วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 18:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ ซึ่งมีความหมายคลาดเคลื่อน เลือนกลายแปลกออกไปตามกาลสมัย

ตัวอย่างสำคัญ คือ คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ซึ่งมีความหมายที่แท้ ควรได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม แต่ปัจจุบัน มักเข้าใจคำนี้ในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้ หนังสือนี้เองก็ได้พลอยใช้ตามความหมายแคบๆ อย่างนี้ด้วยหลายแห่ง ผู้ศึกษาพึงอ่านโดยตระหนักตามคำชี้แจงนี้

ที่กลายไปอีกคำหนึ่ง ก็คือ คำว่า “ศึกษา” ที่มาคู่กับ “ปฏิบัติ” เป็น ศึกษาและปฏิบัติ ความจริง แต่เดิมนั้น ศึกษา หรือ สิกขานั่นแหละ คือ ตัวแท้ของการปฏิบัติ หรือ เป็นตัวการปฏิบัตินั่นเอง เพราะสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติฝึกหัดอบรม โดยเฉพาะการเจริญปัญญา หรือ ทำให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นการปฏิบัติระดับสูงสุด ซึ่งจะทำให้บรรลุผล คือ ปฏิเวธ

ต่อมา คำว่า ศึกษา คงถูกใช้ในความหมายของการเล่าเรียน อาจถึงกับเล่าเรียนโดยไม่ต้องคิด หรือ คิดอย่างเลื่อนลอย คิดฟุ้งซ่านไป ไม่มีหลักไม่มีระเบียบ คำว่า “ศึกษา” จึงมีความหมายกลายมาเท่ากับคำว่า “ปริยัติ”

(พุทธธรรม หน้า 1149)


ดำเนิน ก. เดิน, ไป, ราชาศัพท์ใช้ว่า เสด็จพระราชดำเนิน ทรงพระดำเนิน; ให้เป็นไป เช่น ดำเนินงาน ดำเนินชีวิต.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้หนังสือมาอีกเล่มหนึ่งโดย อ.วศิน อินทสระ ดูความหมาย “การปฏิบัติธรรม”

รูปภาพ

คำนำผู้เขียน

พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ความคิดของคนส่วนมากก็แล่นไปที่การนั่งหลับตาภาวนาหรือการทำสมาธิวิปัสสนา หรือ มิฉะนั้นก็ถือปิ่นโตเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม

ภาพของสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ ก็ย้ำเน้นให้เห็นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม ก็จะฉายภาพคนนุ่งขาวห่มขาวบ้าง นุ่งห่มธรรมดาบ้าง นั่งหลับตานิ่งๆ เป็นกลุ่มๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง นั่นคือการปฏิบัติธรรมในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

ข้าพเจ้าเห็นว่า นั่นเป็นเพียงเอกเทศ คือ บางส่วนของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า การปฏิบัติธรรม คือ การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งหมด การทำหน้าที่อันถูกต้องชอบธรรมทั้งหมดนั่นแหละ คือ การปฏิบัติธรรม โดยนัยนี้ ทุกคนผู้ทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องเหมาะสมล้วนกำลังปฏิบัติธรรมกันอยู่ทั้งสิ้น

แนวทางการปฏิบัติธรรมที่สำคัญแนวหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ขอให้ท่านดูที่มงคล ๓๘ ประการ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงมงคลอันสูงสุดแห่งชีวิตไว้ตั้งแต่เบื้องต้นไปถึงสูงสุด คือ เริ่มจากการไปคบคนชั่ว คบคนดี บูชาคนที่ควรบูชา ... การตั้งตนไว้ชอบ การมีศิลปวิทยา ... การบำรุงบิดามารดา ... การให้ การสงเคราะห์ญาติ ฯลฯ การเห็นอริยสัจ จนถึง จิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม จิตไม่โศก ไม่มีธุลีหรือกิเลส จิตเกษม คือ ปลอดโปร่งพ้นจากกิเลส

ตามนัยแห่งมงคลสูตรนี้ จะเห็นแนวการปฏิบัติที่พระศาสดาทรงประประทานไว้ให้เป็นขั้นๆไป แต่ก็ทำพร้อมๆกันไปได้ เพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ทั้งสาม คือ ประโยชน์ในโลกนี้ โลกหน้า และประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน

เมื่อสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเคยให้หัวข้อให้นักศึกษาเขียนบทความสั้นๆ เช่น “การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต” แล้วให้อ่านสู่กันฟังในชั้นเรียน มีหลายคนเขียนปรารภว่า ไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะมัวยุ่งเรื่องการศึกษาและการช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน ข้าพเจ้าบอกว่า “นั่นแหละ คือ การปฏิบัติธรรม กำลังปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว”

เมื่อเราไปถามคุณตาคุณยายตามทุ่งนาว่า ต้องการออกซิเจนบ้างไหม คุณตาคุณยายอาจตอบว่า “ไม่ต้องการ ไม่จำเป็น” ทั้งนี้ เพราะทั้งสองไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า “ออกซิเจน” แต่ความจริง คุณตาคุณยายได้รับออกซิเจนอยู่เป็นประจำและได้มากกว่าคนถามซึ่งเป็นคนเมืองเสียอีก

ในทำนองเดียวกัน คนเราปฏิบัติธรรมอยู่โดยไม่รู้ว่าตัวปฏิบัติธรรมก็มี เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจความหมายแห่งการปฏิบัติธรรม

ส่วนบางคน เข้าใจว่าตนปฏิบัติธรรมอยู่ อาจปฏิบัติได้น้อย หรือมีธรรมน้อยกว่าผู้ไม่รู้เสียอีก ธรรมะอาจมีอยู่ในทุ่งนามากกว่าในวัดก็ได้ ถ้าชาวนาผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ไถนาเพื่อเลี้ยงตน มารดาบิดา บุตรภรรยา ทำบุญทำทานตามสมควร ขณะที่ชาววัดไม่ทำหน้าที่ของชาววัดให้ถูกต้อง จ้องแต่จะรับลาภสักการะ ความนับถือจากมวลชนโดยไม่ทำหน้าที่ให้สมควรกัน

ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การปฏิบัติธรรม” ให้ถูกต้องถ่องแท้ เพื่อจะได้ไม่หลงผลยกตนข่มผู้อื่นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ และเพื่อไม่หลงผิดตำหนิตนเองโดยไม่จำเป็นว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรเลย

ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมมั่นใจว่า เมื่อตนได้ประพฤติธรรมสมควรแก่ฐานะสภาวะแห่งตนแล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองจากธรรมให้อยู่เย็นเป็นสุข สมพระพุทธภาษิตที่ว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้.

โดยหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าส่งความปรารถนาดีมายังท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านได้รับพร คือ ความเข้าใจอันถูกต้องในการปฏิบัติธรรม นำชีวิตไปสู่ความสงบสุขอันประณีตละเอียดอ่อนตลอดกาลทุกเมื่อ

(ลงชื่อผู้เขียน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาและการปฏิบัติธรรม

การจัดการสนทนาธรรมอย่างนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้ได้รู้และเข้าใจข้อธรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจพระพุทธศาสนาหรือเข้าใจได้ไม่เท่าที่ควร เพราะไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ ถ้าได้ศึกษาอย่างเป็นระบบสักระยะหนึ่ง จะได้แนวทางที่จะไปค้นคว้าศึกษาเองได้ ซึ่งจะมีประโยชน์มาก วันนี้จะบรรยายหัวข้อ “การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาและการปฏิบัติธรรม”

(บรรยายที่การเคหะแห่งชาติ เมื่อ 22 มี.ค. 33)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพุทธศาสนา

ถ้าตั้งปัญหาว่า การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพุทธศาสนานั้น คือ อะไร จะได้คำตอบว่า การศึกษา คือ การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการลงมือปฏิบัติให้เกิดผล ในพุทธศาสนาใช้คำว่า สิกขา เช่น คำว่า

ศีลสิกขา คือ การศึกษาเรื่องศีล ไม่ได้หมายเพียงแต่การเรียนรู้เรื่องศีลอย่างเดียว ต้องทำความเข้าใจเรื่องศีลให้ถูกต้องถ่องแท้

จิตตสิกขา การศึกษาเรื่องจิต คือ การเรียนรู้ทำควาเข้าใจและการปฏิบัติในเรื่องจิตเรื่องสมาธิ

ปัญญาสิกขา การศึกษาเรื่องปัญญาก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีการอบรม มีการปฏิบัติ มีการพัฒนาปัญญา

ฉะนั้น คำว่า “การศึกษา” ในความหมายที่แท้จริงทางพุทธศาสนาหมายถึง การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการปฏิบัติให้เกิดผล

ถ้าศึกษาเล่าเรียนอย่างเดียว เรียนอย่างเดียว เรียกว่า ปริยัติ ไม่ใช้คำว่า สิกขา เราคงได้ยินความว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติ คือ ศึกษาเล่าเรียน
ปฏิบัติ คือ การลงมือทำตามที่ศึกษาเล่าเรียนมา
ปฏิเวธ คือ การได้บรรลุผลตามขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น

ไม่ได้หมายความว่า ต้องบรรลุมรรค ผล นิพพาน เสมอไป จึงจะเป็นการปฏิเวธ ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจอย่างนั้น แต่หมายถึง การได้บรรลุผลเป็นขั้นตอนตามกำลังความสามารถของการปฏิบัติได้ เช่น มีความเพียร มีความอดทน มีสติ มีหิริโอตตัปปะ เราปฏิบัติไปตามนั้น ได้บรรลุผล ได้เห็นผลของความเพียรความอดทนนั้น สุดท้ายหรือสูงสุดของปฏิเวธ คือ การได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดกระบวนการการพัฒนาชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในเรื่องปริยัติ คนบางพวกเรียนเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ทำตนเหนือผู้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้กิเลสเพิ่มพูนขึ้น เป็นเหยื่อของกิเลส ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศึกษาเล่าเรียนเหมือนจับงูพิษทางหาง เรียกว่า อลคัททูปมปริยัติ ถ้าจับทางหาง งูย่อมเอี้ยวหัวมากัดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในวงฆราวาส ในวงของพระก็เช่นเดียวกัน บางท่านพอเรียนได้เปรียญฯ ได้เป็นเจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม กิเลสเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย เป็นเหตุให้ทะนงตน ยกตนข่มผู้อื่น

ในหมู่ชาวบ้าน คนนั้นจบมาจากอังกฤษ อเมริกา การเชิดชูสถาบันทำให้มีแนวโน้มในการที่จะมีอหังการ (Egoistic tendency) พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “เรียนไม่ดี” อย่างนี้มีความรู้น้อยยังจะดีกว่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางพวกศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะปฏิบัติขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจของตน ให้ดำเนินไปตามร่องรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากองทุกข์ในสังสารวัฏ เรียกว่า นิสสรณัตถปริยัติ แม้เราจะไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า แต่เดินตามรอยของพระอริยเจ้า วันหนึ่งก็ต้องไปถึงที่หมายที่พระอริยะเคยไปถึง

ขณะที่ตามรอยอยู่นั้น แม้จะยังไม่ถึงก็เกิดปีติปราโมทย์ ได้ความสบายใจทั้งที่ยังครองชีวิตแบบชาวบ้าน เหมือนการกินข้าวใช่ว่าจะไปสบายตอนอิ่มแล้ว เราได้อัสสาทะ ได้รสของอาหารไปเรื่อยๆ ทุกคำ กินไปสบายไปถึงคำสุดท้ายอิ่มบริบูรณ์ เหมือนกับอบรมตนไปศึกษาไปปฏิบัติไปก็ได้ประโยชน์ไปเรื่อยๆ

ตอนสุดท้ายเรียกว่า มีตนที่เต็มบริบูรณ์ (Self-fulfilment) เหมือนอาบน้ำก็เริ่มสบายตั้งแต่ขันแรก ยิ่งร้อนมากก็รู้สึกอาบสบาย

บางคนมาสนใจธรรมะเพราะเคยหมักหมมไปด้วยกิเลส มากระทบธรรมะเข้าจะตื่นเต้นมาก เที่ยวพูดคุยให้ใครๆ ฟังไปเรื่อย จนเพื่อนๆพากันห้าม นั่นเป็นความรู้สึกตื่นเต้นต่อสิ่งใหม่ที่ตนได้มาพบ จากการที่เมื่อก่อนหมักหมมด้วยกิเลส อิจฉา พยาบาท ซึ่งเป็นโลกียวิสัย พอมากระทบกับสิ่งที่บริสุทธิ์ เหมือนเหงื่อเต็มตัวเกรอะกรัง พอมาได้น้ำเย็นก็สบายตัว

แต่คนที่อยู่กับธรรมะเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร ก็สงบ ความตื่นเต้นนั้นคือการเริ่มมีปีติ และมีปัสสัทธิ ค่อยๆ สงบลงๆ มีอุเบกขา ปฏิบัติไปนานเข้าก็ยิ่งนิ่งเฉย และไม่อยากคุยกับใครแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกระบวนธรรมตามกฎธรรมชาติธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นเอง

นี้เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจให้ดำเนินไปตามรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์

ท่านทั้งหลายทราบแล้ว คนในโลก ในสังคม ที่จะอยู่สภาพอย่างที่ท่านทั้งอยู่คงไม่มีมากเท่าไร ส่วนมากอยู่ในฐานะที่ลำบากยากจนคับแค้น หากินไม่พอใช้ เห็นแล้วทำให้มีความรู้สึกว่าไม่น่าจะมีชีวิตอยู่เลย แต่ตราบใดที่ยังต้องเกิดอยู่ก็ยังต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอย่างไรก็ต้องทุกข์ไปตามประสาอย่างนั้น แม้จะเป็นคนมีบุญก็ทุกข์แบบคนมีบุญ คนมีบาปก็ทุกข์อย่างคนมีบาป ไม่ใช่มีบุญแล้วจะไม่ทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2020, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีอีกพวกหนึ่ง เรียนเพื่อจะบอกเล่าแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สำหรับตัวเขาเองเพียงพอแล้วที่จะปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ มีความกรุณาจึงศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อย เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้ายๆ เจ้าหน้าที่คลัง

พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ศึกษาเหมือนกับขุนคลังเก็บของไว้ในคลังไม่ใช่เพื่อจะใช้เอง ถ้าใครต้องการมีความจำเป็นที่จะใช้ก็เบิกไปใช้ได้

การศึกษาของพระอรหันต์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นไม่ใช่เพื่อตนเอง เพราะตัวเองถึงที่สุดแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2020, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7505

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีอีกพวกหนึ่ง เรียนเพื่อจะบอกเล่าแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สำหรับตัวเขาเองเพียงพอแล้วที่จะปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ มีความกรุณาจึงศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อย เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้ายๆ เจ้าหน้าที่คลัง

พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ศึกษาเหมือนกับขุนคลังเก็บของไว้ในคลังไม่ใช่เพื่อจะใช้เอง ถ้าใครต้องการมีความจำเป็นที่จะใช้ก็เบิกไปใช้ได้

การศึกษาของพระอรหันต์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นไม่ใช่เพื่อตนเอง เพราะตัวเองถึงที่สุดแล้ว

cool
การเกื้อกูลผู้อื่นให้เข้าใจว่าอะไรถูกอะไรผิดสำคัญกว่าสิ่งอื่น
เพราะคนที่ไม่เคยเข้าใจว่าอะไรถูกอะไรผิดตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์
สละเพศคฤหัสถ์ก็ไม่เป็นอันสละคือบวชแล้วยังติดทำนิสัยเดิมอยู่
เอานิสัยใช้เงินทองก่อนบวชไปใช้ตอนบวชแล้วย่อมเห็นผิดเป็นชอบ
https://youtu.be/Xd8qPleTsfY
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2020, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2020, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบเขตของการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมมีขอบเขตเพียงไร ตามความเห็นตามประสบการณ์ของข้าพเจ้า การปฏิบัติธรรมมีขอบเขตกว้างขวางมาก รวมเอาการกระทำทาง กาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องทั้งหมดเป็นการปฏิบัติธรรม
ผู้ที่สนใจทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากจำกัดขอบเขตการปฏิบัติธรรมไว้เฉพาะสมถะวิปัสสนา การรักษาอุโบสถศีล เป็นต้น นั่นเป็นเพียงเอกเทศ คือ ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด

ขอยกตัวอย่าง คนที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน แล้วเลี้ยงให้ดีที่สุดเท่าที่เขาจะดีได้ ถ้ามีความตั้งใจให้เขาเป็นเด็กดี นี่ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

ท่านทั้งหลายมาทำงานด้วยความตั้งใจให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ก็เป็นการปฏิบัติธรรม คือ ปฏิบัติธรรมในการงานนั่นเอง ฉะนั้น ในความหมายที่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรม มีความหมายกว้าง รวมเอากระทำทางกาย วาจา ใจ ทุกอย่างที่ถูกต้องชอบธรรม

คนส่วนมากไม่ค่อยเข้าใจ ไปเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะสมถะวิปัสสนา ฯลฯ กิจกรรมอย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติธรรม แต่ถือว่าเป็นเอกเทศ เป็นส่วนหนึ่ง ใครทำก็ทำไป คนที่คิดว่า จะปฏิบัติธรรมแล้วละทิ้งหน้าที่หมด ถ้าเป็นอย่างนั้น คนที่ปฏิบัติธรรมนั้นจะอยู่ไม่ได้ก่อนผู้อื่น เช่น
ถ้ามีสำนักหนึ่ง ชักชวนใครไปเข้าสำนักแล้วบอกว่า มาปฏิบัติธรรมแล้วต้องเลิกอาชีพ ไม่งั้นปฏิบัติธรรมไม่ได้ การทำอย่างนั้น คนที่ปฏิบัติธรรมเองก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะว่าคนที่ไปปฏิบัติธรรมต้องอาศัยคนที่มีอาชีพ ต้องไปเรี่ยไรขอเงินมาเกื้อหนุนให้ตนอยู่ได้ คนที่ประกอบอาชีพมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้วปฏิบัติธรรมไปด้วยในอาชีพนั้นเอง จึงทำให้คนที่สละอาชีพไปอยู่วัดกันได้ เช่น พระ ชี

เราจะต้องให้ความหมายของคำว่า “ปฏิบัติธรรม” ให้ถูกต้อง กว้างขวาง ครอบคลุมถึงการกระทำชอบทุกอย่าง นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า “ในโบสถ์อาจจะไม่มีการปฏิบัติธรรมก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันธรรมอยู่กับรอยไถนั้นเอง เมื่อมีการกระทำที่ถูกต้อง”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2020, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาของการเผยแพร่พุทธศาสนาในสังคมไทย

ตั้งปัญหาว่า พุทธศาสนามีมาในสังคมไทยนานแล้ว การสอนพุทธศาสนาก็มีสอนอยู่ในหมู่คนไทย ที่นับถือพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ทำไมความเข้าใจในศาสนาจึงไม่บังเกิดขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น น่าจะมีข้อบกพร่องพื้นฐาน ซึ่งยังแก้ไขไม่ได้ ทั้งๆ ที่พระธรรมก็เป็นของดีจริง

ลองนึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วประกาศศาสนา ทรงมีพระชนมายุเพียง ๓๕ พรรษา ศาสดาคณาจารย์ในสมัยนั้น ก็เป็นศาสดาจารย์ผู้เฒ่าสูงอายุ คนในสมัยนั้นนับถือศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู แต่พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสถาปนาพุทธศาสนาขึ้นมาได้ในท่ามกลางศาสนาอื่น

พอมาถึงเมืองไทย คนไทยนับถือพุทธศาสนามานานในดินแดนแถบนี้ จับเอาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ทำไมการสอนความเข้าใจในพุทธศาสนาจึงมีไม่มากเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่พระเป็นผู้สอนก็อยู่ในหมู่ชาวพุทธ ไม่ได้ไปชักชวนใครให้เขามานับถือ ทำไมไม่ได้ผล

บางคนนับถืออยู่แล้วกลับไม่นับถือ ไปนับถือศาสนาอื่นก็มี

บางคนเคยใส่บาตรเคยทำบุญ พอเข้าใกล้ศาสนาเข้าไปจริงๆ กลับถอนตัวออกมา

คนเคยบวชพอหลังจากบวชก็ไม่เข้าวัดอีก ไม่นับถือพระสงฆ์ แสดงว่าติดลบ อะไรเป็นข้อบกพร่องมูลฐาน (Fundamental cause) ท่านลองช่วยกันหาดู

ชาวไทยหรือสังคมในฐานะที่นับถือพุทธศาสนามานานหลายชั่วอายุคน น่าจะดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธจนเป็น “แบบ” ว่าชาวพุทธต้องดำเนินชีวิตแบบนี้ ในสังคมไทยมีแบบของชีวิตอย่างนี้สักเท่าไร หรือว่า แบบชีวิตไม่ได้เป็นพุทธแต่เป็นอย่างอื่น ทั้งๆ ที่ยังนับถือพุทธอย่างนี้ มีอะไรเป็นข้อบกพร่องอยู่ คล้ายคนเป็นมะเร็งไม่หายก็ไม่มีทางที่สุขภาพจะดีได้

ในเบื้องต้นนี้ ข้าพเจ้าขอสรุปสาเหตุหลักๆ ไว้ก่อน ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑ มีความเข้าใจผิด ยึดเอาพิธีกรรมต่างๆ เป็นสาระของศาสนา โดยเห็นเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องสำคัญและดึงคนไปได้มาก ในทางที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำเอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยมี นี่เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้การเผยแพร่พุทธศาสนาไม่ค่อยได้ผล เมื่อมีการเข้าใจผิดเสียแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดต่อๆ กันไป

ประการที่ ๒ ชาวพุทธฝ่ายฆราวาสส่วนมากยกเรื่องศาสนาให้เป็นของพระสงฆ์และคนแก่ พวกตนต้องทำมาหากินจึงไม่มีเวลาสำหรับศาสนา ฆราวาสส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท ๔ จะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญพุทธศาสนาเป็นประโยชน์แก่ตัวฆราวาสเอง ถ้าเผื่อเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ

ประการที่ ๓ คำสอนของพระสงฆ์ไม่เป็นเอกภาพ (unity) ทำให้พุทธบริษัทสับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก คนนี้ดึงไปทางตัดกรรม ทำให้ไม่ก้าวหน้า คนกลางก็ลำบาก ไม่รู้จะไปทางไหนดี คนเองก็ไม่อาจตัดสินใจได้ เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ต้องคอยเชื่อพระสงฆ์

ในขณะที่พระบางรูปสอนตรงแนวทางตามหลักของพุทธศาสนา แต่มีหลายพวกพยายามดึงพุทธบริษัท พุทธบริษัทเห็นว่าทางนี้ง่ายดี ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติเพียงแต่ทำอย่างนั้นอย่างนี้จะได้เอง ยกตัวเรื่องตัดกรรม มีเวรมีกรรมพากันไปตัดกรรม ตัดได้อย่างไร มีอานุภาพอะไรที่จะตัดกรรมของคนอื่น แต่คนก็เชื่อแล้วสบายใจด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2020, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกคำถามเรื่องนี้

Life Coach..เกิดขึ้นเพราะอะไรกัน?

ไม่ใช่ประเด็นดราม่า ทัวร์ลงของนาย Sean.อะไรหรอกนะฮะ..

อยากจะรู้จริงๆ คนสมัยนี้ต้องจ่ายเงินเพื่อไปฟัง ไปสมัครติดตาม คนที่พูดเก่ง พูดสวยกันขนาดนี้หรือ??

สมัยก่อน.. ด้านการใช้ชีวิต การตระหนักรู้ ก็มีพ่อแม่คอยสอน.. บ้างก็เข้าวัดฟังธรรมะ.. บ้างก็ซึมซับจากผู้นำองค์กร. ครูหรือผู้นำประเทศ... จริงอยู่มันอาจไม่เข้ากับทุกคนอย่างสมบูรณ์ แต่ก็เป็นแนวทางที่ดี หากฟังแล้วคิดแล้วตระหนักเอามาแอปพลาย...

แล้วทำไม ถึงเกิดมี Life Coach.เกิดขึ้นกันอย่างดอกเห็ด... หรือปัญหาอยู่ที่สังคม ปัญหาอยู่ที่พ่อแม่ ที่อยู่กันอย่างห่างเหินขึ้น หรืออยู่ที่ศาสนาไม่สามารถหาชุดคำอธิบายที่เปลี่ยนและเข้าถึงตามการเปลี่ยนแปลงของโลก... หรือปัญหาเป็นที่ตัวผู้ถ่ายทอดปรัชญาการใช้ชีวิตยุคเก่าที่เกิดแก๊ปขึ้นอย่างฉับพลันระหว่าง generation... หรือแท้จริงคือเราเลือกฟังในสิ่งที่เราอยากฟัง.. หรือจริงๆแล้วเป็นที่แปลกใหม่ในการนำเสนอของ Life Coach

Life.Coach.บางคนอายุไม่มาก จะมีประสพการณ์ชีวิตเพียงพอหรือ.. ประสพการ์ณจริงกับสิ่งหรูๆที่อ่านมาจากหนังสือ มันให้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ต่างกันอย่างมาก.. เหมือนอ่านธรรมะมาสอน กับฝึกธรรมะมาสอนจะเหมือนกันได้อย่างไร

สังคมเราเกิดการเปลี่ยนแปลงกันรวดเร็วจริงๆ

https://pantip.com/topic/40025963

ฟังประกอบจาก คคห. 3


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2020, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

แนวทางในการศึกษาพุทธศาสนา

แนวในการศึกษาเรายึดอะไรเป็นหลัก คำตอบที่พอจะถือเป็นแนวทางไปก่อน คือ

หลักที่ ๑ ยึดหลักฐานทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ปกรณ์พิเศษต่างๆ ที่ท่านผู้รู้ได้แต่งขึ้นตามแนวคัมภีร์เหล่านั้น ซึ่งเป็นความหนักใจของชาวพุทธที่จะให้นิยมอย่างนี้ เพราะพระไตรปิฎกก็มีมาก อ่านกันไม่ไหว บางภาค เช่น อภิธรรม มีความยากมาก

ส่วนที่เป็นพระสูตร มีสำนวนที่แปลถอดออกมาทุกตัวอักษร ยากแก่การทำความเข้าใจเช่นกัน ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะมาสนใจศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้ แต่ถึงอย่างไร ก็ควรยึดพระไตรปิฎกไว้ก่อน

ส่วนอรรถกถา เป็นหนังสืออธิบาย พระไตรปิฎก

ฎีกา อธิบายทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา

อนุฎีกา อธิบายพระไตรปิฎกอรรถกถาและอนุฎีกา ที่ยังไม่แจ่มแจ้งให้แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่งพวกเราที่ทำงานทำมาหากินไม่สามารถที่จะศึกษารายละเอียดได้ จึงต้องอาศัยหลักที่ ๒ คือ

หลักยึดที่ ๒ ยึดท่านผู้รู้ที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ ในกรณีที่ท่านผู้รู้ขัดแย้งกันจะทำอย่างไร เราก็ต้องย้อนกลับไปหาพระไตรปิฎก ท่านผู้รู้คนไหนแสดงตรงตามพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา หรือ แม้แต่ว่าเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ควรเอาความเห็นของตัวไปคลุมหลักของพุทธศาสนา หรือเหมาเอาความของตัว เพราะโอกาสจะผิดพลาดมีมาก นอกจากผู้รู้นั้นเป็นผู้แตกฉาน เชียวชาญทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ท่านพูดอย่างไรก็ย่อมจะไปตรงกับพระไตรปิฎกจนได้ แม้ท่านจะไม่อ้างคำพูดของพระพุทธเจ้าก็ย่อมตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

เราต้องใช้โยนิโสมนสิการและใช้ปัญญาของเราให้มาก เพราะว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา หลักธรรมต่างๆ เราควรศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้เห็นด้วยตนเอง พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่บังคับเรื่องความเชื่อหรือลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อ ผู้ที่ยังไม่มีปัญญาพอหรือยังไม่เชื่อมั่นในตนเองจะทำอย่างไร ก็ต้องเชื่อท่านผู้รู้ไปก่อน

แต่ในกรณีที่ต้องเชื่อท่านผู้รู้นั้น ก็ไม่ต้องเชื่ออย่างหมดเนื้อหมดตัว ให้เผื่อไว้ใช้ปัญญาของเราเองบ้าง รู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญา ใช้โยนิโสมนสิการ ใช้การปฏิบัติดูว่าอย่างไหนได้ผลดี ก็ใช้อย่างนั้น ซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในตอนท้ายของกาลามสูตร ซึ่งคนส่วนมากมักจะพูดถึงรายละเอียดในกาลามสูตรเพียง ๑๐ ข้อ รายละเอียดตอนต้นและตอนท้ายไม่ได้พูดถึง ในตอนท้ายได้กล่าวว่า
เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว

๑.ใช้ปัญญาพิจารณาดู
๒.ถามท่านผู้รู้
๓.ลองสมาทาน ปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าได้ผลให้ปฏิบัติต่อไป ถ้าไม่ได้ผลให้เลิกเสีย

คล้ายๆ เราไปหาหมอนำยามากิน ถ้าหมอวินิจฉัยโรคถูก ยาได้ผล กินไปๆ โรคก็ค่อยๆหายไป ธรรมดาเป็นอย่างนั้น

ถ้ากินนานไปโรคไม่หาย ไม่ดีขึ้น แสดงว่า วินิจฉัยโรคไม่ถูก หรือวินิจฉัยโรคถูก แต่ยาไม่ถูกกับโรคของเรา ผมเคยทดลองดูเวลาไม่สบาย รู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ผล แต่ลองปฏิบัติผิดๆ ดู ผ่านไป ๑๐ วันก็ไม่ได้ผล เมื่อลองปฏิบัติใหม่กินยาให้ถูกต้องตามกำหนดเวลาตามอัตราของยา ๓ วันเห็นผล แล้วก็ค่อยๆ หายไป

การปฏิบัติธรรมก็เหมือนการใช้ยา ปฏิบัติธรรมถูกต้อง ใช้ถูกต้อง ผลย่อมปรากฏออกมาให้เราเห็นชัดด้วยตนเองว่า ชีวิตดีขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น มีความสงบสุข มีความรอบรู้อะไรดีขึ้น มีทุกข์น้อยลง เหมือนโรคหาย เพราะฉะนั้น แนวในการศึกษาธรรมจึงต้องยึดหลักฐานทางพุทธศาสนา และต้องคบหาสมาคมหรือถามท่านผู้รู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้

เวลานี้ท่านทั้งหลายคงทราบว่า มีความขัดแย้งสับสนเกี่ยวกับปัญหาทางศาสนา ทางธรรม มีผู้ขัดแย้งกันมาก เราต้องสอบจากผู้ที่มีความรู้จริง เชื่อถือได้ เหมือนเมื่อมีปัญหาทางโรคภัยไข้เจ็บ เราต้องถามผู้เชียวชาญทางการแพทย์ มีปัญหากฎหมายต้องซักถามนักกฎหมาย จึงจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องแน่นอน ไม่ใช่ถามชาวบ้านธรรมดา หรือเชื่อเพียงคำคนเขาว่า หรือเห็นเขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความรู้ที่แท้จริงไม่มี อย่างนี้เป็นการเสี่ยงมาก ข้อนี้ เราต้องระวัง

ขอยกตัวอย่างเรื่องความคิดขัดแย้ง เช่นเรื่อง “ความเกิดเป็นทุกข์” บางท่านกล่าวว่า ที่ว่าเป็นทุกข์นั้นไม่ใช่ความเกิดแบบที่ว่าเกิดมาเป็นคน เกิดเป็นสุนัข เป็นวัว เป็นควาย แต่หมายถึงการเกิดขึ้นของกิเลสตัณหา ของอหังการ มมังการ จึงเป็นทุกข์

บางท่านกล่าวว่า ต้องเกิดมาเป็นตัวเป็นตนจึงทุกข์ เหล่านี้จึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา จึงต้องไปตรวจสอบจากพระไตรปิฎก ซึ่งว่าอย่างไรต้องถือตามนั้น ความขัดแย้งจะหมดไป

ทีนี้ คำอธิบายของบางท่านเช่นที่กล่าวว่า ความเกิดเป็นทุกข์ หมายถึงการเกิดขึ้นของกิเลสตัณหาอหังการ มมังการ อย่างนี้ถือว่าเป็นความเห็นของเกจิอาจารย์ เรารับได้ว่านี่เป็นความคิดนัยหนึ่งของความเกิด ความเกิดขึ้นของกิเลสมันก็เป็นทุกข์จริงไม่ใช่ไม่จริง แต่ต้องไม่ปฏิเสธข้อความที่พระไตรปิฎกระบุไว้ถึงความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย คืออะไร ก็ต้องเอาตามพระพุทธเจ้า

แนวการศึกษาแบบนี้จะไม่ขัดแย้งกัน เราจะได้รับการศึกษาได้รับความรู้ตามลำดับ ความรู้ของเราจะเป็นขั้นตอนเป็นลำดับ ไม่กระโดด พอมีความรู้อย่างนี้เป็นพื้นฐานแล้ว ใครจะอธิบายอะไรอย่างไร เราก็รับรู้ได้โดยนัยหนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นอเนกปริยาย คือ ทรงแสดงหลายนัย คนที่เถียงกัน เพราะไปจับเอาโดยนัยหนึ่งแล้วยึดมั่นอยู่ในนัยนั้นโดยไม่เหลียวแลนัยอื่น เลย พลาดจากนัยนั้นแล้วเป็นผิดหมด คล้ายๆคนหนึ่งไปถือเอากิ่งมะม่วงมา อีกคนหนึ่งไปถือเอาผลมะม่วงมา อีกคนหนึ่ง เอารากมา ต่างคนต่างมาบอกว่า นี่คือมะม่วง นอกจากนี้ไม่ใช่ ย่อมต้องเถียงกัน

ฉะนั้น มองพระพุทธศาสนาต้องมองทั้งระบบ ไม่มองเพียงจุดหนึ่ง แล้วบอกว่านั่นคือพุทธศาสนาทั้งหมด ถ้ามองอย่างนั้น ย่อมขัดแย้งกันอยู่เสมอ การมองพุทธศาสนาทั้งระบบ จะรู้ว่าพุทธศาสนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

ผมขอฝากแนวนี้ไว้ด้วยเพื่อเราจะได้ลดความรู้สึกขัดแย้งกับผู้อื่นและตัวเราเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2020, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2020, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางในการปฏิบัติธรรม

แนวในการปฏิบัติ เมื่อจะปฏิบัติธรรมข้อใด ขอให้ศึกษาให้แจ่มแจ้งในขอบเขต ในความหมายของธรรมข้อนั้น ความพอดีของธรรม พิจารณาถึงผลดี ผลเสีย ผลใกล้เคียงโดยรอบคอบก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ

ความดีเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ถ้าเรารู้จุดพอดีว่าอยู่ตรงไหน แต่ความดีจะกลับเป็นสิ่งที่ทำยาก ถ้าเราไม่รู้จุดความพอดี

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความพอดีนั้นดีเสมอ” ท่านคงเคยได้ยินใครค่อนขอดเรื่องสันโดษว่า ถ้ามีสันโดษแล้วบ้านเมืองไม่เจริญ คนพูดพูดโดยไม่เข้าใจความหมายและขอบเขตของธรรมข้อนั้น จึงสับสน

ยังมีธรรมอีกหลายข้อที่เข้าใจผิดไป ฉะนั้น จะปฏิบัติธรรมข้อไหน ต้องศึกษาธรรมข้อนั้นให้ดีก่อน ไม่เช่นนั้นจะทำให้สับสนว่า ทำแล้วไม่ได้ผล

แม้แต่เรื่อง เมตตา กรุณา ว่า เมื่อปฏิบัติแล้วทำไมเป็นผลร้ายกับตัวเอง เราจึงต้องศึกษาขอบเขตความหมายและผลใกล้เคียงด้วย เหมือนเรากินยาบางอย่าง แต่ไม่รู้ผลเสียใกล้เคียง หมอก็ไม่ได้บอกไว้ เช่นยาลดกรด กินแล้วมักจะทำให้ท้องอืดด้วย หมอจึงให้กินร่วมกับยาขับลมเพื่อช่วยเหลือกัน

ธรรมะก็คล้ายกัน ปฏิบัติธรรมข้อนี้มีจุดดีอย่างนี้ แต่มีจุดบกพร่องอื่นไหม ตรงจุดเสียนั้น จะเอาธรรมข้อไหนไปช่วยค้ำเอาไว้ เราควรทำความเข้าใจ เช่น คนที่มีเมตตา กรุณา มากๆ เจริญเมตตา กรุณาอยู่ ทำไปๆ ทำไมจึงเสียไปได้ เสียการปกครอง เสียความยุติธรรมหลายอย่าง จึงต้องหาธรรมอื่นมาช่วยค้ำบ้าง

เมตตาอยู่ใกล้กับความรัก เมตตาฆ่าความพยาบาท แต่เป็นข้าศึกใกล้กับความรัก การมีเมตตาก็ต้องระวัง เมื่อถึงระดับหนึ่งต้องหยุดเพื่อไม่ให้เมตตาล้นไปเป็นความรัก นี่คือแนวของการปฏิบัติ

อย่าดูถูกการศึกษา เอาแต่ปฏิบัติอย่างเดียว ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้

มีท่านผู้หนึ่งเรียนอภิธรรม แรกๆ น้องชายติดรถไปเรียนหนังสือได้ทุกวัน พี่สาวก็พยายามบีบคั้นให้น้องเรียนอภิธรรมบ้าง

ในที่สุดขัดแย้งกัน ไม่ยอมให้น้องนั่งรถอีก โกรธกัน เป็นคนละพวกกัน นี่คืออะไร ควรวินิจฉัยดู

การศึกษาเป็นของดี แต่ถ้ามีอะไรเป็นข้าศึกอยู่บ้างแต่เจ้าตัวไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ไม่ระวัง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ขอให้ทำความเข้าใจข้อนี้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร