วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อยังไม่แจ้งอุปาทานขันธ์ 5 จึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ 5ว่า

"รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร"

คือ เมื่อยังไม่แจ้งความมีเกิดขึ้นในอุปาทานขันธ์ 5
เมื่อนึกถึงกรรม(การกระทำ) จึงทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ






๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕

[๑๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคารมาตุปราสาท ในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง.

[๑๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะพึงทูลถามเหตุประการหนึ่ง กะพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสที่จะพยากรณ์ปัญหา แก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงนั่ง ณ อาสนะของตนแล้ว ถามปัญหาที่เธอมุ่งจำนงเถิด

ภิกษุนั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ อาสนะของตน ทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้แหละภิกษุ.





ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้ และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้ แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทานว่าด้วยฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕




[๑๘๕] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ แตกต่างกันหรือ?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ต่างกันภิกษุ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้ พึงมีเวทนาเช่นนี้ พึงมีสัญญาเช่นนี้ พึงมีสังขารเช่นนี้ พึงมีวิญญาณเช่นนี้.

ดูกรภิกษุ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ต่างกันด้วยประการฉะนี้แล.






ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์

[๑๘๖] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ขันธ์ จึงชื่อว่าขันธ์?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่ารูปขันธ์

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์

สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสังขารขันธ์

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.

ดูกรภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์.





ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕

[๑๘๗] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ?

พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.

ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.




ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ?

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.






ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ

[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร?

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน สัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.






ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์

[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ
เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ?

พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป สุขโสมนัส
อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยสังขารเกิดขึ้น
อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.




ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย

[๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก?

พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง

สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และสรรพนิมิตภายนอก.





ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา

[๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร?

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา
มีใจถูกตัณหาครอบงำ จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า
ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.

จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ ขัชชนิยวรรคที่ ๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
จำว่าตัวเองชื่ออะไร
ชัดเจนมีอุปาทานขันธ์5
ยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวเราของเรา
จนกว่าจะเริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์
แล้วเข้าใจความจริงว่าไม่มีเราเขาหรือใคร
มีแต่สภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อขาดการฟังย่อมยังความประมาทของตนให้เจริญขึ้นเป็นอวิชชา
เป็นความไม่รู้ก็คือเดี๋ยวนี้เองที่กำลังยึดถือทุกอย่างที่เพียงแต่ปรากฏให้เห็นได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
:b16:
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่ไม่ปกปิดตนเอง รู้แค่นั้น จะพูดเท่าที่ตนรู้ได้
เช่น วลัยพร ที่เขียนอธิบายอะไรๆได้ เกิดจาก สมองกระทบกระเทือน
ลิ่มเลือดจากหัวใจ เข้าไปขัดขวางการทางของเส้นเลือด
การรับรู้ผัสสะทางใจ ย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย
เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะสัญญาเสื่อม

ฉะนั้น ที่จึงสามารถพูดได้เต็มปากและการแสดงความตามสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

แตกต่างจากผู้ที่ยังมีอุปทานขันธ์ 5 และอุปาทาน 4
ที่มาแสดงออกในทำนองว่า ละอุปทานขันธ์ 5 และอุปทาน 4 จนหมดสิ้น(ละบัญญัติ)
แต่การทำการเลียนแบบความรู้เห็น กับความกระทำย่อมแตกต่างกัน
โดยเฉพาะ หิริ โอตัปปะ จะแสดงออกชัดเจน เพียงแต่เกิดความรู้ชัดในตนเองหรือยัง?

คงลืมไปเลยกระมังว่า วลัยพรเป็นผู้ชำนาญทั้งสมถะและวิปัสสนา
จึงทำให้ชำนาญในเรื่องการดูสภาวะ ใครจะมาพูดสิ่งใด จะมองออกว่า
จะมาแสดงตนออกมาว่า รู้เห็นสิ่งใดและคิดตนเอาเองว่าได้อะไร เป็นอะไร

มุกนี่ มาใช้กับเราได้หรอกนะ เพราะไม่สนใจ มันแค่เปลือก ไม่ใช่แก่น
ก็กรรมของใคร ผู้ใดกระทำ ทำเองย่อมได้รับผลตามความเป็นจริง

ควรจะพูดสิ่งใด ควรสังวรระวังตนให้มากๆ เตือนแล้วนะ
แต่ยังกระทำอีก จะไม่ว่ากล่าวเตือนอีก "สัตตานัง"

เลือกเอา ทางมีสองทาง

1. ประกอบตนเพื่อสัตตานัง

2. นิพพาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


2 มีค. 62


….แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง

เราได้บัญญัติ โลก, เหตุเกิดของโลก, ความดับไม่เหลือของโลก, และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกไว้.



อธิบาย

ในตัวเราจะมีสัญญาและใจ(วิญญาณธาตุรู้) มีแค่2 สิ่งที่เกิดขึ้น
บัญญัติต่างๆ เกิดจากสัญญา
เมื่อสัญญาเสื่อม ทุกสิ่งแค่สักแต่ว่าเท่านั้นเอง

คือ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย จึงทำให้มีเกิดขึ้น





มาคัณฑิยะ ! เปรียบเหมือนบุรุษตามืดมาแต่กำเนิด
เขาจะมองเห็นรูปทั้งหลาย

ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาบ ก็หาไม่,
จะได้เห็นที่อันเสมอหรือไม่เสมอ ก็หาไม่,
จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็หาไม่.
เขาได้ฟังคำบอกเล่าจากบุรุษผู้ที่ตาดี ว่า

“ท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวเนื้อดีนั้น เป็นของงดงาม
ปราศจากมลทินเป็นผ้าสะอาด”, ดังนี้.
เขาเที่ยวแสวงหาผ้าขาวนั้น.

บุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า

“นี่แล เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม
ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด” ดังนี้
เขารับผ้านั้นแล้วและห่มผ้านั้น



ต่อมา มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา
แพทย์พึงประกอบยาถ่ายโทษในเบื้องบนถ่ายโทษในเบื้องต่ำ ยาหยอด ยาหยอดให้กัด และยานัตถุ์.

เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลับมีจักษุดี ละความรักใคร่พอใจ ในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งจักษุที่ดี เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกหมายมั่นต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้นหรือ ถึงกับเข้าใจเลยไปว่า ควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น ว่า

ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! เราถูกบุรุษผู้นี้ คดโกง ล่อลวงปลอมเทียมเอาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า
“นี่ท่านผู้เจริญ !. นี้เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจากมลทินเป็นผ้าสะอาด,มานานนักแล้ว”,
อุปมานี้ฉันใด;

มาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน,
คือเราแสดงธรรมแก่ท่านว่า
“เช่นนี้เป็นความไม่มีโรค, เช่นนี้เป็นนิพพาน” ดังนี้;

ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้
ก็ต่อเมื่อท่านละ ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้
พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน; และความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ว่า

“ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! นานจริงหนอ, ที่เราถูกจิตนี้ คดโกง ล่อลวง ปลิ้นปลอก
จึงเราเมื่อจะยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และ ซึ่งวิญญาณ นั่นเอง.

เพราะความยึดถือเป็นต้นเหตุ ภพจึงมีแก่เรา,
เพราะภพเป็นต้นเหตุ ชาติจึงมีแก่เรา,
เพราะชาติเป็นต้นเหตุ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อมหน้า.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้แล.

– ม.ม. ๑๓/๒๘๔/๒๙๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้พิจารณาตามเยอะเลยครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 09:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพื่อยังไม่แจ้งอุปาทานขันธ์ 5 จึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ 5ว่า

"รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร"

คือ เมื่อยังไม่แจ้งความมีเกิดขึ้นในอุปาทานขันธ์ 5
เมื่อนึกถึงกรรม(การกระทำ) จึงทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ


ข้อธรรม ตรงนี้นึกยังไง พูดถึงขันธ์ 5 แล้วไปผูกกะเรื่องกรรมยังไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
อ้างคำพูด:
เพื่อยังไม่แจ้งอุปาทานขันธ์ 5 จึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ 5ว่า

"รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร"

คือ เมื่อยังไม่แจ้งความมีเกิดขึ้นในอุปาทานขันธ์ 5
เมื่อนึกถึงกรรม(การกระทำ) จึงทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ


ข้อธรรม ตรงนี้นึกยังไง พูดถึงขันธ์ 5 แล้วไปผูกกะเรื่องกรรมยังไง







ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา

[๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร?

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา
มีใจถูกตัณหาครอบงำ จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า
ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.








ถ้าอ่านพระธรรมที่พุทธเจ้าทรงตรัสไว้ แล้วยังไม่เข้าใจอีก
จะบอกแค่ว่า พระธรรม ไม่ใช่แค่การท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องปฏิบัติจนแจ้งแก่ตน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความมีเกิดขึ้น "อุปาทานขันธ์ 5"


"รายละเอียด สักกายทิฏฐิ
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

ทิฏฐิสังโยชน์ ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕ เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของตน เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา ความเข้าใจผิดเช่นนี้ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นผิด ที่ทำให้ตนติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร

มีเกิดขึ้นตรง ผัสสะ
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรู้รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์

ผัสสะ หูได้ยินเสียง เช่น เสียงเขาด่า(ตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นตามความเป็นจริง ก็ตาม)

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่ เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัดใน "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เช่น เสียงที่มากระทบหู จึงเห็นโดยความเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เรา เขา"

ความมีเกิดขึ้น "สักกายทิฏฐิ" มีแค่ตรงนี้



ส่วนตรงนี้ เป็นเรื่องความมีเกิดขึ้น "อุปาทาน 4"

สำหรับผู้ที่ยังมีสักกายทิฏฐิ และผลของการที่มียังสักกายทิฏฐิ
คือ ทำให้ตนติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร


เมื่อเห็นเป็นตัวตนขึ้นมา สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ที่มีผลกระทบให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(มโนกรรม)
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดัน จึงกระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยการปล่อยออกไปทางกาย วาจา (ชาติ)


เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




ชรา มรณะฯลฯ (โลกธรรม 8)

ปริเทวะ ก็ทุกข์เป็นไฉน?
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่า ทุกข์

ก็โทมนัสเป็นไฉน?
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า โทมนัส

ก็อุปายาสเป็นไฉน?
ความแค้นความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาส

ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วมความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดาความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ...

ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์

ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน?
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อโยนิโสมนสิการ

เมื่อขณะเห็นบางคนกำลังแสดงความเห็น(ของบุคคลอื่น) มองภายนอกเหมือนแสดงวาทะต่อกัน
ทั้งที่เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของแต่ละคน แต่เพราะมิจฉาทิฏฐิที่มีอยู่ จึงใช้พระสูตรพระวินัยสำหรับพระภิกษุและพระภิกษุณี


sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
"ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้
เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบ
เป็นไปเพื่อความก่อ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ
เป็นไปเพื่อความยึดถือ ไม่เป็นไปเพื่อความสละ
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อการปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ดังนี้.

ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ โดยส่วนเดียว ว่านั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.


ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้นั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก.

ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์ ดังนี้.

ครั้นเมื่อความเป็นไปเช่นนั้น ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้า ในพรหมจรรย์ ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ ก็เหมือนกัน.

:b8: :b8: :b8:




ผลจึงเป็นดังนี้ ตกใต้อำนาจของตัณหา


sssboun เขียน:
ปฏิบัติถูกหรือไม่ วัตด้วยพระสุตรนี้ครับ รู้ได้ด้วยตนเองว่า
กิเลสเราลดน้อยไปมากแค่ไหนจากอดีตเป็นเช่นนี้ๆๆๆๆ หลังจากปฏิบัติแล้วดีขึ้นเช่นนี้ๆๆๆๆครับ





กำลังตัณหามีกล้า จึงน้อมใจเชื่อว่า สิ่งที่กำลังกระทำอยู่ เป็นสิ่งที่ตรงกับพระสูตร




sssboun เขียน:
เราลด ละเลิก สิ่งที่เป็นอกุศล ได้มากขึ้นแค่ไหน และเจริญสิ่งที่เป็นกุศลได้เพิ่มมากขึ้นแค่ไหน
ทาง กาย วาจา ใจ สงบมากขึ้น นานขึ้น ความคิดว่องไวและถูกต้องมากขึ้นแก้ปัญหาได้มากขึ้นเร็วขึ้น ดีขึ้น
ความอยากลดลงนี้แสดงว่าเราเดินถูกทางแล้วครับ มีความอ่อนน้อมมากขึ้น ความขยันมากขึ้น อดทน
ความเพียร ความกล้าหาญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขามากขึ้น :b8: :b8: :b8:







สภาวะของโมฆบุรุษ จึงไม่ได้กระทำเพื่อดับ แต่มีกระทำเพื่อความเกิดภพชาติ
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5






สำหรับผู้ที่ยังมีสักกายทิฏฐิ และผลของการที่มียังสักกายทิฏฐิ
คือ ทำให้ตนติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร


เมื่อเห็นเป็นตัวตนขึ้นมา สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ) ที่มีผลกระทบให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(มโนกรรม)
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดัน จึงกระทำตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยการปล่อยออกไปทางกาย วาจา (ชาติ)


เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้




รวมทั้ง การกระทำที่คิด(มโน)เอาเองว่า นี่เป็นกุศล นี่เป็นอกุศล
ส่วนผลที่ได้รับ ไม่ควรคาดเดา




ผลของการ "อโยนิโสมนสิการ"

นัยที่ 1 คือว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษในขณะนั้น

นัยที่ 2 คือว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 3 คือว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาตินั้น
ก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ ผู้ที่ว่างจากการบรรลุในชาตินั้นจึงเป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 4 คือ ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศล จึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ



ทั้งนี้ที่มีเกิดขึ้นจากขณะนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา
ตัณหามีกำลังกล้า ใครจะพูดอะไรก็ตาม ต่อให้พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรม
ก็ไม่สามารถการคิดพิจรณาตามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล


ลักษณะอาการที่มีขึ้น ขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง


ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน ขณะที่เกิด(นิมิต) ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ จะรู้ชัดเหมือนๆกัน คือหายใจไม่ออก เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาลเข้าไปในหลุมหรือรูหรือเหว

ตัวอย่าง เช่น



คนที่ 1
ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม



คนที่ 2
สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่
ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)



คนที่ 3
เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง
มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น
พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย



คนที่ 4
เคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตาย เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย) เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป



คนที่ 5
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล





กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุติ

ปัจจเวกขณญาณ
ญาณที่ต่อจากผลญาณ ก็คือ ปัจจเวกขณญาณ
ได้แก่ โยคีบุคคล ที่เข้าสู่ความดับไปแล้ว

ครั้นรู้สึกตัวขึ้น ก็พิจรณาว่า ตนเป็นอะไรไป
สภาวะอย่างนี้ ทำไมเกิดขึ้นกับตน

หรือพิจรณาในทำนองที่คล้ายคลึงกันนี้ และนึกย้อนหลังไปถึงการกำหนดที่ผ่านมาก่อน ที่จะเกิดอาการแปลกประหลาดอันนี้ขึ้น ซึ่งตนไม่เคยได้ประสบมาก่อนเลยในชีวิต

ลักษณะญาณนี้ก็คือ กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น


ปัจจเวกขณะ แปลว่า กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น









walaiporn เขียน:
การแจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและการละสักกายทิฏฐิ ที่เป็นสมุจเฉท
ดูตรงขณะที่เกิดอนุโลมญาณ,มรรค,ผล ใน กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต



อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้และที่ยังเหลือ
ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์



ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




"แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4"
ตัณหายังดับไม่ได้ ทำการกำหนดต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





"อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน"
กล่าวคือ มรรค ผล ได้ประจักษ์ด้วยตน
แต่นิพพาน ยังไม่แจ้ง ทำการกำหนดต่อไป


การแจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นอยู่กับปัญญินทรีย์ ซึ่งแจ้งด้วยตัวสภาวะเอง(มรรค ผล)
เพียงแต่ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ อาจจะไม่รู้ว่าอริยสัจ 4 มีเกิดขึ้นโดยรู้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สำหรับผู้ที่ขาดสุตตะหรือขาดการศึกษา
จะรู้ชัดเฉพาะสภาวะดับทุกข์เฉพาะตน
แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นเข้าใจได้



หากได้มรรค,ผล แต่ยังไม่แจ้งนิพพาน
ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์
และทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรงโดยกาลนั้น



"เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้าง ?
สติปัฏฐานสี่ คือ :-

ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ ; โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"ศิล"

คำว่า ศิล 5 ไม่ใช่แค่การศึกษาเพียงอย่างเดียว ต้องรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วย
ไม่งั้นจะเท่ากับสีลลัพพปรามาส


๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ


[๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า
ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.


[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?



พระผู้มีภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑

ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ

ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.





[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ
เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้.





ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.


พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มีปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.


ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไปจุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ดังนี้
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้

เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป
เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.

เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑

ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ

ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.



พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.



หมายเหตุ;

คนทั่วๆไป การรักษาจะเป็นไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น(ลัพพตปรามาส)
เพื่อชักชวนให้คนอื่นๆพยามรักษาศิลตามที่คิดเอาเองว่า กระทำตามนี้ จะต้องได้ผลตามที่คิดไว้
บางคนงยกตย.ขึ้นมาเองว่า เช่น การดื่มสุรา โทษของการดื่มสุราจะต้องได้รับผลแบบที่คิดว่าต้องเป็นแบบนั้นๆ
ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ คนจะเป็นเช่นไร เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

แต่ผู้ที่ไม่ได้สดับแล้วในโลกฯลฯ เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัด "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงว่า
การดื่มสุรา เป็นปลายเหตุ

ต้นเหตุเกิดจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของแต่ละบุคคล(สะสมในแต่ละการกระทำ ไม่ใช่เฉพาะการดื่มสุราเพียงอย่างเดียว) ส่วนจะได้รับผลเชนไรนั้น บ้างครั้งได้รับผลทันที บ้างครั้งได้ผลในแต่ละต่อๆไป หรือไม่ได้รับผลก็มีอยู่

เมื่อไม่รู้ชัดในสิ่งที่มีเกิดขึ้น จึงกระทำกรรมตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยเป็นการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก ชาติ ชรา มรณะฯลฯ

แตกต่างจากอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแลฯลฯ
ภายนอกดูเหมือนการกระทำไม่แตกต่างจากปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
เช่น บางคนมองเห็นจะคิดเอาเองว่า คนนี้พูดไม่เพราะ คนนี้ขี้โมโห คนนั้นทะเลาะกันฯลฯ
ทำไมจึงคิดแบบนั้น เพราะปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ ใช้ความรู้สึกของตนเองในการตัดสินต่อผู้อื่น
สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแลฯลฯ จะพูดตามที่ตนรู้ตนเห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อโยนิโสมนสิการ

ผลของการ "อโยนิโสมนสิการ"

นัยที่ 1 คือว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษในขณะนั้น

นัยที่ 2 คือว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 3 คือว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาตินั้น
ก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ ผู้ที่ว่างจากการบรรลุในชาตินั้นจึงเป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 4 คือ ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศล จึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ




ทั้งนี้ที่มีเกิดขึ้นจากขณะนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา
ตัณหามีกำลังกล้า ใครจะพูดอะไรก็ตาม ต่อให้พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรม ก็ไม่สามารถการคิดพิจรณาตามว่า


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.





ที่มาของคำว่า "เพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาตินั้น"
คำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมาทั้งหมดเกี่ยวกับโมฆบุรุษ ที่มีเกิดขึ้นในชาตินั้นหรือชาติสุดท้าย
หมายถึง ที่มีเกิดขึ้นขณะปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงชาติอื่นๆ

กล่าวคือ "ทั้งนี้ที่มีเกิดขึ้นจากขณะนั้นๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา
ตัณหามีกำลังกล้า ใครจะพูดอะไรก็ตาม ต่อให้พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรม ก็ไม่สามารถการคิดพิจรณาตาม"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งเหล่านี้(การกระทำ) เรากระทำมาหลายชาติๆ เพียงแต่ในชาตินี้ ระลึกไม่ได้
การเขียน ก็เขียนแบบนี้ๆๆๆๆๆ แต่ทว่ารายละเอียดมากขึ้นตั้งแต่หยาบจนกระทั่งละเอียด
กว่าจะเข้าสู่ แก่น จนกว่าจะรวบได้ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด

แม่น้ำมีหลายสาย(สำนัก)

1. ทำดี ต้องฝืนใจ เชื่อเรื่องกรรม(การกระทำ) และวิบากกรรม(ผลของกรรม) เช่น เจริญสติ

2. สำรวม สังวร อินทรีย์ 5 อิริยบท 4 เช่น ญาณ 16

3. อานาปาสติ เช่น พุทโธ

4. ปริยัติ(พระไตรปิฎก) เช่น อภิธรรม

5. กสิณ


แม่น้ำหลายทั้งสาย(ธรรมานุสารี,สัทธานุสารี,กายสักขี)
เข้าสู่เส้นทางสติปัฏฐาน 4 ที่มีชื่อเรื่องแตกต่างกัน(บัญญัติ)
เป็นเรื่องของตามเหตุปัจจัย(กรรมและผลของกรรม และอวิชชาที่มีอยู่)ของแต่ละคน

เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุปัจจัยให้ยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติ
เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำตามความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น

จิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน
ถ้ารู้ทันตัณหา อุปาทานที่มีเกิดขึ้น ก็ทำงานไม่ได้




ว่าด้วยวิชชา ๓
viewtopic.php?f=1&t=57480



ศิลและสิกขา
viewtopic.php?f=1&t=57465


การเจริญสมถะและวิปัสสนา
viewtopic.php?f=1&t=57440


ทางดับทุกข์
viewtopic.php?f=1&t=57367



อริยสัจ 4
viewtopic.php?f=1&t=57406


ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า
viewtopic.php?f=1&t=57420



ถ้าไม่เกิดสภาวะสัญญาณเสื่อม ก็คงไม่สามารถรวบรวมแบบนี้ได้
เพราะสมองได้รับการกระทบกระเทือน เป็นเรื่องของวิบากกรรม "ทุกขัง"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 เม.ย. 2019, 13:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำพูดอริยะ "ทำดี ต้องฝืนใจ"
เชื่อเรื่องกรรม(การกระทำ) และผลของกรรม(วิบาก)
เมื่อศรัทธาหยั่งแล้ว ทำให้เกิดการสำรวม สังวร ระวัง
ผลคือ ไม่เพลิดเพลินใน ผัสสะ


คำพูดปถุชน "อย่าพยามเปลี่ยนใคร"
เมื่อศรัทธาหยั่งแล้ว ทำให้ประมาท
ผลคือ เพลิดเพลินใน ผัสสะ



การคบเสมอกับธาตุ
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยในแต่ละคน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร