วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุสสติ ๑๐ (อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ)

อนุสสติ หมายถึง สิ่งควรระลึก ๑๐ ประการ ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นแนวคิดในชีวิตประจำวัน เพื่อให้จิตไม่ฟุ้งซ่าน ให้มีงานทำ เพราะใจของคนเรานั้นชอบมีงาน ไม่ชอบนิ่ง วิ่งไปนั่น วิ่งไปนี่ตลอดเวลา หางานทำเรื่อยไป ถ้าหากว่าไม่ป้อนงานให้มันทำมันก็วุ่นวาย เหมือนคนหนุ่มๆ อยู่ว่างๆไม่มีงานทำมักจะวุ่นวาย จิตใจซ่าน เพราะฉะนั้น จับไปทำงานเสียไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง พอได้มีงานทำแล้วก็ไม่เที่ยวเตร่ จะได้ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อไป ฉันใด

ในเรื่องใจของคนเราก็เหมือนกัน สภาพของใจนั้นไม่อยู่นิ่ง เว้นไว้แต่เราจะบังคับให้มันนิ่ง ให้สงบ ให้เป็นสมาธิ ถ้าหากว่าไม่ได้กระทำอย่างนั้น เราก็ควรจะหาอะไรให้ใจคิด เพื่อให้ใจได้อยู่กับเรื่องนั้น

สิ่งที่เราจะให้ใจคิด นั้น เรียกว่า อนุสสติ แปลว่า สิ่งที่ควรคิดนึก จะได้เกิดกำลังใจในทางที่ถูกที่ชอบ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ประจำวัน ก็ควรจะได้คิดตามแนวนี้ไว้บ้าง เมื่อมีเวลาว่าง เวลาอื่นเราก็ไปทำงานอย่างอื่นตามหน้าที่ เช่น เราเป็นนักธุรกิจ เป็นข้าราชการเป็นอะไรก็ตามใจ เรามีเวลาส่วนหนึ่งสำหรับเรื่องนั้น เราก็ไปทำตามหน้าที่ เมื่อเสร็จงานในชีวิตอยู่ประจำวันแล้ว เราก็ไม่มีอะไรจะทำ บางที จิตมันจะฟุ้งซ่าน ชอบไปในทางเหลวไหล เช่นว่า ไปเที่ยว ไปดื่ม ไปสนุก คบเพื่อน สรวลเสเฮฮา เป็นการทำลายอะไรๆ ของตัวให้เสียหาย เช่น ทำลายเวลา ทำลายทรัพย์สมบัติ ทำลายเกียรติคุณชื่อเสียงให้เลวลงไป เพราะไปประพฤติอย่างนั้น การประพฤติในรูปอย่างนั้น ชาวบ้านเขาเรียกว่า เป็นการผ่อนคลายอารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การผ่อนคลายอารมณ์ที่หย่อนเกินไปมันเสียหาย ในทางศาสนาจึงหาวิธีผ่อนคลาย ไม่ให้ถึงกับเสียหายมากเกินไป เพราะถ้าเราผ่อนคลายอารมณ์ด้วยวิธีกินเล่นสนุกสนานก็จะกลายเป็นนิสัย ที่เราอ่านเมื่อวาน ว่า ราคานุสัย อะไรต่างๆ มันเป็นกิเลสเพิ่มพูนขึ้นในใจ เพราะการกระทำในรูปอย่างนั้นบ่อยๆ ดื่มบ่อยๆ เที่ยวบ่อยๆ สนุกบ่อยๆ มันก็เพิ่มอนุสัย คือเปลี่ยนชีวิตจิตใจเป็นในทางสกปรกโสมมมากขึ้นทุกวันเวลา ชีวิตจะตกต่ำเสียหาย

ขอให้เราสังเกตดูคนบางคนที่เลิกงานแล้ว ชอบสนุก ชอบเที่ยว ชอบเล่น ไม่เท่าใดก็เสียคน เริ่มต้นด้วยเงินไม่พอใช้ แล้วเกิดปัญหาวุ่นวายใจ หากทำงานเกี่ยวกับการเงินการทอง มักจะบกพร่องในหน้าที่ เลยหยิบเอาเงินของหลวงไปใช้ก่อน หรือเอาเงินของบริษัทที่เราทำงานไปใช้ก่อน นึกว่าสิ้นเดือนแล้วค่อยเอามาคืนให้ ทำไปบ่อยๆ นานๆ เข้า ชั้นแรกไม่มีใครว่าอะไร จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพราะนึกว่าตัวเก่งก็เลยทำบ่อยๆ ผลที่สุดก็เคราะห์กรรมมาถึงตัวเข้า เขามาตรวจบัญชี เงินมันขาดหายไป ก็เลยต้องถูกติดคุกติดตะราง ออกจากงาน ชีวิตหดสั้น ไม่มีอนาคตต่อไป อันนี้ เป็นเรื่องน่าเสียดาย เสียดายวิชาความรู้ความสามารถที่ตนมีตนได้ไว้ แล้วมันไปหดสั้นเสีย เพราะเพิ่มพูนนิสัยชั่ว ไม่เพิ่มพูนสติ ไม่เพิ่มพูนปัญญาเกิดขึ้นในใจ ไปเพิ่มความวุ่นวาย ไปเพิ่มความสกปรกโสมมขึ้นในใจของตัว จิตใจองตัวก็เกิดความเสียหาย อันนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เป็นอันตรายสำหรับชีวิตโดยทั่วไป

เพราะฉะนั้น จึงควรจะได้ระมัดระวังในเรื่องอย่างนี้ หาเรื่องให้ใจได้คิดได้นึกในทางที่ถูกที่ชอบไว้บ้าง ในเวลาใดที่จิตของเราคิดเรื่องไม่ดี เรียกว่าหลงใหลมัวเมาในเรื่องซึ่งก่อให้เกิดกิเลส เป็นการสะสมกิเลสให้เกิดขึ้นในใจของเรา เราก็ควรจะเปลี่ยนแนวคิดทันที คือคิดไปในแนวที่จะป้องกันไม่ให้กิเลสเหล่านั้นเกิดขึ้นในใจ ไม่ให้มันมานอนอยู่ในใจ แล้วเพาะเชื้อเพิ่มพูนขึ้นในใจของเรา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะทำได้ในรูปดังกล่าวนั้น ก็ต้องใช้หลัก อนุสสติ ๑๐ ประการ เป็นเครื่องช่วย เป็นการให้จิตใจได้คิดได้ทำ

อนุสสติ ๑๐ ประการ นั้น มีอะไรบ้าง ? คือ

๑. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระธรรม

๓.สังฆานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๔. สีลานุสสติ - ระลึกถึงคุณของศีลที่ตนได้รักษา

๕.จาคานุสสติ - ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว

๖. เทวตานุสสติ - ระลึกถึง คุณ ที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา

๗. มรณัสสติ - ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน

๘. กายคตสติ - ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียดโสโครก

๙. อานาปานสติ - ตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

๑๐. อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การที่จะทำได้ในรูปดังกล่าวนั้น ก็ต้องใช้หลัก อนุสสติ ๑๐ ประการ เป็นเครื่องช่วย เป็นการให้จิตใจได้คิดได้ทำ

อนุสสติ ๑๐ ประการ นั้น มีอะไรบ้าง ? คือ

๑. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระธรรม

๓.สังฆานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๔. สีลานุสสติ - ระลึกถึงคุณของศีลที่ตนได้รักษา

๕.จาคานุสสติ - ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว

๖. เทวตานุสสติ - ระลึกถึง คุณ ที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา

๗. มรณัสสติ - ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน

๘. กายคตสติ - ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียดโสโครก

๙. อานาปานสติ - ตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

๑๐. อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์




คนที่จะศึกษา

แต่ขาดการศึกษาพระวินัย ที่เป็นอธิศีลสิกขา
ขาดการศึกษาพระสูตร ที่เป็นอธิจิตตสิขา
ขาดการศึกษาพระอภิธรรม ที่เป็นอธิปัญญาสิขา

จะไม่สามารถเข้าถึงปรมัตถ์ธรรม ตามพระวจนะได้ค่ะ
ไม่อาจทำอนุสติที่บริบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ได้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การที่จะทำได้ในรูปดังกล่าวนั้น ก็ต้องใช้หลัก อนุสสติ ๑๐ ประการ เป็นเครื่องช่วย เป็นการให้จิตใจได้คิดได้ทำ

อนุสสติ ๑๐ ประการ นั้น มีอะไรบ้าง ? คือ

๑. พุทธานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระธรรม

๓.สังฆานุสสติ - ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๔. สีลานุสสติ - ระลึกถึงคุณของศีลที่ตนได้รักษา

๕.จาคานุสสติ - ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว

๖. เทวตานุสสติ - ระลึกถึง คุณ ที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา

๗. มรณัสสติ - ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน

๘. กายคตสติ - ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียดโสโครก

๙. อานาปานสติ - ตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก

๑๐. อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์




คนที่จะศึกษา

แต่ขาดการศึกษาพระวินัย ที่เป็นอธิศีลสิกขา
ขาดการศึกษาพระสูตร ที่เป็นอธิจิตตสิขา
ขาดการศึกษาพระอภิธรรม ที่เป็นอธิปัญญาสิขา

จะไม่สามารถเข้าถึงปรมัตถ์ธรรม ตามพระวจนะได้ค่ะ
ไม่อาจทำอนุสติที่บริบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ได้ค่ะ



ถ้ายังงั้นทำยังไง จึงอนุสสติเต็มร้อยเอ้า ไหนว่าไปสิ เอ้า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ทั้ง ๑๐ ประการนี้ ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ เป็นเรื่องควรคิดควรนึก เพื่อสร้างความก้าวหน้า สร้างความสงบ สร้างความสะอาด สร้างความสว่าง ให้เกิดในใจของเรา จึงควรจะได้ศึกษาเรื่องนี้ไว้

๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณมากมายหลายประการ ที่เราสวดอยู่นั่นแหละ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ดังได้อธิบายมาแล้ว เราก็น้อมเอาพระคุณเหล่านั้นมานึกคิด เอาพระคุณบทใดบทหนึ่งมาคิดก็ได้ นึกให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี่ทรงเป็นอะไร อย่างไร ให้ประโยชน์อย่างไรแก่เรา เอามานึกมาคิด เช่นว่า อะระหัง หมายความว่า เป็นผู้ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ สิ้นเชิง เป็นผู้บริสุทธิ์ เราก็มานั่งนึกตรึกตรองว่า พระองค์บริสุทธิ์อย่างไร น้ำพระทัยของพระพุทธเจ้า กับ น้ำใจของคนเราแตกต่างอย่างไรบ้าง มองให้เห็นความแตกต่างระหว่างจิตของปุถุชน กับ จิตของพระอรหันต์ ว่ามีความแตกต่างกัน

จิตของพระอรหันต์ นั้น สะอาด สว่าง สงบ จิตของปุถุชน นั้น สกปรก วุ่นวาย มืดมัว แตกต่างกัน

ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้มีน้ำพระทัย สะอาด สว่าง สงบ ? ก็เพราะพระองค์ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง
สิ่งทั้งหลายที่พระองค์รู้แจ้งนั้นได้แก่อะไร ? ก็ได้แก่ สรรพสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่า รูป นาม พระองค์เห็นชัดในนามรูปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นของตัว ของตน ของเรา ของเขา ดังนี้ น้ำพระทัยจึงสะอาด สว่าง สงบ ไม่มีความทุกข์ต่อไป
เราจะไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่ ? ถามตัวเราเอง ก็ตอบได้ว่า ถ้าเราปฏิบัติเราก็ถึงได้ แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติเราก็ไม่ถึง เพราะคำสอนหรือข้อปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็น อกาลิโก ให้ผลไม่จำกัดเวลา ศึกษาเมื่อไรก็ได้ ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้ ผลย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติเสมอ

เรามานึกถึงตัวเราเวลานี้ เราเรียกตัวเองว่าเป็นพุทธบริษัท เราได้เข้าถึงพระพุทธเจ้าขนาดไหน พระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเราสักเท่าไร เราลองพิจารณา มองดูด้านใน คือ มองดูความคิดของเรา ดูจิตของเรา ว่าเรามีพระพุทธเจ้าอยู่ในจิตของเราหรือเปล่า ถ้ารู้ตัวว่าบกพร่อง ไม่ไหว ไม่มีพระพุทธเจ้าอยู่ในใจบ่อยเหลือเกิน และเมื่อไม่มีพระพุทธเจ้านั้นเราทำอะไร เป็นอย่างไร เป็นทุกข์ เป็นสุข เป็นความเสื่อม เป็นความเจริญอะไรอย่างใด พิจารณาไป ก็จะมองเห็นว่าความจริงนั้นมันเป็นอย่างไร
เมื่อขาดพระพุทธเจ้านี่ มันมืดบอดขนาดไหน มีพระพุทธเจ้าสว่างขนาดไหน เราก็มองเห็นด้วยปัญญา เมื่อมองเห็นด้วยปัญญาเช่นนั้นแล้ว เราก็ควรจะสร้างเสริมเพิ่มพูนองค์พระให้เกิดขึ้นในใจของเรา ทำใจเราให้เป็นพุทธได้มากยิ่งขึ้น ให้ใกล้พระพุทธเจ้ามากเข้าไป มากเข้าไป ทุกเวลานาทีของความเป็นอยู่ในชีวิต อย่างนี้ เรียกว่า เราคิดถึงแล้ว เราก็เข้าไปหา

คิดถึงพระพุทธเจ้าแล้วต้องเข้าไปหา ไม่ต้องเดินไกล ๘,๔๐๐ โยชน์ อยู่ใกล้นิดเดียว อยู่ในตัวเราแล้ว อยู่ในจิตของเราแล้ว แต่ที่ไม่ปรากฏออกมาเพราะมี ราคะ โทสะ โมหะ หรือกิเลสประเภทใดประเภทหนึ่งเข้ามาวุ่นวาย เหมือนเปลือกไข่หุ้มตัวลูกไก่ไว้ พอลูกไก่มันเจริญงอกงามดี มันก็เจาะกระเปาะออกมาเป็นตัวไก่อยู่ในโลกต่อไป ความเป็นพุทธะมันก็อยู่ในใจของเราแล้ว อยู่ในตัวเราแล้ว แต่ว่าเราไม่ค่อยจะได้ขูดเกลาเอาสิ่งที่ปิดบังออก ไม่ทำลายกระเปาะ ปอกกิเลสอวิชชากิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นออก ใจเราก็เหมือนกับว่าไม่มีพระ อยู่ห่างพระเหลือเกิน การอยู่ห่างพระเป็นทุกข์ การอยู่ใกล้พระเป็นความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น เราต้องขยับใจของเราให้เลื่อนชั้นสูงขึ้นๆ จนไปนั่งอยู่กับพระพุทธเจ้า เรียกว่า เข้าถึงพระพุทธเจ้า อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้า ที่ในศาสนาอื่นเขาว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่ร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า
ถ้าว่าไปคุยกับพวกนับถือศาสนาแบบนั้น ถ้าเป็นเด็กๆก็โง่ มันว่าต้องตายก่อนแล้วจึงจะไปพบพระผู้เป็นเจ้า นี่คือว่าไม่เข้าใจธรรมะ ถ้าเข้าใจธรรมะ ก็ไม่ใช่ตายอย่างนั้น

ตาย” หมายความว่า กิเลสมันตายไป ความโลภตายไป ความโกรธตายไป ความหลงตายไป ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนตายไป ตายไปแล้วเราก็ได้อยู่ร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า ถ้าพูดตามแบบพุทธมันต้องอย่างนั้น
แต่ว่าพวกคริสต์เตียน อิสลาม เขายิ่งฟังไม่รู้เรื่องใหญ่ เพราะว่าเขาไม่ได้ศึกษาธรรมะที่ถูกอย่างนั้น เขาเรียนรู้ในเรื่องตัวบุคคล พระผู้เป็นเจ้าอยู่ในสวรรค์ นั่งอยู่บนพระแท่นบัลลังก์ แล้วก็ลูกศิษย์คือพระเยซู ตายแล้วไปประทับอยู่เบื้องขวาพระผู้เป็นเจ้า เขาว่าอย่างนั้น มันเป็นการมองไปในรูปเนื้อหนัง รูปบุคคล

แต่ในพระพุทธศาสนาเรานั้น เรามองไปในแง่ธรรมะ ไม่ได้มองเป็นตัวตน แต่มองเป็นตัวธรรม มองเป็นตัวธรรมะ ก็หมายความว่า ต้องตายเสียก่อน ตายเสียก่อน ก็หมายความความว่า ไม่มีตัวตน ความยึดมั่นมันตายไป พอความยึดมั่นถือมั่นตายไป เราก็ได้อยู่กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเรา
เพราะฉะนั้น จึงพูดว่าตายแล้วเราอยู่กับพระพุทธเจ้าก็ได้ แต่ไม่ใช่ตายหมดลมหายใจ ตายจากความเป็นคนมีกิเลส เกิดเป็นคนไม่มีกิเลสก็ได้อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้า ให้เข้าใจไปในรูปอย่างนั้น จึงจะเป็นการชอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอนึกถึงพระพุทธเจ้าต้องนึกบ่อยๆ เวลาใดเกียจคร้านก็นึกถึง พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีปกติว่องไว ทรงใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เรานึกถึงความเป็นมาของพระพุทธเจ้า แล้วก็จะเกิดความกระตือรือร้นในการที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ของเรา มันก็ช่วยให้เกิดความกระฉับกระเฉงขึ้น
เวลาใดเราคิดไม่ดี แต่ว่าต้องรู้ตัวคือต้องมีสติรู้ รู้ตัวทันทีว่าเรานี่ไม่ไหวแล้ว พอรู้แล้วต้องตวาดตัวเอง ตวาดว่าแกมันโง่ บ้าไม่เข้าเรื่อง ดุตัวเองเสียบ้าง อย่าเที่ยวไปดุคนอื่น เดี๋ยวเขาชกปากเอา


เพราะฉะนั้น เราหัดดุตัวเองดีกว่า ว่าแกนี่โง่จริง คิดอะไรก็ไม่รู้ เรื่องบ้าๆบอๆ หลงใหลมัวเมาไม่เข้าเรื่อง ไม่สมกับที่เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเสียเลย พอดุเข้ามันชักคิดขึ้นมาแล้ว หมายความว่า เรารู้สึกตัว พอรู้สึกตัวเราก็ดุเข้าบ้าง ดุให้มันเจ็บๆ
หลวงพ่อองค์หนึ่ง ท่านพูดว่า ไอ้เต่า ว่าตัวท่านเอง ว่า ไอ้เต่า เองขึ้นมาอีกแล้วรึ หมายความว่า มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นในใจแล้ว ก็เลยบอกว่า ไอ้เต่า เอ็งอยู่ในรูดีๆ ขึ้นมาอีกแล้วรึ ท่านว่าตัวท่านบ่อยๆ ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง หลวงพ่อนี่อะไร ด่าไอ้เต่าทุกที ไอ้เต่าน่ะผีหรืออะไรก็ไม่รู้ กลับเข้าใจว่าหลวงพ่อเลี้ยงผีเอาไว้ แล้วก็ดุมัน ไอ้ผีมันหลบอยู่ในรู อยากออกมาเพ่นพ่าน
ความจริงไม่ใช่ ท่านดุตัวท่านเอง เวลาเกิดความไม่ดี ท่านดุว่าไอ้เต่า เหมือนเขาว่า “เต่าน้อยล่อยล่องชล” เต่ามันลอยอยู่ริมทะเล นานๆผุดขึ้นมาที แล้วจมหายลงไป เดี๋ยวก็ผุดขึ้นมาอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2018, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสมันก็อย่างนั้น โผล่ขึ้นมา โผล่ขึ้นมาแล้วก็ผลุบลงไปอีก ไม่ได้เรื่อง ได้แต่ดุว่าไอ้เต่าเองมาอีกแล้ว แล้วก็นั่งเฉยๆ
เราก็เหมือนกัน ดุมันไว้ ถ้าจิตมันไม่ดี คิดจะไปเล่นไปเที่ยวไปสนุก ไปหาเรื่องอะไร เราก็ดุว่าบ้าไม่เข้าเรื่อง คิดอย่างนั้นมันถูกต้องแล้วหรือ ไม่ได้คิดแบบมนุษย์ ไม่ได้คิดแบบพุทธบริษัทเลย ไม่ได้คิดแบบบุคคลที่บวชแล้ว นี่มาคิดแบบบุคคลโง่ๆ ว่ามันอย่างนั้น ดุบ่อยๆ ทำให้จิตใจเราดีเหมือนกัน เพราะเรารู้ตัวว่าเรามันชักจะบ้า พอถูกว่าไอ้โง่ไอ้งั่ว ว่าบ่อยๆ ก็พอสำนึกได้ พอสำนึกได้ เราก็คิดถึงพระพุทธเจ้าในแง่ใดแง่หนึ่งก็ได้ ตั้ง ๙ อย่าง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน ฯลฯ เอามาคิดนึกตรึตรองแล้วเราเดินตามทางนั้น ก็เรียกว่า นึกถึงพระพุทธเจ้า เดินตามพระพุทธเจ้า นี่แหละ เรียกว่า เห็นแท้ๆ เห็นพระพุทธเจ้าแท้ๆ คือเห็นคุณธรรมนั้นเอง เรียกว่าเห็นพระพุทธเจ้า

ถ้าไม่เห็นคุณธรรมแล้วไม่เห็นพระพุทธเจ้า แม้ไปพบแล้วก็ยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าคือใคร บางที ต่อได้เห็นธรรมแล้วจึงได้เห็นรู้จักพระพุทธเจ้า เหมือนกับปุกกุสาติ นักบวชชื่อปุกกุสาติ เดินทางเข้าไปพบพระพุทธเจ้า แกจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า บวชแล้วจะไปพบพระพุทธเจ้า ไปพบที่บ้านช่างหม้อ พระพุทธเจ้าประทับที่โรงปั้นหม้อ แกเข้าไปอย่างเรียบร้อย ท่าทางดี
พระพุทธเจ้า เห็นเข้าก็ชวนสนทนาด้วย ถามว่า ดูท่าทางของท่านก็เรียบร้อย ท่านบวชอุทิศให้กับใคร ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านประพฤติธรรมะของผู้ใด

ปุกกุสาติก็บอกว่า ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระสมณโคดม ผู้ออกบวชจากศากยสกุล เราชอบใจในธรรมของท่านผู้นั้น เราจึงประพฤติตามธรรมของท่านผู้นั้น เวลานี้เราเดินทางเพื่อไปหาพระพุทธเจ้า เจอแล้วยังไม่รู้

พระองค์ถามว่า เคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือเปล่า? ตอบว่า ยังไม่เคยเห็น แล้วถ้าไปพบท่านจะรู้ไหมว่าเป็นพระพุทธเจ้า ตอบว่า ถ้าไม่มีใครบอกก็คงไม่รู้ แล้วก็ชวนคุย พระองค์ก็เทศน์ให้ฟัง เทศน์ไป เทศน์ไปก็ได้ ดวงตาเห็นธรรม เรียกว่า บรรลุคุณธรรม ก็เลยขอบวชในพระพุทธศาสนา บวชเป็นพระ ก่อนนี้เป็นนักบวชแล้ว แต่ไม่ใช่นักบวชที่เรียกว่า ภิกษุ เป็นนักบวชแบบอื่น
พระองค์ก็ตรัสถามว่า เรามีผ้ามีบาตรไหม ? บอกว่ายังไม่มี เอ้าต้องไปหาผ้าหาบาตรก่อน จึงจะมาบวชได้ ท่านก็ลาไป ไปหาบาตรหาจีวร แต่ว่าเดินไปเจอวัวดุเข้าตัวหนึ่ง มันชนเอาตายเลย นิพพานไปเรียกว่าดับกิเลสหมด บรรลุอรหัตผลแล้ว
นี่แสดงว่าไปเจอแล้วยังไม่รู้จัก เห็นรูปร่างหน้าตาแล้วยังไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า แต่มารู้จักจริงๆ ก็คือรู้ธรรมะ เข้าถึงธรรมะ จึงรู้ว่าพบพระพุทธเจ้าโดยธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2018, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยนี้ เราจะถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นเนื้อหนังร่างกายไม่ไหว ไม่มีโอกาส เราถึงพระพุทธเจ้าโดยธรรมะ เช่น ว่าเราทำใจให้มีคุณธรรมของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น เช่น มีความกรุณา มีปัญญา มีความบริสุทธิ์ อย่างนี้ ก็เรียกว่า เราอยู่กับพระ เรามีความสุขปลอดภัย โดยอาศัยพระพุทธองค์ที่ปรากฏอยู่ในใจ ที่เขาพูดๆกันว่าอานุภาพพระพุทธเจ้าคุ้มครองนั้น มันเป็น ๒ แบบ แบบเด็ก กับ แบบผู้ใหญ่

แบบเด็กนั้นอาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งนั้น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ อะไรต่างๆ แล้วก็ไปกราบไปไหว้ ขออานุภาพให้คุ้มครอง อย่างนั้น เรียกว่า ขอความคุ้มครองแบบเด็ก ไม่ใช่ขอความคุ้มครองแบบปัญญาชนคนผู้ใหญ่ คนไปไหว้แบบเด็กนั้นมีมาก

ถ้าเป็นแบบปัญญาชนไม่ได้ขอแบบนั้น เราจะให้พระพุทธเจ้าคุ้มครองเรา เราต้องประพฤติธรรม เมื่อเราประพฤติธรรม ธรรมนั้นแหละคุ้มครองเรา ธัมโม หะเว รักขติ ธัมมะจาริง - ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ - บุคคลที่สะสมคุณธรรม คือ ความดีไว้ ย่อมมีสุขทุกเมื่อ. นี้เรียกว่า อานุภาพรักษาจริง รักษาตรงที่มีธรรมะ
เพราะฉะนั้น เราจะต้องเชิญพระพุทธเจ้ามาใส่ไว้ในใจ คือทำใจให้มีคุณธรรม เช่นว่า มีใจประกอบด้วยความกรุณา สงสารเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย มีน้ำใจปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย นี่เป็นพระดี

เราทำใจให้มีปัญญา รู้เหตุผลต้นปลายของเราอะไรต่างๆ ด้วยความไม่โง่เขลา ทำด้วยปัญญา ด้วยการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เอาหลักธรรมะเข้ามาเป็นเครื่องประกอบการพิจารณา ก็เรียกว่า เรามีพระปัญญา
แล้วเราทำใจของเราให้บริสุทธิ์เท่าที่จะทำได้ตามลำดับขั้น บริสุทธิ์ขึ้นไปตามฐานะ บริสุทธิ์อย่างคนมีศีล บริสุทธิ์อย่างคนมีสมาธิ บริสุทธิ์อย่างคนมีปัญญา มันสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า เรามีพระ คือ บริสุทธิ์

ขณะใดจิตเราบริสุทธิ์ เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขณะใดเรามีจิตมืดมัว เราไม่มีพระประจำจิตใจ เมื่อไม่มีพระประจำจิตใจ มันก็วุ่นวายสร้างปัญหา.

นี่การเข้าถึงพระต้องเข้าถึงอย่างนี้ ถึงแบบผู้ใหญ่ เราไปไหว้ก็ไหว้ตามธรรมดา เช่น เราเข้าไปในโบสถ์ หลวงพ่อพุทธชินราช เราไปกราบไหว้ตามธรรมดา ไปนั่งฝึกจิตใจนั้นก็ได้ นั่งหลับตาเพ่งพระพุทธรูปเอาเป็นนิมิต ทำจิตให้เป็นสมาธิ สร้างคุณธรรมให้เกิดในใจของเรา ก็เรียกว่า เราเข้าถึงพระพุทธเจ้าโดยเนื้อแท้ เข้าถึงพระธรรม พระสงฆ์ โดยเนื้อแท้ อย่างนี้ เป็นการเอาอานุภาพที่ถูกต้องมาคุ้มครองตัวเอง ย่อมปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง
ภัยที่ปลอดภัยแน่ๆ ก็คือ ปลอดจากกิเลสรุกราน กิเลสไม่รุกราน ถ้าเรามีคุณธรรมในใจ เมื่อไม่ถูกกิเลสรุกราน ก็ปลอดภัยหมดทุกแง่ทุกมุม
พุทธานุสสติ มุ่งไปในรูปอย่างนั้น เราควรจะอ่านเรื่องพุทธประวัติให้เข้าใจชัดเจน ให้รู้จักพระองค์อย่างถูกต้อง แล้วเอามาคิดนึกตรึกตรองได้ง่าย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม การคุ้มครองของพระธรรม อันนี้ หมายความว่า ธรรมะอันเป็นข้อปฏิบัติ และธรรมะอันเป็นผลจากการปฏิบัติ เรามานั่งนึก นั่งพิจารณาว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ดีอย่างไร
คิดถึงศีลว่าดีอย่างไร คิดถึงสมาธิว่าดีอย่างไร คิดถึงปัญญาว่าดีอย่างไร
คิดต่อไปว่า พระธรรมให้ความคุ้มครองแก่เราอย่างไร

คนเราที่ได้อยู่ด้วยกันด้วยความสุขความสงบนี่เป็นเพราะอะไร ก็เพราะพระธรรม ธรรมะคุ้มครองรักษา ถ้าไม่มีธรรมะแล้ววุ่นวาย จะยุ่งมากกว่านี้
คิดไปนึกไปก็จะเห็นคุณค่าของธรรมะว่าเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่แท้จริง ให้ความสงบสุขแก่ชีวิตของเราจริงๆ ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการที่จะประพฤติธรรม ทำให้เรารักธรรมมาก ความรักที่ถูกต้องนี่เป็นความรักที่สูงสุด รักอื่นมันยุ่งทั้งนั้น รักผู้หญิงยิงเรืออะไรต่ออะไรมันยุ่งไปหมด เขาเรียกว่ารักด้วยกิเลส อันมีราคะ ปฏิฆะ อวิชชาเข้ามาครอบงำจิตใจ มันยุ่ง แต่ว่ารักธรรมะมันไม่ยุ่ง

ผู้ที่รักธรรมะ ย่อมเดินตามธรรมะ เมื่อเดินตามธรรมะก็เรียกว่าปลอดภัย ชีวิตปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง

เรานั่งคิดนึกถึงธรรมะเหล่านี้ แล้วก็ดูตัวเราว่า เรามีธรรมะหรือเปล่า เรามีอะไรอยู่ในตัวบ้าง เรามีความละอายไหม เรามีความกลัวความชั่วร้ายไหม กลัวบาปกลัวกรรมไหม มีความอดทนไหม มีความสงบเสงี่ยมไหม มีความเมตตาปรานีไหม มีความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ไหม เรามีสติมีปัญญาไหม ควบคุมตัวเองได้ไหม
หมายความว่า เราคิดถึงธรรมะ เอาธรรมะมาเป็นกระจกส่องให้เห็นว่าเรานี่มีอะไรบกพร่อง แล้วจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ถ้าเราไม่เอาธรรมะเข้ามาใช้นั่งเพ่งพินิจแล้วเอามาส่องดูตัวเรา เราก็ไม่รู้จักตัวเรา ไม่รู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเรา ไม่รู้เหตุของสิ่งนั้น แล้วไม่รู้ว่าจะแก้ไขสิ่งนั้นอย่างไร ยุ่ง. ปัญหามาก เพราะเรื่องไม่รู้ทั้งหลายนี้มันมารวมอยู่ในตัวเราทั้งหมด มันเป็นยอดของความไม่รู้ เลยเกิดความเสียหาย
ให้นึกว่าเรากับธรรมะนั้นต้องอยู่ด้วยกันทุกเวลานาที ตื่นเช้าก็นึกถึงธรรมะ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์



แล้วเราควรอธิษฐานใจ อธิษฐานธรรม ๔ อย่าง คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ ที่เราเรียนมาในหมวด ๔ แล้ว เราก็ใช้หลักอธิษฐานใจว่า

๑) วันนี้ เราจะอยู่กับธรรมะ คือปัญญา เราจะอยู่อย่างคนมีเหตุผล ไม่อยู่อย่างคนงมงาย อยู่อย่างรู้เท่าทันต่อสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรๆ มันเกิดที่นี่ เพราะฉะนั้น เราจะอยู่อย่างผู้มีปัญญา มองสิ่งทั้งหลายที่เข้ามากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เห็นชัดตามสภาพที่เป็นจริง อย่างนี้ เรียกว่า อธิษฐานใจ ว่าจะอยู่ด้วยปัญญา

๒) อธิษฐานใจว่า เราจะมีสัจจะ สัจจาธิษฐาน หมายความว่า เราจะเป็นคนจริง จริงในการปฏิบัติธรรมะ ไม่เป็นคนโลเลเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ให้ถือว่าเรื่องธรรมะไม่ใช่เรื่องเล่น แต่เป็นเรื่องจริง ทำเล่นไม่ได้ ทำเล่นกับธรรมะแล้วชีวิตย่อยยับ ต้องทำจริง มีสัจจะ ตั้งใจอย่างใดแล้วต้องรักษาสัจจะ ทำสิ่งนั้นจริงๆ ไม่โลเล

๓) แล้วเราก็คิดว่า เราจะอยู่ด้วยความเสียสละ คือมีจาคะ จาคาธิษฐาน หมายความว่า อยู่ด้วยความเสียสละเพื่อประโยชน์แก่มหาชน เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ถ้าต่างคนต่างอธิษฐานว่า เราจะอยู่ด้วยความเสียสละต่อกัน มันก็ไม่ลักกัน ไม่ขโมยกัน ไม่เอาเปรียบกัน ไม่ทำอะไรกันแล้ว เพราะอธิษฐานใจว่าจะอยู่เพื่อเสียสละ แล้วมันจะเอาได้อย่างไร ไอ้คนที่จะไปลัก ไปขโมย ไปทำชั่ว คิดจะเอาเรื่อย อธิษฐานเหมือนกัน อธิษฐานว่ากูจะเอา กูจะไปลัก กูจะไปล้วงกระเป๋า อธิษฐานในทางผิดเลยวุ่นวาย ใช้ไม่ได้ ต้องอธิษฐานในทางถูกไว้

๔) แล้วเราก็ต้อง อธิษฐานเพื่อปราบกิเลส คือมีอุปสมาธิษฐาน บอกตัวเองว่าเราจะไม่อยู่ใต้อำนาจกิเลส เราจะอยู่เหนือเหตุผล กิเลสเป็นทาสไม่ใช่เป็นนายเรา อย่างนี้ เรียกว่าเอาธรรมะมาเป็นหลักไว้ในใจเรา เข้าถึงธรรมะด้วยการศึกษา ด้วยการปฏิบัติ แล้วจิตเราก็จะได้อยู่ดับธรรมะ



ธรรมะเป็นแกนกลาง เหมือนนิ้ว ๓ นิ้ว นิ้วนี้เหมือนพระพุทธ นิ้วนี้เหมือนพระธรรม นิ้วนี้เหมือนพระสงฆ์ ตัวธรรมะนี่สูงเหมือนกับนิ้วกลาง พระพุทธเหมือนกับนิ้วชี้ พระสงฆ์เหมือนกับนิ้วนาง
ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้ว ก็มีพระพุทธด้วย มีพระสงฆ์ด้วย เข้าถึงหมด
ไม่มีพระธรรมแล้วขาดหมด ไม่มีพระพุทธ ไม่มีพระสงฆ์ เพราะขาดธรรมะ ธรรมะจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้น ที่เราสวดมนต์ว่า เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน พระพุทธเจ้าในอดีต พระพุทธเจ้าในอนาคต และพระพุทธเจ้าที่ทำลายความโศกของมหาชนให้พินาศในปัจจุบัน สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงนั้นเคารพพระธรรม บุชาธรรมะ พระพุทธเจ้าท่านเชิดชูธรรมะ ต้องเอาธรรมะมาพิจารณาบ่อยๆ


การพิจารณาถึงธรรมะ พิจารณาบทใดก็ได้ เช่น เอาธรรมะเรื่องศีลมานั่งพิจารณา เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา อะไรก็ตามที่เป็นหลักคำสอนมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แล้วก็พิจารณาถึงการปฏิบัติ พิจารณาว่ามันมีผลอะไรเกิดขึ้นแก่เรา ตั้งแต่เราเข้าหาธรรมะนี่ดีขึ้นบ้างไหม เหมือนเก่าไหม อะไรๆเก่าๆ ยังมีอยู่ในตัวไหม ขูดๆ เกลาๆ แล้วได้อะไรบ้าง คอยพิจารณาอย่างนี้ ก็เรียกว่าเข้าถึงพระธรรม เอาพระธรรมมาเป็นกระจกส่องดูตัวเอง จะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2018, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรก “ธัมมานุสสติ” หน่อย คือ ไปเห็นที่กบนอกกะลา สนทนาเรื่อง “ธรรมะจัดสรร” กัน ที่

http://larndham.org/index.php?/topic/44 ... ge__st__20

กบตั้งคำถามที่ # 24 ว่า

อ้างคำพูด:
คุณ sss เชื่อเรื่องธรรมะจัดสรร...มั้ยครับ?

# 25
อ้างคำพูด:
หากจำไม่ผิดที่ผมอ่านพระไตรปิฏกผ่านๆมายังไม่เคยเจอคำนี้นะครับ รบกวนคุณกบ ช่วยขยายความให้ทีครับ

# 26
อ้างคำพูด:
ติดใว้ก่อนนะครับ


ไม่ใช่อะไรดอก ไปเห็นแล้วนึกถึงตัวเอง ว่าครั้งหนึ่งสนทนากับ สมช. สุภาพสตรีบอร์ดหนึ่ง คุยไปคุยมา เค้าก็ว่า “ธรรมะจัดสรร” เนี่ยแหละ
เราก็ถามว่า ธรรมะจัดสรรเป็นยังไง เหมือนบ้านจัดสรรไหม ? เท่านั้นแหละ เป็นไง? ถูกด่าสิ (ประจำ) :b9: เค้าตอบว่าไงจำไม่ได้แล้ว

กบลองอ่าน ธัมมานุสสติ ดูดิ อาจได้ข้อคิด ธรรมะจัดสรร ไปตอบเค้าได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2018, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ พระสงฆ์นี้ มี ๒ แบบ แบบหนึ่ง เรียกว่า สมมติสงฆ์ อีกแบบหนึ่ง เรียกว่า อริยสงฆ์ ที่เราสวดสรรเสริญพระคุณนั่น เราสวดสรรเสริญพระคุณของพระอริยสงฆ์ พระอริยสงฆ์ก็มีตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไป จนถึงพระอรหันต์ เรียกว่าพระอริยสงฆ์

พระอริยสงฆ์ นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติสมควร พระสงฆ์มีลักษณะอย่างนั้น
ปฏิบัติ ๔ อย่าง แล้วก็เป็น อาหุเนยยะ ปาหุเนยยะ ทักขิเณยยะ อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นผู้ควรแก่การคำนับ เป็นผู้ควรที่จะถวายทาน เป็นนาบุญของโลก นั่นคือความดีของพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

เราเองแม้บวชแล้ว ก็ต้องถึงพระสงฆ์อีก. การถึงพระสงฆ์นั้นถึงด้วยอะไร ? ถึงได้ด้วยการให้ตนเป็นอย่างนี้ คือ ให้เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง ให้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออกจากทุกข์ ให้เป็นผู้ปฏิบัติสมควร

เราก็ต้องนึกว่าที่ปฏิบัติดีนั้นดีอย่างไร ปฏิบัติตรงอย่างไร ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์นั้น ทำอย่างไร มันจึงจะออกจากทุกข์ได้ แล้วทุกข์นี่มันไม่ดีอย่างไร จึงจะต้องออกจากมันไป ต้องทิ้งมันไป ต้องถอนมัน ต้องบรรเทามัน มันไม่ดีอย่างไร เราก็มองให้เห็น
แล้วก็เป็นผู้ปฏิบัติสมควรนี่ มันขนาดไหน ที่เรียกว่าสมควร หมายว่าพอดี สมควรคือพอดี ไม่ตึง ไม่หย่อน เรียกว่า พอดี แต่จะเอาขนาดไหนสำหรับพอดี เราต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน ถูกต้องในคุณของพระสงฆ์
ครั้นเมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว เอาคุณของพระสงฆ์มาประดับเข้าที่ตัวเรา คล้ายกับเราห่มจีวร เอาจีวรมาห่ม เท่ากับเอาคุณของพระอริยสงฆ์มาประดับที่กาย ประดับที่วาจา ประดับไว้ที่ใจของเรา คล้ายกายวาจาใจปกคลุมหุ้มห่อด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติให้เหมาะให้ควร เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของชาวโลกทั้งหลาย เป็นที่กราบไหว้ของประชาชนต่อไป อย่างนี้ เรียกว่า เรานึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์แบบหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2018, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแบบหนึ่ง หมายถึงพระสงฆ์ที่สืบศาสนามาโดยลำดับ ตั้งแต่โบราณมาจนถึงกาลบัดนี้ ท่านเหล่านั้นได้บวชได้เรียน ได้ปฏิบัติศาสนา ช่วยรักษาแสงสว่างของโลกให้สว่างต่อไป ท่านเหล่านี้มีบุญคุณต่อชาวโลกหรือไม่ เราก็จะมองเห็นว่ามีบุญคุณต่อชาวโลก เพราะได้ช่วยรักษาสิ่งดีสิ่งงามให้สืบทอดมาจนกระทั่งถึงพวกเรา

ถ้าหากว่าพระสงฆ์ในสมัยก่อนท่านไม่บวช ไม่เรียน ไม่ปฏิบัติ ไม่สั่งสอนแสงสว่างคือธรรมะก็หายไปดับไปแล้ว เมื่อธรรมะไม่มีเราจะอยู่กันได้อย่างไร มืดบอด อยู่กันอย่างคนมืดคนบอด ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่มีอะไรเป็นเครื่องนำทาง เหมือนคนตาบอดคลำช้างไม่รู้เรื่อง ก็เสียหาย

เพราะฉะนั้น ผู้ที่บวชมาเก่าๆ ก็ถือว่าเป็นผู้มีบุญคุณต่อพวกเราทั้งหลายที่ได้เข้ามาบวชในภายหลัง ได้รับแสงสว่างจากท่านเหล่านั้น ที่เป็นอุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์สืบต่อมา ล้วนแต่เป็นผู้เสียสละความสุขทางเนื้อทางหนัง เข้าไปหาความสุขทางด้านจิตใจ เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ของมหาชน จึงได้มีชีวิตเป็นนักบวชกระทั่งตาย แล้วก็ส่งตะเกียงให้ลูกศิษย์รักษาต่อไป บอกว่าเจ้าจงรักษาตะเกียงนี้ไว้ เติมน้ำมัน เช็ดหลอดให้มันสว่าง อย่าให้มันตกแตก อย่าให้มันเสียหาย อย่าให้ขโมยลักเอาไป ให้มันสว่างแก่ชาวโลกต่อไป ลูกศิษย์ผู้จงรักภักดีก็รักษาไว้ ลูกศิษย์คนไหนไม่จงรักภักดีก็ขายตะเกียงเสียเลย ศาสนาก็เสื่อม

เราได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์เพราะท่านเหล่านั้น นึกถึงบุญคุณของท่านเหล่านั้น แล้วเราควรจะทำอย่างไร ? เราควรจะปฏิบัติให้เหมือนกับท่านเหล่านั้นตามฐานะ สมมติว่า เราอยู่บ้านก็ปฏิบัติเป็นคนดีแบบชาวบ้าน เป็นกัลยาณชนเป็นคนดี
อยู่วัดก็ให้เป็นพระที่ดี อยู่อย่างคนดี คนงาม นึกไว้ในใจอย่างนั้น
พอเรานึกถึงพระสงฆ์ทั้งหลายแล้วก็อธิษฐานใจว่า เราจะเดินตามรอยเท้าของท่านเหล่านั้น เราจะอยู่อย่างกัลยาณปุถุชนคือคนดี คนเรียบร้อย อยู่ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ให้สมกับที่เราเกิดมาบนแผ่นดิน อย่างนี้ ก็ได้ประโยชน์ เรียกว่า เจริญสังฆานุสสติ ได้ประโยชน์เตือนใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2018, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน เราเป็นคนรักษาศีล นึกถึงศีลนี่นึกอย่างไร ? นึกว่ามีศีลกี่ข้อ นึกอย่างนี้ก่อน ระเบียบวินัยมีอะไรบ้าง ระเบียบภายในวัดมีอะไรบ้าง ? ระเบียบทั้งหลายนั้น ถือว่า เป็นศีลทั้งหมด ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ แล้วระเบียบวินัย กฎหมายที่เขาบัญญัติขึ้นเพื่อให้หมู่คณะอยู่กันเรียบร้อย ก็ถือว่าเป็นศีลเพื่อให้เกิดความปกติภาพ สิ่งนั้นเรียกว่าเป็นศีล เพราะศีลคือปกติ

ศีลกับหิน มันอันเดียวกัน คือศิลานั่นเอง ที่เขาเรียกว่าศิลา ศิลาก็นี่แหละ ศิลามันอยู่อย่างไร ? ไปดูก้อนหินที่ใต้ต้นไผ่ซิ เราไปนั่งทับมันบ่อยๆ นั่งตรงไหนก็เอามันมาเป็นครูเสียบ้าง นั่งบนก้อนหินก็เอาก้อนหินเป็นครูเสียบ้าง นั่งบนหญ้าก็เอาหญ้าเป็นครู นั่งบนดินก็เอาดินเป็นครู นั่งใต้ต้นไม้ก็เอาต้นไม้เป็นครู เป็นครูได้ทั้งนั้น คิดในแง่ธรรมะแล้วมันเป็นครูสอนเรา เราไปนั่งบนก้อนหิน ก้อนหินมันบ่นไหมว่าหนัก ไม่มีดอก มันไม่เบื่อดอก แล้วมันเฉย ปกติ ไม่หวั่นไหว ไม่โยก ไม่คลอน เพราะก้อนมันใหญ่ เราก็นึกว่านี่มันเป็นปกติ หินมันปกติอย่างนั้น แล้วใจเราทำให้เป็นคนใจหินเสียบ้างไม่ได้หรือ


ที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ เวลาเขามีงานวัด ถ้าเราไปเชียงใหม่เขามีงานปอยนั่น ให้สังเกตเถอะ เขาสร้างศาลไว้กลางวัด ไปสร้างศาลไว้กลางวัด
เขามีอะไร เขามีก้อนหนึ่ง หินเอามาจากแม่น้ำ เอามาวางไว้ในศาลก้อนหนึ่ง แล้วก็มีบาตรใบหนึ่ง มีจีวรไตรหนึ่งวางไว้ด้วย เขาเรียกว่าศาลอุปคุต จะทำงานทำการกันขอให้พระอุปคุตมารักษาหน่อย
ทีนี้ อุปคุตแปลว่าอะไร ? คนไม่มองในแง่ธรรมะ ก็ทำศาล เอาหินมาวางไว้อย่างนั้นแหละ แล้วก็จุดธูปเทียนไหว้หินไปตามเรื่อง มันไม่เกิดอะไร
หลวงพ่อไปอยู่เชียงใหม่ก็ไปดูว่า เออ คนโบราณนี่เขาสอนแบบปริศนา ไม่เรียกมาสอนว่าจงทำอย่างนั้น จงทำอย่างนี้ เขาทำปริศนาให้ดู คนมีปัญญาก็มองเห็น คนไม่มีปัญญาก็มองไม่เห็น

เขาเอาหินมาวางไว้นั้น ก็เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนใจว่า คนเราทุกคนที่มาทำงานกันต้องมีใจหนักแน่นประดุจแผ่นหิน อย่าใจน้อย อย่าโกรธง่าย อย่าใจเร็วด่วนได้

คนมันหลายคน หลายปาก หลายมือ หลายเท้า อย่าทำอะไรให้เกิดความวุ่นวาย ให้อยู่เหมือนหิน ให้ปกติ ให้หนักแน่น จุดหมายมันอยู่ตรงนั้น หินนั้น เอามาสอนให้คนเห็นว่า อ้อ หินเว้ย แล้วก็ทำใจให้เหมือนหิน ให้หนักแน่น อย่าเป็นคนประเภทไม้ผุ หรือเหมือนนุ่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร