วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือนี้ หน้า ๓๘๙

รูปภาพ

คำสอนในทางพุทธศาสนานี้ มี ๒ ชั้น คือธรรมะหรือพระธรรมมี ๒ ชั้น: ธรรมะที่เป็นศีลธรรมอย่างหนึ่ง กับ ที่เป็นสัจธรรมอีกอย่างหนึ่ง

ศีลธรรม นั้นเป็นคำสอนชั้นธรรมดา ที่มีคล้ายกันทุกศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ มีคำสอนในด้านศีลธรรมคล้ายกัน ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก

เรื่องของศีลธรรมเกิดขึ้นอย่างไร เราควรรู้ เพราะศีลธรรมเป็นเครื่องแก้ปัญหาของสังคม

สัจธรรม เป็นเครื่องแก้ปัญหาเฉพาะคน

ถ้าพูดเป็นศัพท์แสงหน่อย ก็เรียกว่า สัจธรรมเป็นเรื่อง “ปัจเจกชน”

ศีลธรรมเป็นเรื่อง “สังคม”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อคติ ๔ (ความลำเอียง ๔)

อคติ คือ ความลำเอียง.

ลำเอียง ๔ ประการ:

ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ

ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ

ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ

ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำเอียง ๔ ประการ เป็นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ เป็นธรรมที่ไม่ควรประพฤติ มันเป็นเรื่องเสียหาย ถ้าเกิดขึ้นแก่ผู้ใดแล้ว จะทำให้บุคคลนั้นตกต่ำในชีวิตในการทำงาน เช่น คนเป็นผู้พิพากษาต้องเที่ยงตรง เป็นเหมือนตาชั่งที่เขาติดไว้หน้ากระทรวง ตรงแน่วไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง โจทก์จำเลยที่มาสู้คดีกันนั้น เราจะต้องทำตามหน้าที่ว่า เราเป็นผู้พิพากษา เราไม่มีความรักฝ่ายโจทก์ เราไม่มีความเกลียดชังกับจำเลย เราจะไม่ทำด้วยความหลงผิด เราจะไม่ทำด้วยความกลัวว่าไอ้นี่พวกมันมาก อย่างนี้ไม่มีอคติเกิดขึ้นในใจ แต่ว่าทำด้วยความเที่ยงตรงตามตัวบทกฎหมาย ตามหลักฐานที่เขามาให้การ ควรจะตัดสินอย่างไร ก็วินิจฉัยตามเรื่องที่พยานมาเบิกความไว้ จิตใจไม่เข้าใครออกใคร ไม่เข้าฝ่ายนั้น ไม่เข้าฝ่ายนี้ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีความลำเอียง คนที่ลำเอียง เพราะรักกันว่าคนนี้พวกของฉัน เป็นพวกฉันรักกันชอบกัน แสดงว่า ลำเอียงเพราะรักกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำเอียงเพราะเกลียดกัน ไอ้นี่มันทำฉันมาก่อน ทำเรื่องเสียหาย สมมติว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์ด่าฉันวันก่อน เลยเอาความเกลียดเป็นพื้นฐาน ลำเอียงเพราะความเกลียดขึ้นมา โทสาคติขึ้นมา คือไม่ชอบกัน

ทีนี้ การกระทำอะไรบางอย่างด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มันก็เกิดความลำเอียงเพราะความเขลา

ถ้าคู่กรณีนั้น เป็นคนมีอิทธิพล ฝ่ายหนึ่ง มีพรรคพวกมาก มีอะไรมาก เราก็เกิดความกลัวขึ้นมา ไม่กล้าที่จะไปทำโทษแก่คนนั้นได้ คนนั้นก็ลอยนวลต่อไป ไปทำผิดกันต่อไป เพราะไม่ถูกลงโทษ ไอ้นี่ลำเอียงเพราะกลัว มันมีความหมายอย่างนี้

ความลำเอียง ๔ ประการนี้ ถ้าอยู่ในจิตใจของบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้น จะอับเฉาเหมือนกับดวงจันทร์ข้างแรม ดวงจันทร์ข้างแรม มันแหว่งลงๆ จนหมดไม่เห็นดวงจันทร์แล้ว มันเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าไม่มีอคติ มันก็เหมือน กับ ดวงจันทร์ข้างขึ้น ค่อยเพิ่มมากขึ้นๆ จนกระทั่งเต็มดวงในวันเพ็ญ มันจึงได้ประโยชน์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติงานติดต่อกับใครๆ ในเรื่องอะไรนี้ เราอย่าใช้อคติเป็นอันขาด เช่น คนแบ่งข้าวแบ่งของนี่ลำเอียงไม่ได้ ต้องแบ่งกันอย่างตรงไปตรงมา พอจะใช้วิธีการอย่างไร แบ่งยุติธรรมแบ่งอย่างไร แบ่งด้วยการตวงหรือแบ่งด้วยการชั่ง หรือแบ่งด้วยจำนวน หรือจะแบ่งกันอย่างไร เช่นว่า ผลได้รวมได้กี่ผลกี่เข่ง แบ่งกันเป็นตอนๆ คือหยิบวาง หยิบวาง อย่างนั้นก็ได้ บางคนอาจจะเกี่ยงว่าคนหนึ่งได้เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มันไม่เท่ากัน มนุษย์เรานี้มันเข้าข้างตัว มองอะไรแล้วรู้สึกว่ากูเสียเปรียบตลอดเวลา ไอ้แบ่งเป็นผลมันจะเสียเปรียบกัน เอ้า ชั่งน้ำหนักกันดีกว่า ทีนี้ คนละกิโลหรือว่าคนละกี่ขีด ก็แบ่งกันคนละห้าขีดนะ ลูกเล็กลูกใหญ่ไม่ว่า ถ้าได้เท่านั้นขีดละก็ใช้ได้ ถ้าแบ่งอย่างนั้น มันก็ไม่มีความลำเอียง

ของเหลวควรจะแบ่งอย่างไร ตักเอาเป็นจอกไปตวงเลย เอาถ้วยมาตวงกันไปเป็นถ้วย คนละกี่ถ้วยก็ว่ากันไปตามเรื่อง แบ่งกันให้มันถูกต้อง เป็นการเรียบร้อย ไม่เข้าใครออกใคร

คนที่เป็นกรรมการทำอะไร เช่นว่า แบ่งสันปันส่วนนี่ต้องวางตัวเป็นกลาง อย่าลำเอียงเข้าข้างโน้นข้างนี้ เลือกที่รักมักที่ชังไม่ได้ เวลาจะแบ่งของไม่ต้องคิดว่าไอ้นี่มันพวกกู ด้วยฉันทาคติ
ไอ้นั้น ไม่ใช่พวก เกิดโทสาคติ
ไอ้นี่มันน่ากลัว มีอิทธิพล มีพรรคพวกมาก เกิดภยาคติ แล้ว
ถ้าทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นความเขลา เกิดโมหาคติ

ถ้าหลีกเลี่ยงให้พ้นจากอคติ ๔ นี้แล้วก็เรียบร้อย ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นยุ่งยาก ลำบากในเรื่องการแบ่งสันปันส่วน คนเรานี้มันวุ่นตรงนี้ อะไรๆก็จะเอาเท่ากันหมด มันไม่ได้ดอก ความจริงไอ้เท่ากันนี้มันก็ไม่ได้ มันเท่ากันยาก แบ่งให้เท่ากันทุกอย่างนั้นก็ไม่ได้เสมอไป แต่ว่าให้ได้พอสมควรกัน ตามฐานะตามอะไรไปตามเรื่องที่จะให้เท่ากัน ความยุติธรรมที่เรียกว่ายุติธรรมในโลกนี้จะสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ มันก็ขาดบ้างเกินบ้าง แต่เราก็พอใจว่าเท่านั้นก็เป็นธรรมแล้ว มันเป็นธรรมตรงทีว่าพอใจ ถ้าไม่พอใจแล้วรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม แม้จะทำถูกต้องตามระเบียบ แต่ว่าคนไม่พอใจก็ยังมองเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมอยู่นั่นเอง มนุษย์เรามันอย่างนั้น เพราะปกติมนุษย์เรานี่คิดอะไรเข้าข้างตัว ไม่ได้คิดให้เป็นกลาง ถ้าคิดเป็นกลางแล้วมันก็พอมองเห็นถูกต้องชัดเจน แต่ว่าไม่ได้คิดอย่างนั้น มักจะเอาตัวเป็นพื้นฐาน แล้วเอาตัวไปวัดเพื่อจะได้นั่นเพื่อจะได้นี่อะไรไปต่างๆนานา นี่แหละมันจึงเกิดเป็นปัญหาเกิดความวุ่นวายกันในสังคม.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในหมู่พระเรานี้ก็เหมือนกัน มีข้าวมีของก็ให้แบ่งกันตามลำดับพรรษา เขาตั้งระเบียบวางไว้อย่างนั้น ตามลำดับพรรษาก่อน แต่ว่าตามลำดับพรรษาแล้ว บางองค์มีผ้าเก่าขาดก็ต้องให้องค์นั้น ละพรรษาเอาไปให้องค์ที่มันแย่แล้วขาดเก่าเต็มที่แล้ว ให้องค์นั้นไป

ตัวอย่าง เช่น การทอดกฐินนี่ กฐินคือการถวายผ้าแก่พระ การถวายเขาไม่ได้ถวายบุคคล ถวายสงฆ์ ภิกขุสังฆัสสะ มอบให้แก่หมู่สงฆ์ เพื่อมอบให้หมู่สงฆ์ แล้วหมู่สงฆ์ก็ต้องปรึกษาหารือกันว่าจะแบ่งให้แก่ใคร กฐินนี้ควรจะให้แก่ใคร

ครั้งแรกต้องคิดว่าให้แก่ผู้ที่มีพรรษามาก่อน เป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ นี่อันดับแรก อันดับต่อไป ก็พิจารณาว่า ใครมีผ้าเก่าที่สุดในหมู่ของเรา มันขาดกระรุ่งกระริ่งปะหน้าปะหลังแล้ว ควรเปลี่ยนแล้ว ก็ต้องย้าย ไม่ใช่หัวหน้าต้องเอาทุกที องค์นั้นผ้าเก่ามากก็ต้องโอนไปให้องค์นั้น ประชุมสงฆ์ตกลงกันด้วยการเสนอญัตติในท่ามกลางสงฆ์ เสนอให้สงฆ์พิจารณาว่าเวลานี้ ผ้ากฐินเกิดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ เราได้พิจารณาเห็นว่า พระองค์นี้มีผ้าเก่าขาดมาก ควรจะยกให้องค์นี้ไป พระก็สวดญัตติจบ พระก็นั่งเฉยๆ นั่งเฉยคือรับนั่นเอง ถ้าไม่รับก็คัดค้าน ต้องแบ่งกันใหม่ พิจารณากันใหม่

แต่ถ้าหากทุกคนเงียบกริบ หมายความว่าตกลง เมื่อตกลงแล้วเป็นอันว่าใช้ได้ เหมือนกับเราบวชในโบสถ์ พระทุกองค์ที่นั่งอยู่ต้องนิ่ง หมายความว่ายอมรับ

แต่องค์ใดคัดค้าน บอกว่าเป็นหนี้ชาวบ้านอยู่หลายหมื่น เอามาบวชไม่ได้ บวชไม่ได้ เป็นประชาธิปไตยแท้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในหมู่สงฆ์เรา เพราะถือเอกฉันท์ ไม่ได้เอาเสียงข้างมาก ต้องเป็นเอกฉันท์เลยทีเดียว ไม่ว่าทำอะไร แบ่งข้าวแบ่งของแบ่งอะไรกัน ต้องเป็นเอกฉันท์ เขาจด (บัญญัติ) ไว้อย่างนั้น

วัดหนึ่งๆ ต้องมีเจ้าหน้าที่จัดนั้นจัดนี้ แบ่งลาภแบ่งผล สวดมนต์ไหว้พระ ที่ไปตามบ้านฉันเพลเขาก็แบ่งไปให้ทั่วถึงกัน เราพระใหม่เขาไม่แบ่งไป เพราะสวดไม่เป็น เว้นแต่เจ้าบ้านเขานิมนต์เจาะจงมา ก็ไปนั่งหลับตาไปเรื่อยๆ นั่งเถอะเรา ไม่ต้องกระดาก เขารู้เพิ่งบวชสวดไม่ได้ แต่ถ้าบวชหลายปีแล้วไปนั่งอย่างนั้นมันก็ไม่ไหว กว่าจะจบมันร้อนอกร้อนใจ สวด ๑๕ นาที มันยาวราวกับสวด ๑๕ ชั่วโมง อึดอัด แต่ไม่ต้องละอาย เพราะเรามันบวชแล้วสึก ไม่จำเป็นต้องท่องสวดมนต์อย่างนั้น เขาก็ให้อภัย

แต่ถ้าเป็นลาภอื่น เช่น เขานิมนต์บังสุกุลหมดวัด ก็ต้องแบ่งกันไปตามเรื่อง แบ่งกันอย่างนั้น เรื่องมันก็ไม่วุ่นวาย ไอ้ที่ไหนวุ่นวายเรื่องลาภผล แสดงว่ามันเกิดอคติกันเหลือเกินแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว พระลูกวัดต้องเดินขบวนกันแล้ว อย่างนี้ มันก็แย่แล้ว มันเกิดจากอคติ ไม่ว่าที่ไหนมีอคติแล้วก็ยุ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามโรงเรียน ตามวิทยาลัยต่างๆ ทีเกิดอคติ มันก็ยุ่งกันวุ่นวายกัน มีปัญหา เพราะฉะนั้น ถ้าตัดตัวนี้ออกมันก็เรียบร้อย เรามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอะไรต้องไม่มีความลำเอียง

แม้อยู่ในครอบครัวก็ลำเอียงไม่ได้ เช่น เรามีลูก ๕ คน อย่าลำเอียง ต้องให้มันสม่ำเสมอ จะแจกสตางค์ก็ต้องเอามาแจกให้ทั่วหน้า ให้ทุกคนเห็นว่าได้รับอย่างไร

ไอ้คนพี่มันโตหน่อยต้องบอกว่า พี่โตร่างกายแข็งแรงขึ้น ต้องกินอาหารเพิ่ม แล้วไปโรงเรียนต้องนั่งรถไกล ก็ต้องให้เพิ่มหน่อย สมมติว่าให้พี่นี่ ๕ บาท ไอ้ตัวเล็กๆให้สัก ๓ บาท ตามขั้นตามฐานะให้เขาพอใจ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ที่ให้อย่างนี้ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะว่าความจำเป็นแก่ชีวิต มันเพิ่มขึ้น

ถ้าลูกคนเล็กโตเท่าคนนี้ มันก็ได้ ๕ บาทเหมือนกัน อธิบายให้เข้าใจ เด็กถ้าทำให้ไม่เข้าใจ มันจะมองว่าพี่ทำไมได้มาก เราทำไมได้น้อย มันไม่รู้นี่ แล้วมันเกิดเป็นหนามยอกอกอยู่เรื่อย แล้วก็เกลียดกัน น้องเกลียดพี่ ไอ้พี่ก็จะเกลียดน้องต่อไป ความเป็นอยู่ในครอบครัวมันไม่เรียบร้อย เพราะฉะนั้น ต้องประชุมกัน แบ่งกันให้สมน้ำสมเนื้อ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลัก ๔ ประการนี้สำคัญ เป็นหลักที่เอาไปใช้เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความพอใจแก่กันและกัน จึงต้องใช้ได้ ใครมีหน้าที่จะต้องทำอะไรที่เกี่ยวกับคนมากก็ต้องนึกถึงไว้ นึกถึง ๔ ข้อนี้ไว้ เราจะไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่
ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบพอ
ไม่ลำเอียงเพราะความเขลา
ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว เป็นหลักธรรมสำคัญที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวันเหมือนกัน เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องกับคนนั้นคนนี้ ลำเอียงไม่ได้ เข้าข้างตัวมันก็ลำเอียงแล้ว เพราะรักตัวแล้วเราไปเอาเปรียบคนนั้นคนนี้ มันก็เสียหาย ไม่ดี นี่อคติ ๔ ประการ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร