วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
กิเลสแปลว่าไม่รู้อยู่ที่จิตมีแล้ว
กรรมคือเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต
วิบากคือผลที่ได้รับตามกรรม
หมุนวนไปเรื่อยๆผลกรรมเก่า
มาปรากฏเมื่อไม่รู้ก็หลงผิดทำ
ทำกรรมใหม่แล้วรอให้ผลในอนาคตแล้วค่ะ
จนกว่าจะเริ่มฟังพระพุทธพจน์เพื่อสะสมปัญญาค่ะ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 20:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อจินติตสูตร
[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด
เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย
ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ
จบสูตรที่ ๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในอจินติตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจินฺเตยฺยานิ ได้แก่ ไม่ควรคิด.
บทว่า น จินฺเตตพฺพานิ ความว่า บุคคลไม่ควรคิด เพราะเป็นอจินไตยนั่นเอง.
บทว่า ยานิ จินฺเตนฺโต คือ คิดสิ่งที่ไม่มีเหตุเหล่าใด.
บทว่า อุมฺมาทสฺส ได้แก่ ความเป็นคนบ้า.
บทว่า วิฆาตสฺส คือ เป็นทุกข์.
บทว่า พุทฺธวิสโย แปลว่า วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น.
บทว่า ฌานวิสโย ได้แก่ ฌานนิสัยในอภิญญา.
บทว่า กมฺปวิปาโก ได้แก่ วิบากของกรรมมีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบันเป็นต้น.
บทว่า โลกจินฺตา ความว่า โลกจินดา ความคิดเรื่องโลกเช่นว่า ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้างมหาสมุทร ใครสร้างสัตว์ให้เกิด ใครสร้างภูเขา ใครสร้างต้นมะม่วงต้นตาลและต้นมะพร้าวเป็นต้น ดังนี้

จบอรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นวปุราณวรรคที่ ๕
กรรมสูตร
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ

[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ

[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ

[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 20:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กรรมสูตรที่ ๑
[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน
(ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อๆ ไป
(อปราปรเวทนียะ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์
แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง
การงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจ
เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง
การงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นแห่งโทษการงานทางกาย ๓ อย่าง มี
ความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่
ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์
คือถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน
หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา
พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ
โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
วิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง
มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท
ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำ
ไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้น
เมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็น
ก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่
อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไป
บอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย
คนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนทั้งหลาย
ผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคาย
กล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม
ไม่อิงวินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษ
แห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มี
ทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มี
ความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุอัน
เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุ
อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา
ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้
จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็น
ผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่น
สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้
ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณ-
*พราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็น
อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง
วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็น
โทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้น
ข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นนั่นเอง
ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
เหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น
อกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ
๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป
หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่
สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อม
มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจ
เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ
เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ๑
ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์
เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้
ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชาย
รักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบ
โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่ง
การงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ
เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เขาอยู่ในสภา
ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือในท่ามกลางราชสกุล
ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น
บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น
หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ
แห่งผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๑ ละคำส่อเสียด เว้น
ขาดจากคำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือ
ฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกัน
แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้
พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อม
เพรียงกัน ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู
ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม
อิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
โดยกาลอันควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ
เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้วัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิต
คิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี
ความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ
มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผล
วิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่
บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ
ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงาน
ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล
เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือ
เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยม ที่บุคคลโยนขึ้น
ข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นเอง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
เหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุ
แห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะ
เหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
กิเลสแปลว่าไม่รู้อยู่ที่จิตมีแล้ว
กรรมคือเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต
วิบากคือผลที่ได้รับตามกรรม
หมุนวนไปเรื่อยๆผลกรรมเก่า
มาปรากฏเมื่อไม่รู้ก็หลงผิดทำ
ทำกรรมใหม่แล้วรอให้ผลในอนาคตแล้วค่ะ
จนกว่าจะเริ่มฟังพระพุทธพจน์เพื่อสะสมปัญญาค่ะ
onion onion onion

:b12:
อันนี้ของจริงที่ตนเองมีไม่เข้าใจหรือถึงยังเกิดมาเนี่ย
ไม่รู้เลยว่าตนเองไม่รู้และกำลังทำกรรมใหม่ตามเหตุปัจจัย
ไม่ฟังคำตถาคตแปลว่าไม่มีปัญญาเกิดไงคะเข้าใจไหมคะเงี่ยโสต
สงบเสงี่ยมเจียมตัวตนว่าตนไม่รู้เป็นสาวกรึเปล่าถ้ายังไม่เริ่มฟังไม่ใช่วิสัยของสาวก
https://youtu.be/kr8kOrSbTec
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสชอบคิดชอบเล่นของสูง ทั้งๆที่ส่วนสูงเพียง 120 ซ. คิกๆๆ

อ้างคำพูด:
กิเลส กรรม วิบาก



หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆ กัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง
ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดง และความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ที่แสดงความเป็นไปของชีวิตไว้ทั้งหมด มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลักธรรมปลีกย่อยในระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแห่งชีวิต หรือกระบวนธรรมเบ็ดเสร็จ

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิต หรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม(ม.มู. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙)


หลักธรรมส่วนย่อยของปฏิจจสมุปบาท ที่นิยมอธิบายกันมากที่สุด คงได้แก่หลักกรรม
การนำหลักกรรมมาอธิบาย อาจมองได้ทั้งในแง่ที่ว่า กรรมเป็นเรื่องน่าสนใจในตัวของมันเอง และในแง่ที่ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมนั้น เป็นบันไดสำคัญที่จะก้าวสู่ความความเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาท


ว่าที่จริง การอธิบายหลักกรรมตามเนื้อหาอย่างตลอดสายก็คือวิธีการที่ง่ายขึ้นอย่างหนึ่งในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง


กรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทซึ่งเห็นได้ชัด เมื่อแยกส่วนในกระบวนการนั้นออกเป็น ๓ วัฏฏะ (วน,วังวน) คือ กิเลส กรรม และวิบาก หลักปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการทำกรรม และการให้ผลของกรรมทั้งหมด ตั้งต้น แต่กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย


อย่างไรก็ดี การอธิบายตามแนวปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นการพิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติ ว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะล้วนๆ และเป็นการมองอย่างกว้างๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ไม่เน้นที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อมองในแง่ความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของการแสดงออก และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรง ก็คือส่วนที่เรียกว่า กรรม
ถ้าเพ่งในทางปฏิบัตินี้ ก็อาจยกเอากรรมขึ้นเป็นจุดเน้นและเป็นบทตั้งแล้วเอาส่วนอื่นๆ ของปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวประกอบสำหรับสืบสาวราวเรื่องต่อไป


ถ้าทำอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทก็จะปรากฏในรูปร่างที่นิยมเรียกกันว่า "กฎแห่งกรรม" * (ตัวอย่างพุทธพจน์แห่งหนึ่งที่เชื่อมปฏิจจสมุปบาท กับ กฎแห่งกรรมสนิทกันเป็นอย่างดี คือ ที่ตรัสว่า "บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม และวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้" (ม.ม.๑๓/๗๐๗/๖๔๘ ฯลฯ) และจะมีเรื่องราวในแง่อื่นๆ ที่น่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นอีก นับว่าเป็นแนวการอธิบายที่น่าศึกษา
ดังปรากฏว่า ในสมัยหลังๆ นี้ ก็นิยมพูดถึงกฎแห่งกรรมกันมากกว่าจะพูดถึงปฏิจจสมุปบาท เพราะการพูดถึงกรรม เป็นการพูดถึงกิริยาอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบ ปรากฏชัด เห็นง่าย เกี่ยวข้องอยู่เฉพาะหน้าทุกขณะทุกเวลา เหมาะที่จะถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณา

ยิ่งกว่านั้น การอธิบายเรื่องกรรม อาจทำได้หลายระดับ คือ จะอธิบายอย่างง่ายๆ ในระดับผิวเผิน พอให้เห็นเหตุเห็นผลในสายตาของชาวบ้านก็ได้ จะยกเอาเหตุการณ์หรือบทบาทของคนทั้งหลายขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็ทำได้สะดวก หรือจะอธิบายลึกลงไปถึงกระบวนการธรรมภายในจิต จนต้องใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเต็มรูปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2018, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรสชอบคิดชอบเล่นของสูง ทั้งๆที่ส่วนสูงเพียง 120 ซ. คิกๆๆ

อ้างคำพูด:
กิเลส กรรม วิบาก



หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆ กัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง
ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดง และความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ที่แสดงความเป็นไปของชีวิตไว้ทั้งหมด มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลักธรรมปลีกย่อยในระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแห่งชีวิต หรือกระบวนธรรมเบ็ดเสร็จ

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิต หรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม(ม.มู. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙)


หลักธรรมส่วนย่อยของปฏิจจสมุปบาท ที่นิยมอธิบายกันมากที่สุด คงได้แก่หลักกรรม
การนำหลักกรรมมาอธิบาย อาจมองได้ทั้งในแง่ที่ว่า กรรมเป็นเรื่องน่าสนใจในตัวของมันเอง และในแง่ที่ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมนั้น เป็นบันไดสำคัญที่จะก้าวสู่ความความเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาท


ว่าที่จริง การอธิบายหลักกรรมตามเนื้อหาอย่างตลอดสายก็คือวิธีการที่ง่ายขึ้นอย่างหนึ่งในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง


กรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทซึ่งเห็นได้ชัด เมื่อแยกส่วนในกระบวนการนั้นออกเป็น ๓ วัฏฏะ (วน,วังวน) คือ กิเลส กรรม และวิบาก หลักปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการทำกรรม และการให้ผลของกรรมทั้งหมด ตั้งต้น แต่กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย


อย่างไรก็ดี การอธิบายตามแนวปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นการพิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติ ว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะล้วนๆ และเป็นการมองอย่างกว้างๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ไม่เน้นที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อมองในแง่ความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของการแสดงออก และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรง ก็คือส่วนที่เรียกว่า กรรม
ถ้าเพ่งในทางปฏิบัตินี้ ก็อาจยกเอากรรมขึ้นเป็นจุดเน้นและเป็นบทตั้งแล้วเอาส่วนอื่นๆ ของปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวประกอบสำหรับสืบสาวราวเรื่องต่อไป


ถ้าทำอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทก็จะปรากฏในรูปร่างที่นิยมเรียกกันว่า "กฎแห่งกรรม" * (ตัวอย่างพุทธพจน์แห่งหนึ่งที่เชื่อมปฏิจจสมุปบาท กับ กฎแห่งกรรมสนิทกันเป็นอย่างดี คือ ที่ตรัสว่า "บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม และวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้" (ม.ม.๑๓/๗๐๗/๖๔๘ ฯลฯ) และจะมีเรื่องราวในแง่อื่นๆ ที่น่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นอีก นับว่าเป็นแนวการอธิบายที่น่าศึกษา
ดังปรากฏว่า ในสมัยหลังๆ นี้ ก็นิยมพูดถึงกฎแห่งกรรมกันมากกว่าจะพูดถึงปฏิจจสมุปบาท เพราะการพูดถึงกรรม เป็นการพูดถึงกิริยาอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบ ปรากฏชัด เห็นง่าย เกี่ยวข้องอยู่เฉพาะหน้าทุกขณะทุกเวลา เหมาะที่จะถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณา

ยิ่งกว่านั้น การอธิบายเรื่องกรรม อาจทำได้หลายระดับ คือ จะอธิบายอย่างง่ายๆ ในระดับผิวเผิน พอให้เห็นเหตุเห็นผลในสายตาของชาวบ้านก็ได้ จะยกเอาเหตุการณ์หรือบทบาทของคนทั้งหลายขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็ทำได้สะดวก หรือจะอธิบายลึกลงไปถึงกระบวนการธรรมภายในจิต จนต้องใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเต็มรูปก็ได้

:b32:
สลับที่กันก็ได้...วิบาก กรรม กิเลส
ผลเดี๋ยวนี้เป็นกรรมแล้วเพราะยังมีกิเลส
ขาดการฟังไม่ได้ทำเหตุปัจจัยที่ประกอบปัญญา
เกิดอีกกี่ชาติก็ไม่ฟังไงคะเพราะไม่ตั้งใจฟังจริงจังรู้ตัวไหม
ตถาคตกล่าวตรงจริงเดี๋ยวนี้มีแล้วไม่ไปไหนไม่ทำอะไรก็กำลังเกิดดับ
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 07:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นอะไรตัดช่วงเป็นขณะๆ บางครั้งก็เป็นอาการของโรค

โรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง

โรคทางระบบประสาทมีอีกมากมาย

เพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมัน

ผู้ปฏิบัติก็มักจะตื่นเต้นไปกับการปรากฏ และลุ่มหลงกับมัน

จนตั้งสติกลับมาอยู่บนทัศนะที่ปกติสามัญไม่ได้

ไม่จำเป็นต้องพยายามให้ใครต้องมามีอาการมองเห็นการรับรู้ตัดช่วง

เพราะนั่นอาจจจะเป็นการแสดงอาการของระบบประสาทที่ผิดปกติ

...

และไหนจะอาการย้ำคิดย้ำทำอีก

...

อาการแบบธรรมๆ
กับอาการแบบคนแก่
ถ้าสายตาไม่ลำเอียง ก็จะเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสชอบคิดชอบเล่นของสูง ทั้งๆที่ส่วนสูงเพียง 120 ซ. คิกๆๆ

อ้างคำพูด:
กิเลส กรรม วิบาก



หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆ กัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง
ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดง และความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ที่แสดงความเป็นไปของชีวิตไว้ทั้งหมด มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลักธรรมปลีกย่อยในระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแห่งชีวิต หรือกระบวนธรรมเบ็ดเสร็จ

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิต หรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม(ม.มู. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙)


หลักธรรมส่วนย่อยของปฏิจจสมุปบาท ที่นิยมอธิบายกันมากที่สุด คงได้แก่หลักกรรม
การนำหลักกรรมมาอธิบาย อาจมองได้ทั้งในแง่ที่ว่า กรรมเป็นเรื่องน่าสนใจในตัวของมันเอง และในแง่ที่ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมนั้น เป็นบันไดสำคัญที่จะก้าวสู่ความความเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาท


ว่าที่จริง การอธิบายหลักกรรมตามเนื้อหาอย่างตลอดสายก็คือวิธีการที่ง่ายขึ้นอย่างหนึ่งในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง


กรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทซึ่งเห็นได้ชัด เมื่อแยกส่วนในกระบวนการนั้นออกเป็น ๓ วัฏฏะ (วน,วังวน) คือ กิเลส กรรม และวิบาก หลักปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการทำกรรม และการให้ผลของกรรมทั้งหมด ตั้งต้น แต่กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย


อย่างไรก็ดี การอธิบายตามแนวปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นการพิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติ ว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะล้วนๆ และเป็นการมองอย่างกว้างๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ไม่เน้นที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อมองในแง่ความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของการแสดงออก และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรง ก็คือส่วนที่เรียกว่า กรรม
ถ้าเพ่งในทางปฏิบัตินี้ ก็อาจยกเอากรรมขึ้นเป็นจุดเน้นและเป็นบทตั้งแล้วเอาส่วนอื่นๆ ของปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวประกอบสำหรับสืบสาวราวเรื่องต่อไป


ถ้าทำอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทก็จะปรากฏในรูปร่างที่นิยมเรียกกันว่า "กฎแห่งกรรม" * (ตัวอย่างพุทธพจน์แห่งหนึ่งที่เชื่อมปฏิจจสมุปบาท กับ กฎแห่งกรรมสนิทกันเป็นอย่างดี คือ ที่ตรัสว่า "บัณฑิตผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรม และวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง ดังนี้" (ม.ม.๑๓/๗๐๗/๖๔๘ ฯลฯ) และจะมีเรื่องราวในแง่อื่นๆ ที่น่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นอีก นับว่าเป็นแนวการอธิบายที่น่าศึกษา
ดังปรากฏว่า ในสมัยหลังๆ นี้ ก็นิยมพูดถึงกฎแห่งกรรมกันมากกว่าจะพูดถึงปฏิจจสมุปบาท เพราะการพูดถึงกรรม เป็นการพูดถึงกิริยาอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบ ปรากฏชัด เห็นง่าย เกี่ยวข้องอยู่เฉพาะหน้าทุกขณะทุกเวลา เหมาะที่จะถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณา

ยิ่งกว่านั้น การอธิบายเรื่องกรรม อาจทำได้หลายระดับ คือ จะอธิบายอย่างง่ายๆ ในระดับผิวเผิน พอให้เห็นเหตุเห็นผลในสายตาของชาวบ้านก็ได้ จะยกเอาเหตุการณ์หรือบทบาทของคนทั้งหลายขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็ทำได้สะดวก หรือจะอธิบายลึกลงไปถึงกระบวนการธรรมภายในจิต จนต้องใช้หลักปฏิจจสมุปบาทเต็มรูปก็ได้

:b32:
สลับที่กันก็ได้...วิบาก กรรม กิเลส

ผลเดี๋ยวนี้เป็นกรรมแล้วเพราะยังมีกิเลส

ขาดการฟังไม่ได้ทำเหตุปัจจัยที่ประกอบปัญญา
เกิดอีกกี่ชาติก็ไม่ฟังไงคะเพราะไม่ตั้งใจฟังจริงจังรู้ตัวไหม
ตถาคตกล่าวตรงจริงเดี๋ยวนี้มีแล้วไม่ไปไหนไม่ทำอะไรก็กำลังเกิดดับ



อ้าวนั่นๆเอาของเขามาปฏิรูปอีกแล้ว เลอะขอรับท่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วัฏฏะ การวนเวียน, การเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด, ความเวียนเกิด หรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก เช่น กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสก็เกิดอีก แล้วทำกรรม แล้วเสวยผลกรรม หมุนเวียนต่อไป ดูไตรวัฏฏ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆกันไป ทำให้มีการเวียนตายเวียนเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก

(เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓. วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส)

คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น
เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรง และมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือ

ในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ

เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร สังสารจักร หรือสังสารวัฏ, ไตรวัฏ ก็เขียน ดูปฏิจจสมุปบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
การเห็นอะไรตัดช่วงเป็นขณะๆ บางครั้งก็เป็นอาการของโรค

โรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง

โรคทางระบบประสาทมีอีกมากมาย

เพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมัน

ผู้ปฏิบัติก็มักจะตื่นเต้นไปกับการปรากฏ และลุ่มหลงกับมัน

จนตั้งสติกลับมาอยู่บนทัศนะที่ปกติสามัญไม่ได้

ไม่จำเป็นต้องพยายามให้ใครต้องมามีอาการมองเห็นการรับรู้ตัดช่วง

เพราะนั่นอาจจจะเป็นการแสดงอาการของระบบประสาทที่ผิดปกติ

...

และไหนจะอาการย้ำคิดย้ำทำอีก

...

อาการแบบธรรมๆ
กับอาการแบบคนแก่
ถ้าสายตาไม่ลำเอียง ก็จะเห็น

:b32:
เอกอนลืมไปไหมคะ...ผู้รู้ความจริงทั้งหมดมีตถาคตคนเดียว
ใครพิศดารแปลว่าโกหกค่ะ...ตามปกติวิสัยรูปที่ปรากฏให้รู้
มีแค่7รูป6ทางรู้เป็นธาตุ4ขันธ์5อายตนะ6แค่1คำยังไม่ถึงสติ
แล้วเอกอนคิดว่าจะเป็นปัญญาได้ไหมถ้าไม่เคยคิดถูกตามได้
คนปกติฟังน่ะเขารู้ว่ายิ่งฟังยิ่งไม่รู้เข้าใจไหมคะไม่ใช่รู้แล้วนะคะ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือสติสัมปชัญญะเป็นการอบรมจิตตรงขณะ
จากการฟังที่ระลึกตามได้ตรงทีละ1คำตรงทางตรงวิสยรูปแต่ละ1มาก่อน
จึงละมิจฉาทิฏฐิจากที่เคยคิดเองเป็นการคิดตามเกิดสัมมาตามได้เข้าใจไหมคะ
https://youtu.be/6GtdxrYEj3w
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
eragon_joe เขียน:
การเห็นอะไรตัดช่วงเป็นขณะๆ บางครั้งก็เป็นอาการของโรค

โรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง

โรคทางระบบประสาทมีอีกมากมาย

เพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมัน

ผู้ปฏิบัติก็มักจะตื่นเต้นไปกับการปรากฏ และลุ่มหลงกับมัน

จนตั้งสติกลับมาอยู่บนทัศนะที่ปกติสามัญไม่ได้

ไม่จำเป็นต้องพยายามให้ใครต้องมามีอาการมองเห็นการรับรู้ตัดช่วง

เพราะนั่นอาจจจะเป็นการแสดงอาการของระบบประสาทที่ผิดปกติ

...

และไหนจะอาการย้ำคิดย้ำทำอีก

...

อาการแบบธรรมๆ
กับอาการแบบคนแก่
ถ้าสายตาไม่ลำเอียง ก็จะเห็น

:b32:
เอกอนลืมไปไหมคะ...ผู้รู้ความจริงทั้งหมดมีตถาคตคนเดียว
ใครพิศดารแปลว่าโกหกค่ะ...ตามปกติวิสัยรูปที่ปรากฏให้รู้
มีแค่ 7 รูป 6 ทางรู้เป็นธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 แค่ 1 คำยังไม่ถึงสติ
แล้วเอกอนคิดว่าจะเป็นปัญญาได้ไหมถ้าไม่เคยคิดถูกตามได้
คนปกติฟังน่ะเขารู้ว่ายิ่งฟังยิ่งไม่รู้เข้าใจไหมคะไม่ใช่รู้แล้วนะคะ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือสติสัมปชัญญะเป็นการอบรมจิตตรงขณะ
จากการฟังที่ระลึกตามได้ตรงทีละ1คำตรงทางตรงวิสยรูปแต่ละ1มาก่อน
จึงละมิจฉาทิฏฐิจากที่เคยคิดเองเป็นการคิดตามเกิดสัมมาตามได้เข้าใจไหมคะ
https://youtu.be/6GtdxrYEj3w


อ้างคำพูด:
ผู้รู้ความจริงทั้งหมดมีตถาคตคนเดียว


ประโยคนี้คุณโรสพูดหลายเทื่อแร้ว :b13: ก็ใครเขาไปเถียงล่ะว่า ตถาคตมีหลายคน คือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้วก็นำมาสั่งสอนประชาชนให้รู้ตาม เรื่องมันก็มีอยู่แค่นี้ สอนแล้วใครจะรู้ตามได้ถึงไหนก็แล้วแต่คนแต่ละคนๆ ท่านจึงเปรียบเหมือนบัว ๓ เหล่า 4 เหล่า (ปัจจุบันมีคนว่ามีบัว 5 เหล่าแล้ว :b32: http://www.thaipoem.com/poem/147886)

อ้างคำพูด:
มีแค่ 7 รูป 6 ทางรู้เป็นธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 แค่ 1 คำยังไม่ถึงสติ


นี่ก็พูดบ่อยเกือบทุกคคห.ก็ว่าได้ คือ พูดตีคลุมรวมๆกันไป

พูดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ซึ่งปลีกย่อยที่พูดมาก็รวมอยู่ในนั้น คือว่ามันอยู่ในขันธ์ ๕ อยู่แล้ว จริงไม่จริง เถียงซี่เถียง

แถมแจมสติสตังเข้ามาด้วยอีก เจตนาเพื่อให้ดูดีมีระดับ เอาเถอะต่อให้แถมเข้ามา สติมันก็อยู่ในขันธ์ซึ่งเป็นนามธรรมนั่นแหละ

จะให้ว่านะ แสดงถึงว่า คนพูดไม่เข้าใจเรื่องที่พูด คิกๆๆ จริงๆนะ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดไม่สุดแล้วคันปาก ต่อประเด็นให้ถกเถียงกันอีกหน่อย ไม่ว่าที่นี่ หรือที่ไหนๆ ที่พูดที่ถกเถียงกันนั่น ไม่พ้นจากขันธ์ ๕ ไปได้เลย ขันธ์ ๕ นี่ว่าตามภาษาพระภาษาทางธรรมเขาใช้ ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านร้านตลาด มันก็คนนี่เอง ก็มนุษย์หมดทั้งเนื้อทั้งตัวที่กิน ขี้ อี้ นอน อยู่นี่่ :b32:

พูดให้คิดต่ออีก เราๆ ท่านๆ ไอๆ ยูๆ อั้วๆ ลื้อๆ ฯลฯ จะกิน ดื่ม ทำ พูด คิด ขีด เขียน อะไรต่ออะไรจิปาถะ ถ้าพูดภาษาทางธรรมก็ใช้ขันธ์ ๕ นี่เอง กิน ดื่ม เป็นต้น ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร