วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 11:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต

รูปภาพ


เอาแนวพระสุตตันตะก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนักบ้านธัมมะศึกษาอภิธรรมจากสำนัก อ.แนบ อ้อมน้อย คุณโรสก็ตามนั้น ฟังคลิปมาแล้ว 7-8 ปี สุตะๆไป อะไรๆก็ขณะเดียว อาเดียว กะพริบตาขณะเดียว ปริบๆไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึงไป แล้วก็คิดว่ามีแนวนั้นแนวเดียวไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต


ตัวสภาวะ


พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ* (นิยมเรียกยาวเป็น "สภาวธรรม" ตามคำบาลีว่า "สภาวธมฺม" ซึ่งมาจาก ส+ภาว+ธมฺม แปลตรงตัวว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง) อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็นสัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆ ได้

บรรดาสิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกัน ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่
ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า "รถ"
แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกัน จำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถ มิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า "รถ"
สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ปรากฎขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน
เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน

เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะด้านจิตใจ
การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกเป็นพิเศษในด้านจิตใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ *
แต่ในที่นี้ แสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร

โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ * นั้นๆได้

๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา * ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* แบ่งอย่างกว้างๆ ว่านาม และ รูป หรือนามธรรม กับ รูปธรรม ; แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น ๓ คือ จิต เจตสิก และรูป ถ้าเทียบกับขันธ์ ๕ ดังแสดงแล้ว
จิต = วิญญาณขันธ์
เจตสิก = เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์

* คำว่า "อารมณ์" หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

* อุเบกขา เป็นธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่ง และมักมีผู้เข้าใจความหมายสับสนผิดพลาดอยู่เสมอ จึงควรศึกษาให้เข้าใจชัด อย่างน้อยต้องสามารถแยกอุเบกขาในหมวดสังขาร ซึ่งตรงกับ ตัตรมัชฌัตตตา ออกจากอุเบกขาในหมวดเวทนา ซึ่งตรงกับ อทุกขมสุข อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบนเป็นการจำแนกสภาวะของชีวิตแนวพระสูตร

รูปภาพ


รูป 1. สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้งกัน, สิ่งที่มีรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะของมัน, ส่วนร่างกาย

(ตามนัยอภิธรรมจำแนกแจกแจงรูปออกเป็น ๒๘ ลักษณะ)

จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูตหรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ ในขันธ์ ๕) 2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3. ลักษณะนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้องค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปจำแนกแนวพระอภิธรรม

๑. รูป ตามแนวอภิธรรมแบ่งรูปเป็น ๒๘ อย่าง
คือ
๑) มหาภูตรูป ๔ (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ ๔)
คือ
ปฐวีธาตุ (สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่) อาโปธาตุ (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม) เตโชธาตุ (สภาพที่แผ่ความร้อน) วาโยธาตุ (สภาพที่สั่นไหว)

๒) อุปาทายรูป (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป) ๒๔
คือ
ประสาททั้ง ๕
คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย)
อารมณ์ ๔
คือ
รูป เสียง กลิ่น รส (รูปะ สัททะ คันธะ รสะ, โผฏฐัพพะไม่นับ เพราะตรงกันกับ ปฐวี เตโช และวาโย)
ความเป็นหญิง (อิตถินทรีย์)
ความเป็นชาย (ปุริสินทรีย์)
ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ)
การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ)
การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ)
ชีวิตินทรีย์ ช่องว่าง (อากาศ)
ความเบาของรูป (รูปสฺส ลหุตา)
ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปสฺส มุทุตา)
ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปสฺส กมฺมญฺญตา)
ความเจริญหรือขยายตัวขอบรูป (รูปสฺส อุปจย)
การสืบต่อของรูป (รูปสฺส สนฺตติ)
ความเสื่อมตัว (ชรตา)
ความสลายตัว (อนิจฺจตา) และ
อาหาร (หมายถึงโอชา)
พึงสังเกตว่า คำว่า หทัยวัตถุ ซึ่งแปลกันว่าหัวใจ และถือว่าเป็นที่ทำงานของจิตนั้น เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. เวทนา แบ่งเป็น ๓
คือ
สุข (ทางกายหรือทางใจก็ตาม)
ทุกข์ (ทางกายหรือทางใจก็ตาม)
อทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข คือ เฉยๆ บางทีเรียกว่า อุเบกขา)
อีกอย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ๕
คือ
สุข (ทางกาย)
ทุกข์ (ทางกาย)
โสมนัส (ดีใจ)
โทมนัส (เสียใจ)
อุเบกขา (เฉยๆ)
แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖
คือ
เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย และทางมโน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สัญญา แบ่งเป็น ๖ ตามทางแห่งการรับรู้ คือ

๑) รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น

๒) สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น

๓) คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น

๔) รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น

๕) โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น

๖) ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. สังขาร ตามหลักอภิธรรม แบ่งเจตสิกเป็น ๕๒ อย่าง
ถ้าเทียบกับการแบ่งแบบขันธ์ ๕ เจตสิกก็ได้แก่ เวทนา สัญญา และสังขารทั้งหมด คือ ในจำนวนเจตสิก ๕๒ นั้น เป็นเวทนา ๑ เป็นสัญญา ๑ ทีเหลืออีก ๕๐ อย่าง เป็นสังขารทั้งสิ้น สังขารขันธ์ จึงเท่ากับเจตสิก ๕๐ อย่าง ซึ่งแยกย่อยได้ ดังนี้

๑) อัญญสมานเจตสิก (เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว) ๑๑ (นับครบมี ๑๓ เพราะเวทนา และสัญญาเป็นเจตสิกหมวดนี้ แต่ไม่เป็นสังขาร จึงตัดออกไป ) คือ

(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) ๕
คือ
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา (สมาธิ) ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (จำนวนเดิม มี ๗ ทั้งเวทนา กับ สัญญา)

(๒) ปกิณณกเจตสิก (เกิดกับจิตได้ทั่วๆไป ทั้งดีฝ่ายชั่ว แต่ไม่ตายตัว) ๖
คือ
วิตก วิจาร อธิโมกข์ (ความปักใจ) วิริยะ ปีติ ฉันทะ

๒) อกุศลเจตสิก (เจตสิกที่เป็นอกุศล) ๑๔
คือ
(๑) อกุศลสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลทุกดวง) ๔
คือ
โลภะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ

(๒) ปกิณณกอกุุศลเจตสิก (เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลแต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๑๐
คือ
โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ และวิจิกิจฉา

๓) โสภณเจตสิก (เจตสิกดีงาม คือ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต) มี ๒๕
คือ
(๑) โสภณสาธารณเจตสิก (เกิดกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙
คือ
ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ (= เมตตา) ตัตรมัชฌัตตตา (บางทีเรียกอุเบกขา) กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย คือกองเจตสิก) จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งนามกาย คือ กองเจตสิก) จิตตุชุกตา

(๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เกิดกับจิตฝ่ายดีงาม แต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง) ๖
คือ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (รวมเรียก วิรตีเจตสิก ๓) กรุณา มุทิตา (เรียกรวมกันว่า อัปปมัญญาเจตสิก ๒) และปัญญา

ในพระสูตร (เช่น สํ.ข.17/116/74) ตามปกติ ท่านแสดงความหมายของสังขารว่า ได้แก่ เจตนา ๖ หมวด
คือ
รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา
คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา และ
ธรรมสัญเจตนา และว่า เจตจำนงหรือความคิดปรุงแต่ง เกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. วิญญาณ แบ่งตามทางที่เกิดเป็น ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ (แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ)

ตามแนวอภิธรรม เรียกวิญญาณขันธ์ทั้งหมดว่า "จิต" และจำแนกจิตออกไปเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง คือ

ก. จำนวนตามภูมิ หรือระดับของจิต เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจร ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๓ โลกุตรจิต ๘ (แยกพิสดารเป็น ๔๐)

ข. จำแนกโดยคุณสมบัติเป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิบากจิต ๓๖ (พิสดารเป็น ๕๒) กิริยาจิต ๒๐ ในที่นี้ จะไม่แสดงรายละเอียดชื่อของจิตแต่ละอย่าง ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เขานางนอน

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2018, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายศัพท์ยาก


กายปัสสัทธิ ความสงบรำงับแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลาย ให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายุชุกตา ความซื่อตรงแหงนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายกัมมัญญตา ความควรแก่งานแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลาย ให้อยู่ในภาวะที่จะทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้แคล่วคล่องว่องไว รวดเร็ว (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายมุทุตา ความอ่อนโยนแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายลหุตา ความเบาแห่งนามกาย, ธรรมชาติทำนามกายคือกองเจตสิก ให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติที่จิตให้เหมาะแก่การงาน (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวยคล่องแคล่วว่องไว (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตลหุตา ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2018, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกแปลกใจทำไมคุณโรสศิษย์บ้านธัมมะไม่โพสต์ กท.นี้ ไม่เข้าใจ หรือว่ามี "คน" แล้ว ก็ในเมื่อคนมี บ้านก็มี ต้นไม้ก็มี โต๊ะก็มี เก้าอี้มี ฯลฯ นี่พูดตามนัยสมมติมันมี แต่ถ้าพูดตามนัยปรมัตถ์แล้ว คนเป็นต้นไม่มี มีแต่ขันธ์ ธาตุ สภาวะ หากเข้าใจแยกได้อย่างนี้แล้ว จบข่าวเลย :b32: จะพูดพลิกแผลงนัยไหนก็ได้ ใครพูดแนวไหนแง่มุมใดเรารู้ แต่ผู้รู้แนวเดียวอย่างคุณโรส เป็นต้น จะไปไม่เป็น ก็อย่างที่เห็นๆนั่นแหละ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2018, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ละเอียดยิบเข้าไปอีก


รูป สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้งกัน, สิ่งที่มีรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะของมัน, ส่วนร่างกาย ฯลฯ

รูป ๒๘ รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์ จำแนกออกไปตามนัยแห่งอภิธรรม เป็น ๒๘ อย่าง จัดเป็น ๒ ประเภท
คือ
ก. มหาภูตรูป ๔ รูปใหญ่, รูปอันเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ที่เรียกกันให้ง่ายว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม, ภูตรูป ๔ ก็เรียก (ในคัมภีร์ไม่นิยมเรียกว่า มหาภูตรูป)


พึงทราบว่า ธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างที่พูดกันในภาษาสามัญนั้น เป็นการกล่าวถึงธาตุในลักษณะที่คนทั่วไปจะเข้าใจ และสื่อสารกันได้ ตลอดจนที่จะให้ให้สำเร็จประโยชน์ เช่น ในการเจริญกรรมฐาน เป็นต้น
แต่ในความหมายที่แท้จริง ธาตุเหล่านี้ เป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง เช่น ปฐวีธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่า ดิน นั้น มีอยู่แม้แต่ในสิ่งที่เรียกกันสามัญ ว่าน้ำ ว่าลม

อาโปธาตุ ที่เรียกให้สะดวกว่าน้ำ ก็เป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ (เราไม่สามารถรับรู้อาโปธาตุด้วยประสาททั้ง ๕ แต่มันเป็นสุขุมรูปที่รู้ด้วยมโน) และ อาโปนั้น ก็มีอยู่ในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในก้อนหินแห้ง ในก้อนเหล็กร้อน และในแผ่นพลาสติก ดังนี้เป็นต้น
จึงมีประเพณีจำแนกธาตุสี่ แต่ละอย่างนั้นเป็น ๔ ประเภท ตามความหมายที่ใช้ในแง่และระดับต่างๆ คือ เป็นธาตุในความหมายที่แท้โดยลักษณะ (ลักขณะ) ธาตุในสภาพมีสิ่งประกอบปรุงแต่ง ที่มนุษย์เข้าถึงเกี่ยวข้องตลอดจนใช้งานใช้การ ซึ่งถือเป็นธาตุอย่างนั้นๆ ตามลักษณะเด่นที่ปรากฏ (สสัมภาร) ธาตุในความหมายที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน (นิมิต หรือ อารมณ์) ธาตุในความหมายตามที่สมมติ เรียกกัน (สมมติ) ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร