วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2018, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัปปุริสบัญญัติ ๓ (ข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓)

วันนี้ จะได้อธิบายข้อธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพวกเราต่อไป เรื่องที่จะพูดในวันนี้ ชื่อ สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง

สัปปุริส เรียกในภาษาไทยว่า สัตบุรุษ ถ้าแปลตามตัวอักษรว่า บุคคลผู้มีความสงบ ซึ่งมาจากคำว่า สันตะปุริสะ แปลว่า ผู้มีความสงบ คือตามปกติเป็นผู้มีกายสงบ ใจสงบ ไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่ง เป็นพวกสัตบุรุษ คนที่มาวัดปฏิบัติทางศีลธรรม เขามักจะเรียกว่า พวกสัตบุรุษ หรือเรียกว่า ทายก, ทายิกา ทายก แปลว่า ผู้ให้ผู้ชาย ทายิกา คือ ผู้ให้ผู้หญิง หรือเรียกว่า อุบาสิกา นั่นเอง

ทีนี้ บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ คือคนดีนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือคนดี ตามแบบหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา

ทีนี้ คนดีคือสัตบุรุษ บัญญัติข้อปฏิบัติไว้ ๓ อย่าง

๑. ทาน สละสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น

๒. ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

อันนี้ เรียกว่า ธรรม ๓ ประการ เป็นข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ เป็นข้อที่สัตบุรุษจะพึงปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ผู้ปฏิบัติหลักธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นคนดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2018, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ ข้อต้น เรื่องทาน สละสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

เรื่องทาน แปลว่า การให้ เรื่องของการให้เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของมนุษย์เราประการหนึ่ง เพราะว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน ร่างกายไม่เหมือนกัน บางคนแข็งแรง บางคนอ่อนแอ สติปัญญาก็ไม่เท่ากัน บางคนโง่ บางคนฉลาด บางคนเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์มาก บางคนก็เกิดในตระกูลที่มีทรัพย์น้อย บางคนก็ร่างกายสมบูรณ์ ไม่พิกลพิการ แต่ว่าบางคนนั้นร่างกายวิกลวิการ ขาเสียไปบ้าง มือขาดไปบ้าง สภาพชีวิตไม่เหมือนกันอย่างนี้

ผู้รู้ทั้งหลายหรือว่าคนดีทั้งหลายจึงได้บัญญัติเรื่องทานไว้เป็นข้อแรก ให้เป็นระเบียบของสังคมมนุษย์ ว่ามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้นจะต้องมีการให้ทาน เพราะการให้ทานนี้ เป็นการเฉลี่ยความสุขให้กันและกัน ยิ่งเฉลี่ยมากเท่าใด ความสุขก็ยิ่งแผ่ออกไปกว้างเท่านั้น ทำให้ผู้ที่ขาดแคลนได้รับสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต เป็นกิจชอบที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ท่านจึงได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้

ในสังคมใดที่มีผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแจกแบ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกันและกัน สังคมนั้น ย่อมมีความสุขความสงบ แต่ในสังคมใดที่ขาดการเฉลี่ยความสุขให้แก่กัน สังคมนั้น ก็จะเกิดความวุ่นวาย คือจะเกิดความริษยา จะเกิดการเบียดเบียนกันในทางทรัพย์ ในทางร่างกาย เพราะไม่เฉลี่ยแบ่งปันกัน เพราะฉะนั้น ศาสนาในทุกศาสนามีเรื่องทานทั้งนั้น สอนให้ทำทานทั้งนั้น ตามระเบียบของศาสนานั้นๆ

ในศาสนาอิสลามเขาก็มีการบริจาคทาน เขาเรียกว่า ยากัส ยากัส คือส่วนที่จะต้องแบ่งปันให้ผู้อื่น ผู้ที่ควรได้รับส่วนแบ่งมีหลายประเภท เช่น เราทำนาได้ข้าว ต้องแบ่งให้คนบางประเภท คือคนที่พิกลพิการ เจ็บไข้ได้ป่วย มาเข้าศาสนาใหม่ ยังตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้ ไปราชการทัพกลับมาไม่มีอะไรจะกินจะใช้ ต้องแบ่งปัน นั้นเป็นเรื่องของการให้ทาน แต่ว่าทานของพี่น้องอิสลามนั้น มันจำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ในพวกของตนเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อไปถึงคนนอกศาสนา ที่ไม่นับถือศาสนาเดียวกับตน

ในศาสนาคริสต์ พระเยซูบัญญัติเรื่องทานไว้เหมือนกัน เช่น ตรัสว่า จงให้เมื่อถูกขอ นี่ก็เป็นคำเตือนเรื่องให้ทานนี่เอง ให้บริจาคส่วนที่ตนมีอยู่เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่คนอื่น ผู้ใดทำมาหากินสะสมทรัพย์สมบัติได้มากเกินไป ไม่บริจาคทาน ผู้นั้นจะไม่มีโอกาสอยู่ร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า ประตูสวรรค์ไม่เปิดสำหรับคนที่สะสมทรัพย์สมบัติมากเกินไป แล้วไม่เฉลี่ยแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2018, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางพระพุทธศาสนาเรานั้น ถือเรื่องทานเป็นเรื่องหลักปฏิบัติสำหรับชาวบ้าน เวลาพระองค์สอนชาวบ้านก็สอนเรื่องทานก่อน แล้วสอนเรื่องศีล สอนเรื่องภาวนา ที่เราเรียกว่า ทาน ศีล ภาวนา อันนี้สำหรับชาวบ้าน

สำหรับนักบวชนั้นสอนว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ข้อปฏิบัติ ๓ อย่างเหมือนกัน แต่สำหรับชาวบ้านเริ่มต้นด้วย ทาน ศีล ภาวนา สำหรับพระเริ่มต้นด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะว่าพระนั้นไม่มีวัตถุอะไรจะพึงให้ แต่ถ้ามีก็ให้ได้เหมือนกัน ไม่ได้ห้ามอะไร
ส่วนชาวบ้านนั้น มีของกินของใช้ เพราะเป็นคนประกอบอาชีพ ก็ควรจะได้มีโอกาสบริจาคทาน เฉลี่ยส่วนที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นบ้าง

เรื่องนี้ จึงถือว่าเป็นเรื่องเบื้องต้นของการก้าวหน้าในทางศีลธรรม เป็นหลักที่ทุกคนควรจะปฏิบัติ ให้เราคิดดูว่า คนเราที่อยู่รวมกัน ถ้าหากว่าต่างคนต่างตระหนี่ เห็นแก่ตัว แล้วจะอยู่ด้วยกันด้วยความสุขได้อย่างไร ถ้าทุกคนชวนกันบริจาค แบ่งปันกันกินกันใช้ สังคมนั้นก็จะมีความสุข เรื่องทานมันเป็นอย่างนี้ วัตถุที่เราจะให้เป็นทานั้น มีอยู่ ๓ อย่าง เขาเรียกว่า ให้ทานในสิ่งที่เป็นวัตถุประเภทต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2018, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ประการแรก อามิสทาน หมายถึง การให้สิ่งของ เช่น ให้เสื้อผ้า ให้อาหาร ให้น้ำ ให้ยานพาหนะ ให้ที่อยู่อาศัย ให้หยูกยาสำหรับแก้ไข้ อันนี้ เรียกว่าเป็นพวก อามิสทาน คือการให้สิ่งของที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จัดอยู่ในจำพวกอามิสทาน ใช้ได้ทั้งนั้น

อามิสทานที่เราจะให้แก่ใครๆ นั้น จะต้องพิจารณาเหมือนกัน พิจารณาให้มันเหมาะแก่บุคคลที่ต้องการ ไม่ใช่ให้ไปส่งเดชๆ ไปอย่างนั้น ไม่ใช่

ทานของสัตบุรุษต้องเป็นทานที่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับ ไม่ใช่ส่งเดชๆ ไปอย่างนั้น ต้องดูว่าผู้รับต้องการอะไร ให้ให้เหมาะกับความต้องการของเขา เช่น ผู้รับต้องการอาหาร เราก็ควรจะให้อาหาร คนหิวนี่ต้องการอาหาร ก็ควรให้อาหาร กระหายน้ำก็ต้องให้เครื่องดื่ม ต้องการเสื้อผ้าก็ต้องให้เสื้อผ้า ต้อการที่อยู่ก็ให้ปัจจัยเครื่องก่อสร้างบ้านอยู่อาศัย เจ็บไข้ได้ป่วยต้องการยาเราก็ต้องให้ยา เขาจะเดินทางไกลไปธุระ เรามีรถมีเรือพอจะช่วยเหลือกันได้ ก็ต้องให้ยานพาหนะ เพื่อให้คนนั้นไปสะดวกสู่จุดหมายปลายทาง อันนี้เรียกว่าเลือกของที่จะให้ ให้เหมาะแก่บุคคลผู้จะรับ ผู้รับก็สบายใจ เราต้องการอะไร ได้ดังใจมันสบายใจ แต่ถ้าเขาให้ในสิ่งที่เราไม่ต้องการ ก็ไม่สบายใจอะไร ไม่ชื่นใจ

ตัวอย่างเห็นง่ายๆ มีเรื่อง คือ เรื่องเกิดภัย สาธารณภัย ว่าอย่างนั้น เกิดขึ้น ลมพายุ ไฟไหม้ อะไรต่ออะไรต่างๆ หรือว่าฤดูหนาวคนต้องการเสื้อผ้า ทางหน่วยบรรเทาทุกข์ก็ประกาศให้ญาติโยมทั้งหลายทราบว่า ขอให้ช่วยกันบริจาคผ้าเพื่อเอาไปแจกแก่ราษฎรที่ยากจนตามบ้านนอก คนในกรุงเทพฯ เรานี่มีผ้าเยอะแยะเกินสมัย ไม่ใช้ เก็บไว้เฉยๆ พอได้ยินวิทยุประกาศก็โละเสียที เก็บเข้ารวมๆห่อกระดาษ แล้วเขียนว่า ห้าสิบชิ้น แล้วเขียนชื่อไว้ เอาไปบริจาค เป็นต้นนี่แหละเรียกว่าเป็นทานที่ถูกต้อง เป็นทานของสัตบุรุษที่ผู้รับสบายใจ

ฉะนั้น การที่เราจะให้อะไรใคร ต้องพิจารณาเลือกเฟ้นของที่เหมาะแก่ผู้รับ เช่น เราจะแจกหวีคนไม่มีผมเราแจกหวีให้ มันไม่ได้เรื่องอะไร แจกแหวนแก่คนนิ้วด้วน มันก็ไม่ได้เรื่องอะไร หรือว่าอิ่มท้องอยู่แล้วยังให้กินข้าวอีก มันไม่ได้เรื่องอะไร ให้ของที่มันไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการอย่างนี้ ไม่เกิดประโยชน์จริงๆ

แม้เราจะทำบุญตักบาตรนี่ก็เหมือนกัน เคยพูดกับญาติโยมบ่อยๆ เรื่องทำบุญตักบาตรหรือทำบุญกับพระ เพราะว่าเสียดายเงินทองที่สูญเสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ คือไปซื้อของที่พระไม่ใช้ถวาย หรือว่าของที่พระใช้ แต่ว่ามันใช้ไม่ได้ เอามาถวาย ฯลฯ

ฉะนั้น การที่เราจะให้อะไรใคร ต้องพิจารณาเลือกเฟ้นของที่เหมาะแก่ผู้รับ เช่น เราจะแจกหวีคนไม่มีผมเราแจกหวีให้ มันไม่ได้เรื่องอะไร แจกแหวนแก่คนนิ้วด้วน มันก็ไม่ได้เรื่องอะไร หรือว่า อิ่มท้องอยู่แล้วยังให้กินข้าวอีก มันไม่ได้เรื่องอะไร ให้ของที่มันไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการอย่างนี้ ไม่เกิดประโยชน์จริงๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2018, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่สอง ธรรมทาน ธรรมทาน นี่หมายความว่า การให้ธรรม ให้คำสั่งสอนแนะนำพร่ำเตือนแก่เพื่อนฝูงมิตรสหาย หรือว่าจะพิมพ์หนังสือธรรมแจกจ่ายแก่คนที่สนใจ ไม่ใช่แจกเฉยๆ แจกให้แก่คนที่สนใจ ไม่ใช่พิมพ์เสร็จแล้วไปยืนสี่แยกแล้ว เอ้า แจกๆ เอาไปห่อขนมหมด เลยไม่ได้เรื่องเหมือนกัน ให้แก่คนที่สนใจ เราพิมพ์แล้วเราตั้งใจไว้ ประกาศให้คนรู้ว่า มีหนังสือธรรมแจกให้แก่บุคคลที่สนใจเอาไปอ่าน จึงจะได้ประโยชน์ แจกเฉยๆ เอาทุกคน เคยพิมพ์แจกแบบนั้นเหมือนกัน ไปตามงานต่างๆ แจก เด็กก็เอา เอาทั้งนั้น แพร็บเดียวหมดเลย แต่มันเอาไปห่อของเสียมากกว่าไปอ่าน ไม่ได้เรื่อง

ที่บอกว่าแจกให้แก่ผู้ที่สนใจ ใครไม่สนใจไม่ให้ แต่ว่าไอ้ความสนใจนี่วัดยาก บางคนเห็นเขาแจกกันก็อยากได้ทั้งนั้น วางราคาน้อยๆเช่นเราพิมพ์เล่มหนึ่งราคา ทุน ๕๐ สตางค์ เอา๕๐ สตางค์ แต่มันทอนลำบาก ๕๐ สตางค์ ไม่มีสตางค์ทอน เอาบาทหนึ่ง ให้เขาไป ใครต้องการเอามาบาทหนึ่ง แจกเป็นธรรมทาน ก็ได้กำไรเอามาพิมพ์ต่อๆไป อันนี้ก็เป็นประโยชน์

สมัยก่อนนี้เคยพิมพ์หนังสือเรื่อง คำถามคำตอบเรื่องพระพุทธเจ้า พิมพ์รวมเล่มแล้วตั้งแสนกว่าเล่ม เอาไปแจกได้เงินมาพิมพ์ พิมพ์ทีละหมื่น พิมพ์หนึ่งราคา ๕๐๐๐ บาท พิมพ์หมื่นหนึ่งไปแจกบ้านนอก เทศน์ที่ไหนก็เอาไปแจกที่นั่น วิการว่าบาทหนึ่งๆ แพร็บเดียว พอบอกว่าเล่มละบาทโยม แจกอย่างนั้นเอาหมดละ ได้ทุนมาก็พิมพ์แจกต่อไปอีก พิมพ์เป็นแสนเล่ม รวมแล้ว อย่างนี้เรียกว่า ให้ทานธรรม ถือว่าเรามีความรู้ในทางธรรม เราก็ไปให้ทาน ไปพูดให้คนฟัง

ที่ประเทศลังกา มีสมาคมๆหนึ่ง เขาเรียกว่า สมาคมให้ทานธรรม สมาคมนี้ ส่งคนออกไปเที่ยวพูดธรรมตามย่านชุมนุมชน ตามสี่แยก สามแยก ตามข้างถนน ที่ไหนๆ
ท่าเรือก็มีคนงานท่าเรือเยอะ เขาไปพูดก่อนเวลาทำงาน ทำงานเจ็ดโมง หกโมงครึ่งเขาไปแล้ว ไปยืนอยู่หน้าประตูทางเข้า เอาลังไม้ฉำฉามายืนปาฐกถา
ขั้นแรกไปเห็นนึกว่านักการเมือง พวกคอมมิวนิสต์มาปลุกระดมมวลชนเพื่อให้กรรมกรท่าเรือสไตรค์ แต่ว่าไปเที่ยวไปเห็นอีกหลายแห่ง บางแห่งเขานั่งฟังเรียบร้อย คนนั่งบนเก้าอี้ คนแก่ อุบาสก อุบาสิกา นั่งฟังเรียบร้อยเชียว นึกในใจว่าเขาทำอะไร ก็เลยไปถามพระ บอกว่าไปเห็นที่ตรงนั้นตรงนี้เขาทำอะไรกัน
พระบอกว่า นี่เป็นงานของสมาคมธรรมทาน เขาคิดว่า บางคนไม่มีโอกาสไปวัด แต่หิ้วกระเช้าไปตลาด ไปถึงเจอเขาพูดธรรม หยุดฟังเสียหน่อย ห้านาทีสิบนาทีได้ประโยชน์ ขากลับก็มาฟังเสียหน่อย เขาทำตอนเช้า กับ ตอนบ่าย ส่งคนออกไปทั่วๆเป็นจุดๆ ในกรุงโคลัมโบ ไปพูดอย่างนี้
อันนี้เรียกว่าเป็นธรรมทาน เอื้อเฟื้อด้วยธรรม ให้คนได้รู้เข้าใจธรรมถึงเรื่องดีมีประโยชน์

หรือว่าเรามีความรู้เรื่องธรรม เราก็ไปขอพูดตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน ไปอธิบายธรรมให้เด็กๆฟัง อย่างนี้ เรียกว่าเป็นธรรมทาน
ถ้าเราไม่สามารถจะแสดงด้วยตัวเราเองได้ เรานิมนต์พระไปแสดง ไปติดต่อผู้ฟังไว้ ไปนิมนต์พระมาพูดที่นี่ ให้โยมมาฟังกัน เอาพระไปเทศน์ให้คนมาฟังกัน เป็นการไปให้เปล่า ไม่มีอะไรตอบแทน
เมืองไทยเรานี้ โดยทั่วไปเวลาพระเทศน์เขามีหน้ากัณฑ์ เป็นธรรมเนียมติดกัณฑ์เทศน์เพื่อบำรุงพระศาสนา แต่ถ้าปาฐกถาไม่เทศน์ ไม่ต้องติดกัณฑ์ ก็ดีไปเหมือนกัน ไม่ยุ่ง เราได้พูดด้วยความสบายใจ เป็นการให้ทานธรรมแก่คนที่ควรรู้ ควรเข้าใจ อันนี้เป็นเรื่องควรกระทำ

ในทานสองอย่างนี้ คือ อามิสทาน ธรรมทาน ถือว่า ธรรมทาน สูงกว่า ดีกว่า ประเสริฐกว่า ทำไมจึงได้เป็นเช่นนั้น ? เพราะว่าคนจะได้รับความรู้ความเข้าใจ และจะทำอะไรก็ต้องรู้ธรรมข้อนี้ จึงจะทำสิ่งอื่นได้ ท่านจึงว่า สพฺพาทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง อันนี้ เรียกว่า ธรรมทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2018, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการสุดท้าย เรียกว่า อภัยทาน. อภัยทาน นี้หมายความว่า ให้อภัย คือการไม่โกรธตอบ ไม่ด่าตอบ ไม่ตีตอบ แก่คนที่มาด่าเรา มาตีเรา มาทำๆอะไรๆให้แก่เรา เราให้อภัย อันนี้เรียกว่า อภัยทาน ไม่ถือโทษเฉยๆ นึกว่าให้ทานโว้ย ในใจคิดอย่างนั้น แล้วก็ไม่มีเรื่องไม่ต้องทะเลาะกับใครๆ เรียกว่า เป็นอภัยทานเหมือนกัน

นี่ทาน ๓ อย่าง อามิสทาน ให้สิงของ ธรรมทาน ให้ความรู้ความเข้าใจ อาหารใจ ว่าอย่างนั้นเถอะ อภัยทาน ก็คือการให้ความไม่เป็นภัยแก่ใครๆ เรียกว่า เป็นทานที่ควรกระทำเหมือนกัน

ทีนี้ การทำทานนี่เรามุ่งหมายอะไร ? ประโยชน์นี่มันอะไร ที่เราจะพึงได้พึงมีจากการทำทาน ? จุดหมายของการทำทานั้น เพื่อประโยชน์สำคัญก็คือว่า ให้เพื่ออนุเคราะห์แก่คนอื่น เขาเรียกว่า ให้ทานเพื่ออนุเคราะห์ อีกอย่างหนึ่ง เพื่อบูชาคุณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2018, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาเรื่องบูชาก่อน ให้ทานเพื่อบูชา เช่น เราเอาสิ่งของไปให้คุณพ่อคุณแม่ ความจริงก็เรื่องทานเหมือนกัน ซื้อเสื้อผ้าให้ท่าน ซื้ออาหารให้ท่าน ซื้อของที่ท่านชอบไปให้ ก็เรียกว่าทำทานเหมือนกัน แต่ว่าคนไม่ค่อยพูดว่าทำทาน เกรงว่าจะเสียหาย ความจริงมันก็ทานเหมือนกัน อย่างนี้ เราให้เพื่ออะไร ? เพื่อบูชาคุณ เพราะว่าเรานึกว่าท่านมีบุญคุณต่อเราเหลือหลาย เลี้ยงเรามา ให้การศึกษาแก่เราจนเติบโต มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะคุณพ่อคุณแม่นี่แหละ เราก็บูชาท่านด้วยเอาของไปให้ นี่เรียกว่า ให้เพื่อบูชาคุณ

ครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ถึงวันเกิด วันปีใหม่ วันอะไรก็เอาของไปถวาย เคารพครูบาอาจารย์ ไม่ต้องมากดอก ของที่เอาไปให้ น้ำใจ เรื่องน้ำใจเล็กๆน้อยๆ เป็นของที่จะเกิดประโยชน์ เช่น ซื้อผ้าขาวม้าไปฝากสักผืนหนึ่ง ฝากครูที่เคยสอนเรา ห่อกระดาษที่มันสวยๆ ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ข้างใน ว่าอย่างนั้น แล้วครูเปิดมาดูเห็นผ้าขาวม้าก็ดีใจ ลูกศิษย์มันยังคิดถึงครู อุปัชฌาย์อาจารย์
เราบวชเรียนกับใคร ศึกษาในสำนักใด ว่างๆ ก็ไปเยี่ยมอาจารย์หน่อย อยู่เรียบร้อยหรือเปล่า มาก็มีอะไรติดไม้ติดมือมาบ้าง ไอ้นี่เขาเรียกว่าของให้เป็นเครื่องบรรณาการ ไม่มีอะไร เพียงแต่มาก็ยังสบายใจ พบปะกันก็ยังสบายใจ อย่างนี้ ก็เรียกว่า เอาไปให้เพื่อบูชาคุณ
เราถวายของแก่พระ ก็เรียกว่า บูชาคุณ เพราะว่าพระท่านเป็นผู้มีธรรม เป็นตัวอย่างในทางดีของโลก เราเลี้ยงท่านไว้ ให้เป็นตัวอย่างแก่คนทั้งหลาย เราก็เอาของไปถวาย เรียกว่า บูชาคุณอย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2018, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง เราให้ทานเพื่ออนุเคราะห์ คือคนที่จนยาก คนพิการ คนอนาถา เราเห็นว่า เขามีความเป็นอยู่ลำบาก เราก็ทำทาน ทำทานแก่คนเหล่านั้นก็เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์เขา ให้เขาได้มีชีวิตเป็นอยู่สะดวกสบายตามสมควร มันต้องจัดระบบขึ้นมา จัดระบบขึ้นมาอย่างไร ? คือว่ารวมเป็นกลุ่มเป็นก้อน เรียกว่าองค์การสงเคราะห์คนยากจน คนพิการอะไรก็ตามเถอะ ตั้งเป็นองค์การขึ้น อนุเคราะห์คนพิการ ฯลฯ

หรือว่าคนแก่ คนแก่ ประเภทที่ไม่มีใครเลี้ยงก็มีบ้านให้อยู่ เดี๋ยวนี้มีบ้านของรัฐบ้านบางแค ของเมืองอื่นเขามีของเอกชนด้วย เขาตั้งเป็นกองทุนอนุเคราะห์คนแก่ คนชรา บ้านคนชรา แล้วก็มีอาหารให้กิน มีเสื้อผ้าให้นุ่งห่ม นับถือศาสนาใด มีนักบวชศาสนานั้นมาคุยธรรมให้ฟัง อบรมให้เกิดความชื่อใจ สบายใจ อันนี้ดี เป็นเรื่องมีประโยชน์
ที่ปีนังใกล้วัดไทย มีอยู่แห่งหนึ่ง เขาเรียกว่า เล่าหล่างเก๊ง เล่าหล่างเรียกว่าคนแก่ เล่านั้ง แต้จิ๋วว่าเล่านั้ง ฮกเกี๋ยน่วาเล่าหล่าง เล่าหล่างเก๊งบ้านคนแก่
คนแก่ในบริเวณนั้น มาวัดทุกวัน มาไหว้พระมาสวดมนต์ในโบสถ์ พึมพำๆ อยู่อย่างนั้น มาสวดมนต์ไหว้พระแล้วก็กลับไป อย่างนี้มันดี ให้ทานแบบนี้ดี เรียกว่าทำเป็นล่ำเป็นสัน เป็นประโยชน์ขั้นถาวร เป็นการอนุเคราะห์อย่างแท้จริง

อันนี้ ตัวเราเองนั้น จะได้อะไรจากการให้ทาน ถ้าพูดกันในส่วนตื้นๆ ละก็ได้เหมือนกันละ ได้ความสบายใจ ได้เกียรติ ได้ชื่อเสียง มีคนนิยมชมชอบ เช่นคนนั้นใจกว้างอารีอารอบ คนก็เคารพบูชาว่าเป็นคนใจดี ใจงาม มีเกียรติ มีชื่อเสียงในสังคม อันนี้ คือผลพลอยได้ เป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ได้วิเศษวิโส เรื่องธรรมดาเท่านั้น

เรื่องให้ทานที่ลึกซึ้งนี่ มันควรจะให้ทานเพื่อขูดเกลาจิตใจเราให้สะอาด ไม่ใช่เพื่อจะเอา ทางพระพุทธศาสนาเราสอนให้ทาน ไม่ใช่ให้ทานเพื่อจะเอา ถ้าให้ทานเพื่อจะเอานี่มันยังไม่ดี เขาว่าเป็นเพื่อวัฏฏสงสาร หมายความว่า เวียนว่ายตายเกิดของกิเลสอยู่ในใจเราไม่รู้จบไม่รู้สิ้น จะเอาเรื่อย กิเลสก็เกิดเรื่อยไป มันไม่จบไม่สิ้น

ต้องให้ทานที่ไม่เกิดกิเลส ก็คือว่า ให้โดยไม่หวังอะไรตอบแทน ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น ไม่ต้องการสวรรค์ ไม่ต้องการรูปสวย ไม่ต้องการความรวยทรัพย์ ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น ต้องการเพียงอย่างเดียวว่า ฉันมีหน้าที่ให้แล้วก็ให้ เพื่อสงเคราะห์แก่คนเหล่านั้น เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้น ส่วนตัวเราเองนั้นไม่มีอะไร ให้ด้วยน้ำใจอันงาม ไม่มีความต้องการตอบแทนเป็นวัตถุ หรือเป็นอะไรทั้งนั้น นี่แหละเป็นสัตบุรุษแท้

สัตบุรุษที่แท้ ให้ทานไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าอะไร ไม่ว่ามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ อะไรไม่ต้องการทั้งนั้น มีความรู้สึกแต่เพียงว่ามันเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องให้แก่คนเหล่านั้น เพราะเมื่อเราอยู่ในฐานะพอที่จะช่วยคนอื่นได้นี่ เราต้องช่วยแล้วเราก็ให้ไม่หวังอะไรตอบแทน ไม่ต้องการชื่อเสียง ไม่ต้องให้เขียนชื่อไว้ที่เสา ที่ฝาผนัง หรือว่าที่ไหนๆให้วุ่นวาย อันนี้ก็ต้องแก้เหมือนกัน นิสัยของญาติโยมบางคน

นิสัยญาติโยม ญาติโยมแกอยากดัง บางทีทำอะไร เขียนชื่อไว้หน่อยเจ้าค่ะ เหมือนกับทำกำแพงนี้ บอกดิฉันรับช่วงหนึ่งเขียนชื่อไว้ด้วยค่ะ เขียนชื่อไว้หน่อยเจ้าค่ะ กำแพงมันอยู่ริมรั้ว ไม่มีใครไปอ่านดอก คนมาวัดไม่มีใครเดินไปข้างกำแพง นอกจากเดินไปเยี่ยวเท่านั้นเอง แล้วโยมเอาชื่อไปเขียนไว้ใครจะไปอ่าน เลยบอกว่าไม่ต้องก็ได้ค่ะ เลยไม่ต้องเขียน เราก็ไม่เปลืองหินอีกก้อนหนึ่ง ค่าเขียนชื่อ มันไม่ได้เรื่องอะไร

แต่ถ้าสร้างเป็นกุฏิอะไรอย่างนั้น เขาอยากจะเขียนไว้หน่อย ก็เขียนให้เขาหน่อย เพื่อจะให้ลูกหลานมาเห็น ได้มาเห็นว่า อ้อ ปู่เราสร้างไว้ ชำรุดทรุดโทรมต้องมาซ่อมหน่อย เพราะเป็นมรดกของปู่ ได้ประโยชน์ไป

แต่ถ้ามุ่งจะเอาเกียรติ เอาชื่อเสียง ให้สังเกตเวลามีงานตามวัด เขามีเครื่องขยายเสียง เขาอ่านล่ะ นายแก้ว ๕ บาท นายจันทร์ ๑๐ บาท ดีใจ ตอนนี้ ถ้าส่งไปแล้วไม่อ่าน ไปถาม อื้อ ผมให้ไปนานแล้ว ไม่เห็นอ่านชื่อ
อ้อ นายหนู ๑๐ บาท ต้องอ่านให้แกหน่อย แกไม่สบายใจ ถ้าไม่ได้อ่านด้วย ให้กับมือแล้วยังต้องให้อ่านด้วย ทำไมจึงต้องให้อ่าน ? นั่นแหละคือความต้องการ ต้องการเอาชื่อเอาเสียง ให้มันเด่นหน่อย แล้วทางวัดก็รู้จิตวิทยา อ่านใหญ่ นายนั้นเท่านั้น นายนี่เท่านี้ อันนี้เป็นเรื่องจะเอาไม่ใช่ให้เพื่อไม่เอา

ให้เราถือหลักว่าให้เพื่อไม่เอา แล้วก็สบายใจ แล้วการให้นั้นต้องเป็นการขูดเกลาด้วย ขูดเกลากิเลส ขูดเกลาความโลภ ขูดความตระหนี่ ขูดความเห็นแก่ตัว ให้ทรัพย์ไป ๑๐ บาท ขูดความตระหนี่ไป ๑๐ บาท ให้ ๒๐ หมดไป ๒๐ ให้อย่างนั้นจะดี เรียกว่า เป็นทานแท้ และถ้าหากเราให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทน ทานนั้นมีประโยชน์ขึ้นมาก คือจะทำทานเฉพาะเรื่องที่จำเป็น
ส่วนสิ่งใดที่ไม่จำเป็นเราก็ไม่เอา เพราะเราไม่ได้หวังผลตอบแทน

มีคนที่หวังผลตอบแทนเข้าไปถาม ทำอะไรดีเจ้าค่ะ จะได้ผลตอบแทนมากๆ บอกให้ทำอะไรก็ทำทั้งนั้น เรียกว่า เมาบุญ พวกเมาบุญ อยากจะได้อย่างนั้นอยากจะได้อย่างนี้
พอเขาบอกว่า ทำไม่ให้เอาละก็ ไม่เอาละ ทำไปทำไม ไม่เห็นได้อะไร ไม่ได้สำนึกให้หน้าที่ว่าเราทำเพื่ออะไร เพราะอย่างนั้น ต้องจำหลักไว้เรื่องทานนี้ ให้เพื่อเอานั้นยังไม่เป็นทานแท้ ให้เพื่อไม่เอาละก็เป็นทานแท้ ให้แล้วไม่เอา ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ให้ตามหน้าที่อย่างนี้จึงจะใช้ได้ หรือว่าให้เพื่อความขูดเกลาสิ่งชั่วร้ายในใจเราให้หมดไป จึงจะชื่อว่าเป็นการให้ทานแบบสัตบุรุษ เป็นการให้เพื่อสะอาด สว่าง สงบ ของจิต เป็นทานที่ประเสริฐ นี่ประการหนึ่ง อันนี้ ก็เรื่องทานเอาไว้เพียงเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2018, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ สัปปุริสบัญญัติ ข้อต่อไป

ข้อที่สอง ได้แก่ ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน คำว่า “ถือบวช” นี่ สัตบุรุษต้องเป็นคนถือบวช ถือบวช หมายความว่า งดเว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การถือบวช นั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ทางร่างกาย ที่เราบวชนี่ เรียกว่า บวชตามวินัย ตามระเบียบวินัย วินัยว่า คนจะบวชในพระพุทธศาสนานี่ ต้องโกนหัว โกนหนวด ตัดเล็บมือเล็บเท้า ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะตามแบบนั้นๆ เรียกว่า เป็นการบวชในพระพุทธศาสนา อันนี้ เรียกว่า เป็นการบวชฝ่ายร่างกาย
ส่วน การบวชทางจิตใจ นั่น ก็คือว่าต้องงดเว้นจากอะไรหลายอย่าง งดเว้นทางใจ มีหลายอย่าง

การถือบวชตามข้อบัญญัติของสัตบุรุษนี้ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ว่า ให้งดเว้นจากการเบียดเบียนทุกรูปแบบ ที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น งดเว้นจากการเบียดเบียนทางร่างกาย คือไม่ทำอะไรให้ใครเดือดร้อนทางกาย ไม่เบียดเบียนทางจิตใจ ไม่ทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อนทางจิตใจ มันมีเหมือนกัน ทำให้คนอื่นเดือดร้อนทางจิตใจ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่นว่า เราเปิดเพลง หนวกหูชาวบ้าน มีงานมีการเปิดเพลงสนั่นหวั่นไหว เอาลำโพง ๔ อันขึ้นไปไว้บนยอดไผ่ ดังไป ๔ ทิศ นี่เบียดเบียนแล้ว เบียดเบียนจิตใจชาวบ้านให้นอนไม่หลับ ให้รำคาญ ให้วุ่นวาย เป็นการเบียดเบียนทางใจ ทำให้เขาเป็นทุกข์เป็นร้อน การก่อความรำคาญทุกประเภท เป็นการเบียดเบียนทางจิตใจผู้อื่น ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ ไม่ดี

เบียดเบียนในเรื่องทรัพย์สินเงินทองก็ไม่ดี เช่น เราเป็นลูกอยู่กับพ่อแม่ ใช้สตางค์เปลือง ไม่เข้าเรื่อง เบียดเบียนแล้ว เบียดเบียนพ่อแม่ เบียดเบียนทรัพย์คุณพ่อให้ท่านต้องเดือดร้อน ต้องหาเงินมาให้เราใช้มากๆ ไม่ใช่วิสัยของคนดี คนดีนั้นต้องคิดอยู่ในใจเสมอว่า การคิดของเรา การพูดของเรา การกระทำของเรา มันจะเดือดร้อนถึงใครบ้าง เพียงแต่คิดมันไม่เดือดร้อนดอก อยู่ข้างใน แต่ว่ามันจะออกมาเป็นการพูด การกระทำ พอออกมาเป็นการพูด มันก็รำคาญหูคนอื่น แล้วกระทบกระเทือนถึงร่างกายด้วย มันก็เสียหาย เพราะฉะนั้น เมื่อจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใด ก็ต้องยึดหลักว่า ไม่ให้เดือดร้อนใคร ไม่ให้ใครลำบาก เพราะการพูดการกระทำของเรา อย่างนี้ จึงจะเรียกว่าถือบวช งดเว้นจาการไม่เบียดเบียนใครๆ ให้เดือดร้อน

ทานมหาตมะคานธี ท่านถือบวช เขาเรียกว่า หลักสัตยาเคราะห์ งดเว้นจากการเบียดเบียนทุกประเภท ท่านต้องอธิบายเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ไอ้เรื่องการไม่เบียดเบียนกันนี่เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว แล้วก็ต้องปฏิบัติตามหลักนั้น เพราะฉะนั้น การต่อสู้ในทางการเมืองของท่านผู้นี้ จึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่ต้องให้ใครวุ่นวาย มีปัญหามากเกินไป แต่ว่าคนมันมาก เอามันไม่ค่อยอยู่ดอก มันมีเรื่องบ่อยๆ ถ้ามีเรื่อง คานธีก็ต้องอดอาหาร เพราะบริวารทำไม่ถูก อดอาหารเจ็ดวัน สิบห้าวัน เดือดหนึ่ง พวกนั้นก็เงียบกันเป็นแถว คานธีจะตายแล้ว เขาหยุดหมดละ ไม่ยุ่งละ พวกวุ่นวายจลาจลหยุดหมด กลัวท่านคานธีจะตาย เพราะคนรักชอบท่าน เรียกว่า ท่านคิดไปในทางอย่างนั้น ทางไม่เบียดเบียนใคร

ทีนี้ ในด้านบวก นั่นในด้านลบ คือไม่คิดเบียดเบียนใคร ในฝ่ายบวกก็ต้อง มีใจเมตตา ปรารถนาแต่ความสุขความเจริญแก่ผู้อื่น เมื่อเราไม่เบียดเบียนเขา ก็ต้องช่วยให้เขาเป็นสุข มีทางใดที่จะพูดให้เขาสบายใจ มีทางใดที่จะทำให้เขาสบายใจ สัตบุรุษต้องทำเรื่องนั้น เมื่อมีโอกาสที่จะให้กระทำ ทำทันทีอย่าช้าอยู่เป็นอันขาด อย่างนี้ เรียกว่า ถือบวช งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน

เรื่องการถือบวชนั้น เช่นว่า ศีล เป็นต้น เรารักษา ก็เรื่องไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์นี่ก็ไม่เบียดเบียนทางกาย ไม่ลักของของเขาก็ไม่เบียดเบียนทางทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกามก็ไม่เบียดเบียนกันในเรื่องความรัก ไม่พูดโกหก คำหยาบ คำเพ้อเจ้อ ผรุสวาทต่อกันก็ไม่เบียดเบียนกันทางคำพูด ดื่มสุราเมรัย นี่ก็เบียดเบียนตัวเอง เพราะทำตัวเองให้เสียหาย เสียสุขภาพอนามัยทั้งทางกาย ทางใจ แล้วกระทบกระเทือนคนอื่นอีก เช่นว่า ในครอบครัว ถ้าพ่อบ้านเป็นคนขี้เมา กระทบกระเทือนแม่บ้าน กระทบกระเทือนถึงลูกถึงเต้า หาเรื่องตบตีลูกบ้างเมียบ้าง เอะอะโวยวายทำให้หวาดกลัวกันทั้งบ้านทั้งช่อง เบียดเบียนกันทั้งนั้น เขาจึงให้ถือศีล ๕ ข้อ เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกันในเรื่องเหล่านี้ ผู้ถือศีล ก็เรียกว่า ผู้ถือบวชอยู่ในตัวแล้ว เป็นสัตบุรุษแล้ว ไม่เบียดเบียนใครให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน

งดเว้นไม่เบียดเบียนยังไม่พอ แต่ต้องเพิ่มความเมตตา การเคารพในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้อื่น มีอาชีพในทางที่ถูกที่ชอบ พอใจในคู่ครองของตัว พูดแต่เรื่องจริงเรื่องแท้ มีประโยชน์ มีสติ มีปัญญา ควบคุมจิตใจไม่ให้ไหลไปในทางชั่วทางต่ำ เป็นฝ่ายบวกเข้ามาอีก เรียกว่า เพื่อความดีให้มากขึ้น
ในเรื่องสัตบุรุษ ต้องอยู่ด้วยการไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ถ้าเราประพฤติได้ในข้อนี้มันสบาย ไปอยู่ที่ไหน ไม่มีเวรมีภัยกับใคร เจอหน้าใคร เรายิ้มทักทายปราศรัยเป็นพี่เป็นน้อง เป็นญาติเป็นมิตรกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือจุนเจือกัน ตามสมควรแก่ฐานะ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีศัตรูผู้มุ่งร้าย
แต่เราคิดมุ่งร้ายหมายขวัญต่อคนอื่น เราก็สร้างศัตรูรอบทิศ แล้วจะนอนหลับได้อย่างไร ชีวิตมันไม่เป็นสุขอย่างนี้ มันเป็นเรื่องวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ท่านจึงสอนให้งดเว้นจากการเบียดเบียนกันเป็นประการที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2018, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน สัปปุริสบัญญัติ ประการสุดท้าย

ข้อที่สาม ได้แก่ มาตาปิตุอุปัฏฐานะ ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข. ข้อนี้สำคัญ คนดี จะต้องเอาใจใส่ต่อพ่อแม่ เลี้ยงดูท่านให้มีความสุขสบายสมควรแก่ฐานะ การเลี้ยงดูพ่อแม่นั้นเราจะเลี้ยงอย่างไร ?

เลี้ยง ๒ อย่าง เลี้ยงกาย กับ เลี้ยงใจ

เลี้ยงกาย หมายความว่า ให้มีอาหารกินสมบูรณ์ ให้มีเครื่องนุ่งห่มสบาย ให้มีที่อยู่อาศัยสะดวก นี่เรียกว่า เลี้ยงกาย ท่านจะไปไหนมาไหนก็ให้ความสะดวก ทางกายต้องเลี้ยงอย่างนั้น ให้ท่านได้รับความสะดวกสบายพอสมควรแก่ฐานะ อย่าให้เดือดร้อนเรื่องกิน อย่าให้เดือดร้อนเรื่องนุ่งห่ม อย่าให้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย เจ็บไข้ได้ป่วยต้องเอาใจใส่ดูแลรักษา ต้องหมั่นมามาเยี่ยมมาเยือนไต่ถามอาการ นั่งใกล้ คนอื่นนั่งใกล้ร้อยคนไม่ชื่นใจ เพราะฉะนั้น เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยต้องอย่าละเลย เลิกงานต้องรีบกลับบ้าน วันนี้ คุณแม่ป่วย ผมมีธุระ ต้องรีบไปละ รีบมาหาท่าน มาถึงก็ถามอาการดู เอาข้าวน้ำป้อนให้ ยาป้อนให้ เรียกว่า อุปัฏฐาก เอาใจใส่ ให้นึกว่า ถ้าเราป่วย คุณแม่ไม่ไปไหนดอก นั่งเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลาฉันใด คุณพ่อคุณแม่ป่วยเราก็ต้องเอาใจใส่อย่างนั้น อย่างนี้เรียกว่า เลี้ยงกายให้ท่านสบายทางกาย

ทีนี้ เลี้ยงใจท่านอีก เลี้ยงใจ นี่สำคัญ เรื่องเลี้ยงใจ คือว่าคนแก่ ให้จำไว้ด้วย เหมือนเด็ก เด็กก็ต้องการคน ต้องการพี่เลี้ยง ต้องการคนเอาอกเอาใจฉันใด คนแก่ก็เหมือนกัน ต้องการคนเอาอกเอาใจ ต้องการให้คนมาอยู่ใกล้ๆ ไถ่ถามเรื่องนั้น เรื่องนี้ แล้วคนที่พ่อแม่ต้องการให้อยู่ใกล้คือลูกนี่แหละ ไม่ใช่ใคร คุณพ่อนี่ไม่ค่อยเท่าใด เข้มแข็ง คุณแม่นี่สำคัญ เราต้องรู้ใจท่าน ท่านเป็นผู้หญิง ยิ่งเรามีแต่แม่ด้วยแล้ว ต้องเห็นใจแม่ ท่านว้าเหว่ ท่านรู้สึกว้าเหว่
ทีนี้ ความว้าเหว่เอาอะไรมาปลอบ ? เอาลูกนี่ล่ะมาปลอบโยนจิตใจ ลูกนี่เป็นเครื่องปลอบโยนอย่างดีของแม่ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ใจแม่ของเราว่าท่านว้าเหว่ ท่านเหน็ดเหนื่อยในการเลี้ยงลูกเลี้ยงเต้า จนกว่าเราจะเติบโตเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ อันนี้ ถ้าเติบโตแล้วท่านหวังว่าจะพึ่งเรา เราก็ต้องเป็นไม้โพธิ์ไม้ไทรให้ท่านพึ่งทางใจ

การแสดงออกซึ่งน้ำใจเป็นเรื่องสำคัญ ต้องหมั่นเอาใจใส่ ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ ไปไหนกลับมาก็ต้องเข้าไปใกล้ๆ นั่งลงกราบบนตักของท่าน แล้วก็จับมือจับไม้มาดูมาแล คุณแม่สบายดีหรือครับ อะไรต่ออะไร ออเซาะนั่นแหละ ไม่มีอะไรดอก เรามันทำตนเป็นเด็กๆ เข้าไปออเซาะคุณแม่ คุณแม่ก็สบายใจ ไม่มีเรื่องน้อยใจหรือเสียใจ แต่เราอย่าทำเป็นเฉยๆ อย่างนั้นแหละ ถึงเวลากินก็กิน ถึงเวลาไปก็ไป บางทีไปไหนก็ไม่บอก ให้คุณแม่นั่งคอย ไอ้หนูเมื่อไหร่จะกลับมา ฯลฯ

เรื่องแม่นี่สำคัญ ให้ถือว่า คุณแม่เป็นเทพเจ้าที่เราต้องเคารพกราบไหว้ เป็นพระภูมิประจำบ้านเรือน
พระภูมิในศาลถ้าไม่ไหว้ เขาไม่ว่าอะไรดอก แกไม่ว่าอะไรเรา แต่ว่าพระภูมิคือพ่อแม่นี้ต้องไหว้บ่อยๆ ต้องเอาใจใส่ ต้องเซ่นวักตั๊กแตนตามเรื่องตามราว จึงได้ชื่อว่ารักแม่ รักพ่อ เอาใจใส่ ยิ่งเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ อย่าละเลยเป็นอันขาด เรื่องนี้สำคัญสำหรับมารดาบิดา ถ้าบิดาอยู่ก็เอาใจบิดา ถ้ามารดาอยู่ก็เอาใจใส่มารดา เอาใจใสอยู่ตลอดเวลา อุปัฏฐาก เขาเรียกว่า อุปัฏฐากทั้งกายทั้งใจ ให้ท่านสบายทุกวิถีทาง เราก็เกิดความสุขในครอบครัว ถ้าเราเป็นครอบครัว ไม่มีครอบครัวก็เรียกว่าอยู่กันเรียบร้อย ไม่มีปัญหายุ่งยาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2018, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สามประการนี้เป็นข้อปฏิบัติของคนดี คือ ให้ทาน ปัพพัชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาซึ่งเป็นเทพเจ้า เป็นพระพรหม เป็นคุณครูคนแรกของเรา ที่เราต้องเคารพบูชาสักการะทุกเวลานาที ไม่ละเลยเอาใจใส่
คนบางคนบางทีเพิกเฉย เหมือนว่าคนเราบ้านนอกนะมาเป็นใหญ่เป็นโตในกรุง คุณพ่อคุณแม่มาทำเฉย กำลังนั่งคุยอยู่กับแขกเหรื่อ คุณพ่อคุณแม่มาไม่เอาใจใส่ เรียกคนใช้มา ตาอะไรกับยายอะไรมาไปรับที เอาไปไว้หลังบ้านก่อนให้ไปนั่งอยู่หลังบ้าน ไม่เอามาอวดแขก ควรจะอวดเลย ถ้าว่าพ่อแม่เราเป็นชาวนาชาวไร่บ้านนอก เรามันใหญ่มาเป็นคนใหญ่คนโต เอามาอวดเลย เขาไม่ดูหมิ่นดอก เขากลับจะยกมือไหว้กันเป็นแถวไปเลย พอมาเราต้องรับเข้าไป คุณพ่อคุณแม่มาอย่างไรไม่บอก ผมจะได้ไปรับ แล้วพามาในที่ชุมนุม นี่ละ คุณพ่อคุณแม่ผมอุตส่าห์มา มีอะไรในตะกร้าเอามาฝาก คุ้ยออกมาเลย โอ้ ไอ้นี่ผมเด็กๆชอบ คุณแม่คิดถึงเอามาฝาก แจกให้พวกนั้นกินกันให้สนุกไปเลย เขาไม่ดูหมิ่นถิ่นแคลน เพื่อนที่ดีนะเขาไม่ดูหมิ่นพ่อแม่เรา รักเรามันต้องรักพ่อแม่เราด้วย ถ้ารักเราแล้วดูหมิ่นพ่อแม่เรา ไม่ได้ความ เพื่อนอย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องเอามาอวดได้ นี่พ่อแม่ฉัน ท่านเก่ง ท่านไมได้เข้าโรงเรียน แต่ท่านส่งฉันมาเข้าโรงเรียน ท่านอุดหนุนให้เล่าเรียน จนฉันเป็นใหญ่เป็นโตได้ เป็นผู้มีพระคุณเหลือหลาย เชิญให้นั่ง เราก็นั่งลง กราบแทบเท้า เพื่อนเราทุกคนต้องลงไปกราบหมด เพราะเรากราบเขาก็ต้องกราบ แล้วเขาก็จะเรียกว่าท่านพ่อท่านแม่ขึ้นมาเชียวล่ะ เราให้เกียรติ คนอื่นเขาก็ให้เกียรติ ถ้าเราไม่ให้เกียรติ ใครจะมาให้เกียรติ พ่อแม่เรา นี่สำคัญ

เคยมีตัวอย่าง พ่อแม่มา เอาไปไว้ในครัวเลย ไม่คุยด้วยเลย พอแขกกลับหมดแล้วยังดุเสียอีก ทำไมมาที่บ้านนี้ ไม่ไปบ้านโน้น บ้านนี้คือว่าบ้านเมีย เมียเขาใหญ่ ฐานะดี ไม่อยากให้พ่อแม่มาให้เมียเห็น มันใช้ไม่ได้ เป็นคนใช้ไม่ได้

มีภรรยาคนหนึ่ง คนชาวกรุงฯ แกดีมาก ได้สามีที่ว่าพ่อแม่เป็นชาวนา แล้วก็พาไปบ้าน ไปถึงเข้าไปในครัวหุงอาหาร ทำทุกอย่างปัดกวาดถูครัวให้เรียบร้อย ซักเสื้อผ้าให้คุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ชมเปาะไปเลย แหม ลูกสะไภ้คนนี้เป็นคนมีการศึกษา อยู่กรุงเทพ ฯ แต่ว่าไม่ถือเนื้อถือตัว มาถึงเข้าครัวเอง หุงหาอาหาร ครัวบ้านนอกเหมือนครัวในกรุงเทพฯ เมื่อไรล่ะ เข้าไปทำอะไรต่ออะไร แล้วเก็บเอาเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่ไปซัก บอกว่าเสื้อผ้าคุณพ่อคุณแม่ชาวนามันอย่างนั้นแหละ ไม่ค่อยสะอาด เอาไปซักไปฟอกเรียบร้อย เอามาให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ คุณพ่อคุณแม่รักลูกสะไภ้แทบจะกลืนไปเท่านั้นแหละ เรียกว่าคนเข้าใจ ถ้าคนไม่เข้าใจไปเห็นเข้าก็ทำหน้าเบ้ อื้อ มาพักที่นี่ ไปพักโรงแรมดีกว่า เสียหายแล้วนะ กินอะไรก็ไม่ได้ บางคนลืมนะ พอได้เป็นใหญ่เป็นโต กลับไปถึงบ้านอาหารเดิมกินไม่ได้ อย่างนี้เสียหาย ไม่ดี เรียกว่าลืมตัว

(จบตอน)

หนังสือนี้หน้า ๓๒๕

http://g-picture2.wunjun.com/6/full/2b3 ... s=614x1024

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2022, 04:08 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2023, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:27 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร