วันเวลาปัจจุบัน 07 ต.ค. 2024, 12:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2016, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มงคล สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรม ที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ, มงคล ๓๘ ประการ หรือเรียกเต็มว่า อุดมมงคล (มงคลอันสูงสุด) ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตร (ขุ.ขุ.25/5/3 ฯลฯ) มีดังนี้

คาถาที่ ๑ = ๑. อเสวนา จ พาลานํ - ไม่คบคนพาล
๒ . ปญฺฑิตานญฺจ เสวนา - คบบัณฑิต
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ - บูชาคนที่ควรบูชา

คาถาที่ ๒ = ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ - อยู่ในปฏิรูปเทส, อยู่ในถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดี
๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา - ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ - ตั้งตนไว้ชอบ

คาถาที่ ๓ = ๗ พาหุสจฺจญฺจ - เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
๘. สิปฺปญฺจ - มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน
๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต - มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา - วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี

คาถาที่ ๔ = ๑๑ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ - บำรุงมารดาบิดา
๑๒/๑๓ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห = สงฺคห สงเคราะห์บุตร และ ทารสงฺคห - สงเคราะห์ภรรยา
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา - การงานไม่อากูล

คาถาที่ ๕ = ๑๕. ทานญฺจ - รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะ์และบำเพ็ญประโยชน์
๑๖. ธมฺมจริยา จ - ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม
๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห - สงเคราะห์ญาติ
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ - การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์ ไม่เป็นทางเสียหาย

คาถาที่ ๖ = ๑๙ อารดี วิรตี ปาปา - เว้นจากความชั่ว
๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม - เว้นจากการดื่มน้ำเมา
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ - ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

คาถาที่ ๗ = ๒๒ คารโว จ - ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่าของบุคคล สิ่งของ หรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม
๒๓.. นิวาโต จ - ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน
๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ - ความสันโดษ, ความเอิบอิ่ม พึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรม
๒๕. กตญฺญุตา - มีความกตัญญู
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ - ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงความรู้ ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง..

คาถาที่ ๘ = ๒๗. ขนฺตี จ - มีความอดทน
๒๘. โสวจสฺสุตา - เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ - พบเห็นสมณะ , เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา - สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับ หลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม

คาถาที่ ๙ = ๓๑. ตโป จ - มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก
๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ - ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัติตามควร
๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ - เห็นอริยสัจจ์, เข้าใจความจริงของชีวิต
๓๔. นิพพานสจฺฉิกิริยา จ - ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน

คาถาที่ ๑๐ = ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ - ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
๓๖. อโสกํ - จิตไร้เศร้า
๓๗. วิรชํ - จิตปราศจากธุลี
๓๘. เขมํ - จิตเกษม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาร ๑. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี หรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ

๑. กิเลสมาร - มารคือกิเลส

๒. ขันธมาร - มารคือเบญจขันธ์

๓. อภิสังขารมาร - มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม

๔. เทวปุตตมาร - มารคือเทพบุตร

๕. มัจจุมาร - มารคือความตาย

๒. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะมารได้ด้วยนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตตีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร คือ ปรนิมมิตวัสวัตตี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ ๑ ด้วย

มารยา การแสร้างทำ, เล่ห์เหลี่ยม, การล่อลวง, กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง

มารวิชัย ชนะมาร, พิชิตมาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง


โมหะ ความหลง, ความไม่รู้ตามเป็นจริง, อวิชชา (ข้อ ๓ ในอกุศลมูล ๓)


โมโห โกรธ, ขุ่นเคือง, ตามรูปศัพท์เป็นคำภาษาบาลี ควรแปลว่า “ความหลง” แต่ที่ใช้กันในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไปเป็นอย่างข้างต้น


โมหจริต พื้นนิสัยที่หนักในโมหะ โง่เขลางมงาย พึงแก้ด้วยให้มีการเรียน การถาม การฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู (ข้อ ๓ ในจริต ๖)


โมหันธ์ มืดมนด้วยความหลง, มืดมนเพราะความหลง


โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา (ข้อ ๓ ในอคติ ๔)


โมกข์ ๑ ความหลุดพ้นจากกิเลส คือ นิพพาน ๒ ประธาน, หัวหน้า, ประมุข


โมกขธรรม ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส, ความหลุดพ้น, นิพพาน

ไมตรี “คุณชาติ (ความดีงาม) ที่มีในมิตร” ความเป็นเพื่อน, ความรัก, ความหวังดีต่อกัน, ความเยื่อใยต่อกัน


ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ไตรจีวรอยู่กับตัว คืออยู่ในเขตที่ตัวอยู่


โมทนา บันเทิงใจ, ยินดี, มักใช้พูดเป็นคำตัดสั้น สำหรับคำว่า อนุโมทนา หมายความว่า พลอยยินดี หรือชื่นชม เห็นชอบในการกระทำนั้นๆ ด้วย เป็นต้น


โมไนย ความเป็นมุนี, ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์, ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7505

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
A nu mo ta na sa tu kaa
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา


มนะ ใจ

มนัส ใจ

มโน ใจ (ข้อ ๖ ในอายตนะภายใน ๖)

มนุษย์ "ผู้มีใจสูง" ได้แก่ คนผู้มีมนุษยธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น, สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน


มนุษยชาติ เหล่าคน, มวลมนุษย์



มนุษยธรรม ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์ ได้แก่ ศีล ๕ และคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น



มนุษยโลก, มนุสสโลก โลกมนุษย์ คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้



มนุษย์วิบัติ ผู้มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนถูกตอนเป็นต้น



มนตร์ คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวด, คำสำหรับเสกเป่า (มักใช้ในสำหรับศาสนาพราหมณ์)


มโนรถ ความประสงค์, ความหวัง


มโนรม, มโนรมย์ เป็นที่ชอบใจ, น่ารื่นรมย์ใจ, งาม


มโนกรรม การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น


มโนทวาร ทวารคือใจ, ทางใจ, ใจ โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม คือ สำหรับคิดนึกต่างๆ (ข้อ ๓ ในทวาร ๓)


มโนวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ (ข้อ ๖ ในวิญญาณ ๖)


มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)


มโนสัมผัส อาการที่ใจ ธรรมารมณ์ และมโนวิญญาณประจวบกัน


มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ ๑. อนภิชฌา - ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒. อพยาบาท - ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาภูต รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ที่เรียกกันให้ง่ายว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม, ภูตรูป ก็เรียก (เรียกว่า มหาภูตรูป บ้าง ก็มี แต่ไม่เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์)


เทียบความเข้าใจผิดจากศาสดาโฮฮับได้ที่

viewtopic.php?f=1&t=52836&start=15


รูปภาพ


รูปภาพ


ทั้ง จาตุมฺมหาภูติกสฺส กายสฺส ทั้ง จตฺตาโร มหาภูตา ของเขาถูกหมด ไม่ผิดเพี้ยน แต่ที่เพี้ยนคือคนที่รู้ไม่เท่าถึงเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มุขปาฐะ "บอกด้วยปาก" การว่าปากเปล่า หมายถึง การสวด สาธยาย บอกล่าว เล่าเรียน สืบทอดกันมาด้วยปากต่อปากโดยตรง ไม่ใช้ตัวหนังสือ, เป็นวิธีครั้งโบราณ ในการรักษาคัมภีร์ให้เที่ยงตรงแม่นยำ (เช่น มีการกำกับ ทบทวน และสอบทานกันต่อหน้าได้เต็มที่)
เมื่อยังไม่มีแม่แบบที่จะพิมพ์ข้อความออกมาให้ตรงกันแน่นอนทั้งหมด และถือว่าการคัดลอกเป็นวิธีสืบทอดข้อความที่ไม่อาจไว้วางใจ เช่น
ในมหาวงส์ (1/2501/235) ว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรู้ความคิดกว้างขวาง ในกาลก่อน นำพระบาลีแห่งพระไตรปิฎก และแม้อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกนั้นมาโดยมุขปาฐะ,

ในภาษาไทย มุขปาฐะ มีความหมายเลือนลงมาในแง่ที่กลายเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยหนักแน่นหรือไม่ค่อย เป็นหลักฐาน หมายถึง ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า ไม่ได้เขียนไว้, เรื่องที่เล่าต่อปากกันมา
มุขบาฐ ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสัตว์ “สัตว์ผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่” หมายถึงพระโพธิสัตว์


มหาภิเนษกรมณ์ การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่, การเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า


มหาวิโลกนะ “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่” ข้อตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึงสิ่งที่พระโพธิสัตว์พิจารณาตรวจดูก่อนจะตัดสินใจประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง (นิยมเรียก ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ

๑. กาล คือ อายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ปี ถึง ๑ แสน ปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสน ปี)

๒. ทีปะ คือ ทวีปจะอุบัติแต่ในชมพูทวีป

๓. เทสะ คือ ประเทศ หมายถึงถิ่นแดน จะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นที่พึงบังเกิด

๔. กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุล หรือในพราหมณสกุล และกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา

๕. ชเนตติอายุปริจเฉท คือ มารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)


มายา เจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรตรีของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระมเหสีของพรจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระราชชนนี ของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระพุทธมารดา เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางก็สวรรคต,

คำว่า มายา ในที่นี้ มิได้หมายความว่า มารยา ที่แปลว่า เล่ห์เหลี่ยมหรือล่อลวง แต่หมายถึงความงามที่ทำให้ผู้ประสบงวยงงหลงใหล, นิยมเรียกว่า พระนางสิริมหามายา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มูตร ปัสสาวะ, น้ำเบา, เยี่ยว

มุนี นักปราชญ์, ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็น ไม่ทะเยอทะยานฝันใฝ่ ไม่แส่พล่านหวั่นไหว มีปัญญาเป็นกำลังและมีสติรักษาตน, พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรม และดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์

มุสา เท็จ, ปด, ไม่จริง

มุสาวาท พูดเท็จ, พูดโกหก, พูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในกรรมกิเลส ๔ ข้อ ๗ ในมละ ๙ ข้อ ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดโกหก, เว้นจากพูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)


มูล (ในคำว่า อธิกรณ์อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้นั้น ต้องเป็นเรื่องมีมูล) เค้า, ร่องรอย, ลักษณะอาการที่ส่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น, เรื่องที่จัดว่ามีมูล มี ๓ อย่าง คือ ๑ เรื่องที่เห็นเอง ๒. เรื่องที่ได้ยินเอง หรือผู้อื่นบอกและเชื่อว่า เป็นจริง ๓. เรื่องที่รังเกียจโดยอาการ

มูลบัญญัติ ข้อบัญญัติที่พระพุทธเจาทรงตั้งไว้เดิม, บัญญัติเดิม, คู่กับ อนุบัญญัติ (ตามปกติใช้เพียงว่า บัญญัติกับอนุบัญญัติ)


มูลเภสัช “มีรากเป็นยา” ยาทำจากรากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ข่า แห้วหมู เป็นต้น

มูลแห่งพระบัญญัติ ต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวินัย

มฆะ มฆมาณพ หัวหน้ากลุ่มผู้ร่วมกันทำบุญบำเพ็ญประโยชน์ ๓๓ คน ที่ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

มฆวัน, มฆวา, มัฆวา, มัฆวาน พระอินทร์ เรียกพระนามตามตำนานที่ได้เคยเป็นหัวหน้ากลุ่มผู้รู้ร่วมทำบุญบำเพ็ญประโยชน์ ๓๓ คน ก่อนจะได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

มติ ความคิด, ความเห็น

มณฑป เรือนยอดที่มีรูปสี่เหลี่ยม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มณฑล วง, ดวง (เช่น อักขิมณฑล คือ ดวงตา)
ผืน (เช่น ปฐวีมณฑล คือ ผืนแผ่นดิน เขตตมณฑล คือผืนนา)
บริเวณ, ขอบเขต, เขตปกครองขนาดใหญ่ , ดินแดน, แว่นแคว้น (เช่น โจฬมณฑล คือ แดนหรือแว่นแคว้นของชาวโจฬะ)
วงการ, ชิ้นส่วนของจีวรพระ ที่เรียกเป็นคำไทยว่า กระทงใหญ่, มีคำอธิบายว่า ชิ้นส่วนของจีวรพระที่เป็นผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยม มีแผ่นผ้าแคบคั่นแต่ละด้าน ลักษณะเหมือนกระทงมีคันนากั้น, มี ๒ ขนาด กระทงใหญ่เรียกมณฑล กระทงเล็กเรียกอัฑฒมณฑล, กระทงเล็กหรือกระทงน้อย มีขนาดครึ่งหนึ่งของกระทงใหญ่ ในจีวรผืนหนึ่ง มีกระทงใหญ่และกระทงน้อยอย่างต่ำอย่างละ ๕ ชิ้น

มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง, ความสร้างเมา (ไวพจน์อย่างหนึ่งของวิราคะ)

มธุปายาส ปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยนมโค) ซึ่งปรุงปรายด้วยน้ำผึ้ง นางสุชาดาถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่พระองค์จะได้ตรัสรู้

มธุรสูตร พระสูตรที่พระมหากัจจายนะ แสดงแก่พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร กล่าวถึงความไม่ต่างกันของวรรณะ ๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ใจความว่า วรรณะ ๔ นี้ แม้จะถือตัวอย่างไร เหยียดหยามกันอย่างไร แต่ถ้าทำดีก็ไม่สู่ที่ดีเหมือนกันหมด ถ้าทำชั่วก็ต้องไปรับโทษไปอบายเหมือนกันหมด ทุกวรรณะเสมอกันในพระธรรมวินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะไหน แต่เป็นสมณะเหมือนกันหมด เมื่อจบเทศนา พระเจ้ามธุรราชประกาศตนเป็นอุบาสก
(สูตรที่ ๓๔ ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระสุตตันปิฎก)


มรณธรรม มีความตายเป็นธรรมดา, ธรรมคือความตาย


มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจและทำความดี (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)

มโนรถ ความประสงค์, ความหวัง

มโนรม, มโนรมย์ เป็นที่ชอบใจ, น่ารื่นรมย์ใจ, งาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาปชาบดีโคตรมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า เดิมเรียกว่าพระนางปชาบดี เป็นธิดาของพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยวงศ์ เป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา
เมื่อพระมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ได้มอบพระสิทธัตถะให้พระนางเลี้ยงดู
ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคตแล้ว พระนางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีรูปแรก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (บวชนานรู้เหตุการณ์ก่อนใครๆ)


มหาปเทส “ข้อสำหรับอ้างใหญ่” (ในทางพระวินัย) หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔ คือ

๑. สิ่งใดไม่ได้ห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งเป็นอกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งที่เป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นไม่ควร

๒. สิ่งใดไม่ได้ห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร

๓. สิ่งใดไม่ได้อนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นไม่ควร

๔. สิ่งใดไม่ได้อนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสัจจกสูตร สูตรที่ ๓๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยการอบรมกาย อบรมจิต และมีเรื่องราวในพุทธประวัติตอนแสวงหาโมกขธรรม คือ ตอนตรัสรู้รวมอยู่ด้วย

มฤคทายวัน ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ หมายความว่าห้ามทำอันตรายแก่สัตว์ในป่านี้ เขียน มิคทายวัน ก็ได้ เช่น อิสิปตนมฤคทายวัน มัททกุจฉิมิคทายวัน เป็นต้น


มรัมมนิกาย นิกายพม่า หมายถึงพระสงฆ์พม่า เรียกชื่อโดยสัญชาติ


มรัมมวงศ์ ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์พม่า


มหาสมณะ พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


มหาบุรุษ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่, คนที่ควรบูชา, ผู้มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้


มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง, ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค,
ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิ เป็นที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสุบิน ความฝันอันยิ่งใหญ่, ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ในความว่า

๑. เสด็จบรรทมโดยมีมหาปฐพีเป็นพระแท่นไสยาสน์ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย

พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านบุรพทิศ

พระหัตถ์ขวาเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศ

พระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ

(ข้อนี้เป็นบุพนิมิตหมายถึง การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า)


๒. มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์ สูงขึ้นจรดท้องฟ้า

(หมายถึงการที่ได้ตรัสรู้อารยอัษฎางคิกมรรคแล้วทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์ และหมู่เทพ


๓. หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำพากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล

(หมายถึงการที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมาย พากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)

๔. นกทั้งหลายสี่จำพวกมีสีต่างๆ กันบินมาแต่ทิศทั้งสี่ แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น

(หมายถึงการที่ชนทั้งสี่วรรณะ มาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)

๕. เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ แต่ไมทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ

(หมายถึงการทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม แต่ไม่ทรงลุ่มหลงติดพัน ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งเป็นอิสระ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชชะ ของเมา, น้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมา หมายถึงสุราและเมรัย

เมรัย น้ำเมาที่ยังไม่ได้กลั่น, น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่

เมรุ ๑ ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะ หรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้ เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม,
ภูเขานี้ เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้าง ต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้
(ในวรรณคดีบาลียุคหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี)
๒. ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน, เทียบปฐมยาม,ปัจฉิมยาม

มัชฌิมวัย ตอนท่ามกลางอายุ, วัยเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือกลางคน, วัยกลางคนระหว่างปฐมวัยกับปัจฉิมวัย

วัย ส่วนแห่งอายุ, ระยะของอายุ, เขตอายุ นิยมแบ่งเป็น ๓ วัย คัมภีร์วิสุทธิมรรค จัดดังนี้
๑. ปฐมวัย วัยต้น ๓๓ ปี คือ อายุ ๑ ถึง ๓๓ ปี
๒. มัชฌิมวัย วัยกลาง ๓๔ ปี คือ อายุ ๓๔ ถึง ๖๗ ปี
๓. ปัจฉิมวัย วัยปลาย ๓๓ ปี คือ อายุ ๖๘ ปี ถึง ๑๐๐ ปี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉา ผิด


มิจฉาญาณ รู้ผิด เช่น ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ (ข้อ ๙ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาวิมุตติ หลุดพ้นผิด เช่น การระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง (ข้อ ๑๐ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ) (ข้อ ๑ ในในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด ได้แก่ ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยาบาท ดำริเบียดเบียนเขา (ข้อ ๒ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาวาจา วาจาผิด ได้แก่ ๑. มุสาวาท ๒ ปิสุณวาจา ๓ ผรุสวาจา ๔ สัมผัปปลาปะ (ข้อ ๓ ในมิจฉัตตะ ๑๐)



มิจฉากัมมันตะ ทำการผิด ได้แก่ กายทุจริต ๓ คือ ๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ข้อ ๔ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ เลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น (ข้อ ๕ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาวายามะ พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น (ข้อ ๖ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจแน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ก.ค. 2016, 06:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร