วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 00:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ประวัติและปฏิปทา
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)


Vipassana Meditation Center, Dhamma Giri
Igatpuri, Maharashtra, INDIA


“ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า” หรือ “ท่านอาจารย์ ดร.สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) เป็นชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ในครอบครัวนักธุรกิจ เมื่อปี พ.ศ.2467 ท่านได้ประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงมากตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ทั้งได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า รวมทั้ง เป็นประธานองค์กรต่างๆ อาทิเช่น หอการค้ามาร์วารีแห่งพม่า และสมาคมพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งร่างกุ้ง นอกจากนี้ยังร่วมเดินทางไปต่างประเทศกับคณะผู้แทนการค้าของสหภาพพม่าในฐานะที่ปรึกษาอยู่บ่อยๆ

เมื่ออายุ 31 ปี ท่านถูกคุกคามด้วยโรคไมเกรน แม้จะได้รับการดูแลบำบัดรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในหลายประเทศ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนในที่สุดท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้ทดลองเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 10 วันเป็นครั้งแรกกับ ท่านอาจารย์อูบาขิ่น หรือท่านซายาจี อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin) วิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่งผู้หนึ่ง โดยการแนะนำของเพื่อนชาวพม่าคือ ท่านอูชันตุน อดีตประธานศาลฎีกาพม่า ซึ่งต่อมาภายหลัง ท่านอูชันตุนได้เป็นประธานคนแรกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ครั้งแรกท่านก็ลังเลใจ แต่ด้วยคำอธิบายของท่านอาจารย์อูบาขิ่น ถึงหลักของศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักการสากลที่จะช่วยให้มนุษยชาติได้พบทางแห่งการพ้นทุกข์ได้อย่างถาวร ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจึงตัดสินใจเข้ารับการอบรมเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งท่านได้กล่าวถึงช่วงเวลานั้นว่า

“ใน 10 วันนั้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่า วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีเหตุมีผล ปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นวิทยาศาสตร์ และมุ่งประโยชน์แห่งการปฏิบัติ มิได้มุ่งให้เราเกิดศรัทธาความเชื่ออันมืดบอดอย่างเดียว ทำให้ข้าพเจ้าเป็นอิสระจากโรคภัยไข้เจ็บ รู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งในความสงบ และได้ตระหนักว่า สิ่งที่ทำให้หายจากโรคไมเกรนนั้น อันที่จริงก็คือ การที่ข้าพเจ้าสามารถขุดรากของกิเลสบางอย่างในตัวข้าพเจ้าได้ เดิมทีข้าพเจ้าเป็นคนที่มีโทสะมาก วู่วาม และเป็นคนมีอัตตาสูง แต่ในการอบรม 10 วันนี้ ได้ทำให้ข้าพเจ้าสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ท่านได้เล่าถึงวิธีการที่ได้รับการอบรมว่า

“ตอนที่เข้ารับการอบรมใหม่ๆ เข้าใจว่าคงจะมีการให้บริกรรมคำสวดบางอย่าง แต่อันที่จริงแล้วไม่มีเลย ไม่มีการบริกรรมคำใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีแม้การสร้างภาพ เพียงแต่ให้เราเฝ้าสังเกตลมหายใจที่เข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น นี่คือสมาธิ ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือวิปัสสนาด้วยการสังเกตเวทนาหรือความรู้สึกทางกายอันเป็นหนทางนำไปสู่ปัญญา คือ การรู้แจ้งในความเป็นอนิจจังหรือความไม่เที่ยง ซี่งวิธีการสังเกตเวทนานี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้แก่มนุษยชาติเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนำตนให้พ้นทุกข์”

หลังจบจากการปฏิบัติตามหลักสูตร 10 วันแล้ว ท่านโกเอ็นก้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในเนื้อหาสาระของคำสอนและในแนวทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก จึงปวารณาตัวเข้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ต่อมาท่านอาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งให้ท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน

ปี พ.ศ.2512 ท่านได้เดินทางกลับไปยังประเทศอินเดียเพื่อเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย ระหว่างที่อยู่ในอินเดีย ท่านได้จัดอบรมวิปัสสนาให้แก่มารดาและญาติพี่น้อง ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นอันมาก นับจากนั้นขบวนการเอหิปัสสิโกก็ได้เริ่มต้นจากปากต่อปากที่บอกต่อๆ กันไป ทำให้มีผู้มาขอเข้าปฏิบัติกันมากขึ้น และจากการที่ท่านอาจารย์อูบาขิ่นมีความฝังใจอยู่แต่เดิมว่า ประเทศอินเดียมีบุญคุณอย่างล้นเหลือที่ได้หยิบยื่นธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน แต่ธรรมอันล้ำค่านี้กลับได้สูญหายไปจากประเทศอินเดียอันเป็นต้นกำเนิดจนเกือบหมดสิ้น

รูปภาพ
ท่านอาจารย์อูบาขิ่น (Sayagyi U Ba Khin)


ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจึงมีความปรารถนาที่จะทดแทนคุณประเทศอินเดีย ด้วยการหาทางนำเอาธรรมะอันล้ำค่านี้กลับไปเผยแผ่อีกครั้ง ซึ่งท่านอาจารย์อูบาขิ่นก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านเปิดการอบรมวิปัสสนาในแนวทางนี้ขึ้นในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง หลังจาก 14 ปีของการเพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวิปัสสนาจารย์และได้เดินทางไปเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนา ณ ประเทศอินเดีย ตามความประสงค์ของอาจารย์ของท่าน จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 ท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรก ชื่อว่า “ธรรมคีรี” (Dhamma Giri) ตั้งอยู่ที่เมืองอิกัตปุรี (Igatpuri) ใกล้ๆ กับเมืองมุมไบ (Mumbai) หรือเมืองบอมเบย์ (Bombay) รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ประเทศอินเดีย เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก นับจากนั้นมาก็ได้มีการจัดอบรมวิปัสสนาหลักสูตร 10 วัน และหลักสูตรระยะยาวต่อเนื่องเรื่อยมา

ปี พ.ศ.2522 ท่านเริ่มเดินทางไปเผยแผ่อบรมการปฏิบัติวิปัสสนาตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามแนวทางของท่านอาจารยอูบาขิ่น ซึ่งดำเนินตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎก ท่านได้อำนวยการสอนวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันในประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆ ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกกว่า 400 หลักสูตร หลักการสอนของท่านโกเอ็นก้าได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในอินเดีย ประเทศที่ยังคงมีความแตกต่างทางด้านชนชั้นและศาสนาอย่างมากและจากทั่วโลก ทั้งนี้เพราะคำสอนที่มีลักษณะเป็นสากล มิได้ขัดต่อหลักศาสนาใด ท่านเน้นเสมอว่ามนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด นับถือศาสนาใด และมีผิวสีอะไร ต่างก็มีความทุกข์ในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น ในเมื่อความทุกข์ของมนุษย์เป็นสากล วิธีการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความทุกข์จึงต้องเป็นสากลเช่นกัน

ต่อมาท่านได้เริ่มแต่งตั้งอาจารย์ผู้ช่วยให้ช่วยดำเนินการอบรมแทนท่าน โดยใช้เทปและวิดีโอของท่านเป็นแนวทางในการสอน เพื่อรองรับกับความต้องการของประชาชนที่จะเข้าอบรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้มีอาจารย์ผู้ช่วยกว่า 700 ท่าน และอาสาสมัครช่วยงานต่างๆ อีกนับพันๆ คน มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีการก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาทั้งสิ้น 80 แห่งใน 21 ประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมหลักสูตรวิปัสสนาทั่วโลกกว่าหนึ่งพันหลักสูตร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าอบรม ที่พัก หรือค่าอาหารใดๆ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจที่จะบริจาค ทั้งตัวท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเองและอาจารย์ผู้ช่วยต่างๆ ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการอบรมดังกล่าวแม้แต่น้อย

สำหรับประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่าน รวมทั้งหมด 5 ศูนย์ ดังนี้

รูปภาพ
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา จ.ปราจีนบุรี


1. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี

รูปภาพ
ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา จ.พิษณุโลก


2. ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

รูปภาพ
ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา จ.ขอนแก่น


3. ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

รูปภาพ
ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา จ.กาญจนบุรี


4. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

รูปภาพ
ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี กรุงเทพฯ


5. ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ

ศูนย์วิปัสสนาทั้ง 5 แห่งนี้ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ทรงเมตตารับไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยมีการจัดการอบรมหลักสูตรวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) 10 วัน สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป และหลักสูตรวิปัสสนาในเรือนจำ รวมทั้งหลักสูตรอานาปานสติสำหรับเด็กและเยาวชน เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติไว้ว่า วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง “การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง” อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ

เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากล คือ ได้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตกทั่วทุกทวีป ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน

พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ “ศีล” ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือ “การรู้แจ้งเห็นจริง”

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) ได้เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน ถึงวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ.2544 อาจารย์สุทธี ชโยดม อาจารย์และตัวแทนผู้ดูแลการอบรม การปฏิบัติ และกิจกรรมในประเทศไทย กล่าวว่า การมาเยือนประเทศไทยของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ

1. เพื่อแสดงปาฐกถาธรรมเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อง “พระไตรปิฏกกับการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน” ซึ่งจัดโดยกองทุนสนทนาธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในการนี้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเป็นประธานการแสดงปาฐกถาธรรม เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2544 ณ หอพระไตรปิฏกนานาชาติ อาคารอักษรศาสตร์ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. เพื่อหารือเรื่องการแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมจากซีดีรอมพระไตรปิฎก ฉบับฉัฏฐสังคายนา ซึ่งทางสถาบันวิจัยวิปัสสนาโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ได้ริเริ่มจัดทำขึ้นและเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยได้มอบให้กองทุนสนทนาธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นำมาเป็นฐานในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรโรมัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ 72 พรรษา

3. เพื่อเยี่ยมศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา จ.พิษณุโลก ศูนย์วิปัสสนาแห่งที่ 2 ในประเทศไทย ณ เลขที่ 138 บ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก พร้อมกับเปิดโอกาสให้ศิษย์เก่าผู้ปฏิบัติธรรมในแนวทางของท่านอาจารย์อูบาขิ่น สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในประเทศไทย โดยมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้ซักถามปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาธรรมตามสถาบันต่างๆ รวมทั้งในเวทีเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และการประชุมสุดยอดสันติภาพโลกสหัสวรรษใหม่ที่สหประชาชาติด้วย

ปัจจุบัน ท่านเป็นวิปัสสนาจารย์เอกผู้หนึ่งที่สอนวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นเวลาเกือบ 40 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มนำพระไตรปิฏก ฉบับฉัฏฐสังคายนา ซึ่งเป็นการทำสังคายนาครั้งล่าสุดของโลก มาบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมพร้อมด้วยคัมภีร์บริวารต่างๆ รวมกว่า 200 เล่ม และได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับฉัฏฐสังคายนา ด้วยอักษรเทวนาครี เพื่อนำพระพุทธศาสนากลับไปประดิษฐานในประเทศอินเดียอีกครั้งหนึ่งด้วย และเพื่อมอบเป็นธรรมทานเผยแผ่ไปทั่วโลก


• ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบแล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46484

ท่านอาจารย์ ดร.สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) วิปัสสนาจารย์ชื่อดังของโลกชาวอินเดีย ผู้วางรากฐานการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานอย่างมั่นคง มีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ได้สิ้นลมอย่างสงบแล้ว ณ บ้านพักเมืองมุมไบ (Mumbai) หรือเมืองบอมเบย์ (Bombay) รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ประเทศอินเดีย เมื่อเวลา 22.40 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2556 (เวลาในประเทศอินเดีย) ด้วยวัย 90 ปี โดยจะมีพิธีฌาปนกิจในประเทศอินเดีย เมื่อวันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 เวลา 10.30 นาฬิกา หรือตรงกับเวลา 12.00 นาฬิกา ในประเทศไทย คำสอนของท่านดังอยู่ต่อเนื่องในทุกมุมโลก บนเส้นทางแห่งการดับทุกข์ตามแนวทางของพระพุทธองค์

รูปภาพ
The world's largest Vipassana Meditation Center,
Dhamma Giri, Igatpuri, Maharashtra, INDIA


รูปภาพ
สรีระสังขารของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)



.............................................................

:b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(1) เว็บไซต์ http://www.thai.dhamma.org
(2) บทความผู้จัดการออนไลน์ 26 มีนาคม 2545 16:53 น.


:: การปฏิบัติธรรมสายท่านโกเอ็นก้า (๑) My ten day
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34334

:: ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานฯ อ.โกเอ็นก้า
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21043

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

S.N. Goenka

Mr. Satya Narayan Goenka (born 1924) is the Principal Teacher of Vipassana, the practical quintessence of the Buddha's teaching. A leading industrialist in Myanmar (Burma) after the Second World War, Goenkaji, as he is affectionately known outside India, is living proof that the mental exercise of meditation is necessary for a wholesome and beneficial life. Known for his humility, deep compassion, unperturbed composure, Mr. Goenka's emphasis on the self-dependant, non-sectarian and result oriented nature of Vipassana found appeal in a world searching for a practical path out of stress and suffering.

As an indicator of the increasing universal acceptance of the Buddha's scientific teachings, Mr. Goenka has been invited to lecture by institutions as diverse as the United Nations General Assembly, members of the Indian Parliament, Harvard Business Club, Dharma Drum Mountain Monastery (of Ven. Sheng Yen) in Taiwan, the World Economic Forum in Davos, Switzerland, the Smithsonian Institute, Massachusetts Institute of Technology (MIT) and Silicon Valley Indian Professionals Association.

Mr. Goenka's success in service comes from being an inspiring example and an ideal, and of practicing what he asks his students to practice. "Develop purity in yourself if you wish to encourage others to follow the path of purity," he told an annual meeting in Dhamma Giri, Igatpuri, on March I, 1989. "Discover real peace and harmony within yourself, and naturally this will overflow to benefit others."

Mr. Goenka is a tireless worker. In 2002, at the age of 78, he undertook a remarkable Dhamma tour of the West. Accompanied by his wife Illaichidevi Goenka, a few senior teachers and students, he traveled for 128 days through Europe and North America, joyfully sharing the priceless gift of Vipassana. The second leg of the tour was a 13,000-mile road journey in a motor caravan through the United States and Canada.

On the 62nd day of this Dhamma Odyssey, on June 10, 2002, Mr. Goenka told a crowded gathering at Sonoma State University, Santa Rosa, CA.

"Throughout life, one encounters things that one does not like, and is separated from things one likes. The Buddha went to the root of this problem, and discovered the solution (of Vipassana) for liberation from all misery. He realized that we keep reacting to the pleasant and unpleasant sensations we feel on the body, with craving and aversion. And due to these mental impurities or habit patterns, we remain agitated and miserable."

In Vipassana, Mr. Goenka found the way out of his miseries experienced in his early life. Born in Mandalay, Myanmar, in a business family of Indian origin, he became one of Myanmar 's ranking business leaders, with offices in many countries. By age 30, he was elected president of the Yangon (formerly Rangoon) Chamber of Commerce and head of many social, educational and cultural organizations.

Mr. Goenka had outstanding success, but not inner peace. Instead, stress brought on crippling migraine headaches, which the world's best doctors were helpless to treat, except with addictive and debilitating drugs. Besides, Mr. Goenka said, he was a very short-tempered, egoistic, person making himself and others around him miserable.

It was at this point that Mr. Goenka met and was inspired by a unique personality in post-war Myanmar : Sayagyi U Ba Khin, the first Accountant-General of independent Myanmar. U Ba Khin also taught Vipassana and worked to spread its practice in public life.

While Vipassana is firmly rooted in the true teachings of the Buddha, Mr. Goenka emphasizes that it is not a religion and involves no dogma, rites, rituals, and no conversion. "The only conversion involved in Vipassana is from misery to happiness, from bondage to liberation," he told an applauding audience at the World Peace Summit at the United Nations, New York, in 2000.

Thousands of Catholic priests, Buddhist monks and nuns, Jain ascetics, Hindu sanyasis come to Vipassana courses along with other religious leaders. Vipassana is the practical quintessence of all religions, to develop the experiential wisdom to live a happy, productive life. In the words of Sayagyi U Ba Khin, Vipassana offers results that are "good, concrete, vivid, personal and immediate."

In 1969, U Ba Khin authorized Mr. Goenka to go to India and teach Vipassana, as his representative. Since then, the Ganges of Dhamma again started flowing in the land of its origin. From India, Vipassana is spreading worldwide, including in the USA, Europe, Asia-Pacific, China, Russia, Latin America, East European countries and now Africa.

Since 1969, Goenkaji and his wife are conducting Vipassana courses. Mrs. Goenka, known fondly as 'Mataji' (meaning 'respected mother'), is also a Principal Teacher and a distinguished student of Sayagyi U Ba Khin. She has quietly supported and selflessly served in her husband's mission of gratitude to their beloved teacher, Sayagyi U Ba Khin : how to serve more and more beings in benefiting from the liberating path of Vipassana.

After arriving in India, Mr. Goenka soon retired from his flourishing business and devoted his full time to teaching Vipassana. Besides being the gentle patriarch to a large joint family of his six sons and grandchildren, he is the benevolent guide of a growing, highly de-centralized and disciplined organization.

To meet the increasing demand, presently over 800 assistant teachers conduct courses on Mr. Goenka's behalf, using recorded audio and video instructions, with the help of thousands of volunteers. There is no fee for the teaching. Neither Mr. Goenka nor the assistant teachers get any financial or material gain from these courses.

Mr. Goenka elaborated in a talk at Dhamma Nasika, in Nashik city, near Igatpuri, India, on March 5, 2005 : "Dhamma is invaluable. As soon as a fee is charged, it will become the Dhamma of the rich. Those who have money will try to gain peace by paying the highest price. But they cannot gain peace because when Dhamma becomes a commercial commodity, it fails to bring peace. No one should make the mistake, now or in the future, of turning a Vipassana centre into a commercial organization."

A prolific writer and poet, Mr. Goenka writes in English, Hindi and Rajasthani. He quotes the Buddha's words : "Those who have a strong feeling of gratitude, and a wish to serve others without expecting anything, are very rare people." With his over 50 years of dedicated Dhamma service, Mr. Goenka belongs to that very rare category.

รูปภาพ
Mr. & Mrs. S.N. Goenka


.............................................................

:b8: คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
http://www.vri.dhamma.org/

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณสาวิกาน้อย :b8: :b8: :b8:
ที่นำธรรมะสาระดีๆและประวัติของครูบาอาจารย์
มาให้ทุกๆท่านรวมทั้งดิฉัน ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับ
พระพุทธศาสนา และเลือกที่จะเดินเส้นทางสายนี้
ขอให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพ
:b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b1: ขออนุโมทนาและยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ คุณ jintana63

:b8: รวมทั้ง ขอให้ คุณ jintana63
เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นกันนะคะ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 07:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุๆค่ะ ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8: :b8:

tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2016, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: 4A ขออนุโมทนาค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร