วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ * หรือ คิดตามหลักการ และความมุ่งหมาย คือ พิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ธรรม กับ อรรถ หรือ หลักการ กับ ความมุ่งหมาย เป็นความคิดที่มีความสำคัญมาก ในเมื่อจะลงมือปฏิบัติธรรม หรือ ทำการตามหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลตรงตามความมุ่งหมาย ไม่กลายเป็นการกระทำที่เคลื่อนคลาด เลื่อนลอย หรืองมงาย

ธรรม แปลว่า หลัก หรือ หลักการ คือ หลักความจริง หลักความดีงาม หลักการปฏิบัติ หรือ หลักที่จะเอาไปใช้ปฏิบัติ รวมทั้งหลักคำสอนที่จะให้ประพฤติปฏิบัติ และกระทำการได้ถูกต้อง

อรรถ (อัตถะ ก็เขียน) แปลว่า ความหมาย ความมุ่งหมาย จุดหมาย ประโยชน์ที่ต้องการ หรือสาระที่พึงประสงค์


ที่อ้างอิง *

*คำนี้ ไม่ใช่ของเดิม แต่จับใจความมาปรุงขึ้นใหม่ ถ้าเรียงลำดับแท้ ควรเป็น ธรรมอรรถ หรือ ธัมมัตถะ แต่เรียงเป็นอรรถธรรม เพื่อความสละสลวย และแม้ในคัมภีร์ทั้งหลาย เมื่อเข้ารูปสมาส ท่านก็นิยมเรียงเป็น อรรถธรรม (อัตถธัมม) อย่างนี้เหมือนกัน เช่น ที.ปา 11/143/169 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการปฏิบัติธรรม หรือ กระทำการตามหลักการใดๆ ก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมาย และความมุ่งหมายของธรรม หรือ หลักการนั้นๆ ว่า ปฏิบัติ หรือ ทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลักการนั้น กำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่าง ที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้ออื่นๆ


ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการ และความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้อง ที่เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หรือ ธัมมานุธัมมปฏิบัติ * แปลอย่างสืบๆกันมา ว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือ ปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อย เข้ากันได้ และส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ




ที่อ้างอิง *

* ตัวอย่างความหมายของ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ จากบาลี และอรรถกถา

- ปฏิบัติธรรมานุธรรม คือ ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสอดคล้อง ปฏิบัติไม่ขัด ปฏิบัติคล้อยตามอรรถ (ขุ.จู.30/540/270)

- ธรรมานุธรรมปฏิบัติ คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาค อันเป็นธรรมคล้อยตามแก่โลกุตรธรรม ๙ (ที.อ.2/326; 3/276 ฯลฯ)

- คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาค พร้อมทั้งศีลอันเป็นธรรมสอดสมแก่โลกุตรธรรม ๙ (องฺ.อ.2/123,329,424,466) คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาค พร้อมทั้งศีล เพื่ออรรถคือโลกุตรธรรม (องฺ.อ.3/62)

- คือ ปฏิบัติวิปัสสนาธรรม อันเป็นธรรมคล้อยตามอริยธรรม (ที.อ.2/203ฯลฯ)

- คือ ดำเนินวิปัสสนามรรค อันเป็นธรรมอนุรูปแก่อริยธรรม (องฺ.อ.3/313)

- คือ ดำเนินปฏิปทาที่เป็นธรรมคล้อยตามนิพพานธรรมซึ่งเป็นโลกุตระ(สํ.อ.2/43)

- คือเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นธรรมน้อย เพราะสอดคล้อยแก่โลกุตรธรรม (สุตฺต.อ.2/162)

- ธรรมานุธรรม คือ ธรรมและอนุธรรม (ที.อ.3/150)

- ธรรมานุธรรม ไขความว่า อนุธรรม คือปฏิปทาอันเหมาะกัน แก่ธรรม (ม.อ.3/208)

- โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธรรม วิปัสสนา เป็นต้น ชื่อว่า อนุธรรม ปฏิปทาอันเหมาะกันแก่ธรรมนั้น ชื่อว่า อนุธรรมปฏิปทา (นิทฺ.อ.1/78)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมานุธัมมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่า เป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรม หรือการกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดหมายได้หรือไม่

ถ้าไม่มีธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม หรือดำเนินตามหลักการ ก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้าม คือเกิดโทษขึ้นได้

ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย ธรรมเพื่ออรรถ หลักการเพื่อจุดหมาย จะทำอะไร ต้องถามได้ ตอบได้ ว่าเพื่ออะไร

ในทางธรรม ท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก ทั้งในแง่เป็นคุณสมบัติของบุคคล เช่น สัปปุริสธรรม ๗ และ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้น และในแง่ลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม เช่น ปัญญาวุฒิธรรม และแนวปฏิบัติธรรมที่จะยกมาแสดงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ขอยกบาลีบางแห่งมาดูประกอบ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

"ภิกษุผู้เป็นอัตถัญญูอย่างไร ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งธรรมที่ภาษิตแล้วนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งธรรมที่ภาษิตไว้ข้อนี้ นี้เป็นอรรถแห่งธรรมที่ภาษิตไว้ข้อนี้" * (องฺ.สตฺตก.23/65/114 – ถ้าเป็นพระราชามหากษัตริย์ คำว่า “ธรรม” ในธัมมัญญู ก็หมายถึงหลักรัฐศาสตร์ ธรรมเนียมการปกครองตามราชประเพณี เป็นต้น -ดู องฺ.ปญฺจก.22/132/167ฯลฯ)

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพหูสูต และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ เป็นอย่างไร ?
บุคคลบางคนมีสุตะ (ความรู้ที่เล่าเรียนสดับไว้) คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละเป็นอันมาก
เขารู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แห่งสุตะที่มากนั่นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นพหูสูต และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ" (องฺ.จตุกฺก.21/6/9)


"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเราแสดงไว้แล้ว เป็นอันมาก คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
ถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แห่งคาถาที่มี ๔ บาทแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) ก็ควรเรียกได้ว่าเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม" (องฺ.จตุกฺก.21/186/242)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อควรลบเลือน เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลายไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ไม่ทรงธรรมไว้โดยเคารพ ไม่ไตร่ตรองอรรถ (อัตถุปปริกขา) แห่งธรรมที่ทรงไว้โดยเคารพ
ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ย่อมเล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมทรงธรรมไว้โดยเคารพ ไตร่ตรองอรรถ (อัตถุปปริกขา) แห่งธรรมที่ทรงไว้โดยเคารพ
ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ)* ..." (องฺ.ปญฺจก.22/154/197)


พึงสังเกตแนวธรรมในสูตรนี้ ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้

ฟังและเล่าเรียนธรรม > ทรงธรรมไว้ได้ > ไตร่ตรองธรรม (อัตถุปปริกขา) > ธรรมานุธรรมปฏิบัติ


ที่อ้างอิง *
* คำว่าโดยเคารพ (สกฺกจฺจํ) หมายความว่า ทำด้วยความตั้งใจจริง ถือเป็นเรื่องสำคัญ หรือเอาจริงเอาจัง เช่น "วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ" = จ้องดูลูกวัวอย่างตั้งใจจริงจัง (วินย.5/17/27)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวธรรมเดียวกันนี้ มีมาในพระสูตรอื่นๆอีกมากมายเหลือเกิน (ดู องฺ.ติก.20/105/47 ฯลฯ) จนต้องถือได้ว่า เป็นหลักการสำคัญของการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้หลักนี้แล้ว ขอให้นำไปเปรียบเทียบกับหลักการพัฒนาปัญญา หรือคุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบัน ๔ ประการ ที่ตรัสไว้ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา กล่าวคือ การเสวนาสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม โยนิโสมนสิการ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ”* (องฺ.จตุกฺก.21/249/332)

เมื่อเทียบกันแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า แนวธรรมทั้งสองนี้มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน ข้อที่พึงสังเกตพิเศษ ก็คือ ข้อโยนิโสมนสิการ สูตรที่อ้างข้างบนใช้คำว่า อัตถุปปริกขา (ไตร่ตรอง หรือ พิจาณาอรรถ) แทน

การใช้คำว่า อัตถุปปริกขา ที่นี่ เสมือนเป็นการจำกัดความหมายของโยนิโสมนสิการในกรณีนี้ว่า มุ่งวิธีโยนิโสมนสิการแบบที่ ๕ ที่กำลังกล่าวถึงนี้โดยเฉพาะ ให้เห็นว่า เมื่อเข้าใจธรรม กับ อรรถ หรือ หลักการ กับ จุดมุ่งหมายสอดคล้องกันดีแล้ว ก็ก้าวหน้าไปสู่ขั้นธรรมานุธรรมปฏิบัติ ลงมือทำได้อย่างถูกต้องต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากยังมองไม่ชัดว่า ธรรม กับ อรรถสัมพันธ์กันอย่างไร ธรรมมีอรรถอย่างไร ก็มีบาลีแสดงอรรถแห่งธรรม หรือความมุ่งหมายของหลักธรรมต่างๆ ไว้หลายแห่ง พอยกมาให้พิจารณาเป็นแนวได้ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบอธรรม และธรรม พึงทราบอนรรถ และอรรถ ครั้นทราบอธรรม และธรรม อนรรถ และอรรถแล้ว พึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรม เป็น อรรถ

อะไรคืออธรรม อะไรคือธรรม อะไรคืออนรรถ อะไรคืออรรถ?

มิจฉาทิฏฐิ...มิจฉาสังกัปปะ...มิจฉาวาจา...มิจฉากัมมันตะ...มิจฉาอาชีวะ...มิจฉาวายามะ...มิจฉาสติ...มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ...มิจฉาวิมุตติ คือ อธรรม

สัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ...สัมมา อาชีวะ...สัมมาวายามะ...สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ ...สัมมาญาณ...สัมมา วิมุตติ คือ ธรรม

อกุศลธรรมที่ชั่วร้ายทั้งหลาย เป็นอเนก ที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี่คือ อนรรถ

กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอเนก ที่ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์เพราะ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี่คืออรรถ" * ( แปลรวบความจาก องฺ.ทสก. 24/113-6/238-249 ฯลฯ แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอธรรม และกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นธรรม พึงเข้าใจ อรรถ - อัตถ์ และอรรถ - อนัตถ์ ที่สะกดต่างรูปว่า คือ คำเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วินัย เพื่ออรรถคือสังวร สังวร เพื่ออรรถคือความไม่มีวิปฏิสาร

ความไม่มีวิปฏิสาร เพื่ออรรถคือปราโมทย์ ปราโมทย์ เพื่ออรรถคือปีติ

ปีติ เพื่ออรรถคือปัสสัทธิ ปัสสัทธิ เพื่ออรรถคือสุข

สุข เพื่ออรรถคือสมาธิ สมาธิ เพื่ออรรถคือยถาภูตญาณทัสสนะ

ยถาภูตญาณทัสสนะ เพื่ออรรถคือนิพพิทา นิพพิทา เพื่ออรรถคือวิราคะ

วิราคะ เพื่ออรรถคือวิมุตติ วิมุตติ เพื่ออรรถคือวิมุตติญาณทัสสนะ

วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่ออรรถคืออนุปาทาปรินิพพาน” (วินย.8/1084/406)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลศีล มีความไม่มีวิปฏิสารเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ความไม่มีวิปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ปราโมทย์ มีปีติเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

สุข มีสมาธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการไปจากภาวะอันมิใช่ฝั่ง สู่ภาวะที่เป็นฝั่ง โดยประการดังนี้แล” (องฺ.เอกาทสก.24/209/337)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สัมมาทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอรรถ

นิพพิทา มีวิราคะเป็นอรรถ

วิราคะ มีวิมุตติเป็นอรรถ

วิมุตติ มีนิพพานเป็นอรรถ” (สํ.ข.17/366/232)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลวิสุทธิ เพียงแค่มีจิตตวิสุทธิเป็นอรรถ

จิตตวิสุทธิ เพียงแค่มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นอรรถ

ทิฏฐิวิสุทธิ เพียงแค่มีกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นอรรถ

กังขาวิตรณวิสุทธิ เพียงแค่มีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เพียงแค่มีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เพียงแค่มีญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

ญาณทัสสนวิสุทธิ เพียงแค่มีอนุปาทาปรินิพพานเป็นอรรถ” (ม.มู.12/298/295)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจากบาลีต่อไปนี้ จะช่วยให้ได้แง่มุมที่จะเข้าใจ อรรถ หรืออัตถะ ชัดขึ้น และเป็นการสรุปไปด้วย

"การบำเพ็ญประโยชน์ (อรรถ) โดยคนที่ไม่รู้จักประโยชน์อันพึงหมาย * (อรรถ) ไม่นำความสุขมาให้ คนเขลา ย่อมผลาญประโยชน์ (อรรถ) เสีย เหมือนดังลิงเฝ้าสวน"*(ขุ.ชา.27/46/15)

"พึงพิจารณาธรรมให้ถึงต้นเค้า จึงจะเข้าใจอรรถแจ้งชัดด้วยปัญญา" (องฺ.สตฺตก.23/3-4/3-4)

"ผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) เป็นบุคคลหาได้ยากพวกหนึ่งในโลก" (องฺ.ปัญฺจก.22/143/189; 195/267)

ปริพาชก: ท่านสารีบุตร อะไรหนอ ทำได้ยาก ในธรรมวินัยนี้ ?

พระสารีบุตร: การบวชสิท่าน ทำได้ยาก ในธรรมวินัยนี้

ปริพาชก: ผู้บวชแล้ว อะไรทำได้ยาก ?

พระสารีบุตร: ความยินดีสิท่าน ผู้บวชแล้ว ทำได้ยาก

ปริพาชก: ผู้ยินดีแล้ว อะไรเล่า ทำได้ยาก ?

พระสารีบุตร: ธรรมานุธรรมปฏิบัติสิท่าน อันผู้ยินดีแล้วทำได้ยาก

ปริพาชก: นานสักเท่าใดหนอ ภิกษุผู้ธรรมานุธรรมปฏิบัติ จึงจะได้เป็นพระอรหันต์ ?

พระสารีบุตร: ไม่นานเลยท่าน (สํ.สฬ.18/512/320)



ที่อ้างอิง*

คนที่ไม่รู้จักอรรถ แปลจาก อนตฺถกุสล แปลเอาความว่า คนฉลาดไม่เข้าเรื่อง; คำว่า “อรรถ” นี้ สูจิแห่งอภิธานัปปทีปิกาแสดงความหมายไว้ ๙ นัย น่าสังเกตว่า ในคัมภีร์รุ่นรองและชั้นอรรถกถา นิยมใช้อรรถในแง่ที่เป็นความหมาย เช่น “ชื่อว่า สัมมาสมาธิ โดยอรรถคือไม่ฟุ้งซ่าน” (ขุ.ปฏิ.31/52/31ฯลฯ) ชื่อว่า สมาธิ โดยอรรถคือตั้งมั่น” (วิสุทฺธิ.1/105) แต่ในพระบาลีชั้นเดิม มักใช้ในแง่ที่เป็นประโยชน์ หรือความมุ่งหมาย เช่น “สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถ” คือ มีการรู้เห็นตามเป็นจริงเป็นที่หมาย (เช่น องฺ.ทสก.24/1/2 เป็นต้น)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางธรรม น่าจะได้เน้นความสำคัญของความคิดความเข้าใจแบบนี้ไว้เสมอๆ จะเห็นได้ว่า แม้แต่ความเป็นกลางของทางสายกลาง หรือความเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ก็กำหนดด้วยความรู้ความเข้าใจตระหนักในจุดหมายของการปฏิบัติ
แม้หลักธรรมต่างๆ ที่แบ่งย่อยออกมา หรือเป็นองค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทานั้น แต่ละอย่างๆ ก็มีเป้าหมายจำเพาะ และจุดหมายรวม ซึ่งจะต้องเข้าใจและตระหนักไว้ เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อให้ข้อธรรมเหล่านั้น เข้าสัมพันธ์กลมกลืน และรับช่วงสืบทอดกันนำไปสู่ผลที่มุ่งหมาย

พูดอีกนัย หนึ่งว่า ความรู้เข้าใจตระหนักในจุดหมาย และขอบเขตแห่งคุณค่าของหลักธรรมต่างๆ เป็นเครื่องกำหนดความถูกต้องพอเหมาะพอดีแห่งการปฏิบัติหลักธรรมนั้นๆ ซึ่งทำให้เกิดธรรมานุธรรมปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 125 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร