วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีชัย เผย มีกฎหมายมาก ไม่ได้ทำสังคมสงบ รับเคย ‘มันมือ’ ทำออกมามหาศาล

มีชัย เผย มีกฎหมายมาก ไม่ได้ทำสังคมสงบ รับวันหนึ่งสำนึกบาป เคย ‘มันมือ’ ทำออกมามหาศาล สุดท้ายไปตกอยู่ในมือคนมีอำนาจ

มีชัย – เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 18 ก.ค. ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย จัดสัมมนาเรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และประธานกรรมการพัฒนากฎหมาย บรรยายพิเศษตอนหนึ่ง ว่า
ภูมิหลังมาตรานี้ เกิดจากมองเห็นอันตรายของการมีกฎหมาย เดิมคิดว่ามันดี ทำให้สังคมยึดถือปฏิบัติเดินไปในทางเดียวกัน สร้างระบบระเบียบให้ประชาชนทำตาม ประเทศไทยมีกฎหมายกว่า 2,000 ฉบับ
แต่ถามว่า สงบสันติเรียบร้อยหรือไม่ คำตอบคือไม่ นับวันยิ่งแย่ขึ้น ความเป็นระเบียบเรียบร้อยก็น้อยลง ที่อันตรายคือมันสร้างอำนาจให้เจ้าหน้าที่
ผลงานดีเด่นของสภาในการออกกฎหมายเยอะๆ ถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นสิ่งต้องทบทวน

รูปภาพ



https://www.khaosod.co.th/politics/news_1353532

...เริ่มเห็นแล้วว่ากฎหมาย กับ จนท. ยังสังคมให้อยู่ดีมีสุขปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ร.10 มีพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

ฯลฯ

กฎหมายไม่ว่าประเทศไหนมีไว้เพื่อรักษาสิทธิ รักษาความปลอดภัย รักษาความสงบ กฎหมายนั้นก็ลึกซึ้ง ใช้ให้ดี ก็ดี แปลความให้ดี ก็ดี ใช้ไม่ดีหรือหาช่องโหว่ในทางปฏิบัติ มันก็ไม่ดี พอเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นทั้งศาสตร์ เป็นทั้งศิลป์ เรื่องกระบวนการยุติธรรมเนี่ย
แต่ถ้าหากตระหนักถึงความถูกต้อง หรือพูดง่ายๆความสุขของส่วนรวม ความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ ก็จะไปในทางที่ถูก ก็จะอ่านกฎหมาย หรืออำนวยการยุติธรรมได้อย่างไม่ผิด
ผู้พิพากษาก็เป็นมนุษย์ก็เป็นคน มีอารมณ์ แต่ถ้าเผื่อทบทวนศีลธรรม หรือจรรยาบรรณของผู้พิพากษาไว้ ก็จะไม่ออกนอกกรอบที่ผิด ท่านทั้งหลายได้เรียนมา ได้ศึกษามา และได้เรียนรู้ว่าอะไรมันผิด อะไรมันถูก อะไรมันดี อะไรมันไม่ดี อะไรที่จะทำให้มันเดือดร้อนต่อชาติบ้านเมือง ก็คงจะรู้แล้วอะไรไปในทางที่ถูกหรือไม่ถูก ก็ขอให้มีสติ มีปัญญา มีทัศนคติที่ถูกต้อง และอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ก็จะเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง"

https://prachatai.com/journal/2018/03/7 ... um=twitter

https://www.matichon.co.th/court-news/news_861644

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำบทความ หรือ หลักธรรมจากหนังสือ "ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล" โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต (มาลงเท่าที่ลงได้)

รูปภาพ


ปกหลัง

ธรรมะสำหรับผู้พิพากษา ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่รักษาชีวิตและสัมคมมนุษย์ ที่ต้องใช้สำหรับทุกคนนั่นเอง แต่ผู้พิพากษา เป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ เพราะถือว่าผู้พิพากษา เป็นตุลา คือเป็นตราชูของสังคม

ในการที่จะรักษาสังคมไว้นั้น ท่านผู้พิพากษาเป็นแบบอย่างในขั้นปฏิบัติการเลยทีเดียวว่า เราจะต้องรักษาสังคมให้อยู่ดี มีความสุขความเจริญโดยเฉพาะมีความมั่นคงอยู่ได้ ด้วยความเป็นธรรมที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตใจที่มีพรหมวิหาร ๔ ประการ อันมีอุเบกขาลงไปอยู่ในธรรม ที่ปัญญาบอกให้แล้ว ก็ออกสู่ปฏิบัติการด้วยสมานัตตตา ซึ่งเป็นที่แสดงออกของอุเบกขา แล้วก็มั่นใจแน่ว่าแนบสนิทอยู่กับธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นที่มาของหนังสือนี้จึงนำ คำนำ-คำอนุโมทนานิดๆหน่อยๆให้พอเห็นที่มา

อ้างคำพูด:


กระผมได้มาคิดกับคุณหญิง...ว่า ในโอกาสที่จะมีการพระราชทานเพลิงศพ (อดีตประธานศาลฎีกา-อดีตองคมนตรี) อีก ๒-๓ เดือนข้างหน้า น่าจะมีธรรมะดีๆสักเรื่องหนึ่ง เพื่อจะได้จัดทำหนังสือเป็นที่ระลึก แล้วก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า น่าจะได้ฟังธรรมะจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณเอง ส่วนหัวข้อก็แล้วแต่ท่านจะเห็นสมควร

ถ้าถามความประสงค์ก็คือ อยากจะให้เป็นเรื่องธรรมะที่ผู้พิพากษาทั้งหลาย ควรจะยึดถือไว้ให้มั่นคงในจิตใจ เพราะว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว กระผมเอง โดยส่วนตัวนั้นมีความรู้สึกว่า เรื่องของธรรมะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายอย่างที่คิด
บางครั้ง ก็สับสนและบางครั้งก็ไม่แน่ใจว่าอะไรกันแน่ที่ควรจะยึดถือ จึงได้ถือโอกาสมากราบนิมนต์ท่านไว้ ซึ่งก็ได้รับความกรุณาที่ได้รับการนัดหมายในวันนี้ สุดแต่พระเดชพระคุณท่านจะเห็นสมควร



อ้างคำพูด:
อาตมภาพขออนุโมทนาที่คณะโยม มีคุณหญิงเป็นผู้นำ ได้มาเยี่ยมเยือนที่วัด การที่อาตมภาพได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรมในวันนี้ อาจะเรียกว่าเป็นการสนทนากันในเรื่องธรรมะที่เกี่ยวกับงานตุลาการหรือในเรื่องของผู้พิพากษา
ฯลฯ
ในการพบกันวันนี้นั้น ตัวอาตมภาพเองไม่ได้คิดไว้ว่าจะพูดเรื่องอะไร แต่มองไปในแง่ที่นึกว่าท่านจะมาถามปัญหาอะไร จึงคิดว่าจะเป็นไปในรูปของการถาม-ตอบ หมายความว่า ท่านมีคำถามเกี่ยวกับธรรมะในแง่ที่เกี่ยวกับวงการตุลาการ หรือเกี่ยวกับเรื่องของตุลาการหรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับนิติศาสตร์ เกี่ยวกับกฎหมายอะไรต่างๆ จะตั้งคำถามอะไรขึ้นมาก็ได้ รู้สึกว่าจะมีแง่ดี ที่ว่าจะตรงกับจุดสนใจ ไม่ว่าจะมีอะไรที่เป็นเรื่องซึ่งยังสงสัย เป็นจุดที่ค้างอยู่ในใจของวงการตุลาการในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ จะเป็นจุดที่มีความสำคัญก็ดี หรือเป็นจุดค้างใจหรือสงสัย ก็ดี ในแง่นั้น อาจเป็นประโยชน์ ไม่ทราบท่านจะเห็นเป็นอย่างไร ถ้าจะพูดในรูปที่คล้ายๆว่ามาสนทนากัน

ตกลง ท่านว่าให้กล่าวไปเรื่อยๆ ถ้าว่าไปเรื่อยๆ ก็พูดถึงหลักธรรมเบื้องต้นก่อน

ธรรมกถา ตามคำอาราธนาของเจ้าภาพ ที่บริเวณกุฎิเจ้าอาวาส วัดญาณเวศวัน ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในหนังสือแบ่งเป็นสามตอน
ตอนที่
๑.ปัญญาต้องสว่างทั่วถึงธรรม
๒. ความสับสนต้องสะสาง
๓.เจตนาต้องตั้งไว้ใสตรงและงาม
บทสรุป: สี่ความหมายของ “ตุลาการ” ส่องถึงงานสำคัญของผู้พิพากษา

(พวกเราเพียงเห็นคำว่า "ปัญญา" "เจตนา" ก็ ? :b1: :b13: ยิ่งได้ยินคำว่า เจตนาเป็นกรรม เข้าด้วยไปกันใหญ่ มีคำว่า "ธรรม" เข้ามาอีก ? :b5: ๓ คำนี่ก็หนักหนาสาหัสแล้ว ดังนั้น จะเอาบทสรุปท้ายซึ่งฟัง/ดูเบาๆก่อน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สี่ความหมายของ"ตุลาการ"ส่องถึงงานสำคัญของผู้พิพากษา

ในแง่ความหมายของถ้อยคำ ที่โยงไปถึงธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ ในที่นี้ ขอกล่าวไว้ ๔ ความหมาาย

๑. "ตุลา" แปลว่า เที่ยงตรง คงที่ เท่ากัน สม่ำเสมอ ความหมายนี้มีในพระไตรปิฎก ท่านใช้อธิบายการบำเพ็ญอุเบกขาบารมีของพระพุทธเจ้า ว่า พระโพธิสัตว์ถืออุเบกขา ดำรงอยู่ในธรรม โดยมีความสม่ำเสมอ คงที่ เป็นอย่างเดียวกัน ไม่เอนเอียงไหวโอนขึ้นๆลงๆ ไปกับความชอบใจหรือขัดใจ ใครจะนอบนบเคารพไหว้หรือใครจะด่าว่าหยามเหยียด ใครจะบำเรอสุข หรือใครจะก่อทุกข์ให้ เหมือนดังผืนแผ่นดิน ซึ่งไม่ว่าใครจะใส่ฝังของดีมีค่าของสะอาดหรือใครจะเทราดสาดของสกปรกลงไป ก็คงที่สม่ำเสมอทั้งหมด (เช่น ขุ.พุทฺธ.๓๓/๑๘๒/๔๓๒ ฯลฯ) ทั้งเป็นกลาง และเป็นเกณฑ์ คือ ทั้งไม่เอนเอียง ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่เข้าใคร ออกใคร และถือธรรมดำรงธรรมมีธรรมเป็นมาตรฐานที่จะยึดเป็นแบบหรือใช้ตัดสิน ความหมายนี้ จะเห็นว่าตรงกับเรื่องอุเบกขาที่ย้ำมาแล้วข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. "ตุลา" แปลว่า ตาชั่ง ตราชู คันชั่ง ในแง่นี้ งานของผู้พิพากษา คือ การเป็นเครื่องวัด เป็นเกณฑ์วัด หรือเป็นมาตรฐานที่ตัดสินความถูกต้อง หรือเป็นเหมือนผู้ถือ ผู้ยก ผู้ชูคันชั่ง (ภาษาบาลีใช้คำว่า "ตุลาธาร" คือผู้ทรงไว้ซึ่งตุลา) ซึ่งทำหน้าที่ชั่งวัด เบื้องแรกย่อมรู้ความยิ่งหรือหย่อน ขาดหรือเกิน ถูกหรือผิด แล้วก็จะต้องประคองธำรงรักษาให้ตราชั่งเสมอกัน เท่ากัน ให้คันชั่งเที่ยง ตรงแน่ว เสมอกันเป็นนิตย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. "ตุลา" แปลว่า ตราชู นี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง หมายถึง บุคคลที่เป็นตัวแบบ เป็นเกณฑ์วัด หรือเป็นมาตรฐาน (ในข้อก่อน หมายถึงงาน ข้อนี้หมายถึงบุคคล) เช่น พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระสาวกในพุทธบริษัททั้ง ๔ (เช่น องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๗๖/๒๒๒) เริ่มด้วยบรรดาภิกษุสาวก ว่ามีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นตุลา

ส่วนในหมู่ภิกษุณีสาวิกา ก็มี พระเขมา และพระอุบลวรรณา เป็นตุลา แล้ว

ในหมู่อุบาสกสาวก ก็มีตุลา ๒ คน (จิตตะคฤหบดี และหัตถกาฬวกะ) เช่นเดียวกับใน

หมู่อุบาสิกาสาวิกา ก็มีอุบาสิกา ๒ คน เป็นตุลา (นางขุขชุตตรา และเวฬุกัณฎกีนันทมารดา)

ผู้พิพากษา ในฐานะตุลาการ เป็นตุลา คือ เป็นตราชู เป็นตัวแบบ เป็นมาตรฐานซึ่งตั้งไว้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ที่คนทั้งหลายจะพึงพัฒนาตน หรือ ประพฤติปฏิบัติตัวให้เสมอเสมือน คือมีธรรมเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น จะเรียกว่าเป็นยอดสุดของสังคมก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. "ตุลา" นั่นแล ได้มาเป็น "ตุลาการ" ซึ่งแยกศัพท์ได้ ๒ อย่าง คือ เป็น ตุลา+อาการ หรือ ตุลา+การ

อย่างแรก ตุลา+อาการ แปลว่า ผู้มีอาการดังตุลา หมายความว่า มีความประพฤติ มีการปฏิบัติตัว หรือดำเนินงานทำกิจการเหมือนเป็นตุลา ในความหมายอย่างที่กล่าวแล้ว คือ เหมือนเป็นตราชู ตาชั่ง ที่รักษา ตัดสิน และบอกแจ้งความถูกต้องเที่ยงตรง

อย่างที่สอง ตุลา+ การ แปลว่า ผู้ทำตุลา (ผู้ทำดุล) หรือผู้สร้างตุลา (ผู้สร้างดุล) หมายความว่า เป็นผู้ทำให้เกิดความเท่ากัน เสมอกัน ความลงตัว ความพอดี ความสมดุล หรือดุลยภาพ ซึ่งในที่นี้ มุ่งไปที่ความยุติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ตุลา หรือ ดุล นี้ มีความหมายกว้างออกไปอีก คือ ธรรม นั้น ไม่ว่าจะเป็นความยุติธรรม ความเป็นธรรม ความถูกต้องชอบธรรม หรืออะไรในทำนองนี้ก็ตาม เมื่อยังดำรงอยู่ ยังเป็นไปอยู่ในชีวิต และสังคม ก็จะทำให้มีดุล คือทำให้ชีวิตและสังคมอยู่ในภาวะที่มีความประสานสอดคล้อง ลงตัว พอดี มีดุลยภาพ ซึ่งหมายถึงความมั่นคงมีสันติสุข ผู้พิพากษาเป็นตุลาการ คือเป็นผู้สร้างดุลนี้ให้แก่สังคม


ตุลา ดุล หรือ ดุลยภาพ นี้ สำคัญอย่างไร เห็นได้ไม่ยากว่า ดุลยภาพนี้แหละ ทำให้มีความมั่นคง และทำให้ดำรงอยู่ได้ยั่งยืน เช่น เราสร้างอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างหนึ่งขึ้นมา
ถ้าส่วนประกอบทั้งหลายประสานสอดคล้อง เข้ากัน ลงตัว พอดี ที่เรียกว่าได้ดุล ก็จะเป็นหลักประกันในขั้นพื้นฐานว่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้น จะมั่นคงดำรงอยู่ได้ดี
แต่ถ้าเสียดุล เช่น แม้จะมีเสาที่แข็งแรงมาก แต่เสานั้นเอนเอียง แค่นี้ อาคารเป็นต้นนั้น ก็อาจจะพังลงได้ง่ายๆ


ธรรมทำให้ทุกอย่างเข้าที่ ลงตัว ได้ดุล หรือมีดุลยภาพ ในเมื่อธรรมนั้นกว้างขวางซับซ้อนนัก แต่ธรรมนั้นก็อยู่ในระบบสัมพันธ์ถึงกันทั้งหมด
หลักธรรมต่างๆ ที่ท่านจัดไว้ ก็เป็นระบบย่อยที่โยงต่อไปทั่วถึงกันในระบบรวมใหญ่
เมื่อพูดถึงหลักธรรมสักชุดหนึ่ง ก็จึงโยงถึงกันกับธรรมอื่นได้ทั่วทั้งหมด
และในที่นี้ ก็ได้ยกหลักธรรมสำคัญชุดหนึ่งมาเน้นย้ำไว้แล้ว คือ หลักพรหมวิหาร ๔

หลักพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นระบบแห่งดุลยภาพครบบริบูรณ์อยู่ในตัว เราจะต้องปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมสังคมให้ถูกต้องอย่างได้ดุลตามระบบนั้น ดังที่ได้อธิบายแล้วว่า ยามเขาอยู่ดีเป็นปกติ เราเมตตา
ยามเขาทุกข์ เรากรุณา
ยามเขาสุขสำเร็จ เรามุทิตา
ยามเขาจะต้องรับผิดชอบตามธรรม เราอุเบกขา

การปฏิบัติทางสังคมอย่างถูกต้องครบตามสถานการณ์เหล่า นี้ เป็นการรักษาดุลยภาพอยู่ในตัวแล้ว
แต่หลักพรหมวิหาร ๔ นี้ ยังเป็นระบบพิเศษที่สร้างดุลยภาพกว้างออกไปอีกชั้นหนึ่งด้วย คือ ข้อที่ ๔ นอกจากเป็นตัวดุลให้อีกสามข้ออยู่ในภาวะพอดี เป็นระบบดุลยภาพในชุดของมันเองแล้ว มันยังเป็นภาวะได้ดุลหรือภาวะมีดุลยภาพของจิตใจ อันเป็นฐานที่จะสร้างดุลยภาพชีวิต และดุลยภาพของสังคมทั่วทั้งหมดด้วย


เมื่อ พูดให้จำเพาะ จับที่หลักพรหมวิหาร ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาโดยตรง ก็อาจจะให้ความหมายของ "ตุลาการ" ได้อย่างสั้นๆว่า คือ ผู้สร้างดุลให้แก่สังคม ด้วยพรหมวิหาร ๔ ประการ


เมื่อผู้พิพากษา ปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการเต็มตามความหมายทั้ง ๔ ดังที่กล่าวมา ก็ย่อมรักษาธรรม และดำรงสังคมไว้ได้
แต่มิใช่เฉพาะผู้พิพากษาเท่านั้น มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ในการรักษาความดีงามให้แก่สังคม รักษาธรรมไว้ให้แก่สังคม และรักษาสังคมให้ดำรงอยู่ในธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามธรรมนี้ โดยมีผู้พิพากษา คือตุลาการ เป็นตราชู เป็นแบบอย่างให้

สถานะที่ว่านั้น เท่ากับอกไว้ในที่นี้ ถึงความสำคัญองผู้พิพากษาคือตุลาการ ว่าเป็นมาตรฐานของสังคม และในเมื่อธรรมเป็นสิ่งสูงสุด เมื่อพิพากษาเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาธรรม จะเรียกผู้พิพากษาว่าเป็นบุคคลในระดับยอดสุดของสังคม ก็ย่อมได้


สังคมนี้จะอยู่ได้ ถ้าตุลาการยังเป็นหลักให้ ถึงแม้สังคมจะเสื่อมลงไปแค่ไหนๆ ถ้าตุลาการยังมั่นอยู่ ถึงอย่างไร ก็ยังมีความหวัง แต่ถ้าที่มั่นนี้หมดไป สังคมก็ล่มสลายแน่ เพราะฉะนั้น จึงต้องช่วยกันรักษาไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า วันนี้ ที่ได้พูดมา ในที่สุดก็เป็นการย้ำถึงสถานะของผู้พิพากษาตุลาการ ที่ท่านเป็นบุคคลที่เรียกว่าสำคัญสุดยอดในสังคม ที่จะต้องเป็นแบบอย่างดังที่บอกแล้วว่า เราเรียกว่า ตราชู

ในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะต้องมีตุลา และเราก็ได้นำเอาคำนี้มาใช้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะต้องทำให้สมจริง ดังที่เรามีตุลาการอยู่ และก็ขอให้เรามีต่อไป

ขอให้ตุลาการ อยู่ยั่งยืนนาน ยั่งยืนทั้งในสถานะแห่งระบบการและยั่งยืนด้วยหลักการ คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความเป็นตุลาการทีแท้จริง

อาตมภาพขออนุโมทนาคุณหญิง และท่านผู้พิพากษา พร้อมด้วยทุกท่านที่อยู่ในวงการตุลาการ ตลอดจนญาติโยมผู้สนใจใฝ่ธรรมทุกท่าน ขออนุโมทนาน้ำใจของท่านที่มีต่อท่านองคมนตรีผู้ล่วงลับ ในฐานะที่เป็นท่านประธานศาลฎีกา ผู้ได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่ประชาติสังคม และวงการตุลาการ ด้วยการเจริญคุณธรรมเป็นแบบอย่าง
ฯลฯ
ขอให้มีความร่มเย็นงอกงามในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกำลังที่จะแผ่ขยายประโยชน์สุขไปให้แก่ประเทศชาติสังคม และชาวโลก ตลอดกาลยั่งยืนนาน ทุกเมื่อ เทอญ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


เรื่องมันยาว

https://www.thairath.co.th/content/1308536

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าเรื่อง



๑) ปัญญาต้องสว่างทั่วถึงธรรม

ผู้พิพากษาเป็นตราชู ดำรงตนอยู่ในธรรม ดำรงธรรมไว้แก่สังคม

เราถือกันว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชู ซึ่งทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

เมื่อจะดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม ตัวผู้พิพากษาเองก็ต้องมีธรรมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม หรือรักษาธรรมด้วยตนเอง และจะให้เป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องชัดเจนว่า ธรรมที่ผู้พิพากษาจะต้องมีนั้นคืออะไร ผู้พิพากษาจะต้องตั้งอยู่ในธรรมอะไร หรือว่าธรรมสำหรับผู้พิพากษานั้นคืออะไร

เมื่อพูดถึงธรรมที่บุคคลนั้นบุคคลนี้ หรือคนประเภทนั้นประเภทนี้จะต้องมี โดยทั่วไปก็จะนึกกันถึงความประพฤติดีปฏิบัติชอบ การเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตามหลักที่เรียกว่าศีลธรรมบ้าง จริยธรรมบ้าง

สำหรับ ผู้พิพากษา ซึ่งทำงานสาธารณะ ค้ำชูสังคม ก็แน่นอนว่าต้องมีธรรมอย่างที่เรียกว่า ศีลธรรม หรือจริยธรรมนั้น และต้องมีไม่ใช่แค่ในขั้นธรรมดาเท่านั้น แต่ต้องมีในระดับที่อาจจะเรียกว่า เข้มงวด เป็นพิเศษทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดอย่างจำเพาะ ธรรมในระดับความประพฤติศีลธรรมทั่ว ไป ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่เป็นเพียงธรรมสำหรับบุคคลที่จะมาเป็นผู้พิพากษา หรือเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสังคม หรือเป็นพลเมืองคนหนึ่ง

หมายความว่า ความประพฤติตามหลักศีลธรรมทั่วไป เป็นเพียงส่วนประกอบ แต่เหนือนั้นขึ้นไป ผู้พิพากษายังมีธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของตนอีกต่างหาก และธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของผู้พิพากษานั่นแหละ ที่เรียกว่า “ธรรมสำหรับผู้พิพากษา”

แม้ โดยการเปรียบเทียบ งานของผู้พิพากษาก็มิใช่อยู่ในวงความประพฤติทางศีลธรรมทั่วไป ความประพฤติที่อยู่ในศีลธรรมเป็นเพียงพื้นฐานที่รองรับการทำงานของผู้ พิพากษาเท่านั้น แต่ธรรมสำหรับการทำงานของผู้พิพากษาตรงๆแท้ๆ อยู่ที่เจตนา กับ ปัญญา

ตัวงานของผู้พิพากษาพูดได้ว่า อยู่ที่ธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ขยายความว่า ถ้าพูดกว้างๆ ก็เป็นเรื่องของการรักษาจิตใจ กับการมีและใช้ปัญญา แต่ในที่นี้ ที่ใช้คำว่าเจตนา ไม่พูดว่า จิตใจ ก็เพราะว่า เรื่อง ของจิตใจอยู่ที่เจตนา เพราะเจตนาเป็นหัวหน้าและเป็นตัวแทนของแดนจิตใจทั้งหมด เจตนาเป็นตัวนำ ตัวทำการเป็นตัวเลือก ตัวตัดสินใจ

เจตนา จะตัดสินใจเลือกทำการใด และอย่างไร ก็มีแรงจูงใจต่างๆ มีสภาพจิต เช่น อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ความสุข ความทุกข์ ความขุ่นมัว ความผ่องใส ตลอดจนคุณสมบัติ เช่น คุณธรรมและบาปธรรมทั้งหลาย อันมากมายในแดนของจิตใจ นั้น คอยหล่อเลี้ยงปรุงแต่งคอยสนอง หรือมีอิทธิพลต่อเจตนา แต่ในที่สุดก็ต้องสำเร็จด้วยเจตนานี้แหละ เพราะฉะนั้น ในด้านจิตใจ งานของผู้พิพากษาอยู่ที่การรักษาและตั้งเจตนาให้ถูกต้อง

ปัญญา คือ ความรู้เข้าใจ ตั้งแต่รู้ข้อมูล รู้ข้อเท็จจริง เข้าถึงความจริง รู้หลักและรู้ตัวบทกฎหมาย รู้หลักการตัดสินคดี ฯลฯ พูดรวบยอดก็ คือ รู้ธรรม

ถึงแม้เจตนาจะตรง แต่เจตนานั้นจะเลือกตัดสินได้ถูกต้อง เจตนาจะต้องอาศัยแสงสว่าง การบอกทาง การให้ตัวเลือก และการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญา

เพราะฉะนั้น บนพื้นฐาน แห่งความประพฤติที่ดีงามมีศีลธรรม ผู้พิพากษาจะต้องใช้และต้องจัดการธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ให้ดีให้พร้อมและให้ทำงานอย่างได้ผลดีที่สุด

เรื่อง เจตนา กับ ปัญญา บนพื้นฐานแห่งความมีศีลธรรมนี้ ควรจะพูดขยายความอีกข้างหน้า

นี่คือธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่ยังไม่หมดเท่านี้

(เจตนา,ปัญญา, ธรรม, ศีลธรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นคำที่ต้องทำความเข้าใจความหมายให้ชัด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะตัดสินให้เป็นธรรม ต้องรู้ธรรมที่เป็นเกณฑ์ตัดสิน


ธรรมสำหรับผู้พิพากษายังมีความสำคัญมากอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่มีชื่อตรงเลยว่า "ธรรม"


อย่างที่พูดแต่ต้นว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม เป็นผู้ดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม เป็นตราชูของธรรม ต้องเป็นคนมีธรรม ต้องตัดสินให้เป็นธรรม ฯลฯ อะไรๆก็ธรรม


เมื่อพบคำว่า ธรรมในข้อความต่างๆ มากมาย บางทีก็สงสัยหรือ อย่างน้อยก็ชักไม่ชัดว่า คำว่า "ธรรม" ในข้อความต่างๆเหล่านั้น มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกัน
ถ้าต่างกัน ในแต่ละแห่ง มีความหมายว่าอย่างไร


เฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อหน้าที่ของผู้พิพากษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรม หรือเป็นการกระทำต่อธรรมและเพื่อธรรมโดยตรง ถึงกับเป็นผู้ดำรงธรรม และทำให้เกิดความเป็นธรรม ฉะนั้น ผู้พิพากษาจะต้องมีความชัดเจน ในเรื่องธรรม ว่าธรรมคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความหมายรวม หรือความหมายเฉพาะที่


ถ้าเปิดหาความหมายในพจนานุกรม พอดูแล้ว ก็อาจจะงงไปเลย อย่างน้อยก็อาจจะรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ต้องจดจำ และทำท่าจะจำไม่ไหว


ผู้พิพากษาซึ่งอยู่กับธรรมนั้น ต้องให้ถึงขั้นที่ว่า พอเห็น พอพูดถึง หรือได้ยินคำว่า "ธรรม" ก็มองเห็นความหมายทุกแง่มุมทะลุปรุโปร่งไปเลย


การที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ผู้พิพากษาจะต้องมีความรู้เข้าใจในเรื่องธรรมอย่างทั่วตลอด คือรู้ระบบแห่งธรรม
อย่างน้อยก็รู้ระบบที่ใกล้ตัวที่สุด คือระบบแห่ง สภาวธรรม (ที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า สัจธรรม) จริยธรรม และบัญญัติธรรม

ธรรมชุดที่ ๒ นี้ สัมพันธ์โดยตรง กับ ธรรมชุดแรกที่พูดถึงก่อนแล้ว คือ ต้องมีปัญญาที่รู้เข้าใจเข้าถึงธรรมเหล่านี้ และเจตนาที่ต้องมุ่งให้ได้ผลตามธรรมเหล่านี้ หรือให้เป็นไปตามธรรมเหล่านี้

เป็นอันว่า ธรรมสำหรับผู้พิพากษา พูดไว้ที่นี่ ๒ ชุด คือ

ธรรมชุดที่ ๑ คือ ปัญญา กับ เจตนา

ธรรมชุดที่ ๒ ธรรมในระบบแห่ง สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ

แค่สองชุดนี้ก็พอ เพราะครอบคลุมธรรมทั่วทั้งหมดแล้ว ชุดแรก อยู่ที่ตัวผู้พิพากษา ชุดหลังอยู่รอบตัวข้างนอก และเป็นจุดหมายของชุดแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 107 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron