วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก

viewtopic.php?f=1&t=56896

ไม่เฉพาะสังคม แม้ในสังฆะ พระก็ถือหลักแบ่งปันลาภ


ที่ว่ามานั้นพูดในแง่คฤหัสถ์ ทีนี้มาดูในแง่ของพระภิกษุ ในสังฆะหรือในสังคมของพระนี้ อย่านึกว่าชีวิตของพระจะอยู่แต่กับเรื่องที่เรียกกันว่าการปฏิบัติธรรมหรือแม้แต่สมถะวิปัสสนา

มีข้อสังเกตแทรกเข้ามาว่า คำว่า "ปฏิบัติธรรม" นี้ คนไทยใช้กันไปใช้กันมา เวลานี้ เหลือความหมายทั้งแคบทั้งคลุมเครือ จนบางทีต้องเลี่ยง ไม่ใช้เสียเลย หรือต้องใช้อย่างระมัดระวัง ที่จริง การปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าใช้ในความหมายถูกต้อง ก็พูดได้ว่าเรื่องของพระก็คือการปฏิบัติธรรม และไม่ว่าใคร ถ้าจะเป็นคนให้ถูกต้อง ก็ต้องปฏิบัติธรรมในความหมายนี้ทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตของพระนั้น จะให้ดี ก็ดูที่วินัยก่อน จึงจะเห็นชัดว่า ชีวิตของพระนั้นเป็นชีวิตในสังฆะ แล้วจะต่างกับชาวบ้านอย่างไร ก็ดูที่นี่

ทีนี้ ชีวิตพระที่อยู่รวมในสังฆะนั้น เมื่อปฏิบัติตามพระวินัย ก็มีสาระโยงไปรับกันกับหลักธรรม เพราะที่แท้แล้ว แก่นสารของวินัยก้อยู่ธรรมนั่นเอง แต่ต้องจับให้ถูกที่

ไม่ต้องพูดยืดยาว ชีวิตพระอยู่ในสังฆะ ที่อยู่ได้ด้วยสามัคคี โดยมีวินัยเป็นเครื่องสร้างและดำรงสามัคคีนั้น พอถึงสามัคคี นี่ก็คือมาถึงธรรมทันที แล้วตรงนี้ เรามาดูหลักธรรมที่เป็นฐานของสามัคคีนั้นให้ชัดให้ดี

ตรงนี้แหละ ก็มีหลักธรรมที่เน้นไว้ในพระสุตตันตปิฎก และพระวินัยปิฎกก็ย้ำไว้อีก ได้แก่ หลักธรรมชุดที่เรียกว่า สาราณียธรรม ๖ ประการ เป็นหลักธรรมทางสังคม สำหรับดำรงสังฆะโดยตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชุดนี้ เป็นหลักในขั้นปฏิบัติ เช่น นำเอาเมตตาซึ่งเป็นคุณธรรมในจิตใจ มาแสดงออกในขั้นปฏิบัติการ เป็นหลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเน้นมากสำหรับชีวิตของพระในสังฆะ มีอะไรบ้าง ก็มาทบทวนสักนิดหนึ่ง สาราณียธรรม ๖ ข้อ คือ

๑. เมตตากายกรรม ทำต่อกัน หรือแสดงออกต่อกันทางกายด้วยเมตตา คือ ทำการต่างๆ ในการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือร่วมมือกัน

๒. เมตตาวจีกรรม พูดต่อกัน หรือแสดงออกต่อกันทางวาจาด้วยเมตตา คือ พูดจาด้วยใจรัก ด้วยความปรารถนาดี เช่น ใช้ถ้อยคำสุภาพอ่อนโยน ปรึกษา แนะนำ ให้ความรู้ สั่งสอน เป็นต้น

๓. เมตตามโนกรรม คิดต่อกัน หรือใจนึกถึงกันด้วยเมตตา คือ มีใจหวังดี ปรารถนาดีต่อกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส

๔. สาธารณโภคี หรือ สาธารณโภคิตา ได้มาแบ่งกันกินใช้ หมายความว่า มีลาภ ได้ของใช้ของกินมา ก็เผื่อแผ่แบ่งปัน ให้ได้ใช้ได้กินได้บริโภคกัน (สาธารณโภคี แปลว่า เสวยหรือบริโภคให้เป็นของสาธารณะ คือ ให้เป็นของร่วมกัน ทั่วถึงกัน)

๕. สีลสามัญญตา มีศีลเสมอกัน เสมอกันต่อหน้าวินัย หรือต่อหน้ากฎหมาย มีการปฏิบัติรักษาวินัย ประพฤติเสมอกัน ไม่ทำตัวให้เป็นที่น่ารังเกียจแก่หมู่คณะ

๖. ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิ มีแนวคิด มีหลักการที่ยึดถือร่วมกันเสมอกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ มาดูในแง่ทิ้งค้างไว้ คือ ในเรื่องของทาน ดูว่าชีวิตของพระเองมีการปฏิบัติในด้านการให้ปันอย่างไรไหม ในเมื่อพระไม่ได้เป็นผู้ประกอบอาชีพ ไม่ได้แสวงหาและสะสมวัตถุสิ่งของ ไม่ได้ครอบครองทรัพย์สิน ไม่เป็นเจ้าของวัตถุที่จะไปแจกแก่ใคร พระจะให้ปันอย่างไร

ในที่นี้ ไม่พูดถึงธรรมทาน คือการให้ธรรม ที่เป็นหลักของพระ สำหรับเข้าคู่กับของฝ่ายคฤหัสถ์ ที่มีการให้วัตถุทาน หรืออามิสทาน

สำหรับพระ ทางด้านวัตถุ การให้ทานก็มาออกในหลักการ”แบ่งปันลาภ”เมื่อว่าตามหลักสาราณียธรรมนี้ ก็คือข้อ ๔ สาธารณโภคี ที่นำมาให้ดูข้างบนแล้ว ที่ว่า ได้ของใช้ของกินมา ก็เผื่อแผ่แบ่งปันให้ได้ใช้ได้บริโภคทั่วถึงกัน

เรื่องวัตถุนี้ ถ้าไม่ดูทางด้านวินัย ก็จะไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญมากแค่ไหน พูดกว้างๆ ก็คือ เรื่องปัจจัยสี่ และส่วนที่สำคัญในชีวิตของการอยู่ร่วมกัน ก็คือการแบ่งปันลาภที่ว่าไปแล้วนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเน้นสำหรับพระ เพราะฉะนั้น ในพระวินัยจึงมีการวางหลักการ และกฎเกณฑ์กติกาต่างๆในการแบ่งปันลาภให้ทั่วถึง และให้เป็นธรรม

ในพระวินัยนั้น นอกจากเน้นเรื่องวัตถุแล้ว ก็ว่าด้วยเรื่องสังคม คือระบบในการอยู่ร่วมกัน แม้แต่การแบ่งปันลาภนั้น ก็คือเรื่องทางสังคมนั่นเอง รวมแล้ว วินัยของพระ ก็คือการจัดตั้งวางระบบในเรื่องวัตถุกับเรื่องสังคม และวินัยก็มาบรรจบกับธรรม ที่ความสามัคคี ที่เป็นหลักดำรงสังฆะ และเป็นความสุขของสังคม

ถ้าจะดูให้รู้เข้าใจพระพุทธศาสนา ก็อย่ามองดูแต่ด้านธรรมะที่เด่นด้านนามธรรม พุทธศาสนามิใช่หมายถึงเฉพาะเรื่องหลักธรรมอย่างเดียว ต้องดูให้คลุมด้านวินัย ที่ว่าด้วยเรื่องวัตถุ และสังคมพร้อมไปด้วย ให้ครบตามที่ท่านเรียกไว้ว่าเป็น ”ธรรมวินัย”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: จบตอน พุทธธรรมหน้า ๑๑๑๘ :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทีนี้ มาดูในแง่ทิ้งค้างไว้ คือ ในเรื่องของทาน ดูว่าชีวิตของพระเองมีการปฏิบัติในด้านการให้ปันอย่างไรไหม ในเมื่อพระไม่ได้เป็นผู้ประกอบอาชีพ ไม่ได้แสวงหาและสะสมวัตถุสิ่งของ ไม่ได้ครอบครองทรัพย์สิน ไม่เป็นเจ้าของวัตถุที่จะไปแจกแก่ใคร พระจะให้ปันอย่างไร

ในที่นี้ ไม่พูดถึงธรรมทาน คือการให้ธรรม ที่เป็นหลักของพระ สำหรับเข้าคู่กับของฝ่ายคฤหัสถ์ ที่มีการให้วัตถุทาน หรืออามิสทาน

สำหรับพระ ทางด้านวัตถุ การให้ทานก็มาออกในหลักการ”แบ่งปันลาภ”เมื่อว่าตามหลักสาราณียธรรมนี้ ก็คือข้อ ๔ สาธารณโภคี ที่นำมาให้ดูข้างบนแล้ว ที่ว่า ได้ของใช้ของกินมา ก็เผื่อแผ่แบ่งปันให้ได้ใช้ได้บริโภคทั่วถึงกัน

เรื่องวัตถุนี้ ถ้าไม่ดูทางด้านวินัย ก็จะไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญมากแค่ไหน พูดกว้างๆ ก็คือ เรื่องปัจจัยสี่ และส่วนที่สำคัญในชีวิตของการอยู่ร่วมกัน ก็คือการแบ่งปันลาภที่ว่าไปแล้วนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเน้นสำหรับพระ เพราะฉะนั้น ในพระวินัยจึงมีการวางหลักการ และกฎเกณฑ์กติกาต่างๆในการแบ่งปันลาภให้ทั่วถึง และให้เป็นธรรม

ในพระวินัยนั้น นอกจากเน้นเรื่องวัตถุแล้ว ก็ว่าด้วยเรื่องสังคม คือระบบในการอยู่ร่วมกัน แม้แต่การแบ่งปันลาภนั้น ก็คือเรื่องทางสังคมนั่นเอง รวมแล้ว วินัยของพระ ก็คือการจัดตั้งวางระบบในเรื่องวัตถุกับเรื่องสังคม และวินัยก็มาบรรจบกับธรรม ที่ความสามัคคี ที่เป็นหลักดำรงสังฆะ และเป็นความสุขของสังคม

ถ้าจะดูให้รู้เข้าใจพระพุทธศาสนา ก็อย่ามองดูแต่ด้านธรรมะที่เด่นด้านนามธรรม พุทธศาสนามิใช่หมายถึงเฉพาะเรื่องหลักธรรมอย่างเดียว ต้องดูให้คลุมด้านวินัย ที่ว่าด้วยเรื่องวัตถุ และสังคมพร้อมไปด้วย ให้ครบตามที่ท่านเรียกไว้ว่าเป็น ”ธรรมวินัย”

คริคริ

จะดูให้รู้จริง รู้แจ้ง ในพระศาสนา ต้องไปดูด้านที่ไปนิพพาน ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2018, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ปฏิปทาของท่านผู้หลุดพ้นทางของผู้หลุดพ้น http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=37&t=56913 :b8:

Kiss Kiss Kiss
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 96 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร