วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 21:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชวนะ 7 ชวนะ คุณโรสพูดพาดพิงบ่อย สัจจะสัจแจะ ก็พูดบ่อย (ไม่รู้อะไรสัจจะ ถามไม่บอก) 1 คำนี่ก็บ่อย นี่บอกแล้ว เช่น "สติ" พูดคิดทีละคำ ส. คำหนึ่ง ติ. คำหนึ่ง "นิพพาน" นิพ. คำหนึ่ง พาน. คำหนึ่ง คิดให้ตรง สะ ตรง ติ ตรง นิพ ตรง พาน :b13:

กท.นี้ว่าด้วย ชวนะ กับ วิถีจิต

อ้างคำพูด:
กรัชกาย

อ่านเร็วๆก็ได้ อ่านไปกระพริบตาก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไรหรอก แต่อ่านแล้วต้องจับประเด็นให้ได้


อ้างคำพูด:
Rosarin

ฮึฮึฮึ...รู้หมดทุก 7 ชวนะได้ไหม...อ่านลวกๆ รีบ ๆ สัจจะอยู่ตรงไหน เดี๋ยวนี้จิตคิดนึกคิดตรงคำได้ทีละ 1 คำดับแล้ว

viewtopic.php?f=1&t=55369&p=427210#p427210


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชวนะ "การแล่นไป" "การไปเร็ว" "การสว่างวาบ" ความเร็ว, ความไว, จิตขณะที่แล่นไปในวิถี ทำหน้าที่รับรู้เสพอารมณ์ทางทวารทั้งหลาย (ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ)

เป็นวิถีจิตในช่วง หรือขั้นตอนที่ทำกรรม (เป็นกุศลชวนะ หรือ อกุศลชวนะ แต่ถ้าเป็นจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่ทำกรรม เป็นกิริยาชวนะ) จึงถือว่าอยู่ในช่วงที่สำคัญ, โดยทั่วไป และอย่างมากที่สุด ปุถุชนในกามภูมิ มีชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะ แล้วเกิดตทารมณ์ (ตทาลัมพณะ หรือตทาลัมพนะ ก็เรียก) เป็นวิปากจิตขึ้นมา ๒ ขณะ แล้วก็เกิดเป็นภวังคจิต เรียกกันว่า ตกภวังค์ เป็นอันสิ้นสุดวิถีจิต คือสิ้นสุดการรับอารมณ์ไปวิถีหนึ่ง,

ที่ว่ามานี้ เป็นกรณีที่ รับอารมณ์ที่มีกำลังแรงหรือเด่นชัดมาก (ถ้าเป็นอารมณ์ใหญ่มากทางปัญจทวาร คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่า อติมหันตารมณ์ ถ้าเป็นอารมณ์เด่นชัดทางมโนทวาร เรียกว่า วิภูตารมณ์)

แต่ถ้าอารมณ์ที่รับนั้นมีกำลังไม่มากนัก หรือไม่เด่นชัด (คือเป็นมหันตารมณ์ทางปัญจทวาร หรือเป็นอวิภูตารมณ์ทางมโนทวาร) พอชวนจิตขณะที่ ๗ ดับไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตต่อเลย (เรียกว่าตกภวังค์) ไม่มีตทารมณ์เกิดขึ้น,

ยิ่งกว่านั้น ในทางปัญจทวาร ถ้าอารมณ์ที่กระทบ มีกำลังน้อย (เป็นปริตตารมณ์) หรืออ่อนกำลังอย่างยิ่ง (เป็นอติปริตตารมณ์) วิถีจิตจะเกิดขึ้นน้อยขณะ แล้วเกิดเป็นภวังคจิต (ตกภวังค์) โดยไม่มีชวนจิต เกิดขึ้นเลย, ที่ว่ามานั้น เป็นการพูดทั่วไป

ยังมีข้อพิเศษหลายอย่าง เช่น ในกามภูมินี้แหละ ในกรณีที่อารมณ์อ่อนกำลังชวนจิตเกิดเพียง ๕ ขณะ ในเวลาเป็นลม สลบ ง่วงจัด เมาเหล้า เป็นต้น หรือกรณีมีปสาทวัตถุอ่อนกำลังยิ่ง อย่างทารกในครรภ์หรือเพิ่งเกิด ชวนจิตเกิดขึ้นเพียง ๔-๕ ขณะ


ส่วนในภูมิที่สูงขึ้นไป เช่น ในการบรรลุฌานแต่ละขั้นครั้งแรก ในการทำกิจแห่งอภิญญา ในการสำเร็จกิจแห่งมรรค และในเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ ชวนจิตเกิดขึ้นขณะเดียว (แต่ในเวลาเข้านิโรธสมาบัติชวนจิตเกิดขึ้น ๒ ขณะ)


สำหรับผู้ ชำนาญในฌาน ชวนจิต (อัปปนาชวนะ) จะเกิด ดับ ต่อเนื่องไปตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น อาจจะตลอดทั้งวัน ไม่มีกำหนดจำนวนขณะ (เป็นอัปปนาวิถี ตลอดเวลาที่ฌานจิตยังสืบต่อติดเนื่องกันไป) จนกว่าจะเกิดเป็นภวังคจิตขึ้นมา สันตติของฌานจิตก็ขาดตอน เรียกว่าตกภวังค์ คือออกจากฌาน,


คำว่า "ชวนะ" นี้ ใช้หมายถึงจิต ซึ่งทำหน้าที่รับอารมณ์ในวิถี ก็ได้ หมายถึงการทำหน้าที่ของจิตในการรับอารมณ์นั้น ก็ได้ ถ้าต้องการความหมายให้จำเพาะชัดลงไป ก็เติมคำกำกับลงไปว่า "ชวนจิต" หรือ "ชวนกิจ" ตามลำดับ; ดูวิถีจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีจิต "จิตในวิถี" คือ จิตในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์, จิตซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปในวิถี คือพ้นจากภวังค์ หรือพ้นจากภาวะที่เป็นภวังคจิต (และมิใช่เป็นปฏิสนธิจิต หรือจุติจิต)


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จิต ๑๑ ชื่อ ซึ่งทำกิจ ๑๑ อย่าง นอกจากปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และจุติกิจ, "วิถีจิต" เป็นคำรวม เรียกจิตทั้งหลาย ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ ๖ ทางทวารทั้ง ๖ (คำบาลีว่า วิถีจิตฺต)

อธิบายอย่างง่าย พอให้เข้าใจเป็นพื้นฐานว่า สัตว์ทั้งหลาย หลังจากเกิดปฏิสนธิแล้ว จนถึงก่อนตายคือจุติ ระหว่างนั้น ชีวิตเป็นอยู่โดยมีจิตที่เป็นพื้น เรียกว่า ภวังคจิต (จิตที่เป็นองค์แห่งภพ หรือจิตในภาวะที่เป็นองค์แห่งภพ) ซึ่งเกิดดับสืบเนื่องต่อกันไปตลอดเวลา (มักเรียกว่า ภวังคโสต คือ กระแสแห่งภวังค์)


ทีนี้ ถ้าจิตอยู่ในภาวะภวังค์ เป็นภวังคจิต และเกิดดับสืบต่อไปเป็นภวังค์โสตเท่านั้น ก็เพียงแค่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือนหลับอยู่ตลอดเวลา แต่ชีวิตนั้น เป็นอยู่ดำเนินไป โดยมีการรับรู้ และทำกรรมทางทวารต่างๆ เช่น เห็น ได้ยิน ดู ฟัง เคลื่อนไหว พูดจา ตลอดจนคิดการต่างๆ จิตจึงมิใช่แค่เป็นองค์แห่งภพไว้เท่านั้น แต่ต้องมีการรับรู้เสพอารมณ์ทำกรรมทางทวารทั้งหลายด้วย
ดังนั้น เมื่อ มีอารมณ์ คือ รูป เสียง ฯลฯ มาปรากฏแก่ทวาร (มาสู่คลองในทวาร) คือ ตา หู ฯลฯ ก็จะมีการรับรู้ โดยภวังคจิตที่กำลังเกิดดับสืบต่อกระแสภพกันอยู่นั้น แทนที่ว่า

ภวังคจิต หนึ่งดับไป จะเกิดเป็นภวังคจิตใหม่ขึ้นมา ก็กลายเป็นว่า ภวังคจิตหนึ่งดับไป แต่เกิดเป็นจิตหนึ่งที่เข้ามาอยู่ในวิถี แห่งการรับรู้เกิดขึ้นมา (ตอนนี้ พูดอย่างภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายว่า จิตออกจากภวังค์ หรือจิตขึ้นสู่วิถี) แล้ว ก็จะมีจิตที่เรียกชื่่อต่างๆ เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ต่อๆกันไป ในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์นั้น จนครบกระบวนจบวิถีไปรอบหนึ่ง แล้วก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นมาอีก (พูดอย่างภาษาชาวบ้านว่า ตกภวังค์),

จิต ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ แต่ละขณะในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์นั้น จนจบกระบวน เรียกว่า "วิถีจิต" และจิตแต่ละขณะในวิถีนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะของมัน ตามกิจ คืองาน หรือหน้าที่มันทำ, เมือตกภวังค์อย่างที่ว่านั้นแล้ว ภวังคจิตเกิดดับต่อกันไป แล้วก็เปลี่ยน (เรียกว่า ตัดกระแสภวังค์) เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นมารับรู้เสพอารมณ์อีก แล้วพอจบกระบวน ก็ตกภวังค์ เป็นภวังคจิตขึ้นอีก สลับกันหมุนเวียนไป โดยนัยนี้

ชีวิตที่ดำเนินไป แม้ในกิจกรรมเล็กน้อยหนึ่งๆ จึงเป็นการสลับหมุนเวียนไปของกระแสภวังคจิต (ภวังคโสตะ) กับกระบวนวิถีจิต (วิถีจิตตปวัตติ) ที่เกิดดับสืบต่อไป มากมายไม่อาจนับได้

ในการรับรู้เสพอารมณ์ทำกรรมครั้งหนึ่งๆ ที่เป็นการเปลี่ยนจากภังคจิต มาเป็นวิถีจิต จนกระทั่งกลับมาเป็นภังคจิตอีกนั้น แยกแยะให้เห็นลำดับขั้นตอนแ่หงความเป็นไป พอให้ได้ความเข้าใจคร่าวๆ (ในที่นี้ จะพูดถึงเฉพาะปัญจทวารวิถี คือการรับรู้ทางทวาร ๕ ่ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ในกรณีที่รับอารมณ์ที่มีกำลังมาก คืออติมหันตารมณ์ เป็นหลัก) ดังนี้


ก. ช่วงภังคจิต (เนื่องจากเมื่อจบวิถี ก็จะกลับเป็นภวังค์อีก ตามปกติจึงเรียกภวังคจิตที่เอาเป็นจุดเริ่มต้นว่า "อตีตภวังค์" คือภวังค์ที่ล่วงแล้ว หรือภวังค์ ก่อน) มี ๓ ขณะ ได้แก่

๑. อตีตภวังค์ (ภวังคจิตที่สืบต่อมาจากก่อน)

๒. ภวังคจลนะ (ภวังค์ไหวตัวจากอารมณ์ใหม่ที่กระทบ)

๓. ภวังคุปัจเฉท (ภวังค์ขาดจากอารมณ์)


ข. ช่วงวิถีจิต มี ๑๔ ขณะ ได้แก่

๑. ปัญจทวาราวัชชนะ (การคำนึงอารมณ์ใหม่ทางทวารนั้นๆ ในทวารทั้ง ๕)

๒. ปัญจวิญญาณ (การรู้อารมณ์นั้นๆ ในอารมณ์ทั้ง ๕ คือ เป็นจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ หรือฆานวิญญาณ หรือชีวิหาวิญญาณ หรือกายวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

๓. สัมปฏิจฉนะ (สัมปฏิจฉันนะ ก็เรียก, การรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณ เพื่อเสนอแก่สันตีรณะ)

๔. สันตีรณะ (การพิจารณาไต่สวนอารมณ์)

๕. โวฏฐัพพนะ (ตัดสินอารมณ์)

๖ - ๑๒ ชวนะ (การแล่นไปในอารมณ์ คือ รับรู้เสพทำต่ออารมณ์ เป็นช่วงที่ทำกรรม โดยเป็นกุศลชวนะหรืออกุศลชวนะ หรือไม่ก็กิริยา) ติอต่อกัน ๗ ขณะ

๑๓ - ๑๔ ตทารมณ์ (ตทาลัมพณะ หรือตทาลัมพนะ ก็เรียก, "มีอารมณ์นั้น" คือมีอารมณ์เดียวกับชวนะ ได้แก่ การเกิดเป็นวิปากจิตที่ได้รับอารมณ์ต่อจากชวนะ เหมือนได้รับผลประมวลจากชวนะมาบันทึกเก็บไว้ ก่อนตกภวังค์) ต่อกัน ๒ ขณะ แล้วก็สิ้นสุดวิถี คือ จบกระบวนของวิถีจิต เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นใหม่ (ตกภวังค์) เมื่อนับตลอดหมดทั้งสองช่วง คือตั้งแต่อตีตภวังค์จุดเริ่ม มาจนจบวิถี ก็มี ๑๗ ขณะจิต


ในส่วนรายละเอียด วิถีจิตมีความเป็นไปแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ในปัญจทวารวิถี ที่พูดมาข้างต้นนั้น เป็นกรณีที่รับอารมณ์ซึ่งมีกำลังเด่นชัดมาก (อติมหันตารมณ์)

แต่ ถ้าอารมณ์ที่ปรากฎเข้ามามีกำลังไม่มากนัก (เป็นแค่มหันตารมณ์) ภวังค์จะยังไม่ไหวตัว จนถึงภวังคจิตขณะที่ ๓ หรือขณะที่ ๔ จึงจะไหวตัวเป็นภวังคจลนะ ในกรณีอย่างนี้

ก็จะมีอตี ตภวังค์ ๒ หรือ ๓ ขณะ และเมื่อขึ้นสู่วิถี ก็จะไปจบแค่ชวนะที่ ๗ ดับ แล้วก็ตกภวังค์ โดยไม่มีตทารมณ์เกิดขึ้น, ยิ่งกว่านั้น ถ้าอารมณ์ที่ปรากฎมีกำลังน้อย (เป็นปริตตารมณ์) ก็จะผ่านอตีตภวังค์ไปหลายขณะ (ตั้งแต่ ๔ ถึง ๙ ขณะ) จึงเป็นภวังคจลนะ และเมื่อขึ้นสู่วิถีแล้ว วิถีนั้นก็ไปสิ้นสุดลงแค่โวฏฐัพพนะ ไม่ทันเกิดชวนจิต ก็ตกภวังค์ไปเลย, และถ้าอารมณ์ที่ปรากฎนั้นอ่อนกำลังเกินไป (เป็นอติปริตตารมณ์) ก็จะผ่านอตีตภวังค์ไปมากหลายขณะ จนในที่สุดเกิดภวังคจลนะขึ้นมาได้ ๒ ขณะ ก็กลับเป็นภวังค์ตามเดิม คือภวังค์ไม่ขาด (ไม่มีภวังคุปัจเฉท) และไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นเลย จึงเรียกว่าเป็นโมฆวาระ, ส่วนในมโนทวารวิถี

เมื่อภวังค์ไหวตัว (ภวังคจลนะ) และภวังค์ขาด (ภวังคุปัจเฉท) แล้ว ขึ้นสู่วิถี จะมีเพียงมโนทวาราวัชชนะ (การคำนึงอารมณ์ใหม่ทางมโนทวาร) และเกิดเป็นชวนจิต ๗ ขณะต่อไปเลย (ไม่มีสัมปฏิจฉนจิต เป็นต้น) เมื่อชวนะครบ ๗ แล้ว ในกรณีที่อารมณ์ที่ปรากฎเด่นชัด (วิภูตารมณ์) ก็จะเกิดตทารมณ์ ๒ ขณะ แล้วตกภวังค์ แต่ถ้าอารมณ์อ่อนแรงไม่เ่ด่นชัด (อวิภูตารมณ์) พอครบ ๗ ชวนะแล้ว ก็ตกภวังค์ไปเลย โดยไม่มีตทารมณ์เกิดขึ้น, อนึ่ง ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น

เป็นวิถีจิตในกามภูมิทั้งสิ้น ยังมีวิถีจิตในภูมิที่สูงขึ้นไปอีก ในฝ่ายมโนทวารวิถี (จิตในปัญจทวารวิถี อยู่ในกามภูมิอย่างเดียว) ซึ่งเป็นจิตที่เป็นสมาธิขั้นอัปปนา และมีความเป็นไปที่แตกต่างจากวิถีจิตในกามภูมิ เช่น ชวนะไม่จำกัดเพียงแค่ ๗ ขณะ เมื่อเข้าฌานแล้ว ตราบใดยังอยู่ในฌาน ก็มีชวนจิต เกิด ดับ สืบต่อกันไปตลอด นับจำนวนไม่ได้ โดยไม่ตกภวังค์เลย ถ้าเกิดเป็นภวังคจิตขึ้นเมื่อใด ก็คือออกจากฌาน ดังนี้ เป็นต้น รายละเอียดของวิถีจิตระดับนี้ จะไม่กล่าวในที่นี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นไงขอรับท่านผู้ชม ชวนะจิต วิถีจิต เอาแค่เรียนจำไปสอบ ก็ปวดหัวข้างเดียวแล้ว จะกล่าวไปใยถึงการนับวิถีจิตซึ่งแล่นไปรวดเร็ว รอยก็ไม่ปรากฏ เราตามหาคนตามหาสัตว์เลี้ยงยังมีรอยเท้ารอยตีนให้เห็น ตามรอยไปเดี๋ยวก็เจอตัว พวกเราก็ตามหาจิตกันอยู่นะจะไปตามที่ไหน ไม่ปรากฏรอย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสตี วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ.


ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจชั่วร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ความทุกข์ย่อมตามเขาไป เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยตีนโค ตัวเทียมแอกไปอยู่ ฉะนั้น.


มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสตี วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.


ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
ความสุขย่อมตามเขาไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรึ วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร.


จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำเขาให้เลวทรามยิ่งกว่าความฉิบหายที่โจรเห็นโจร หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวรทำให้แก่กัน.


น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.


มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้นได้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส สมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.


การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ความใคร่ เป็นการดี
จิตที่ฝึกดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้.


ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.


ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากบ่วงแห่งมาร.


สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.


บุคคลผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้ยากแสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ
วาริโชว ถเล ขิตโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว.

จิตเป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก
นักปราชญ์ ย่อมกระทำจิตให้ตรง เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันโยคาวจรยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ ๕ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน เปรียบเหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี

โยคี ฤษี, ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ; ผู้ประกอบความเพียร

โยคะ 1. กิเลสเครื่องประกอบ คือ ประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ
๑. กาม
๒. ภพ
๓. ทิฏฐิ
๔. อวิชชา 2. ความเพียร

โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่า ความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตราย หรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย, ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษม คือ โปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก


กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่,
กาม มี ๒ อย่าง คือ 1. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ 2. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕


กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ


กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์


กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่ กามคุณ ๕ นั่นเอง

2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม

กามฉันท์, กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มี รูป เป็นต้น, ความพอใจรักใคร่ในกามคุณทั้ง ๕ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์

กิเลส ๑๐ (ในบาลีเดิม เรียกว่า กิเลสวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวน ตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็ไหนๆแล้วเอาสะให้ครบเครื่องเลย

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง


พูดแง่ไหนมุมไหนถูกทั้งนั้น จะพูดว่าเป็นสภาวะของมัน คือว่า มันเป็นของมันเอง ไม่มีอะไรใครที่ไหนบันดาลให้เป็น เรียกว่าสภาวะ จะพูดว่า เป็นกิเลสมารก็ถูก

ภาคปฏิบัติทางจิตนี้ มีทางไปต่อทางเดียว คือ กำหนดรู้ตามที่มันเป็น เป็นยังไง รู้สึกยังไง ให้กำหนดจิตตรงๆอย่างนั้นเลย เช่น จั้กจี้หนอๆๆ กำหนดแล้วปล่อยเลย แล้วมาดูลมเข้าออกอีก เป็นอีกกำหนดอีก (มันไม่ตายหรอก คิกๆๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสักตัวอย่างคล้ายๆกัน

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิ รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตจนนั่งต่อไม่ได้

พอมีวิธีแก้มั้ยคะ เราทำอานาปานสติ แต่ไม่ได้จับที่ลมหายใจ แค่ดูการเคลื่อนที่ของลำตัว ตอนกลางวันนั่งไป 1 ชม. จนรู้ทั่วตัว แต่พอมาตอนเย็น นั่งแบบเดิม รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตอยู่เรื่อยๆ รู้สึกทีนึงก็หยุด พอนั่งอีกก็โดนช็อตอีก ความรู้สึกเหมือนจั้กกะจี้ค่ะ จนเราต้องนอนแทน แต่นอนก็หลับ พอมีวิธีแก้มั้ยคะ แบบว่านั่งไม่ได้เลย


วิธีแก้คือกำหนดตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึก นี่คือวิธีแก้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2018, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
ทุกคำที่เขียนมาคือความจริงตรงปัจจุบัน
ที่พระพุทธเจ้ารอบรู้ครบถ้วนทุกคำ
ตัวเองไม่รู้แม้1คำตรงขณะไงคะ
แปลว่ามีกิเลสอาสาวะไหลครบ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2018, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อีกสักตัวอย่างคล้ายๆกัน

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิ รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตจนนั่งต่อไม่ได้

พอมีวิธีแก้มั้ยคะ เราทำอานาปานสติ แต่ไม่ได้จับที่ลมหายใจ แค่ดูการเคลื่อนที่ของลำตัว ตอนกลางวันนั่งไป 1 ชม. จนรู้ทั่วตัว แต่พอมาตอนเย็น นั่งแบบเดิม รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตอยู่เรื่อยๆ รู้สึกทีนึงก็หยุด พอนั่งอีกก็โดนช็อตอีก ความรู้สึกเหมือนจั้กกะจี้ค่ะ จนเราต้องนอนแทน แต่นอนก็หลับ พอมีวิธีแก้มั้ยคะ แบบว่านั่งไม่ได้เลย


วิธีแก้คือกำหนดตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึก นี่คือวิธีแก้



ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ

สมาธิ ไม่ใช่นั่งนานๆ จะเรียกว่า เป็นสมาธิ ได้สมาธิ เก่งสมาธิ

แต่ องค์ธรรมสำคัญของสมาธิ คือเอกคัตตาจิต ค่ะ

ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ทุกข์เวทนา ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่วิตก ไม่ใช่วิจาร ไม่ใช่ ลมหายใจ และไม่ใช่สุขเวทนา ค่ะ
รู้จักเสี้ยนหนามต่างๆ เหล่านี้

ก็จะทำสมาธิได้ถูกต้องถูกทางค่ะ







โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2018, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกสักตัวอย่างคล้ายๆกัน

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิ รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตจนนั่งต่อไม่ได้

พอมีวิธีแก้มั้ยคะ เราทำอานาปานสติ แต่ไม่ได้จับที่ลมหายใจ แค่ดูการเคลื่อนที่ของลำตัว ตอนกลางวันนั่งไป 1 ชม. จนรู้ทั่วตัว แต่พอมาตอนเย็น นั่งแบบเดิม รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตอยู่เรื่อยๆ รู้สึกทีนึงก็หยุด พอนั่งอีกก็โดนช็อตอีก ความรู้สึกเหมือนจั้กกะจี้ค่ะ จนเราต้องนอนแทน แต่นอนก็หลับ พอมีวิธีแก้มั้ยคะ แบบว่านั่งไม่ได้เลย


วิธีแก้คือกำหนดตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึก นี่คือวิธีแก้



ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ

สมาธิ ไม่ใช่นั่งนานๆ จะเรียกว่า เป็นสมาธิ ได้สมาธิ เก่งสมาธิ

แต่ องค์ธรรมสำคัญของสมาธิ คือเอกคัตตาจิต ค่ะ

ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ทุกข์เวทนา ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่วิตก ไม่ใช่วิจาร ไม่ใช่ ลมหายใจ และไม่ใช่สุขเวทนา ค่ะ
รู้จักเสี้ยนหนามต่างๆ เหล่านี้

ก็จะทำสมาธิได้ถูกต้องถูกทางค่ะ








คำว่า แก้ ในที่นี้ ได้แก่ แก้ปัญหาสภาวธรรมที่เรากำลังประสบอยู่ในขณะนั้นๆ ไม่ใช่แก้ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ไม่ใช่ ไม่ใช่ มันเป็นยังไงมันก็เป็นยังงั้นของมัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยง แดดออก ... เราแก้ให้ฝนไม่ตกแดดไม่ออกได้ไหม อิอิ บ่ได้ดอก เรื่องของธรรมชาติมันฉันใด สภาวธรรมก็ฉันนั้น แก้ด้วยการกำหนดรู้ความจริงของมัน นี่คือภาษาพูดภาคปฏิบัติว่า "แก้" "แก้อารมณ์"

ดูตัวอย่างเห็นๆสักเรื่องหนึ่ง มีแม่ค้าซึ่งค้าขายริมฟุตบาท ช่วงหน้าฝนๆตกบ่อยๆ วันหนึ่ง ฝนตั้งเค้ามืดมาเขาแหงนมองดูฟ้า แล้วแม่ก็ทำหน้านิ่ว วิ่งหนีตัวปลิวกลัวขนคิ้วจะไม่มี ไม่ใช่ๆ ขออภัย :b32: แล้วพูดออกมาว่า ฝนอย่าเพิ่งตกเลย ขอขายของก่อน (ฝนตกคนหายหมด ขายของไม่ได้) อย่างนี้ เขาจะให้ธรรมชาติเป็นไปตามความอยากของตัวเอง ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ การปฏิบัติธรรมก็ทำนองเดียวกัน เราจะให้สภาวธรรมซึ่งมันเป็นธรรมชาติเป็นอย่างที่ตัวเองต้องการไม่ได้ บ่มีทางดอก แต่เราต้องรู้ตามที่มันเป็น ทั้งทางกาย ทางใจ เป็นยังไง รู้สึกยังไง ก็ว่าในใจยังงั้น ทุกข์ก็ทุกข์ สุขก็สุข


มีตัวอย่างเบาๆ ให้ดูเรื่องหนึ่ง

อ้างคำพูด:
เวลานั่งสมาธิกำหนดคำภาวนา พร้อมไปกับลมหายใจ นั่งทำสมาธิไปสักพักจะต้องเริ่มมีอาการคันคอ ทุกครั้ง พยามยามฝืนไม่สนใจ แต่จะคันคอจนต้องไอออกมาทุกครั้ง บางครั้งน้ำลายกระเด็นออกมาเลอะปาก พร้อมน้ำตาไหล พอไอออกมา สักครั้ง สองครั้ง แล้วจะหายไป แล้วไม่คันคออีกเลย อยากรบกวนสอบถามถึงอาการที่เกิด และทำอย่างไรถึงจะไม่ให้เกิดอาการคันคอได้ เพราะตอนนั่งพอจะเริ่มสงบนิ่งจะเป็นทุกครั้ง ทำให้เกิดความรำคาญ


เห็นไหมอ่ะ คันคอ น้ำตาไหล น้ำลายกระเด็น ไอค้อกๆแค้กๆ มันเป็นธรรมดา แต่โยคีเอง จะเอาตามความยึดตามความต้องการของตน ดูสิฮะจะหาวิธีแก้ไม่ให้คันคอ ก็มันคันก็กำหนดไปสิ คันหนอๆๆ อิอิ แค่นี้เอง

แต่มันก็แปลกนะอ่ะ การปฏิบัติธรรม ปฏิบัติกรรมฐาน การปฏิบัติทางจิตเนี่ย เหมือนมีมารคอยผจญ พอจิตเริ่มสะฮบๆ (สงบๆ) :b32: จะมีนั่นเกิดนี่มาขัดมาขวาง ดังนั้น โยคีพึงทำใจไว้เลยว่า มารบ่มีบารมีบ่เกิด ยิ่งมีมารเยอะแล้วทำมาร (กิเลสมาร) ให้พ่ายได้ บารมีกล้าแกร่งเลย เชื่อไอ้เรืองดิ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron