วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นมาของการบวช

วันนี้จะพูดถึงเรื่องความเป็นมาของการบวช เพื่อจะให้รู้ว่าความเป็นมาของการบวชมันเป็นอย่างไร ?

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายคำว่า พรหมจรรย์ กว้างๆ ก่อน

พรหมจรรย์ "จริยอันประเสริฐ" "การครองชีวิตประเสริฐ" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงความประพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิต ดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน แต่แท้จริงนั้น พรหมจรรย์ คือ พรหมจริยะ เป็นหลักการใหญ่ที่ใช้ในแง่ความหมายมากหลาย ดังที่อรรถกถาแห่งหนึ่งประมวลไว้ ๑๐ นัย คือ หมายถึง

ทาน

ไวยาวัจจ์ (คือการขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์)

เบญจศีล

อัปปมัญญาสี่ (คือพรหมวิหารสี่)

เมถุนวิรัติ (คือการเว้นเมถุน)

สทารสันโดษ (คือ ความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน)

ความเพียร

การรักษาอุโบสถ

อริยมรรค

พระศาสนา (อันรวมไตรสิกขาทั้งหมด) เฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายสำคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลัก คือ ๒ นัยสุดท้าย (อริยมรรค และพระศาสนา)

ในศาสนาพราหมณ์ พรหมจรรย์ หมายถึงการครองชีวิตเว้นเมถุน และประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดต่างๆ ที่จะควบคุมตนให้มุ่งมั่นในการศึกษาได้เต็มที่ โดยเฉพาะในการเรียนพระเวท โดยนัยหมายถึงการศึกษาพระเวท และหมายถึงช่วงเวลาหรือขั้นตอนของชีวิตที่พึงอุทิศเพื่อการศึกษาอย่างนั้น (บาลี พฺรหฺมจริย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “บวช” นี้ เราเอามาให้ใช้ในภาษาไทย มาจากคำว่า ปะวะชะ ในภาษาบาลี แปลว่า งดเว้น ผู้ที่จะเป็นนักบวชก็คือ ผู้งดเว้น งดเว้นจากเรื่องอะไร ?

งดเว้นจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบของจิตใจ ผู้ที่เป็นนักบวชนี้ เขาเรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ พรหมจรรย์นั้น หมายถึงความบริสุทธิ์ของจิตใจ

สิ่งใดที่เป็นข้าศึกแก่ความบริสุทธิ์ สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นของขัดต่อพรหมจรรย์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะคิดนึกกระทำ เพราะว่ากระทำแล้วทำให้พรหมจรรย์ของเราเศร้าหมอง ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่เราต้องการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันเรื่องของการบวชนี้ เป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่เก่าโบราณ แม้ยุคก่อนพระพุทธเจ้าของเราเกิด ในประเทศอินเดียก็มีคนเป็นนักบวชอยู่แล้ว

ทำไมเขาจึงได้ออกไปเป็นนักบวชอยู่ในป่า เรียกว่า เป็น ฤๅษี บ้าง เป็น ดาบส บ้าง นักพรต บ้าง หรืออะไรต่างๆตามชื่อที่เขาเรียกกัน ? ก็มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน

คนที่ออกไปบวชนั้น เขามองเห็นทุกข์ในชีวิตประจำวัน เห็นความทุกข์ในการครองเรือน เลยคิดว่าจะหนีจากความทุกข์นั้น จึงออกไปอยู่ในป่า อยู่อย่างมักน้อยสันโดษ กินอาการง่ายๆ นุ่งห่มง่ายๆ นอนง่ายๆ

ชีวิตของพวกนักบวชนั้น เป็นชีวิตแบบง่ายๆ ไม่มีเรื่องวุ่นวายในการกิน การนุ่งห่ม การอยู่อาศัย เป็นคนประเภทนอนกลางดิน กินกลางทราย อาหารได้มาตามเรื่อง สมัยก่อนก็กินผลหมากรากไม้ ผลไม้ในป่าชุกชุมพอจะกินได้ตามฤดูกาล เขาก็กินไปตามเรื่อง เพราะไม่ต้องการพอกพูนเนื้อหนัง ต้องการพอกพูนปัญญา จึงไม่สนใจในเรื่องการบำรุงร่างกาย สนใจแต่ในเรื่องการบำรุงจิตใจ

คนประเภทนี้ได้ออกไปบวชอยู่ในป่า เพื่อการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็ได้เอามาสอนให้คนอื่นได้รู้ได้ปฏิบัติกันต่อมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักบวชประเภทที่เรียกว่า ฤๅษี ได้ทำประโยชน์แก่ชาวโลกไม่ใช่น้อยเพราะว่าคนพวกนี้ออกไปศึกษาค้นคว้า ได้ความรู้อันเป็นแนวทางของการปฏิบัติก็สั่งสอนศิษย์

ต่อมา พวกศิษย์เหล่านั้นเป็นนักบวชสืบต่ออาจารย์ก็มี ไม่บวชแต่ออกมาอยู่บ้านก็มี แม้ออกมาอยู่บ้าน ก็เป็นผู้ประพฤติธรรม มีชีวิตเรียบร้อยไม่วุ่นวาย เป็นเหตุให้เกิดความสุข ความสงบในชีวิตประจำวัน อันนี้ เป็นผลเนื่องมาจากบุคคลที่สละชีวิตออกไปบวช

ผู้ที่ออกไปบวชอย่างนี้ เขาบวชจริงๆ ไม่ใช่บวชเพียงชั่วครั้งชั่วคราว บวชอย่างชนิดยอมเสียสละชีวิตร่างกาย เพื่อความเป็นนักบวชอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอินเดียในสมัยก่อน


คนอินเดียในสมัยก่อนนั้น จัดระบบชีวิตไว้เป็น ๔ แบบด้วยกัน เขาเรียกว่า อาศรม

อาศรมสี่

ขั้นแรก ก็เรียกว่า อาศรมพรหมจารี

อาศรมที่สอง เรียกว่า อาศรมคฤหัสถ์

อันที่สาม เรียกว่า วนะปรัสถ์ หรือ วะนะปะระสะถะ ก็ได้

อันที่สี่ เรียกว่า สันยาสี

อาศรมทั้งสี่นี่เป็นแนวชีวิต เป็นหลักปฏิบัติของอารยชนในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. อาศรมพรหมจารี นั้น เป็นเรื่องของเด็กๆ ผู้อยู่ในวัยของการศึกษา เด็กที่อยู่ในวัยของการศึกษานั้น ต้องประพฤติตนเป็นพรหมจารี คือ เป็นผู้มีใจบริสุทธิ์ สะอาด ไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่ง เป็นผู้ที่อยู่กับครูบาอาจารย์ อยู่กับพ่อแม่ เชื่อฟังคำสอนคำเตือนของพ่อแม่ เชื่อฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ งดเว้นจากสิ่งต่างๆที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ร่างกาย เช่น งดเว้นสิ่งเสพติดทุกประเภท ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน ไม่คิดไปในทางกามารมณ์ คิดแต่เรื่องที่จะทำจิตใจให้สงบ เพื่อจะได้เกิดกำลังใจแล้วจะได้ศึกษาเล่าเรียนหาวิชาความรู้ใส่ตัว เป็นคนประเภทเตรียมเนื้อเตรียมตัว เพื่อความเป็นผู้ใหญ่ในกาลต่อไปข้างหน้า
การเป็นผู้ใหญ่นั้น ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เป็นเด็ก ถ้าเป็นเด็กดีเรียบร้อยมาเป็นลำดับ การเป็นผู้ใหญ่ก็จะเรียบร้อย ในการที่จะเป็นผู้ใหญ่เรียบร้อยนั้น ต้องสร้างรากฐานทางจิตใจให้มั่นคง ด้วยหลักศีลธรรม คำสอนในทางพระศาสนา เพราะฉะนั้น พวกพรหมจารีบุคคลนี้เป็นพวกที่อยู่อย่างมัธยัสถ์ อยู่อย่างมีระเบียบ มีการบังคับตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาจารย์ต้องคอยดูแลให้ลูกศิษย์ของตนเป็นผู้อยู่ในระเบียบ ในวินัย

การดูแลให้ศิษย์อยู่ในระเบียบในวินัยนั้น เป็นการสร้างนิสัยให้เป็นคนมีระเบียบวินัย เพราะนิสัยแห่งความเป็นผู้มีระเบียบวินัยนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ในสังคมใดก็ตาม ถ้าไม่มีระเบียบวินัยแล้วก็จะเป็นสังคมที่วุ่นวาย มีปัญหา
ให้เราดูง่ายๆ ว่าในครอบครัวของเรานั้น ถ้าทุกคนอยู่ในระเบียบวินัย ครอบครัวเป็นสุข แต่ถ้าในครอบครัวนั้นขาดระเบียบวินัย ก็จะอยู่กันอย่างมีปัญหา พ่อบ้านไปทางหนึ่ง แม่บ้านบ้านไปทางหนึ่ง ลูกๆก็บ้านไปทางหนึ่ง คนที่มาร่วมงานต่างคนก็ไปตามทางของตัว ไม่มีการหล่อหลอมจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เป็นคนคนเดียวกัน มันก็มีปัญหามาก สองคนก็สองปัญหา สามคนก็สามปัญหา มากคนก็มากปัญหา เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ทีนี้ เมื่อเราอยู่กันมากๆ ก็ต้องมีระเบียบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พอมีระเบียบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็มีการเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อย

ตัวอย่างเช่นพระภิกษุเรา บวชมาจากสกุลต่างๆกัน ฐานะความเป็นอยู่ต่างๆกัน ความรู้ก็ไม่เหมือนกัน นิสัยใจคอก็ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อบวชเข้ามาแล้ว เราอยู่ได้ด้วยความสงบเพราะอะไร ? เพราะเรามีพระวินัย พระวินัยนี้ เหมือนกับเป็นเชือกร้อยรัดดอกไม้ ดอกไม้ เราเก็บมาจากในน้ำ เก็บมาจากที่สูง เก็บมาจากบนดิน เอามารวมกันเข้า ดอกไม้นั้น ก็รวมกลุ่มกันอยู่อย่างสวยงามเรียบร้อย ถ้าไม่เครื่องร้อยรัด ดอกไม้นั้นก็กระจัดกระจาย ตามอำนาจของลมที่พัดมาฉันใด
หมู่ชน ที่มาอยู่รวมกันจะต้องเป็นคนที่อยู่ในระเบียบวินัย การอยู่ในระเบียบวินัยนั้นจะต้องทำลายอะไรเสียบ้าง สิ่งที่เราควรต้องทำลายคือ ความเห็นแก่ตัว

ความเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องยุ่งยากที่สุดในสังคมมนุษย์ เป็นมูลเหตุของความชั่วช้าสามานย์ ด้วยประการทั้งปวง
อะไรที่เป็นความชั่วในสังคมมนุษย์ เกิดจากความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น พอเกิดความเห็นแก่ตัวก็เกิดความเห็นแก่ได้ มักง่าย จะเอาแต่ใจตัว ทำอะไรตามใจอยาก ไม่คิดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่หมู่คณะ อันนี้เป็นเรื่องร้าย เพราะฉะนั้น ระเบียบวินัยทั้งหลายที่บังคับนั้น ก็เพื่อลดความเห็นแก่ตัวให้น้อยลงไป ถ้าลดความเห็นแก่ตัวให้น้อยลงไปเท่าใด ก็ยิ่งมีความดี ยิ่งมีความเจริญ ความก้าวหน้า
เพราะฉะนั้น ที่เป็นอยู่ในฐานะพรหมจารี ก็คือ คนที่พยายามลดความเห็นแก่ตัว แต่ให้เห็นแก่หมู่คณะ อันนี้ เป็นหลักเบื้องต้น

พวกนักศึกษา ต้องเป็นพรหมจารี นักศึกษาต้องงดเว้นจากสิ่งเสพติดมึนเมาทุประเภท เดี๋ยวนี้ นักศึกษาของเราไม่เป็นพรหมจารี ไม่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว แต่ว่าคลุกคลีกับสิ่งชั่วร้าย ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ถูกจับฐานเล่นการพนัน ถูกจับ ๓ ครั้งแล้ว หนังสือพิมพ์ลง ๓ ครั้งแล้ว ถูกจับไปครั้งหนึ่งไม่ใช่น้อย ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบคน จับไปในฐานะเล่นการพนัน นี่คือการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือพรหมจารีนั้น งดเว้นจากการเล่นการพนันขันต่อ งดเว้นจากสิ่งเสพติดมึนเมาทุกประเภท เช่น ไม่ดื่มสุราเมรัย ไม่สูบบุหรี่ ไม่สูบกัญชายาฝิ่น หรืออะไรๆทั้งหมด สิ่งเสพติดทั้งปวงเป็นเรื่องควรงดเว้น เพราะว่า สิ่งเสพติดนั้น ไม่ใช่สิ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ร่างกายเราไม่ต้องการ แต่เราไปหัดให้ร่างกายเราต้องการแล้วมันก็ไปติดอยู่ในสิ่งนั้น พอติดแล้ว เราก็กลายเป็นทาสของมันดิ้นไม่หลุด ทาสประเภทถาวรอยู่กันเรื่อยไป จนกระทั่งตายเข้าโลง ไม่สามารถจะดิ้นหลุดออกมาได้ ไม่สามารถจะปลดแอกของสิ่งเสพติดออกมาได้ อันนี้ เป็นเรื่องเสียหาย

เพราะฉะนั้น อาศรมพรหมจารีเขากวดขัน ควบคุม ไม่ให้สานุศิษย์ทั้งหลายมัวเมาในสิ่งเสพติด ไม่ให้มัวเมาในความสนุกสนานประเภทไม่เข้าเรื่อง ความสนุกสนานประเภทไม่เข้าเรื่องมีเยอะ ประเภทใดที่เรียกว่าไม่เข้าเรื่อง ความสนุกสนานประเภทยั่วราคะ ยั่วกำหนัด ยั่วโทสะ ใจคิดประทุษร้ายต่อกัน ยั่วให้เกิดความหลง ความมัวเมา อย่างนั้นเป็นความสนุกสนานประเภทไม่เข้าเรื่อง พรหมจารีบุคคลในอาศรมนั้น เขาเป็นอยู่อย่างสะอาด
การฝึกฝนออกกำลังกายเขาก็มีเหมือนกัน แต่เป็นการฝึกออกกำลังกายเพื่อบริหารจิตไปด้วยในตัว เรียกว่าการฝึกโยคะ ตามแบบของโยคีในประเทศอินเดีย เป็นการฝึกหัดบริหารร่างกาย แล้วคนที่ฝึกหัดบริหารร่างกายนั้น ต้องงดเว้นอาหารหลายประเภท อาหารประเภทใดยั่วยุกามารมณ์ ทำให้เกิดความคึกในทางร่างกาย เพิ่มส่วนเหลือของร่างกายต้องไม่ให้รับประทาน เพียงแต่หัวหอมเขาก็ไม่ให้รับประทาน พวกพรหมจารีไม่รับประทานหอมกระเทียม แม้แต่จะเป็นคนเสพย์ผักเป็นอาหารเขาก็ห้าม เพราะหอมกระเทียมนั้น เป็นเครื่องยั่วราคะเหมือนกัน ทำให้เกิดกำลังแรงงานส่วนเหลือในร่างกาย
นักเรียนประเภทพรหมจารีจึงไม่เสพย์สิ่งเหล่านี้ เขาจึงมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ รับประทานอาหารเท่าที่ร่างกายต้องการ ไม่รับประทานส่วนเหลือ

มนุษย์เราในปัจจุบันที่วุ่นวายกันอยู่นั้นก็เพราะว่า กินอาหารส่วนเกินมากไป กินให้อร่อย กินให้สนุก กินให้เพลิดเพลิน ก็เกิดส่วนเหลือ เมื่อเกิดส่วนเหลือจิตใจก็คึกคะนอง ต้องหาทางระบายออก ต้องไปอาบไปอบ ไปเที่ยวตามไนท์คลับ สร้างเสริมสิ่งชั่วร้ายในสังคมให้เกิดมากขึ้นทุกวันเวลา อันนี้ เป็นความเสื่อมของสังคมชาวโลกในยุคปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงไม่เกิดเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจ นี่ประการหนึ่ง เรียกว่า “พรหมจารี”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อาศรมคฤหัสถ์ เมื่อศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์ มีความรู้ มีความสามารถ มีความประพฤติดีเป็นพื้นฐานทางด้านจิตใจแล้ว จบการศึกษาก็กลับบ้าน
เมื่อจบการศึกษามีทางไปสองทาง หนึ่ง กลับบ้านไปเป็นคฤหัสถ์ อยู่ครองบ้านครองเรือน การอยู่ครองบ้านครองเรือนนั้นเราอย่านึกว่า มันเป็นเรื่องง่าย เป็นเรื่องยากเหมือนกัน เราอย่านึกถึงเรืองความสนุกแห่งการครองเรือน แต่ต้องนึกว่ามันมีภาระที่จะต้องแบก

ผู้ครองเรือนคือผู้แบกภาระ แบกอะไรๆไว้บนบนหัว แล้วก็ยึดแข้งยึดขาไว้เต็มไปหมด เขาเรียกว่าเป็นบ่วงรัดตัวไม่ให้ดินหลุด บ่วงที่รัดตัวของผู้ครองเรือนนั้นมี ๓ บ่วง บ่วงหนึ่ง ผูกคอ เรียกว่า บุตร ธิดา บ่วงสอง ภรรยา ผูกมือไว้ จูงไป กามคุณน่ะ ไม่ได้หมายถึงภรรยาทีเดียว หมายถึงกามคุณนะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มันเป็นบ่วงจูงมือ จูงไปในทางที่มันต้องการ แล้วบ่วงอีกอันหนึ่ง คือ ทรัพย์สมบัติที่เรามีเราได้ มันเป็นบ่วงผูกเท้า ไปไหนไม่ได้ คนที่มีข้าวของเงินทองมากๆ ไปไหนไม่ได้ เป็นห่วง ไปสักหน่อยก็คิดถึงบ้าน กลัวขโมยจะงัดบ้าน จะเอานั่นเอานี่ นี่เป็นห่วง ผูกคอ ผูกมือ ผูกเท้าให้ดิ้นไม่หลุด อยู่ในห่วงนั้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ผู้จะเป็นคฤหัสถ์นี้ ไม่ใช่เรื่องเป็นง่าย เรื่องหนักเหมือนกัน

การเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นนักบวช อันไหนจะสำคัญกว่ากัน ? เคยมีปัญหา คือ มีพระราชาองค์หนึ่ง ในประเทศอินเดีย ชอบถามปัญหาพวกนักบวช ถ้ามีนักบวชคนใดเข้ามาในวังแล้ว ก็จะต้องตั้งปัญหาถามว่า การเป็นนักบวช กับ คฤหัสถ์ อันไหนสำคัญกว่ากัน สุดแล้วแต่จะตอบอย่างไร ต้องให้เหตุผล ถ้าตอบว่าการเป็นนักบวชสำคัญก็ต้องให้เหตุผล แต่ถ้าเหตุผลไม่สมควร ไม่เหมาะ ไม่สมเหตุผล พระราชาก็จะจับนักบวชนั้น เอาไปไถนาเสียเลย

อยู่มาวันหนึ่ง มีนักบวชหนุ่มรูปหนึ่ง เข้ามาในรัฐนั้น พระราชาก็เรียกมาเฝ้า แล้วถามว่า “การเป็นนักบวช กับ การเป็นผู้ครองเรือนอันไหนสำคัญกว่ากัน ? “
นักบวชผู้นั้น ไม่ตอบปัญหา บอกว่า “เรื่องนี้พูดยาก เพราะว่าพระองค์เป็นผู้ครองเรือน อาตมาเป็นนักบวช พูดว่านักบวชดี พระองค์ก็มองไม่เห็น พูดว่าครองเรือนดี อาตมาก็มองไม่เห็น เพราะไม่ได้ทดสอบทั้งสองฝ่าย พระราชาก็ไม่เคยบวช อาตมาก็บวชมาตั้งแต่หนุ่ม ยังไม่เคยครองเรือน ถ้าจะให้ดีละก็ มาไปด้วยกัน”
ให้พระราชาบวชชั่วคราว ไปด้วยกันเพื่อจะได้ทดสอบว่าอะไรมันจะดีกว่ากัน พระราชาก็เลยตกลงไปด้วย ไปจนถึงเมืองหนึ่ง

เมืองนั้น พระราชามีพระราชธิดาสวยสดงดงาม พอจะมีคู่ได้ แต่ว่าไม่รู้จะแต่งกับใคร เลยประกาศป่าวร้อง หนุ่มน้อยทั้งหลายที่อยากจะเป็นลูกเขยพระราชา ก็ให้มาประชุมกัน พระราชธิดาจะเสี่ยงพวงมาลัยคล้ายกับนางรจนาเลือกคู่ หนุ่มน้อยทั้งหลายก็มาประชุมกันเป็นพันๆ คน
นักบวช กับ พระราชาที่ผ่านไปในเมืองนั้น ก็นึกว่าไปดูเขาหน่อย ไม่ได้ตั้งใจจะไปให้เขาเสี่ยงดอก ก็เข้าไปยืนอยู่ในหมู่ชนเหล่านั้น

เมื่อพระราชธิดาเสด็จลงมา ห้อมล้อมด้วยสาวใช้ถือพานพวงมาลัยตามหลัง ถ้าพระราชธิดาชอบใครก็เอาพวงมาลัยสวมคอผู้นั้น ผู้นั้นก็จะได้อยู่ในตำแหน่งลูกเขยของพระราชา
พระราชธิดาก็เดินตรวจดูรูปร่างหน้าตาไป ไม่พอพระทัยในชายหนุ่มคนใด แต่ไปพอพระทัยในนักบวชที่มากับพระราชา องค์ราชาที่ไปกับนักบวชกลับไม่พอใจ ไปพอใจนักบวชหนุ่มผู้นั้น นางก็เอาพวงมาลัยสวมคอฉับเข้าให้ พอสวมให้ นักบวชก็ปลดออกจากคอ ขว้างไป บอกว่า อะไรฉันเป็นนักบวชจะมาสวมคอฉันได้อย่างไร

พระราชธิดา ก็เอาพวงใหม่มาสวมเข้าให้อีก สองพวง สามพวง ก็ปลดทิ้งอีก เห็นว่าขืนยืนอยู่นี่จะถูกจับเป็นลูกเขยเขาแล้ว เรามันต้องไปละ บอกกับพระราชว่า จะต้องไปละ ก็ชวนกันเดินหนี
เมื่อเดินหนีพระราชธิดาก็เดินตาม ตามไปเรื่อยๆ พระราชากับนักบวชก็หนี พระราชธิดาก็ตาม จนล่วงเข้า ๒ วัน ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ยังไม่หยุด พวกหนีก็หนี พวกตามก็ตามกันไป
เมื่อเห็นว่าจะหนีไม่ไหวแล้ว จะต้องสู้กันเสียที พอหยุดพระราชธิดาก็เข้ามากราบแทบเท้าในฐานะเป็นามมี
นักบวชก็บอกว่า พระราชธิดาเลือกคนผิด เพราะว่าตัวข้าพเจ้าเป็นนักบวช ไม่เคยคิดจะออกไปครองบ้านครองเรือน เพราะว่าการครองเรือนนั้นเป็นบ่วงแหล่งโสโครก เป็นความทุกข์ เป็นความเดือดร้อน แม้ว่าจะได้เห็นพระราชธิดาสวยงามนักเพียงใด ในใจก็ยังไม่มีความปรารถนาที่จะมีจะได้ เพราะฉะนั้น ขอคลายความตั้งใจเสียเถอะ ที่จะเอาข้าพเจ้าไปเป็นสามีนั้นให้เลิกความตั้งใจเสีย แล้วเลิกติดตามต่อไป
ส่วนคนที่ควรจะเป็นสามีนั้นก็มีอยู่ ก็เลยชี้ไปที่พระราชา บอกว่าคนนี้ควรจะเป็นสามีของเจ้า บอกว่าคนนี้เป็นพระราชา มีฐานะ ชาติเชื้อ วรรณะเท่าเทียมกัน ควรจะเอาไปเป็นสามีได้

พระราชาที่ตามนักบวชไปก็ได้ความรู้ว่า อ้อ เป็นนักบวชมันสำคัญอยู่ที่อะไร อยู่ที่ความเสียสละจริงๆ ผู้ใดมีน้ำใจเสียสละ แม้ว่าจะมีโอกาสได้มีได้เป็นอะไรๆ ที่อยู่ในฐานะเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ต้องการ การเป็นนักบวชของผู้นั้นประเสริฐแท้
พระราชาก็เลยลานักบวชผู้นั้น เอาพระราชธิดากลับพระราชสำนักของพระองค์ต่อไป เลยไม่ต้องตั้งปัญหาถามต่อไปว่า การเป็นนักบวชกับการเป็นคฤหัสถ์นั้น อันไหนสำคัญกว่ากัน มันสำคัญเท่าเทียมกันในหน้าที่

คนเราจะเป็นอะไรก็ตาม มันสำคัญตรงหน้าที่ ถ้าว่าได้ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์แล้วก็เรียกว่าสำคัญ ถ้าทำหน้าที่กะพร่องกะแพร่งละก็ไม่ได้เรื่อง เช่นเราเป็นนักบวช เราก็ทำหน้าที่ของนักบวชให้สมบูรณ์ ถ้าเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็ต้องทำหน้าที่ของคฤหัสถ์ให้สมบูรณ์ การทำหน้าที่ของนักบวชก็ดี ของคฤหัสถ์ก็ดี ต้องมีธรรมะประจำจิตใจ ถ้าขาดธรรมะประจำจิตใจแล้ว การทำหน้าที่มันก็ไม่เรียบร้อย ที่ไม่เรียบร้อยในการปฏิบัติหน้าที่นั้นเกิดจากจิตใจที่ไม่มีธรรมะ เช่น ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ไม่มีการบังคับตัวเองเพื่อให้รู้จักหน้าที่ ไม่มีความอดทนในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความเสียสละต่อหน้าที่ อันเราจะต้องปฏิบัติ แล้วคนนั้นจะเป็นอะไรได้

การเป็นอะไรที่สมบูรณ์นั้น ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งการงาน แต่อยู่ที่ความมีคุณธรรมในจิตใจของผู้นั้น ผู้ใดมีคุณธรรม ผู้นั้นทำหน้าที่อะไรก็ได้ แล้วก็สมบูรณ์ด้วย เพราะฉะนั้น จะเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน ก็ต้องประพฤติธรรมด้วย ท่านจึงมีระเบียบว่าผู้เป็นคฤหัสถ์ครองเรือน จะต้องประพฤติธรรมอย่างไรบ้าง เป็นพ่อจะต้องมีคุณธรรมอย่างไรบ้าง เป็นแม่ต้องมีคุณธรรมอะไร เป็นเพื่อนก็ต้องมีคุณธรรมอะไร เป็นนายเขาต้องมีคุณธรรมอย่างไร เป็นบ่าวเป็นลูกน้องควรมีคุณธรรมอย่างไร เป็นครูเป็นศิษย์ควรจะมีคุณธรรมอย่างไร ท่านวางระเบียบไว้ปฏิบัติ ถ้าคนได้ปฏิบัติตามระเบียบเหล่านั้นก็เป็นผู้ที่ครองเรือนสมบูรณ์เรียบร้อย นี่แนวหนึ่ง เรียกว่า “คฤหัสถ์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2018, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อาศรมวนปรัสถ์ ถ้าไม่พอใจในการเป็นคฤหัสถ์ ก็จะเป็นครูผู้สอนศิษย์ต่อไป เรียกว่า ผู้อยู่ป่า “วะนะปะรัสถะ”

ไม่ใช่อยู่เฉยๆ อยู่ทำประโยชน์ เป็นครูเป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์ เป็นผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่คนอื่นต่อไป แล้วเป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ครูในสมัยก่อนไม่เหมือนครูในสมัยนี้ดอก ครูสมัยนี้พูดอย่างทำอย่าง บอกลูกศิษย์ให้ไว้ผมสั้น แต่ครูไว้ผมยาวประบ่า ที่ครูบอกว่านักเรียนต้องตัดผมสั้นแต่ครูไว้ผมยาว ครูแต่งตัวเหมือนอะไรดี ไปเห็นบางแห่งครูแต่งตัวเหมือนฮิปปี้มาสอนหนังสือ แล้วเด็กมันจะเอาดีได้อย่างไร อย่างนี้เขาเรียกว่า ไม่เป็นครูโดยน้ำใจ สปิริตแห่งความเป็นครูหายไปหมด นึกแต่ว่ากูไปเป็นลูกจ้างสอนหนังสือวันหนึ่งๆ เท่านั้นเอง แล้วก็ไปพูดว่านี่เป็นเสรีภาพส่วนบุคคล
มันเกี่ยวกับหน้าที่ เรามีหน้าที่อย่างใด เราก็ต้องลดเสรีภาพส่วนตัวลงไปบ้างเพื่อหน้าที่นั้น เช่น เราไปเป็นครูก็ต้องลดเรื่องอะไรหลายๆอย่าง ต้องอยู่ในระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ศิษย์

ครูสมัยก่อนนั้น เขาเป็นครูร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นตัวอย่างแก่ศิษย์จริงๆทุกแง่ทุกมุม ลูกศิษย์จึงเรียบร้อย เดี๋ยวนี้ขอโทษเถอะ ครูเราทุกวันนี้ชักจะแหว่งออกไปทุกทีแล้ว ไม่มีระเบียบที่ดีงาม จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นในในวงการศึกษา เพราะฉะนั้น ครูจึงต้องทำตนเป็นตัวอย่าง การสอนที่ดีนั้นคือการทำให้เป็นตัวอย่าง

พระพุทธเจ้าบอกว่า การที่จะสอนผู้อื่นด้วยเรื่องใดต้องทำเรื่องนั้นให้ได้เสียก่อน จึงจะทำเรื่องนั้นให้ไม่ยุ่งเหยิง เราจะสอนใครด้วยอะไร เราต้องทำด้วย ถ้าไม่ทำ การสอนมันไม่มีราคา การพูดให้เขาฟังไม่มีค่า ถ้าไม่ได้ทำให้เขาดูด้วย หลักมันเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ครูพวกที่เป็น วนปรัสถะ นี่เขาเป็นครูจริงๆ สั่งสอนศิษย์ด้วยการทำให้ดู การพูดให้เขาดู การแสดงให้เขาดู ทุกอย่าง เพื่อให้ศิษย์ประทับไว้ในจิตใจ นี่เป็นพวกหนึ่ง เรียกว่า “วนปรัสถ์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2018, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อาศรมสันยาสี พวกที่เป็น คฤหัสถ์ ครองเรือนก็ดี พวกที่เป็น วนปรัสถ์ สอนศิษย์ก็ดี อยู่ไปมันก็เกิดเบื่อขึ้นเหมือนกัน เช่นว่า อยู่บ้านมีลูกมีเต้าหลายคน แล้วลูกเต้าก็เติบโตแล้ว อยากจะออกไปเป็นนักบวชก็มี สอนลูกศิษย์ไปชักจะเบื่อ อยากจะออกไปอยู่อย่างอิสรเสรีตามป่า หรือว่าไปไหนก็ได้ตามชอบใจ เขาก็เลยออก เช่น อยู่ครองเรือนก็ออกเลย เวลาออกจากการครองเรือนนั้น ไม่บอกให้ใครรู้ ไม่ลาเมีย ไม่ลาลูก บอกใครไม่ได้ ขืนไปลาเดี๋ยวกอดแข้งกอดขา หลั่งน้ำตารดตีนเข้าให้ ไปไม่รอดอีก เขาไม่ลาดอก นึกจะไปก็ไปเลย เขาไปเวลากลางคืน ลูกเมียนอนหลับหมด เอาผ้าชุดเดียว นุ่งผืน ห่มผืน ไม้เท้าอันหนึ่ง หม้อน้ำอันหนึ่ง ออกไปเป็นนักบวชประเภทสันยาสี
พวกครูที่สอนศิษย์ก็เหมือนกัน เมื่อได้สั่งสอนศิษย์มานานพอสมควรแล้ว ลูกศิษย์เติบโตพอจะสั่งสอนศิษย์ได้ต่อไป ก็เลยหนีกลางคืนเหมือนกัน หายไปเลย

คนอินเดียสมัยก่อน พ่อบ้านพ่อเรือนหายไปอย่างนี้ เขาไม่ทุกข์ดอก ครูหายไปอย่างนี้ เขาไม่ทุกข์ดอก เขาคิดว่าท่านออกไปเป็นอิสระแล้ว ไม่ได้ถูกจับถูกขโมยไปไหนดอก เพราะสมัยนั้น ไม่การจับคนเรียกค่าไถ่ มีแต่เรื่องออกป่าเป็น สันยาสี เป็นนักบวชประเภทไม่มีที่อยู่ เดินทางเรื่อยไป บ้านน้อยๆพักคืนหนึ่ง บ้านใหญ่ๆ พักสองคืน แล้วก็ไม่ใช่เดินเปล่านะสอนเรื่อยไป เจอใครก็สอนเรื่อยไป สอนจากประสบการณ์ในชีวิต เพราะอายุมากแล้ว เป็นผู้ใหญ่ได้พบอะไรในชีวิตมามากมาย เมื่อไปพบคนหนุ่ม ก็เล่าให้ฟังว่าชีวิตเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แนะแนวทางให้คนหนุ่มได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เรียกว่า เที่ยวแจกของส่องตะเกียงให้คนทั้งหลาย ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาชีวิต อันนี้ เรียกว่านักบวชประเภท สันยาสี ในอินเดียปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ พวกนักบวชแบบนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2018, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ได้อ่านหนังสือเรื่องหนึ่ง เขาบอกว่ามีนักบวชอยู่คนหนึ่ง เรียกว่า สวามีวิเวกะนันทะ แก่เป็นนักบวชของฮินดู นิกายเวทานตะ เป็นนักบวชที่มีชื่อแต่เดินไปอเมริกา ไปตัวเปล่าไม่มีสตางค์ พอถึงโน่นสตางค์หมดพอดี แกก็ไปเที่ยวเสี่ยงโชค เที่ยวเทศน์ เที่ยวปาฐกถา จนมีชื่อเสียง พ่อของแกออกเป็น สันยาสี

สวามีวิเวกะนันทะชื่อเดิมเป็นชื่อ นะเรนนุท เป็นชาวเบงคลี อยู่เมืองกัลกัตตา เขาเรียนได้ บีเอ ปริญญาอักษรศาสตร์ พ่อแกหายไป ไม่รู้หายไปไหน คืนหนึ่งพอลูกหลับหมดพ่อก็ไปหนีไปเลย หายไปเสียเป็นนาน
ต่อมาแม่กับลูกๆเดินทางจาริกไปนมัสการเมืองพาราณสี คือ ไปอาบน้ำเมืองพาราณสี เขาเรียกว่า ธรรมยาตรา - ไปแสวงบุญ

ชาวอินเดียเขาถือเป็นเรื่องใหญ่ เกิดมาเป็นฮินดูต้องไป ๒ แห่ง ไปเมืองพาราณสีครั้งหนึ่ง ไปเมืองคยาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไป ๒ แห่งนี้เลย เรียกว่า เสียชาติเกิดเป็นฮินดู เพราะฉะนั้น จะยากจะจนอย่างไรก็ต้องหาทางไป ทางเรือตามแม่น้ำคงคา ไปจนถึงเมืองพาราณสี แล้วสองแม่ลูกก็ไปนั่งอยู่หน้าสถานเทพารักษ์แห่งหนึ่ง หน้าโบสถ์ของพวกฮินดู ก็มีนักบวชคนหนึ่งมาเป็นลมอยู่ เดินๆ ล้มเป็นลมลง แม่ลูกเห็นเลยเข้าไปช่วยเหลือ เอาน้ำไปลูบหน้าลูบตา พอเห็นชัดก็อุทานว่านี่มันพ่อไอ้หนูนี่นา ไม่ได้พบกันเสียเป็นนาน จึงเรียกลูกมาช่วยกันนวดช่วยกันขยำให้พ่อฟื้น

พอแกฟื้นขึ้นมาแกเห็นหน้าลูกเมียก็ร้องว่า มายา มายา แล้วก็เดินไปเฉยเลย ไม่พูดไม่จากับลูกเมียแม้สักคำเดียว แต่พูดว่า มายา มายา ซึ่งหมายความว่า หลอกลวง เห็นหน้าเมียเลยนึกว่าเป็นสิ่งหลอกลวง ไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้ แล้วก็ไม่ได้พูดด้วย ไปเลย นีก็เด็ดขาดเหมือนกัน เป็นสันยาสีประเภทเด็ดขาด เห็นหน้าลูกเมียก็ยังไม่หยุดพูดจา ไปเลยทีเดียว แล้วไม่ได้พบกันอีก

ต่อมาลูกชายแกเติบโตขึ้นก็บวชเหมือนกัน แต่เป็นนักบวชที่เรียกว่ามีชื่อเสียง ทำการปฏิรูปสังคมของนักบวชในอินเดีย สร้างกิจกรรม เรียกว่า ลานปริศนามิชชั่น ให้แพรหลายออกไปในโลกจนกระทั่งทุกวันนี้ กิจกรรมก็ยังอยู่ สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ ห้องสมุดสำหรับแสดงปาฐกถาอะไรต่างๆ หลายเรื่อง เป็นคนมีชื่อในเมืองกัลกัตตา เขาก็ปั้นรูปไว้เช่นกัน ยืนอยู่ที่มุมถนนแห่งหนึ่ง รูปของ “สวามีวิเวกะนันทะ” ซึ่งเป็นคนสำคัญคนหนึ่ง เดี๋ยวนี้ก็ยังมีคนประเภทนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2018, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วก็มีอีกอันหนึ่ง พบเด็กอีกคนหนึ่ง เขาเรียกว่ามหาฤๅษีแห่ง “อะรุณะจะระ” ในอินเดียตอนใต้ เด็กคนนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยม แต่ว่าเขาอ่านหนังสือเรื่องมหาฤๅษีมาก อ่านบ่อยๆ อ่านแล้วทำให้จิตอยากเป็นฤๅษีขึ้นมา คนเราถ้าอ่านเรื่องอะไรมากมันเป็น ให้เด็กอ่านเรื่องไอ้เสือบ่อยๆ เดี๋ยวก็อยากเป็นขึ้นมา

เด็กคนนี้ อยากเป็นฤๅษี เพราะอ่านหนังสือมาก วันหนึ่ง พี่ชายบอกน้องชายว่า น้องวันนี้พี่ไม่ไปโรงเรียน ถึงวันครบต้องเสียค่าเล่าเรียนน้องเอาไปเสียให้ด้วย พอเด็กได้เงินก็ไม่ไปโรงเรียน ไปสถานีรถ ไปซื้อตั๋วเดินทางหนีออกจากบ้านไปไกลมาก นั่งรถไฟ ๑ วัน ๑ คืน แล้วก็ไปนั่งอยู่ที่ศาลเทพารักษ์วัดของพวกฮินดู นั่งภาวนาหลับตา ไม่เอาใจใส่ใครเลย อาหารก็ไม่คิดไปกิน น้ำก็ไม่คิดไปดื่ม ไม่คิดอาบ คนผ่านไปมาเห็นเข้าก็คิดว่าเด็กคนนี้นั่งอยู่หลายวันแล้ว ต้องเอาข้าวมาให้กินเสีย เด็กลืมตาขึ้นมาก็กิน กินแล้วก็นั่งหลับตาต่อไป ทำอยู่เช่นนั้น คนก็มาช่วยเหลือเรื่องอาหาร น้ำ
แต่อยู่ไปเห็นว่ามันวุ่นวาย คนมากราบไหว้ เพราะเชื่อว่าผู้มีบุญมาอยู่ เลยหนีไปถึงภูเขาอรุณะจะระ อยู่จนมีชื่อเสียง ฝรั่งไปสัมภาษณ์ มีลูกศิษย์มากมาย เพราะนั่งภาวนาทำให้จิตใจวิเศษขึ้น สมาธิดีขึ้น คนก็นับถือกลายเป็นคนมีชื่อเสียง อันนี้ แสดงให้เห็นว่าในอินเดียคนที่จะออกเป็นนักบวชนั้น มีมาเก่าแก่ตั้งนานแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2018, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะของเราได้อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ก็ได้เห็น ปรากฏในตำนานพุทธประวัติว่าได้เห็น คนแก่ คนเจ็บไข้ คนตาย แล้วก็นักบวชประเภทภิกษุ เพราะนักบวชในอินเดียมีหลายพวก เรียกว่า ปริพาชก อเจลก ชฎิล แล้วก็นักบวชประเภท ภิกษุ ท่านเห็นแล้วก็คิดในใจว่า “สาธุ โข ปัพพัชชา – บวชดี” ก็เลยคิดแต่เรื่องออกบวชตลอดเวลา การออกไปบวชนั้นเพราะมีปัญหา พระองค์คิดถึงปัญหาชีวิต คิดว่าควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ท่านคิดมาก ผลที่สุดก็เลยออกบวชตามเยี่ยงอย่างที่มีในสมัยนั้น ออกไปเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้ นี่เรื่องการออกบวชทั่วๆไปในอินเดีย


ทีนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็นำธรรมะไปสั่งสอนนักบวช ๕ ท่าน ซึ่งเรียกว่า “ปัญจวัคคีย์” มีพวก ๕ คือมีท่าน โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ทั้ง ๕ คนนี้ เคยอยู่ร่วมทำความเพียรกับพระองค์ที่ถ้ำใกล้เมืองคยา เขาเรียกว่า “ดงตุงคะศิริ” ถ้ำนั้น เขาเรียกว่า ถ้ำตุงคะศิริ อยู่บนเนินเขาใหญ่ แล้วขึ้นไปมีหน้าผา มีถ้ำเข้าไปได้ มีถ้ำเล็กๆ

พระองค์ทำความเพียรทรมานร่างกายอยู่ที่นั่น เพราะบริเวณนั้นเป็นป่าใหญ่ สมัยก่อนปัญจวัคคีย์ไปอยู่ด้วยกัน ครั้นพระองค์เห็นว่าไม่ไหว ทำความเพียรแบบนี้ไม่ได้เรื่องอะไร ผอมเปล่าก็เลยเลิก ปัญจวัคคีย์ยังไม่ยอมเลิก ยังเชื่อมั่นว่าการทำความเพียรแบบนี้ จะพ้นทุกข์ ก็เลยไม่พอใจหนีไปเมืองพาราณสี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2018, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้นเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วก็คิดถึง บอกว่า ห้าคนนั้นมีความเพียร ความพยายาม มีความเชื่อดีอยู่หลายอย่าง ควรจะไปสอนดูน่าจะเข้าใจง่าย ก็เลยเสด็จจากพุทธคยา ซึ่งอยู่ทางใต้

ส่วนพาราณสีอยู่ทางเหนือ พระองค์ก็ไปถึงกาสี แล้วเลี้ยวไปซ้ายมือ สู่ป่าอิสิปตนะ ฯ ซึ่งเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์
ทำไมพระองค์จึงรู้ว่าอยู่ที่นั่น ? คือว่านักบวชต้องอยู่นอกเมือง อยู่ตามสวนตามที่เงียบๆ พระองค์คาดคะเนว่าต้องไปอยู่ในป่านั้นแน่ ก็เลยเจอะกัน พอเจอะกันครั้งแรกก็แข็งกระด้างไม่อยากฟัง ไม่เชื่อ แต่ผลที่สุดก็ยอมเชื่อ แล้วก็พาไปที่จุดที่เรียกว่า อิสิปตนะฯ ที่พระเจ้าอโศกเอาเสาหินปักไว้ เป็นเครื่องหมายว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมในที่นี้เป็นครั้งแรก
พระองค์ก็แสดงธรรมให้ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าฟัง แต่สี่องค์ยังงงอยู่ ท่านโกณฑัญญะเพียงองค์เดียวรู้ว่า “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะ ธัมมัง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดต้องดับเป็นธรรมดา นี่เป็นความรู้ใหม่เกิดขึ้น
พระองค์พอก็พอพระทัย ถึงกับเปล่งออกมาว่า อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ โกณฑัญญะรู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะก็เลยบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๘ ที่ล่วงมา วันอาสาหะเป็นวันระลึกถึงเร่องนี้ ท่านก็ได้บวชเป็นภิกษุ


บวชอย่างไร ? ก็ง่ายๆ ไม่มีอะไร บวชด้วยคำตรัสว่า “เอหิ ภิกขุ จะระ พรัหมะจะริยัง ทุกขัสสะ อันตะกิริยายะ บอกว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด เพราะผู้นั้นยังไม่เป็นพระชั้นสูงจึงตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุ จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด เท่านั้นเอง ผู้นั้นก็ชื่อว่าได้เป็นภิกษุ ด้วยความรับรองของพระพุทธเจ้า
การบวชแบบนี้เป็นครั้งแรก ในองค์การพระพุทธศาสนาเรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสมบท” บวชด้วยคำว่า เอหิ แปลว่า จงมา เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด คือท่านอนุญาตให้เป็นภิกษุได้ แล้วต่อมาก็ทรงสอนอีก ๔ รูป ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุมรรคผลในพรรษานั้น ก็มีสานุศิษย์เกิดขึ้น ๖๐ รูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2018, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อออกพรรษาแล้ว ทรงเห็นว่ามีสานุศิษย์พอจะออกปฏิบัติงานได้ก็เลยประทับยืน ณ ที่เขาทำเจดีย์ไว้เรียกว่า “ธัมมิกะสถูป” ทำไว้ตรงที่ที่พระพุทธเจ้ายืน มีสาวกแวดล้อมส่งไปเพื่อประกาศศาสนา

พระองค์ก็บอกว่า เธอทั้งหลายพ้นแล้วจากบ่วงอันเป็นของทิพย์ จากบ่วงอันเป็นของมนุษย์ เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน พะหุชะนะหิตายะสุขายะ - โลกานุกัมปายะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก จงสอนธรรมอันไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดแก่เขา อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป ต่างองค์ต่างไป เพราะคนน้อย ให้ไปทางละรูป แม้เราก็จะไปเหมือนกัน แล้วท่านเหล่านั้นก็ไปสอนศาสนา พรหมจรรย์ คือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐแก่มหาชน

เมื่อถึงก็ไปสั่งสอนก็มีคนอยากบวช ท่านเหล่านั้นไม่รู้จะบวชอย่างไร ก็ต้องพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้บวชให้
พระองค์เห็นว่า เป็นเรื่องลำบาก ในการที่จะต้องพาเดินทางมาพบพระองค์ จึงอนุญาตการบวชไปว่า ต่อไปนี้ผู้ใดมีศรัทธาจะบวชในพระพุทธศาสนา ก็ให้โกนผมโกนหนวด

นักบวชอินเดียไว้หนวดรุ่มร่าม พวกสันยาสีไว้หนวด ไม่โกนหนวด ผมเผ้ารุงรัง พระองค์จึงให้โกนผม โกนหนวด ตัดเล็บมือเล็บเท้า ที่ตัดเล็บมือเล็บเท้า เพราะนักบวชอินเดียไว้เล็บยาวจนบางคนได้ชื่อว่า พ่อเล็บยาว (ทีฆะนขะ พ่อเล็บยาว) เมื่อตัดเล็บมือเล็บเท้าแล้วก็มากราบเท้าอาจารย์ เปล่งวาจาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ สามครั้ง ชื่อว่ารับรองให้เป็นพระแล้ว

นี่เป็นการบวช ประการที่ ๒ เรียกว่าบวชด้วยวิธี “ติรณคมนูปสัมปทา” พูดง่ายๆว่าบวชด้วยการเปล่งวาจาถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการบวชวิธีที่ ๒ การบวชแบบนี้ทำกับสาวก ให้สาวกเป็นผู้ทำการบวช
การบวชแบบแรกพระองค์ก็ยังทำอยู่ ทั้ง ๒ อย่างยังทำอยู่ สาวกทำบ้าง พระองค์ทำบ้าง ทำกันเรื่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2018, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ อยู่มาคราวหนึ่ง มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ ราธะ แกเป็นคนมีสมบัติพอควร พอแก่ลงลูกเต้ามีเหย้ามีเรือนลูกก็มาให้แบ่งสมบัติ พอแบ่งให้ หนแรกไปบ้านโน้นก็ยิ้ม บ้านนี้ก็ยิ้ม

ต่อมาไปมันชักไม่ยิ้มแล้ว ชักจะพูดกับสุนัขบ้าง กระทบกระแทก ก็เกิดความรำคาญ รู้ว่าเสียท่าลูกแล้ว ก็เลยไปอยู่กับพระในอาศรม ทำสวน อาราม แปลว่า สวน ไปอยู่กับพระก็อยากบวช แต่ไม่มีใครบวชให้ เพราะคนแก่บวชแล้วสอนยาก เขาเรียก หลวงตา เมืองเหนือ เรียก ตุ๊ปู่ ว่าบ่นอนสอนบ่ฟัง พูดยากมักเอาความแก่ของตนมาเป็นดีกรีเสมอ ข้าเกิดก่อนอาบน้ำร้อนมาก่อน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยไม่มีใครบวชให้ แต่ว่าใจอยากบวชเต็มแก่ ยังบวชไม่ได้

วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านตรวจดูว่ามีใครเป็นทุกข์บ้าง ปกติก็ทำทุกวัน ตอนใกล้รุ่ง ก็พบว่าราธพราหมณ์นี้ร้อนใจอยากจะบวชก็ไม่มีใครบวชให้
พระองค์รู้ว่าพราหมณ์คนนี้นิสัยดี ไม่แก่แก้วแก่กระดาษ แก่แก้วก็เช้าเย็นเป็นก๊งเรื่อย แก่กระดาษก็ชอบเล่นไพ่ อันนี้แก่ดี ควรให้บวช

พอเช้าพระองค์ก็เสด็จไปตรวจบริเวณ พบพราหมณ์เข้าก็ถามว่า เป็นอย่างไร หน้าตาซูบซีด ผิวพรรณเหลืองเชียว
พราหมณ์บอกไม่สบายใจเรื่องบวช ไม่มีใครบวชให้
พระองค์บอกไม่เป็นไร เรียกประชุมพระพร้อมหน้า แล้วพระองค์ก็ถามว่า ในหมู่พวกเธอทั้งหลาย ใครนึกถึงอุปการะคุณที่พราหมณ์ผู้นี้ได้กระทำไว้แก่ตนบ้าง
พระสารีบุตรนั่งอยู่ในที่นั้นด้วย ก็ลุกขึ้นยืนพนมมือแล้วว่า ข้าพระองค์นึกได้ พราหมณ์คนนี้เคยให้ข้าวทัพพีหนึ่ง คือเคยใส่บาตร

พระองค์บอกว่า สารีบุตรนึกได้ สารีบุตรจัดการบวชให้พราหมณ์คนนี้

พระสารีบุตรท่านเป็นพระมีปัญญา จึงทูลถามว่า ให้บวชในรูปใด ?

พระองค์ก็บอกว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เราจะบัญญัติว่า วิธีบวชไว้ให้คณะสงฆ์เป็นผู้ทำ
ก่อนนี้ไม่ได้มีสงฆ์เป็นผู้ทำ ไม่ใช่สังฆาธิปไตย พระพุทธเจ้าบวชอยู่ผู้เดียว สาวกบวชผู้เดียว ต่อไปนี้ไม่ได้ ต้องให้สงฆ์เป็นใหญ่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2018, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องรับคนเข้าหมูคณะ พระองค์ก็บัญญัติว่า ผู้ใดจะบวชในกาลต่อไป ให้พระสงฆ์ทั้งหลายประชุมกัน ถ้าในถิ่นที่มีพระมากกว่า ๑๐ รูป
ถ้ามีพระน้อย อย่างน้อยก็ ๕ รูป ประชุมกัน เมื่อประชุมกันแล้ว ก็ให้พระรูปหนึ่งเป็นอุปัชฌาย์ เป็นผู้นำเข้ามาให้สงฆ์พิจารณารับรองการบวชของบุคคลผู้นั้น เมื่อสงฆ์ผู้พิจารณาแล้ว ไม่มีข้อควรตำหนิ ไม่มีความพบพร่องด้วยประการใดๆ ก็รับไปบวชเป็นพระได้
การบวชแบบนี้ เรียกว่า “ญัตติจตุตถกรรม” คือเสนอญัตติ ๔ ครั้ง ที่บวชนั้นในโบสถ์

ตอนแรกที่ไปยืนหน้าโบสถ์น่ะคือไปซ้อม พระอาจารย์ซ้อมว่าจะต้องถามอย่างนี้นะ ถามในท่ามกลางสงฆ์นะ อย่าเก้อ อย่ากระดาก อย่าไปสั่นนะ ตอบให้ถูกต้องนะ กุฎฐัง...กิลาโส โสโส..นี่นะ ตอบให้ถูกนะ ตอบไม่ถูกเขาไม่รับรองนะ ไปแอบซ้อมกันข้างนอกก่อน

พอซ้อมเสร็จก็มาบอกให้สงฆ์ทราบ ว่าซ้อมแล้ว ผู้ที่จะบวชชื่อ อุติโร ท่านปัญญานันทะ เป็นผู้บวช ไปซ้อมแล้ว ถ้าว่าสงฆ์พร้อมแล้วก็จะเรียกตัวมา เมื่อเรียกตัวมาถึงก็สอบต่อหน้าสงฆ์ สอบตามแบบที่ซ้อมมา สงฆ์ฟังแล้วใช้ได้ก็รับรอง การรับรอง ก็คือ นิ่ง เช่นว่าถ้าโยมมานิมนต์พระไปฉันเพล ถ้า นิ่ง น่ะ หมายถึง รับ นั่งเฉยๆ ถ้าโยมบอกว่าพรุ่งนี้จะรับไปฉันเพลที่บ้าน ถ้านิ่งแสดว่ารับ

ถ้าไม่รับต้องบอกว่าไม่ได้นะโยม พรุ่งนี้เขามาเลี้ยงที่วัดต้องอยู่ฉันกับเขาด้วย ถ้าไม่บอก โยมเข้าใจว่ารับ ธรรมเนียมเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ในการสวดก็เช่นกัน การนิ่งหมายถึงการยอมรับ แล้วก็ต้องเป็นเอกฉันท์ด้วย ไม่ใช่ใช้เสียงข้างมากนะ ไม่เหมือนกับประชาธิปไตยที่เขาใช้เสียงข้างมาก ในที่ประชุมสงฆ์ ต้องเป็นเอกฉันท์ ถ้าองค์ใดองค์หนึ่งเกิดคัดค้านว่าไม่ได้ เป็นหนี้เขาอยู่ร้อยหนึ่งเลยบวชไม่ได้ เพราะมีผู้คัดค้าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร