วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระ - คำนำหน้า ที่ใช้ประกอบหน้าคำอื่นเพื่อแสดงความยกย่อง เคารพ นับถือ หรือให้ความสำคัญ

พระพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลักความจริง และหลักความประพฤติ

พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรม วินัย, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม 1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุทคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกษุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ

ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ 2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรค บ้าง ปัญจวรรค บ้าง ทศวรรค บ้าง วีสติวรรค บ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ถ้ามีภิกษุรูปเดียว เป็น บุคคล

สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูป ขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิดเดิมว่าจะไม่พิมพ์แปะหรอก แต่ได้สนทนากับนู๋เม โลกสวยเรื่องพระสงฆ์ที่ viewtopic.php?f=1&t=55375&p=417396#p417396 ด้วย เห็นคคห.คุณโลกสวยบอกลาบอร์ดด้วย จึงยอมเมื่อยมือพิมพ์แปะไว้ เพื่ออะไร ? เพื่อขอให้นู๋เม โลกสวยอยู่คุยกันก่อน อย่าเพิ่งไปเลยนะ นะ :b1: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้มาพูดต่อเรื่อง พระสังฆคุณ ที่เราสวดสรรเสริญพระคุณของพระอริยสงฆ์

คุณของพระสงฆ์ที่เราสวดนี้ หมายถึงคุณของพระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อริยสงฆ์ คือพระสงฆ์ที่บรรลุคุณธรรมขั้นสูง ที่เป็น ๔ บุคคล พระอริยสงฆ์เป็นผู้ที่ช่วยสืบศาสนา ช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ลำพังองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เดียวนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะทำการเผยแพร่ธรรมะให้ไปถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีสาวกสงฆ์เข้ามา คือ ผู้ที่มาฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใส บวชในพระพุทธศาสนา
เมื่อบวชแล้วก็ได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมะจนกระทั่งบรรลุมรรคผล เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วก็ออกไปช่วยสั่งสอนธรรมะต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยสงฆ์ในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงพระชนม์อยู่นั้น ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ช่วยงานสำคัญในพระศาสนาก็มีประมาณ ๘๐ รูป

๘๐ รูป นี้ เรียกว่าเป็นพระมหาเถระ เป็นพระผู้ใหญ่ ได้ทำประโยชน์แก่พระศาสนามาก

นอกจากนั้น ก็มีพระที่ไม่ปรากฏชื่อ ท่านก็ได้บรรลุมรรคผลเหมือนกัน แต่ว่าไม่ปรากฏชื่อโด่งดัง เพราะว่าเป็นผู้อยู่เงียบๆ ไม่ทำงานทำการให้เป็นที่โด่งดังอะไร ก็ไม่มีปรากฏในตำนาน

ส่วนพระที่ปรากฏชื่ออยู่ในตำนาน เช่นว่า พระโกณฑัญญะ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระอานนท์ พระเถระผู้ใหญ่ ท่านปฏิบัติงานมาก การบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ก็มีชื่อของท่านอยู่ เช่น พระสารีบุตรทำงานมากจนต้องรวบรวมเรื่องไว้เฉพาะทีเดียว ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย มีเรื่องเฉพาะ เช่น เรื่องพระสารีบุตรโดยเฉพาะ ของพระมหากัสสปะ แสดงว่าท่านเหล่านี้ปฏิบัติงานมากจนต้องบันทึกไว้เป็นหลักฐานเฉพาะเรื่อง นอกนั้น ก็ปฏิบัติงานกันไปตามหน้าที่ แต่ไม่ปรากฏในพระคัมภีร์มากนักก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรากล่าวถึงอยู่ในคำสวดมนต์ หมายถึงพระที่บรรลุมรรคผลขั้นสูงทั้งนั้น เพราะฉะนั้น แม้คนบวชแล้ว พูดว่า เอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง คือเอาพระอริยสาวกสงฆ์มาเป็นที่พึ่ง
การเอาพระสงฆ์มาเป็นที่พึ่งนั้นก็หมายความว่า เอาพระคุณของท่านเป็นหลัก ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พระคุณของพระสงฆ์ที่เราเอามาเป็นหลักในการปฏิบัตินั่นเอง เพราะฉะนั้น ในพระรัตนะ ๓ ประการ คือ

พุทธะ เป็นผล พูดในการปฏิบัติก็เรียกว่า เป็นความบริสุทธิ์

ธรรมะ นั้น เป็นเส้นทางสำหรับเดินไปสู่ความบริสุทธิ์

สังฆะ พระสงฆ์นั้น หมายถึงตัวการปฏิบัติ คือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติสมควร เป็นตัวปฏิบัติเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น ถ้าเราปฏิบัติ เราก็เรียกว่ามีพระสงฆ์อยู่ในตัวเรา ข้อปฏิบัตินั้นก็เป็นตัวพระธรรม ก็มีอยู่ในตัวเราเช่นกัน เมื่อเราปฏิบัติก็ย่อมจะมีความบริสุทธิ์เกิดขึ้น มีความสงบเกิดขึ้น สิ่งนั้น คือ “พุทธ” น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในจิตของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อมีการปฏิบัติก็เรียกว่า ถึงทั้งพุทธะ ธรรมะ สังฆะ พร้อมอยู่ในตัวเราเลยทีเดียว หลักการเป็นอย่างนั้น

ถ้าไม่ได้มีการปฏิบัติก็ไม่ถึงอะไรเลย คือไม่มี เมื่อไม่มี จิตใจก็วุ่นวาย เศร้าหมอง ถูกกิเลสครอบงำด้วยประการต่างๆ เพื่อไม่ให้กิเลสครอบงำจิตใจเรา เราจึงควรจะได้มีการปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2018, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ทีนี้ การปฏิบัติก็คือ การกระทำ กาย วาจา ใจ ให้ถูกให้ตรงทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือที่ปรากฏอยู่ในพระสังฆคุณบทแรกว่า สุปะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

ที่เรียกว่า ปฏิบัติดี นั้น ก็หมายความว่า ปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ ในอริยมรรค มีองค์ ๘ นั้น คือ มี ศีล สมาธิ ปัญญา

ผู้ปฏิบัติดีก็คือ ปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ อริยมรรค มีองค์ ๘ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ) สัมมาวาจา (การพูดชอบ) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) นี่เป็นอริยมรรค มีองค์ ๘

สิ่งนี้มีตัว ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ว่าเขาเอาตัวปัญญาขึ้นต้น สัมมาทิฏฐิ เป็นตัวปัญญา เราคงจะนึกว่าทำไมเขาเรียงอย่างนั้น ที่อื่นเขาเรียงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา แต่พอมาอริยมรรค เอา ปัญญา ขึ้นหน้า แล้วก็ ศีล แล้วก็ สมาธิ

ที่เรียงผิดกันนั้น โดยที่เรียงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เรียงตามแบบปริยัติ ตามทฤษฎี เป็นทฤษฎีล้วน
แต่ว่าเรียงแบบเอาปัญญาขึ้นหน้าเป็นการเรียงแบบปฏิบัติ คือในการปฏิบัตินั้นต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ ปัญญาเป็นพื้นฐานก้าวขึ้นไปเป็นปัญญาขั้นสูงโดยลำดับ เพราะการกระทำอะไรที่ปราศจากปัญญานั้น มันล่อแหลมที่จะให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
แต่ถ้ามีตัวปัญญาขึ้นมากำกับแล้วจะไม่เกิดความผิดพลาด อันนี้ไมว่าจะเป็นงานประเภทใด งานฝ่ายกาย งานฝ่ายจิต หรือพูดว่างานฝ่ายโลก งานฝ่ายธรรม ต้องใช้ปัญญาเป็นตัวนำ งานนั้นจึงจะเรียบร้อย
ถ้าขาดปัญญาเป็นตัวนำเสียแล้ว งานที่กระทำจะผิดพลาดได้ง่าย

เพราะฉะนั้น ในการเรียงอริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านจึงเอาปัญญาไว้หน้า หมายความว่าต้องปฏิบัติก่อน คือ มีสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐาน ขาดสัมมาทิฏฐิมันจะเขวไปหมด
แต่ถ้ามีสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐานแล้วจะไม่เขว จะเป็นทางเดินที่ถูกต้องตรงไป แล้วก็มีสัมมาสังกัปปะ คิดชอบ แล้วก็ชอบไปหมด ขาดตัวหน้าแล้วก็ตัวหลังขาดหมด ผู้ที่ปฏิบัติก็เรียกว่าปฏิบัติตรงตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือพูดว่า ปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา

แม้ในการปฏิบัตินั้น ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบที่ว่าไว้ ไม่บิดเบี้ยวคดงอ เรียกว่า เป็นการปฏิบัติดีแล้ว การปฏิบัติดีแล้ว ไม่หนักใจ ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนอะไร เพราะการทำดีนั้น ไม่ต้องหนักอกหนักใจ การทำชั่วช้าเป็นเรื่องหนักใจ ขอให้คิดดูเถอะ ใครที่จะทำชั่วมันหนักใจ มีความวิตกกังวล ปัญหาเกิดขึ้นหลายซับหลายซ้อน

แต่ถ้าจะทำดีแล้วมันไม่มีอะไรหนักใจ สบายใจ เหมือนกับสามเณรตัวน้อยๆ ถ้าทำอะไรไม่ดีแล้วมันไม่สบายใจ หนีก็ไม่สบายใจ แต่ถ้ามาตามปรกติ ก็ไม่มีอะไรหนักใจ จะมีหนักอยู่บ้างก็ตัวขี้เกียจมันมาถ่วง ที่หนักก็ไม่ใช่เพราะการทำดี แต่เพราะตัวชั่วเข้ามาเลยทำให้หนัก เมื่อไม่มีความชั่วแล้วมันเบา จิตใจเราเบาแล้วมันก็สบาย เพราะฉะนั้น การทำดี เรียกว่าทำแล้วสบายใจ ทำแล้วสงบใจ ไม่มีเรื่องอะไรวุ่นวายเดือดร้อนจากปัญหาที่เรากระทำนั้น จึงเรียกว่า เป็น สุปฏิปันโน.


ที่เรียกว่า สุปฏิปันโน นั้น ก็ต้องปฏิบัติตาม นอกจากศีลที่พระสงฆ์เราต้องปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถือระเบียบวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ วินัย นั้น เป็นเครื่องรักษาหมู่คณะให้เรียบร้อย

คนอยู่กันมากๆ ต้องมีวินัยเป็นเครื่องบังคับ ถ้าไม่มีวินัยก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะต่างคนต่างไป ต่างคนต่างทำ จะเกิดปัญหามากเรื่อง

แต่ถ้าถือตามวินัยแล้วก็เหมือนเป็นคนๆเดียวกัน นุ่งห่มเหมือนกัน ประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน มีศีลเสมอกัน การอยู่ด้วยกันอย่างนั้น มีความสุข ความสบาย ไม่มีปัญหาวุ่นวายเกิดขึ้นแต่อย่างใด อันนี้เรียกว่า เป็นการปฏิบัติดี อันหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ

ทีนี้ การปฏิบัติก็คือ การกระทำ กาย วาจา ใจ ให้ถูกให้ตรงทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือที่ปรากฏอยู่ในพระสังฆคุณบทแรกว่า สุปะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

ที่เรียกว่า ปฏิบัติดี นั้น ก็หมายความว่า ปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ ในอริยมรรค มีองค์ ๘ นั้น คือ มี ศีล สมาธิ ปัญญา

ผู้ปฏิบัติดีก็คือ ปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ อริยมรรค มีองค์ ๘ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ) สัมมาวาจา (การพูดชอบ) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) นี่เป็นอริยมรรค มีองค์ ๘

สิ่งนี้มีตัว ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ว่าเขาเอาตัวปัญญาขึ้นต้น สัมมาทิฏฐิ เป็นตัวปัญญา เราคงจะนึกว่าทำไมเขาเรียงอย่างนั้น ที่อื่นเขาเรียงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา แต่พอมาอริยมรรค เอา ปัญญา ขึ้นหน้า แล้วก็ ศีล แล้วก็ สมาธิ

ที่เรียงผิดกันนั้น โดยที่เรียงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้เรียงตามแบบปริยัติ ตามทฤษฎี เป็นทฤษฎีล้วน
แต่ว่าเรียงแบบเอาปัญญาขึ้นหน้าเป็นการเรียงแบบปฏิบัติ คือในการปฏิบัตินั้นต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำ ปัญญาเป็นพื้นฐานก้าวขึ้นไปเป็นปัญญาขั้นสูงโดยลำดับ เพราะการกระทำอะไรที่ปราศจากปัญญานั้น มันล่อแหลมที่จะให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

แต่ถ้ามีตัวปัญญาขึ้นมากำกับแล้วจะไม่เกิดความผิดพลาด อันนี้ไมว่าจะเป็นงานประเภทใด งานฝ่ายกาย งานฝ่ายจิต หรือพูดว่างานฝ่ายโลก งานฝ่ายธรรม ต้องใช้ปัญญาเป็นตัวนำ งานนั้นจึงจะเรียบร้อย
ถ้าขาดปัญญาเป็นตัวนำเสียแล้ว งานที่กระทำจะผิดพลาดได้ง่าย

เพราะฉะนั้น ในการเรียงอริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านจึงเอาปัญญาไว้หน้า หมายความว่าต้องปฏิบัติก่อน คือ มีสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐาน ขาดสัมมาทิฏฐิมันจะเขวไปหมด
แต่ถ้ามีสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐานแล้วจะไม่เขว จะเป็นทางเดินที่ถูกต้องตรงไป แล้วก็มีสัมมาสังกัปปะ คิดชอบ แล้วก็ชอบไปหมด ขาดตัวหน้าแล้วก็ตัวหลังขาดหมด ผู้ที่ปฏิบัติก็เรียกว่าปฏิบัติตรงตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือพูดว่า ปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา

แม้ในการปฏิบัตินั้น ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบที่ว่าไว้ ไม่บิดเบี้ยวคดงอ เรียกว่า เป็นการปฏิบัติดีแล้ว การปฏิบัติดีแล้ว ไม่หนักใจ ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนอะไร เพราะการทำดีนั้น ไม่ต้องหนักอกหนักใจ การทำชั่วช้าเป็นเรื่องหนักใจ ขอให้คิดดูเถอะ ใครที่จะทำชั่วมันหนักใจ มีความวิตกกังวล ปัญหาเกิดขึ้นหลายซับหลายซ้อน

แต่ถ้าจะทำดีแล้วมันไม่มีอะไรหนักใจ สบายใจ เหมือนกับสามเณรตัวน้อยๆ ถ้าทำอะไรไม่ดีแล้วมันไม่สบายใจ หนีก็ไม่สบายใจ แต่ถ้ามาตามปรกติ ก็ไม่มีอะไรหนักใจ จะมีหนักอยู่บ้างก็ตัวขี้เกียจมันมาถ่วง ที่หนักก็ไม่ใช่เพราะการทำดี แต่เพราะตัวชั่วเข้ามาเลยทำให้หนัก เมื่อไม่มีความชั่วแล้วมันเบา จิตใจเราเบาแล้วมันก็สบาย เพราะฉะนั้น การทำดี เรียกว่าทำแล้วสบายใจ ทำแล้วสงบใจ ไม่มีเรื่องอะไรวุ่นวายเดือดร้อนจากปัญหาที่เรากระทำนั้น จึงเรียกว่า เป็น สุปฏิปันโน.


ที่เรียกว่า สุปฏิปันโน นั้น ก็ต้องปฏิบัติตาม นอกจากศีลที่พระสงฆ์เราต้องปฏิบัติตามแล้ว จะต้องถือระเบียบวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ วินัย นั้น เป็นเครื่องรักษาหมู่คณะให้เรียบร้อย

คนอยู่กันมากๆ ต้องมีวินัยเป็นเครื่องบังคับ ถ้าไม่มีวินัยก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะต่างคนต่างไป ต่างคนต่างทำ จะเกิดปัญหามากเรื่อง

แต่ถ้าถือตามวินัยแล้วก็เหมือนเป็นคนๆเดียวกัน นุ่งห่มเหมือนกัน ประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน มีศีลเสมอกัน การอยู่ด้วยกันอย่างนั้น มีความสุข ความสบาย ไม่มีปัญหาวุ่นวายเกิดขึ้นแต่อย่างใด อันนี้เรียกว่า เป็นการปฏิบัติดี อันหนึ่ง



กท.พูดถึงวิธีจัดเรียง อริยมรรค สู่ ไตรสิกขา

viewtopic.php?f=1&t=55570

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อุชุปฏิปันโน “ปฏิบัติตรง” ตรงทางไหน ? ทางตรงเป็นทางลัด แต่ทางคดเป็นทางที่อ้อมค้อม อันนี้ ทางตรงของพระพุทธเจ้าวางไว้ ให้เดินตรงไป เพราะเราที่มาบวชในพระศาสนามีจุดมุ่งหมายอยู่ที่อะไร ทางไปตรงไหนเราต้องรู้จุดหมาย จุดหมายนั้นก็คือการดับทุกข์ได้ เรียกตามภาษาบาลีว่า วิมุตติ หมายความว่า พ้นจากความทุกข์ หรือเรียกว่า นิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน ก็หมายความว่า ดับร้อนได้ ใจเย็น ใจสงบ เราบวชเข้ามาก็ให้ถึงจุดนั้น คือ ความพ้นทุกข์ ดับความร้อนในทางจิตใจได้ อันนี้ ถ้าเราตั้งเป้าหมายเข้าไปสู่จุดนั้น จะต้องตรงไป เดินตรงไปสู่เป้าหมายนั้น อย่าเลี้ยวแวะเข้าข้างทาง อย่าพัก ต้องเดินชนิดที่เรียกว่า ไม่หยุด เพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางนั้น สำหรับผู้ที่บวชจริงๆ เรียกว่าบวชจริงๆ เรียกว่าบวชกันตลอดชีวิต การบวชตลอดชีวิต เรียกว่าตรงไปแล้ว แต่ถ้าบวชไปแล้วสึกแล้ว ก็เรียกว่าแวะข้างทาง

แต่สำหรับพวกเรานั้น มิได้ตั้งใจอย่างนั้น ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชจนตลอดชีวิต แต่ไม่แน่เหมือนกัน บางคนบวชไป ปฏิบัติไป ก็ชักจะชอบขึ้นมา ใจชอบก็เลยตัดสินใจว่าไม่เอาแล้ว ลาออกจากราชการแล้วบวชต่อไปจนตลอดชีวิต ซึ่งก็มีเหมือนกัน เพราะว่าเบื่อหน่ายต่อฆราวาสวิสัยซึ่งซ้ำๆซากๆ อยู่ด้วยเรื่องของกิเลสตัณหา ก็เลยบวชตลอดชีวิตไป
ถ้าว่าเราจะบวชตลอดชีวิต ก็หมายความว่า ตรงไปสู่จุดหมายปลายทางที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้
แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิต เราก็เดินไปสู่จุดหมายครึ่งทาง

ครึ่งทางของเป้าหมายนั้นอยู่ที่อะไร ? อยู่ที่ประโยชน์ที่มองเห็นในเวลานี้เดี๋ยวนี้ หรือประโยชน์เบื้องหน้าอีกนิดหน่อย แต่ไม่ใช่ประโยชน์ที่จะถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง เอาเพียงว่าเอาประโยชน์เวลานี้ ให้ใจสบาย ให้มีสติ มีปัญญาพอสมควร เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น

คนที่มาบวชในพระศาสนาแล้วได้รู้ธรรมะ เข้าใจธรรมะ เราก็ใช้ธรรมะนั้นไปแก้ปัญหาชีวิต เวลาใดเกิดปัญหา มีความทุกข์มีความร้อนอกร้อนใจ เราก็พอจะรู้ว่ามันเกิดจากอะไร อะไรเป็นเหตุ เป็นตัวทำให้เกิดขึ้น แล้วเราก็จัดการแก้ไขสิ่งนั้น นั่นคือผลที่เราต้องการ เรียกว่า ผลครึ่งทาง เพราะยังออกไปอยู่เป็นอย่างคฤหัสถ์ ครองบ้านครองเรือน แต่ว่าอยู่อย่างคนดี เขาเรียกว่า กัลยาณปุถุชน อยู่อย่างคนดี คนเรียบร้อย ประพฤติอยู่ในตัวบทกฎหมายของบ้านเมือง มีระเบียบบังคับจิตใจ ไม่เป็นคนประเภทตกเป็นทาสของกิเลสมากเกินไป ใช้กิเลสบ้างพอสมควร เรียกว่า ใช้ในฐานะอยู่ครองเรือน แม้จะเสพกามก็มิได้เสพเพื่อสนุกสนาน เพื่อความเพลิดเพลินเอร็ดอร่อย

แต่ว่าทำไปเพื่อการสืบพันธ์ ให้มันมีอยู่ในโลกต่อไป อย่าให้มันสูญเสีย เอาไว้เพียงสักหน่อสองหน่อ อย่าให้มันมากเกินไป แล้วเราก็หยุดเสียว่าพอแล้ว อย่างนี้ เรียกว่า ไม่เกินพอดี และเมื่อทำให้เขาเกิดมาแล้ว เราก็ทำนุบำรุงเลี้ยงดูให้ดีเท่าที่เราจะทำได้ เช่น อบรมบ่มนิสัย ให้การศึกษา ชี้แนะแนวทางชีวิต จนกระทั่งเขาเติบโต ปีกกล้าขาแข็งพอจะบินไปด้วยตัวเองได้ เป็นหน้าที่เราจะต้องทำต่อไป อันนี้ เรียกว่า เป็นการปฏิบัติตรงไปในฐานะของกัลยาณปุถุชน


คฤหัสถ์ ก็เรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติตรงได้เหมือนกัน ไม่ใช่เป็นนักบวชเสมอไป แต่ตรงอย่างคฤหัสถ์

ถ้าเราเป็นนักบวช ก็เรียกว่า ตรงอย่างนักบวช เรียกว่าปฏิบัติตรง มุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง ถ้าเราจะมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางแท้จริง เราต้องไม่แวะเวียนแล้วเปลี่ยนเข็มชีวิต ตั้งเข็มไว้เหมือนกับเรือเดินสมุทรตั้งเข็มทิศไว้มันก็จะไปถึงจุดหมายที่ต้องการ ไม่คดเคี้ยว ไม่เลี้ยวเลาะไปเป็นอันขาด

คราวนี้ อะไรที่จะทำให้เราไปตรงไม่ได้ สิ่งที่จะทำให้ไปตรงไม่ได้ ก็คือกามคุณนี้เอง เป็นสิ่งล่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรียกว่า กามคุณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้อยคำและความหมาย คคห.บน

กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ

กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์

กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่ กามคุณ ๕ นั่นเอง 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม


ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

กัลยาณปุถุชน คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี, ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

กัลยาณชน คนประพฤติดีงาม, คนดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อันนี้ เขาเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบไว้ว่า มีเจ้าชายหนุ่มพระองค์หนึ่ง พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก ออกจากนครหนึ่ง เพื่อจะไปสู่อีกนครหนึ่ง

ในการเดินทางนั้นต้องผ่านป่า ป่าใหญ่เสียด้วย เขาเรียกว่าป่ารกชัฏทุรกันดาร แต่ว่ามีเส้นทางที่จะเดินไปได้

เจ้าชายหนุ่มผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์ เมื่อจะออกเดินทางก็ได้เรียกบริวารบอกว่า ในการเดินทางไปในป่านี้มีอันตรายรอบข้าง เราจะต้องระวังในเรื่องของอาหารการกิน เรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ เรื่องสิ่งที่ได้ประสพพบเห็น ต้องระวังทุกอย่าง
ถ้าประมาทขาดความระมัดระวังแล้ว เราจะไปไม่ถึงนครที่เราตั้งใจไป ได้เตือนบริวารเหล่านั้นแล้วก็ออกเดินทางไป


ทีนี้ ในการเดินทางนั้น มีพวกยักษ์ซึ่งอยู่ในป่า รู้ว่าเจ้าชายกับบริวารกำลังเดินทางมา ก็เลยปลอมตัวมาในรูปต่างๆ เช่น รูปมนุษย์ที่สวยงาม

พวกชุดแรกที่ได้เห็นเป็นคนรูปสวย เป็นผู้หญิงสวยๆ มาเดินกรีดกรายตามชายป่าที่ร่มรื่น ซึ่งพวกที่เดินทางนั้นไปนั่งพักกัน ผู้ที่เป็นหัวหน้า คือเจ้าชายก็ทรงบอกลูกน้องให้ระวังให้ดี อันตรายจะมีแก่เราทั้งหลาย

บางคนก็เชื่อฟังเจ้าชาย ได้ระวังตัว ไม่หลงใหลไป
แต่บางคนไม่เชื่อ พอเห็นรูปก็ลุ่มหลงเดินไปหาพวกสวยๆ เหล่านั้น
พวกสาวๆเหล่านั้น ก็ชวนเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วมันกลายเป็นยักษ์จับพวกนั้นกินหมดเลย
พวกแรกนี่ตายไปเพราะหลงรูปที่สวยงาม
พวกที่เหลือก็เดินทางต่อ

พวกที่เนรมิตรูปสวยมันก็มาในรูปใหม่อีก เป็นพวกฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี ดีดสีตีเป่าไพเราะโสต เสียงยะเยือกเย็นน่าฟัง
เจ้าชายก็บอกว่าระวังให้ดี อย่าไปหลงเสียงปี่ เสียงเพลงของพวกนั้น
ไอ้พวกที่เชื่อก็ไม่เป็นไร
พวกที่ไม่เชื่อก็อยากดู ต้องไปดู และร้องรำทำเพลงกับพวกนั้น
พวกนั้นก็ย้ายวงเข้าไปในป่ากับพวกยักษ์ที่แปลงมา
พอเข้าไปในป่าก็ถูกจับกินหมด พวกนี้ตายเพราะหลงเสียงที่ไพเราะ
พวกที่ยังเหลือก็เดินทางต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้เป็นเวลาเย็น เดินมานานแล้วก็จะพักผ่อน

พวกยักษ์นั้น ก็ไปสร้างกระท่อมประดับด้วยไม้หอมๆกลิ่นดีๆ ที่นอนก็ประพรมด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ มีกลิ่นหอมหวนชอนดมทั้งนั้น
เจ้าชายพอได้เห็น ก็บอกว่า ไอ้ที่สบายอย่านอน เราไปนอนที่ไม่สบายกันดีกว่า พวกที่เชื่อก็ตามเจ้าชายไป

อีกพวกหนึ่งก็ว่าของดีๆ อย่างนี้ไม่นอน จะไปนอนกลางดินกลางทรายทำไม พวกนั้นก็ไปนอนที่ประพรมด้วยดอกกุหลาบ มะลิป่า หอมหวนชวนใจนอนหลับไปก็ถูกยักษ์หักคอเอาไปกินหมด พวกนี้ตายไปเพราะหลงกลิ่นที่หอมหวนชวนดม

ที่เหลือก็เดินทางต่อไป พวกยักษ์ก็มาในมาดใหม่อีก พวกนี้ก็ได้เวลาจะกินอาหารกลางวัน เขามาในมาดใหม่อาหารไว้เยอะ กับข้าวดีๆ หมู เห็ด เป็ด ไก่ เห็นแล้วน้ำลายสอ
เจ้าชายก็เตือนว่า ระวังอาการอย่างนี้มีในป่า มันชักจะไม่เข้าทีเสียแล้ว พวกเราอย่าเพิ่งบุ่มบ่ามกินกันนะ พวกที่เชื่อก็ไม่เป็นไร

ส่วนพวกที่ไม่เชื่อฟัง ก็ว่าของดีๆ อย่างนี้ ไม่กินแล้วจะไปกินอะไร เลยไปกินกันใหญ่ กินเข้าไปแล้วก็เมาอาหารนอนหลับเป็นแถว ยักษ์ก็เอาไปกินเสียอีกตามเคย นี่เรียกว่าหลงใหลในรสอาหาร แล้วก็หลงใหลในเรื่องรสสัมผัสถูกต้องร่างกายสวยงาม.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ ประการนี้ เป็นมารมาล่อให้คนหลงใหลมัวเมา เพลิดเพลินไปด้วยประการต่างๆ

ที่ว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เราอย่านึกในวงแคบ อย่านึกว่าเป็นรูปร่างของสตรี กลิ่นสตรี รสจากสตรี รสจากบุรุษ เท่านั้น ไม่ว่าอะไรที่เป็นสิ่งยั่วใจให้เพลิน อยู่ในพวกนี้ทั้งนั้น เช่น สุรา เมรัย บุหรี่ กัญชา เฮโรอีน เครื่องดองของเมาต่างๆ หรือสิ่งยั่วตา ยั่วใจให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทุกแง่ทุกมุม เป็นสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยที่เราต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
ถ้าผู้ใดระมัดระวังก็ปลอดภัย เหมือนกับเจ้าชอบองค์นั้น เดินไปถึงนครโน้นแล้วไดเสวยราชสมบัติได้เป็นกษัตริย์ต่อไป

เรื่องนี้เป็นนิทานเปรียบเทียบ ให้เห็นว่าคนเราเป็นผู้เดินทาง เกิดมาก็เป็นนักเดินทาง แล้วเดินทางเรื่อยไป

จุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน? ให้ถือว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ดับทุกข์ได้ การดับทุกข์ได้เป็นจุดหมายปลายทางของเรา แต่กว่าจะถึงจุดนั้นมันเที่ยวแวะข้างทางชมรูป ชมเสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง ชอบอกชอบใจ ติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น มันก็ไปไม่สำเร็จ
เหมือนกับเด็กน้อยที่ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน บางคนก็จบไปถึง ม. ๖ จบมหาวิทยาลัยได้ปริญญาสบายอกสบายใจ
แต่บางคนเรียนไม่รอด ก๊อกๆแก็กๆ อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ก้าวหน้า เพราะอะไร ? ไปเที่ยงหลงใหลสิ่งภายนอก อันก่อนให้เกิดสิ่งเพลิดเพลินเจริญใจ เช่น ไปเที่ยวนี่มันสบาย ไม่ต้องเรียน ไปเล่นก็บาย ไม่ต้องเรียน ไปสนุกกับเพื่อน อย่างนี้ เขาเรียกว่า สุขเบื้องต้น แต่ว่า มันทุกข์ตอนปลาย คล้ายกับกินของอร่อยกันเพลินไป ลงท้อง ก็ท้องเสียด้วยประการต่างๆ ในชีวิตขอคนเราก็มีสภาพเช่นนั้น

คนเรามีชีวิตสนุกสนาน ทำอะไรต่างๆ จนอายุเป็นหนุ่ม มันก็ยังไม่ก้าวหน้า และไม่ได้คิดว่าเราโตขึ้นจะไปอยู่อย่างไร เอาอะไรเป็นเครื่องประกอบชีวิตบ้าง วิชามีไหม ความสามารถมีไหม ความประพฤติที่เป็นหลักฐานดีงามมีไหม มองดูแล้วไม่เจอ มีแต่เรื่องสนุกสนาน เหลวไหลไม่เข้าเรื่อง แล้วจะอะไรไปกินไปใช้ นึกไม่ได้ เพราะไม่ได้คบกับคนให้นึกให้คิด ไม่มีใครสะกิดใจเตือนใจ
มีคนชวนให้ลงเหวทั้งนั้น ก็เลยสนุกกันเรื่องอย่างนั้น เรียกว่า เที่ยวคดไปคดมา ไม่มุ่งตรงไปสู่จุดหมาย ผู้ปฏิบัติงานไม่ว่าเป็นทางด้านใดต้องตรงไปสู่เป้าหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2018, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในชีวิตเรามันต้องมีเป้าหมาย ไม่ว่าจะอยู่วัดหรืออยู่บ้าน ต้องมีเป้าหมาย ชีวิตต้องมีเข็มไว้ว่า เราจะเป็นอะไร เราจะทำอะไร เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต้องมีเป้า เคยถามเด็กหนุ่มๆ ที่เรียนชั้น ม. ๔ ม. ๓ หลายคน ว่าเธอเคยคิดบ้างไหมว่า เธอเติบโตจะไปเป็นอะไร
ส่วนมากจะยังไม่เคยคิด ตอบอย่างนั้นมากที่สุด
แต่ว่าจะมีสักเปอร์เซ็นต์หนึ่งหรือสองเปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่า ผมอยากเป็นหมอ ผมอยากเป็นทหาร ผมอยากจะเป็นอะไร มันมีบ้างที่ตอบอย่างนี้ แต่ว่าน้อย ส่วนมากมักจะตอบว่ายังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร

แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเด็กนั้นไม่ได้ชี้ทางให้เดิน ไม่ได้แนะนำทางชีวิตให้เขาเข้าใจ ว่าควรจะเดินไปทางไหน ควรจะไปสู่อะไร เขาเดินตุปัดตุเป๋ไปตามเรื่อง แวะเวียนวกวนอยู่ เป็นคนหลงทาง คนเราเกิดมาแล้ว ไม่มีเข็ม ไม่มีจุดหมาย เขาเรียกว่าเป็นคนหลงทาง หลงอยู่ในโลก ไม่ออกไปสู่จุดที่ต้องการ อย่าอยู่อย่างคนหลง อย่าอยู่อย่างคนตาบอด เราต้องอยู่อย่างมีจุดหมาย ว่าเราจะทำอะไร
แล้วเมื่อตั้งใจแล้วก็ต้องเดินไปสู่เป้านั้นไม่เปลี่ยนแปลง เดินตรงไม่ได้ก็เดินอ้อมบ้าง แต่เราต้องไปสู่ที่เราตั้งใจไว้ให้ได้ ในทางนี้ไม่ได้ต้องอ้อมไปหน่อย แต่ว่าไปสู่จุดที่เราต้องการ ไม่ยอมทิ้งจุดที่เราต้องการ อันนี้ เรียกว่า มีจุดปลายทาง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร