วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวานได้พูดเกี่ยวกับเรื่องการบวช เพื่อให้รู้ว่าเรื่องของการบวชนั้นเป็นมาอย่างไร แล้วก็การบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะมีกี่อย่าง

(ความเป็นมาของการบวช http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=55114)

เมื่อเราได้บวชในพระศาสนาแล้ว เราก็ควรจะรู้จุดหมายของการที่เข้ามาบวชว่า การบวชนี้ทำเพื่ออะไร จะได้อะไรจากการกระทำนั้นบ้าง ซึ่งเขาเรียกกันว่า ได้อานิสงส์อย่างนั้น ได้อานิสงส์อย่างนี้


คำว่า “อานิสงส์” หมายถึงผลอันน่าชื่นใจที่เกิดขึ้นจากการกระทำ

เรากระทำอะไรแล้ว มีความสุขสดชื่นรื่นเริงในการกระทำนั้น และการกระทำนั้นต้องเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ด้วย
ถ้าเป็นเรื่องร้ายไม่มีประโยชน์ ก็ไม่เกิดอานิสงส์แก่ผู้กระทำ เพราะความรื่นเริงชื่นใจนั้นต้องเป็นไปในทางดี ถ้าเป็นไปในทางชั่ว ไม่เรียกว่าเป็นอานิสงส์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2018, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาก็เพื่อจะให้ได้ประโยชน์สุข ได้อานิสงส์จากการบวชที่พูดว่าได้สืบศาสนา จะได้เป็นญาติกับพระศาสนา จะได้โปรดพ่อแม่ให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ที่ได้พูดให้ฟังนิดหน่อยในวันที่เราได้บวชเข้ามา ในเวลานั้น พูดยาวๆไม่ไหว เวลาน้อย เอาไว้พูดกันอีกตอนบวชแล้ว

เพราะว่าศาสนาเป็นสิ่งมีประโยชน์แก่ชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ผู้ต้องการความสุขความเจริญ พวกมนุษย์ที่ไม่ต้องการความสุขความเจริญน่ะไม่ต้องพูดถึง แต่ว่าผู้ใดต้องการความสุขความเจริญในชีวิต ก็ต้องมีศาสนาเป็นหลักประจำใจ โดยเฉพาะเราคนไทยในเวลานี้ ส่วนมากก็เรียกว่ามีพุทธศาสนาเป็นหลักคุ้มครองจิตใจ ได้รับสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ

พระพุทธศาสนากับคนไทยนั้นแยกกันไม่ออกเสียแล้ว ใครๆเขาก็รู้กันทั่วโลกว่า คนไทยเป็นพุทธศาสนิกชน ถ้าเขาถามว่าเราชาติอะไร เขาจะไม่ถามว่านับถือศาสนาอะไร เพราะเขารู้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา เป็นเมืองเดียวที่ใช้พระพุทธศาสนาในทางราชการเป็นหลักใหญ่ มาตั้งแต่โบราณแล้ว

เราคนไทยได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาไม่ใช่น้อย รากฐานแห่งประเพณีวัฒนธรรม ความดีความงามทั้งหลายที่เกิดขึ้นในคนไทยนั้น ล้วนเกิดขึ้นมาจากพระพุทธศาสนา
ศิลปกรรมต่างๆมีอยู่ในประเทศไทย พอจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชาวต่างประเทศมาดูมาชมนั้น ก็ล้วนเป็นศิลปกรรมเกี่ยวเนื่องกับทางพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก แม้ในประเทศอินเดีย ถ้าพูดในแง่ของโบราณวัตถุ ก็เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก

ถ้าหากว่าไม่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประเทศอินเดียก็จะกลายเป็นเมืองที่ไม่น่าจะไปชมอะไร เพราะไม่มีโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องกับเรื่องอื่น นอกจากเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เมืองไทยเราก็เช่นกัน ชาวต่างประเทศได้มาดูชม ก็เพราะมีศิลปวัตถุทางพระพุทธศาสนา และศิลปวัตถุทางพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องน่าดูชม ทำให้เกิดความชื่นชม และบางทีก็เป็นเครื่องจูงใจให้หันมานับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจึงถือว่าเป็นสมบัติยิ่งใหญ่ประจำชาติบ้านเมืองของเรา สิ่งใดดีเราก็ควรช่วยกันทะนุถนอมรักษาไว้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่พวกเราเองต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2018, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาพระพุทธศาสนานั้น เราก็ทำได้โดยวิธี

๑. ศึกษาให้เข้าใจ

๒. ปฏิบัติตามสิ่งที่เราเข้าใจแล้ว

๓. ช่วยกันประกาศให้คนอื่นได้รับความรู้ความเข้าใจต่อไป


อันนี้ เป็นหลักการส่งเสริมสืบต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษานั้น เราจะศึกษาที่ไหนก็ได้, ความจริง แต่ว่าไม่เหมือนกับว่าได้เข้ามาศึกษาภายในวัด ไม่เหมือนกับได้มาบวชแล้วก็มาเรียน เพราะการเรียนที่บ้านไม่ติดต่อ อาจไม่มีที่ปรึกษา อ่านเอาเอง เรียนเอาเอง ไม่ค่อยจะดีเท่าใด

แต่ถ้าเรามาบวชที่วัด มีครูอาจารย์คอยเป็นพี่เลี้ยง แนะแนวทางให้แก่เรา และในการศึกษาเมื่อบวชนั้นไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาเพียงประการเดียว เราได้ปฏิบัติไปด้วยในตัว

การปฏิบัติดังนี้ เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสในวันที่จะเสด็จปรินิพพานคือ มีคนผู้รู้ข่าวนำดอกไม้มาบูชาพระองค์เป็นจำนวนมากกองใหญ่ทีเดียว

พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า ตถาคตยังไม่ชื่อว่าได้รับการบูชาด้วยดอกไม้กองโตขนาดนี้ แล้วพระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นแหละได้ชื่อว่า สักการะ เคารพนับถือบูชาตถาคต ด้วยการบูชาสูงสุด

การบูชาอย่างสูงสุดนั้น คือ การกระทำด้วยการปฏิบัติบูชา
การปฏิบัติบูชาก็คือ การทำจริงๆ ตามสิ่งที่เราได้เรียนมา

ตัวปฏิบัตินั้น เป็นตัวสืบพระศาสนาโดยแท้จริง การทำอย่างอื่นนั้นยังสืบได้เพียงเปลือกอยู่ แต่การปฏิบัติสืบไว้ได้อย่างลึกซึ้ง เพราะการปฏิบัติเป็นการสร้างพระรัตนตรัยให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ทำให้เข้าถึงพระอย่างแท้จริง
จิตใจปฏิบัติอยู่กับพระอย่างแท้จริง ศาสนาก็เจริญ

ความเจริญของศาสนานั้นวัดกันที่ความเป็นอยู่ของผู้ที่เคารพนับถือ

ขาดศีลธรรมประจำใจ ก็เรียกว่าศาสนาไม่เจริญ ความเจริญมันอยู่ตรงนี้ ความไม่เจริญก็อยู่ตรงที่ไม่มีอันนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2018, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น เรามาบวช ก็ชื่อว่าเข้ามาปฏิบัติ เข้ามาศึกษาไปด้วยในตัว มีบางคนเข้าใจว่าปฏิบัติเมื่อบวช เมื่อสึกออกไปแล้วไม่ต้องปฏิบัติ อันนี้ไม่ถูก
เราปฏิบัติเมื่อบวชเพื่อเป็นทุน เพื่อเอาไปใช้เมื่อสึกออกไป เพราะว่าชีวิตของฆราวาส มันลำบากกว่าชีวิตของพระ เพราะว่าชีวิตของฆราวาส ต้องต่อสู้กับอะไรอยู่ตลอดเวลา

คนต่อสู้มันต้องมียุทธวิธีต่อสู้ แล้วก็ต้องมีหลักสำหรับต่อสู้ จิตใจที่ขาดธรรมะจะออกไปต่อสู้เขาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น แม้เราออกไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว เราก็ต้องปฏิบัติต่อไป ได้ปฏิบัติเมื่อเป็นพระอย่างไร ชนะอะไร ออกไปก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต่อไป

สมมติว่า เราอยู่เป็นพระ เราไม่ได้เสพของเสพติดมึนเมา เราไม่ได้สูบบุหรี่ เราไม่ได้ดื่มเหล้า เราไมได้ไปเที่ยวกลางค่ำกลางคืน ออกไปอยู่บ้านก็ควรกระทำอย่างนั้นให้ใครๆ เขาเห็นว่าพ่อทิดนี่เป็นคนดี เข้าไปบวชแล้วออกมามันละอะไรได้หลายอย่าง เป็นคนดี เป็นคนเรียบร้อย อย่างนี้เรียกว่า บวชแล้วมีพระติดตัวไปบ้าน

แต่ถ้าสึกแล้ววันไหนไปเที่ยวเมาหงำเหงือกไปเลย แสดงว่าไม่ได้เรื่อง เมื่อบวชอยู่ก็แค่กาย จิตใจคงไม่ได้บวช ดิ้นอยู่ตลอดเวลา พอออกจากวัดก็เอาเลย บอกกับเพื่อนว่าแหมกูเปรี้ยวปากเหลือเกิน ไอ้อย่างนี้ มันก็ไม่ได้เรื่องอะไร การบวชไม่มีราคาไม่มีความหมาย ไม่ได้เรื่องไม่ได้สาระ เพราะฉะนั้น

ถ้าสิ่งใดเราเคยปฏิบัติเมื่อบวช เช่น กลางคืนเราเคยไหว้พระสวดมนต์ ออกไปบ้านก็ไหว้ เราไหว้คนเดียวที่วัด ออกไปบ้านชวนแม่บ้านไหว้ด้วย ชวนลูกมาไหว้ด้วย แล้วก็ปรับปรุงครอบครัวเราให้อยู่ในระบบที่ดีที่งาม อันนี้แหละจึงจะได้ประโยชน์ เรียกว่า ได้สืบศาสนาอย่างแท้จริง เพราะเอาไปสืบไว้ที่บ้านด้วย บ้านนั้นก็กลายเป็นวัด คนอยู่ในบ้านก็เป็นคนดีมีศีลธรรมประจำใจ
นี่ช่วยสืบมันต้องมุ่งไปในรูปอย่างนั้น แล้วเราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้คุ้นกับพระ เป็นญาติกับพระศาสนาต่อไป

อย่าไปตัดญาติขาดมิตร กับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะการทำเช่นนั้น จะเป็นพิษเป็นภัยแก่เรา
พ่อแม่ของเราก็สบายใจ เมื่อเราออกไปเป็นคนเรียบร้อย อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ไม่เที่ยว ไม่เล่น ไม่เหลวไหล ไม่ประพฤติอะไรนอกลู่นอกทาง อันนี้แหละ เรียกว่าถูกต้อง เข้าหลักเกณฑ์ของการบวช ออกไปแล้วจะได้ประโยชน์ดังที่กล่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2018, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เราจะสร้างอะไรขึ้นในใจนั้น ต้องสร้างอย่างจริงจัง คือต้องทำจริงจัง เพื่อให้เกิดอะไร เขาเรียกว่าเกิดนิสัย
การกระทำอะไรบ่อยๆ นั้นเป็นการสร้างนิสัย
นิสัยของคนเรานั้นเกิดจากการกระทำบ่อยๆ เป็นคนขยันก็เพราะฝึกฝนในทางขยันบ่อยๆ มันเป็นนิสัยดีขึ้น
ฝึกฝนในการเป็นคนละเอียดรอบคอบ ไม่ทำอะไรลวกๆ ก็กลายเป็นคนมีระเบียบ เป็นคนประณีตมีนิสัยประณีต มีนิสัยสร้างสรรค์อะไรอย่างนี้ อาศัยการฝึกฝนการอบรม เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องฝึกฝนอบรมในเรื่องต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งดีสิ่งงามขึ้นในจิตใจเรา
แต่ว่าเราจะทำเอาเฉยๆ มันก็ไมได้ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องบังคับมันก็ลำบาก การบวชเข้ามานั้นมีสิ่งช่วย มีสิ่งช่วยก็คือ ธรรมวินัยเป็นเครื่องบังคับ ว่าเราจะต้องทำอย่างนั้นต้องทำอย่างนี้ แล้วเราก็ต้องเต็มใจปฏิบัติเพื่อให้ได้สิ่งมีคุณค่าทางจิตใจ

ผู้ที่เข้ามาบวชใหม่ๆในทางพุทธศาสนามีหลักอย่างไรบ้าง ? ก็มีหลัก พระพุทธเจ้าท่านวางหลักไว้ ๕ ประการ เรียกว่า องค์แห่งภิกษุใหม่

องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ ประการนี้ ประพฤติไปจนชินแล้วก็เป็นคนที่อยู่อย่างนั้นตลอดไป

เมื่อเป็นภิกษุเก่าแล้วก็อยู่อย่างนั้น ชอบอย่างนั้น เพราะชินกับสิ่งอย่างนั้นแล้ว

ภิกษุใหม่ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง ?

๑. สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต
๒. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายปรากฏได้ ในเวลาที่เห็นรูป ด้วย นัยน์ตา เป็นต้น
๓. เป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
๕. มีความเห็นชอบ

ทั้ง ๕ อย่างนี้ องค์ของภิกษุใหม่ ภิกษุใหม่จะต้องประพฤติตามระเบียบ ๕ ข้อนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในทางจิตใจ เพื่อให้เกิดการสร้างนิสัยในทางที่ดีงามให้เกิดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2018, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในข้อแรกที่กล่าวว่า “สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต"

คำว่า “พระปาฏิโมกข์” หมายถึง พระวินัย ที่มีในพระปาฏิโมกข์ พระเอามาสวดทุกกึ่งเดือน พอถึงวันอุโบสถเราก็ไปประชุมกันที่โบสถ์เพื่อสวดปาฏิโมกข์ เพื่อจะได้นึกได้ว่าเราได้ทำผิดอะไรบ้าง เพราะฉะนั้น เวลาสวดจบไปตอนหนึ่ง พระผู้สวดท่านก็ถามว่า เช่นว่า สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์อยู่หรือ ? ผู้สวดถาม ถ้ารู้สึกว่าไม่บริสุทธิ์ก็จะได้สารภาพออกมา จะได้แก้ไขกันต่อไป

เรื่องของพระเรานั้นเป็นเรื่องเปิดเผย ตรงไปตรงมา ดังนั้น จึงไปสวดให้ฟัง แต่ว่าเรามารักษาของเก่า ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยม สวดเป็นภาษาบาลี เราฟังอาจไม่รู้ แต่ว่าสิ่งที่ให้รู้มันมีอยู่ในหนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นหนังสือสำหรับพระใหม่ได้ร่ำเรียน
ระเบียบวินัย มีอย่างไร มีอยู่ในหนังสือนี้หมด ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ฯลฯ อะไรมันมีอยู่ในนี้หมด

ผู้ที่มีหนังสือนวโกวาทต้องดูมีอะไรบ้างที่จะต้องห้าม จะได้รู้ว่าสิ่งนี้พระพุทธเจ้าห้าม เรียกว่า พระวินัยที่มาในพระปาฏิโมกข์
แต่ว่าพระวินัยที่มาในพระปาฏิโมกข์นี้น่ะ ที่เราพูดกันว่าศีล ๒๒๗ ความจริงไม่ถึง

ไม่ถึงอย่างไร ? บางข้อน่ะไม่ได้ปฏิบัติกันแล้ว ไอ้ที่ไม่ได้ปฏิบัติแต่ยังคงไว้ หมายความว่า เพิกถอน ถอนไม่ได้ ไม่มีการถอน พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหีนยานไม่มีการถอนอะไร ห้ามถอน

ความจริงพระพุทธเจ้าอนุญาตเหมือนกัน ในวันที่ปรินิพพานพระองค์อนุญาตไว้ว่า ต่อไปสิกขาบทเล็กๆน้อยๆ ถ้าคณะสงฆ์ปรารถนาจะเพิกถอน ก็ถอนได้ พระองค์อนุญาต

แต่การประชุมทำสังคายนาครั้งที่หนึ่ง ในถ้ำสัตตบรรณคูคา ข้างภูเขาเวภาระบรรพต พระ ๕๐๐ ที่มาประชุมตกลงกันใหม่ เสนอญัตติใหม่ เสนอญัตติว่า ไม่มีการถอน
ทำไมจึงห้ามถอน เพราะตกลงกันไม่ได้ว่าอะไรเล็กน้อย บางองค์ว่าทุกกฎเล็กน้อย บางองค์ว่าถุลลัจจัยเล็กน้อย ปาจิตตีย์เล็กน้อย มันเลยไม่แน่ เอาเป็นเยี่ยงอย่างเอาเป็นแน่นอนไม่ได้

เพราะฉะนั้น จึงตั้งญัตติใหม่ว่า ห้ามถอนทั้งหมดคงไว้ตามรูปเดิม เป็นการรักษาแบบของพระพุทธเจ้าไว้ ไม่มีการถอน
แต่ที่เราไม่ได้ปฏิบัตินั้น ก็เนื่องจากสิกขาบทบางสิกขาบทบัญญัติเฉพาะถิ่น เฉพาะประเทศ หรือว่าเฉพาะบุคคล เช่นว่า สิกขาบทเกี่ยวกับภิกษุณี เดี๋ยวนี้ไม่ภิกษุณีแล้ว เราก็ไม่ได้ปฏิบัติ ขาดไปหลายข้อทีเดียว เกี่ยวกับภิกษุณีเยอะ แต่ว่าไม่มีภิกษุณีมาเกี่ยวข้อง เราก็เลยไม่ได้เอามาปฏิบัติ มันขาดไปแล้ว

แต่ด้วยบางสิกขาบท เกี่ยวเนื่องด้วยภูมิประเทศ เช่นว่า อยู่ในประเทศอินเดียมัชฌิมประเทศ ๑๕ วันอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง เราไม่ได้ปฏิบัติแล้ว เราไม่ได้อยู่ในอินเดีย แล้วก็ยังมีอะไรอื่นอีกหลายอย่าที่ไม่ได้ถือ รวมแล้วที่ได้ถืออยู่ในปัจจุบันนี้ ประมาณสักร้อยกว่าข้อ ที่เราถือกันอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2018, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกความหมาย “วินัย” ไว้ให้สังเกตดู

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญ ก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อกำหนดสำหรับควบคุมความประพฤติ ไม่ให้เสื่อมเสีย และฝึกฝนให้ประพฤติดีงามเป็นคุณเกื้อกูลยิ่งขึ้น วินัย มี ๒ อย่าง
คือ
๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือ วินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ หรือโดยสาระ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔

๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐


วินัย มีความหมายกว้าง กล่าวคือ หมายถึง กฎระเบียบข้อบังคับที่ตั้งขึ้นเพื่อความสงบเรียบร้อยดีงามของหมู่คณะ ของสังคมมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน เป็นต้นว่า เขตโรงเรียนลดความเร็ว (...) , เขตปลอดบุหรี่ ฝ่าฝืน (....), ห้ามทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ฝ่าฝืน (...), ห้ามนำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงในห้องพัก ฝ่าฝืน (...), ฯลฯ เหล่านี้ ก็เรียกว่า วินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2018, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ทีนี้ การถือพระวินัย มีอยู่ ๒ เรื่อง อยากจะให้ตั้งข้อสังเกตหน่อย คือว่าเนื่องด้วยสิกขาบทอันใด ที่เกี่ยวเนื่องด้วยธรรมะ ต้องเคร่งครัด สิกขาบทอันใด ที่เกี่ยวเนื่องด้วยประเพณี จะไม่ต้องเคร่งครัดนักก็ได้

ตัวอย่าง เช่นว่า เรื่องใส่รองเท้ามีอยู่ในเสขิยวัตร ภิกษุไม่ควรใส่รองเท้าเข้าไปในบ้าน

ทำไมจึงห้ามไม่ให้พระใส่ร้องเท้าเข้าไปในบ้าน ? ชาวอินเดีย เขารังเกียจรองเท้าหนัง ถ้าเราใส่รองเท้าหนังไปในบ้านเขาละก้อ เขาโกรธเอาทีเดียวว่าอัปมงคล เป็นจัญไรว่างั้นเถอะ
เขาหุงข้าวอยู่ตรงนี้ เราใส่รองเท้าหนังเดินเฉียด เขาถือนักถือหนา ถ้าอาหารสมบูรณ์ละก้อ เขาเททิ้งเลย แต่ถ้าขาดแคลนก็ไม่เทเหมือนกัน เพราะมันไม่มีจะกิน

พระพุทธเจ้าท่านอยู่ในหมู่ฮินดู ฮินดูเขารังเกียจรองเท้าหนัง พระองค์ก็บอกภิกษุว่า อย่าใส่รองเท้าเข้าไปในบ้าน ถ้าใส่เกี๊ยะเข้าในบ้านเขาไม่ว่า ใส่ขึ้นไปถึงแทนบูชาบนวิหารก็ไม่ว่า

เคยเห็นที่กรุงเดลลี ไปพักอยู่ที่มหาโพธิ์ สมาคมมหาโพธิ์อยู่ใกล้กับวัดลักษมีนารยันต์ของฮินดู เวลาคนจะเข้าไปต้องถอดรองเท้าไว้ตรงโน้น ข้างบันไดมีคนคอยเฝ้าไม่ให้หาย

วันหนึ่งตื่นแต่เช้า ผมมาเดินเล่น เห็นแขกคนหนึ่งใส่เกี๊ยะ เกือกไม้เรียกว่าเกี๊ยะน่ะ แล้วก็เดินโกร้ง โกร้ง ขึ้นไปถึงแท่นบูชาเลย ยังนึกว่าทำไมดูถูกกันเหลือเกิน
เลยไปถามชาวฮินดูแถวนั้นว่า เวลาใส่รองเท้าหนังเรียบร้อยทำไมเขาไม่ให้ขึ้น ไอ้แขกคนนั้นใส่เกือกไม้ ดันเข้าไปถึงแท่นบูชา
แกบอกว่าไม่เป็นไร รองเท้าไม้เขาไม่ถือ รองเท้าหนังละก็ไม่ได้ นี่มันเป็นอย่างนี้ อันนี้เขาเรียกว่า เป็นธรรมเนียม
อันนี้มาสมัยนี้ เราออกนอกวัด ถ้าเราไม่สวมรองเท้าก็ไม่สะอาด ถนนเมืองไทยเราไม่สะอาด ถนนเมืองแขกยิ่งไม่สะอาดใหญ่ สวมรองเท้ายังช่วยได้นิดหน่อย แม้จะเปื้อนก็ยังเรียกว่ามันจะพอประทัง จึงไม่ได้ถืออย่างธรรมเนียมนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยไปเมืองฝรั่งนานมาแล้ว ประเทศอังกฤษนี่น่ะ ไปพบท่านเลขาธิการสมาคมบาลีปกรณ์ เขาเรียกว่า บาลีแอสโซไซตี้ มีผู้หญิงอายุตั้ง ๗๐ กว่าแล้วที่ไปพบปะ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ แก่เต็มที่ ชื่อนางสาว ไอบี ฮอนเนอร์ แกเป็นคนแปลคัมภีร์วินัยเป็นภาษาอังกฤษ
แกก็ถามว่า ท่านมาอยู่เมืองฝรั่งนี่จะเคร่งวินัยไหม ก็เลยบอกตรงๆว่าไม่เคร่ง แกบอกว่าอยู่ได้ ที่ว่าไม่เคร่งน่ะ หมายความว่า ไม่เคร่งในข้อเล็กน้อย เช่นว่า สวมรองเท้าไม่ได้ ไปอยู่เมืองนอกมันต้องสวมรองเท้า ไม่สวมรองเท้าก็อยู่ไม่ได้ มันหนาว แล้วฝรั่งเขาก็มองว่า พวกนี้เป็นพวกบาบาเรียน ไม่รู้จักใช้รองเท้า จะไปสอนเขาอย่างไร และอีกอย่างหน้าหนาวๆจัด ฤดูหนาวนี่นะเราจะห่มแต่จีวรผืนเดียวแล้วก็มีอังสะบางๆ เราก็เป็นปอดบวมตายเท่านั้นเอง มันไม่ได้
เราต้องใส่เสื้อไว้ข้างใน สเว้ทเตอร์ขนสัตว์หนาๆ ซื้อมาใส่มันลงไปแล้วก็ห่มจีวรสองชั้นทับ มันก็อุ่น
ถ้าเดินไปกลางแจ้งความหนาวข้างบนมันเยอะแยะ หัวเราก็โล้นๆ ด้วย มันก็เดือดร้อน มันต้องดอดหมวกแบบเด็กๆ เรียกว่า หมวกเด็ก เด็กน้อยๆ น่ะ เมืองเหนือเขาเรียกว่า ว๊อก พระเมืองเหนือนี่เขาใส่ว๊อก เพราะอากาศมันหนาว บริขารของพระจึงมีว๊อก คือหมวกแนบเนื้อใบเล็กๆ ระเบียบนั้นมันใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปตามกาลเทศะ


คราวหนึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ท่านพบกับพระองค์หนึ่งเป็นเพื่อนกับหลวงพ่อ พระองค์นั้นไปอยู่ที่เมืองดาชิงลิ่งเชิงเขาหิมาลัย หนาวเหมือนยุโรป

ท่านถามว่า ท่าน อยู่ดาชิงลิ่งน่ะอยู่อย่างไร จีวร ๓ ผืนนี้อยู่ได้หรือ

พระองค์นั้นท่านบอกว่า แพะที่เมืองกัลกัตตากับแพะเมืองดาชิงลิ่งไม่เหมือนกัน แพะที่เมืองกัลกัตตาขนสั้น แต่แพะเมืองดาชิงลิ่งขนยาว สัตว์มันยังรู้จักปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ
อาตมาไปอยู่เมืองดาชิงลิ่งก็ห่มผ้ามันหลายชั้นใส่ถุงเท้าเข้าไปบ้าง หมวกเข้าไปบ้าง มันก็อยู่ได้
ท่านบอกว่าอือตอบดีแฮะพระองค์นี้ นี่เขาเรียกว่าปรับตัวให้เข้ากับสถานภาพ ไม่อย่างนั้นแล้วมันก็อยู่ไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 เม.ย. 2018, 17:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จำเป็นเรื่องอาหารนี่อย่างหนึ่ง ห้ามฉันอาหารเวลาวิกาล คือเมืองไทยนี่มันเคร่งได้ ฉันก่อนเที่ยง เที่ยงแล้วก็ฉันไม่ได้
แต่ว่าไปในเมืองหนึ่งนี่น่ะมันจะไม่มีฉัน ตั้งแต่เวลา ๑๑ โมงนี่น่ะมันไม่มีให้ฉัน
เคยพบเมื่อผมไปเมืองนอกนี่ก็เหมือนกัน ไปกับหลวงวิจิตรวาทการ ลูกศิษย์ชั้นดีพาไปเที่ยวเมืองของเช็คสเปียร์นั่นแหละ
ไปนอนคืนหนึ่ง ทีนี้ ไปถึงตอน ๑๑ โมงครึ่ง หลวงวิจิตร ฯ ว่า ๑๑ ครึ่งแล้วไปจัดอาหารถวายพระก่อน แล้วเราก็ทานกันได้ตอนหลัง เข้าร้านใดมันก็ไม่ยอมขาย บอกว่ายังไม่ขายว่ายังงั้น
ถามทำไมไม่ขาย มันยังไม่เที่ยงว่าอย่างนั้นแหละ เขาขายเที่ยง เราไปซื้อ ๑๑ โมงครึ่งเขาไม่ขาย ถ้าเราไปซื้อเวลาบ่ายโมงเขาก็ไม่ขายเหมือนกัน นี่มันวิกาล

คำว่า วิกาล หมายถึงผิดเวลา เราจะไปกินผิดเวลาไม่ได้ มันไม่ใช่เวลากินของเขา อย่างนี้มันไม่ถูก

หลวงวิจิตร ฯ บอกว่าไปก่อน พอถึงเวลาเที่ยงลองแวะเข้าไปอีกร้านหนึ่งเขาก็ขายให้ เราก็ต้องฉัน ถ้าจะไม่ฉันวันเดียวมันก็เห็นจะอยู่ได้ แต่ถ้าหลายวันก็เห็นจะไม่ไหวนะ อยู่ในเมืองนอกนี่เขาฉันอย่างนั้น เวลาของเขามันเที่ยงนี่ ไอ้เรามันฉันก่อนเที่ยง แล้วไม่มีอาหารจะฉันก็ต้องฉันเหมือนกัน
หลวงวิจิตร ฯ แกบอกว่า มาเมืองฝรั่งมันก็ต้องเปลี่ยนบ้าง จะไปถือเคร่งตามพุทธานุญาต แบบอยู่เมืองไทยก็ไม่ได้เรื่อง นี้แกก็เห็นใจ เพราะแกก็เป็นคนวัดเหมือนกัน เป็นมหา ๕ ประโยคนี่ แกรู้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง


ถ้าเราอยู่ในภูมิประเทศที่ภูมิอากาศอย่างนี้ อยู่ในที่ที่ประชาชนเอาอกเอาใจ เลี้ยงดูพระอย่างดี ต้องปฏิบัติตามระเบียบทุกประการ อย่ามีข้อยกเว้น ไม่ได้ เกี่ยวด้วยระเบียบอะไรเราก็ถือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ วินัยที่เนื่องด้วยธรรมะ เช่นว่า เสพเมถุนต้องปาราชิก ไปลักของเขา ฆ่ามนุษย์ให้ตาย อวดอุตริมนุษย์ ฯ พวกนี้ มันเนื่องด้วยธรรมะ ต้องถือด้วยตลอดเวลา ไปเมืองไหนก็ต้องถือ ถ้าไม่ถือแล้วก็ใช้ไม่ได้เท่านั้นเอง นี่ไม่ใช่ธรรมเนียม มันเป็นธรรมะ วินัยเนื่องด้วยธรรมะ

วินัยที่เนื่องด้วยระเบียบธรรมเนียมนี่มันอีกเรื่อง เช่นว่า พระถอนหญ้าไม่ได้ อยู่ในอินเดีย คนอินเดียเขาถือว่าต้นไม่มีชีวิต พรากของเขียวเป็นอาบัติ พระตัดหญ้าไม่ได้
แต่ในเมืองไทยนี่ไม่ได้ถือขนาดนั้นดอก หญ้าข้างกฏิมันรก ว่างๆ ก็ออกเอ๊กเซอไซต์ เอามีดออกมาฟันเสียบ้างก็ไม่เป็นไร ถ้าฟันๆไป ไปเห็นคางคกหรือไส้เดือนตายไปตัวหนึ่ง ก็ไม่บาปเวรอะไรดอก เพราะว่าเราไม่ได้แกล้งฟันหัวคางคกตัวนั้น ไอ้นี่มันไม่บาป เรียกว่า ไม่เจตนา
กรรมน่ะมันอยู่ที่เจตนาแกล้งละก้อเป็นกรรมละ ไม่ว่าเป็นบุญเป็นกุศล อันนี้ แล้วค่อยพูดให้ฟังสักครั้ง เรื่องเกี่ยวกับเรื่องกรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติตามข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต เรียกว่า สำรวมในพระปาฏิโมกข์ อันนี้ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ที่อยากจะแนะนำอีกหน่อยว่า ไอ้เรื่องเล็กๆน้อยๆ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่คนไม่เห็น เรื่องเล็กน้อยนี่คนเห็น เพราะฉะนั้น เรื่องอะไรที่ว่าเล็กน้อยนี่ต้องระวังให้มาก

อะไรบ้างที่เป็นเรื่องเล็กน้อย ? ระเบียบปฏิบัติในเสขิยวัตร เช่น เรื่องนุ่งห่มนี่คนเห็น นุ่งห่มไม่เรียบร้อยคนเห็น เราประพฤติล่วงสิกขาบทอื่นๆ เขาไม่เห็น การนั่งการเดินนี่คนเห็น ไปบิณฑบาตไม่สำรวมนี่คนเห็น เรื่องอย่างนี้ เรียกว่าเรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องก่อให้เกิดการติเตียนง่าย และก่อให้เกิดการเลื่อมใสง่ายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะต้องระมัดระวัง เช่น การนุ่งห่มต้องเรียบร้อย นุ่งสบงเรียบร้อย ห่มจีวรเรียบร้อย
เรียบร้อยก็อย่างที่เรานุ่งห่มนี่แหละ นุ่งสบงถ้าเดินเลื้อยชาย ก็เรียกว่า ไม่เรียบร้อย อยู่ในกฏิไม่เป็นไร ออกมาข้างนอกต้องระมัดระวัง ถ้าออกนอกกฏินี้ ไปกุฏิโน้นนุ่งผ้าเลื้อยชายตัวล่อนจ้อน ใครเห็นเขาจะนึกว่าทิดอะไรเดินอยู่ในนั่นมันไม่เหมาะ
การขบฉันก็เหมือนกัน เช่น การฉันอาหาร ถ้าเราฉันไม่ดี เช่น เวลาฉันคำโตๆ คนก็มอง ข้าวอยู่ในปากพูดกันคนก็เห็น หรือว่าเคาะช้อนดังๆ แก้งๆ คนก็เห็น ก็ได้ยิน มันต้องระมัดระวังเรื่องเล็กน้อย ควรระมัดระวัง เรื่องใหญ่ไปด้วยในตัว เพราะของใหญ่มาจากของน้อย เพราะถ้าเราระมัดระวังของน้อยไม่ได้ ของใหญ่จะระวังได้อย่างไร ก็เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ขอให้สำรวจตรงนี้ให้ดี ระมัดระวังในการที่จะปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นว่า ในเสขิยวัตรมี ๓ หมวด

สารูปมี ๒๖ ข้อ ภิกษุพึงศึกษาว่า เราพึงนุ่งห่มให้เรียบร้อย ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ เราจักปิดกายด้วยดีไปนั่งในบ้าน หมายความว่า สบงลงไปพ้นหัวเข่า เวลานั่งต้องระมัดระวัง ต้องเอาผ้าปิดเข่า ไม่อย่างนั้นจะดูโป้ไป แล้วก็ห่มคลุมไหล่ เรียกว่าอยู่ในบ้าน นั่งในบ้านต้องเรียบร้อย
นั่งเก้าอี้ต้องนั่งเรียบร้อย เรานั่งเก้ออี้ก็นั่งเรียบร้อย โดยมือเท้าวางไว้อย่างนี้ เท้าก็ต้องเรียบร้อยวางไว้อย่างนี้ แล้วก็คุยกันไปก๊อกแก็ก กระดิกเท้าไปไม่สำรวมไม่ได นั่งเก้าอี้ขาเราต้องวางไว้ให้เป็นระเบียบ คือว่ากิริยาของพระเป็นผู้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์
พระพุทธเจ้าท่านเป็นกษัตริย์ ท่านบวชแล้วท่านจึงสังเกตเห็นนักบวชในอินเดียรุ่มร่าม เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงบัญญัติให้หายรุ่มร่ามเป็นผู้ดี นั่งเก้าอี้ก็ต้องนั่งวางเท้าให้เป็นที่ วางไว้ตรงไหนให้มันอยู่ตรงนั้น มือก็ต้องเรียบร้อย แล้วจะคุยจะพูดกับโยมก็คุยตามสบาย อย่ายกมือยกไม้ให้มันวุ่นวาย หัวเราะก็ไม่ได้ พูดค่อยๆแต่พอได้ยิน


เรื่องคำพูด เราบวชใหม่อาจเผลอได้ง่าย ใช้แทนคำชื่อตัวเองกับชาวบ้านว่า “อาตมา” ก็พอ ใช้คำรับว่า “เจริญพร” เรียกว่าคำพูดกับผู้ที่เรายกย่องนับถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่
ถ้าเป็นคนผู้น้อยกว่าเรา เราจะพูดว่า “ฉัน” ก็ได้ แต่ “ผม” นี่ไม่เหมาะ แล้วตอบว่า “จ๊ะ” ก็ได้
แต่ถ้าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วต้องใช้ “อาตมา” “เจริญพร”
ถ้ากับพระกันเองก็พูดว่า “ผม” ว่า “คุณ” อ่อนกว่าก็เรียกว่า “คุณ” เรียกว่า “อาวุโส”
ถ้าแก่กว่าก็เรียก “ท่าน” เรียกว่า “ภันเต” นี่เป็นคำพูดใช้พูดอยู่เป็นประจำแล้วก็พูดเรื่องที่ควรพูด เรื่องอันใดไม่ควรพูดเราก็ไม่พูด อย่างนี้ เรียกว่า เป็นระเบียบ ไปในบ้าน ระวังมือเท้าให้ดี คือไม่แกว่งเท้าไม่แกว่งมือ

เราจักมีตาทอดลงไปนั่งในบ้าน, เดินไปในบ้านก็ต้องมองต่ำ นั่งอยู่ในบ้านก็ต้องมองต่ำ ไม่ใช่นั่งแล้วเที่ยวมองไปนั่นไปนี่ เตลิดเข้าไปดูอะไรต่อมิอะไรโน่น

เราจะไม่เวิกผ้าเข้าไปในบ้าน, เวิกผ้า หมายความว่าเอาจีวรขึ้นมาพาดบ่า หรือแหวกนี่ โดยแหวกผ้าขึ้นมาเป็นหน้าต่างให้เขาเห็นซี่โครง อย่างนั้น เรียกว่าเวิกผ้า ไม่เหมาะ

เราจะไม่หัวเราไปนั่งในบ้าน, เดินไปในบ้านก็ไม่หัวเราะ นั่งอยู่ในบ้านก็ไม่หัวเราะ มีอะไรขำๆก็ยิ้มนิดหน่อยพอสมควร

เราจักไม่พูดเสียงดังไปนั่งในบ้าน, เราจักไม่โคลงกาย โยกเยกไปมาเรียกว่าโคลงกาย

เราจักไม่แกว่งแขนเดิน, เพราะเราเดินไปต้องนาดเดินนาดยาวๆ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ทหาร เดินสำรวมมือขาจับจีวรแหวกไว้ มือซ้ายจับรวบๆจะไปแกว่งแขนได้อย่างไร ถ้าเรานาดออกไปมันน่าเกลียด

จักไม่สั่นศีรษะ, อันนี้พวกแขกชอบนัก ต๊อกแต๊กไม่รู้อะไร รับก็อย่างนั้นแหละ ปฏิเสธก็อย่างนั้นแหละ ไอ้เราไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าเยสหรือโนสั่นหัวเรื่อย พระพุทธเจ้าท่านห้ามไม่ให้พระทำอย่างนั้น

เราจะไม่เอามือค้ำกายไปนั่งในบ้าน, หมายถึงเวลานั่ง นั่งเท้าแขน เป็นคนอ่อนแอ พระเราต้องหัดนั่งตัวตรง ต้องเป็นคนเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น ต้องนั่งตัวตรงตลอดเวลา

เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปนั่งในบ้าน, หรือในบ้านไม่ให้คลุมศีรษะ สังฆาฏิ ใช้คลุมหัวได้เวลาเดินในทุ่ง แต่พอเข้าบ้านลดลงมาคลุมไว้ที่หัวไหล่ ห้ามคลุมศีรษะ

เราจะไม่เดินกระโหย่งเท้าเข้าไปในบ้าน, เดินใช้ปลายเท้าอย่างเดียว เรียกว่า โขย่งมันไม่เหมาะ

เราจะไม่นั่งรัดเข่า, คือนั่งแล้วเอามือกอดเข่าแบบแขกนั่งน่ะ. นี่เรียกว่า สารูป หมวดหนึ่ง

( สารูป เหมาะ, สมควร, ธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน, เป็นหมวดที่ ๑ แห่งเสขิยวัตร มี ๒๖ สิกขาบท)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2018, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดต่อไป เกี่ยวกับอาหารการขบฉัน พึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยสุภาพ หมายความว่าอย่างไร ? อันนี้ หมายความว่า เปิดฝาบาตรค่อยๆ ยื่นออกไปนิดหน่อย เพื่อรับข้างของแล้วก็ปิดฝาบาตรด้วยอาการเรียบร้อย

เมื่อรับบิณฑบาตจักมองดูแต่ในบาตร, อย่าไปดูหน้าโยมที่ใส่ หรือว่าอย่าไปดูอะไรอื่น ต้องดูในบาตร ดูข้าวดูแกงที่เขาใส่

เราจักรับแกงพอดีกับข้าวสุก, นี่หมายความว่า ฉันในบาตร เขาให้มากเกินไปก็ฉันไม่ไหว ก็รับแต่พอประมาณ เมื่อรู้สึกว่าพอแล้วเราก็ปิดฝาบาตร

เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร, ข้าวแกงพอเสมอขอบ ขอบเหล็กข้างล่างก็พอแล้ว แต่ว่าโยมแกมักจะข่มเหง นิมนต์อีกหน่อยครับ พอตักใส่ เอ้าเต็มแล้วโยม บาตรเต็มแล้ว หงายฝาบาตรก็ได้ค่ะ โยมแกล้งเรานั่นแหละ ไม่เป็นไร

เราจะฉันบิณฑบาตโดยเคารพ, ด้วยความพออกพอใจ ไม่แสดงอาการรังเกียจในอาหารที่เรารับ

เมื่อฉันบิณฑบาตก็ดูแต่ในบาตร, อย่าไปเที่ยวดูอื่นให้วุ่นวาย ดูไปพิจารณาไป

ในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร เราจักไม่ขุดข้าวสุก, ก้นบาตร มีอะไรให้ฉันไปตามลำดับไม่ขุดหาเนื้อหาไข่ เห็นโยมบ้านโน้นใส่ไข่มันอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น เรื่องจึงว่าเรื่องขุดหาไม่ได้ ฉันไปตามลำดับ การฉันแบบนี้เรียกว่า การฉันเพื่อการขูดเกลา ขูดเกลาตัณหา ฉันไปตามเรื่อง มีอะไรก็ฉัน ฉันข้าวเมื่อเจอข้าว ฉันกล้วยเมื่อเจอกล้วย ฉันในบาตรเขาเรียกฉันขูดเกลา

เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป, คือ กวาดมารวมกันเป็นคำๆ

เราจักไม่กลบข้าวหรือแกงด้วยข้าวสุกเพราะอยากได้มาก, พอได้มาแล้วเราปิดเสีย โยมผ่านมานึกว่ายังไม่ได้ใส่

เราไม่เจ็บไข้ เราจักไม่ขอข้าวหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์ส่วนตน, เรื่องขอนี่ขอไม่ได้ ขอได้กับคนที่เป็นญาติ

เรื่องขอนี่ขอทำความเข้าใจ ขอใครได้บ้าง ? ขอคุณพ่อคุณแม่ได้ โยมพี่น้องอย่างนี้ขอได้ น้องของเรานี่ก็ขอได้ เอาเราเป็นจุดศูนย์กลางขึ้นไป คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย แล้วก็น้องของเราลงไปข้างล่างขอได้

ส่วนคนอื่นๆนั้นเขาต้อง ปวารณา หมายความว่า บอกไว้ เช่น บอกว่า ในพรรษา ๓ เดือนนี้น่ะ ท่านต้องการอะไรบอกผม อย่างนี้ไม่จำกัดเรื่อง ขอผ้าก็ได้ ขอน้ำตาลก็ได้ เท่าที่จำเป็นขอได้ไม่จำกัด

แต่จำกัดว่า ในพรรษา ๓ เดือนนี้ ถ้าท่านขัดข้องเรื่องยาบอกระผมได้ เราก็ขอได้แต่เรื่องยา เพราะเขาปวารณาแต่เรื่องยา เราก็ขอได้แต่เรื่องยา

ถ้าเขาบอกว่าขัดข้องเรื่องผ้าละก็บอก เราก็ขอได้แต่เรื่องผ้า จะไปขออาหารเขาไม่ได้ ให้ขอแต่เรื่องผ้า เรื่องอื่นๆขอไม่ได้ นี่จำกัดของจำกัดเวลา เราก็ขอได้แค่นั้น แล้วพอพ้นพรรษาแล้วขอไม่ได้ เพราะเขาบอกว่าในพรรษา พอออกพรรษาแล้วจะไปขออีกไม่ได้ หลักการมันมี
พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้อย่างนั้น เพราะไม่ต้องการให้สานุศิษย์ของพระองค์เป็นผู้ขี้ขอ เพราะผู้ถูกขอนั้นไม่เป็นที่พอใจ ผู้ขอไม่เป็นที่พอใจของผู้ถูกขอ ผู้ถูกขอก็ไม่เป็นที่พอใจของผู้ขอเมื่อไม่ได้ดังใจ


มีชาดกเรื่องหนึ่ง คือฤๅษีสองคนพี่น้องอยู่ด้วยกัน แล้วมีนาคมาหา พญานาคปลอมตัวแสดงตัวเป็นมนุษย์คุยกับพระฤๅษี น้องไม่สบายใจ พอเห็นพญานาคมาแล้วเกิดความกลัว เสียวสั่นไปหมด เลยบอกพี่ชายว่า แหมไม่ไหวนาคมาบ่อยๆ พี่ น้องไม่สบาย
พี่ชายก็บอกว่า น้องกลัวนาคไม่อยากให้มา ก็วันหลังนะ ถ้านาคมาเขามีแก้วมณีผูกคอ พอมาถึงแล้วขอมณี ขอบ่อยๆ นาครำคาญเลยไม่มา
พระพุทธเจ้าเลยตรัสไว้ว่า ผู้ถูกขอไม่เป็นที่พอใจของผู้ขอ เพราะไม่ได้ดังที่ขอ ไม่เป็นที่พอใจกันทั้งนั้นฉะนั้น ไม่ให้ขออะไรกับใคร ขอเท่าที่จำเป็นแก่ญาติของเรา ขอโยมก็เท่าที่จำเป็น อะไรไม่จำเป็นก็อย่ารบกวนญาติโยมให้ลำบาก เรากินเราใช้สันโดษตามมีตามได้อย่างนั้นก็สบายดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2018, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ ชำเลืองดูของคนอื่น จะยกโทษ จะเพ่งโทษเขา

เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก, ให้พอดีกับปาก ถ้าทำกับมือก็ให้มันพอดี ช้อนก็ให้มันพอดีๆ ฉันกับช้อนนี่เอาข้าวใส่แล้วเอาส้อมแต่งเสียนิดหน่อย ปิดหน้าปิดหลังใส่เข้าไปในปาก เรียกว่าพอดีๆ ถ้ามันใหญ่เกินไป มันหลุดออกไปนอกบาตาก็น่าเกลียด

เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม, ให้พอเหมาะ

เมื่อคำข้าวไม่ถึงปากไม่อ้าปากไว้คอย, ไม่อ้าปากไว้ก่อน เมื่อข้าวไปจึงอ้าปาก อ้าแล้วก็ใส่มันเข้าไปเลย เรียบร้อยมาก

เมื่อฉันอยู่จะไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก, สอดเข้าไปทำไม เขี่ยนนั่นเขี่ยนี่ไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องปิดปากเสียหน่อย

เมื่อข้าวอยู่ในปากไม่พูด, พูดแล้วฟังไม่ชัด, ข้าวจะกระเด็นออกจากปาก

เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก, อันนี้เป็นของแขก แขกเปิบข้าวด้วยมือแต่เปิบไม่เป็น

เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว, กัดนี้ห้ามทั้งหด กัดเนื้อ กัดปลา กักกล้วย กัดผลไม้ ไม่ได้ ต้องตัดด้วยมีด ด้วยส้อมแล้วใส่เข้าปาก

เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย, คำเล็กก็ไม่ตุ้ย ถ้าคำโตมันก็ตุ่ย ตุ่ยนี้น่าเกลียดเหมือนวานรอมเมี่ยง ดูไม่สวย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร