วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์

[๑๓๘๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อ ให้บริบูรณ์
ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.

[๑๓๘๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔
ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ... ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน?

พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๒] ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
ในสมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกาย
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร?

เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาอยู่มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


[๑๓๘๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
หายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


[๑๓๘๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
จักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๖] ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๗] ดูกรอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?

ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๑๓๘๘] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เมื่อเธอค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน

[๑๓๘๙] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๑๓๙๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ.

[๑๓๙๑] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๑๓๙๒] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม.

[๑๓๙๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๖] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๗] ดูกรอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.


[๑๓๙๘] ดูกรอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

จบ สูตรที่ ๓





[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ...
๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑


๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...
๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล

คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 เม.ย. 2019, 14:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗๔. เข้ากันได้โดยธาตุ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ.
คนมีศรัทธา ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับคนมีศรัทธา.
คนมีใจละอายต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีใจละอายต่อบาป.
คนมีความเกรงกลัวต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีความเกรงกลัวต่อบาป.
คนที่สดับตรับฟังมากก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่สดับตรับฟังมาก.
คนที่ปรารภความเพียร ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่ปรารภความเพียร.
คนที่มีสติตั้งมั่น ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีสติตั้งมั่น.
คนที่มีปัญญา ก็เข้ากันได้ ลงกันได้ กับคนที่มีปัญญา.
แม้ในอดีตกาลนานไกล ในอนาคตกาลนานไกล ในปัจจุบันกาลนานไกล ก็เป็นอย่างนี้."

๑๖/๑๙๑



๑๗๕. ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ท่านพระสาริบุตร เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค. แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ, ท่านพระมหากัสสปะ, ท่านพระอนุรุทธ์, ท่านพระปุณณะ, ท่านพระอุบาลี, ท่านพระอานนท์ และพระเทวทัต (แต่ละท่าน) ต่างก็เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นสาริบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีปัญญามาก.


ท่านทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีฤทธิ์มาก.


ท่านทั้งหลายเห็นมหากัสสปกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธุตวาทะ (ผู้กล่าวในทางขัดเกลากิเลส คือ สรรเสริญการประพฤติธุดงค์).


ท่านทั้งหลายเห็นอนุรุทธ์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีทิพยจักษุ.



ท่านทั้งหลายเห็นปุณณะ มันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธรรมกถึก (ผู้แสดงธรรม).


ท่านทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นวินัยธร (ผู้ทรงวินัย).



ท่านทั้งหลาย เห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สดับตรับฟังมาก.


ท่านทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?
เห็น พระเจ้าข้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีความปรารถนาลามก.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ.
ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยเลว
ผู้มีอัธยาศัยดีงาม ย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยดีงาม.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้แล้ว
ลงกันได้แล้วโดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายจักเข้ากันได้
ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้
ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม.

๑๖/๑๘๖




๑๗๖. เรื่องที่มิได้ตรัสบอกมีมากกว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไม้ประดู่ลาย ใกล้กรุงโกสัมพี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลายขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?
คือใบประดูลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่ทรงถือไว้ มีประมาณน้อย ที่แท้ใบที่อยู่บนต้นประดู่ลายมีมากกว่า.

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องที่เราตรัสรู้แล้ว แต่มิได้บอกแก่ท่านทั้งหลาย ก็มีมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกัน
เหตุไรเล่า เราจึงมิได้บอก?

ก็เพราะว่า เรื่องนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบ ระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงไม่บอกเพราะเหตุนั้น.

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘




๑๗๗. เรื่องที่ตรัสบอกคืออะไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรื่องอะไรเล่าที่เราบอก
เราบอกว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหตุไรเล่า เราจึงบอกเรื่องนี้ ? ก็เพราะว่า เรื่องนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงบอกเพราะเหตุนั้น.

เพราะเหตุนั้นแล จึงควรกระทำความเพียร (เพื่อรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง) ว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘





๑๗๘. ใบไม้ขนาดเล็กที่ห่อน้ำหรือห่อใบตาลไม่ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่กล่าวว่า ตนไม่ต้องตรัสรู้อริยสัจจ์คือทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามเป็นจริง ก็จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบได้ (พ้นทุกข์ได้) นั้นมิใช่ฐานะที่มีได้

เปรียบเหมือนคนที่กล่าวว่า ตนจะเอาใบตะเคียน ใบทองกวาว๑หรือใบมะขามป้อม (ซึ่งเป็นใบไม้ขนาดเล็กมาก) มาทำเป็นกระทงใส่น้ำหรือใส่ใบตาล ย่อมมิใช่ฐานะที่มีได้ฉะนั้น.

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๙




๑๗๙. ธรรมที่เป็นใหญ่คือปัญญา เทียบด้วยราชสีห์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ย่อมกล่าวได้ว่า เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้นโดยกำลัง โดยฝีเท้า และโดยความกล้า. ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ (โพธิปักขิยธรรม๒) เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ปัญญินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือปัญญา) ย่อมกล่าวได้ว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ในทางเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้มีอะไรบ้าง ?
ธรรมที่เป็นใหญ่คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์) เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้
ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ธรรมที่เป็นใหญ่คือ
ความเพียร (วิริยินทรีย์)
ความระลึกได้ (สตินทรีย์)
ความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์)
และปัญญา (ปัญญินทรีย์)

เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ย่อมเป็นไปเป็นเพื่อความตรัสรู้๓.

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๓๐๑



๑. ปลาสปตฺต ใบทองกวาว
๒. ในที่บางแห่งเรียกโพธิปักขิกธรรม
๓. ในที่อื่นทรงแสดงโพธิปักขิกธรรม หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
ในที่นี้เลือกแสดงเพียง ๕ ประการ ใน ๓๗ ประการนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 06 เม.ย. 2019, 17:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓

[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น

ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค.


[๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร?

คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง
เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?


[๖๘๘] ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.


[๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้
เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.

[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป

เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ สูตรที่ ๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับของผู้ทำกรรมฐาน ภาคปริยัติ



สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ

วิธีการให้รู้ชัดรายละเอียดต่างๆในกายและจิต(สติปัฏฐาน 4)
ขณะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ (วิโมกข์ 8)



ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้

เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป
ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ;

สัญญาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ)ดับไป
ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ;

วิตกเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ)ดับไป
ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.




ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้มีปกติตามเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า ว่า

รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ;

เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ;

สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ;

สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ;

วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ; ดังนี้.

ภิกษุ ท ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ.



ต้องจำอาการที่บรรลุฌานไว้ให้แม่นยำ คือ
ขณะมีก่อนเกิด ขณะมีเกิดขึ้น ขณะเข้าสู่ความดับ
และมีสติออกจากสมาบัตินั้น






เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่ทำกิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบ แม่โคนั้น จะพึงคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม

ครั้นแล้ว มันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ดีเสียก่อน แล้วยกเท้าหลังขึ้น มันก็จะไม่พึงไปถึงทิศที่ตนไม่เคยไป ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนไม่เคยกัดกิน และไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม

มิหนำซ้ำ มันยังไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิม ที่มันยืนคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มฉะนี้ด้วย ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น มันโง่ มันไม่ชำนาญ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบโดยแท้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว

คือ เป็นคนโง่ เพราะ ไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต เป็นคนไม่ชำนาญ เพราะ ไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้น เป็นคนไม่รู้จักขอบเขต เพราะไม่หมั่นทำให้มาก

และเป็นคนไม่ฉลาดเพื่อที่จะบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่ความสงัดอยู่ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแน่นอนจากอกุศลกรรมทั้งหลาย

ภิกษุนั้น ไม่ได้ส้องเสพนิมิตนั้น ไม่ทำนิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ไม่ทำให้มากๆ เข้า ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี

ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งทุติยฌานอันเป็นภายใน ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ มีสภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะ วิตก วิจาร สงบไปแล้ว
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุถึงซึ่งทุติยฌาน ... นั่นได้

ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข ซึงเกิดแต่ความสงัดอยู่ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ... นั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง ๒ เป็นผู้เสื่อมสูญแล้วจากฌานทั้ง ๒ เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์โง่ไม่ชำนาญ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น





เปรียบเหมือนพ่อครัว

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณชาญแลาด ทำการต้อนรับพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยอาหารหลายนานาชนิด คือ อาหารที่มีรสเปรี้ยวบ้าง มีรสขมบ้าง มีรสเผ็ดบ้าง มีรสหวานบ้าง มีรสกร่อยบ้าง มีรสไม่กร่อยบ้าง มีรสเค็มบ้าง มีรสจืดบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล เขาย่อมคอยจับดูอาการของเจ้านายของตนว่า วันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารชนิดนี้ หรือเจ้านายของเราเอื้อมมือเอาอาหารอย่างนี้ หรือเจ้านายของเราหยิบอาหารชนิดนี้มาก หรือเจ้านายของเราพูดชมอาหารอย่างนี้

หรือว่าวันนี้เจ้านายของเราชอบอาหารมีรสเปรี้ยว หรือเอื้อมมือเอาแต่อาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือชอบหยิบเอาอาหารที่มีรสเปรี้ยวเป็นส่วนมากหรือพูดชมคุณอาหารที่มีรสเปรี้ยว .... หรือว่า .... พูดชมคุณอาหารที่มีรสจืด

ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ชำนาญในการทำครัว มีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล เขาย่อมได้เครื่องนุ่งห่มด้วย ได้เครื่องบำเหน็จรางวัลด้วยข้อนั้น เพราะมีอะไรเป็นเหตุ?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า พ่อครัวผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดบางรูปในศาสนานี้ ก็ฉันเดียวกันนั่นแล คือเธอย่อมพิจรณาเห็นกายในกายอยู่ พิจรณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจรณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจรณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌา ความดีใจ และโทมนัส ความเสียใจในโลกออกเสียได้

เมื่อเธอพิจรณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมเป็นสมาธิ อุปกิเลสทั้งหลายย่อมหายไป เขาย่อมจับเอานิมิตนั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้นแล ย่อมได้การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมได้สติและสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะมีอะไร เป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า ภิกษุผู้ชำนาญมีปรีชาญาณชาญฉลาดนั้น คอยจ้องจับเอานิมิตแห่งจิตของตนได้เป็นเหตุโดยแท้




ฌานสูตร

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ ตติยฌานบ้าง ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

วิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา



หรือ ๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และถึงความดับ

ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และถึงความดับ

รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่าด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่ายังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้

เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิลและสิกขา

viewtopic.php?f=1&t=57465

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่ยังมีสักกายทิฏฐิ และผลของการที่มียังสักกายทิฏฐิ
คือ ทำให้ตนติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร

เมื่อเห็นเป็นตัวตนขึ้นมา สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ที่มีผลกระทบให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(มโนกรรม)
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดัน จึงกระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยการปล่อยออกไปทางกาย วาจา (ชาติ)

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

รวมทั้ง การกระทำที่คิด(มโน)เอาเองว่า นี่เป็นกุศล นี่เป็นอกุศล
ส่วนผลที่ได้รับ ไม่ควรคาดเดา




กรณีบุคคลที่ไม่รู้ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงที่เรียกว่า กิเลส
จะรู้แค่ว่า มีความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น ชอบใจ ไม่ชอบใจ จนถึงการปรุงแต่ง จนกลายเป็นความคิด
ที่คิดเอาเองว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เรียกว่า มโนกรรม



ควรศึกษา


พระผู้มีภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑

ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ

ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.



พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้




"ก็อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมอง มีปรกติทำภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นผล เป็นปัจจัยแห่งชาติชรามรณะต่อไป ซึ่งท่านยังละไม่ได้ มีอยู่

ที่เราจะแสดงธรรมเพื่อละเสีย ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง อันท่านปฏิบัติแล้วอย่างไร จักละได้
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความผ่องแผ้ว จักเจริญยิ่ง

ท่านจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์แห่งมรรคปัญญาและความไพบูลย์แห่งผลปัญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่"




วิธีการปฏิบัติ


1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ



2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ




3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


4. มนสิการโดยแยบคาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้น
แล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


5. มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่



หมายเหตุ;

"ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง"


ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึง ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา หรือที่เรียกว่า ไตรลักษณ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ก่อนที่มีพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่อง สัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล



ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้

เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด.

เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้.

เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.







๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง
และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ
ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี
คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า
เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ
ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป
ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่านเมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว
อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า
อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน
เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.






ว่าด้วยวิชชา ๓

viewtopic.php?f=1&t=57480

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

[๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์
มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด




กิ่ง ใบ ลาภ สักการะ

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.

อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น



สะเก็ด ศิล
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม แล้วด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม.

อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.




เปลือก สมาธิ
เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.

เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.

เปรียบเหมือนบุรุษนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด.
ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.




กระพี้ ญาณทัสสนะ
เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้ เราเห็น ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่นและกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.





แก่น
ดูกรพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็นไฉน?
ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.
ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.






๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. หิริโอตตัปปสูตร
ว่าด้วยผลแห่งหิริและโอตตัปปะ

[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน


ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมี
อินทรียสังวรของบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

เมื่ออินทรียสังวรมี
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

เมื่อสัมมาสมาธิมี
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ

วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด

[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด
กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้
กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน





นิวรณวรรคที่ ๑
๑. อาวรณสูตร
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้
บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น
ก็ซัด ส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ ไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต
ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้
บุรุษพึงปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้น
ก็จักไม่ซัด ไม่ส่ายไหลไม่ผิดทาง พึงไหลไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัดในสิ่งที่พอพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต
ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

จบสูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แสดงชัดเจน(จากจิต)
แต่มองไม่เห็น เหตุปัจจัยจากนิวรณ์ครอบงำ



๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)


[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล ฯ

[๒๙๓] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ

[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสารฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคน ฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล
ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด เส้นเอ็นผูกรัดไว้...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ
คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกินปีหนึ่ง...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า
แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน ข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่ พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด ในกอบัวขาบหรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเหง้า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ



[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตามนึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ



[๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือหนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ

[๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟ ทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ



[๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ



[๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆ นั้นจะพึงได้ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วนหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ



[๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟ ทำเตโชธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ



[๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ



[๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งอันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายังหม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ



[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้หรือ ฯ
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ



[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง ๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ



[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ
ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ
ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้ายใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ

จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ

จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น

จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว

หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ


(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติ ก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ


(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ


(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำความเพียรเพื่อดับเหตุทุกข์ การรู้ชัดจิต
ทำให้สามารถประคบประคองจิตให้ผ่านจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(อวิชชา)ไปได้

เมื่อก่อน ก็ไม่รู้ว่าที่เราตั้งชื่อเรียกเองว่า เจริญสติ โดยใช้การรู้ชัดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นโดยการกำหนดอารมณ์ต่างๆที่มีเกิดขึ้น ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ความรู้สึกต่างๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิตมีชื่อเรียกว่า กิเลส เมื่อไม่รู้ก็ย่อมกระทำต่างๆตามความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น(โลภะ โทสะ โมหะ) ชีวิตย่อมดำเนินไปตามกรรม(การกระทำ) และผลของกรรม

จนกระทั่งเจอหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านรู้หนอ ไม่ว่าเราจะคิดอะไร หลวงพ่อจะพูดทันที อาจด้วยเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมาร่วมกับหลวงพ่อ จึงทำให้เชื่อในสิ่งที่ท่านสอนเนืองๆเรื่องกฏแห่งกรรม

หลวงพ่อพูดเนืองๆว่า ท่านไม่ได้พาใครไปนิพพาน ท่านสอนเรื่องกฏแห่งกรรม เพื่อให้ทุกคนช่วยตนเอง ที่เราปฏิบัติได้ผลมากนี้เกิดจากเรื่องกรรมและผลของกรรม พยายามอดทน อดกลั้น หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ


สมัยพุทธกาล ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"
สมัยปัจจุบัน ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง เช่น เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม
พยายามอดทน อดกลั้น เหมือนที่หลวงพ่อบอกว่า ทำความดี ต้องฝืนใจ

เมื่อไตรลักษณ์แจ้งจากจิต คือ รู้ว่าทุกข์ แต่ไม่มีชื่อว่ารู้ไตรลักษณ์หรือคำเรียกต่างๆ
จะรู้อย่างเดียวว่า มันทุกข์(อาการ) แบบนั้น ไม่ใช่รู้ว่าไตรลักษ์ปรากฏจากจิต(คำเรียก)


ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำ
แล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำ
แล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



เมื่อเห็นว่าผู้นั้นมีความศรัทธาหยั่งลงแล้ว ย่อมต้องใจฟังคำสอน และปฏิบัติตาม ดังที่มีให้เห็นเป็นตัวอย่างดังนี้


นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท
[๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น
พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน

เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
อริยสาวกนั้น ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ...
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน


เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.




ผู้ที่รู้ชัดทุกขัง มีลักษณ์ที่เกิดชัด นิวรณ์มาก กรรมฐานที่เหมาะสมได้แก่ การเจริญกาคตาสติ
สำหรับบุคคลที่เป็นฆราวาส "พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน" กล่าวคือ
พยายามอดทน อดกลั้นในเรื่องการสร้างเหตุนอกตัว โดยใช้มนสิการว่า

มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

หมายเหตุ;
"ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง"
หมายถึง ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ





และเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน ได้แก่ การเจริญกายคตาสติ

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 182&Z=4496



และขณะทำกรรมฐาน ใช้มนสิการโดยแยบคาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้น แล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


นี่ย่อที่สุด สำหรับผู้ที่รู้ชัด"ทุกขัง"
เป็นที่มาของคำที่ว่า "เห็นทุกข์ เห็นธรรม"







ต่อจากนั้น

"พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน

เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท"


บอกก่อนว่า ผลจะได้มากหรือน้อย ขึ้นชื่อว่าพยายาม ผลย่อมได้
ยังดีกว่าไม่ทำ(หยุดสร้างเหตุนอกตัวและทำกรรมฐาน)อะไรเลย

บางครั้งท้อถอย แต่ยังพยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว และยังทำกรรมฐาน
เดินจงกรม บางคนรู้กายขณะกำลังเดินจงกรม(กำหนดย่อย)
ต่อด้วยนั่ง รู้ตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
หรือขณะนั่ง รู้กายที่ท้องพองยุบ(ลมหายใจเข้า) ท้องยุบ(หายใจออก) ทำต่อเนือง

เน้นมากๆ ต้องเดินก่อนนั่ง เพื่อปรับให้อินทรีย์สมดุลย์(สมาธิกับสติ)


ผลที่ได้คือ
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป

แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์

แก่นของสภาวะวิปัสสนา
ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง

สภาวะ(ผัสสะ)ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ ได้แก่
วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

อินทรีย์ 5
อนุโลมญาณ
มัคคญาณ
ผลญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วรรคที่ ๔


[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่เกิดในน้ำมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่กลับมาเกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหลมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่ได้เห็นพระตถาคตมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรสมากกว่าโดยแท้

เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย

มีที่ดอนที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก

ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ






หมายเหตุ;

"สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์"

"สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบท"

"สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้"

"สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ"

ได้แก่ สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี





"สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต"

"สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้"

"สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้"

"สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้"

"สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"

"สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ"

"สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย"

ได้แก่ โสตาปัตติยังคะ 4





ผลของโสตาปัตติยังคะ 4

"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต"

ได้แก่ สมถะ(สัมมาสมาธิ)เกิดก่อน วิปัสสนา(ญาณ) เกิดที่หลัง

ที่มีเกิดขึ้นขณะทำความเพียร(กรรมฐาน)

"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต"

ได้แก่ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะ(สัมมาสมาธิ)เกิดที่หลัง

ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(สีลวิสุทธิ)

เป็นสภาวะ สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี

นิพพาน หมายถึง ความดับภพ




"สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ"

"สัตว์ที่ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส"

ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล








[๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัยมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัยมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยกลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้

เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย

มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะ เป็นส่วนมากโดยแท้ ฉะนั้น ฯ

จบวรรคที่ ๔



หมายเหตุ;

กรรม(การกระทำทางกาย วาจา ใจ)

และวิบากกรม(ผลของกรรม)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2019, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ




และ การสิกขา


[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้
- ด้วยการศึกษาโดยลำดับ
- ด้วยการทำโดยลำดับ
- ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศรัทธาก็ดี
การเข้าไปใกล้ก็ดี
การนั่งใกล้ก็ดี
การเงี่ยโสตลงก็ดี
การฟังธรรมก็ดี
การทรงธรรมไว้ก็ดี
ความพิจารณาเนื้อความก็ดี
ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี
ฉันทะก็ดี
อุตสาหะก็ดี
การไตร่ตรองก็ดี
การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว
เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร




ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว


[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษจะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิสข้องอยู่ด้วยอามิส
แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆเห็นปานนี้ว่า
ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ

สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า
เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร