบลงเป็นสมาธิได้เหมือนกันนั่นละ

รักษาธรรมเมานี้ไม่ให้เกิด อดีตธรรมเมา อนาคตธรรมเมา อดีตที่ล่วงแล้วมันนำมาหเป็นธรรมเมา อนาคตยังไม่มาถึงก็เป็นธรรมเมา ถ้าจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันมันจึงเป็นธัมโม อดีต อนาคตเป็นธรรมเมาแล้วจงรักษาดี ๆ มีสองอย่างเท่านั้นแหละ มันเป็นธรรมเมา นอกจากจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันนี่เป็นธัมโม มันไม่หมุนตามสังขาร มาหมุนตามสมมติ แล้วมันก็ใช้ได้

นี่ก็พิจารณา จะเอาพุทโธเป็นมรรคก็ได้ มรรคภาวนาหรือจะเอากายเป็นมรรค พิจารณากาย สังขาร นาม รูป อันนี้ใช้ชำนิชำนาญบุราณท่าน หรือสมัยนี้ก็เหมือนกัน กุลบุตรทั้งหลายที่มาบวชบรรพชาเพศ อุปัชฌาย์ท่านสอน กายนี่แหละเป็นมรรค เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา อนุโลม ปฏิโลม ทั้งเบื้องบนพิจารณาแต่เล็บเท้าขึ้นมาถึงปลายผม เบื้องต่ำพิจารณาตั้งแต่ปลายผมถึงเล็บเท้า นี่แหละเป็นมรรค เอากายเป็นมรรค ต่อเมื่อใดวางหมดแล้ว ไม่ยึดรูปธรรม นามธรรมเป็นตนเป็นตัว สัญญาก็สงบลง สังขาร ความปรุงแต่ง ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดับลง วิญญาณ ความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้บุญ รู้บาป รู้ผิด รู้ถูก ก็ดับลงหมด แล้วมันก็จิตสงบลงได้
ครั้นการรักษาธรรมเมานี่หนา มันมีอดีตอนาคตหุ้มมา อดีตมันเคยได้รู้ ได้เห็น จากเคยได้คุยกัน ว่าเล่นกัน เวลาตั้งจุดพุทโธ พุทโธ มันจะกลายเป็นธรรมเมาไปเสียนี่ ครั้นเผลอก็เป็นธรรมเมาไปแล้ว เมาคิดโน่น คิดนี่ อดีตที่เคยเห็นก็นำมาคิดเป็นธรรมเมาไปแล้วนั่น พุทโธที่จะเอาเป็นบริกรรม จะเอาเป็นอารมณ์ของใจก็ไม่ได้ มันเป็นธรรมเมาไปแล้ว มันปรุงไป แต่งไป เกิดไปดับไปในทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ จึงรักษาธรรมเมาไว้

อดีตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง อนาคตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลง แล้วก็สงบได้ รักษาแต่ธรรมเมาอันเดียวนี่แหละ ให้มันเผลอก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่เผลอ พุทโธ พุทโธ ดิ่งอยู่ นั่นแหละเป็นอารมณ์ของใจ เป็นมรรคของใจ เป็นที่พึ่งของใจก็ได้ อยู่ที่ รักษา ตัวเดียวเท่านั้นแหละ ทำให้ติดไป เก็บดิ่งอยู่เป็นนิจ ทำอย่างนั้นก็ใช้ได้ละ

.....สันทิ ทิฐิไปเปล่า ๆ นั้นก็เป็นธรรมเมาแล้วนะ ไม่ให้คิด ไม่ให้นึกมัวหลงเมายศ เมาเกียรติไปนั่นเป็นธรรมเมา อกุสลาธัมเมา กุสสาธัมเมา มันตั้งอยู่นั่นแหละ อัพยากตธัมเมา เป็นที่พิจารณากำหนดให้จิตดิ่ง ให้จิตสงบดี มันก็ใช้ได้ ครั้นสาวเข้าไปให้ถึงอกุสสลาธัมเมานี้ ความหลง ความโลภ ความโกรธ มันเกิดขึ้นละก็ มันเกิดกิเลส ก็ตัวนั้นแหละตัวหลง ตัวโลภ ตัวโกรธนั่นแหละ ตัวราคะ ตัดกิเลสตัณหา ความเจ็บความไข้ เป็นเหง้าเป็นโคนแห่งกิเลสทั้งหลาย กิเลสทั้งห้า ตัณหานับได้ เป็นอยู่ที่เจตนา ตัณหานี้ ความพอใจมันก็เป็นกิเลส ความหลง ความโลภนี่แหละมันเกิดขึ้น ระงับความหลง ความโลภ ความโกรธ ราคะกิเลสนี้ตัดออกหมดแล้ว ดับหมดแล้ว ความหลงความโลภนี้ เราก็รู้แจ้งได้นี่นา วิญญาภิสังขาร อวิญญาภิสังขาร ส่วนอันเป็นกุศล อกุสสลธัมมานี้ เราละได้ วางได้นี่นา ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร แต่งให้เป็นบุญ เป็นกุศล แต่งให้เป็นทานไปได้นี่ อกุสลาธัมมา นี่มันแต่งมาให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง แต่งมาให้ราคะ ให้กิเลสบังเกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา เมื่อมาละมันให้หมดได้ มันก็เป็นธัมโม ครั้นละไม่ได้มันก็เป็นธรรมเมา

อกุสสลาธัมเมานี่เมาโลภ เมาหลง เมาโกรธไปทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ เป็นเจ้าเป็นนายของกิเลสทั้งหลาย กิเลสตัณหา ภยายโอฆะ กามโอฆะก็อันนี้ ภวโอฆะ ทิฐิโอฆะ ก็อันเดียวกันนี้แหละ อวิชชาโอฆะ ดับหมู่นี้ได้หมด ก็เออสบายอกสบายใจ บริกรรมพุทโธไว้ให้สงบเป็นอารมณ์เดียว ทำให้เคยละก็ไม่ได้เชียวละ มันกลายเป็นธรรมเมา มันเคยเมา มันเมาคิด อดีตนั่นแหละมันคิดขึ้น ปรุงขึ้น แต่งขึ้นในเรื่องของสังขาร ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องของสังขาร เข้ากับสภาพแล้วละก็ เออ เป็นธรรมเมาละคราวนั้น ให้พิจารณากายนี้ให้มากยิ่ง ๆ ในขันธ์สมมติ เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ธาตุทั้งสี่ที่ยึดอยู่นี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นนามธรรม นามธรรมเกิดขึ้นแล้วมันลืมตัวนะ มันไม่รู้หรอก สังขารน่ะ นามธรรมอันนี้มันปรุงทีแรก ปรุงทั้งบาป ปรุงทั้งบุญ ปรุงทั้งผิดทั้งถูก ทั้งดี ทั้งชั่ว ถ้าไปหลงตามก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่หลงก็เป็นธัมโม

เมื่อละความโกรธ ความหลงสิ้นไปหมดแล้ว อันนี้ก็เป็นธัมโมอยู่เป็นนิจ ส่วนพิจารณา สังขาร นาม รูปนั้นคงแค่เป็นเหตุที่ว่ากุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา พยากตาธัมมา อพยากตาธัมมา

กุสลาธัมมา กุศลธรรม อกุสลาธัมมา อกุศลธรรม นี้เราแต่งเอาได้ แต่งให้เป็นบุญ แต่งให้เป็นบาป แต่งไม่ให้โลภ แต่งไม่ให้หลง แต่งไม่ให้โกรธ แต่งไม่ให้ราคะกิเลสบังเกิดขึ้น ใช้ได้ ครั้นแต่งไม่ได้ ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของความหลงความโลภละก็ ใช้ไม่ได้ละ เขาแต่งเราหนา ครั้นในแต่งเราละก็ เราเดือดร้อนหนา ความหลง ความโลภ ความโกรธ นี่เราแต่งได้ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ปุญญาภิสังขารเราแต่งให้เป็นบุญกุศลได้ อปุญญาภิสังขารเราแต่งบาปให้เกิดแก่จิตใจของเราได้ มันก็จะเป็นธรรมเมาอยู่เป็นนิจละ เข้าใจแล้วนะ

ทำเรื่อย ๆ สมควรแล้วละ เอาหนักเกินไปเป็นธรรมเมานะ ธรรมเมานี่ลำบากหนา มันเอาเรื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์โน่น เวลามันตั้งขึ้นมันเกิดมาแต่ไหนไม่รู้มัน ธรรมเมานี่มันสำคัญ พอเผลอขึ้นมาแล้ว มันเมาคิดเมา นึกไปเสียแล้ว เอาละ สมควร

อย่าเอามากมายเลย เอาทีละน้อย ให้มันรวมเข้า รวมเข้าเถอะ รวมเข้าแล้วเป็นเอกัคคตาได้เป็นดีนะ ชาวกรุงเทพฯ เขามาบ่อยนี่นา

:b8: (จากเทปบันทึกเสียงของ คุณสมพร ขัมภรัตน์)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: ๑๕๖. ของดีที่หลวงปู่มอบให้

เมื่อมีผู้ของของดีจาก หลวงปู่แหวน ท่านจะถามกลับและให้ธรรมะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนสติ เตือนใจ ดังนี้ :-
" ของดีอะไร อะไรคือของดี ของดีก็มีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว"
การที่ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้พยาธินั้น ก็มีของดีแล้ว การมีร่างกายแข็งแรง มีอวัยวะ ครบถ้วน ไม่บกพร่องวิกลวิการ อันนี้ก็เป็นของดีแล้ว

ของดีมีอยู่ในตน ไม่รู้จะไปเอาของดีที่ไหนอีก สมบัติของดีจากเจ้าพ่อ เจ้าเแม่ให้มา ก็เป็น ของดีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วทุกคน จะไปเอาของดีที่ไหนอีก
ของดีก็ต้องทำให้มันเกิดมันมีขึ้นในจิตใจของตน ความดีอันใด ที่ยังไม่มี ก็ต้องเพียรพยายาม ทำให้เกิดให้มีขึ้นนี่แหละของดี

ของดีอยู่แล้ว ในตัวของเราทุกๆ คน มองให้มันเห็น หาให้มันเห็น ภายในตนของตนนี่แหละ จึงใช้ได้ ถ้าไปมองหาแสวงหาของดี ภายนอกแล้วใช้ไม่ได้
ศีล ธรรม นี่แหละคือของดี

ศีล คือการนำความผิดความชั่วออกจากกาย ออกจาวาจา
ธรรม ก็คือความดีที่ป้องกันไม่ให้ความผิดหวังความชั่วเกิดขึ้นใน กาย วาจา ใจ
ทั้งศีล ทั้งธรรม ก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่เราไปแยกสมมติ เรียกไปต่างหาก
กาย วาจา ใจ ของเรานี้เป็นที่ตั้งของธรรม เป็นที่เกิดของธรรม เป็นที่ดับของธรรม ความดีก็ เกิดจากที่นี่ ความชั่วก็เกิดจากที่นี่ สวรรค์ก็เกิดจากที่นี่ นรกก็เกิดจากที่นี่

เราจะรักษาศีล ภาวนา ให้ทาน ก็ต้องอาศัย กาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ เราจะทำความผิด ความชั่ว ไปนรกอเวจีก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้เป็นเหตุ
เราจะรักษาศีล ทำสมาธิ ภาวนา ให้เกิดปัญญา ทำมรรค ผล นิพพาน ให้แจ้ง ให้เกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยกาย วาจา ใจ นี้แหละ”
นี่แหละครับของดีที่หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ มอบไว้ให้แก่พวกเรา ได้นำไปพิจารณาไตร่ตรองดู

:b43: ๑๕๗. เรื่องเครื่องรางของขลัง

เรื่องเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคล ที่พวกเราเสาะแสวงหา มาไว้ครอบครองนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านให้ความเห็นดังนี้ :-
หลวงปู่พูดอยู่เสมอว่า คนเรานี้แปลก เอาของจริงคือธรรมะให้ไม่ชอบ ไปชอบเอาวัตถุภาย นอกกันเสียหมด ที่พึ่งที่ประเสริฐ คือพระรัตนตรัย นั้นประเสริฐอยู่แล้ว แต่กลับไม่สนใจ พากันไป สนใจแต่วัตถุภายนอก

จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อคนเราไม่สามารถจะเอาคุณพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งของตนได้ เพราะอินทรีย์ยังอ่อนอบรมมา ยังไม่เข้าถึงเหตุผล จะถือเอาวัตถุภายนอก เช่นพระเหรียญ ซึ่งเป็น รูปเหรียญรูปแทนของพระพุทธเจ้า นั้นก็ดีเหมือนกัน ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายของวัตถุนั้นๆ
หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดในทางธรรมะว่า วัตถุมงคลเหล่านั้นหากจะนำไปป้องกันตัว ถ้ากรรมมา ตัดตอนแล้ว ป้องกันไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งไหนจะไปต้านทานอำนาจกรรมนั้นไม่มี

แต่ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายในวัตถุนั้นๆ ว่า เขาสร้างขึ้นมาส่วนมาก เขาใช้สัญลักษณ์ของผู้ที่ ทำแต่ความดี
การมีวัตถุมงคลไว้ติดตัว ก็มีไว้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของตนเองไม่ให้ประมาทในการ กระทำของตน ต้องทำแต่ความดีเสมอ เพราะโลกเขาบูชานับถือแต่คนดี
เรามีของดีอยู่กับตัว ก็ต้องทำแต่ความดีอย่างนี้แล้ว ก็นับว่าผู้นั้นได้ประโยชน์จากวัตถุมงคล นั้นๆ

:b43: ๑๖๐. ความเห็นเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษก

เกี่ยวกับการจัดพิธีปลุกเสกพระ ที่เรียกว่า พุทธาภิเษก ที่จัดกันอยู่ทั่วไป ทั้งเป็นการราษฎร์ ทั้งเป็นการหลวงนั้น
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้ความเห็นในพิธีการนี้ว่า ถ้าเราเข้าใจว่าพิธีพุทธาภิเษก เป็นการ ปลุกเสกวัตถุที่เราสร้างขึ้นให้เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเจ้านั้น ถือว่าเป็นการเข้าใจที่ไม่ ถูกต้อง ไม่ตรงตามความเป็นจริง

หลวงปู่ให้เหตุผลว่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นพระตั้งแต่เรายังไม่เกิดพระองค์เป็นพระพุทธะ มาก่อนเราเป็นพันๆ ปี ถ้าใครไปปลุกเสกวัตถุให้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนับว่าผิด
เราเองเป็นเพียงสาวก จะไปทำวัตถุที่เขาสร้างเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า ให้เป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร วัตถุที่เขาสร้างขึ้นนั้น สำเร็จเป็นพระแล้วโดยสมบูรณ์ สำเร็จตั้งแต่เขาสร้างแล้ว เพราะเป็นที่รับรู้กันดีแล้วว่า เป็นรูปเปรียบรูปแทนของพระพุทธเจ้า
ดังนั้น วัตถุนั้นๆ จึงเป็นพระโดยสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่เขาสร้างเสร็จ จะไปปลุกเสกให้เป็นพระ อีกไม่ได้

หลวงปู่ ท่านเรียกพระพุทธรูปว่า พระบรมรูป
ท่านกล่าวว่า พระบรมรูปของพระพุทธเจ้านั้น แม้จะทำสำเร็จขึ้นจากวัตถุใดๆ ท่านก็สำเร็จ เป็นพระพุทธะในความหมายแล้วอย่างสมบูรณ์ เพราะวัตถุนั้นเขาสมมุติ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ของพระพุทธเจ้า

แม้จะเป็นเพียงวัตถุ เราก็กราบไหว้บูชา ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่มีวิชาคาถาอาคมใดๆ ที่จะมาปลุกเสกพระพุทธเจ้าได้ เพราะวัตถุนั้น สำเร็จเป็นพุทธะตามความหมายที่เราได้สร้างขั้น แล้ว
หลวงปู่ให้ความเห็นว่า ที่เรียกกันว่าพุทธาภิเษกนั้น ควรจะเรียกว่า พิธีสมโภชพระ หรือพิธี นมัสการพระ จึงจะถูกต้อง ตามความเป็นจริง

ขอสรูปเพื่อความเข้าใจอีกทีว่า หลวงปู่แหวนท่านไม่ได้ค้านในพิธีการ แต่ท่านเสนอแนะคำพูดที่เราใช้เรียก เพื่อจะได้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง
:b44:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร